SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 24
Downloaden Sie, um offline zu lesen
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
หนิงโป
: เมืองท่าสาคัญบนเส้นทางสายไหมทาง
ทะเลในอดีตและปัจจุบัน
ปาณัท ทองพ่วง
ผู้ช่วยนักวิจัย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
หนิงโป
: เมืองท่าสาคัญบนเส้นทางสายไหมทางทะเลในอดีตและปัจจุบัน
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้เขียน : ปาณัท ทองพ่วง
ภาพปก : http://www.globalconstructionreview.com/client_media/images/Ningbo_Scenic.jpg
เผยแพร่ : กรกฎาคม 2560
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
1
ภาพที่ 1 ตําแหน่งของหนิงโปในประเทศจีน บริเวณสีแดงคือเมืองหนิงโป สีส้มคือมณฑลเจ้อเจียง
ที่มาภาพ https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/b8/China_Zhejiang_Ningbo.svg
ภาพที่ 2 หนิงโป (ในกรอบสีแดง) โจวชาน และเซี่ยงไฮ้ ในอ่าวหางโจว
ที่มาภาพ https://www.google.co.th/maps/place/Ningbo,+Zhejiang,+China
2
หนิงโป คือเมืองท่า แหล่งอุตสาหกรรม และศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สําคัญทางตอนใต้ของลุ่มแม่นํ้า
แยงซี (เขตเจียงหนาน) ของจีน และอยู่ในกลุ่มเมืองชั้นนําทางเศรษฐกิจ 20 เมืองของจีน ทั้งยังได้ขึ้น
ทะเบียนเป็นเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมด้วย หนิงโปตั้งอยู่ในด้านตะวันออกของมณฑลเจ้อเจียง
ซึ่งเป็นหนึ่งในมณฑลที่รวยสุดในจีน อยู่ริมชายฝั่งทะเลตะวันออก ตรงข้ามเซี่ยงไฮ้ทางใต้ของอ่าวหาง
โจว (ห่างจากเซี่ยงไฮ้ประมาณ 200 กม.) และทางตะวันออกอยู่ใกล้กับเกาะโจวชาน (Zhoushan) มีทะเล
กั้นเพียงแคบๆ ชื่อหนิงโปของเมืองนั้น (宁波) แปลตามตัวอักษรว่า คลื่นสงบ เป็นชื่อที่ใช้มาตั้งแต่ปี
1381 ตั้งโดยจักรพรรดิจูหยวนจาง ผู้ก่อตั้งราชวงศ์หมิง จากเดิมก่อนหน้านั้นที่ชื่อ หมิงโจว1
แต่ชื่อย่อ
ของเมืองใช้ว่า หย่ง yong (甬) จากชื่อของแม่นํ้าหย่ง แม่นํ้าสําคัญของเมือง ซึ่งได้ชื่อจากภูเขาหย่ง
(甬山) เขาลูกสําคัญในเมือง2
ภาพที่ 3 บรรยากาศในเมืองหนิงโป
ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560)
1
The People's Government of Ningbo Municipality. Ningbo Overview. ออนไลน์
http://english.ningbo.gov.cn/col/col934/index.html.
2
https://en.wikipedia.org/wiki/Ningbo#Administrative_Structure
3
ภาพที่ 4 และ 5 บรรยากาศในเมืองหนิงโป
ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560)
4
พัฒนาการของเมืองหนิงโป
หนิงโปเป็นหนึ่งในเมืองและเมืองท่าที่ติดต่อกับโลกภายนอกที่เก่าแก่ที่สุดของจีน3
โดยมี
ประวัติศาสตร์ย้อนไปได้ถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคโบราณในอารยธรรมเหอหมู่ตู้ (Hemudu) เมื่อ
7,000 ปีก่อน ซึ่งมีวิถีชีวิตแบบชาวประมงเนื่องจากอยู่ติดชายฝั่งทะเล เมืองหนิงโปมีต้นกําเนิดความเป็น
เมืองการค้าที่มีพ่อค้าจากแดนไกลล่องเรือมาค้าขายตั้งแต่ 2,000 ปีที่แล้ว ใน ค.ศ. 738 สมัยราชวงศ์ถัง
เมืองนี้มีชื่อว่า หมิงโจว (明州) เมื่อถึง ค.ศ. 821 เมืองถูกย้ายมาอยู่ตรงจุดบรรจบของแม่นํ้า 3 สายที่
ไหลผ่านเมือง คือแม่นํ้า yuyao (yuyao jiang) แม่นํ้า Fenghua (Fenghua jiang) และแม่นํ้า Yong
(yong jiang)4
และสร้างกําแพงล้อมรอบเมืองขึ้น จึงถือเอาเวลานี้เป็นจุดตั้งเมือง ในค.ศ. 1381 เมืองถูก
เปลี่ยนชื่อมาเป็นหนิงโป ที่แปลว่า คลื่นลมสงบ5
ดังที่กล่าวมา
จุดเด่นของหนิงโปคือการเป็นเมืองท่าอันยิ่งใหญ่แห่งโลกตะวันออกมานานกว่า 1,200 ปี ในขณะ
ที่เมืองท่าของจีนที่คนทั่วโลกรู้จักกันกันดีในวันนี้อย่างเซี่ยงไฮ้เพิ่งจะเริ่มมีความสําคัญในฐานะเมืองท่าก็
ในสมัยหลังสงครามฝิ่นเมื่อไม่ถึง 200 กว่าปีมานี้เอง ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังของจีน (ค.ศ.618-907) ก็มี
พ่อค้าจากแดนไกล ทั้งอาหรับ ยิว และยุโรป เดินทางเข้ามาค้าขายและตั้งชุมชนอยู่ในเมืองหนิงโป
โดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์ซ่งที่การค้าทางทะเลรุ่งเรืองขึ้นมาแทนเส้นทางสายไหมทางบกที่เสื่อมถอยลง
หนิงโปเป็นที่รู้จักในยุโรปในชื่อ Liampo การเป็นเมืองท่าสําคัญที่ค้าขายกับต่างชาติมาแต่โบราณส่งผล
ให้ใครที่เดินทางไปเมืองหนิงโปในวันนี้จะสัมผัสได้ถึงการผสมผสานวัฒนธรรมนานาชาติ เช่น ยุโรปและ
ญี่ปุ่น อยู่ภายในเมืองด้วย มาถึงในสมัยปลายราชวงศ์ชิง หนิงโปเป็น 1 ใน 5 เมืองท่าตามสนธิสัญญา
นานกิง ที่จักรวรรดิอังกฤษบังคับให้จักรวรรดิจีนยอมเปิดเป็นเขตการค้าเสรี ในค.ศ.1842 หลังจีนแพ้
สงครามฝิ่น ร่วมกับ กวางตุ้ง ฝูโจว (Fuzhou) เซียะเหมิน (Xiamen) และเซี่ยงไฮ้ นับจากต้นทศวรรษ
1980 ที่จีนเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจเป็นต้นมา หนิงโปได้ยกระดับขึ้นเป็นเมืองท่าสมัยใหม่ ทํา
3
APEC China 2014. Ningbo, China - A City of Culture and a Gateway to the World. ออนไลน์ http://www.apec-
china.org.cn/en/other_ningbo.htm.
4
Zhang Han. China’s Local Entrepreneurial State and New Urban Spaces: Downtown Development in Ningbo.
Palgrave Macmillan, 2016.
5
APEC China 2014. Ningbo, China - A City of Culture and a Gateway to the World. ออนไลน์http://www.apec-
china.org.cn/en/other_ningbo.htm.
5
การค้ากับนานาชาติทั่วโลก ตั้งแต่นั้นมาหนิงโปก็มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นส่วนหนึ่งร่วม
ไปกับโลก6
ภาพที่ 6 จุดบรรจบของแม่นํ้าทั้งสามสาย (sanjiangkou) ศูนย์กลางแต่ดั้งเดิมของเมืองหนิงโป
ที่มาภาพ http://www.maxxelli-blog.com/wp-content/uploads/2014/09/Luftaufnahme-Ningbo1.jpg
การบริหารเมือง
ปัจจุบัน หนิงโปเป็น 1 ใน 15 เมืองระดับตํ่ากว่ามณฑล (sub-provincial city) ที่มีอํานาจ
เทียบเท่ามณฑลในด้านการบริหารเศรษฐกิจและการวางแผนจัดระเบียบเมืองของตน กล่าวคือเป็นเมือง
ที่ได้รับอํานาจพิเศษในการจัดการเศรษฐกิจที่มีความพิเศษ หรือเป็นเมืองในทางการปกครอง แต่มีฐานะ
เทียบเท่ามณฑลในทางเศรษฐกิจ เมืองหนิงโปมีอาณาเขต 9,816 ตร.กม. และมีประชากรประมาณ 6
ล้านคน ปัจจุบันนายกเทศมนตรีเมืองหนิงโปคือ นาย Qiu Dongyao และนาย Tang Yijun เป็น
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจําเมืองหนิงโป7
ซึ่งเป็นเบอร์หนึ่งของเมือง ตามโครงสร้างการปกครอง
ของจีน
6
People's Government of Ningbo Municipality. Ningbo overview. ออนไลน์
http://english.ningbo.gov.cn/col/col934/index.html.
7
China Daily. Ningbo acting mayor is new Party chief. ออนไลน์ http://www.chinadaily.com.cn/china/2016-
08/25/content_26590569.htm
6
เศรษฐกิจเมืองหนิงโป
เมืองท่า
ภาพที่ 7 ท่าเรือหนิงโป
ที่มาภาพ http://www.apec-china.org.cn/mmsource/images/2014/02/12/3ningboganga.jpg
เมืองหนิงโปเกิดขึ้นในฐานะเมืองท่าการค้านานาชาติมาตั้งแต่ต้นและคงสถานภาพนั้นมาถึง
ปัจจุบัน มีการขุดพบไม้พายโบราณ เรือจําลองดินเผา และเครื่องมือประมงในบริเวณนี้ซึ่งมีอายุย้อนไป
ตั้งแต่ 7,000 ปี ก่อน เมื่อบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของแหล่งอารยธรรมเหอหมู่ตู้ แสดงให้เห็นถึงการเป็นเมืองที่
สัมพันธ์กับทะเลและการเดินเรือมาตั้งแต่นั้น ตลอดประวัติศาสตร์ของจีน เมืองหนิงโป ภายใต้ชื่อและการ
จัดเขตบริหารที่เปลี่ยนไปมา ได้ปรากฏตลอดในฐานะของเมืองท่าและเมืองการค้าติดต่อกับโลกภายนอก
ก่อนสมัยจิ๋นซี เมืองหนิงโปมีชื่อว่า เหมา (Mao) ซึ่งแปลว่าการค้า เพราะเป็นเมืองที่ชาวเมืองทั้งหลาย
ต่างทําการค้ากับต่างชาติ และมีชื่อเสียงเรื่องการส่งออกอาหารทะเล แม้แต่จิ๋นซีฮ่องเต้ ก็เคยมาพักที่ห
นิงโปถึง 1 เดือน ในปี 210 ก่อนคริสตกาล ส่วน 徐福 (Xu Fu) ขุนนางในตํานาน ผู้ออกเดินทางทาง
ทะเลไปทางตะวันออก ในกองเรือที่มีลูกเรือและเด็กชายหญิงจํานวนหลายพัน ตามคําบัญชาของจิ๋นซี
“เพื่อไปหายาอายุวัฒนะ” และไม่กลับมา โดยเล่ากันว่าไปตั้งรกรากที่เกาะญี่ปุ่นนั้น ก็เดินทางออกจากจีน
จากเมืองหนิงโป ในปี 210 ก่อนคริสตกาลเช่นกัน
7
ในสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งเป็นยุคทองของจีน หนิงโปก็รุ่งเรืองทางการค้าระหว่างประเทศด้วย มี
บันทึกว่า นักธุรกิจและเรือสินค้าต่างชาติเข้าเทียบท่าเรือของเมือง “ลําแล้วลําเล่า” ส่งออกสินค้าอย่าง
เครื่องกระเบื้องและผ้าไหมไปถึงหลายสิบดินแดน ในสมัยซ่ง ได้มีการยกระดับหน่วยงานของรัฐที่บริหาร
การค้ากับต่างชาติและภาษีขึ้นที่หนิงโป มาถึงตอนกลางสมัยหมิง หนิงโปเป็นเมืองท่าการค้านานาชาติที่
มีหน่วยงานจัดการดูแลการค้าต่างชาติครบครัน ไม่ว่า ศุลกากร องค์การคลังสินค้า หรือโรงแรมที่พัก
ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 ฐานะเมืองการค้าของหนิงโปเข้าสู่ยุคตกตํ่าลง เพราะได้รับความ
เสียหายจากการปล้นสะดมและเข้าตีเมืองหลายครั้งจากโจรสลัดญี่ปุ่น และกฎหมายห้ามการค้ากับ
ต่างชาติในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงในปี 1757 ท่าเรือและเมืองของหนิงโปกลับสู่ความคึกคักอีกครั้ง
ภายหลังในปลายราชวงศ์ชิง หลังสงครามฝิ่น ที่จีนต้องเปิดเมืองท่าเสรี 5 เมือง ตามสนธิสัญญานานกิง
ในปี 1842 และหนิงโปเป็นหนึ่งในนั้นดังที่กล่าวไป8
ในยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน หนิงโปได้รับการยกระดับความเป็นเมืองท่าครั้งสําคัญในปี 1984
ในฐานะ 1 ใน 14 เมืองท่านําร่องสําหรับเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ ร่วมกับ ต้าเหลียน เทียนจิน ชิง
เต่า เซี่ยงไฮ้ เวินโจว ฝูโจว กวางโจว เป็นต้น
ในปี 2015 GDP ของเมืองหนิงโปอยู่ที่ 800,000 ล้านหยวน (120,000 ล้านดอลลาร์) เป็นอันดับ
สองของมณฑลเจ้อเจียง รองแต่เพียงเมืองหางโจว เมืองเอกของมณฑลเท่านั้น ท่าเรือโจวชานของหนิง
โปเป็นท่าเรือที่สามารถรับตู้คอนเทนเนอร์คิดเป็นนํ้าหนักได้มากที่สุดในโลก คือ 900 ล้านตันต่อปี และ
ในปี 2015 มีการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าเรือแห่งนี้ถึง 21 ล้านตู้ มากเป็นอันดับ 4 ของท่าเรือใน
โลก9
จากข้อมูลล่าสุดในปี 2015 ของ World Shipping Council ท่าเรือหนิงโป-โจวชาน (Ningbo-
Zhoushan) ของเมืองหนิงโปเป็นท่าเรือคึกคักอันดับ 4 ของโลก รองจากเซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ และเซินเจิ้น)10
จึงเป็นรองเพียงเซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้น ในบรรดาท่าเรือของจีน
8
The People's Government of Ningbo Municipality. Ningbo overview. ออนไลน์
http://english.ningbo.gov.cn/col/col934/index.html
9
เพิ่งอ้าง
10
จากสถิติของ World Shipping Council ในปี 2015 นั้น ท่าเรือคึกคักที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ได้แก่ 1. เซี่ยงไฮ้
2.สิงคโปร์ 3. เซินเจิ้น 4. หนิงโป 5. ฮ่องกง 6. ปูซาน (เกาหลีใต้) 7. ชิงเต่า 8. กวางโจว 9. Jebel Ali ดูไบ (สหรัฐ
อาหรับเอมิเรตส์) 10. เทียนจิน จะเห็นว่า ทั้งหมดอยู่ในเอเชีย และ 7 แห่งอยู่ในจีน ส่วนอันดับที่ 11 ได้แก่ท่าเรือ
Rotterdam ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นท่าเรือที่คึกคักที่สุดของยุโรปและของตะวันตก อันดับ 12 คือ ท่า Klang ของ
มาเลเซีย ส่วนท่าเรือแหลมฉบังของไทยอยู่ที่ 22 ท่าเมืองโฮจิมินห์อยู่ที่ 26 World Shipping Council. TOP 50
WORLD CONTAINER PORTS. ออนไลน์ http://www.worldshipping.org/about-the-industry/global-trade/top-50-
world-container-ports.
8
ด้วยทะเลในบริเวณนั้นเป็นนํ้าลึก ทําให้ท่าเรือหนิงโปเป็นท่าเรือนํ้าลึกที่สามารถรองรับเรือ
บรรทุกสินค้าขนาดใหญ่มากได้ ทําให้เป็นเมืองท่าที่ได้รับความนิยมของอุตสาหกรรมและธุรกิจในระดับ
โลก ปัจจุบันท่าเรือหนิงโป-โจวชาน เชื่อมต่อเส้นทางขนส่งกับกว่า 600 ท่า ในกว่า 100 ประเทศ 11
นครการค้าและอุตสาหกรรม
นอกจากการค้ากับต่างชาติจะทําให้หนิงโปเป็นเมืองท่าสําคัญแล้ว การค้าและธุรกิจภายในเมือง
ก็ทําให้หนิงโปเป็นที่รู้จักมายาวนานในฐานะเมืองพาณิชย์ที่ยิ่งใหญ่รุ่งเรืองมาแต่โบราณด้วย หนิงโปมี
ภาคเอกชนที่เข้มแข็งและเป็นกําลังหลักของเมือง ภาคธุรกิจสร้างรายได้กว่า 80% ของ GDP และ 85%
ของการจ้างงานในเมือง ปัจจุบันมีธุรกิจกว่า 150,000 แห่งในหนิงโป และมีผู้ประกอบการกว่า 350,000
คน นอกจากนี้ หนิงโปยังเป็น 1 ใน 3 เมืองผู้ผลิตหลักของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าในจีน
และยังเป็นผู้ผลิตเครื่องเขียน เครื่องจักร และแม่พิมพ์ รวมทั้งสินค้าหลายยี่ห้อก็ผลิตจากเมืองนี้ เช่น
รถยนต์ยี่ห้อ Geely12
นอกจากนี้ หนิงโปยังเคยได้รับรางวัลเช่น “1 ใน 10 เมืองที่เป็นศูนย์การจัดประชุม
และแสดงนิทรรศการของจีน” และ “เมืองพาณิชย์ที่ดีที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่ (Best Commercial City in
the Chinese Mainland)” ด้วย13
ภาพที่ 8 โรงงานผลิตรถยนต์ Geely ในเมืองหนิงโป
ที่มาภาพ http://www.apecchina.org.cn/mmsource/images/2014/02/12/4jilihanzhuangchejian.jpg
11
APEC China 2014. Ningbo, China - A City of Culture and a Gateway to the World. ออนไลน์
http://www.apec-china.org.cn/en/other_ningbo.htm.
12
Getty Images. Geely Auto Open New Production Base in Ningbo. ออนไลน์
http://www.gettyimages.com/event/geely-auto-open-new-production-base-in-ningbo-112050121#geely-group-
chairman-li-shufu-attends-hangzhou-bay-base-opening-on-picture-id112051362.
13
เพิ่งอ้าง
9
ทิศทางการพัฒนาเมือง
ทิศทางในอนาคตของเมืองหนิงโปทางเศรษฐกิจนั้น ยังคงพยายามขยายท่าเรือเพิ่มเพื่อแข่งขัน
กับเซี่ยงไฮ้ในการเป็นท่าเรือหลักของชายฝั่งตะวันออกของจีน เลขาธิการพรรค นาย Tang Yijun เมื่อ
เข้ามารับตําแหน่งใหม่ในปี 2016 ได้ให้แนวทางการพัฒนาเมืองไว้ว่า จะทําให้หนิงโปเป็นศูนย์กลางการ
ขนส่งและอุตสาหกรรมการผลิต และจะก้าวไปสู่การเป็นเมืองต้นแบบ smart economy ปัจจุบันหนิงโปมี
ชื่อเสียงเรื่องอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ในบ้าน เป็นต้น
นอกจากนี้ หนิงโปยังเป็นเมืองนําร่องแห่งแรกของจีน ในการทดลองใช้นโยบาย Made in China 2025
นโยบายที่พยายามปฏิรูปการผลิตสินค้าคุณภาพสูง (high end) ของจีนด้วย14
สถานที่ท่องเที่ยวที่สาคัญ
สถานที่ท่องเที่ยวหลักของเมืองหนิงโปได้แก่ บ้านเทียนอี้ จัตุรัสเทียนอี้ เหล่าว่ายทาน และ
สะพานข้ามอ่าวหางโจว (เซี่ยงไฮ้-หนิงโป) โดยในส่วนของจัตุรัสเทียนอี้และเหล่าว่ายทานเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวที่แฝงด้วยบทเรียนของการพัฒนาเมืองโดยรัฐท้องถิ่นด้วย
คฤหาสน์เทียนอี้ (Tien Yi Ge)
ภาพที่ 9 คฤหาสน์เทียนอี้
ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560)
14
China Daily. Ningbo acting mayor is new Party chief. ออนไลน์ http://www.chinadaily.com.cn/china/2016-
08/25/content_26590569.htm
10
ภาพที่ 10 รูปปั้น Fan Qin ภายในคฤหาสน์เทียนอี้
ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560)
คฤหาสน์เทียนอี้เป็นคฤหาสน์ของ Fan Qin ขุนนางจีนสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างปี
1506-1585 เขาเป็นชาวหนิงโปโดยกําเนิด สอบเข้ารับราชการ เคยดํารงตําแหน่งสําคัญที่เทียบกับ
ตําแหน่งในปัจจุบัน เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงกลาโหม อย่างไรก็ตาม เขามีปัญหากับสมาชิกบางคนในราชสํานัก และถูกย้ายมาเป็นผู้ว่าเมือง
Yuanzhou คฤหาสน์เทียนอี้เต็มไปด้วยหนังสือโบราณมากมายทั้งที่อยู่ในยุคสมัยของเขาและที่เก่ากว่า
ซึ่งเขาสะสมเอาไว้ โดยปัจจุบันห้องสมุดของคฤหาสน์เทียนอี้ถือเป็นหนึ่งในห้องสมุดโบราณที่ยัง
หลงเหลืออยู่ที่สําคัญที่สุดของจีน นอกจากนี้ ตัวคฤหาสน์เทียนอี้เองก็มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ร่มรื่น
มีการจัดสวนภายในบ้านอย่างกลมกลืน เป็นสถานที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์
11
ภาพที่ 11 และ12 หนังสือโบราณและบรรยากาศภายในสวนคฤหาสน์เทียนอี้
ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560)
12
จัตุรัสเทียนอี้ (Tian Yi square)
ภาพที่ 13 จัตุรัสเทียนอี้
ที่มาภาพ https://cheapskatechronicles.files.wordpress.com/2013/10/20131008-103952.jpg
ในวันนี้ จัตุรัสเทียนอี้คือพื้นที่ใจกลางเมืองหนิงโป ซึ่งเป็นย่านที่ผู้มาเยือนทุกคนต้องไม่พลาด
จัตุรัสเทียนอี้คือส่วนผสมของพื้นที่สาธารณะและย่าน CCD (Central Commercial District) ของเมือง
หนิงโป บนเนื้อที่ขนาดเกือบสองแสนตารางเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของจัตุรัสเทียนอันเหมินของปักกิ่ง)
ความน่าสนใจของจัตุรัสเทียนอี้นอกจากในด้านการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสําคัญของหนิงโปแล้ว คือ
เรื่องราวในการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ขึ้นมาซึ่งสามารถเป็นบทเรียนสําหรับการพัฒนาเมืองในที่อื่นๆ ในแง่ที่
รัฐท้องถิ่นเป็นตัวนําการพัฒนา
ย้อนไปก่อนปี 2002 ยังไม่มี “จัตุรัสเทียนอี้” ในเมืองหนิงโป คําว่า “เทียนอี้” นั้นเป็นชื่อของ
สถานที่แห่งเดียวคือ บ้านเทียนอี้ ที่ได้กล่าวไป โครงการสร้างจัตุรัสเทียนอี้ เพิ่งเริ่มขึ้นในปี 1999 และ
แล้วเสร็จในปี 2002 เท่านั้นเอง
ก่อนปี 1999 พื้นที่ของจัตุรัสเทียนอี้ในวันนี้เป็นย่านตึกแถวที่อยู่อาศัยเก่าแก่ย้อนไปได้ถึง
ปลายสมัยชิง สิ่งที่น่าสนใจของเรื่องจัตุรัสเทียนอี้คือกระบวนการในการทําโครงการ ที่เริ่มจากเป้าหมาย
ของรัฐบาลเมืองหนิงโปที่ต้องการฟื้นฟูพื้นที่ใจกลางเมืองบริเวณนี้ จากที่เป็นย่านที่อยู่อาศัยเก่าโทรม อยู่
ในพื้นที่ตํ่านํ้าท่วมถึง และไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยอย่างมีสุขภาวะ คล้ายเป็นสลัมใจกลางเมือง ให้
13
เป็นย่าน CBD (Central Business District) มีสภาพที่ดีขึ้น และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ทันกับ
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองหนิงโปที่ก้าวหน้า อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนาพื้นที่ชิ้นนี้ (ซึ่งในตอน
นั้นยังไม่ได้เรียกว่า จัตุรัสเทียนอี้) ไม่สามารถหาบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนมาทําได้ เนื่องจาก
เป็นโครงการที่แพงและมีความเสี่ยงทางธุรกิจสูง อีกทั้งท้องถิ่นจีนยังมีระเบียบที่เข้มงวดป้องกันการให้
นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนมาทําให้การพัฒนาเมืองสะเปะสะปะ ไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น รัฐบาล
เมืองหนิงโปจึงเข้ามาเป็นผู้พัฒนาเองในโครงการใหญ่นี้ ซึ่งก็มิได้ทําเองโดยตรง แต่ให้ Ningbo Urban
Construction Investment Holdings Company รัฐวิสาหกิจของรัฐบาลเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาพื้นที่ให้เป็น CBD นี้ไม่ได้ทําในขั้นเดียว แต่ใช้หลักทดลองแล้วค่อย
ทําต่อ คือแบ่งการทํางานเป็นสองขั้น ขั้นแรกทําเป็นโครงการทดลองคือเป็น CCD (Center Commercial
District) ก่อน โดยพัฒนาให้เป็นย่านพาณิชยกรรม สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ วัฒนธรรมและความบันเทิง
เป็นร้านรวงค้าขาย บนตึกแถวที่ไม่สูงนักไม่เกินสี่ชั้น และมีระบบบริหารไม่ให้ผู้เช่าโอนกรรมสิทธิ์ให้คน
อื่นเช่าต่อได้ แต่เมื่อเลิกเช่าต้องโอนกรรมสิทธิ์ในห้องเช่าคืนมาที่ส่วนกลางคือ รัฐวิสาหกิจ Ningbo
Urban Construction Investment Holdings Company ซึ่งจะปล่อยให้ผู้เช่ารายใหม่เอง มาตรการเหล่านี้
ทั้งการกําหนดให้เป็นแหล่งพาณิชยกรรม บนตึกไม่สูงนัก และควบคุมกรรมสิทธิ์ไว้ที่ส่วนกลาง มีขึ้น
เพื่อให้ล้มโครงการได้ง่าย โดยตั้งเงื่อนไขว่าหากภายใน 5 ปี โครงการประสบความสําเร็จในการพัฒนา
บรรลุเป้าหมายทางสังคมและเศรษฐกิจ เป็นที่ยอมรับของชาวเมือง และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นกับ
เมืองหนิงโป โครงการทดลองนี้ก็จะกลายเป็นโครงการถาวร และพัฒนาต่อไปเป็น CBD แต่ถ้าไม่ ก็จะ
ล้มโครงการทิ้ง แล้วนําพื้นที่กลับมาหาแนวทางฟื้นฟูใหม่
ในปี 2000 ฝ่ายผังเมืองของรัฐบาลเมืองหนิงโปจึงเริ่มประกาศรับการเสนอแผนผังการพัฒนา
พื้นที่บริเวณที่เป็นจัตุรัสเทียนอี้จากเอกชน และคัดเลือกเพื่อนํามาพัฒนาต่อโดยฝ่ายผังเมืองของเมือง
ร่วมกับบริษัทสถาปนิกเอกชน ของ Ma Qingyun สถาปนิกจบจากมหาวิทยาลัยชิงฮวาและเพนซิลเวเนีย
เมื่อเสร็จสิ้นได้แบบที่พอใจแล้วก็ให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ร่วมประเมิน และสร้างแบบจําลองนําไปตั้งไว้กลาง
เมืองเพื่อรับฟังความเห็นของชาวเมือง (ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทํากันปกติของการวางผังเมืองในจีน) เมื่อ
แบบผ่านก็เข้าสู่กระบวนการขอการอนุมัติจากคณะกรรมการด้านผังเมืองของเมือง งบประมาณใน
โครงการนี้อยู่ที่ประมาณ 1,200 ล้านหยวน ในจํานวนนี้ประมาณ 800 ล้านหยวนใช้ไปกับการชดเชยผู้ที่
พักอาศัยและประกอบกิจการเดิม ที่เหลือเป็นค่าก่อสร้าง ค่าแบบ และค่าบริหาร การก่อสร้างดําเนินไป
จนเปิดทําการได้ในปี 2002
แม้จะเผชิญปัญหาในระหว่างการดําเนินการ แต่หลังจากเปิดทําการในปี 2002 จนถึงปัจจุบัน
เป็นเวลา 15 ปี จัตุรัสเทียนอี้ก็เป็นที่ยอมรับว่าเป็นโครงการพัฒนาเมืองที่ประสบความสําเร็จมากเป็น
14
ตํานาน ได้รับรางวัลมากมายจากทั้งระดับชาติและระดับมณฑล ในทางเศรษฐกิจ โครงการคืนทุนและ
เริ่มทํากําไรได้ในเพียงปีเดียวหลังเปิดดําเนินการ ในปี 2004 โครงการจัตุรัสเทียนอี้มีร้านค้ามาเช่าถึง
85-90 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าโครงการรวมทั้งหมดสูงขึ้นไปถึง 4,000 ล้านหยวน คือกว่าสามเท่าของ
เงินลงทุนในตอนต้น ในทางสังคม จัตุรัสเทียนอี้เป็นย่านศูนย์การค้าและพื้นที่สาธารณะที่ชาวเมืองหนิง
โปนิยม และได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “ห้องนั่งเล่นแห่งหนิงโป” ส่วนทีมบริหารของโครงการจัตุรัสเทียน
อี้ซึ่งฝึกปรือฝีมือและบริหารมาจนประสบความสําเร็จก็ถูกส่งไปบริหารโครงการฟื้นฟูย่านใจกลางเมือง
แห่งต่อไปของเมืองหนิงโป นั่นคือ เหล่าว่ายทาน อันจะได้กล่าวต่อไป
สุดท้ายแล้ว โครงการจัตุรัสเทียนอี้ก็ไม่ได้พัฒนาไปเป็น CBD ตามแผน แต่กลายเป็น CCD
ถาวร เพราะตั้งแต่ปี 2004 หลังจากความสําเร็จของจัตุรัสเทียนอี้ เมืองหนิงโปได้มีการเปลี่ยนแผนการ
ปรับพื้นที่เมืองใหม่ ย้ายไปสร้าง CBD นอกเมืองด้านตะวันออกหนึ่งโครงการและด้านใต้อีกหนึ่ง
โครงการ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ การจัดพื้นที่บริเวณนั้นในลักษณะที่เป็นศูนย์การค้าและพื้นที่สาธารณะ
แบบจัตุรัสเทียนอี้ก็ประสบความสําเร็จเป็นอย่างดีและเป็นที่ชื่นชอบของชาวเมืองแล้ว จึงไม่จําเป็นต้อง
พัฒนาต่อให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ที่เต็มไปด้วยตึกสูงและออฟฟิศแบบ CBD อีก
เหล่าว่ายทาน (Laowaitan)
15
ภาพที่ 14 15 และ 16 บรรยากาศที่เหล่าว่ายทาน
ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560)
16
เหล่าว่ายทาน หรือแปลว่า The Old Bund ในภาษาอังกฤษ คือย่านอาคารเก่าที่เป็นอาคาร
สํานักงาน ห้างร้านบริษัท และที่พักอาศัยแบบตะวันตกยุคอาณานิคมริมแม่นํ้าหย่ง (Yong) ใจกลาง
เมืองหนิงโป ตั้งแต่ปี 2002 หลังการประสบความสําเร็จของจัตุรัสเทียนอี้ รัฐบาลเมืองหนิงโปก็ดําเนิน
โครงการฟื้นฟูย่านใจกลางเมืองต่อที่เหล่าว่ายทาน โดยการแปลงพื้นที่บริเวณนี้จากย่านเก่าที่ทรุดโทรม
ให้ฟื้นคืนชีวิตชีวา ให้กลายเป็นสถานที่ที่ผสมผสานระหว่างย่านการค้าและย่านประวัติศาสตร์ โดยได้รับ
แรงบันดาลใจจากการพัฒนาพื้นที่ซินเทียนตี้ (Xin Tien Di) ของเซี่ยงไฮ้ โดยมี Ningbo Urban
Construction Investment Holdings Company เป็นผู้รับผิดชอบโครงการเช่นเดิม และมี Ma Qingyun
สถาปนิกผู้ออกแบบจัตุรัสเทียนอี้ เป็นผู้ออกแบบ ปรับปรุงเสร็จเฟสแรกในปี 2003 และเสร็จทั้งหมดในปี
2007
ในภาพรวม เหล่าว่ายทานประสบความสําเร็จในการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์
เพราะสามารถฟื้นฟูและปรับโครงสร้างการใช้พื้นที่ของเมืองจากย่านเก่าแก่ทรุดโทรม ให้กลายมาเป็น
ย่านการพาณิชย์และธุรกิจแห่งใหม่ เต็มไปด้วยสํานักงานของบริษัทขนส่งระหว่างประเทศ ร้านอาหาร
นานาชาติ ผับ และพื้นที่สาธารณะสําหรับการเดินเล่นชมวิวสองฝั่งแม่นํ้า เป็นที่นิยมของชาวเมือง และ
นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะในยามคํ่าคืน และทําให้ราคาเช่าตึกแถวเพื่อการค้าในย่านนี้อยู่ใน
ระดับสูง เหล่าว่ายทาน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับ 4A ของจีนในปี 2011
โครงการฟื้นฟูพื้นที่ใจกลางเมืองหนิงโป ทั้งจัตุรัสเทียนอี้และเหล่าว่ายทาน เป็นเพียงตัวอย่าง
หนึ่งของปรากฏการณ์ที่กําลังเกิดขึ้นในจีนมาระยะหนึ่ง นั้นคือ การฟื้นฟูเมือง การพัฒนาพื้นที่ย่านเก่า
ไม่ว่าย่านการค้า อุตสาหกรรม หรือย่านที่อยู่อาศัย ปรับปรุงการใช้พื้นที่ใหม่ เพื่อรองรับการเติบโตของ
เมือง และเป็นการปรับสภาพแวดล้อมของเมืองให้น่าชม กลับมาสดใสอีกครั้ง
ทั้งโครงการจัตุรัสเทียนอี้และเหล่าว่ายทาน แสดงให้เห็นความจัดเจน (mature) ของรัฐท้องถิ่น
ของจีนในการเป็นผู้ประกอบการ ที่เป็นผู้จัดการโครงการเองทั้งหมดตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ตั้งแต่
คิดริเริ่ม วางแผน ปรับปรุงแผน แก้ปัญหา มีการเรียนรู้ระหว่างการทําโครงการ ลงมือก่อสร้างจนแล้ว
เสร็จ ทําอย่างเด็ดขาดแต่ระมัดระวัง ถือเป็นตัวอย่างที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาเมืองแบบใช้รัฐ
(ท้องถิ่น) นํา และแสดงให้เห็นบทบาทที่เด่นชัดของการเป็นผู้ประกอบการของรัฐ (ท้องถิ่น) จีน
17
สะพานข้ามอ่าวหางโจว เชื่อมหนิงโป- เซี่ยงไฮ้
ในปี 2008 มีการสร้างสะพานข้ามอ่าวหางโจว เชื่อมเซี่ยงไฮ้กับหนิงโป ยาว 36 กม. ซึ่งถือเป็น
สะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลก ช่วยร่นระยะทางจากเซี่ยงไฮ้-หนิงโปได้ประมาณ 120 กม. หรือ
ประมาณ 2 ชม. ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจและการขนส่งของหนิงโปมากขึ้น
ภาพที่ 17 และ 18 สะพานข้ามอ่าวหางโจว
ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560)
18
หนิงโปกับ One Belt One Road
หนิงโป ถูกกล่าวถึงตอนหนึ่งในสุนทรพจน์เปิดการประชุม Belt and Road Forum for
International cooperationโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา ในตอนที่เขาเท้าความ
ถึงคุณค่าเส้นทางสายไหมในอดีตที่เป็นก้าวสําคัญในประวัติศาสตร์ความก้าวหน้าของมนุษย์ ในฐานะที่
การติดต่อเชื่อมโยงทําให้อารยธรรมต่างๆ เจริญ เศรษฐกิจของโลกรุ่งเรือง และความรู้ของโลกเบ่งบาน
“ในวันนี้ เมืองโบราณอย่าง Jiuquan, Dunhuang, Tulufan, Kashi, Samarkand, Baghdad และ
Constantinople กับบรรดาเมืองท่าโบราณอย่าง Ningbo, Quanzhou, Guangzhou, Beihai, Colombo,
Jeddah และ Alexandria ล้วนยืนหยัดเป็นอนุสาวรีย์ที่มีชีวิตของการปฏิสัมพันธ์ในอดีต”15
ที่เกิดจาก
เส้นทางสายไหมทั้งบกและทะเล
หนิงโปกับเส้นทางสายไหมทางทะเลโบราณ
จากการศึกษาทางโบราณคดีในอดีต เมืองกวานโจวและกวางโจว (Quanzhou และ
Guangzhou) เป็นที่ถือกันว่าเป็นจุดตั้งต้นสําหรับเส้นทางสายไหมทางทะเลในสมัยโบราณออกจาก
แผ่นดินจีน อย่างไรก็ตาม อย่างช้าตั้งแต่ปี 2001 นักโบราณคดีของจีนพิสูจน์ว่า หนิงโป ก็เป็นอีกเมืองท่า
อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นของการเดินเรือจากจีนไปตามเส้นทางสายไหมในทะเลเช่นกัน บ้างก็ว่าหนิง
โปมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมกับเกาหลีและญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (ปกครองจีนระหว่าง
ค.ศ. 618-907) โดยพบหลักฐานอย่างเช่น ผ้าไหมและเครื่องเคลือบที่ขนส่งมาจากเมืองหนิงโปเก็บรักษา
ไว้ที่เมืองนารา ของญี่ปุ่น นอกจากนี้ ในใจกลางเมืองหนิงโป ยังมีเจดีย์โบราณซึ่งใช้เป็นประภาคาร ใน
สมัยราชวงศ์ถังด้วย และยังพบบ้านพักของทูตเกาหลีและเปอร์เซียที่เมืองหนิงโปด้วย ยืนยันถึงการเป็น
เมืองตั้งต้น-จุดหมายในเส้นทางสายไหมทางทะเล
ขณะที่ศาสตราจารย์ Chen Yan แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ผู้ทําวิจัยเรื่องเส้นทางสายไหมทาง
ทะเลในสมัยโบราณยืนยันว่า ธุรกิจการขนส่งทางเรือของหนิงโปมีขึ้นมาก่อนสมัยราชวงศ์ถังเสียอีก โดย
พบบันทึกโบราณที่ชี้ว่าชาวเมืองหนิงโปมีเทคโนโลยีการต่อเรือเดินทะเลมาอย่างน้อยย้อนไปตั้งแต่ 1 พัน
15
Xi Jinping. Full text of President Xi's speech at opening of Belt and Road forum. ออนไลน์
http://news.xinhuanet.com/english/2017-05/14/c_136282982.htm#0-fbook-1-87251-
b182d7286068ff4101843e17368e4b10.
19
ปีก่อนคริสตกาล นอกจากนั้น ยังพบหลักฐานว่าเครื่องเคลือบที่ผลิตจากหนิงโปถูกส่งไปขายยัง 17
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง และไปไกลถึงแอฟริกา16
หนิงโปกับเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21
ข้อได้เปรียบที่สุดของหนิงโปก็คือภูมิศาสตร์ที่เป็นอ่าวและท่าเรือ และความเชี่ยวชาญของการ
ดําเนินกิจการท่าเรือค้าขายกับโลกภายนอกมากว่าพันปี ซึ่งได้สร้างให้เกิดวัฒนธรรมของเมืองที่สัมพันธ์
กับเรื่องการค้าอย่างเข้มแข็ง ความเกี่ยวข้องหลักของหนิงโปกับ Belt and Road ในยุคนี้ก็คือ การเพิ่ม
ความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนกับต่างประเทศบน OBOR มากขึ้น และการปรับปรุงขยายท่าเรือหนิง
โป-โจวชาน (Zhoushan) สองท่าเรือหลักของเมืองที่ถูกรวมกันในปี 2015 เพื่อเสริมศักยภาพของการ
เป็นหนึ่งในท่าเรือหลักของจีนรองรับการสร้างเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21 ดังที่กล่าวไป
ว่าจากข้อมูลล่าสุดในปี 2015 ท่าเรือหนิงโป – โจวชาน เป็นท่าเรือที่คึกคักอันดับ 4 ของโลก มีเส้นทาง
เดินเรือกว่า 235 เส้นทาง เชื่อมกับกว่า 600 ท่า ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก17
แผนปฏิบัติการของเมืองหนิงโปในการเตรียมความพร้อมรองรับเส้นทางสายไหมใหม่ทางทะเล
นั้นเป็นไปตามแผนใหญ่ของมณฑลเจ้อเจียงในการรองรับนโยบายเส้นทางสายไหมทางทะเล ที่มีชื่อว่า
แผน 610 ผ่านการพัฒนาใน 6 ด้าน แต่ละด้านประกอบด้วย 10 โครงการ 6 ด้านนี้ประกอบด้วย 1) การ
กระชับความร่วมมือกับท่าเรือต่างชาติ 2) การขยายและอํานวยความสะดวกช่องทางการทําธุรกิจใน
ต่างประเทศ 3) กระตุ้นการค้ากับต่างประเทศ 4) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม 5) ส่งเสริม e-
commerce ข้ามชาติ และ 6) ส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้าง18
ในเรื่องท่าเรือ นอกจากการปรับปรุงในด้านกายภาพ ยังมีการประสานข้อมูลเพื่ออํานวยความ
สะดวกธุรกิจขนส่งสินค้าทางเรือจากหนิงโปสู่ประเทศต่างๆ ของโลกด้วย ผ่านความร่วมมือระหว่าง
Ningbo Shipping Exchange รัฐวิสาหกิจของเมืองหนิงโปที่เป็นฐานข้อมูลและให้คําปรึกษาด้านธุรกิจ
ขนส่ง กับ Baltic Exchange ศูนย์กลางข้อมูลการขนส่งสินค้าทางเรือใหญ่สุดของโลก ตั้งอยู่ที่ลอนดอน
16
People’s Daily. Archeologists Find New Starting Point of 'Silk Road On Sea' December 18, 2001. ออนไลน์
http://www.china.org.cn/english/features/woeld_heritage/23864.htm
17
China Daily. Ningbo plans for Belt and Road construction. November 23, 2015. ออนไลน์
http://www.chinadaily.com.cn/m/ningbo/2015-11/23/content_22510425.htm
18
Shanghai Daily. Ningbo sees growth potential with Europe from Belt and Road initiative. ออนไลน์
http://www.shanghaidaily.com/city-specials/ningbo/Ningbo-sees-growth-potential-with-Europe-from-Belt-and-
Road-initiative/shdaily.shtml
20
ประเทศอังกฤษ ในปี 2015 เพื่ออํานวยความสะดวกการค้าและการขนส่งทางเรือระหว่างจีนกับประเทศ
ต่างๆ มากขึ้น19
ในด้านการลงทุน ตามข้อมูลของกรรมาธิการด้านพาณิชย์ของรัฐบาลเมืองหนิงโป จนถึงปี 2015
เมืองหนิงโปลงทุนเกือบ 2 พันล้าน ในการก่อตั้งบริษัทและองค์กรกว่า 500 แห่งในประเทศต่างๆ บน
เส้นทาง OBOR
นอกจากนี้ แม้จะเป็นเมืองท่า แต่หนิงโปยังอยู่ใกล้เมืองอี้อู (Yiwu) เมืองค้าส่งใหญ่ที่สุดของจีน
ซึ่งมีทางรถไฟขนส่งสินค้าที่เชื่อมต่อไปยังลอนดอนได้ภายใน 17 วัน ในต้นปี 2017 ในปี 2016 เมือง
หนิงโปจะสร้างทางรถไฟสายใหม่ชื่อ Yongjin เชื่อมไปถึงเมืองอี้อู20
เพื่อร่วมเดินทางไปกับเส้นทางสาย
ไหมทางบกด้วย
ในด้านการค้า ภูมิภาคสําคัญที่หนิงโปค้าขายด้วยและกําลังดําเนินการกระตุ้นความร่วมมือทาง
การค้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก และอาเซียน ในครึ่งปีแรกของปี 2015 การส่งออก
ของหนิงโปไปยังสามภูมิภาคนี้คิดเป็นราว 37 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกต่างชาติของหนิงโป ในปัจจุบัน
อาเซียนเป็นคู่ค้าลําดับสามของหนิงโป เมืองหนิงโปกําลังก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับ
อุตสาหกรรมชั้นสูงและธุรกิจที่มีนวัตกรรมจากสิงคโปร์ ขณะเดียวกัน ธุรกิจจีนหลายแห่งของเมืองหนิง
โปก็ขยายสาขาและฐานไปทําการค้าและลงทุนในอาเซียน โดยเฉพาะในเวียดนามและกัมพูชา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิมของเมือง21
นอกจากนี้ในด้าน E-commerce ภาพลักษณ์ของมณฑลเจ้อเจียงในปัจจุบันก็เป็นเมืองแห่ง E-
commerce ไปแล้ว ส่วนหนิงโปซึ่งเป็นเมืองอันดับสองในเจ้อเจียงก็เป็น 1 ใน 5 เมืองแรกที่ได้รับอนุญาต
ให้ทําการค้า E-commerce ข้ามชาติได้ โดยปัจจุบันหนิงโปมีบริษัททําการค้า E-commerce ระหว่าง
ประเทศกว่า 200 แห่ง และในปี 2015 ก็ทําสถิติเป็นเมืองแรกของจีนที่มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ
ผ่าน E-commerce เกิน 1 พันล้านหยวน
โดยสรุป พันปีผ่านไป หนิงโป ก็ยังคงเป็นเมืองท่าและนครการค้าสําคัญบนเส้นทางสายไหมทาง
ทะเลที่เชื่อมโยงจีนกับส่วนอื่นๆ ของโลกเฉกเช่นเดียวกับเมื่อพันปีก่อน แต่ได้เพิ่มประเภทและปริมาณ
19
Hellenic Shipping News. Baltic Exchange collaborates with Ningbo Shipping Exchange. ออนไลน์
http://www.hellenicshippingnews.com/baltic-exchange-collaborates-with-ningbo-shipping-exchange/.
20
Shanghai Daily. Ningbo sees growth potential with Europe from Belt and Road initiative. ออนไลน์
http://www.shanghaidaily.com/city-specials/ningbo/Ningbo-sees-growth-potential-with-Europe-from-Belt-and-
Road-initiative/shdaily.shtml
21
เพิ่งอ้าง
21
การค้ามากขึ้นในปัจจุบัน จากที่เคยขนส่งสินค้าทางเรืออย่างเดียว ก็มีการขยายไปลงทุน และค้าขายผ่าน
E-commerce ด้วย

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

ประเทศไทยจะไปทางไหน
ประเทศไทยจะไปทางไหนประเทศไทยจะไปทางไหน
ประเทศไทยจะไปทางไหนNakharin Leksakul
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Fangky's Chutintorn
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...ประพันธ์ เวารัมย์
 
โครงงานเที่ยวเกาหลี
โครงงานเที่ยวเกาหลีโครงงานเที่ยวเกาหลี
โครงงานเที่ยวเกาหลีnoeiinoii
 
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557ประพันธ์ เวารัมย์
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560ประพันธ์ เวารัมย์
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 waranyuati
 

Was ist angesagt? (11)

ลพบุรี
ลพบุรีลพบุรี
ลพบุรี
 
ประเทศไทยจะไปทางไหน
ประเทศไทยจะไปทางไหนประเทศไทยจะไปทางไหน
ประเทศไทยจะไปทางไหน
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
 
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
 
โครงงานเที่ยวเกาหลี
โครงงานเที่ยวเกาหลีโครงงานเที่ยวเกาหลี
โครงงานเที่ยวเกาหลี
 
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
 
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
 
ราชบุรี
ราชบุรีราชบุรี
ราชบุรี
 

Mehr von Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

Mehr von Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

หนิงโป : เมืองท่าสำคัญบนเส้นทางสายไหมทางทะเลในอดีตและปัจจุบัน

  • 1. วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต หนิงโป : เมืองท่าสาคัญบนเส้นทางสายไหมทาง ทะเลในอดีตและปัจจุบัน ปาณัท ทองพ่วง ผู้ช่วยนักวิจัย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
  • 3. หนิงโป : เมืองท่าสาคัญบนเส้นทางสายไหมทางทะเลในอดีตและปัจจุบัน สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้เขียน : ปาณัท ทองพ่วง ภาพปก : http://www.globalconstructionreview.com/client_media/images/Ningbo_Scenic.jpg เผยแพร่ : กรกฎาคม 2560 ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 4. 1 ภาพที่ 1 ตําแหน่งของหนิงโปในประเทศจีน บริเวณสีแดงคือเมืองหนิงโป สีส้มคือมณฑลเจ้อเจียง ที่มาภาพ https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/b8/China_Zhejiang_Ningbo.svg ภาพที่ 2 หนิงโป (ในกรอบสีแดง) โจวชาน และเซี่ยงไฮ้ ในอ่าวหางโจว ที่มาภาพ https://www.google.co.th/maps/place/Ningbo,+Zhejiang,+China
  • 5. 2 หนิงโป คือเมืองท่า แหล่งอุตสาหกรรม และศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สําคัญทางตอนใต้ของลุ่มแม่นํ้า แยงซี (เขตเจียงหนาน) ของจีน และอยู่ในกลุ่มเมืองชั้นนําทางเศรษฐกิจ 20 เมืองของจีน ทั้งยังได้ขึ้น ทะเบียนเป็นเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมด้วย หนิงโปตั้งอยู่ในด้านตะวันออกของมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นหนึ่งในมณฑลที่รวยสุดในจีน อยู่ริมชายฝั่งทะเลตะวันออก ตรงข้ามเซี่ยงไฮ้ทางใต้ของอ่าวหาง โจว (ห่างจากเซี่ยงไฮ้ประมาณ 200 กม.) และทางตะวันออกอยู่ใกล้กับเกาะโจวชาน (Zhoushan) มีทะเล กั้นเพียงแคบๆ ชื่อหนิงโปของเมืองนั้น (宁波) แปลตามตัวอักษรว่า คลื่นสงบ เป็นชื่อที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1381 ตั้งโดยจักรพรรดิจูหยวนจาง ผู้ก่อตั้งราชวงศ์หมิง จากเดิมก่อนหน้านั้นที่ชื่อ หมิงโจว1 แต่ชื่อย่อ ของเมืองใช้ว่า หย่ง yong (甬) จากชื่อของแม่นํ้าหย่ง แม่นํ้าสําคัญของเมือง ซึ่งได้ชื่อจากภูเขาหย่ง (甬山) เขาลูกสําคัญในเมือง2 ภาพที่ 3 บรรยากาศในเมืองหนิงโป ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560) 1 The People's Government of Ningbo Municipality. Ningbo Overview. ออนไลน์ http://english.ningbo.gov.cn/col/col934/index.html. 2 https://en.wikipedia.org/wiki/Ningbo#Administrative_Structure
  • 6. 3 ภาพที่ 4 และ 5 บรรยากาศในเมืองหนิงโป ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560)
  • 7. 4 พัฒนาการของเมืองหนิงโป หนิงโปเป็นหนึ่งในเมืองและเมืองท่าที่ติดต่อกับโลกภายนอกที่เก่าแก่ที่สุดของจีน3 โดยมี ประวัติศาสตร์ย้อนไปได้ถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคโบราณในอารยธรรมเหอหมู่ตู้ (Hemudu) เมื่อ 7,000 ปีก่อน ซึ่งมีวิถีชีวิตแบบชาวประมงเนื่องจากอยู่ติดชายฝั่งทะเล เมืองหนิงโปมีต้นกําเนิดความเป็น เมืองการค้าที่มีพ่อค้าจากแดนไกลล่องเรือมาค้าขายตั้งแต่ 2,000 ปีที่แล้ว ใน ค.ศ. 738 สมัยราชวงศ์ถัง เมืองนี้มีชื่อว่า หมิงโจว (明州) เมื่อถึง ค.ศ. 821 เมืองถูกย้ายมาอยู่ตรงจุดบรรจบของแม่นํ้า 3 สายที่ ไหลผ่านเมือง คือแม่นํ้า yuyao (yuyao jiang) แม่นํ้า Fenghua (Fenghua jiang) และแม่นํ้า Yong (yong jiang)4 และสร้างกําแพงล้อมรอบเมืองขึ้น จึงถือเอาเวลานี้เป็นจุดตั้งเมือง ในค.ศ. 1381 เมืองถูก เปลี่ยนชื่อมาเป็นหนิงโป ที่แปลว่า คลื่นลมสงบ5 ดังที่กล่าวมา จุดเด่นของหนิงโปคือการเป็นเมืองท่าอันยิ่งใหญ่แห่งโลกตะวันออกมานานกว่า 1,200 ปี ในขณะ ที่เมืองท่าของจีนที่คนทั่วโลกรู้จักกันกันดีในวันนี้อย่างเซี่ยงไฮ้เพิ่งจะเริ่มมีความสําคัญในฐานะเมืองท่าก็ ในสมัยหลังสงครามฝิ่นเมื่อไม่ถึง 200 กว่าปีมานี้เอง ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังของจีน (ค.ศ.618-907) ก็มี พ่อค้าจากแดนไกล ทั้งอาหรับ ยิว และยุโรป เดินทางเข้ามาค้าขายและตั้งชุมชนอยู่ในเมืองหนิงโป โดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์ซ่งที่การค้าทางทะเลรุ่งเรืองขึ้นมาแทนเส้นทางสายไหมทางบกที่เสื่อมถอยลง หนิงโปเป็นที่รู้จักในยุโรปในชื่อ Liampo การเป็นเมืองท่าสําคัญที่ค้าขายกับต่างชาติมาแต่โบราณส่งผล ให้ใครที่เดินทางไปเมืองหนิงโปในวันนี้จะสัมผัสได้ถึงการผสมผสานวัฒนธรรมนานาชาติ เช่น ยุโรปและ ญี่ปุ่น อยู่ภายในเมืองด้วย มาถึงในสมัยปลายราชวงศ์ชิง หนิงโปเป็น 1 ใน 5 เมืองท่าตามสนธิสัญญา นานกิง ที่จักรวรรดิอังกฤษบังคับให้จักรวรรดิจีนยอมเปิดเป็นเขตการค้าเสรี ในค.ศ.1842 หลังจีนแพ้ สงครามฝิ่น ร่วมกับ กวางตุ้ง ฝูโจว (Fuzhou) เซียะเหมิน (Xiamen) และเซี่ยงไฮ้ นับจากต้นทศวรรษ 1980 ที่จีนเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจเป็นต้นมา หนิงโปได้ยกระดับขึ้นเป็นเมืองท่าสมัยใหม่ ทํา 3 APEC China 2014. Ningbo, China - A City of Culture and a Gateway to the World. ออนไลน์ http://www.apec- china.org.cn/en/other_ningbo.htm. 4 Zhang Han. China’s Local Entrepreneurial State and New Urban Spaces: Downtown Development in Ningbo. Palgrave Macmillan, 2016. 5 APEC China 2014. Ningbo, China - A City of Culture and a Gateway to the World. ออนไลน์http://www.apec- china.org.cn/en/other_ningbo.htm.
  • 8. 5 การค้ากับนานาชาติทั่วโลก ตั้งแต่นั้นมาหนิงโปก็มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นส่วนหนึ่งร่วม ไปกับโลก6 ภาพที่ 6 จุดบรรจบของแม่นํ้าทั้งสามสาย (sanjiangkou) ศูนย์กลางแต่ดั้งเดิมของเมืองหนิงโป ที่มาภาพ http://www.maxxelli-blog.com/wp-content/uploads/2014/09/Luftaufnahme-Ningbo1.jpg การบริหารเมือง ปัจจุบัน หนิงโปเป็น 1 ใน 15 เมืองระดับตํ่ากว่ามณฑล (sub-provincial city) ที่มีอํานาจ เทียบเท่ามณฑลในด้านการบริหารเศรษฐกิจและการวางแผนจัดระเบียบเมืองของตน กล่าวคือเป็นเมือง ที่ได้รับอํานาจพิเศษในการจัดการเศรษฐกิจที่มีความพิเศษ หรือเป็นเมืองในทางการปกครอง แต่มีฐานะ เทียบเท่ามณฑลในทางเศรษฐกิจ เมืองหนิงโปมีอาณาเขต 9,816 ตร.กม. และมีประชากรประมาณ 6 ล้านคน ปัจจุบันนายกเทศมนตรีเมืองหนิงโปคือ นาย Qiu Dongyao และนาย Tang Yijun เป็น เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจําเมืองหนิงโป7 ซึ่งเป็นเบอร์หนึ่งของเมือง ตามโครงสร้างการปกครอง ของจีน 6 People's Government of Ningbo Municipality. Ningbo overview. ออนไลน์ http://english.ningbo.gov.cn/col/col934/index.html. 7 China Daily. Ningbo acting mayor is new Party chief. ออนไลน์ http://www.chinadaily.com.cn/china/2016- 08/25/content_26590569.htm
  • 9. 6 เศรษฐกิจเมืองหนิงโป เมืองท่า ภาพที่ 7 ท่าเรือหนิงโป ที่มาภาพ http://www.apec-china.org.cn/mmsource/images/2014/02/12/3ningboganga.jpg เมืองหนิงโปเกิดขึ้นในฐานะเมืองท่าการค้านานาชาติมาตั้งแต่ต้นและคงสถานภาพนั้นมาถึง ปัจจุบัน มีการขุดพบไม้พายโบราณ เรือจําลองดินเผา และเครื่องมือประมงในบริเวณนี้ซึ่งมีอายุย้อนไป ตั้งแต่ 7,000 ปี ก่อน เมื่อบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของแหล่งอารยธรรมเหอหมู่ตู้ แสดงให้เห็นถึงการเป็นเมืองที่ สัมพันธ์กับทะเลและการเดินเรือมาตั้งแต่นั้น ตลอดประวัติศาสตร์ของจีน เมืองหนิงโป ภายใต้ชื่อและการ จัดเขตบริหารที่เปลี่ยนไปมา ได้ปรากฏตลอดในฐานะของเมืองท่าและเมืองการค้าติดต่อกับโลกภายนอก ก่อนสมัยจิ๋นซี เมืองหนิงโปมีชื่อว่า เหมา (Mao) ซึ่งแปลว่าการค้า เพราะเป็นเมืองที่ชาวเมืองทั้งหลาย ต่างทําการค้ากับต่างชาติ และมีชื่อเสียงเรื่องการส่งออกอาหารทะเล แม้แต่จิ๋นซีฮ่องเต้ ก็เคยมาพักที่ห นิงโปถึง 1 เดือน ในปี 210 ก่อนคริสตกาล ส่วน 徐福 (Xu Fu) ขุนนางในตํานาน ผู้ออกเดินทางทาง ทะเลไปทางตะวันออก ในกองเรือที่มีลูกเรือและเด็กชายหญิงจํานวนหลายพัน ตามคําบัญชาของจิ๋นซี “เพื่อไปหายาอายุวัฒนะ” และไม่กลับมา โดยเล่ากันว่าไปตั้งรกรากที่เกาะญี่ปุ่นนั้น ก็เดินทางออกจากจีน จากเมืองหนิงโป ในปี 210 ก่อนคริสตกาลเช่นกัน
  • 10. 7 ในสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งเป็นยุคทองของจีน หนิงโปก็รุ่งเรืองทางการค้าระหว่างประเทศด้วย มี บันทึกว่า นักธุรกิจและเรือสินค้าต่างชาติเข้าเทียบท่าเรือของเมือง “ลําแล้วลําเล่า” ส่งออกสินค้าอย่าง เครื่องกระเบื้องและผ้าไหมไปถึงหลายสิบดินแดน ในสมัยซ่ง ได้มีการยกระดับหน่วยงานของรัฐที่บริหาร การค้ากับต่างชาติและภาษีขึ้นที่หนิงโป มาถึงตอนกลางสมัยหมิง หนิงโปเป็นเมืองท่าการค้านานาชาติที่ มีหน่วยงานจัดการดูแลการค้าต่างชาติครบครัน ไม่ว่า ศุลกากร องค์การคลังสินค้า หรือโรงแรมที่พัก ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 ฐานะเมืองการค้าของหนิงโปเข้าสู่ยุคตกตํ่าลง เพราะได้รับความ เสียหายจากการปล้นสะดมและเข้าตีเมืองหลายครั้งจากโจรสลัดญี่ปุ่น และกฎหมายห้ามการค้ากับ ต่างชาติในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงในปี 1757 ท่าเรือและเมืองของหนิงโปกลับสู่ความคึกคักอีกครั้ง ภายหลังในปลายราชวงศ์ชิง หลังสงครามฝิ่น ที่จีนต้องเปิดเมืองท่าเสรี 5 เมือง ตามสนธิสัญญานานกิง ในปี 1842 และหนิงโปเป็นหนึ่งในนั้นดังที่กล่าวไป8 ในยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน หนิงโปได้รับการยกระดับความเป็นเมืองท่าครั้งสําคัญในปี 1984 ในฐานะ 1 ใน 14 เมืองท่านําร่องสําหรับเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ ร่วมกับ ต้าเหลียน เทียนจิน ชิง เต่า เซี่ยงไฮ้ เวินโจว ฝูโจว กวางโจว เป็นต้น ในปี 2015 GDP ของเมืองหนิงโปอยู่ที่ 800,000 ล้านหยวน (120,000 ล้านดอลลาร์) เป็นอันดับ สองของมณฑลเจ้อเจียง รองแต่เพียงเมืองหางโจว เมืองเอกของมณฑลเท่านั้น ท่าเรือโจวชานของหนิง โปเป็นท่าเรือที่สามารถรับตู้คอนเทนเนอร์คิดเป็นนํ้าหนักได้มากที่สุดในโลก คือ 900 ล้านตันต่อปี และ ในปี 2015 มีการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าเรือแห่งนี้ถึง 21 ล้านตู้ มากเป็นอันดับ 4 ของท่าเรือใน โลก9 จากข้อมูลล่าสุดในปี 2015 ของ World Shipping Council ท่าเรือหนิงโป-โจวชาน (Ningbo- Zhoushan) ของเมืองหนิงโปเป็นท่าเรือคึกคักอันดับ 4 ของโลก รองจากเซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ และเซินเจิ้น)10 จึงเป็นรองเพียงเซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้น ในบรรดาท่าเรือของจีน 8 The People's Government of Ningbo Municipality. Ningbo overview. ออนไลน์ http://english.ningbo.gov.cn/col/col934/index.html 9 เพิ่งอ้าง 10 จากสถิติของ World Shipping Council ในปี 2015 นั้น ท่าเรือคึกคักที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ได้แก่ 1. เซี่ยงไฮ้ 2.สิงคโปร์ 3. เซินเจิ้น 4. หนิงโป 5. ฮ่องกง 6. ปูซาน (เกาหลีใต้) 7. ชิงเต่า 8. กวางโจว 9. Jebel Ali ดูไบ (สหรัฐ อาหรับเอมิเรตส์) 10. เทียนจิน จะเห็นว่า ทั้งหมดอยู่ในเอเชีย และ 7 แห่งอยู่ในจีน ส่วนอันดับที่ 11 ได้แก่ท่าเรือ Rotterdam ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นท่าเรือที่คึกคักที่สุดของยุโรปและของตะวันตก อันดับ 12 คือ ท่า Klang ของ มาเลเซีย ส่วนท่าเรือแหลมฉบังของไทยอยู่ที่ 22 ท่าเมืองโฮจิมินห์อยู่ที่ 26 World Shipping Council. TOP 50 WORLD CONTAINER PORTS. ออนไลน์ http://www.worldshipping.org/about-the-industry/global-trade/top-50- world-container-ports.
  • 11. 8 ด้วยทะเลในบริเวณนั้นเป็นนํ้าลึก ทําให้ท่าเรือหนิงโปเป็นท่าเรือนํ้าลึกที่สามารถรองรับเรือ บรรทุกสินค้าขนาดใหญ่มากได้ ทําให้เป็นเมืองท่าที่ได้รับความนิยมของอุตสาหกรรมและธุรกิจในระดับ โลก ปัจจุบันท่าเรือหนิงโป-โจวชาน เชื่อมต่อเส้นทางขนส่งกับกว่า 600 ท่า ในกว่า 100 ประเทศ 11 นครการค้าและอุตสาหกรรม นอกจากการค้ากับต่างชาติจะทําให้หนิงโปเป็นเมืองท่าสําคัญแล้ว การค้าและธุรกิจภายในเมือง ก็ทําให้หนิงโปเป็นที่รู้จักมายาวนานในฐานะเมืองพาณิชย์ที่ยิ่งใหญ่รุ่งเรืองมาแต่โบราณด้วย หนิงโปมี ภาคเอกชนที่เข้มแข็งและเป็นกําลังหลักของเมือง ภาคธุรกิจสร้างรายได้กว่า 80% ของ GDP และ 85% ของการจ้างงานในเมือง ปัจจุบันมีธุรกิจกว่า 150,000 แห่งในหนิงโป และมีผู้ประกอบการกว่า 350,000 คน นอกจากนี้ หนิงโปยังเป็น 1 ใน 3 เมืองผู้ผลิตหลักของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าในจีน และยังเป็นผู้ผลิตเครื่องเขียน เครื่องจักร และแม่พิมพ์ รวมทั้งสินค้าหลายยี่ห้อก็ผลิตจากเมืองนี้ เช่น รถยนต์ยี่ห้อ Geely12 นอกจากนี้ หนิงโปยังเคยได้รับรางวัลเช่น “1 ใน 10 เมืองที่เป็นศูนย์การจัดประชุม และแสดงนิทรรศการของจีน” และ “เมืองพาณิชย์ที่ดีที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่ (Best Commercial City in the Chinese Mainland)” ด้วย13 ภาพที่ 8 โรงงานผลิตรถยนต์ Geely ในเมืองหนิงโป ที่มาภาพ http://www.apecchina.org.cn/mmsource/images/2014/02/12/4jilihanzhuangchejian.jpg 11 APEC China 2014. Ningbo, China - A City of Culture and a Gateway to the World. ออนไลน์ http://www.apec-china.org.cn/en/other_ningbo.htm. 12 Getty Images. Geely Auto Open New Production Base in Ningbo. ออนไลน์ http://www.gettyimages.com/event/geely-auto-open-new-production-base-in-ningbo-112050121#geely-group- chairman-li-shufu-attends-hangzhou-bay-base-opening-on-picture-id112051362. 13 เพิ่งอ้าง
  • 12. 9 ทิศทางการพัฒนาเมือง ทิศทางในอนาคตของเมืองหนิงโปทางเศรษฐกิจนั้น ยังคงพยายามขยายท่าเรือเพิ่มเพื่อแข่งขัน กับเซี่ยงไฮ้ในการเป็นท่าเรือหลักของชายฝั่งตะวันออกของจีน เลขาธิการพรรค นาย Tang Yijun เมื่อ เข้ามารับตําแหน่งใหม่ในปี 2016 ได้ให้แนวทางการพัฒนาเมืองไว้ว่า จะทําให้หนิงโปเป็นศูนย์กลางการ ขนส่งและอุตสาหกรรมการผลิต และจะก้าวไปสู่การเป็นเมืองต้นแบบ smart economy ปัจจุบันหนิงโปมี ชื่อเสียงเรื่องอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ในบ้าน เป็นต้น นอกจากนี้ หนิงโปยังเป็นเมืองนําร่องแห่งแรกของจีน ในการทดลองใช้นโยบาย Made in China 2025 นโยบายที่พยายามปฏิรูปการผลิตสินค้าคุณภาพสูง (high end) ของจีนด้วย14 สถานที่ท่องเที่ยวที่สาคัญ สถานที่ท่องเที่ยวหลักของเมืองหนิงโปได้แก่ บ้านเทียนอี้ จัตุรัสเทียนอี้ เหล่าว่ายทาน และ สะพานข้ามอ่าวหางโจว (เซี่ยงไฮ้-หนิงโป) โดยในส่วนของจัตุรัสเทียนอี้และเหล่าว่ายทานเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวที่แฝงด้วยบทเรียนของการพัฒนาเมืองโดยรัฐท้องถิ่นด้วย คฤหาสน์เทียนอี้ (Tien Yi Ge) ภาพที่ 9 คฤหาสน์เทียนอี้ ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560) 14 China Daily. Ningbo acting mayor is new Party chief. ออนไลน์ http://www.chinadaily.com.cn/china/2016- 08/25/content_26590569.htm
  • 13. 10 ภาพที่ 10 รูปปั้น Fan Qin ภายในคฤหาสน์เทียนอี้ ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560) คฤหาสน์เทียนอี้เป็นคฤหาสน์ของ Fan Qin ขุนนางจีนสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1506-1585 เขาเป็นชาวหนิงโปโดยกําเนิด สอบเข้ารับราชการ เคยดํารงตําแหน่งสําคัญที่เทียบกับ ตําแหน่งในปัจจุบัน เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงกลาโหม อย่างไรก็ตาม เขามีปัญหากับสมาชิกบางคนในราชสํานัก และถูกย้ายมาเป็นผู้ว่าเมือง Yuanzhou คฤหาสน์เทียนอี้เต็มไปด้วยหนังสือโบราณมากมายทั้งที่อยู่ในยุคสมัยของเขาและที่เก่ากว่า ซึ่งเขาสะสมเอาไว้ โดยปัจจุบันห้องสมุดของคฤหาสน์เทียนอี้ถือเป็นหนึ่งในห้องสมุดโบราณที่ยัง หลงเหลืออยู่ที่สําคัญที่สุดของจีน นอกจากนี้ ตัวคฤหาสน์เทียนอี้เองก็มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ร่มรื่น มีการจัดสวนภายในบ้านอย่างกลมกลืน เป็นสถานที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์
  • 14. 11 ภาพที่ 11 และ12 หนังสือโบราณและบรรยากาศภายในสวนคฤหาสน์เทียนอี้ ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560)
  • 15. 12 จัตุรัสเทียนอี้ (Tian Yi square) ภาพที่ 13 จัตุรัสเทียนอี้ ที่มาภาพ https://cheapskatechronicles.files.wordpress.com/2013/10/20131008-103952.jpg ในวันนี้ จัตุรัสเทียนอี้คือพื้นที่ใจกลางเมืองหนิงโป ซึ่งเป็นย่านที่ผู้มาเยือนทุกคนต้องไม่พลาด จัตุรัสเทียนอี้คือส่วนผสมของพื้นที่สาธารณะและย่าน CCD (Central Commercial District) ของเมือง หนิงโป บนเนื้อที่ขนาดเกือบสองแสนตารางเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของจัตุรัสเทียนอันเหมินของปักกิ่ง) ความน่าสนใจของจัตุรัสเทียนอี้นอกจากในด้านการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสําคัญของหนิงโปแล้ว คือ เรื่องราวในการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ขึ้นมาซึ่งสามารถเป็นบทเรียนสําหรับการพัฒนาเมืองในที่อื่นๆ ในแง่ที่ รัฐท้องถิ่นเป็นตัวนําการพัฒนา ย้อนไปก่อนปี 2002 ยังไม่มี “จัตุรัสเทียนอี้” ในเมืองหนิงโป คําว่า “เทียนอี้” นั้นเป็นชื่อของ สถานที่แห่งเดียวคือ บ้านเทียนอี้ ที่ได้กล่าวไป โครงการสร้างจัตุรัสเทียนอี้ เพิ่งเริ่มขึ้นในปี 1999 และ แล้วเสร็จในปี 2002 เท่านั้นเอง ก่อนปี 1999 พื้นที่ของจัตุรัสเทียนอี้ในวันนี้เป็นย่านตึกแถวที่อยู่อาศัยเก่าแก่ย้อนไปได้ถึง ปลายสมัยชิง สิ่งที่น่าสนใจของเรื่องจัตุรัสเทียนอี้คือกระบวนการในการทําโครงการ ที่เริ่มจากเป้าหมาย ของรัฐบาลเมืองหนิงโปที่ต้องการฟื้นฟูพื้นที่ใจกลางเมืองบริเวณนี้ จากที่เป็นย่านที่อยู่อาศัยเก่าโทรม อยู่ ในพื้นที่ตํ่านํ้าท่วมถึง และไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยอย่างมีสุขภาวะ คล้ายเป็นสลัมใจกลางเมือง ให้
  • 16. 13 เป็นย่าน CBD (Central Business District) มีสภาพที่ดีขึ้น และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ทันกับ การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองหนิงโปที่ก้าวหน้า อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนาพื้นที่ชิ้นนี้ (ซึ่งในตอน นั้นยังไม่ได้เรียกว่า จัตุรัสเทียนอี้) ไม่สามารถหาบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนมาทําได้ เนื่องจาก เป็นโครงการที่แพงและมีความเสี่ยงทางธุรกิจสูง อีกทั้งท้องถิ่นจีนยังมีระเบียบที่เข้มงวดป้องกันการให้ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนมาทําให้การพัฒนาเมืองสะเปะสะปะ ไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น รัฐบาล เมืองหนิงโปจึงเข้ามาเป็นผู้พัฒนาเองในโครงการใหญ่นี้ ซึ่งก็มิได้ทําเองโดยตรง แต่ให้ Ningbo Urban Construction Investment Holdings Company รัฐวิสาหกิจของรัฐบาลเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาพื้นที่ให้เป็น CBD นี้ไม่ได้ทําในขั้นเดียว แต่ใช้หลักทดลองแล้วค่อย ทําต่อ คือแบ่งการทํางานเป็นสองขั้น ขั้นแรกทําเป็นโครงการทดลองคือเป็น CCD (Center Commercial District) ก่อน โดยพัฒนาให้เป็นย่านพาณิชยกรรม สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ วัฒนธรรมและความบันเทิง เป็นร้านรวงค้าขาย บนตึกแถวที่ไม่สูงนักไม่เกินสี่ชั้น และมีระบบบริหารไม่ให้ผู้เช่าโอนกรรมสิทธิ์ให้คน อื่นเช่าต่อได้ แต่เมื่อเลิกเช่าต้องโอนกรรมสิทธิ์ในห้องเช่าคืนมาที่ส่วนกลางคือ รัฐวิสาหกิจ Ningbo Urban Construction Investment Holdings Company ซึ่งจะปล่อยให้ผู้เช่ารายใหม่เอง มาตรการเหล่านี้ ทั้งการกําหนดให้เป็นแหล่งพาณิชยกรรม บนตึกไม่สูงนัก และควบคุมกรรมสิทธิ์ไว้ที่ส่วนกลาง มีขึ้น เพื่อให้ล้มโครงการได้ง่าย โดยตั้งเงื่อนไขว่าหากภายใน 5 ปี โครงการประสบความสําเร็จในการพัฒนา บรรลุเป้าหมายทางสังคมและเศรษฐกิจ เป็นที่ยอมรับของชาวเมือง และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นกับ เมืองหนิงโป โครงการทดลองนี้ก็จะกลายเป็นโครงการถาวร และพัฒนาต่อไปเป็น CBD แต่ถ้าไม่ ก็จะ ล้มโครงการทิ้ง แล้วนําพื้นที่กลับมาหาแนวทางฟื้นฟูใหม่ ในปี 2000 ฝ่ายผังเมืองของรัฐบาลเมืองหนิงโปจึงเริ่มประกาศรับการเสนอแผนผังการพัฒนา พื้นที่บริเวณที่เป็นจัตุรัสเทียนอี้จากเอกชน และคัดเลือกเพื่อนํามาพัฒนาต่อโดยฝ่ายผังเมืองของเมือง ร่วมกับบริษัทสถาปนิกเอกชน ของ Ma Qingyun สถาปนิกจบจากมหาวิทยาลัยชิงฮวาและเพนซิลเวเนีย เมื่อเสร็จสิ้นได้แบบที่พอใจแล้วก็ให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ร่วมประเมิน และสร้างแบบจําลองนําไปตั้งไว้กลาง เมืองเพื่อรับฟังความเห็นของชาวเมือง (ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทํากันปกติของการวางผังเมืองในจีน) เมื่อ แบบผ่านก็เข้าสู่กระบวนการขอการอนุมัติจากคณะกรรมการด้านผังเมืองของเมือง งบประมาณใน โครงการนี้อยู่ที่ประมาณ 1,200 ล้านหยวน ในจํานวนนี้ประมาณ 800 ล้านหยวนใช้ไปกับการชดเชยผู้ที่ พักอาศัยและประกอบกิจการเดิม ที่เหลือเป็นค่าก่อสร้าง ค่าแบบ และค่าบริหาร การก่อสร้างดําเนินไป จนเปิดทําการได้ในปี 2002 แม้จะเผชิญปัญหาในระหว่างการดําเนินการ แต่หลังจากเปิดทําการในปี 2002 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 15 ปี จัตุรัสเทียนอี้ก็เป็นที่ยอมรับว่าเป็นโครงการพัฒนาเมืองที่ประสบความสําเร็จมากเป็น
  • 17. 14 ตํานาน ได้รับรางวัลมากมายจากทั้งระดับชาติและระดับมณฑล ในทางเศรษฐกิจ โครงการคืนทุนและ เริ่มทํากําไรได้ในเพียงปีเดียวหลังเปิดดําเนินการ ในปี 2004 โครงการจัตุรัสเทียนอี้มีร้านค้ามาเช่าถึง 85-90 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าโครงการรวมทั้งหมดสูงขึ้นไปถึง 4,000 ล้านหยวน คือกว่าสามเท่าของ เงินลงทุนในตอนต้น ในทางสังคม จัตุรัสเทียนอี้เป็นย่านศูนย์การค้าและพื้นที่สาธารณะที่ชาวเมืองหนิง โปนิยม และได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “ห้องนั่งเล่นแห่งหนิงโป” ส่วนทีมบริหารของโครงการจัตุรัสเทียน อี้ซึ่งฝึกปรือฝีมือและบริหารมาจนประสบความสําเร็จก็ถูกส่งไปบริหารโครงการฟื้นฟูย่านใจกลางเมือง แห่งต่อไปของเมืองหนิงโป นั่นคือ เหล่าว่ายทาน อันจะได้กล่าวต่อไป สุดท้ายแล้ว โครงการจัตุรัสเทียนอี้ก็ไม่ได้พัฒนาไปเป็น CBD ตามแผน แต่กลายเป็น CCD ถาวร เพราะตั้งแต่ปี 2004 หลังจากความสําเร็จของจัตุรัสเทียนอี้ เมืองหนิงโปได้มีการเปลี่ยนแผนการ ปรับพื้นที่เมืองใหม่ ย้ายไปสร้าง CBD นอกเมืองด้านตะวันออกหนึ่งโครงการและด้านใต้อีกหนึ่ง โครงการ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ การจัดพื้นที่บริเวณนั้นในลักษณะที่เป็นศูนย์การค้าและพื้นที่สาธารณะ แบบจัตุรัสเทียนอี้ก็ประสบความสําเร็จเป็นอย่างดีและเป็นที่ชื่นชอบของชาวเมืองแล้ว จึงไม่จําเป็นต้อง พัฒนาต่อให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ที่เต็มไปด้วยตึกสูงและออฟฟิศแบบ CBD อีก เหล่าว่ายทาน (Laowaitan)
  • 18. 15 ภาพที่ 14 15 และ 16 บรรยากาศที่เหล่าว่ายทาน ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560)
  • 19. 16 เหล่าว่ายทาน หรือแปลว่า The Old Bund ในภาษาอังกฤษ คือย่านอาคารเก่าที่เป็นอาคาร สํานักงาน ห้างร้านบริษัท และที่พักอาศัยแบบตะวันตกยุคอาณานิคมริมแม่นํ้าหย่ง (Yong) ใจกลาง เมืองหนิงโป ตั้งแต่ปี 2002 หลังการประสบความสําเร็จของจัตุรัสเทียนอี้ รัฐบาลเมืองหนิงโปก็ดําเนิน โครงการฟื้นฟูย่านใจกลางเมืองต่อที่เหล่าว่ายทาน โดยการแปลงพื้นที่บริเวณนี้จากย่านเก่าที่ทรุดโทรม ให้ฟื้นคืนชีวิตชีวา ให้กลายเป็นสถานที่ที่ผสมผสานระหว่างย่านการค้าและย่านประวัติศาสตร์ โดยได้รับ แรงบันดาลใจจากการพัฒนาพื้นที่ซินเทียนตี้ (Xin Tien Di) ของเซี่ยงไฮ้ โดยมี Ningbo Urban Construction Investment Holdings Company เป็นผู้รับผิดชอบโครงการเช่นเดิม และมี Ma Qingyun สถาปนิกผู้ออกแบบจัตุรัสเทียนอี้ เป็นผู้ออกแบบ ปรับปรุงเสร็จเฟสแรกในปี 2003 และเสร็จทั้งหมดในปี 2007 ในภาพรวม เหล่าว่ายทานประสบความสําเร็จในการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ เพราะสามารถฟื้นฟูและปรับโครงสร้างการใช้พื้นที่ของเมืองจากย่านเก่าแก่ทรุดโทรม ให้กลายมาเป็น ย่านการพาณิชย์และธุรกิจแห่งใหม่ เต็มไปด้วยสํานักงานของบริษัทขนส่งระหว่างประเทศ ร้านอาหาร นานาชาติ ผับ และพื้นที่สาธารณะสําหรับการเดินเล่นชมวิวสองฝั่งแม่นํ้า เป็นที่นิยมของชาวเมือง และ นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะในยามคํ่าคืน และทําให้ราคาเช่าตึกแถวเพื่อการค้าในย่านนี้อยู่ใน ระดับสูง เหล่าว่ายทาน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับ 4A ของจีนในปี 2011 โครงการฟื้นฟูพื้นที่ใจกลางเมืองหนิงโป ทั้งจัตุรัสเทียนอี้และเหล่าว่ายทาน เป็นเพียงตัวอย่าง หนึ่งของปรากฏการณ์ที่กําลังเกิดขึ้นในจีนมาระยะหนึ่ง นั้นคือ การฟื้นฟูเมือง การพัฒนาพื้นที่ย่านเก่า ไม่ว่าย่านการค้า อุตสาหกรรม หรือย่านที่อยู่อาศัย ปรับปรุงการใช้พื้นที่ใหม่ เพื่อรองรับการเติบโตของ เมือง และเป็นการปรับสภาพแวดล้อมของเมืองให้น่าชม กลับมาสดใสอีกครั้ง ทั้งโครงการจัตุรัสเทียนอี้และเหล่าว่ายทาน แสดงให้เห็นความจัดเจน (mature) ของรัฐท้องถิ่น ของจีนในการเป็นผู้ประกอบการ ที่เป็นผู้จัดการโครงการเองทั้งหมดตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ตั้งแต่ คิดริเริ่ม วางแผน ปรับปรุงแผน แก้ปัญหา มีการเรียนรู้ระหว่างการทําโครงการ ลงมือก่อสร้างจนแล้ว เสร็จ ทําอย่างเด็ดขาดแต่ระมัดระวัง ถือเป็นตัวอย่างที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาเมืองแบบใช้รัฐ (ท้องถิ่น) นํา และแสดงให้เห็นบทบาทที่เด่นชัดของการเป็นผู้ประกอบการของรัฐ (ท้องถิ่น) จีน
  • 20. 17 สะพานข้ามอ่าวหางโจว เชื่อมหนิงโป- เซี่ยงไฮ้ ในปี 2008 มีการสร้างสะพานข้ามอ่าวหางโจว เชื่อมเซี่ยงไฮ้กับหนิงโป ยาว 36 กม. ซึ่งถือเป็น สะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลก ช่วยร่นระยะทางจากเซี่ยงไฮ้-หนิงโปได้ประมาณ 120 กม. หรือ ประมาณ 2 ชม. ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจและการขนส่งของหนิงโปมากขึ้น ภาพที่ 17 และ 18 สะพานข้ามอ่าวหางโจว ที่มาภาพ ปาณัท ทองพ่วง (พ.ค. 2560)
  • 21. 18 หนิงโปกับ One Belt One Road หนิงโป ถูกกล่าวถึงตอนหนึ่งในสุนทรพจน์เปิดการประชุม Belt and Road Forum for International cooperationโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา ในตอนที่เขาเท้าความ ถึงคุณค่าเส้นทางสายไหมในอดีตที่เป็นก้าวสําคัญในประวัติศาสตร์ความก้าวหน้าของมนุษย์ ในฐานะที่ การติดต่อเชื่อมโยงทําให้อารยธรรมต่างๆ เจริญ เศรษฐกิจของโลกรุ่งเรือง และความรู้ของโลกเบ่งบาน “ในวันนี้ เมืองโบราณอย่าง Jiuquan, Dunhuang, Tulufan, Kashi, Samarkand, Baghdad และ Constantinople กับบรรดาเมืองท่าโบราณอย่าง Ningbo, Quanzhou, Guangzhou, Beihai, Colombo, Jeddah และ Alexandria ล้วนยืนหยัดเป็นอนุสาวรีย์ที่มีชีวิตของการปฏิสัมพันธ์ในอดีต”15 ที่เกิดจาก เส้นทางสายไหมทั้งบกและทะเล หนิงโปกับเส้นทางสายไหมทางทะเลโบราณ จากการศึกษาทางโบราณคดีในอดีต เมืองกวานโจวและกวางโจว (Quanzhou และ Guangzhou) เป็นที่ถือกันว่าเป็นจุดตั้งต้นสําหรับเส้นทางสายไหมทางทะเลในสมัยโบราณออกจาก แผ่นดินจีน อย่างไรก็ตาม อย่างช้าตั้งแต่ปี 2001 นักโบราณคดีของจีนพิสูจน์ว่า หนิงโป ก็เป็นอีกเมืองท่า อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นของการเดินเรือจากจีนไปตามเส้นทางสายไหมในทะเลเช่นกัน บ้างก็ว่าหนิง โปมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมกับเกาหลีและญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (ปกครองจีนระหว่าง ค.ศ. 618-907) โดยพบหลักฐานอย่างเช่น ผ้าไหมและเครื่องเคลือบที่ขนส่งมาจากเมืองหนิงโปเก็บรักษา ไว้ที่เมืองนารา ของญี่ปุ่น นอกจากนี้ ในใจกลางเมืองหนิงโป ยังมีเจดีย์โบราณซึ่งใช้เป็นประภาคาร ใน สมัยราชวงศ์ถังด้วย และยังพบบ้านพักของทูตเกาหลีและเปอร์เซียที่เมืองหนิงโปด้วย ยืนยันถึงการเป็น เมืองตั้งต้น-จุดหมายในเส้นทางสายไหมทางทะเล ขณะที่ศาสตราจารย์ Chen Yan แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ผู้ทําวิจัยเรื่องเส้นทางสายไหมทาง ทะเลในสมัยโบราณยืนยันว่า ธุรกิจการขนส่งทางเรือของหนิงโปมีขึ้นมาก่อนสมัยราชวงศ์ถังเสียอีก โดย พบบันทึกโบราณที่ชี้ว่าชาวเมืองหนิงโปมีเทคโนโลยีการต่อเรือเดินทะเลมาอย่างน้อยย้อนไปตั้งแต่ 1 พัน 15 Xi Jinping. Full text of President Xi's speech at opening of Belt and Road forum. ออนไลน์ http://news.xinhuanet.com/english/2017-05/14/c_136282982.htm#0-fbook-1-87251- b182d7286068ff4101843e17368e4b10.
  • 22. 19 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากนั้น ยังพบหลักฐานว่าเครื่องเคลือบที่ผลิตจากหนิงโปถูกส่งไปขายยัง 17 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง และไปไกลถึงแอฟริกา16 หนิงโปกับเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 ข้อได้เปรียบที่สุดของหนิงโปก็คือภูมิศาสตร์ที่เป็นอ่าวและท่าเรือ และความเชี่ยวชาญของการ ดําเนินกิจการท่าเรือค้าขายกับโลกภายนอกมากว่าพันปี ซึ่งได้สร้างให้เกิดวัฒนธรรมของเมืองที่สัมพันธ์ กับเรื่องการค้าอย่างเข้มแข็ง ความเกี่ยวข้องหลักของหนิงโปกับ Belt and Road ในยุคนี้ก็คือ การเพิ่ม ความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนกับต่างประเทศบน OBOR มากขึ้น และการปรับปรุงขยายท่าเรือหนิง โป-โจวชาน (Zhoushan) สองท่าเรือหลักของเมืองที่ถูกรวมกันในปี 2015 เพื่อเสริมศักยภาพของการ เป็นหนึ่งในท่าเรือหลักของจีนรองรับการสร้างเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21 ดังที่กล่าวไป ว่าจากข้อมูลล่าสุดในปี 2015 ท่าเรือหนิงโป – โจวชาน เป็นท่าเรือที่คึกคักอันดับ 4 ของโลก มีเส้นทาง เดินเรือกว่า 235 เส้นทาง เชื่อมกับกว่า 600 ท่า ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก17 แผนปฏิบัติการของเมืองหนิงโปในการเตรียมความพร้อมรองรับเส้นทางสายไหมใหม่ทางทะเล นั้นเป็นไปตามแผนใหญ่ของมณฑลเจ้อเจียงในการรองรับนโยบายเส้นทางสายไหมทางทะเล ที่มีชื่อว่า แผน 610 ผ่านการพัฒนาใน 6 ด้าน แต่ละด้านประกอบด้วย 10 โครงการ 6 ด้านนี้ประกอบด้วย 1) การ กระชับความร่วมมือกับท่าเรือต่างชาติ 2) การขยายและอํานวยความสะดวกช่องทางการทําธุรกิจใน ต่างประเทศ 3) กระตุ้นการค้ากับต่างประเทศ 4) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม 5) ส่งเสริม e- commerce ข้ามชาติ และ 6) ส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้าง18 ในเรื่องท่าเรือ นอกจากการปรับปรุงในด้านกายภาพ ยังมีการประสานข้อมูลเพื่ออํานวยความ สะดวกธุรกิจขนส่งสินค้าทางเรือจากหนิงโปสู่ประเทศต่างๆ ของโลกด้วย ผ่านความร่วมมือระหว่าง Ningbo Shipping Exchange รัฐวิสาหกิจของเมืองหนิงโปที่เป็นฐานข้อมูลและให้คําปรึกษาด้านธุรกิจ ขนส่ง กับ Baltic Exchange ศูนย์กลางข้อมูลการขนส่งสินค้าทางเรือใหญ่สุดของโลก ตั้งอยู่ที่ลอนดอน 16 People’s Daily. Archeologists Find New Starting Point of 'Silk Road On Sea' December 18, 2001. ออนไลน์ http://www.china.org.cn/english/features/woeld_heritage/23864.htm 17 China Daily. Ningbo plans for Belt and Road construction. November 23, 2015. ออนไลน์ http://www.chinadaily.com.cn/m/ningbo/2015-11/23/content_22510425.htm 18 Shanghai Daily. Ningbo sees growth potential with Europe from Belt and Road initiative. ออนไลน์ http://www.shanghaidaily.com/city-specials/ningbo/Ningbo-sees-growth-potential-with-Europe-from-Belt-and- Road-initiative/shdaily.shtml
  • 23. 20 ประเทศอังกฤษ ในปี 2015 เพื่ออํานวยความสะดวกการค้าและการขนส่งทางเรือระหว่างจีนกับประเทศ ต่างๆ มากขึ้น19 ในด้านการลงทุน ตามข้อมูลของกรรมาธิการด้านพาณิชย์ของรัฐบาลเมืองหนิงโป จนถึงปี 2015 เมืองหนิงโปลงทุนเกือบ 2 พันล้าน ในการก่อตั้งบริษัทและองค์กรกว่า 500 แห่งในประเทศต่างๆ บน เส้นทาง OBOR นอกจากนี้ แม้จะเป็นเมืองท่า แต่หนิงโปยังอยู่ใกล้เมืองอี้อู (Yiwu) เมืองค้าส่งใหญ่ที่สุดของจีน ซึ่งมีทางรถไฟขนส่งสินค้าที่เชื่อมต่อไปยังลอนดอนได้ภายใน 17 วัน ในต้นปี 2017 ในปี 2016 เมือง หนิงโปจะสร้างทางรถไฟสายใหม่ชื่อ Yongjin เชื่อมไปถึงเมืองอี้อู20 เพื่อร่วมเดินทางไปกับเส้นทางสาย ไหมทางบกด้วย ในด้านการค้า ภูมิภาคสําคัญที่หนิงโปค้าขายด้วยและกําลังดําเนินการกระตุ้นความร่วมมือทาง การค้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก และอาเซียน ในครึ่งปีแรกของปี 2015 การส่งออก ของหนิงโปไปยังสามภูมิภาคนี้คิดเป็นราว 37 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกต่างชาติของหนิงโป ในปัจจุบัน อาเซียนเป็นคู่ค้าลําดับสามของหนิงโป เมืองหนิงโปกําลังก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับ อุตสาหกรรมชั้นสูงและธุรกิจที่มีนวัตกรรมจากสิงคโปร์ ขณะเดียวกัน ธุรกิจจีนหลายแห่งของเมืองหนิง โปก็ขยายสาขาและฐานไปทําการค้าและลงทุนในอาเซียน โดยเฉพาะในเวียดนามและกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิมของเมือง21 นอกจากนี้ในด้าน E-commerce ภาพลักษณ์ของมณฑลเจ้อเจียงในปัจจุบันก็เป็นเมืองแห่ง E- commerce ไปแล้ว ส่วนหนิงโปซึ่งเป็นเมืองอันดับสองในเจ้อเจียงก็เป็น 1 ใน 5 เมืองแรกที่ได้รับอนุญาต ให้ทําการค้า E-commerce ข้ามชาติได้ โดยปัจจุบันหนิงโปมีบริษัททําการค้า E-commerce ระหว่าง ประเทศกว่า 200 แห่ง และในปี 2015 ก็ทําสถิติเป็นเมืองแรกของจีนที่มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ผ่าน E-commerce เกิน 1 พันล้านหยวน โดยสรุป พันปีผ่านไป หนิงโป ก็ยังคงเป็นเมืองท่าและนครการค้าสําคัญบนเส้นทางสายไหมทาง ทะเลที่เชื่อมโยงจีนกับส่วนอื่นๆ ของโลกเฉกเช่นเดียวกับเมื่อพันปีก่อน แต่ได้เพิ่มประเภทและปริมาณ 19 Hellenic Shipping News. Baltic Exchange collaborates with Ningbo Shipping Exchange. ออนไลน์ http://www.hellenicshippingnews.com/baltic-exchange-collaborates-with-ningbo-shipping-exchange/. 20 Shanghai Daily. Ningbo sees growth potential with Europe from Belt and Road initiative. ออนไลน์ http://www.shanghaidaily.com/city-specials/ningbo/Ningbo-sees-growth-potential-with-Europe-from-Belt-and- Road-initiative/shdaily.shtml 21 เพิ่งอ้าง