SlideShare a Scribd company logo
1 of 95
Download to read offline
รายงานการศึกษาวิจัย
เรื่อง
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
(Social Capital and Thailand Reform)
รองศาสตราจารย์ สายฝน สุเอียนทรเมธี
วิทยาลัยสหวิทยาการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เสนอต่อ
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตไทย
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
9 พฤศจิกายน 2558
สารบัญ
บทที่ หน้า
1 บทนา 1
1.1 ความเป็นมาของการศึกษา 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 3
1.3 ขอบเขตเนื้อหา 3
1.4 คาถามการวิจัย 4
1.5 สมมติฐานการวิจัย 4
1.6 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 4
1.7 แนวคิดในการศึกษา 4
1.8 นิยามเชิงปฏิบัติการ 11
2 ระเบียบวิธีการศึกษา 12
2.1 การวบรวมข้อมูล 12
2.2 กลุ่มตัวอย่าง 12
2.3 ระยะเวลาในการศึกษา 12
2.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและการนาเสนอข้อมูล 13
3 บทสารวจทุนทางสังคมกับการปฏิรูปสังคม : ประสบการณ์ต่างประเทศ 14
3.1 ประสบการณ์ประเทศญี่ปุ่น 14
3.2 ประสบการณ์ประเทศเกาหลีใต้ 30
4 ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปสังคมไทย 38
4.1 การขับเคลื่อนกองทุนการเงินชุมชน: กลุ่มออมทรัพย์ 39
4.2 การขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน 41
4.3 ปฏิบัติการของทุนทางสังคมในการสร้างระบบการดูแสังคมสูงวัย 45
4.4 การขับเคลื่อนภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาสังคม 50
4.5 พลังทางสังคม-ชุมชนในการขับเคลื่อนกิจการเพื่อสังคม 56
4.6 พลังทางสังคมกับการขับเคลื่อนทางการเมือง กรณีการเคลื่อนไหวของ กปปส. 74
4.7 ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคม 77
5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 82
5.1 บทสรุป 82
5.2 ข้อเสนอแนะ 86
5.3 ข้อจากัดของการวิจัย 89
1
บทที่ 1
บทนำ
1.1 ควำมเป็นมำของกำรศึกษำ
กระแสการปฏิรูปสังคมไทยหลังการยึดอานาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.
(National Council for Peace and Order: NCPO) ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ได้รับความ
สนใจจากประชาชนชาวไทยและต่างประเทศ ในขณะที่รัฐบาล คสช.กาลังดาเนินการเพื่อหาแนวทาง
ในการปฏิรูปประเทศนั้นมีหลายหน่วยงานที่ได้เสนอแนวทางการปฏิรูป อาทิ คณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, คณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ,
สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย, ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการเสนอแนวทางการปฏิรูปในนามบุคคล
อาทิ สุรินทร์ พิศสุวรรณ, ธนิต โสรัตน, โชคชัย สุทธาเวศ, ฯลฯ พบว่าข้อเสนอส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอ
ให้ปฏิรูประดับชาติไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านสังคม และด้าน
สิ่งแวดล้อม
แต่โจทย์สาคัญในการปฏิรูปครั้งนี้ดูเหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย โดยเฉพาะการ
ชุมนุมทางการเมืองที่มีต่อเนื่องมาถึง 6 เดือนก่อนการทารัฐประหารของ คสช. อันเนื่องมาจากความ
ขัดแย้งทางความคิดและการแก่งแย่งผลประโยชน์ทางการเมือง และตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา
(วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 และ พ.ศ. 2556–2557) ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของ
ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทาให้ประชาชนแตกความสามัคคี จนไม่อาจปรองดองกันได้ มีความขัดแย้งทาง
ความคิดการเมืองอย่างรุนแรง หยั่งลึกจากระดับประเทศไปถึงระดับครอบครัวคนไทย ปัญหาทุจริตที่มี
คดีความจานวนมากอยู่ในชั้นศาล การใช้อานาจการปกครองที่กระทาอยู่เดิมไม่สามารถแก้ไขปัญหา
ความขัดแย้ง ความแตกแยก และการกระทาผิดของกลุ่มต่างๆ ได้อีกต่อไป เป็นต้น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 จึงกาหนดให้มีสภา
ปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. มีหน้าที่ศึกษาและให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ เพื่อให้
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพ
สังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้าและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการ
พัฒนาอย่างยั่งยืน ทาให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และมี
การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด (สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2557) รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 27 ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทาหน้าที่
ศึกษาและเสนอแนะแนวทางเพื่อการปฏิรูปประเทศด้าน (1) การเมือง (2) การบริหารราชการแผ่นดิน
(3) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (4) การปกครองท้องถิ่น (5) การศึกษา (6) เศรษฐกิจ (7)
พลังงาน (8) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (9) สื่อสารมวลชน (10) สังคม (11) อื่น ๆ พร้อมเสนอ
ความเห็นต่อคณะกรรมาธิการเพื่อประโยชน์ในการจัดทาร่างรัฐธรรมนูญ
การปฏิรูประเทศไทยหลายครั้งในอดีตให้ความสาคัญกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสาคัญ
โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนที่มาของสมาชิกสภาผู้แทน ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา การปรับเปลี่ยนองค์กร
2
ทางการเมือง การสร้างกลไกในการแก้ไขการทุจริตคอรัปชั่น การสร้างกลไกการบริหารที่เป็นอิสระ
ทางการเมือง การสร้างกลไกในการตรวจสอบการทางานของรัฐบาล ถือเป็นการปฏิรูปในระดับ
โครงสร้างส่วนบนและในเชิงประเด็นที่เป็นปัญหาของสังคมไทย เช่น การปฏิรูปด้านการศึกษา การ
ปฏิรูปด้านการทุจริตคอรัปชั่น ฯลฯ แต่ยังขาดข้อเสนอแนะการปฏิรูปในเชิงความคิดทฤษฎี หรือ
ข้อเสนอที่เป็นกระบวนทัศน์ (Paradigm) ที่นาไปเป็นหลักการในการปฏิรูปเชิงประเด็น
ปัญหาที่นาไปสู่การศึกษาทุนทางสังคมกับการปฏิรูปสังคมไทยครั้งนี้ คือ ปัญหาความขัดแย้ง
มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย มีสาเหตุมาจากความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้าในการบังคับใช้
กฎหมาย ความเหลื่อมล้าในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้าในการจัด
สวัสสดิการสังคม เป็นต้น ซึ่งแก่นแกนของปัญหาเกิดขึ้นที่ชุมชนท้องถิ่น ประกอบกับอดีตที่ผ่านมา
ชุมชนท้องถิ่นถูกทาให้ไม่พึ่งตนเองโดยเฉพาะพื้นที่ที่อานาจรัฐเข้าถึงอาจนับได้ว่าตั้งแต่เริ่มมีการใช้
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข้อเสนอของการศึกษาจึงให้มีการตรวจสอบปรากฎการณ์ที่
บ่งชี้ชัดว่าทุนทางสังคมสามารถจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นการศึกษาเรื่องทุนทางสังคมกับการปฏิรูปสังคมไทยยังเป็นประเด็น
ใหม่สาหรับสังคมไทย ยังไม่มีใครพูด แต่การศึกษาและพัฒนาแนวคิดว่าด้วยทุนทางสังคมในสังคมไทย
มีมาเกือบสองทศวรรษ โดยเฉพาะการอธิบายว่า “ทุนทางสังคมเป็นปัจจัย-เงื่อนไขที่จาเป็นในการ
สร้างความเข้มแข็งชุมชน-สังคม การมีอยู่ของทุนทางสังคมจะเสริมสร้างการปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ
การพัฒนาประชาธิปไตย” จนกระทั่งสามารถนาเสนอเป็นสมมุติฐานได้ว่า “หากสังคมใดมีทุนทาง
สังคมดารงอยู่จะสามารถฟื้นฟู ช่วยเหลือ และพัฒนาชุมชน-สังคมนั้นๆได้ดีและมีประสิทธิภาพ เมื่อ
เปรียบเทียบกับชุมชน-สังคมที่ไม่มีทุนทางสังคม” ข้อสมมุติดังกล่าวนาไปสู่การศึกษาและพัฒนาทุน
ทางสังคมทั้งที่มีอยู่เดิมและการสร้างทุนทางสังคมใหม่โดยเฉพาะในแวดวงของนักพัฒนาชุมชน
นักพัฒนาสังคม นักส่งเสริมสุขภาวะ นักสังคมสงเคราะห์ รวมไปถึงนักรัฐศาสตร์ที่สนใจการพัฒนา
ประชาธิปไตยท้องถิ่น จนกระทั่งมีความพยายามในการสร้างตัวชี้วัดทุนทางสังคมเพื่อตรวจสอบการมี
อยู่จริงของทุนทางสังคมในสังคมไทย และระดับความเข้มแข็งของชุมชน นาไปสู่การตรวจสอบระดับ
ความเป็นประชาธิปไตยว่าขึ้นอยู่กับจานวนทุนทางสังคมในชุมชนหรือไม่ ทุนทางสังคมเป็นปัจจัย
สาคัญต่อระดับความสามารถในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่ ความสามารถ
ในการตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชนขึ้นอยู่กับทุนทางสังคมหรือไม่ ประเด็น
การศึกษาวิจัยเหล่านี้อยู่ในความสนใจของนักวิชาการที่ผ่านมา
บทบาทของทุนทางสังคมในการพัฒนาประเทศปรากฎชัดเจนขึ้นหลังปี พ.ศ.2540 เมื่อ
ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม-ทุนชุมชนถูกนามาใช้ในกระบวนการรับมือ
กับปัญหาดังกล่าว พบว่าหลังจากรัฐบาลประกาศโครงการเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในปี พ.ศ. 2541
กิจกรรมที่ดาเนินการเองโดยชุมชนโดยอาศัยรากฐานทางสังคมและวัฒนธรรมเกิดขึ้นมากมาย การ
เกาะเกี่ยวเชื่อมโยงของผู้คนเกิดขึ้นในชุมชนเพื่อร่วมกันสร้างระบบคุณค่าใหม่ๆในชุมชน เช่น สร้าง
ระบบสวัสดิการชุมชน สร้างระบบกองทุนการเงินที่เอื้อให้กับคนในชุมชน สร้างระบบปรึกษาหารือกัน
(ประชาคม) จนกลายเป็นวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองรูปแบบหนึ่งของคนในชุมชน การเกาะ
เกี่ยวเชื่อมโยงคนเข้าเป็นกลุ่มเป็นก้อนในชุมชนจนสามารถเห็นรูปธรรม “องค์กรชุมชน” เกิดขึ้น
มากมาย อาทิ กองทุนเพื่อสังคม กองทุนหมู่บ้าน กองทุนสวัสดิการ ฯลฯ นาไปสู่การพัฒนาเครือข่าย
ภาคประชาชนในรูปแบบต่างๆ เช่น เครือข่ายสวัสดิการชุมชน เครือข่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายา
เสพติด เครือข่ายอาชีพ เครือข่ายร่วมวัย เครือข่ายส่งเสริมสุขภาพชุมชน เครือข่ายรักษาสิ่งแวดล้อม
3
เครือข่ายอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม เครือข่ายพลเมืองเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่น ฯลฯ มีการนา
ระบบคุณค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นฐานหรือเป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น การสร้างความ
ร่วมมือ การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ การสร้างอาชีพและรายได้ แม้กระทั่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการ
สร้างพลังให้กับสังคมสูงวัย เหล่านี้เป็นภาพสะท้อนว่าทุนทางสังคมเป็นเงื่อนไขที่จาเป็นในการพัฒนา
สังคมชุมชน และทุนทางสังคมเป็นแก่นแกนของชุมชน ทุนทางสังคมมีบทบาทยิ่งในการขับเคลื่อนการ
พัฒนาสังคม โดยเฉพาะการขับเคลื่อนในระดับปฏิบัติการในชีวิตประจาวัน เป็นกระบวนการขับ
เคลื่อนที่อยู่บนฐานแนวคิด “การพัฒนาต้องใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based) อันจะนาไปสู่
การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)”
งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งตรวจสอบปรากฏการณ์การใช้ทุนทางสังคมในการปฏิรูปสังคมจาก
ประสบการณ์ต่างประเทศและในประเทศเพื่อสร้างข้อเสนอบทบาททุนทางสังคมกับการปฏิรูป
สังคมไทย
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงกำร
1) เพื่อศึกษาสารวจโมเดลที่ดีของการใช้ทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหาสังคมทั้งจาก
ประสบการณ์ในประเทศและต่างประเทศ
2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยด้วยทุนทางสังคมในด้านการปกครองท้องถิ่น
และด้านสังคมในระดับกลไกรัฐและระดับกลไกเสริมรัฐ
1.3 ขอบเขตเนื้อหำ
ขอบเขตเนื้อหาประกอบด้วย (1) การสารวจแนวคิด สถานะ ลักษณะรูปธรรมของทุนทาง
สังคม (2) สารวจโมเดลที่ดีของการใช้ทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหาสังคมทั้งจากประสบการณ์ใน
และต่างประเทศ โมเดลในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ ส่วนโมเดลใน
ประเทศไทย ได้แก่ ประเด็นทุนทางสังคมกับการขับเคลื่อนระบบสวัสดิการชุมชน ทุนทางสังคมกับการ
สร้างกลไกในการดูแลผู้สูงอายุ ทุนทางสังคมกับโครงการขับเคลื่อนกิจการเพื่อสังคม และทุนทางสังคม
กับการขับเคลื่อนทางการเมือง เป็นต้น (3) เสนอแนะแนวทางในการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมในการ
ปฏิรูปประเทศไทยในด้านการปกครองท้องถิ่นและด้านสังคมในระดับกลไกรัฐและระดับกลไกเสริมรัฐ
1.4 คำถำมกำรวิจัย
ที่ผ่านมาปรากฏการณ์ใดบ้างที่สะท้อนว่า ทุนทางสังคมมีบทบาทกับการปฏิรูปสังคม และการ
ปฏิบัติการ-กระทา(Action)ของทุนทางสังคมในการปฏิรูปสังคมเป็นอย่างไร สามารถปฏิบัติการ-
กระทาได้ในระดับใด ในประเด็นสาธารณะระดับบ้าง รวมถึงปฏิบัติการ-การกระทาของทุนทางสังคม
ในการปฏิรูปสังคมสร้างให้เกิด (Generate) ผลผลิตและผลกระทบในลักษณะใดบ้าง และควรนาทุน
ทางสังคมไปปฏิบัติการจริง (Implement) ในการปฏิรูปสังคมไทยอย่างไร
4
1.5 สมมติฐำนในกำรวิจัย
ทุนทางสังคมสามารถปฏิรูปสังคมไทยได้โดยเฉพาะทุนทางสังคมเดิมที่มีอยู่แล้วในชุมชน
ท้องถิ่นและการปฏิรูปสังคมอาจเกิดขึ้นได้ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น นอกจากนี้ กระบวนการ
ปฏิรูปทาให้เกิดทุนทางสังคมใหม่ที่อาจจะมีบทบาทในการปฏิรูปสังคมชุดใหม่ต่อไป
1.6 ผลที่คำดว่ำจะได้รับ
1) ทราบสถานะและลักษณะรูปธรรมของทุนทางสังคม และโมเดลที่ดีของการใช้ทุนทางสังคม
ในการแก้ไขปัญหาสังคมทั้งจากประสบการณ์ในและต่างประเทศ
2) ข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยด้วยทุนทางสังคมในด้านการปกครองท้องถิ่นและ
ด้านสังคมในระดับกลไกรัฐและระดับกลไกเสริมรัฐ
1.7 แนวคิดในกำรศึกษำ
1.7.1 ควำมเป็นมำและควำมหมำยของแนวคิดทุนทำงสังคม (Social Capital)
ควำมเป็นมำของแนวคิดทุนทำงสังคม: คาว่า “Social Capital” ต้นกาเนิดมาจาก Adam
Smith ถูกนามาใช้โดย Glan Loury นักเศรษฐศาสตร์ในปี 1977 โดยได้วิจารณ์วิธีการศึกษาของนัก
เศรษฐศาสตร์นิโอคลาสิกที่ศึกษาความไม่เท่าเทียมกันของรายได้และนัยยะเชิงนโยบายที่ละเลย
ความสาคัญของบริบทในมิติทางสังคม ซึ่ง “บริบทในมิติทางสังคม” ตามความหมายของ Glan Loury
คือ Social Capital ต่อมาแนวคิดนี้ได้ถูกพูดถึงกันมากในบริบทของทฤษฎีการพัฒนา การปฏิบัติงาน
วางแผนนโยบายของ World Bank โดยเฉพาะในกระบวนทัศน์เรื่อง Sustainable Development
และแนวคิดเรื่อง Social Capital ถูกพัฒนาขึ้นมาในสาขาสังคมวิทยาและรัฐศาสตร์ อาทิ James
Coleman, Robert Putnam และ Pierre Bourdieu เป็นต้น และถูกนามาใช้อย่างกว้างขวาง ใน
สังคมไทยรับแนวคิดนี้มาจากตะวันตก แนวคิดนี้ถูกใช้ในกระบวนการพัฒนาและมีบทบาทกว้างขวาง
มากขึ้น
นักวิชาการในโลกตะวันตกโดยเฉพาะรัฐศาสตร์มักจะใช้แนวคิดนี้มองสังคมในระดับบน
โดยเฉพาะในระดับสถาบันทางการเมือง เช่น Kant(1963), Hegel(1967), Smith(1974) และ
Marx(1978) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมในยุคหลังโซเวียต (post-Soviet) เช่น
Habermas(1992), Cohen and Arato (1994), Ehrenberg (1999) รวมถึง Putnam (2000)
ในขณะที่นักวิชาการในโลกตะวันออกเริ่มต้นใช้แนวคิดนี้ในการอธิบายกระบวนการทางานทางสังคม
ในระดับชุมชน ศึกษาผลผลิตของความรู้ผ่านพัฒนาการของแนวคิด เช่น Pekkanen (2000),
Tsujinaka(2002), Hirata(2002), Schwartz and Pharr (2003), Osborn(2003), Alagappa(2004),
Pekkanen(2004) (Akihiro Ogawa,2005)
ควำมหมำยของทุนทำงสังคม: แนวคิดทุนทางสังคมถูกนิยามว่าคือ เครือข่ายทางสังคม
(Social Network) และบรรทัดฐานของการพึ่งพาอาศัยกัน และคุณค่าของการไว้วางใจ (norms of
reciprocity and trustworthiness) ที่เกิดขึ้นจากเครือข่ายทางสังคม ตามที่นักรัฐศาสตร์อเมริกัน
Robert Putnam นิยามทุนทางสังคมไว้ว่าคือ ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของพลเมือง อันประกอบ
ไปด้วย กิจกรรมของอาสาสมัครและองค์ประกอบของทุนทางสังคมบนฐานของนิยามข้างต้น, ความ
5
ไว้วางใจ(Trust), สมาคมทางสังคม/การรวมกลุ่มทางสังคมและการแลกเปลี่ยน(Social Associations
and exchanges) และการมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation)
สาหรับขอบเขตความหมายของแนวคิดทุนทางสังคมในประเทศไทย ถูกอธิบายทั้งเชิง
รูปธรรม(Social Assets) และเชิงกระบวนการทางสังคม (Social Process) ทุนทางสังคมใน
ความหมายเชิงรูปธรรม หมายถึงทรัพยากรหรือทรัพย์สินของชุมชน มองให้เป็นรูปธรรมเช่น กลุ่ม
ทางสังคม องค์กรทางสังคม องค์กรชุมชน และเครือข่ายทางสังคมทั้งหลาย ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์
กองทุนสวัสดิการชุมชน ธนาคารความดี ชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น ทุนทางสังคมในความหมายเชิง
กระบวนการ อานันท์ กาญจนพันธุ์ ให้ความหมาย “ทุนทางสังคม” ในเชิงกระบวนการ ว่าหมายถึง
ปฏิบัติการทางสังคมที่มีองค์ประกอบสาคัญสองประการ คือ พื้นที่ทางสังคมและการเคลื่อนไหว/การ
ขับเคลื่อน(เวทีสัมมนาวิชาการเรื่องทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง วันที่ 8 พฤษภาคม 2558)
เช่นเดียวกันกับ ประเวศ วะสี (2552) อธิบายว่า ถ้าประชาชนรวมตัวและมีการจัดการจะเกิดต้นทุน
ทางสังคม (Social Capital) เป็นต้นทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหา การรวมตัวกันของประชาชนจะ
ทาให้เกิดองค์กรจัดการที่เรียกว่า “องค์กรชุมชน” ความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนจะแก้ไขปัญหาของ
ชุมชนได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การก่อเกิดการเมืองภาคประชาชนเป็นกระบวนการในการสร้างให้เกิด
ทุนทางสังคม และทุนทางสังคมจะช่วยหล่อเลี้ยงให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
ส่วน ปาริชาติ วลัยเสถียร (สัมภาษณ์:2558) ให้ความหมายทุนทางสังคมได้สอดคล้องกับการ
ใช้ทุนในการปฏิรูปสังคมไทยในการศึกษาครั้งนี้ไว้ 2 ความหมาย ความหมายแรก หมายถึง
อุดมการณ์ร่วม (Collective Ideology) ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนทางสังคม เป็นขบวนการที่คิดฟื้น
อุดมการณ์ที่จะยืนหยัดต่อสู้เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนขึ้นมา ถ้ามองทุนทางสังคมในรูปแบบ
อุดมการณ์จะสามารถเห็นพลัง เพราะเป็นตัวเชื่อมร้อยและปลุกสานึกร่วมที่ชุมชนมีร่วมกันอยู่
ความหมายที่สอง หมายถึง สานึกร่วม (Collective Consciousness) เป็นสานึกในการแก้ไขปัญหา
ของส่วนรวม และ ความหมายที่สาม คือ ปฏิบัติการร่วม (Collective Action) ปฏิบัติการร่วมจะ
นาไปสู่กระบวนการเคลื่อนไหวซึ่งมีอยู่ 2 ระดับคือ การเคลื่อนไหวในระดับชีวิตประจาวันและการ
เคลื่อนไหวในระดับโครงสร้าง การเคลื่อนไหวในระดับชีวิตประจาวัน หมายถึง ระดับในการแก้ไข
ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการชีวิตประจาวันซึ่งถือเป็นคุณค่าในเบื้องต้น เช่น อยากได้กลุ่มออม
ทรัพย์ก็ทากันไป อยากมีสวัสดิการก็ขับเคลื่อนกันไป ส่วน การเคลื่อนไหวในระดับโครงสร้าง เป็นการ
เคลื่อนไหวจะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายสาธารณะ ซึ่งการเคลื่อนไหวที่ทาให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายสาธารณะนั้นมีความหมายทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ภูมิภาค
และชุมชน
บทบำทของทุนทำงสังคม: สานักงานคณะรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น ให้ดาเนินการวิเคราะห์เชิง
ปริมาณในการศึกษาหัวข้อ “ทุนทางสังคม : การค้นหาวัฏจักรของหลักศีลธรรม (Virtuous Cycle)
ระหว่างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของมนุษย์กับกิจกรรมของพลเมือง” ในปีงบประมาณ 2002 ผล
การศึกษาปรากฏว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างองค์ประกอบของทุนทางสังคมกับกิจกรรมของ
พลเมือง ส่วนในประเทศไทยปรากฎมีการนาแนวคิดทุนทางสังคมมาใช้หลังวิกฤติเศรษฐกิจ 2540
อาทิ ประเวศ วะสี (2542), อานันท์ กาญจนพันธุ์ (2544) เอนก นาคะบุตร(2545) เสกสรร ประเสริฐ
กุล(2548) ได้อธิบายไว้ว่า ความเข้มแข็งของการเมืองภาคประชาชนจะทาให้เกิดความสมดุลและ
6
การบูรณาการระหว่างรัฐกับสังคม ในความหมายนี้ทุนทางสังคมคือความเข้มแข็งของการเมืองภาค
ประชาชน ส่วน ศิริวรรณ มนอัตระผดุง (2549) นาเสนอว่า ทุนทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิด
(1) ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory democracy) และ (2) กระตุ้นให้ประชาชนเกิด
ความตื่นตัว (Active citizen)
หลังปี 2540 ทุนทางสังคมมีบทบาทกับการแก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อม หลังจากที่สังคมไทยหันมาทบทวนบทบาทของตนเองที่ผ่านมาและเกิดกระแสการปฏิรูป
สังคม มีการตื่นตัวในการสนับสนุนการปฏิรูประบบราชการ การปฏิรูประบบการเมือง ประกอบกับ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นเครื่องนาทาง ให้มีการทบทวนค่านิยม
ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ ให้หันมาเน้นเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ดาเนินโครงการเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง กระแสการปฏิรูปดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพ
ความเข้มแข็งของชุมชน อันส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ทาให้แนวคิดเรื่อง “ทุนทางสังคม”
ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในการฟื้นฟูชุมชน สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อมขึ้น
แนวคิด “ทุนทางสังคม” ถูกนามาใช้อย่างจริงจังในสังคมไทยโดยสานักงานกองทุนเพื่อสังคม
(Social Investment Fund) ในปี พ.ศ.2541 เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการทางานให้เกิดกิจกรรมสาธารณะ
ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น โดยการสนับสนุนโครงการพัฒนาที่มาจาก
ภาคประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ.2543 สานักงานกองทุนเพื่อสังคมรายงาน ว่ามีโครงการที่ได้รับการ
สนับสนุนครอบคลุม 76 จังหวัด จานวนผู้ได้รับประโยชน์ประมาณ 2.7 ล้านคน โครงการที่เสนอขอรับ
การสนับสนุนจากสานักงานกองทุนเพื่อสังคมทั้งหมดดาเนินการโดยต้องอาศัย “ทุนทำงสังคมที่มีอยู่
เดิม” เช่น จิตวิญญาณ ระบบคุณค่า สานึกท้องถิ่น ความภาคภูมิใจที่มีต่อถิ่นฐานบ้านเกิด วัฒนธรรม
ในท้องถิ่น ภูมิปัญญา ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนกองทุนสาธารณะ เป็นต้น ทุน
ทางสังคมเหล่านี้มีบทบาทสาคัญต่อการพัฒนาประเทศ ทาให้เกิดการรวมกลุ่ม ทาให้เกิดการมีส่วน
ร่วมของชาวบ้าน เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดูแลผู้ด้อยโอกาส การขยายศักยภาพ
เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ชาวบ้านเกิดความเป็นเจ้าของทรัพยากรของ
ชุมชน ชุมชนมีความเอื้ออาทรและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เกิดพลังในการร่วมกันทากิจกรรม เกิด
เครือข่ายทางสังคมและการทาธุรกิจ เกิดประชาสังคม เกิดองค์กรชุมชน เป็นต้น จนกระทั่งปัจจุบัน
แนวคิดเรื่องทุนทางสังคมถูกนามาใช้ในการกาหนดแนวทางการพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติฉบับที่ 11
การจัดทาแผนพัฒนาประเทศของไทยนับตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔)
เป็นจุดเปลี่ยนสาคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศที่ให้ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาค
ส่วนในสังคม และมุ่งให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาเป็นบูรณา
การแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล ต่อมาแผนพัฒนาฯฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙) ได้
อัญเชิญ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานาทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ควบคู่ไป
กับกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่อง
จากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ สาหรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) ยังคงน้อมนา
“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางปฏิบัติ และให้ความสาคัญกับการพัฒนาที่ยึด“คนเป็น
ศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘-๙ และการพัฒนาที่สมดุลทั้งคน สังคม
7
เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยมีการเตรียม “ระบบภูมิคุ้มกัน” ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของ
ทุนที่มีอยู่ในประเทศและการบริหารจัดการความเสี่ยงให้พร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้ง
ภายนอกและภายในประเทศ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และความอยู่เย็นเป็นสุขของคนไทยทุกคน
ต่อมาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ ยังคงยึดแนวคิดเดิมจาก
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘-๑๐ เพื่อเป็นหลักการในการกาหนดนโยบายและ
เป้าหมายของการพัฒนา โดยเฉพาะหลักการปฏิบัติตาม “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และขับเคลื่อน
ให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วน ทุกระดับ ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการ
เป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มีการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณาการ
ทั้งมิติตัวคน สังคมเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ขณะเดียวกันให้
ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ และมีการ
กาหนดทิศทางการพัฒนาประเทศเพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน โดยนาทุนของ
ประเทศที่มีศักยภาพมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน พร้อมทั้งเสริมสร้างให้แข็งแกร่ง
เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่สาคัญได้แก่ การเสริมสร้างทุนสังคม (ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุน
ทางวัฒนธรรม)การเสริมสร้างทุนเศรษฐกิจ (ทุนกายภาพ ทุนทางการเงิน) และการเสริมสร้างทุน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กล่าวโดยสรุป ปัจจุบันสังคมไทยเห็นความสาคัญของทุนทางสังคมที่มีศักยภาพเป็นประโยชน์
ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของสังคมและเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ
1.7.2 ควำมหมำยของกำรปฏิรูป
ในข้างต้นได้ให้ความหมายของทุนทางสังคมพอสังเขป ส่วนความหมายของการปฏิรูปมีการ
นิยามกันอย่างหลากหลาย พบว่าการปฏิรูปมีความหมายถึงการดาเนินการหลายระดับ การปฏิรูป
(Reform) ตามพจนานุกรม คือการมาจัดองค์ประกอบใหม่ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพราะมี
บางอย่างผิดไปจากที่ควร จึงต้องปรับ ต้องจัดใหม่ การปฏิรูปย่อมต้องเป็นกระบวนการที่มีการต่อรอง
ต้องใช้เวลาดาเนินการ ต้องมีความอดทน ไม่สามารถได้มาโดยใช้อานาจ โดยใช้กาลังเข้าหักโค่น ไม่
สามารถจะมีฝ่ายใดได้รับตามสิ่งที่ปรารถนาไปทั้งหมดทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นการปฏิรูป ไม่ใช่ “การ
พัฒนา” ที่หมายถึงว่ามีอะไรอยู่ก็ทาให้ดีขึ้น ขาดอะไรที่ควรมีก็จัดให้มี และการปฏิรูป (Reform) ไม่ใช่
“การปฏิวัติ” (Revolution) ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน เปลี่ยนอย่าง
ฉับพลัน รวดเร็ว เข้าสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมาย (บรรยง พงษ์พาณิชย์, 2558)
การปฏิรูป (Reform) หมายถึง การปรับเปลี่ยนรูปร่างหรือทาโครงสร้างให้แตกต่างไปจากเดิม
ในทิศทางที่ดีขึ้นและเกิดประโยชน์มากกว่าที่ผ่านมา การปฏิรูปประเทศหมายถึงการปรับเปลี่ยน
โครงสร้างในแต่ละด้านอันเป็นองค์ประกอบสาคัญต่อการปกครองประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ต่อประชาชนทั้งประเทศ (แนวหน้าออนไลน์,ฉบับวันอังคาร ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558)
การปฏิรูป(Reform) หมายถึง การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) ดังเช่น การ
เปลี่ยนกระบวนทัศน์จาก “การดูแลผู้สูงอายุโดยสังคมเป็นการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน” เป็นการใช้
ชุมชนเป็นฐานในการสร้างระบบการดูแลในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงปี 2008 (Takako TSUTSUI, 2012)
8
หรือการเกิดกระบวนการทัศน์ใหม่ (Paradigm shift) ในบริบทของการจัดการทางเศรษฐกิจใน
ประเทศเกาหลีใต้ ที่ทาให้เกิดนโยบาย ระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจ อาทิ การตรวจสอบความ
โปร่งใสของสถาบันทางเศรษฐกิจโดยองค์กรภาคประชาชนที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลในช่วงปี
2000 เป็นต้น
การปฏิรูปโครงสร้าง (Structural Reform) ในความหมายของ Jiro Yamaguchi (2003)
หมายถึง การขับเคลื่อนให้เกิดการแปรรูประบบบริหารราชการให้เป็นองค์กรกึ่งรัฐบาล (Japan’s
quasi-governmental organization) การกดดันทางนโยบายให้ปัจเจกบุคคลมีส่วนร่วมมือในเรื่อง
สิ่งแวดล้อมอย่างแข็งขัน เช่น การดูแลสุขภาพและเบี้ยยังชีพ การปฏิรูประบบการดูแลสุขภาพถูก
ออกแบบให้มีราคาค่าใช้จ่ายกับผู้ป่วยให้สูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็ให้เสนอเค้าโครงการปฏิรูปภาษี
ในช่วงทศวรรษ 1990 ประเทศญี่ปุ่นเผชิญปัญหาใหญ่ 3 ประการ คือ (1) ปัญหาความตึงเครียด
เกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาล รัฐบาลสะสมหนี้แห่งชาติถึง 700 ล้านล้านล้านเยน (2) ปัญหา
กฎหมายที่เหนี่ยวรั้งการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมที่อานวยความสะดวกให้ขึ้นราคาสินค้า ทาให้
ราคาทางสังคม-ค่าครองชีพสูงขึ้นด้วย (3) ขาดความโปร่งใส่ มีการแพร่ขยายของการคอรัปชั่นกลาย
เป็นเรื่องอื้อฉาวของข้าราชการและนักการเมือง จากปัญหา 3 ประการนี้ นายกรัฐมนตรีจุงอิชิโร โคะอิ
ซุมิ (2544-2549) ได้เสนอแนวทางการปฏิรูปที่เรียกว่า “ปฏิรูปโครงสร้าง” หรือ Koizumi
administration’s structural reform มีเป้าหมายไปที่นโยบายสากลทางการเมืองวัตถุประสงค์เพื่อ
แก้ไขวิกฤติ
การปฏิรูปโครงสร้าง (Structural Reform) ในความหมายของ Chrol-Kyu Park หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนกระบวนทัศน์อย่างมีนัยสาคัญในแง่ของการ
จัดการทางเศรษฐกิจ สาระและเนื้อหามาแทนที่รูปลักษณ์ภายนอกและรูปแบบ คุณภาพเริ่มมี
ความสาคัญมากกว่าปริมาณ ความสมดุลระหว่างการเจริญเติบโตและการจาแนกแจกจ่าย เสรีภาพ
และความเป็นธรรมกลายมาเป็นบรรทัดฐานในสังคม สวัสดิการเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมากขึ้น
กว่าเดิม อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้ ธุรกิจ SMEs และกิจการต่างๆ เริ่มถูกพัฒนาและหล่อเลี้ยงให้
เป็นแหล่งใหม่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนเป็นสิ่งที่ทุกคนแสวงหาเมื่อ
เทียบกับอัตราการเจริญเติบโตที่ต่าในอดีตที่ผ่านมา สิ่งเหล่านี้คือการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดที่นามา
สู่การปฏิบัติในระหว่างการกาหนดนโยบายและการดาเนินการ รัฐบาลยอมให้แต่ละกิจการเป็นอิสระ
ในการดูแลและปกครองตนเองโดยการปฏิรูปกฏหมายเศรษฐกิจ (Chrol-Kyu Park, Online, 2015)
จากการทบทวนความหมายของการปฏิรูปในข้างต้นจะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่ให้ความหมายการ
ปฏิรูปว่าหมายถึงการปฏิรูปในระดับโครงสร้างซึ่งจะต้องขับเคลื่อนในระดับชาติ ดังนี้
1) รัฐบาลแบบมีส่วนร่วม (Participatory Government) เช่น การสนับสนุนให้พลเมืองมี
ความกระตือรือร้น ทาหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบ ติดตามการทางานของรัฐบาล, หน่วยงาน
ราชการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ
2) การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย เช่น นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ นโยบายทางด้านการศึกษา
3) การตรากฎหมายใหม่
9
4) การจัดตั้งองค์กร-สถาบันใหม่ เช่น การจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง
คณะกรรมการเลือกตั้ง ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการ
ป้องกันและปรามปรามการฟอกเงิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตใน
ภาครัฐ (ป.ป.ท.) ฯลฯ
5) การปรับเปลี่ยนองค์กร-การปฏิรูประบบราชการ เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ขยาย
ภารกิจ ปรับลดหน่วยงานให้กระชับ
6) การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) เช่น การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น การ
ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
อย่างไรก็ตาม ในการอฺธิบายทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศของ ปาริชาติ วลัยเสถียร
(สัมภาษณ์, 2558) กล่าวว่า ทุนทำงสังคมจะปฏิรูปสังคมได้ต้องทำให้เกิดกำรขับเคลื่อนและนำไปสู่
กำรเปลี่ยนแปลงทั้งสองระดับ คือ ระดับชีวิตประจำวันและระดับโครงสร้ำง การปฏิรูปสังคมไม่
จาเป็นว่าต้องทาในระดับชาติเท่านั้น แต่การขับเคลื่อนระดับล่าง-ระดับชุมชนอาจจะมีผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงมาตรการ ระเบียบปฏิบัติ แม้กระทั่งข้อบัญญัติและเทศบัญญัติขององค์กรปกครอส่วน
ท้องถิ่นได้ สามารถประกาศข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ ซึ่งมีผลในทางปฏิบัติที่สามารถทาให้เกิดความ
ครอบคลุมมากขึ้น (Operate) ทั้งตาบลในหน่วยทางสังคมหนึ่งๆ ส่วน ประเวศ วะสี (สัมภาษณ์,
2558) ให้ความเห็นว่า การปฏิรูปสังคมต้องปฏิรูปที่โครงสร้าง นั่นหมายความว่า การปฏิรูปโครงสร้าง
อานาจ ต้องคืนอานาจให้แก่ชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัด ให้อานาจให้แก่ชุมชน ท้องถิ่น จังหวัดจัดการ
ตนเอง การปฏิรูปสังคมจะต้องอาศัยทุนทางสังคมเดิมที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น และหลังการปฏิรูปสังคม
จะทาให้เกิดทุนทางสังคมใหม่ นอกจากนี้ ในความหมายของ ประเวศ วะสี “กระบวนการภาค
ประชาชนใดที่ทาให้เกิดทุนทางสังคมใหม่ถือว่าเป็นการปฏิรูปสังคม” แล้ว ฉะนั้น ทั้ง ปาริชาติ วลัย
เสถียร และประเวศ วะสี เห็นว่าการปฏิรูปสังคมไม่จาเป็นต้องเกิดขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงระดับชาติ
เท่านั้น แต่การปฏิรูปเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงระดับชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด ก็ได้ และการเปลี่ยนแปลง
ในระดับชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัดดังกล่าวสามารถขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นเป็นภาพรวมระดับชาติได้
หมายความว่า การปฏิบัติการของภาคประชาชนที่ดาเนินการในระดับชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด เมื่อ
ดาเนินการพร้อมๆ ทั้งประเทศ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นทั้งประเทศได้ หลายประเด็นที่ถูก
ขับเคลื่อนในระดับชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัด แต่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับชาติ อาทิ
กองทุนสวัสดิการชุมชน ที่หน่วยของการขับเคลื่อนเกิดขึ้นในระดับชุมชน ตาบล จังหวัด แต่แกนนา
สามารถขับเคลื่อนให้เกิดพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ที่นามาใช้รับรองกองทุน
สวัสดิการชุมชนทั้งประเทศได้ หรือตัวอย่างของการขับเคลื่อนของภาคประชาชนอื่นสามารถผลักดัน
กฎหมายที่นามาบังคับใช้ทั้งประเทศ อาทิ พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พระราชบัญญัติการออม
แห่งชาติ เป็นต้น
1.7.3 กรอบแนวคิดในกำรศึกษำ
ในงานพัฒนาสังคมไทยที่ผ่านมามีปัญหามาโดยตลอด การแก้ไขทาได้เพียงการบรรเทา
เยียวยาแต่ไม่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบโครงสร้างความสัมพันธ์ซึ่งจะทาให้เกิดการแก้ไข
ปัญหาอย่างยั่งยืนได้ ในการศึกษาครั้งนี้เสนอว่าการขับเคลื่อน (Movement) เพื่อการพัฒนาสังคม
ชุมชนต้องเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ โครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
10
ระเบียบ กฎเกณฑ์ นโยบายสาธารณะต่างๆ ซึ่งความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างจะนาไปสู่พลังทางสังคม
(Social Power) ใน 2 รูปแบบ คือ Power to กับ Power Over คาว่า “Power to” จะสร้างให้คน
ในชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด สามารถจัดการตัวเอง (Self-management) จะสามารถทาให้เกิดการ
ขับเคลื่อนต่อไปได้ ส่วน “Power Over” คืออานาจที่ชุมชนถูกครอบงาจากอานาจอื่น ตลอดเวลาที่
ผ่านมาชุมชนจะเจอกับอานาจอื่นมาครอบงา
ทุนทางสังคมจะสร้างให้เกิดอุดมการณ์ร่วม สานึกร่วม การดาเนินงานร่วมกันที่จะพลิกการ
เปลี่ยนแปลง หากปฏิรูปแล้วไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างก็อาจจะไม่สาเร็จ โดยเฉพาะโครงสร้างทั้ง
สองระดับคือ โครงสร้างเรื่องระเบียบกฎเกณฑ์ นโยบายต่างๆ ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด และ
ระดับชาติ ซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นและทางออกที่ดี และโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอานาจ ต้องทาให้
ชาวบ้านมีสิทธิมีเสียงลุกขึ้นมาเรียกร้อง (Voice) ได้ว่าตนเองต้องการอะไร ขอตรวจสอบ ขอรับฟัง ขอ
มีส่วนร่วม เป็นความสัมพันธ์เชิงอานาจที่ทาให้ทุกคนมีส่วนร่วม
ชุมชนมีความหมายในเชิงจิตวิญญาณ (Spirit) มีความหมายในการร่วมอะไรบางอย่าง
(Share) มันเป็นเรื่องของอุดมการณ์ (Ideology) ระบบความสัมพันธ์ (Relation) ที่เป็นการเกาะ
เกี่ยวคนในชุมชนเข้าด้วยกัน ชุมชนจึงเป็นแก่นแกนของทุนทางสังคม ฉะนั้นการใช้ทุนทางสังคมในการ
ปฏิรูปสังคมนั้นจึงต้องอาศัยชุมชนเป็นฐานในการปฏิบัติการ กล่าวคือ การทาให้ชุมชนมีความเป็น
เจ้าของ (Sense of belonging) ทรัพย์สิน (Assets) ของชุมชน ทรัพย์สินของชุมชนประกอบด้วย
ทรัพย์สินในเรื่องของธรรมชาติ (ดิน น้า ป่า) ทรัพย์สินในเรื่องของกายภาพ โบราณสถาน โบราณวัตถุ
วัดวาอารามที่ชุมชนมีอยู่ ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การทอผ้า การยอมผ้า การทาเหมืองฝาย ภูมิ
ปัญญาต่างๆ และสุดท้ายคือ ทรัพย์สินเรื่องเงินตรา ในงานวิจัยชิ้นนี้เห็นว่าการปฏิรูปสังคมไทยนั้นคือ
การทาให้ชุมชนมีความเป็นเจ้าของทรัพย์สินเหล่านี้ เมื่อชุมชนมีทรัพย์สินมากเท่าไหร่จะทาให้มีอานาจ
อาทิ กลุ่มการเงินทั้งหลายเมื่อมีเงินจานวนมากก็จะมีอานาจในการต่อรองได้ เมื่อมีเงินเป็นล้านๆ
อานาจการต่อรองก็จะเกิดขึ้นทันที หรือ Power to ก็จะเกิดขึ้นทันที และ Power Over ที่มาจากข้าง
นอกที่จะครอบงาชุมชนทาได้ยากขึ้น นอกจากนี้ต้องสร้างพลังอานาจ (Empower) ให้ชุมชนเข้าถึง
สิทธิ อานาจ ให้มากขึ้น โดยกระบวนการขับเคลื่อนที่นาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในชีวิตประจาวันและ
การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ทุนทางสังคมในความหมายดังกล่าวข้างต้นจะช่วยทะลุทะลวงปัญหาที่
เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบันได้ ปัญหาปัจจุบันที่สังคมไทยเผชิญอย่างหนัก อาทิ ชุมชนไทยถูก
ครอบงาจากทุนข้ามชาติ ทุนข้ามชาติมีพลังที่จะซื้อได้หมด คนไทยยอมเป็นนอมินีในการซื้อกิจการ
ของคนไทย เป็นนอมินีในการซื้อที่ดินของคนไทยให้ต่างชาติ คนฐานรากที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้ยากลาบาก
มากกับวัฒนธรรมอานาจและผลประโยชน์ในลักษณะนี้ ปัญหาความแตกแยกในสังคมไทย ปัญหา
ความขัดแย้งในสังคมซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกัน การเข้าถึง
ทรัพยากรได้ไม่เท่าเทียมกัน ฯลฯ ซึ่งการต่อสู้ด้วยความรุนแรงก็ไม่ใช่คาตอบที่ควรจะใช้เป็นแนวทาง
ในการปฏิบัติ งานวิจัยชิ้นนี้จึงเชื่อว่าจาเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้าง โดยเฉพาะโครงสร้างเชิงอานาจ คือ
คืนอานาจให้แก่ชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด เพื่อให้ชุมชน ท้องถิ่น จังหวัดจัดการตนเองในบางเรื่องที่
เกี่ยวข้องกับชีวิตประจาวันและโครงสร้างทางสังคม จากคาอธิบายในข้างต้นสามารถสรุปได้ดังกรอบ
แนวคิดในการศึกษาต่อไปนี้
11
1.8 นิยำมเชิงปฏิบัติกำร
ทุนทำงสังคม หมายรวมถึง ทั้งทุนชุมชนเดิมที่มีอยู่แล้วและทุนทางสังคมที่สร้างขึ้นมาใหม่
อันได้แก่ ความเหนียวแน่นของชุมชน ความรับผิดชอบทางสังคม ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ค่านิยม
ในการพึ่งตนเอง ความเป็นเพื่อนบ้าน อุดมคติทางศาสนา (การออมบุญ) วัฒนธรรมชุมชน ระบบเครือ
ญาติ ระบบความเชื่อ ประเพณี ภูมิปัญญา พิธีกรรม ความรู้สึกเป็นเจ้าของ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หรืออาจ
เรียกว่า ทุนทางสังคมที่มีลักษณะเป็นอุดมการณ์ร่วม (Collective Ideology) ที่มีนัยยะเชิงจิต
วิญญาณ (Spirit) มีความหมายในการร่วมอะไรบางอย่าง (Share) เป็นเรื่องของอุดมการณ์ (Ideology)
ระบบความสัมพันธ์ (Relation) ที่เป็นการเกาะเกี่ยวคนในชุมชนเข้าด้วยกัน ทุนทางสังคมประเภทนี้
จะสร้างให้เกิดอุดมการณ์ สานึกร่วม การดาเนินงานร่วมกันที่จะพลิกการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูป
ประเทศได้ นอกจากนี้ยังมีทุนทางสังคมที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม อาทิ ผู้นา
ชุมชน แกนนาในการขับเคลื่อน องค์กรชุมชน และ กลุ่มทางสังคม ในการศึกษาครั้งนี้ ทุนทางสังคมที่
มีบทบาทในการปฏิรูปประเทศหมายถึงทุนทางสังคมที่มีอยู่เดิมในชุมชน-สังคม แต่ในขณะเดียวกัน
กระบวนการในการขับเคลื่อนเพื่อไปสู่การปฏิรูปทางสังคมจะสร้างทุนทางสังคมใหม่ขึ้นด้วยและจะ
กลายไปเป็นทุนทางสังคมเดิมในการขับเคลื่อนชุดต่อไป
กำรปฏิรูปประเทศไทย หมายถึง กระบวนการการเปลี่ยนแปลง การปรับเปลี่ยน การทาให้
เกิดขึ้นใหม่ ในสองระดับคือ ในเชิงโครงสร้างและในระดับปฏิบัติในชีวิตประจาวัน การปฏิรูปเชิง
โครงสร้างหมายถึง โครงสร้างความสัมพันธ์ ที่ถูกกาหนดโดยระเบียบ กฎเกณฑ์ นโยบายสาธารณะ
ต่างๆ และระดับปฏิบัติในชีวิตประจาวัน หมายถึง ทุนทางสังคมสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ปฏิบัติการ
ได้จริง (Implement) การทาให้ในพื้นที่ทาได้โดยการปฏิบัติการ (Action) ให้เกิดในชีวิตประจาวัน
คือการทาให้บรรลุให้เห็นปัญหาความต้องการในระดับปฏิบัติในชีวิตประจาวัน
Social Power
1.Power Over
2.Power To
12
บทที่ 2
ระเบียบวิธีการศึกษา
การศึกษาเรื่องทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยครั้งนี้ใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualitative Research) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 การรวบรวมข้อมูล
การศึกษาครั้งนี้อาศัยการรวบรวมข้อมูลประเด็นการศึกษาจาก 2 แหล่งข้อมูลคือ
- การศึกษาเอกสาร (Documentary) จากงานวิจัย หนังสือ ที่ได้เสนอแนวคิดเรื่อง
ทุนทางสังคมวัฒนธรรมเพื่อสารวจสถานะของแนวคิด ทั้งเอกสารภาษาไทยและต่างประเทศ
นอกจากนี้อาศัยผลงานวิจัยของผู้ศึกษาที่ผ่านมาทั้งการศึกษาในประเทศและต่างประเทศนามาถอด
โมเดลการใช้ทุนทางสังคมในการขับเคลื่อนทางสังคม
- จากการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interviews) นักวิชาการ นักคิด นักพัฒนา
นักเคลื่อนไหวทางสังคมของสังคมไทยที่มีประสบการณ์การทางานกับทุนทางสังคมและมี
ประสบการณ์การใช้ทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหาสังคม
2.2 กลุ่มตัวอย่าง
เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้อาศัยเอกสารงานวิจัยเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา
ครั้งนี้คือผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์การ
ทางานด้านทุนทางสังคมกับการพัฒนาสังคม ได้แก่ รองศาสตราจารย์ปาริชาติ วลัยเสถียร อาจารย์
ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก รองศาสตราจารย์ พรชัย ตระกูลวรานนท์ ครูมุกดา อินต๊ะสาร ศาสตราจารย์
นายแพทย์ ประเวศ วะสี เป็นต้น
2.3 ระยะเวลาในการศึกษา
ระยะเวลาในการดาเนินโครงการทั้งสิ้น 9 เดือนคือตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือน
สิงหาคม พ.ศ.2558 โดยแบ่งการดาเนินงานตามระยะต่อไปนี้
- เดือนที่ 1 ทบทวนและนาเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้น ภายในเดือน
ธันวาคม 2557
- เดือนที่ 1-4 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 ถึง เดือนมีนาคม 2558 ศึกษาเพื่อเสนอ
รูปแบบของกลไกทุนทางสังคมในระดับโครงสร้างสังคมไทยเพื่อให้ระบุในกฎหมาย
ระดับชาติ อาทิ ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการ
ปฏิรูปประเทศไทย
- เดือนที่ 4-9 ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 ถึง เดือนสิงหาคม 2558 เพื่อเสนอแนว
ทางการสร้างกลไกทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหาสังคมและปัญหาอื่นๆ ซึ่งต้อง
อาศัยการศึกษาตัวอย่างที่ดีที่ปรากฏอยู่ในภูมิภาคต่างๆของสังคม
13
2.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและการนาเสนอข้อมูล
การวิจัยเรื่อมจากการสารวจโมเดลที่ดีของประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย
เพื่อถอดความรู้และค้นหาทุนทางสังคมเดิมในรูปแบบต่างๆที่มีบทบาทในการปฏิรูปสังคม และอธิบาย
ธรรมชาติของทุนทางสังคมที่มีบทบาทในการปฏิรูปในสังคมไทย ค้นหาประเด็นปัญหาที่สามารถใช้ทุน
ทางสังคมในการปฏิรูปหรือเปลี่ยนไปแลง จากนั้นผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะในประเด็นการนาโมเดลที่ดีไป
ปรับใช้ในสังคมไทย ตลอดจนการเสนอกลไกเสริมรัฐและกลไกรัฐที่สามารถปฏิรูปประเทศเพื่อแก้ไข
ปัญหาของประเทศ
ในเบื้องต้นผู้วิจัยได้นิยามปัญหาของสังคมไทยว่าปัญหาความขัดแย้งของสังคมหรือปัญหา
ความแตกแยกในสังคมซึ่งมีสาเหตุมาจากความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้าในการบังคับใช้
กฎหมาย ความเหลื่อมล้าในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้าในการจัด
สวัสสดิการสังคม นั้นเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน
การนาเสนอผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ การสารวจประสบการณ์การใช้ทุน
ทางสังคมในการขับเคลื่อนสังคมในต่างประเทศ คือ ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้ ส่วนที่สอง
คือ การสารวจตัวอย่างการใช้ทุนทางสังคมเดิมในการขับเคลื่อนทางสังคมในประเทศไทย สาหรับ
สังคมไทยศึกษาสารวจ (1) การปฏิรูปการพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจและสวัสดิการของชุมชน ศึกษา
จากการขับเคลื่อนกองทุนการเงินชุมชนและการขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน (2) การปฏิบัติการ
ของทุนทางสังคมในการสร้างระบบการดูแลสังคมสูงวัย (3) การขับเคลื่อนภาคประชาสังคมในการ
แก้ไขปัญหาสังคม (4) พลังทางสังคม-ชุมชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อสังคม และส่วนสุดท้าย เป็น
การเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปสังคมโดยการใช้ทุนทางสังคม จากขอบเขตการวิเคราะห์ข้อมูล
ดังกล่าวนาไปสู่การเสนอแนวทางการปฏิรูป 3 มิติหลัก ดังนี้
(1) การปฏิรูปการพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจและสวัสดิการของชุมชน หมายถึง การ
สารวจโมเดลที่ดีของการใช้ทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสวัสดิการในชุมชน-สังคมทั้ง
จากประสบการณ์ในและต่างประเทศ รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการปฏิรูปการพึ่งตนเองได้ทาง
เศรษฐกิจและสวัสดิการด้วยทุนทางสังคม
(2) การปฏิรูปความรับผิดชอบทางสังคม หมายถึง การสารวจโมเดลที่ดีของการใช้ทุนทาง
สังคมในการแก้ไขปัญหาการคอรัปชั่น ปัญหาวิกฤติธรรมาภิบาลในชุมชน-สังคม เพื่อให้ประชาชนมี
ความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งจากประสบการณ์ในและต่างประเทศ รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการ
ปฏิรูปความรับผิดชอบทางสังคมด้วยทุนทางสังคม
(3) การปฏิรูปการเมืองในระดับท้องถิ่น หมายถึง การสารวจโมเดลที่ดีของการใช้ทุนทาง
สังคมในการแก้ไขปัญหาการเมืองในระดับท้องถิ่น จากประสบการณ์ในประเทศและต่างประเทศ
รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการปฏิรูปการเมืองในระดับท้องถิ่นด้วยทุนทางสังคม
(4) การปฏิรูปการจัดตั้งองค์กรเสริมรัฐ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับสังคมไทย เพื่อทาหน้าที่
ส่งเสริมหรือเสริมบทบาทการทางานของรัฐบาล
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย

More Related Content

What's hot

โครงการหมาน้อยร้อยฝัน(บทที่1-3)
โครงการหมาน้อยร้อยฝัน(บทที่1-3)โครงการหมาน้อยร้อยฝัน(บทที่1-3)
โครงการหมาน้อยร้อยฝัน(บทที่1-3)
Donnapha Bor-sap
 
คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้
คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้  คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้
คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้
Walaiporn Mahamai
 
Design Tools for Systems Thinking
Design Tools for Systems ThinkingDesign Tools for Systems Thinking
Design Tools for Systems Thinking
Peter Vermaercke
 

What's hot (20)

Towards a Systemic Design Toolkit
Towards a Systemic Design ToolkitTowards a Systemic Design Toolkit
Towards a Systemic Design Toolkit
 
Innovation Frameworks
Innovation FrameworksInnovation Frameworks
Innovation Frameworks
 
Morgenbooster 1508 - Think like a Futurist Act Like a Designer
Morgenbooster 1508  - Think like a Futurist Act Like a DesignerMorgenbooster 1508  - Think like a Futurist Act Like a Designer
Morgenbooster 1508 - Think like a Futurist Act Like a Designer
 
EGA Enterprise Architecture
EGA Enterprise ArchitectureEGA Enterprise Architecture
EGA Enterprise Architecture
 
1.4 _ Design Process.pdf
1.4 _ Design Process.pdf1.4 _ Design Process.pdf
1.4 _ Design Process.pdf
 
Systemic Design Principles & Methods (Royal College of Art)
Systemic Design Principles & Methods (Royal College of Art)Systemic Design Principles & Methods (Royal College of Art)
Systemic Design Principles & Methods (Royal College of Art)
 
PRESENTATION: Innovation in the Public Sector
PRESENTATION: Innovation in the Public Sector PRESENTATION: Innovation in the Public Sector
PRESENTATION: Innovation in the Public Sector
 
คุณธรรมจริยธรรมผู้บริหาร 2
คุณธรรมจริยธรรมผู้บริหาร 2คุณธรรมจริยธรรมผู้บริหาร 2
คุณธรรมจริยธรรมผู้บริหาร 2
 
Storytelling for Systems Design:
Storytelling for Systems Design: Storytelling for Systems Design:
Storytelling for Systems Design:
 
โครงการหมาน้อยร้อยฝัน(บทที่1-3)
โครงการหมาน้อยร้อยฝัน(บทที่1-3)โครงการหมาน้อยร้อยฝัน(บทที่1-3)
โครงการหมาน้อยร้อยฝัน(บทที่1-3)
 
Designing for Possible Futures
Designing for Possible FuturesDesigning for Possible Futures
Designing for Possible Futures
 
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
 
Jeremy Bowes and Peter Jones: Synthesis Maps as Design Constructs
Jeremy Bowes and Peter Jones: Synthesis Maps as Design ConstructsJeremy Bowes and Peter Jones: Synthesis Maps as Design Constructs
Jeremy Bowes and Peter Jones: Synthesis Maps as Design Constructs
 
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technologyChapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
 
Design thinking
Design thinkingDesign thinking
Design thinking
 
คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้
คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้  คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้
คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้
 
Design Tools for Systems Thinking
Design Tools for Systems ThinkingDesign Tools for Systems Thinking
Design Tools for Systems Thinking
 
Systems Thinking in Practice - an Open University showcase
Systems Thinking in Practice - an Open University showcaseSystems Thinking in Practice - an Open University showcase
Systems Thinking in Practice - an Open University showcase
 
Future foresight
Future foresightFuture foresight
Future foresight
 
Managing Innovation
Managing InnovationManaging Innovation
Managing Innovation
 

Similar to ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย

Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)
chorchamp
 
ทฤษฏีการบริหาร
ทฤษฏีการบริหารทฤษฏีการบริหาร
ทฤษฏีการบริหาร
guest6b6fea3
 
Pongsiri.pdf 2
Pongsiri.pdf 2Pongsiri.pdf 2
Pongsiri.pdf 2
BTNHO
 

Similar to ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย (20)

Tic 1
Tic  1Tic  1
Tic 1
 
แนวข้อสอบ Comprehensive 2
แนวข้อสอบ Comprehensive 2แนวข้อสอบ Comprehensive 2
แนวข้อสอบ Comprehensive 2
 
หน่วยที่๔
หน่วยที่๔หน่วยที่๔
หน่วยที่๔
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 
Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)
 
Moral Project Plan2008
Moral Project Plan2008Moral Project Plan2008
Moral Project Plan2008
 
9789740333579
97897403335799789740333579
9789740333579
 
ทฤษฏีการบริหาร
ทฤษฏีการบริหารทฤษฏีการบริหาร
ทฤษฏีการบริหาร
 
Pongsiri.pdf 2
Pongsiri.pdf 2Pongsiri.pdf 2
Pongsiri.pdf 2
 
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้ทั่วไปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้ทั่วไปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาบ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้ทั่วไปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้ทั่วไปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
 
Document
DocumentDocument
Document
 
Teerapong4
Teerapong4Teerapong4
Teerapong4
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
Research pathway
Research pathwayResearch pathway
Research pathway
 
แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย
แนวทางการปฏิรูปประเทศไทยแนวทางการปฏิรูปประเทศไทย
แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย
 
แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย
แนวทางการปฏิรูปประเทศไทยแนวทางการปฏิรูปประเทศไทย
แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย
 
2 นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย
2 นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย2 นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย
2 นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย
 
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษาปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
 

More from Klangpanya

การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
Klangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
Klangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
Klangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Klangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย

  • 1. รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย (Social Capital and Thailand Reform) รองศาสตราจารย์ สายฝน สุเอียนทรเมธี วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอต่อ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตไทย วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 9 พฤศจิกายน 2558
  • 2. สารบัญ บทที่ หน้า 1 บทนา 1 1.1 ความเป็นมาของการศึกษา 1 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 3 1.3 ขอบเขตเนื้อหา 3 1.4 คาถามการวิจัย 4 1.5 สมมติฐานการวิจัย 4 1.6 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 4 1.7 แนวคิดในการศึกษา 4 1.8 นิยามเชิงปฏิบัติการ 11 2 ระเบียบวิธีการศึกษา 12 2.1 การวบรวมข้อมูล 12 2.2 กลุ่มตัวอย่าง 12 2.3 ระยะเวลาในการศึกษา 12 2.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและการนาเสนอข้อมูล 13 3 บทสารวจทุนทางสังคมกับการปฏิรูปสังคม : ประสบการณ์ต่างประเทศ 14 3.1 ประสบการณ์ประเทศญี่ปุ่น 14 3.2 ประสบการณ์ประเทศเกาหลีใต้ 30 4 ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปสังคมไทย 38 4.1 การขับเคลื่อนกองทุนการเงินชุมชน: กลุ่มออมทรัพย์ 39 4.2 การขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน 41 4.3 ปฏิบัติการของทุนทางสังคมในการสร้างระบบการดูแสังคมสูงวัย 45 4.4 การขับเคลื่อนภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาสังคม 50 4.5 พลังทางสังคม-ชุมชนในการขับเคลื่อนกิจการเพื่อสังคม 56 4.6 พลังทางสังคมกับการขับเคลื่อนทางการเมือง กรณีการเคลื่อนไหวของ กปปส. 74 4.7 ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคม 77 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 82 5.1 บทสรุป 82 5.2 ข้อเสนอแนะ 86 5.3 ข้อจากัดของการวิจัย 89
  • 3.
  • 4. 1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ควำมเป็นมำของกำรศึกษำ กระแสการปฏิรูปสังคมไทยหลังการยึดอานาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. (National Council for Peace and Order: NCPO) ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ได้รับความ สนใจจากประชาชนชาวไทยและต่างประเทศ ในขณะที่รัฐบาล คสช.กาลังดาเนินการเพื่อหาแนวทาง ในการปฏิรูปประเทศนั้นมีหลายหน่วยงานที่ได้เสนอแนวทางการปฏิรูป อาทิ คณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, คณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ, สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย, ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการเสนอแนวทางการปฏิรูปในนามบุคคล อาทิ สุรินทร์ พิศสุวรรณ, ธนิต โสรัตน, โชคชัย สุทธาเวศ, ฯลฯ พบว่าข้อเสนอส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอ ให้ปฏิรูประดับชาติไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านสังคม และด้าน สิ่งแวดล้อม แต่โจทย์สาคัญในการปฏิรูปครั้งนี้ดูเหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย โดยเฉพาะการ ชุมนุมทางการเมืองที่มีต่อเนื่องมาถึง 6 เดือนก่อนการทารัฐประหารของ คสช. อันเนื่องมาจากความ ขัดแย้งทางความคิดและการแก่งแย่งผลประโยชน์ทางการเมือง และตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา (วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 และ พ.ศ. 2556–2557) ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของ ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทาให้ประชาชนแตกความสามัคคี จนไม่อาจปรองดองกันได้ มีความขัดแย้งทาง ความคิดการเมืองอย่างรุนแรง หยั่งลึกจากระดับประเทศไปถึงระดับครอบครัวคนไทย ปัญหาทุจริตที่มี คดีความจานวนมากอยู่ในชั้นศาล การใช้อานาจการปกครองที่กระทาอยู่เดิมไม่สามารถแก้ไขปัญหา ความขัดแย้ง ความแตกแยก และการกระทาผิดของกลุ่มต่างๆ ได้อีกต่อไป เป็นต้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 จึงกาหนดให้มีสภา ปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. มีหน้าที่ศึกษาและให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ เพื่อให้ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพ สังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิ ชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้าและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน ทาให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และมี การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด (สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2557) รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 27 ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทาหน้าที่ ศึกษาและเสนอแนะแนวทางเพื่อการปฏิรูปประเทศด้าน (1) การเมือง (2) การบริหารราชการแผ่นดิน (3) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (4) การปกครองท้องถิ่น (5) การศึกษา (6) เศรษฐกิจ (7) พลังงาน (8) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (9) สื่อสารมวลชน (10) สังคม (11) อื่น ๆ พร้อมเสนอ ความเห็นต่อคณะกรรมาธิการเพื่อประโยชน์ในการจัดทาร่างรัฐธรรมนูญ การปฏิรูประเทศไทยหลายครั้งในอดีตให้ความสาคัญกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสาคัญ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนที่มาของสมาชิกสภาผู้แทน ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา การปรับเปลี่ยนองค์กร
  • 5. 2 ทางการเมือง การสร้างกลไกในการแก้ไขการทุจริตคอรัปชั่น การสร้างกลไกการบริหารที่เป็นอิสระ ทางการเมือง การสร้างกลไกในการตรวจสอบการทางานของรัฐบาล ถือเป็นการปฏิรูปในระดับ โครงสร้างส่วนบนและในเชิงประเด็นที่เป็นปัญหาของสังคมไทย เช่น การปฏิรูปด้านการศึกษา การ ปฏิรูปด้านการทุจริตคอรัปชั่น ฯลฯ แต่ยังขาดข้อเสนอแนะการปฏิรูปในเชิงความคิดทฤษฎี หรือ ข้อเสนอที่เป็นกระบวนทัศน์ (Paradigm) ที่นาไปเป็นหลักการในการปฏิรูปเชิงประเด็น ปัญหาที่นาไปสู่การศึกษาทุนทางสังคมกับการปฏิรูปสังคมไทยครั้งนี้ คือ ปัญหาความขัดแย้ง มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย มีสาเหตุมาจากความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้าในการบังคับใช้ กฎหมาย ความเหลื่อมล้าในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้าในการจัด สวัสสดิการสังคม เป็นต้น ซึ่งแก่นแกนของปัญหาเกิดขึ้นที่ชุมชนท้องถิ่น ประกอบกับอดีตที่ผ่านมา ชุมชนท้องถิ่นถูกทาให้ไม่พึ่งตนเองโดยเฉพาะพื้นที่ที่อานาจรัฐเข้าถึงอาจนับได้ว่าตั้งแต่เริ่มมีการใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข้อเสนอของการศึกษาจึงให้มีการตรวจสอบปรากฎการณ์ที่ บ่งชี้ชัดว่าทุนทางสังคมสามารถจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นการศึกษาเรื่องทุนทางสังคมกับการปฏิรูปสังคมไทยยังเป็นประเด็น ใหม่สาหรับสังคมไทย ยังไม่มีใครพูด แต่การศึกษาและพัฒนาแนวคิดว่าด้วยทุนทางสังคมในสังคมไทย มีมาเกือบสองทศวรรษ โดยเฉพาะการอธิบายว่า “ทุนทางสังคมเป็นปัจจัย-เงื่อนไขที่จาเป็นในการ สร้างความเข้มแข็งชุมชน-สังคม การมีอยู่ของทุนทางสังคมจะเสริมสร้างการปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ การพัฒนาประชาธิปไตย” จนกระทั่งสามารถนาเสนอเป็นสมมุติฐานได้ว่า “หากสังคมใดมีทุนทาง สังคมดารงอยู่จะสามารถฟื้นฟู ช่วยเหลือ และพัฒนาชุมชน-สังคมนั้นๆได้ดีและมีประสิทธิภาพ เมื่อ เปรียบเทียบกับชุมชน-สังคมที่ไม่มีทุนทางสังคม” ข้อสมมุติดังกล่าวนาไปสู่การศึกษาและพัฒนาทุน ทางสังคมทั้งที่มีอยู่เดิมและการสร้างทุนทางสังคมใหม่โดยเฉพาะในแวดวงของนักพัฒนาชุมชน นักพัฒนาสังคม นักส่งเสริมสุขภาวะ นักสังคมสงเคราะห์ รวมไปถึงนักรัฐศาสตร์ที่สนใจการพัฒนา ประชาธิปไตยท้องถิ่น จนกระทั่งมีความพยายามในการสร้างตัวชี้วัดทุนทางสังคมเพื่อตรวจสอบการมี อยู่จริงของทุนทางสังคมในสังคมไทย และระดับความเข้มแข็งของชุมชน นาไปสู่การตรวจสอบระดับ ความเป็นประชาธิปไตยว่าขึ้นอยู่กับจานวนทุนทางสังคมในชุมชนหรือไม่ ทุนทางสังคมเป็นปัจจัย สาคัญต่อระดับความสามารถในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่ ความสามารถ ในการตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชนขึ้นอยู่กับทุนทางสังคมหรือไม่ ประเด็น การศึกษาวิจัยเหล่านี้อยู่ในความสนใจของนักวิชาการที่ผ่านมา บทบาทของทุนทางสังคมในการพัฒนาประเทศปรากฎชัดเจนขึ้นหลังปี พ.ศ.2540 เมื่อ ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม-ทุนชุมชนถูกนามาใช้ในกระบวนการรับมือ กับปัญหาดังกล่าว พบว่าหลังจากรัฐบาลประกาศโครงการเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในปี พ.ศ. 2541 กิจกรรมที่ดาเนินการเองโดยชุมชนโดยอาศัยรากฐานทางสังคมและวัฒนธรรมเกิดขึ้นมากมาย การ เกาะเกี่ยวเชื่อมโยงของผู้คนเกิดขึ้นในชุมชนเพื่อร่วมกันสร้างระบบคุณค่าใหม่ๆในชุมชน เช่น สร้าง ระบบสวัสดิการชุมชน สร้างระบบกองทุนการเงินที่เอื้อให้กับคนในชุมชน สร้างระบบปรึกษาหารือกัน (ประชาคม) จนกลายเป็นวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองรูปแบบหนึ่งของคนในชุมชน การเกาะ เกี่ยวเชื่อมโยงคนเข้าเป็นกลุ่มเป็นก้อนในชุมชนจนสามารถเห็นรูปธรรม “องค์กรชุมชน” เกิดขึ้น มากมาย อาทิ กองทุนเพื่อสังคม กองทุนหมู่บ้าน กองทุนสวัสดิการ ฯลฯ นาไปสู่การพัฒนาเครือข่าย ภาคประชาชนในรูปแบบต่างๆ เช่น เครือข่ายสวัสดิการชุมชน เครือข่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายา เสพติด เครือข่ายอาชีพ เครือข่ายร่วมวัย เครือข่ายส่งเสริมสุขภาพชุมชน เครือข่ายรักษาสิ่งแวดล้อม
  • 6. 3 เครือข่ายอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม เครือข่ายพลเมืองเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่น ฯลฯ มีการนา ระบบคุณค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นฐานหรือเป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น การสร้างความ ร่วมมือ การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ การสร้างอาชีพและรายได้ แม้กระทั่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการ สร้างพลังให้กับสังคมสูงวัย เหล่านี้เป็นภาพสะท้อนว่าทุนทางสังคมเป็นเงื่อนไขที่จาเป็นในการพัฒนา สังคมชุมชน และทุนทางสังคมเป็นแก่นแกนของชุมชน ทุนทางสังคมมีบทบาทยิ่งในการขับเคลื่อนการ พัฒนาสังคม โดยเฉพาะการขับเคลื่อนในระดับปฏิบัติการในชีวิตประจาวัน เป็นกระบวนการขับ เคลื่อนที่อยู่บนฐานแนวคิด “การพัฒนาต้องใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based) อันจะนาไปสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)” งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งตรวจสอบปรากฏการณ์การใช้ทุนทางสังคมในการปฏิรูปสังคมจาก ประสบการณ์ต่างประเทศและในประเทศเพื่อสร้างข้อเสนอบทบาททุนทางสังคมกับการปฏิรูป สังคมไทย 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงกำร 1) เพื่อศึกษาสารวจโมเดลที่ดีของการใช้ทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหาสังคมทั้งจาก ประสบการณ์ในประเทศและต่างประเทศ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยด้วยทุนทางสังคมในด้านการปกครองท้องถิ่น และด้านสังคมในระดับกลไกรัฐและระดับกลไกเสริมรัฐ 1.3 ขอบเขตเนื้อหำ ขอบเขตเนื้อหาประกอบด้วย (1) การสารวจแนวคิด สถานะ ลักษณะรูปธรรมของทุนทาง สังคม (2) สารวจโมเดลที่ดีของการใช้ทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหาสังคมทั้งจากประสบการณ์ใน และต่างประเทศ โมเดลในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ ส่วนโมเดลใน ประเทศไทย ได้แก่ ประเด็นทุนทางสังคมกับการขับเคลื่อนระบบสวัสดิการชุมชน ทุนทางสังคมกับการ สร้างกลไกในการดูแลผู้สูงอายุ ทุนทางสังคมกับโครงการขับเคลื่อนกิจการเพื่อสังคม และทุนทางสังคม กับการขับเคลื่อนทางการเมือง เป็นต้น (3) เสนอแนะแนวทางในการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมในการ ปฏิรูปประเทศไทยในด้านการปกครองท้องถิ่นและด้านสังคมในระดับกลไกรัฐและระดับกลไกเสริมรัฐ 1.4 คำถำมกำรวิจัย ที่ผ่านมาปรากฏการณ์ใดบ้างที่สะท้อนว่า ทุนทางสังคมมีบทบาทกับการปฏิรูปสังคม และการ ปฏิบัติการ-กระทา(Action)ของทุนทางสังคมในการปฏิรูปสังคมเป็นอย่างไร สามารถปฏิบัติการ- กระทาได้ในระดับใด ในประเด็นสาธารณะระดับบ้าง รวมถึงปฏิบัติการ-การกระทาของทุนทางสังคม ในการปฏิรูปสังคมสร้างให้เกิด (Generate) ผลผลิตและผลกระทบในลักษณะใดบ้าง และควรนาทุน ทางสังคมไปปฏิบัติการจริง (Implement) ในการปฏิรูปสังคมไทยอย่างไร
  • 7. 4 1.5 สมมติฐำนในกำรวิจัย ทุนทางสังคมสามารถปฏิรูปสังคมไทยได้โดยเฉพาะทุนทางสังคมเดิมที่มีอยู่แล้วในชุมชน ท้องถิ่นและการปฏิรูปสังคมอาจเกิดขึ้นได้ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น นอกจากนี้ กระบวนการ ปฏิรูปทาให้เกิดทุนทางสังคมใหม่ที่อาจจะมีบทบาทในการปฏิรูปสังคมชุดใหม่ต่อไป 1.6 ผลที่คำดว่ำจะได้รับ 1) ทราบสถานะและลักษณะรูปธรรมของทุนทางสังคม และโมเดลที่ดีของการใช้ทุนทางสังคม ในการแก้ไขปัญหาสังคมทั้งจากประสบการณ์ในและต่างประเทศ 2) ข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยด้วยทุนทางสังคมในด้านการปกครองท้องถิ่นและ ด้านสังคมในระดับกลไกรัฐและระดับกลไกเสริมรัฐ 1.7 แนวคิดในกำรศึกษำ 1.7.1 ควำมเป็นมำและควำมหมำยของแนวคิดทุนทำงสังคม (Social Capital) ควำมเป็นมำของแนวคิดทุนทำงสังคม: คาว่า “Social Capital” ต้นกาเนิดมาจาก Adam Smith ถูกนามาใช้โดย Glan Loury นักเศรษฐศาสตร์ในปี 1977 โดยได้วิจารณ์วิธีการศึกษาของนัก เศรษฐศาสตร์นิโอคลาสิกที่ศึกษาความไม่เท่าเทียมกันของรายได้และนัยยะเชิงนโยบายที่ละเลย ความสาคัญของบริบทในมิติทางสังคม ซึ่ง “บริบทในมิติทางสังคม” ตามความหมายของ Glan Loury คือ Social Capital ต่อมาแนวคิดนี้ได้ถูกพูดถึงกันมากในบริบทของทฤษฎีการพัฒนา การปฏิบัติงาน วางแผนนโยบายของ World Bank โดยเฉพาะในกระบวนทัศน์เรื่อง Sustainable Development และแนวคิดเรื่อง Social Capital ถูกพัฒนาขึ้นมาในสาขาสังคมวิทยาและรัฐศาสตร์ อาทิ James Coleman, Robert Putnam และ Pierre Bourdieu เป็นต้น และถูกนามาใช้อย่างกว้างขวาง ใน สังคมไทยรับแนวคิดนี้มาจากตะวันตก แนวคิดนี้ถูกใช้ในกระบวนการพัฒนาและมีบทบาทกว้างขวาง มากขึ้น นักวิชาการในโลกตะวันตกโดยเฉพาะรัฐศาสตร์มักจะใช้แนวคิดนี้มองสังคมในระดับบน โดยเฉพาะในระดับสถาบันทางการเมือง เช่น Kant(1963), Hegel(1967), Smith(1974) และ Marx(1978) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมในยุคหลังโซเวียต (post-Soviet) เช่น Habermas(1992), Cohen and Arato (1994), Ehrenberg (1999) รวมถึง Putnam (2000) ในขณะที่นักวิชาการในโลกตะวันออกเริ่มต้นใช้แนวคิดนี้ในการอธิบายกระบวนการทางานทางสังคม ในระดับชุมชน ศึกษาผลผลิตของความรู้ผ่านพัฒนาการของแนวคิด เช่น Pekkanen (2000), Tsujinaka(2002), Hirata(2002), Schwartz and Pharr (2003), Osborn(2003), Alagappa(2004), Pekkanen(2004) (Akihiro Ogawa,2005) ควำมหมำยของทุนทำงสังคม: แนวคิดทุนทางสังคมถูกนิยามว่าคือ เครือข่ายทางสังคม (Social Network) และบรรทัดฐานของการพึ่งพาอาศัยกัน และคุณค่าของการไว้วางใจ (norms of reciprocity and trustworthiness) ที่เกิดขึ้นจากเครือข่ายทางสังคม ตามที่นักรัฐศาสตร์อเมริกัน Robert Putnam นิยามทุนทางสังคมไว้ว่าคือ ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของพลเมือง อันประกอบ ไปด้วย กิจกรรมของอาสาสมัครและองค์ประกอบของทุนทางสังคมบนฐานของนิยามข้างต้น, ความ
  • 8. 5 ไว้วางใจ(Trust), สมาคมทางสังคม/การรวมกลุ่มทางสังคมและการแลกเปลี่ยน(Social Associations and exchanges) และการมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation) สาหรับขอบเขตความหมายของแนวคิดทุนทางสังคมในประเทศไทย ถูกอธิบายทั้งเชิง รูปธรรม(Social Assets) และเชิงกระบวนการทางสังคม (Social Process) ทุนทางสังคมใน ความหมายเชิงรูปธรรม หมายถึงทรัพยากรหรือทรัพย์สินของชุมชน มองให้เป็นรูปธรรมเช่น กลุ่ม ทางสังคม องค์กรทางสังคม องค์กรชุมชน และเครือข่ายทางสังคมทั้งหลาย ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์ กองทุนสวัสดิการชุมชน ธนาคารความดี ชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น ทุนทางสังคมในความหมายเชิง กระบวนการ อานันท์ กาญจนพันธุ์ ให้ความหมาย “ทุนทางสังคม” ในเชิงกระบวนการ ว่าหมายถึง ปฏิบัติการทางสังคมที่มีองค์ประกอบสาคัญสองประการ คือ พื้นที่ทางสังคมและการเคลื่อนไหว/การ ขับเคลื่อน(เวทีสัมมนาวิชาการเรื่องทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง วันที่ 8 พฤษภาคม 2558) เช่นเดียวกันกับ ประเวศ วะสี (2552) อธิบายว่า ถ้าประชาชนรวมตัวและมีการจัดการจะเกิดต้นทุน ทางสังคม (Social Capital) เป็นต้นทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหา การรวมตัวกันของประชาชนจะ ทาให้เกิดองค์กรจัดการที่เรียกว่า “องค์กรชุมชน” ความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนจะแก้ไขปัญหาของ ชุมชนได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การก่อเกิดการเมืองภาคประชาชนเป็นกระบวนการในการสร้างให้เกิด ทุนทางสังคม และทุนทางสังคมจะช่วยหล่อเลี้ยงให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ส่วน ปาริชาติ วลัยเสถียร (สัมภาษณ์:2558) ให้ความหมายทุนทางสังคมได้สอดคล้องกับการ ใช้ทุนในการปฏิรูปสังคมไทยในการศึกษาครั้งนี้ไว้ 2 ความหมาย ความหมายแรก หมายถึง อุดมการณ์ร่วม (Collective Ideology) ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนทางสังคม เป็นขบวนการที่คิดฟื้น อุดมการณ์ที่จะยืนหยัดต่อสู้เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนขึ้นมา ถ้ามองทุนทางสังคมในรูปแบบ อุดมการณ์จะสามารถเห็นพลัง เพราะเป็นตัวเชื่อมร้อยและปลุกสานึกร่วมที่ชุมชนมีร่วมกันอยู่ ความหมายที่สอง หมายถึง สานึกร่วม (Collective Consciousness) เป็นสานึกในการแก้ไขปัญหา ของส่วนรวม และ ความหมายที่สาม คือ ปฏิบัติการร่วม (Collective Action) ปฏิบัติการร่วมจะ นาไปสู่กระบวนการเคลื่อนไหวซึ่งมีอยู่ 2 ระดับคือ การเคลื่อนไหวในระดับชีวิตประจาวันและการ เคลื่อนไหวในระดับโครงสร้าง การเคลื่อนไหวในระดับชีวิตประจาวัน หมายถึง ระดับในการแก้ไข ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการชีวิตประจาวันซึ่งถือเป็นคุณค่าในเบื้องต้น เช่น อยากได้กลุ่มออม ทรัพย์ก็ทากันไป อยากมีสวัสดิการก็ขับเคลื่อนกันไป ส่วน การเคลื่อนไหวในระดับโครงสร้าง เป็นการ เคลื่อนไหวจะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายสาธารณะ ซึ่งการเคลื่อนไหวที่ทาให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายสาธารณะนั้นมีความหมายทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และชุมชน บทบำทของทุนทำงสังคม: สานักงานคณะรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น ให้ดาเนินการวิเคราะห์เชิง ปริมาณในการศึกษาหัวข้อ “ทุนทางสังคม : การค้นหาวัฏจักรของหลักศีลธรรม (Virtuous Cycle) ระหว่างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของมนุษย์กับกิจกรรมของพลเมือง” ในปีงบประมาณ 2002 ผล การศึกษาปรากฏว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างองค์ประกอบของทุนทางสังคมกับกิจกรรมของ พลเมือง ส่วนในประเทศไทยปรากฎมีการนาแนวคิดทุนทางสังคมมาใช้หลังวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 อาทิ ประเวศ วะสี (2542), อานันท์ กาญจนพันธุ์ (2544) เอนก นาคะบุตร(2545) เสกสรร ประเสริฐ กุล(2548) ได้อธิบายไว้ว่า ความเข้มแข็งของการเมืองภาคประชาชนจะทาให้เกิดความสมดุลและ
  • 9. 6 การบูรณาการระหว่างรัฐกับสังคม ในความหมายนี้ทุนทางสังคมคือความเข้มแข็งของการเมืองภาค ประชาชน ส่วน ศิริวรรณ มนอัตระผดุง (2549) นาเสนอว่า ทุนทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิด (1) ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory democracy) และ (2) กระตุ้นให้ประชาชนเกิด ความตื่นตัว (Active citizen) หลังปี 2540 ทุนทางสังคมมีบทบาทกับการแก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม หลังจากที่สังคมไทยหันมาทบทวนบทบาทของตนเองที่ผ่านมาและเกิดกระแสการปฏิรูป สังคม มีการตื่นตัวในการสนับสนุนการปฏิรูประบบราชการ การปฏิรูประบบการเมือง ประกอบกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นเครื่องนาทาง ให้มีการทบทวนค่านิยม ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ ให้หันมาเน้นเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดาเนินโครงการเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง กระแสการปฏิรูปดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็งของชุมชน อันส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ทาให้แนวคิดเรื่อง “ทุนทางสังคม” ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในการฟื้นฟูชุมชน สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อมขึ้น แนวคิด “ทุนทางสังคม” ถูกนามาใช้อย่างจริงจังในสังคมไทยโดยสานักงานกองทุนเพื่อสังคม (Social Investment Fund) ในปี พ.ศ.2541 เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการทางานให้เกิดกิจกรรมสาธารณะ ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น โดยการสนับสนุนโครงการพัฒนาที่มาจาก ภาคประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ.2543 สานักงานกองทุนเพื่อสังคมรายงาน ว่ามีโครงการที่ได้รับการ สนับสนุนครอบคลุม 76 จังหวัด จานวนผู้ได้รับประโยชน์ประมาณ 2.7 ล้านคน โครงการที่เสนอขอรับ การสนับสนุนจากสานักงานกองทุนเพื่อสังคมทั้งหมดดาเนินการโดยต้องอาศัย “ทุนทำงสังคมที่มีอยู่ เดิม” เช่น จิตวิญญาณ ระบบคุณค่า สานึกท้องถิ่น ความภาคภูมิใจที่มีต่อถิ่นฐานบ้านเกิด วัฒนธรรม ในท้องถิ่น ภูมิปัญญา ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนกองทุนสาธารณะ เป็นต้น ทุน ทางสังคมเหล่านี้มีบทบาทสาคัญต่อการพัฒนาประเทศ ทาให้เกิดการรวมกลุ่ม ทาให้เกิดการมีส่วน ร่วมของชาวบ้าน เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดูแลผู้ด้อยโอกาส การขยายศักยภาพ เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ชาวบ้านเกิดความเป็นเจ้าของทรัพยากรของ ชุมชน ชุมชนมีความเอื้ออาทรและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เกิดพลังในการร่วมกันทากิจกรรม เกิด เครือข่ายทางสังคมและการทาธุรกิจ เกิดประชาสังคม เกิดองค์กรชุมชน เป็นต้น จนกระทั่งปัจจุบัน แนวคิดเรื่องทุนทางสังคมถูกนามาใช้ในการกาหนดแนวทางการพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 การจัดทาแผนพัฒนาประเทศของไทยนับตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔) เป็นจุดเปลี่ยนสาคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศที่ให้ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาค ส่วนในสังคม และมุ่งให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาเป็นบูรณา การแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล ต่อมาแผนพัฒนาฯฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙) ได้ อัญเชิญ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานาทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ควบคู่ไป กับกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่อง จากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ สาหรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) ยังคงน้อมนา “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางปฏิบัติ และให้ความสาคัญกับการพัฒนาที่ยึด“คนเป็น ศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘-๙ และการพัฒนาที่สมดุลทั้งคน สังคม
  • 10. 7 เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยมีการเตรียม “ระบบภูมิคุ้มกัน” ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของ ทุนที่มีอยู่ในประเทศและการบริหารจัดการความเสี่ยงให้พร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้ง ภายนอกและภายในประเทศ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และความอยู่เย็นเป็นสุขของคนไทยทุกคน ต่อมาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ ยังคงยึดแนวคิดเดิมจาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘-๑๐ เพื่อเป็นหลักการในการกาหนดนโยบายและ เป้าหมายของการพัฒนา โดยเฉพาะหลักการปฏิบัติตาม “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และขับเคลื่อน ให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วน ทุกระดับ ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มีการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งมิติตัวคน สังคมเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ขณะเดียวกันให้ ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ และมีการ กาหนดทิศทางการพัฒนาประเทศเพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน โดยนาทุนของ ประเทศที่มีศักยภาพมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน พร้อมทั้งเสริมสร้างให้แข็งแกร่ง เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่สาคัญได้แก่ การเสริมสร้างทุนสังคม (ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุน ทางวัฒนธรรม)การเสริมสร้างทุนเศรษฐกิจ (ทุนกายภาพ ทุนทางการเงิน) และการเสริมสร้างทุน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวโดยสรุป ปัจจุบันสังคมไทยเห็นความสาคัญของทุนทางสังคมที่มีศักยภาพเป็นประโยชน์ ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของสังคมและเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ 1.7.2 ควำมหมำยของกำรปฏิรูป ในข้างต้นได้ให้ความหมายของทุนทางสังคมพอสังเขป ส่วนความหมายของการปฏิรูปมีการ นิยามกันอย่างหลากหลาย พบว่าการปฏิรูปมีความหมายถึงการดาเนินการหลายระดับ การปฏิรูป (Reform) ตามพจนานุกรม คือการมาจัดองค์ประกอบใหม่ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพราะมี บางอย่างผิดไปจากที่ควร จึงต้องปรับ ต้องจัดใหม่ การปฏิรูปย่อมต้องเป็นกระบวนการที่มีการต่อรอง ต้องใช้เวลาดาเนินการ ต้องมีความอดทน ไม่สามารถได้มาโดยใช้อานาจ โดยใช้กาลังเข้าหักโค่น ไม่ สามารถจะมีฝ่ายใดได้รับตามสิ่งที่ปรารถนาไปทั้งหมดทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นการปฏิรูป ไม่ใช่ “การ พัฒนา” ที่หมายถึงว่ามีอะไรอยู่ก็ทาให้ดีขึ้น ขาดอะไรที่ควรมีก็จัดให้มี และการปฏิรูป (Reform) ไม่ใช่ “การปฏิวัติ” (Revolution) ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน เปลี่ยนอย่าง ฉับพลัน รวดเร็ว เข้าสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมาย (บรรยง พงษ์พาณิชย์, 2558) การปฏิรูป (Reform) หมายถึง การปรับเปลี่ยนรูปร่างหรือทาโครงสร้างให้แตกต่างไปจากเดิม ในทิศทางที่ดีขึ้นและเกิดประโยชน์มากกว่าที่ผ่านมา การปฏิรูปประเทศหมายถึงการปรับเปลี่ยน โครงสร้างในแต่ละด้านอันเป็นองค์ประกอบสาคัญต่อการปกครองประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อประชาชนทั้งประเทศ (แนวหน้าออนไลน์,ฉบับวันอังคาร ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558) การปฏิรูป(Reform) หมายถึง การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) ดังเช่น การ เปลี่ยนกระบวนทัศน์จาก “การดูแลผู้สูงอายุโดยสังคมเป็นการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน” เป็นการใช้ ชุมชนเป็นฐานในการสร้างระบบการดูแลในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงปี 2008 (Takako TSUTSUI, 2012)
  • 11. 8 หรือการเกิดกระบวนการทัศน์ใหม่ (Paradigm shift) ในบริบทของการจัดการทางเศรษฐกิจใน ประเทศเกาหลีใต้ ที่ทาให้เกิดนโยบาย ระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจ อาทิ การตรวจสอบความ โปร่งใสของสถาบันทางเศรษฐกิจโดยองค์กรภาคประชาชนที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลในช่วงปี 2000 เป็นต้น การปฏิรูปโครงสร้าง (Structural Reform) ในความหมายของ Jiro Yamaguchi (2003) หมายถึง การขับเคลื่อนให้เกิดการแปรรูประบบบริหารราชการให้เป็นองค์กรกึ่งรัฐบาล (Japan’s quasi-governmental organization) การกดดันทางนโยบายให้ปัจเจกบุคคลมีส่วนร่วมมือในเรื่อง สิ่งแวดล้อมอย่างแข็งขัน เช่น การดูแลสุขภาพและเบี้ยยังชีพ การปฏิรูประบบการดูแลสุขภาพถูก ออกแบบให้มีราคาค่าใช้จ่ายกับผู้ป่วยให้สูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็ให้เสนอเค้าโครงการปฏิรูปภาษี ในช่วงทศวรรษ 1990 ประเทศญี่ปุ่นเผชิญปัญหาใหญ่ 3 ประการ คือ (1) ปัญหาความตึงเครียด เกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาล รัฐบาลสะสมหนี้แห่งชาติถึง 700 ล้านล้านล้านเยน (2) ปัญหา กฎหมายที่เหนี่ยวรั้งการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมที่อานวยความสะดวกให้ขึ้นราคาสินค้า ทาให้ ราคาทางสังคม-ค่าครองชีพสูงขึ้นด้วย (3) ขาดความโปร่งใส่ มีการแพร่ขยายของการคอรัปชั่นกลาย เป็นเรื่องอื้อฉาวของข้าราชการและนักการเมือง จากปัญหา 3 ประการนี้ นายกรัฐมนตรีจุงอิชิโร โคะอิ ซุมิ (2544-2549) ได้เสนอแนวทางการปฏิรูปที่เรียกว่า “ปฏิรูปโครงสร้าง” หรือ Koizumi administration’s structural reform มีเป้าหมายไปที่นโยบายสากลทางการเมืองวัตถุประสงค์เพื่อ แก้ไขวิกฤติ การปฏิรูปโครงสร้าง (Structural Reform) ในความหมายของ Chrol-Kyu Park หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนกระบวนทัศน์อย่างมีนัยสาคัญในแง่ของการ จัดการทางเศรษฐกิจ สาระและเนื้อหามาแทนที่รูปลักษณ์ภายนอกและรูปแบบ คุณภาพเริ่มมี ความสาคัญมากกว่าปริมาณ ความสมดุลระหว่างการเจริญเติบโตและการจาแนกแจกจ่าย เสรีภาพ และความเป็นธรรมกลายมาเป็นบรรทัดฐานในสังคม สวัสดิการเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมากขึ้น กว่าเดิม อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้ ธุรกิจ SMEs และกิจการต่างๆ เริ่มถูกพัฒนาและหล่อเลี้ยงให้ เป็นแหล่งใหม่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนเป็นสิ่งที่ทุกคนแสวงหาเมื่อ เทียบกับอัตราการเจริญเติบโตที่ต่าในอดีตที่ผ่านมา สิ่งเหล่านี้คือการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดที่นามา สู่การปฏิบัติในระหว่างการกาหนดนโยบายและการดาเนินการ รัฐบาลยอมให้แต่ละกิจการเป็นอิสระ ในการดูแลและปกครองตนเองโดยการปฏิรูปกฏหมายเศรษฐกิจ (Chrol-Kyu Park, Online, 2015) จากการทบทวนความหมายของการปฏิรูปในข้างต้นจะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่ให้ความหมายการ ปฏิรูปว่าหมายถึงการปฏิรูปในระดับโครงสร้างซึ่งจะต้องขับเคลื่อนในระดับชาติ ดังนี้ 1) รัฐบาลแบบมีส่วนร่วม (Participatory Government) เช่น การสนับสนุนให้พลเมืองมี ความกระตือรือร้น ทาหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบ ติดตามการทางานของรัฐบาล, หน่วยงาน ราชการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ 2) การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย เช่น นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ นโยบายทางด้านการศึกษา 3) การตรากฎหมายใหม่
  • 12. 9 4) การจัดตั้งองค์กร-สถาบันใหม่ เช่น การจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการเลือกตั้ง ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการ ป้องกันและปรามปรามการฟอกเงิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตใน ภาครัฐ (ป.ป.ท.) ฯลฯ 5) การปรับเปลี่ยนองค์กร-การปฏิรูประบบราชการ เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ขยาย ภารกิจ ปรับลดหน่วยงานให้กระชับ 6) การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) เช่น การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น การ ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อย่างไรก็ตาม ในการอฺธิบายทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศของ ปาริชาติ วลัยเสถียร (สัมภาษณ์, 2558) กล่าวว่า ทุนทำงสังคมจะปฏิรูปสังคมได้ต้องทำให้เกิดกำรขับเคลื่อนและนำไปสู่ กำรเปลี่ยนแปลงทั้งสองระดับ คือ ระดับชีวิตประจำวันและระดับโครงสร้ำง การปฏิรูปสังคมไม่ จาเป็นว่าต้องทาในระดับชาติเท่านั้น แต่การขับเคลื่อนระดับล่าง-ระดับชุมชนอาจจะมีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงมาตรการ ระเบียบปฏิบัติ แม้กระทั่งข้อบัญญัติและเทศบัญญัติขององค์กรปกครอส่วน ท้องถิ่นได้ สามารถประกาศข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ ซึ่งมีผลในทางปฏิบัติที่สามารถทาให้เกิดความ ครอบคลุมมากขึ้น (Operate) ทั้งตาบลในหน่วยทางสังคมหนึ่งๆ ส่วน ประเวศ วะสี (สัมภาษณ์, 2558) ให้ความเห็นว่า การปฏิรูปสังคมต้องปฏิรูปที่โครงสร้าง นั่นหมายความว่า การปฏิรูปโครงสร้าง อานาจ ต้องคืนอานาจให้แก่ชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัด ให้อานาจให้แก่ชุมชน ท้องถิ่น จังหวัดจัดการ ตนเอง การปฏิรูปสังคมจะต้องอาศัยทุนทางสังคมเดิมที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น และหลังการปฏิรูปสังคม จะทาให้เกิดทุนทางสังคมใหม่ นอกจากนี้ ในความหมายของ ประเวศ วะสี “กระบวนการภาค ประชาชนใดที่ทาให้เกิดทุนทางสังคมใหม่ถือว่าเป็นการปฏิรูปสังคม” แล้ว ฉะนั้น ทั้ง ปาริชาติ วลัย เสถียร และประเวศ วะสี เห็นว่าการปฏิรูปสังคมไม่จาเป็นต้องเกิดขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงระดับชาติ เท่านั้น แต่การปฏิรูปเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงระดับชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด ก็ได้ และการเปลี่ยนแปลง ในระดับชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัดดังกล่าวสามารถขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นเป็นภาพรวมระดับชาติได้ หมายความว่า การปฏิบัติการของภาคประชาชนที่ดาเนินการในระดับชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด เมื่อ ดาเนินการพร้อมๆ ทั้งประเทศ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นทั้งประเทศได้ หลายประเด็นที่ถูก ขับเคลื่อนในระดับชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัด แต่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับชาติ อาทิ กองทุนสวัสดิการชุมชน ที่หน่วยของการขับเคลื่อนเกิดขึ้นในระดับชุมชน ตาบล จังหวัด แต่แกนนา สามารถขับเคลื่อนให้เกิดพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ที่นามาใช้รับรองกองทุน สวัสดิการชุมชนทั้งประเทศได้ หรือตัวอย่างของการขับเคลื่อนของภาคประชาชนอื่นสามารถผลักดัน กฎหมายที่นามาบังคับใช้ทั้งประเทศ อาทิ พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พระราชบัญญัติการออม แห่งชาติ เป็นต้น 1.7.3 กรอบแนวคิดในกำรศึกษำ ในงานพัฒนาสังคมไทยที่ผ่านมามีปัญหามาโดยตลอด การแก้ไขทาได้เพียงการบรรเทา เยียวยาแต่ไม่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบโครงสร้างความสัมพันธ์ซึ่งจะทาให้เกิดการแก้ไข ปัญหาอย่างยั่งยืนได้ ในการศึกษาครั้งนี้เสนอว่าการขับเคลื่อน (Movement) เพื่อการพัฒนาสังคม ชุมชนต้องเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ โครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
  • 13. 10 ระเบียบ กฎเกณฑ์ นโยบายสาธารณะต่างๆ ซึ่งความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างจะนาไปสู่พลังทางสังคม (Social Power) ใน 2 รูปแบบ คือ Power to กับ Power Over คาว่า “Power to” จะสร้างให้คน ในชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด สามารถจัดการตัวเอง (Self-management) จะสามารถทาให้เกิดการ ขับเคลื่อนต่อไปได้ ส่วน “Power Over” คืออานาจที่ชุมชนถูกครอบงาจากอานาจอื่น ตลอดเวลาที่ ผ่านมาชุมชนจะเจอกับอานาจอื่นมาครอบงา ทุนทางสังคมจะสร้างให้เกิดอุดมการณ์ร่วม สานึกร่วม การดาเนินงานร่วมกันที่จะพลิกการ เปลี่ยนแปลง หากปฏิรูปแล้วไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างก็อาจจะไม่สาเร็จ โดยเฉพาะโครงสร้างทั้ง สองระดับคือ โครงสร้างเรื่องระเบียบกฎเกณฑ์ นโยบายต่างๆ ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด และ ระดับชาติ ซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นและทางออกที่ดี และโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอานาจ ต้องทาให้ ชาวบ้านมีสิทธิมีเสียงลุกขึ้นมาเรียกร้อง (Voice) ได้ว่าตนเองต้องการอะไร ขอตรวจสอบ ขอรับฟัง ขอ มีส่วนร่วม เป็นความสัมพันธ์เชิงอานาจที่ทาให้ทุกคนมีส่วนร่วม ชุมชนมีความหมายในเชิงจิตวิญญาณ (Spirit) มีความหมายในการร่วมอะไรบางอย่าง (Share) มันเป็นเรื่องของอุดมการณ์ (Ideology) ระบบความสัมพันธ์ (Relation) ที่เป็นการเกาะ เกี่ยวคนในชุมชนเข้าด้วยกัน ชุมชนจึงเป็นแก่นแกนของทุนทางสังคม ฉะนั้นการใช้ทุนทางสังคมในการ ปฏิรูปสังคมนั้นจึงต้องอาศัยชุมชนเป็นฐานในการปฏิบัติการ กล่าวคือ การทาให้ชุมชนมีความเป็น เจ้าของ (Sense of belonging) ทรัพย์สิน (Assets) ของชุมชน ทรัพย์สินของชุมชนประกอบด้วย ทรัพย์สินในเรื่องของธรรมชาติ (ดิน น้า ป่า) ทรัพย์สินในเรื่องของกายภาพ โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัดวาอารามที่ชุมชนมีอยู่ ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การทอผ้า การยอมผ้า การทาเหมืองฝาย ภูมิ ปัญญาต่างๆ และสุดท้ายคือ ทรัพย์สินเรื่องเงินตรา ในงานวิจัยชิ้นนี้เห็นว่าการปฏิรูปสังคมไทยนั้นคือ การทาให้ชุมชนมีความเป็นเจ้าของทรัพย์สินเหล่านี้ เมื่อชุมชนมีทรัพย์สินมากเท่าไหร่จะทาให้มีอานาจ อาทิ กลุ่มการเงินทั้งหลายเมื่อมีเงินจานวนมากก็จะมีอานาจในการต่อรองได้ เมื่อมีเงินเป็นล้านๆ อานาจการต่อรองก็จะเกิดขึ้นทันที หรือ Power to ก็จะเกิดขึ้นทันที และ Power Over ที่มาจากข้าง นอกที่จะครอบงาชุมชนทาได้ยากขึ้น นอกจากนี้ต้องสร้างพลังอานาจ (Empower) ให้ชุมชนเข้าถึง สิทธิ อานาจ ให้มากขึ้น โดยกระบวนการขับเคลื่อนที่นาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในชีวิตประจาวันและ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ทุนทางสังคมในความหมายดังกล่าวข้างต้นจะช่วยทะลุทะลวงปัญหาที่ เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบันได้ ปัญหาปัจจุบันที่สังคมไทยเผชิญอย่างหนัก อาทิ ชุมชนไทยถูก ครอบงาจากทุนข้ามชาติ ทุนข้ามชาติมีพลังที่จะซื้อได้หมด คนไทยยอมเป็นนอมินีในการซื้อกิจการ ของคนไทย เป็นนอมินีในการซื้อที่ดินของคนไทยให้ต่างชาติ คนฐานรากที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้ยากลาบาก มากกับวัฒนธรรมอานาจและผลประโยชน์ในลักษณะนี้ ปัญหาความแตกแยกในสังคมไทย ปัญหา ความขัดแย้งในสังคมซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกัน การเข้าถึง ทรัพยากรได้ไม่เท่าเทียมกัน ฯลฯ ซึ่งการต่อสู้ด้วยความรุนแรงก็ไม่ใช่คาตอบที่ควรจะใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติ งานวิจัยชิ้นนี้จึงเชื่อว่าจาเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้าง โดยเฉพาะโครงสร้างเชิงอานาจ คือ คืนอานาจให้แก่ชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด เพื่อให้ชุมชน ท้องถิ่น จังหวัดจัดการตนเองในบางเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับชีวิตประจาวันและโครงสร้างทางสังคม จากคาอธิบายในข้างต้นสามารถสรุปได้ดังกรอบ แนวคิดในการศึกษาต่อไปนี้
  • 14. 11 1.8 นิยำมเชิงปฏิบัติกำร ทุนทำงสังคม หมายรวมถึง ทั้งทุนชุมชนเดิมที่มีอยู่แล้วและทุนทางสังคมที่สร้างขึ้นมาใหม่ อันได้แก่ ความเหนียวแน่นของชุมชน ความรับผิดชอบทางสังคม ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ค่านิยม ในการพึ่งตนเอง ความเป็นเพื่อนบ้าน อุดมคติทางศาสนา (การออมบุญ) วัฒนธรรมชุมชน ระบบเครือ ญาติ ระบบความเชื่อ ประเพณี ภูมิปัญญา พิธีกรรม ความรู้สึกเป็นเจ้าของ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หรืออาจ เรียกว่า ทุนทางสังคมที่มีลักษณะเป็นอุดมการณ์ร่วม (Collective Ideology) ที่มีนัยยะเชิงจิต วิญญาณ (Spirit) มีความหมายในการร่วมอะไรบางอย่าง (Share) เป็นเรื่องของอุดมการณ์ (Ideology) ระบบความสัมพันธ์ (Relation) ที่เป็นการเกาะเกี่ยวคนในชุมชนเข้าด้วยกัน ทุนทางสังคมประเภทนี้ จะสร้างให้เกิดอุดมการณ์ สานึกร่วม การดาเนินงานร่วมกันที่จะพลิกการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูป ประเทศได้ นอกจากนี้ยังมีทุนทางสังคมที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม อาทิ ผู้นา ชุมชน แกนนาในการขับเคลื่อน องค์กรชุมชน และ กลุ่มทางสังคม ในการศึกษาครั้งนี้ ทุนทางสังคมที่ มีบทบาทในการปฏิรูปประเทศหมายถึงทุนทางสังคมที่มีอยู่เดิมในชุมชน-สังคม แต่ในขณะเดียวกัน กระบวนการในการขับเคลื่อนเพื่อไปสู่การปฏิรูปทางสังคมจะสร้างทุนทางสังคมใหม่ขึ้นด้วยและจะ กลายไปเป็นทุนทางสังคมเดิมในการขับเคลื่อนชุดต่อไป กำรปฏิรูปประเทศไทย หมายถึง กระบวนการการเปลี่ยนแปลง การปรับเปลี่ยน การทาให้ เกิดขึ้นใหม่ ในสองระดับคือ ในเชิงโครงสร้างและในระดับปฏิบัติในชีวิตประจาวัน การปฏิรูปเชิง โครงสร้างหมายถึง โครงสร้างความสัมพันธ์ ที่ถูกกาหนดโดยระเบียบ กฎเกณฑ์ นโยบายสาธารณะ ต่างๆ และระดับปฏิบัติในชีวิตประจาวัน หมายถึง ทุนทางสังคมสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ปฏิบัติการ ได้จริง (Implement) การทาให้ในพื้นที่ทาได้โดยการปฏิบัติการ (Action) ให้เกิดในชีวิตประจาวัน คือการทาให้บรรลุให้เห็นปัญหาความต้องการในระดับปฏิบัติในชีวิตประจาวัน Social Power 1.Power Over 2.Power To
  • 15. 12 บทที่ 2 ระเบียบวิธีการศึกษา การศึกษาเรื่องทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยครั้งนี้ใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 2.1 การรวบรวมข้อมูล การศึกษาครั้งนี้อาศัยการรวบรวมข้อมูลประเด็นการศึกษาจาก 2 แหล่งข้อมูลคือ - การศึกษาเอกสาร (Documentary) จากงานวิจัย หนังสือ ที่ได้เสนอแนวคิดเรื่อง ทุนทางสังคมวัฒนธรรมเพื่อสารวจสถานะของแนวคิด ทั้งเอกสารภาษาไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้อาศัยผลงานวิจัยของผู้ศึกษาที่ผ่านมาทั้งการศึกษาในประเทศและต่างประเทศนามาถอด โมเดลการใช้ทุนทางสังคมในการขับเคลื่อนทางสังคม - จากการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interviews) นักวิชาการ นักคิด นักพัฒนา นักเคลื่อนไหวทางสังคมของสังคมไทยที่มีประสบการณ์การทางานกับทุนทางสังคมและมี ประสบการณ์การใช้ทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหาสังคม 2.2 กลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้อาศัยเอกสารงานวิจัยเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ครั้งนี้คือผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์การ ทางานด้านทุนทางสังคมกับการพัฒนาสังคม ได้แก่ รองศาสตราจารย์ปาริชาติ วลัยเสถียร อาจารย์ ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก รองศาสตราจารย์ พรชัย ตระกูลวรานนท์ ครูมุกดา อินต๊ะสาร ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี เป็นต้น 2.3 ระยะเวลาในการศึกษา ระยะเวลาในการดาเนินโครงการทั้งสิ้น 9 เดือนคือตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือน สิงหาคม พ.ศ.2558 โดยแบ่งการดาเนินงานตามระยะต่อไปนี้ - เดือนที่ 1 ทบทวนและนาเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้น ภายในเดือน ธันวาคม 2557 - เดือนที่ 1-4 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 ถึง เดือนมีนาคม 2558 ศึกษาเพื่อเสนอ รูปแบบของกลไกทุนทางสังคมในระดับโครงสร้างสังคมไทยเพื่อให้ระบุในกฎหมาย ระดับชาติ อาทิ ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการ ปฏิรูปประเทศไทย - เดือนที่ 4-9 ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 ถึง เดือนสิงหาคม 2558 เพื่อเสนอแนว ทางการสร้างกลไกทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหาสังคมและปัญหาอื่นๆ ซึ่งต้อง อาศัยการศึกษาตัวอย่างที่ดีที่ปรากฏอยู่ในภูมิภาคต่างๆของสังคม
  • 16. 13 2.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและการนาเสนอข้อมูล การวิจัยเรื่อมจากการสารวจโมเดลที่ดีของประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย เพื่อถอดความรู้และค้นหาทุนทางสังคมเดิมในรูปแบบต่างๆที่มีบทบาทในการปฏิรูปสังคม และอธิบาย ธรรมชาติของทุนทางสังคมที่มีบทบาทในการปฏิรูปในสังคมไทย ค้นหาประเด็นปัญหาที่สามารถใช้ทุน ทางสังคมในการปฏิรูปหรือเปลี่ยนไปแลง จากนั้นผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะในประเด็นการนาโมเดลที่ดีไป ปรับใช้ในสังคมไทย ตลอดจนการเสนอกลไกเสริมรัฐและกลไกรัฐที่สามารถปฏิรูปประเทศเพื่อแก้ไข ปัญหาของประเทศ ในเบื้องต้นผู้วิจัยได้นิยามปัญหาของสังคมไทยว่าปัญหาความขัดแย้งของสังคมหรือปัญหา ความแตกแยกในสังคมซึ่งมีสาเหตุมาจากความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้าในการบังคับใช้ กฎหมาย ความเหลื่อมล้าในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้าในการจัด สวัสสดิการสังคม นั้นเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน การนาเสนอผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ การสารวจประสบการณ์การใช้ทุน ทางสังคมในการขับเคลื่อนสังคมในต่างประเทศ คือ ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้ ส่วนที่สอง คือ การสารวจตัวอย่างการใช้ทุนทางสังคมเดิมในการขับเคลื่อนทางสังคมในประเทศไทย สาหรับ สังคมไทยศึกษาสารวจ (1) การปฏิรูปการพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจและสวัสดิการของชุมชน ศึกษา จากการขับเคลื่อนกองทุนการเงินชุมชนและการขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน (2) การปฏิบัติการ ของทุนทางสังคมในการสร้างระบบการดูแลสังคมสูงวัย (3) การขับเคลื่อนภาคประชาสังคมในการ แก้ไขปัญหาสังคม (4) พลังทางสังคม-ชุมชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อสังคม และส่วนสุดท้าย เป็น การเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปสังคมโดยการใช้ทุนทางสังคม จากขอบเขตการวิเคราะห์ข้อมูล ดังกล่าวนาไปสู่การเสนอแนวทางการปฏิรูป 3 มิติหลัก ดังนี้ (1) การปฏิรูปการพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจและสวัสดิการของชุมชน หมายถึง การ สารวจโมเดลที่ดีของการใช้ทุนทางสังคมในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสวัสดิการในชุมชน-สังคมทั้ง จากประสบการณ์ในและต่างประเทศ รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการปฏิรูปการพึ่งตนเองได้ทาง เศรษฐกิจและสวัสดิการด้วยทุนทางสังคม (2) การปฏิรูปความรับผิดชอบทางสังคม หมายถึง การสารวจโมเดลที่ดีของการใช้ทุนทาง สังคมในการแก้ไขปัญหาการคอรัปชั่น ปัญหาวิกฤติธรรมาภิบาลในชุมชน-สังคม เพื่อให้ประชาชนมี ความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งจากประสบการณ์ในและต่างประเทศ รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการ ปฏิรูปความรับผิดชอบทางสังคมด้วยทุนทางสังคม (3) การปฏิรูปการเมืองในระดับท้องถิ่น หมายถึง การสารวจโมเดลที่ดีของการใช้ทุนทาง สังคมในการแก้ไขปัญหาการเมืองในระดับท้องถิ่น จากประสบการณ์ในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการปฏิรูปการเมืองในระดับท้องถิ่นด้วยทุนทางสังคม (4) การปฏิรูปการจัดตั้งองค์กรเสริมรัฐ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับสังคมไทย เพื่อทาหน้าที่ ส่งเสริมหรือเสริมบทบาทการทางานของรัฐบาล