SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 138
Downloaden Sie, um offline zu lesen
เสนอต่อ
สถาบันคลังปัญญาค้นหายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตไทย
วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
เสนอโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
แขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
มีนาคม/กันยายน 2559
แนวโน้มและทิศทาง
การเปลี่ยนแปลงของโลก
ในอนาคต
(Global Trends)
ที่อาจส่งผลกระทบต่อ
ประเทศไทยและความเป็นไป
ในสังคมไทย
โครงการวิจัยเบื้องต้นต่อ
ความไม่แน่นอนจากความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง รวดเร็วและ
ฉับไวในศตวรรษที่ 21 ไม่เพียงเกินกำ�ลังความสามารถในการ
ควบคุมของมนุษย์แต่เหตุการณ์เหล่านี้ยังนำ�มาซึ่งโศกนาฏ-
กรรม เหตุการณ์และ/หรือปรากฏการณ์ความไม่แน่นอนเหล่านี้
ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องของสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ
อาทิสึนามิอาเซียนค.ศ.2004แผ่นดินไหว-สึนามิและปัญหา
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น เมื่อ ค.ศ. 2011 ไปจนถึงความ
รุนแรงจากการใช้กำ�ลังอาวุธ อาทิ กรณีสงครามกลาง เมือง
ซีเรีย และการขยายตัวของ Islamic State (IS) ที่ก่อคลื่นผู้
อพยพจำ�นวนมหาศาล มิพักต้องเอ่ยถึง ความทุกข์ยากของ
ผู้คนจำ�นวนมากที่ได้รับผลกระทบในวงกว้างจากวิกฤต
เศรษฐกิจเมื่อค.ศ.2008ที่เริ่มปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ
สังคมระหว่างประเทศ เป็นจุดเริ่มของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้
ที่พยายามทำ�ความเข้าใจทิศทางความเป็นไปของโลกใน
อนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อทั้งประเทศไทยและสังคมไทย
	 งานวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นนี้ ศึกษาในสองกลุ่มคำ�ถาม
กลุ่มแรกเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างอำ�นาจระหว่างประเทศใน
อนาคตว่า จะมีศตวรรษแห่งชาวเอเชีย หรือศตวรรษในชื่อ
เรียกอื่นใดหรือไม่ คำ�ถามที่สองเป็นการคาดการณ์ว่ามนุษย์
จะต้องเผชิญความท้าทายใดในอนาคต ทั้งในฐานะที่เป็น
ปัจเจก และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติโดยรวม
อนาคตวิทยาหรืออนาคตศึกษา เป็นกรอบการศึกษากว้างที่
ผู้วิจัยเลือกด้วยเหตุที่เน้นในเรื่องของการวิเคราะห์ที่ใช้การ
เชื่อมโยงตรรกะเป็นพื้นฐาน ผสานกับการคาดการณ์อย่างมี
วิสัยทัศน์ เพื่อวาดหวังถึงเส้นทางอนาคตที่ดีกว่า การวิเคราะห์
เนื้อหาเป็นเครื่องมือวิเคราะห์หลักสำ�หรับการวิจัยเอกสาร
ในครั้งนี้
	 งานวิจัยนี้เสนอว่า โครงสร้างระหว่างประเทศของ
โลกในอนาคตจะเป็นแบบหลายขั้วอำ�นาจ เพราะอำ�นาจที่
อ่อนแรงลงของตะวันตกโดยเฉพาะในมิติเศรษฐกิจ แนวคิด
ศตวรรษแห่งอเมริกันชน และแนวคิดศตวรรษชาวยุโรปจึง
อ่อนแสงลงไปเช่นกัน แม้ความสำ�คัญของชาวเอเชียจะเพิ่ม
มากขึ้น แต่แนวคิดศตวรรษแห่งชาวเอเชียก็ยังมีปัญหาใน
ตนเอง แต่แนวคิดศตวรรษอินโด-แปซิฟิก ค่อนข้างจะเป็น
ไปได้ เพราะมีอาณาบริเวณที่สามารถเข้าถึงดินแดนยูเรเซีย
ที่มีความสำ�คัญทางกายภาพต่อสองนโยบายของจีน นั่นคือ
“One Belt, One Road” และ “the New Silk Road” การ
เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น
เป็นความท้าทายหลักต่อมนุษยชาติ ขณะที่ความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีเป็นความท้าทายต่อความเป็นอยู่และบุคลิก
ลักษณ์ของมนุษย์ ที่หล่อหลอมในยุคสมัยของ Internet of
Things (IoT)
คำ�สำ�คัญ: แนวโน้มอนาคตโลก อนาคตวิทยา/อนาคตศึกษา
ศตวรรษแห่งชาวเอเชีย ภาวะโลกร้อน เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
และ Internet of Things (IoT)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends)
ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย
บทคัดย่อ
2 วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
บทคัดย่อ
Not only do uncertainties due to severely
and rapidly changing evets in the early 21st
century exceed our human-being’s capacity
to control, they also bring tragedies. Such
uncertain events and/or phenomena range
from environments and ecological problems,
e.g.ASEANtsunami2004,the2011earthquake-
then-tsunamitriggeringnuclear-power plants’
problem in Japan, to violence and wars, e.g.
Syrian civil war and the expansion of Islamic
State (IS) causing massive migration. There
was also 2008 credit crunch crisis igniting the
structural changing of international political
economy and many people’s hardships.
These events help setting up this research
aiming to understand the direction of the
global trends that might affect Thailand and
the Thai society.
	 This qualitative research has two
groups of questions: the first one related to
what kind of the future international power
structure, whether there will be Asian Century,
or other so-called ‘Century’; the second one
anticipatingwhatkindofchallengesthathuman
being might have faced, as an individual
and as a part of humanity in general. Futur-
ology or Future Studies is applied here due
to its emphasis on logical linking and visionary
forecasting for anticipating better future.
Content analysis is an analytical tool for this
documentary research.
	 This research proposes that the multi-
polarworldisaprobableinternationalstructure
due to the rather waning power of the West,
specifically in terms of economics. Rather
dim are the American Century and the New
European Century. Though Asian significance
will be increased, the Asian Century is quite
a problematic. The Indo-Pacific Century is
more likely, having its access to the Eurasia in
mind accompanied by its geographical
significance to China’s ‘One Belt, One Road’
and ‘the New Silk Road’. Severe environ-
mental changing and global warming are
the main challenge for humanity while
advanced technology challenges individuals’
well-being and characteristics.
Key Words: Global Trends, Futurology/Future
Studies, AsianCentury,GlobalWarming,Advanced
Technology
Global Trends that might affect
Thailand and the Thai Society
Abstract
3
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends)
ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย
Global Trends
that might
affect
Thailand and
the Thai
Society
สารบัญ
บทคัดย่อ
Abstract
บทนำ�
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends)
ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทย และสังคมไทย
บทที่ 1
อนาคตวิทยา/อนาคตศึกษา: กรอบความคิดและวิธีการศึกษา	 	
	
บทที่ 2
(ฤา) ศตวรรษแห่งเอเชียยังไม่สิ้นมนต์ขลัง:
หลากสีสันชาติพันธุ์และภูมิศาสตร์	
บทที่ 3	
สหรัฐอเมริกา–คนล้ม (?) ที่ยากจะก้าวข้าม?:
(ยังคงเป็น?) ผู้นำ�ตะวันตกที่หยัดยืนอย่างอ่อนล้าในศตวรรษที่ 21	
	
บทที่ 4
สหภาพยุโรป (European Union: EU) ที่อ่อนล้า: 	
การรวมกลุ่มที่อาจสะดุดขาตนเองจากปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
บทที่ 5
ความท้าทายต่อมนุษย์ในศตวรรษที่ 21
สภาพอากาศและนิเวศที่เปลี่ยนแปลง กับความก้าวลํ้าของเทคโนโลยี
บทสรุปและข้อเสนอแนะ:	
ความพร้อมและทางเลือกของไทย (?) กับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
แหล่งอ้างอิงท้ายเล่ม
บรรณานุกรม
2
6 - 17
18 - 27
28 - 46
47 - 64
65 - 79
80 - 98
99 - 102
103 - 119
120 - 134
..การรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนำ�มาซึ่งแนวคิดใหม่แห่ง
อนาคต ดังนั้นมันจึงเป็นเขตพื้นที่เดียวแห่งกาลเวลาซึ่ง
การเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นได้ อนาคตคือ เขตพื้นที่ชั่วคราว
ที่เปิดกว้าง กาลเวลา สามารถเป็นสิ่งใหม่ หาใช่แค่เพียง
ส่วนต่อขยายของอดีต
ด้วยวิถีเช่นนี้ การรับรู้ประวัติศาสตร์ในตอนนี้ จึงหาใช่เพียง
แค่เรื่องของสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นไปโดยธรรมชาติ หรือผลิตขึ้น
โดยการตัดสินใจชะตากรรมอันศักดิ์สิทธิ์และลึกลับ
หากแต่เป็นสิ่งที่สามารถผลิตขึ้นได้โดยการกระทำ� การคาด
คำ�นวณ ความตั้งใจความมุ่งมั่นของผู้คน ดังนั้น มันจึงเป็น
สิ่งที่สามารถออกแบบ และมีความหมายที่ตามมาได้…
Anibal Quijano (2000)1
6 วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
บทนำ�
ในเวลาเพียงกว่าทศวรรษของการก้าวย่างเข้าสู่
ศตวรรษที่ 21 ความเปลี่ยนแปลงรอบตัวปรากฏขึ้น
อย่างรวดเร็ว ฉับไว แระรุนแรง หากมองในเชิงสภาพ
แวดล้อมและระบบนิเวศที่เกินกำ�ลังควบคุมของ
มนุษย์ ก็มีหลากหลายตัวอย่างให้จดจำ� อาทิ สึนามิ
อาเซียน ค.ศ. 2004 แผ่นดินไหว-สึนามิ และปัญหา
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น เมื่อ ค.ศ. 2011 ใน
ปีเดียวกันนั้นเอง อินโดจีนและไทยเผชิญปัญหา
พายุพัดถล่มและนํ้าท่วมอย่างหนัก หากมองในเชิง
เหตุการณ์ที่เป็นผลมาจากการกระทำ�ของมนุษย์
โดยตรง เราได้เห็นทั้งความรุนแรงจากการใช้กำ�ลัง
อาวุธ อาทิ กรณีสงครามกลางเมืองซีเรีย และการ
ขยายตัวของ Islamic State (IS) ที่ก่อคลื่นผู้อพยพ
จำ�นวนมหาศาล ซึ่งมีจำ�นวนไม่น้อยที่ต้องจบชีวิต
ลงกลางทะเล ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น เรายังได้
เห็นภาพชาวโรฮิงญา (Rohingya) ที่ประสบชะตา-
กรรมในย่านมหาสมุทรอินเดีย มิพักต้องเอ่ยถึงความ
ทุกข์ยากของผู้คนจำ�นวนมากที่ได้รับผลกระทบใน
วงกว้างจากวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อ ค.ศ. 2008
	 การจะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงและความเป็น
ไปของโลกดังกล่าวข้างต้น (ซึ่งเป็นแค่เพียงตัวอย่าง
บางส่วน) หาใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อมองโลกใน
ลักษณะองค์รวมที่เป็นหนึ่งเดียว(holism)หรือสังคม
โลกที่เป็นผลรวม (wholism) ของทั้งความเหมือน
ความคล้ายคลึง และ/หรือ ความต่างในทุกมิติและ
หลากระดับ ที่มักกระตุ้นให้ผู้คนเลือกมองอยู่บ่อย
ครั้งในลักษณะที่หากไม่เน้นไปที่ความขัดแย้งก็จะ
เน้นไปที่ความร่วมมือ ราวกับภาพความสัมพันธ์ทั้ง
สองนั้นเป็นไปแบบสามารถแยกขาดออกจากกัน
ในลักษณะที่ใครหลายคนอาจเข้าใจว่า หากมีความ
ร่วมมือย่อมไร้ซึ่งความขัดแย้ง และเป็นไปในลักษณะ
ตรงข้ามด้วยเช่นกัน
	 อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
จริงในหลากหลายสังคมได้ช่วยให้เราเห็นว่า หาได้
เป็นความสัมพันธ์ด้านเดียวเสมอไป บ่อยครั้งที่การ
คาดการณ์ถึงอนาคตร่วมกัน อาจแปลงความขัดแย้ง
ให้กลายเป็นความร่วมมือ แนวคิดตั้งต้นและพัฒนา-
การความร่วมมือของกลุ่มองค์การระหว่างประเทศ
บทนำ�
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend)
ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย
อาเซียนสึนามิ ค.ศ. 2004
ที่มา: http://www.spree.space.com (7/3/2016)
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมา ไดอิจิ ญี่ปุ่น ค.ศ. 2011
ที่มา: http://www.enfomable.com (7/3/2016)
7
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends)
ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย
ระดับภูมิภาคอาทิสหภาพยุโรป(EuropeanUnion:
EU) และประชาคมอาเซียน (ASEAN Community:
AC) และแม้กระทั่งองค์การสหประชาชาติ (United
Nations: UN) เป็นกรณีตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่อง
ดังกล่าว แต่ก็มีไม่น้อยเช่นกันที่การคาดการณ์ถึง
การมีอนาคตร่วมกันโดยเฉพาะหากยึดโยงกับ
ความต่าง (อย่างน้อยจากกระแสหลักของสังคม) ทาง
ชาติพันธุ์ และ/หรือความคิด-ความเชื่อที่อาจปรากฏ
ได้ทั้งในมิติด้านการเมือง เศรษฐกิจ ไปจนถึงสังคม-
วัฒนธรรม และศาสนา กลับให้ผลไปในทิศทางตรง
กันข้าม ความรุนแรงจากการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ของ IS อาจถือเป็นกรณีตัวอย่างที่เด่นชัดในเรื่องดัง
กล่าว
	 ทั้งนี้สิ่งที่ยากจะปฏิเสธก็คือ การวางแนวทาง
ภาพเส้นทางในอนาคตย่อมขึ้นอยู่กับสมมุติฐานใน
การคิด โดยเฉพาะเมื่อคาดการณ์ถึงผลประโยชน์ใน
อนาคต ท่ามกลางความกังวลต่อความจำ�กัดของ
ทรัพยากรตั้งแต่ทรัพยากรธรรมชาติไปจนถึงทรัพยากร
ทางสังคม และความสามารถในการแข่งขัน ในยุค
สมัยที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นเสมือน
ดาบสองคม ที่อาจสร้างภาพความเข้าใจว่า ปัจเจกชน
ดูจะมีพื้นที่อิสระในการตัดเฉือนอำ�นาจการควบคุม
ข้อมูลข่าวสาร ที่กดบังคับในหลากหลายแง่มุมชีวิต
จากอำ�นาจรัฐที่ตนเป็นพลเมืองในสังกัด รวมถึงอาจ
สร้างพลังต่อรองแบบฝูงชนได้มากขึ้นหากสามารถ
ประสานความร่วมมือแบบโครงข่ายกลุ่มชุมชน
(TheMultitude)2
ราวกับจะลืมเลือนไปว่าเทคโนโลยี
เดียวกันนั้นยังอาจสร้างสภาพกดบังคับ และ/หรือ อาจ
ถึงขั้นทำ�ลายอิสรภาพของมนุษย์ได้เช่นกัน ไม่ว่า
เราจะเฝ้ามองเรื่องราวหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธ
ก็คือ ความเป็นไปในลักษณะข้างต้นล้วนส่งผลกระทบ
ต่อเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การเข้าใจและสามารถ
คาดการณ์ถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ อาจช่วยให้เรารับมือ
กับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น โครงการวิจัย
เบื้องต้นต่อแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลง
ของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผล
นํ้าท่วมใหญ่ที่ราบภาคกลางประเทศไทย ค.ศ. 2011
ที่มา: http://eee.enjwikipedia.org (7/3/2016)
สงครามกลางเมืองในซีเรียที่ดำ�เนินมากว่า 4 ปี
ที่มา: http://www.enwikipedia.org (7/3/2016)
กรณีปัญหาเรือมนุษย์โรฮิงญา
น่านนํ้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มา: http://www.ibtimes.com
(7/3/2016))
8 วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
กระทบต่อความเป็นไปในสังคมไทย เกิดขึ้นด้วยจุด
มุ่งหมายในลักษณะดังกล่าว
คำ�ถามวิจัย กรอบความคิด และวิธีการศึกษา
หากอนาคตคือ ความสืบเนื่องของปัจจุบัน ที่มีราก-
ฐานมาจากอดีต แค่เพียงภาพปัจจุบันร่วมสมัยของ
ศตวรรษที่ 21 ดังได้กล่าวข้างต้น คงทำ�ให้ผู้คน
จำ�นวนไม่น้อย (รวมถึงตัวผู้วิจัย) อดห่วงกังวลไม่
ได้ว่า สภาพโลกในอนาคตจะเป็นอย่างไร เราทั้งใน
ฐานะปัจเจก พลเมืองของรัฐ และพลเมืองโลก จะดำ�รง
ตนอยู่อย่างไร เราจะสามารถกำ�หนดเลือกเส้นทาง
อนาคตที่ดี (อย่างน้อยต้องไม่แย่ไปกว่าปัจจุบัน) ได้
หรือไม่ ประเด็นเหล่านี้คือ คำ�ถามพื้นฐานที่กำ�กับ
การดำ�เนินโครงการวิจัยเบื้องต้นในครั้งนี้ ที่แม้จะมี
ภาพของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำ�หนดนโยบาย
และ/หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
ความเป็นไประหว่างประเทศสู่สาธารณชนเป็นเป้า-
หมายหลักในการรบอกเล่าวิเคราะห์ผลการศึกษา
แต่การศึกษาในครั้งนี้ยังได้รวมกลุ่มคนทั่วไปที่อาจ
สนใจศึกษาภาพความเป็นไประหว่างประเทศ ที่อาจ
เชื่อมโยงไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับความเป็นไปใน
สังคมไทยเข้าไว้ด้วยในการจัดทำ�รายการศึกษาวิจัย
ในครั้งนี้ด้วยลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย
ในการบอกเล่าเรื่องราวจากการวิจัยเบื้องต้นถึง
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกใน
อนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อ
ความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย กอปรกับ
ความหลากหลายของทั้งหน่วยการวิเคราะห์ และระดับ
การวิเคราะห์ ทำ�ให้ไม่ง่ายนักที่จะคัดสรรค์แนวคิด
ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งมาช่วยในการกำ�หนดกรอบ
ความคิด
	 อย่างไรก็ตาม การพยายามศึกษาภาพความ
เป็นไปในอนาคต ซึ่งปรากฏภายใต้ชื่อว่า อนาคต
วิทยา (Futurology) และ/หรือ การศึกษาอนาคต
(FutureStudies)ดูจะเสนอเส้นทางให้ผู้วิจัยสามารถ
ประยุกต์ใช้การศึกษาดังกล่าวในการดำ�เนินการ
วิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ในครั้ง
นี้ ด้วยเหตุว่าสาระของการศึกษานี้ไม่เพียงยอมรับ
การตั้งคำ�ถามในเชิงปทัสถาน แต่ยังเปิดทางให้กับ
การใช้ตรรกะเชื่อมโยงภาพ ในลักษณะของการเสนอ
ทางเลือกถึงเส้นทางที่เป็นไปได้ (probable) เส้น
ทางที่น่าปรารถนา (desirable) และเส้นทางที่อาจ
เป็นไปได้ (possible) ที่จะช่วยเชื่อมโยงความคิด
ในวันนี้เข้ากับความเป็นจริงของวันพรุ่งนี้3
กล่าวอีก
นัยหนึ่งก็คือ การมีวิสัยทัศน์ต่อโลกในอนาคต เป็น
สิ่งที่สาระของการศึกษานี้ไม่เพียงใส่ใจ แต่ยังให้
ความสำ�คัญอีกด้วย ทั้งนี้มิได้หมายความว่า การมี
วิสัยทัศน์ดังกล่าวผุดพรายขึ้นมาจากอากาศธาตุ
แต่ต้องอาศัยพื้นฐานในการคิด วิเคราะห์ ด้วยความ
เข้าใจถึงความเป็นปัจจุบัน อันเชื่อมโยงกับรากฐาน
ความเป็นไปในอดีต และการคาดการณ์โดยอาศัย
ข้อมูลและหลักการที่เป็นระบบ เพื่อไม่ให้ตกเป็น
เหยื่อของความเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์
(อย่างแย่ที่สุด) และ/หรือ เพื่อให้สามารถหยัดยืนอยู่
ได้อย่างมั่นคงและสง่างาม (อย่างดีที่สุด)
	 คงไม่เป็นการเกินเลยไปนักที่จะกล่าวว่า
สำ�หรับผู้วิจัยแล้ว การเปิดพื้นที่ให้ความสำ�คัญกับ
การเชื่อมต่อตรรกะและโอกาสในการเสนอวิสัย-
ทัศน์ต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ดีกว่า เป็นสิ่ง
ที่ทำ�ให้การศึกษาในแนวทางอนาคตวิทยา และ/หรือ
อนาคตศึกษา สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับ
การตั้งคำ�ถามต่อสภาพความเป็นไปและความ
เปลี่ยนแปลงสังคม โดยเฉพาะจากสายคิดในตระกูล
แบบมาร์กซ์ (Marxian linage) ที่มองความเปลี่ยน-
แปลงของความเป็นไปที่จับต้องได้รอบตัวมนุษย์ว่า
มีพัฒนาการความเป็นไปในมิติประวัติศาสตร์
(historical materialism) ที่ร่วมแบ่งปันพื้นที่ความ
สนใจกับกลุ่มสายคิดสังคมนิยม ทัศนะพื้นฐานต่อ
โลกและสังคมโลกจากพื้นฐานแนวคิดในกลุ่มนี้
นั่นเองที่เป็นพื้นฐานสำ�คัญให้กับการดำ�เนิน
โครงการวิจัยเบื้องต้นต่อแนวโน้มและทิศทางการ
เปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends)
ที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและความเป็น
ไปในสังคมไทย
	 พื้นฐานแนวคิดดังกล่าวนี่เองที่ผู้วิจัยได้นำ�
เสนอสอดแทรกไว้ทั้งในส่วนของคำ�ถามในกลุ่มแรก
และคำ�ถามวิจัยในกลุ่มที่สอง (ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อ
ไป) โดยเฉพาะเมื่อกลุ่มสายความคิดในตระกูลมาร์ก-
9
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends)
ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย
บทนำ�
ประเทศไทย ทำ�ให้ผู้วิจัยให้ความสำ�คัญกับความเป็น
ไปในเอเชีย สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปเป็นหลัก
โดยภูมิภาคทั้งสามนี้เป็นเนื้อหาหลักให้กับการ
วิเคราะห์แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่ผู้วิจัยได้บอก
เล่าเรื่องราวไว้ในบทที่ 2 บทที่ 3 และบทที่ 4 ตาม
ลำ�ดับ
	 จากคำ�ถามกลุ่มแรกที่มองมนุษย์ในฐานะ
สมาชิกรัฐ จึงยากยิ่งนักที่จะไม่ใส่ใจว่า สถานะทาง
เศรษฐกิจ-สังคม และบทบาทการเมืองระหว่างของ
รัฐเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องราวเหล่านั้นมีโอกาส
จะสัมพันธ์อย่างไรกับรัฐไทยที่ผู้วิจัยเป็นสมาชิก
ส่วนคำ�ถามกลุ่มที่สองเป็นการมองภาพและเสนอ
ความเป็นไปของประเด็นวิจัยรองด้วยมุมมองของ
การเป็นมนุษย์ในสองสถานะ สถานะแรกให้ความ
สำ�คัญกับมนุษยชาติในฐานะที่เป็นองค์รวม(holism)
ประเด็นการศึกษาในส่วนนี้จึงเลือกเน้นไปที่เรื่อง
ระบบนิเวศและภาวะโลกร้อน สถานะที่สองเน้นไปที่
ความเป็นปัจเจก (individuality) ของมนุษย์ แม้จะ
ยอมรับนัยยะที่ไม่ได้ถอยห่างจากการเป็นส่วนหนึ่ง
ของชุมชน และเครือข่ายสังคม (ทั้งที่เป็นเครือข่าย
กายภาพและเครือข่ายออนไลน์) ประเด็นการศึกษา
ในส่วนนี้จึงให้ความสำ�คัญกับเทคโนโลยี โดยให้
ความสำ�คัญกับเทคโนโลยีการสื่อสาร และการแพทย์
ซิสต์จำ�นวนไม่น้อยสนองตอบต่อเสียง
วิพากษ์ว่า การมุ่งวิเคราะห์โดยอาศัยข้อ
กำ�หนดจากพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ(eco-
nomic determinism) แต่เพียงอย่าง
เดียว ช่างเป็นกรอบคิดที่คับแคบ จนยาก
จะก่อความเข้าใจความเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมอย่างรอบด้าน อันเป็นที่มาของ
การเสนอกรอบความคิดกระแสทาง
เลือกจำ�นวนไม่น้อยให้กับการพัฒนาตัว
ของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ (International Relations: IR)
และเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่าง
ประเทศ (International Political Eco-
nomy: IPE) ที่ล้วนเรียกร้องและเสนอภาพ
ให้เรามองความเปลี่ยนแปลงและความ
เป็นไปในสังคมทั้งระดับภายในและ
ระหว่างประเทศ ด้วยตรรกะที่เชื่อมโยง
อย่างมีบูรณาการ (integrated logical thinking)
การมองภาพในลักษณะองค์รวมดังกล่าวพัฒนา
ตัวอย่างมากในช่วงทศวรรษ 19604
ความรู้ความ
เข้าใจพื้นฐาน (foundational knowledge) จาก
IR และ IPE นี่เองที่ทำ�ให้ผู้วิจัยสนใจหยิบเลือกอนาคต
วิทยา และ/หรืออนาคตศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งพื้นที่การ
ศึกษาที่เคลื่อนไหวสนองตอบต่อความเปลี่ยน-
แปลงดังกล่าว มาช่วยในการทดลองกำ�หนดกรอบ
โครงการเสนองานศึกษาวิจัยในครั้งนี้
	 กล่าวได้ว่าผู้วิจัยได้อาศัยภาพความเข้าใจ
เช่นนั้นกำ�หนดกลุ่มคำ�ถามวิจัยออกเป็นสองกลุ่ม
จากมุมมองของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ (International Relations: IR) ที่ไม่อาจ
ละเลยการตั้งคำ�ถามต่อความเป็นไปของโครงสร้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (structure of inter-
national relations) ซึ่งยากจะเลี่ยงพ้นมิติคิดของ
ความสัมพันธ์เชิงอำ�นาจ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กลุ่ม
คำ�ถามแรกนั้นมุ่งมองความสัมพันธ์ระหว่างรัฐโดย
เฉพาะการคาดการณ์ว่า โลกในอนาคตจะมีพลัง
อำ�นาจจากรัฐใดเป็นผู้ผลักดัน เป็นเพียงรัฐเดียวหรือ
มากกว่าหนึ่ง เป็นรัฐที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของซีกโลกใด
และด้วยการใช้วิธีการมองออกไป (outwards look-
ing) ยังความสัมพันธ์ภายนอก โดยใช้จุดยืนของ
10 วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
หากอนาคตคือ ความสืบเนื่องของปัจจุบัน
ที่มีรากฐานมาจากอดีต แค่เพียงภาพปัจจุบัน
ของสารพันปัญหาและความรุนแรงตั้งแต่
ช่วงต้นศตวรรษที่ 21 คงทำ�ให้ผู้คนจำ�นวน
ไม่น้อยอดห่วงกังวลไม่ได้ว่า สภาพโลกใน
อนาคตจะเป็นอย่างไร เราทั้งในฐานะปัจเจก
พลเมืองของรัฐ และพลเมืองโลก จะดำ�รง
ตนอยู่อย่างไร เราจะสามารถกำ�หนดเลือก
เส้นทางอนาคตที่ดี (อย่างน้อยต้องไม่แย่ไป
กว่าปัจจุบัน) ได้หรือไม่ ประเด็นเหล่านี้คือ
คำ�ถามพื้นฐานที่กำ�กับการดำ�เนินโครงการ
วิจัยในครั้งนี้
ที่อาจส่งผลต่อการปรับฐานประชากร และ/หรือสร้าง-
สรรค์วิสัยทัศน์ถึงอนาคตที่อาจเปลี่ยนแปลงไป โดย
เฉพาะจากการเชื่อมต่อเครือข่ายความก้าวหน้าของ
Internet of Things (IoT)
	 ผู้วิจัยเลือกใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content
analysis) โดยมีคำ�ถามต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นที่
สอดรับกับกรอบวิธีคิดในการช่วยคัดกรองข้อมูล
จากการดำ�เนินการวิจัยเอกสาร (documentary
research) ซึ่งมีทั้งสิ่งตีพิมพ์และข้อมูลออนไลน์ใน
รูปของการรายงานข่าวและบทวิเคราะห์ หนังสือพิมพ์
รายงานการวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มในความ
เป็นไปในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในครั้ง
นี้ และหนังสือ ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง และอาจมีส่วน
เกี่ยวข้องกับประเด็นซึ่งผู้วิจัยสนใจค้นคว้า
	 กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ศึกษาวิจัยมีจุดมุ่ง-
หมายหลักในการนำ�เสนอภาพความรู้ความเข้าใจ
เบื้องต้นต่อทิศทางแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของ
โลกผ่านการเชื่อมโยงตรรกะ (analytically logical
correlation) ที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหา (con-
tent analysis) จากการสำ�รวจวิจัยเอกสาร (doc-
umentary research) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวอัน
เป็นหัวข้อวิจัย โดยแม้จะมีกลุ่มเป้าหมายส่วนหนึ่ง
เป็นกลุ่มคนที่อาจจะเกี่ยวโยงกับการกำ�หนดนโยบาย
ในระดับใดระดับหนึ่ง แต่ดังที่ได้กล่าว
ไว้บ้างแล้วว่า ผู้วิจัยได้รวมกลุ่มเป้าหมาย
ที่เป็นประชาชนทั่วไปเข้าไว้ด้วย การนำ�
เสนอด้วยการบอกเล่าเรื่องราว และการ
เชื่อมโยงภาพในลักษณะดังกล่าว จึงเป็น
ความคาดหวังว่าอาจจะช่วยปูพื้นฐานให้
ผู้คนเหล่านั้นได้มีโอกาสเข้าใจความ
เป็นไปของโลกในอนาคตได้เพิ่มมากขึ้น
ด้วยลักษณะดังกล่าวนี่เองที่ทำ�ให้การ
มุ่งหาคำ�ตอบว่าอะไรคือสาเหตุกำ�หนด
ทิศทางความเปลี่ยนแปลง (cause –
effect analysis) หาใช่เป้าประสงค์หลัก
ของการศึกษาวิจัยเบื้องต้นในครั้งนี้
ผลการศึกษา: โลกหลายขั้วอำ�นาจที่เอียงข้าง
เอเชีย กับความท้าทายต่อมนุษย์
หากขนาดฐานประชากรเป็นหนึ่งในปัจจัยสำ�คัญที่
จะบ่งบอกว่า ประเทศและ/หรือดินแดนใดจะมีศักยภาพ
มากน้อยเพียงใดในการเป็นผู้มีบทบาทสำ�คัญใน
การผลักดันการเปลี่ยนแปลงทิศทางของโลกใน
อนาคต โลกในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้าคงมีสีสันที่
น่าจับตามองมากกว่าแค่กลุ่มผู้นำ�ชาวผิวขาวจากซีก
โลกเหนือและผู้นำ�ผิวสีอ่อนจางจากเอเชียไม่กี่ประเทศ
ฐานข้อมูล ค.ศ. 2015 จัดให้ไนจีเรีย มีการขยายตัว
ของประชากรมากที่สุด ขณะที่ฐานข้อมูล ค.ศ. 2006
มอบตำ�แหน่งดังกล่าวให้กับอินเดีย ซึ่งในฐานข้อมูล
ล่าสุดตกลงไปเป็นอันดับ 4 รองจากบังกลาเทศ (ขึ้น
จากอันดับ 4) และจีน (ตกจากอันดับ 2 เพราะแนว
โน้มอัตราเจริญพันธ์ุที่ลดตํ่าอย่างต่อเนื่อง) โดยมี
อินโดนีเซีย (หนึ่งเดียวของประเทศอาเซียนที่ขึ้น10
อันดับแรก) ครองตำ�แหน่งที่ 5 โดยไม่มีความ
เปลี่ยนแปลง ตามด้วยปากีสถาน (ตกจากอันดับ 3)
บราซิล (ตกจากอันดับ 6) เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา
และรัสเซีย5
	 สองอันดับสุดท้ายคือ สหรัฐอเมริกา และ
รัสเซีย เสนอทิศทางภาพความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ
11
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends)
ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย
ไนจีเรีย บังคลาเทศ จีน อินเดีย
อินโดนีเซีย ปากีสถาน บราซิล เม็กซิโก
สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย คือ มหาอำ�นาจ
แห่งศตวรรษที่ 22 ในเรื่องของการขยาย
ฐานประชากรทั้งจากอัตราการเกิดและ
การอพยพเข้าดินแดนดังกล่าว ที่อาจ
จะช่วยเติมสีสันให้การประชุม สุดยอด
ผู้นำ�โลกในอนาคตมีความหลากหลาย
กว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเชิงชาติพันธุ์
และศาสนา
บทนำ�
เพราะประชากรที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่
เป็นลูกหลานชาวผิวสีจากหลากหลายที่มาซึ่งอพยพ
เข้าไปตั้งรกราก ศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Cent-
er) คาดการณ์ถึงขั้นที่ว่า ใน ค.ศ. 2065 ประชากร
ราว 1/3 (จากจำ�นวน 441 ล้านคน) ของสหรัฐ-
อเมริกามาจากกลุ่มผู้อพยพและ/หรือผู้สืบเชื้อสาย
ของกลุ่มคนดังกล่าว โดยมีสัดส่วนเชื้อสายเอเชียเพิ่ม
ใกล้เคียงกับเชื้อสายแอฟริกา แม้จะยังเป็นรองเชื้อสาย
Hispanics และเชื้อสายยุโรป ที่ไม่เพียงช่วยประคับ-
ประคองไม่ให้ประชากรวัยทำ�งานหดตัวเร็วเกินไป
แต่ยังอาจช่วยปรับภาพลักษณ์สังคมอเมริกันที่ดูจะ
สัมพันธ์กับแนวคิดอนุรักษนิยมอิงศาสนา อันเป็น
ฐานเสียงสำ�คัญของพรรครีพับลิกันให้ลดน้อยลง6
หากไร้แรงกระเพื่อมไหวของพลังต่อต้านที่พยายาม
ฉุดรั้งภาพลักษณ์ว่า แผ่นดินสหรัฐอเมริกาไม่เพียง
เป็นความสืบเนื่องของประวัติศาสตร์ ยุโรป แต่ยัง
เป็นจุดสูงสุดของพลังจากตะวันตกที่ยังอาจครอง
ความเป็นเจ้า (hegemon) เหนือผืนแผ่นดินโลก
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หากการยอมรับความแตกต่าง
หลากหลายสัมฤทธิผลได้จริงในสหรัฐอเมริกา การจัด
ทำ�นโยบายต่างประเทศและการดำ�เนินความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกากับภูมิภาคต่างๆ
อาจเข้าสู่ภาวะสมดุลมากกว่าที่ผ่านมา
	 ขณะที่ข้อมูลประชากรรัสเซียในช่วงกึ่ง
ทศวรรษที่ผ่านมาให้ภาพต่างจากความกังวลใน
การหดตัวของประชากรเพราะอัตราการตายสูงกว่า
อัตราการเกิดเช่นที่เคยปรากฏในช่วงทศวรรษ
1990 – 2000 การขยายตัวของประชากรรัสเซียอาจ
ก่อความเปลี่ยนแปลงบนแผ่นดินยุโรปได้ไม่มากก็
น้อย โดยเฉพาะเมื่อการเพิ่มขึ้นของประชากรไม่อาจ
ธนาคารการพัฒนาใหม่ (New Devel-
opment Bank) จุดเริ่มประกาศความ
คิดต่างด้านโครงสร้างเศรษฐศาสตร์-
การเมืองระหว่างประเทศ
ที่มา: http://www.nomorefiatmoney-
please.blogspot.com (7/3/2016)
ธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่ง
เอเชีย (Asian Infrastructure Invest-
ment Bank: AIIB) อีกหนึ่งแรงผลักดัน
จากปักกิ่ง
ที่มา: http://www.news.xinhua.com
(7/3/2016)
กลุ่ม BRICS จะยังคงเป็นแรงโน้มถ่วง
สำ�คัญในศตวรรษที่ 21 ได้หรือไม่
ที่มา: http://www.bidnessetc.com
(7/6/2016))
12 วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
อาศัยแค่เพียงการสนับสนุนส่งเสริมค่านิยมครอบ-
ครัวแนวจารีตด้วยการขึ้นภาษีการหย่าร้าง แต่ยังต้อง
อาศัยสัดส่วนไม่น้อยจากการอพยพเข้ารัสเซียของ
ประชากรจากเอเชียกลางที่เป็นประชากรมุสลิม และ
อาจรวมถึงจากยูเครนและไครเมียในช่วง ค.ศ. 2014-
2015 ที่อาจเข้าช่วยเติมเต็มตลาดแรงงาน (ไร้ทักษะ)
ได้บ้าง7
	 สิ่งที่ยากจะมองข้ามก็คือ ปัจจัยฐานประชากร
โดยเฉพาะการขยายตัวของประชากรรุ่นเยาว์และ
ประชากรวัยทำ�งานที่หมายถึงกำ�ลังแรงงานและฐาน
ภาษีในอนาคต หาใช่ปัจจัยสำ�คัญเพียงหนึ่งเดียวใน
การกำ�หนดฐานะและบทบาทของดินแดนต่างๆ
บนเวทีระหว่างประเทศ สถานะทางเศรษฐกิจย่อม
มิใช่สิ่งที่จะเพิกเฉยได้โดยเด็ดขาด และสภาพทาง
เศรษฐกิจนี่เอง ที่ทำ�ให้เราได้เห็นว่า การปรากฏตัว
ของสถาบันการเงิน-การธนาคารระหว่างประเทศแห่ง
ใหม่ที่ไม่ได้มีผู้นำ�เป็นกลุ่มชาติตะวันตกแบบเดิม
ซึ่งเคยผลักดันการเกิดขึ้นของกฎบัตรแอตแลน-
ติก (Atlantic Charter) ที่มีส่วนในการสถาปนา
ระบบเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods System)
และ/หรือการผลักดันการยอมรับฉันทามติวอชิงตัน
(Washington Consensus)
	 สาธารณรัฐประชาชนจีนดูจะมีความโดดเด่น
ในเรื่องดังกล่าวมากที่สุด การเกิดขึ้นของสองสถาบัน
การเงินทางเลือกจากระบบเบรตตันวูดส์ ซึ่งล้วนใช้
ค.ศ.2016เป็นปีเริ่มดำ�เนินการล้วนมีปักกิ่งร่วมเป็น
ผู้ผลักดันสำ�คัญ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของธนาคาร
การพัฒนาใหม่ (New Development Bank:
NDB)8
ซึ่งเคยเรียกขานกันว่า BRICS Bank เมื่อ
แนวคิดดังกล่าวเริ่มปรากฏใน ค.ศ. 2013 ซึ่งนัก
ลงทุนต่างชาติ (โดยเฉพาะชาติตะวันตก) ถอนตัวออก
จากตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ NDB แม้จะเคยมีการ
ตั้งข้อสังเกตว่า การรวมกลุ่มดำ�เนินการและโครงสร้าง
บริหารของ NDB มีลักษณะเฉพาะกลุ่มที่ไม่น่าจะก่อ
ผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจโลกมากนัก แต่
สำ�หรับจู กวาง เหยา (Zhu Guangyau) รัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงการคลังของจีนนั้น เศรษฐกิจเกิด
ใหม่รวมถึงประเทศ BRICS คือพลังใหม่ ผลผลิต
มวลรวม (GDP) ของประเทศเหล่านี้จะมากกว่าร้อยละ
20 ของ GDP โลกใน ค.ศ. 2020 หลังจากนั้นจะ
เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 แม้ว่าจะเผชิญกับความท้าทาย
แต่ก็มีโอกาสใหม่ๆ ที่เรียกร้องให้เกิดการกระชับ
ความร่วมมือเช่นกัน9
	 การผลักดันการจัดตั้งธนาคารการลงทุน
โครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure
Investment Bank: AIIB) ของปักกิ่ง ได้เริ่มเสนอ
แนวคิดตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 เช่นกัน โดย
ครั้งนี้ได้ขยายวงกว้างร่วมกับประเทศสมาชิกก่อตั้ง
อื่นๆ 57 ประเทศ ที่มีหลายประเทศเป็นประเทศ
เศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งล้วนได้รับผลกระทบจากความ
ผันผวนทางเศรษฐกิจนับจาก ค.ศ. 2008 อยู่ไม่น้อย
ขณะที่อีกหลายประเทศซึ่งตอบรับเป็นสมาชิกได้รับ
การยอมรับว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้วรวมถึงพันธมิตร
ในระบบเบรตตันวูดส์และฉันทานุมัติวอชิงตันอย่าง
อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี AIIB มีเงินทุน
ตั้งต้น 100 พันล้านดอลลาร์ (ร้อยละ 50 มาจากจีน)
ในช่วงเวลาไม่ถึงสามปี จีนและกลุ่มพันธมิตรสามารถ
ผลักดันสถาบันทางเลือกด้านการเงิน-การธนาคาร
ระหว่างประเทศได้ถึงสองแห่ง ในช่วงครึ่งเดือนแรก
ของมกราคม ค.ศ. 2016 ก่อนที่ AIIB จะเปิดดำ�เนิน
การอย่างเป็นทางการ สมาชิก 17 ประเทศได้ให้การ
สนับสนุนทางการเงินมาแล้วโดยคิดเป็นร้อยละ
50.110
	 ภาพความเป็นไป ณ ปัจจุบัน คงทำ�ให้เกิด
จินตภาพได้ไม่ยากว่า ใช่หรือไม่ว่า จีนยังคงได้รับ
การจับตามองในฐานะผู้นำ�(หรืออาจจะหนึ่งในผู้นำ�)
ที่จะยังคงช่วยผลักดันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก
ที่หลายฝ่ายยังคงมองว่า การเติบโตของเศรษฐกิจ
โลกจะยังคงเป็นเสมือนยาครอบจักรวาลในการ
รักษาสารพัดปัญหาตั้งแต่ความขัดแย้งและการใช้
ความรุนแรงระหว่างประเทศ ไปจนถึงการบรรเทา
ความขัดแย้งและการกระจายความเป็นธรรมใน
สังคมระดับประเทศ โดยที่ผู้คนจำ�นวนไม่น้อยอาจ
จะหลงลืมไปว่า สารพันปัญหาดังกล่าวเป็นเสมือน
อีกด้านหนึ่งของเหรียญที่ขยายตัวร่วมไปกับกระแส
เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ ที่ยากจะหลีกเลี่ยงการฉาย
ภาพของความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วฉับไวทาง
ด้านการเงิน เป็นเหตุให้ผู้ศึกษาวิจัยต้องเปิดพื้นที่
สอดแทรกเนื้อหาและภาพความเคลื่อนไหวดัง
กล่าวลงในหลายพื้นที่ของการนำ�เสนอเนื้อหา โดย
13
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends)
ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย
บทนำ�
เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคำ�ถามแรกเพราะ
ความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับไวของ
ภาคการเงินเป็นสิ่งที่จะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด
ว่าอาจจะส่งผลกระทบ (ไม่ว่าจะมาก-น้อยเพียงใด)
ต่อการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโดยภาพรวม ทั้งนี้สิ่ง
ที่ผู้วิจัยต้องการจะเน้นยํ้าก็คือ วิกฤตเศรษฐกิจ ค.ศ.
2008 ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากภาคการเงิน (รวมถึงความ
ผันผวนของราคาหลักทรัพย์) เป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยน
สำ�คัญในการปรับโครงสร้างอำ�นาจระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงในเรื่องดัง
กล่าวอาจสำ�คัญมากยิ่งขึ้นเมื่อนำ�การขยายตัวของ
เศรษฐกิจภาคบริการบนต้นทุนการหดตัวของเศรษฐกิจ
ภาคการผลิต เข้ามาเป็นส่วนร่วมในการพิจารณา
	 การวิเคราะห์แนวโน้มจากกลุ่มคำ�ถาม
แรกทำ�ให้ยากจะปฏิเสธว่า แนวคิดศตวรรษแห่งชาว
เอเชีย (the Asian Century) ยังคงได้รับการให้
ความสำ�คัญร่วมไปกับความคิดที่ว่า จีนได้รับการ
จับตามองในฐานะผู้ที่มีบทบาทสำ�คัญในการขับ
เคลื่อนเศรษฐกิจโลก แม้จะเป็นไปท่ามกลางเสียง
ตั้งคำ�ถามว่า แท้จริงแล้ว เอเชีย หมายถึงขอบเขต
แค่ไหน และศตวรรษแห่งชาวเอเชียอาจไม่จำ�เป็นต้อง
หมายถึงความเด่นนำ�ของชาวจีน แท้จริงนั้น แนว
ความคิดที่เอนเอียงมายังโลกตะวันออก ยังครอบ-
คลุมถึงแนวคิดศตวรรษแห่งแปซิฟิก (the Pacific
Century) ศตวรรษแห่งเอเชีย-แปซิฟิก (the Asia-
Pacific Century) ที่มีสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
และญี่ปุ่นเป็นผู้ร่วมผลักดันร่วมกับแนวคิดศตวรรษ
อินโด-แปซิฟิก (the Indo-Pacific Century) ที่
ทำ�ให้อินเดียได้รับความสนใจมากขึ้นในฐานะจุด
ตัดสำ�คัญของยูเรเซีย (Eurasia) ที่สามารถเชื่อม
ต่อไปยังแอฟริกา และละตินอเมริกาได้ ไม่ต่างจาก
เส้นทางเชื่อมต่อสมัยจักรวรรดินิยม หากแต่ครั้งนี้
เป็นการพัดหวนของกระแสลมแห่งบูรพาวิถี พื้นที่ดัง-
กล่าวยังอยู่ในแนวโอบล้อมของนโยบายที่จีนผลัก
ดันอย่างเข้มข้นนั่นคือ“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”(One
Belt, One Road) โดยเฉพาะเส้นทางสายไหมทาง
ทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 (the 21st
Maritime Silk
Road)
	 อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำ�กัดของกรอบการ
ศึกษาวิจัยในครั้งนี้และความจำ�กัดของพื้นที่นำ�เสนอ
ทำ�ให้ผู้วิจัยไม่อาจมุ่งประเด็นมาที่พื้นที่หลักของดิน
แดนยูเรเซียนี้เพียงอย่างเดียว แม้จะได้เสนอ (เบื้องต้น
ในครั้งนี้) ถึงความสำ�คัญของพื้นที่ดังกล่าว เช่นที่
ได้นำ�เสนอถึงความสำ�คัญของ China – Pakistan
Economic Corridor (CPEC) ไว้บ้างแล้ว และแม้
กระทั่งเชื่อมโยงพื้นที่ดังกล่าวเข้ากับของเขตความ
เปลี่ยนแปลงและความเป็นไปของสหภาพยุโรป
รวมถึงเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม
และภาวะโลกร้อน ที่เชื่อมโยงกับพื้นที่เอเชียกลาง
แม้กระนั้นก็ตาม การที่ผู้ทรงคุณวุฒิชี้ถึงประเด็น
ดังกล่าว ยิ่งทำ�ให้ผู้วิจัยเห็นว่า การเสนอภาพความ
เปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอำ�นาจระหว่างประเทศ
ในครั้งนี้ (ดังจะได้กล่าวต่อไป) ยิ่งสนับสนุนให้ผู้วิจัย
ตระหนักเพิ่มขึ้นถึงความสำ�คัญของพื้นที่ดังกล่าวที่
เหมาะจะศึกษาในฐานะส่วนขยายจากการศึกษา
วิจัยในครั้งนี้ หากได้รับการสนับสนุน สำ�หรับการ
เชื่อมดยงกับสังคมไทยนั้น กล่าวได้ว่า ไทยควรเพิ่ม
การใช้ประโยชน์และพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตกโดย
เฉพาะชายฝั่ง ให้มากกว่าเป็นแค่เพียงแหล่งรองรับ
ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว โดยควรกระชับความ
สัมพันธ์ (มิใช่แค่เพียงกับอินเดีย) กับอินโด-นีเซีย
ให้มากขึ้นกว่าการดำ�เนินการภายใต้กรอบของ
อาเซียน ทั้งนี้การดำ�เนินการดังกล่าวยังอาจช่วยผ่อน
คลายแรงตึงเครียด ต่อกรณีความขัดแย้งภายในพื้นที่
ภาคใต้ของไทย
	 ในส่วนความเป็นไปของโครงสร้างระหว่าง
ประเทศนั้น ผู้วิจัยยังพบด้วยว่า ดินแดนตะวันตกทั้ง
สหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งในงานวิจัยนี้เน้นไปที่สห-
ภาพยุโรป (European Union: EU) ต่างพยายาม
ดิ้นรนแสวงหาเส้นทางรักษาโครงสร้างอำ�นาจแบบ
เดิมที่มีประเทศตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
เป็นแกนนำ�ท่ามกลางการตั้งคำ�ถามถึงความแข็ง-
แกร่งของสหรัฐอเมริกา ที่แม้การถือครองพื้นที่ทาง
เศรษฐกิจระดับโลกจะหดแคบลง ข้อมูลสถิติถึง ค.ศ.
2015 ระบุว่า สหรัฐอเมริกาครองส่วนแบ่ง GDP
โลกอยู่เพียงร้อยละ 23 และส่วนแบ่งการค้าสินค้า
โลกอยู่เพียงร้อยละ 12 แต่ก็ยังเป็นแหล่งดูดซับทรัพ-
ยากรบุคคลที่สำ�คัญต่อการสรรค์สร้างและขับเคลื่อน
เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในมิติของเศรษฐกิจเชิงสร้าง-
สรรค์ (creative economy) เพราะไม่เพียง Silicon
14 ววรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
Valley จะยังคงโดดเด่น แต่บรรษัทอเมริกันยังคง
เป็นผู้นำ�ในโลก social media และระบบ cloud
เช่นเดียวกับที่ธุรกิจการเงิน-การธนาคาร (ร้อยละ 55
ของกองทุนระหว่างประเทศอยู่ในความดูแลของผู้
จัดการชาวอเมริกัน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44 เมื่อทศ-
วรรษก่อนหน้า) ตลอดจนเงินดอลลาร์สหรัฐ ยังสำ�คัญ
อย่างน้อยในอีกกึ่งศตวรรษในการกำ�กับทิศทาง
เศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมโลกทุนนิยมที่ค่อยๆ แตก
ร้าว11
	 อาจกล่าวได้ว่า แม้ “ศตวรรษแห่งอเมริกัน
ชน” (the American Century) ยากจะหวนคืน
อย่างเด่นชัด แต่ความโดดเด่นจากการดูดซับทรัพ-
ยากรเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าวข้างต้น ก็ยังคง
เป็นเครื่องยืนยันถึงพื้นฐานที่ก้าวข้ามได้ไม่ง่ายนัก
จากการดำ�เนินการอันโดดเด่นของแนวคิดศตวรรษ
แห่งอเมริกันชน ทำ�ให้การทำ�ความเข้าใจสาระ (แม้
จะเป็นไปโดยย่อ) ของรูปแบบ วิธีการ และพื้นฐาน
การก่อตัวของแนวคิดดังกล่าว อาจจะเป็นประโยชน์
กับสังคมไทย ท่ามกลางกระแสคลื่นลมที่ไทย (ทั้ง
รัฐไทย สังคมไทย และอาจรวมถึงคนไทยในระดับ
ปัจเจก) ต้องปรับตัวรักษาสมดุล มิใช่เฉพาะระหว่าง
ตะวันตก(สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป)กับตะวัน-
ออก(จีนญี่ปุ่น)แต่อาจรวมถึงการรักษาความสัมพันธ์
อันสมดุลระหว่างตะวันออกด้านแปซิฟิก (จีน ญี่ปุ่น)
กับตะวันออกด้านมหาสมุทรอินเดีย (อินเดีย อินโด-
นีเซีย) ในการปรับจุดเน้นนโยบายมาที่อาณาบริเวณ
อินโด-แปซิฟิก ดังกล่าวข้างต้น
	 ความพยายามของยุโรปดูจะปรากฏใน
ลักษณะทั้งการทบทวนเส้นทางของตน และการพยา-
ยามแสวงหาหนทางในการแสดงบทบาทระดับนำ�
โดยในการทบทวนบทบาทของตนเองนั้นผู้วิจัยพบ
ว่า EU ได้เน้นไปที่เส้นทางแห่งความสำ�เร็จที่เคย
ก้าวผ่านมา ในการใช้มิติด้านเศรษฐกิจ และการ
จัดองค์กรบริหารจัดการความแตกต่างก้าวข้าม
เส้นพรมแดนทางการเมืองที่มักยึดติดกับพื้นภูมิ
สังคม-วัฒนธรรม ที่ดูจะสัมพันธ์กับชาติพันธุ์เฉพาะ
มากกว่าการให้คุณค่ามนุษย์โดยองค์รวม ความ
สำ�เร็จในเส้นทางเช่นนี้เองที่อาจเป็นต้นแบบใน
การบริหารจัดการโลกในศตวรรษที่ 2112
เช่นที่มาร์ค
เลโอนาร์ด (Mark Leonard) ผู้อำ�นวยการด้าน
นโยบายต่างประเทศแห่งศูนย์ปฏิรูปยุโรป (Centre
for European Reform) เสนอไว้ในหนังสือ Eu-
rope Will Run the 21st
Century (2005)
แนวคิดเช่นนี้เสนอว่า ระบบบรัสเซลล์ ที่เป็นการ
สังเคราะห์การให้ความสำ�คัญกับเสรีภาพทางการ
เมืองบนพื้นฐานประชาธิปไตย เสถียรภาพ และ
สวัสดิการทางสังคม จะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เกิด
“ศตวรรษชาวยุโรปใหม่” (New European Cen-
tury)13
	 แม้ภาพข้างต้นจะน่าสนใจเพียงใด แต่ก็
เป็นการยากยิ่งที่ผู้วิจัยจะปฏิเสธข้อจำ�กัดในหลาย
ด้านของยุโรป โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากรายงาน
Global Europe 2050 ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรป
เป็นผู้จัดทำ� ตั้งแต่ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงฐาน
ประชากร การรับมือต่อปัญหาผู้อพยพลี้ภัย ท่าที
กังขาของรัฐสมาชิกต่อ บทบาท อำ�นาจ หน้าที่ ที่
ขยายเพิ่มมากขึ้นของบรัสเซลล์ ที่ไม่ต้องรับผิดชอบ
อันใดต่อฐานเสียงทางการเมือง แม้จะให้ความใส่ใจ
กับปัญหาสังคมและคุณภาพประชากรโดยเฉพาะ
กลุ่มเยาวชนเพิ่มขึ้นอย่างมาก พร้อมกับการสร้าง
และยอมรับความแตกต่างหลากหลายเพิ่มมาก
ขึ้น แต่ก็ยังยากจะรับประกันว่า ระบบบรัสเซลล์จะ
ทำ�งานได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางความ
เข้มข้นของปัญหาผู้อพยพที่เชื่อมไปยังความกังวล
ต่อสวัสดิการและแรงงาน โดยเฉพาะเมื่อผนวกเข้า
กับการยากจะผสานกลมกลืนของกลุ่มวัฒนธรรม
อิสลาม14
สำ�หรับสังคมไทยแล้วภาพเช่นนี้ช่วยบอก
เราได้เช่นกันว่า แม้มิติทางเศรษฐกิจของยุโรปจะยัง
สำ�คัญ แต่เราอาจจำ�เป็นต้องทำ�ความเข้าใจพื้นฐาน
สังคม-วัฒนธรรมปัจจุบันที่หลากหลายมากขึ้น
ของยุโรป ยุโรปจึงไม่ควรจะมีความหมายแค่เพียง
EUภายใต้กำ�กับการของยุโรปตะวันตกตามความ
คุ้นชินแต่เดิม
	 การปรับขยายพื้นฐานการศึกษาในสังคม
ให้ครอบคลุมพื้นที่และมิติที่หลากหลายยิ่งขึ้น
เป็นบทสรุปที่ผู้วิจัยได้จากข้อค้นพบในการศึกษา
ประเด็นปัญหาในกลุ่มที่สอง ที่มีมนุษย์เป็นตัวตั้ง
ทั้งประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ
และประเด็นในเรื่องของเทคโนโลยี โดยที่การศึกษา
ในที่นี้ไม่ควรเป็นเรื่องของการศึกษาในระบบแต่
15
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends)
ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย
บทนำ�
เพียงอย่างเดียว แต่ควรเพิ่มมิติและวิธีการศึกษา
ให้หลากหลาย เพื่อการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีที่
ก้าวลํ้าอย่างเท่าทัน แนวทางเช่นนี้เสริมด้วยการ
เพิ่มพื้นที่ทางสังคมทั้งทางกายภาพและออนไลน์
อาจช่วยกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมได้ทักษะเสริมที่
จำ�เป็นในการทำ�ความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่
รวดเร็วฉับไวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับ
การที่สามารถเป็นช่องทางสำ�คัญในการแสวงหา
ความรู้ความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
ระหว่างประเทศดังกล่าวข้างต้น
	 กล่าวได้ว่า ข้อเสนอต่อสังคมไทยจากภาพ
รวมการศึกษาวิจัยเบื้องต้นในครั้งนี้ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย
หลักอยู่ที่การเสนอภาพกว้างของทิศทางการ
เปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อสังคมไทยใน
ฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก ซึ่งยากจะเลี่ยง
พ้นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
อำ�นาจระหว่างประเทศ (กลุ่มคำ�ถามแรก) มิพัก
ต้องเอ่ยถึง ผลกระทบจากความท้าทายต่อความเป็น
ไปของมนุษย์ (กลุ่มคำ�ถามที่สอง) แม้ทิศทางดัง
กล่าวที่ผู้วิจัยนำ�เสนอจากการวิเคราะห์เนื้อหาจะ
เป็นส่วนหนึ่งที่อาศัยพื้นฐานจากความพยายาม
ของหน่วยงานที่ปรึกษาข่าวกรองแห่งชาติ (National
Intelligence Council: NIC) ของสหรัฐอเมริกา
ที่ทุ่มเทงบประมาณไปไม่น้อยในการระดมสรรพ
กำ�ลังในการศึกษา คาดการณ์ และเผยแพร่แนว
โน้มโลก (จากการตีความของสหรัฐอเมริกา) อย่าง
แพร่หลายตั้งแต่ช่วงหลังสงครามเย็น จนทำ�ให้เกิด
การรับรู้อยู่บ้าง (โดยเฉพาะในสังคมไทย) ถึง “Know
Trends” ที่ดำ�รงอยู่และแสดงแนวโน้มที่จะสืบเนื่อง
ต่อไปในอนาคต
	 อย่างไรก็ตาม การมีภูมิศาสตร์การเมือง
และยุทธศาสตร์กายภาพของไทยเป็นที่ตั้ง ทำ�ให้ผู้
ศึกษาวิจัยเน้นยํ้าถึงอินโด-แปซิฟิกว่าจะเพิ่มความ
สำ�คัญขึ้นมากในอนาคต แต่ความรู้ความเข้าใจที่
เป็นปัจจุบันของไทยต่ออาณาบริเวณดังกล่าว อาจ
เรียกได้ว่ายังไม่เพียงพอ และมักจะเน้นไปที่บทบาท
การปรับตัวเชิงรับ (defensive adjustment) ทั้ง
เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสังคมไทยกับสังคม
ต่างๆ ในอาณาบริเวณดังกล่าว และความสัมพันธ์
ตลอดจนความเป็นไประหว่างในพื้นที่เหล่านั้น ไม่
ว่าจะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับไทยหรือไม่
ก็ตาม แม้งานวิจัยนี้จะยังมิได้นำ�เสนอให้สังคมไทย
มุ่งมองความสำ�คัญของดินแดนเหล่านี้เป็นอันดับ
แรก เพราะเนื้อหาการวิเคราะห์อาณาบริเวณเหล่า
นั้นโดยตรง แต่ภาพการศึกษาในอาณาบริเวณที่
สังคมไทยคุ้นชินโดยเฉพาะสังคมตะวันตก และ
เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือทำ�ให้เห็นถึงพลังที่
อ่อนล้าของดินแดนเหล่านี้ และเป็นไปได้เช่นกันว่า
ความอ่อนล้าของดินแดนเหล่านี้ ทำ�ให้อาณาบริเวณ
อินโด-แปซิฟิก อาจดูโชนแสงขึ้นมากโดยเปรียบ
เทียบ
	 งานศึกษาวิจัยในครั้งนี้จึงเรียกร้องให้ รัฐไทย
สังคมไทย และชาวไทยเพิ่มความสำ�คัญให้กับดิน
แดนทางตะวันตกของประเทศที่ชิดใกล้กับอินโด-
แปซิฟิก จากแนวโน้มที่อินเดียดูจะเพิ่มความสำ�คัญ
อย่างยากจะปฏิเสธ รวมถึงเพิ่มความใส่ใจให้มาก
ขึ้นต่อสมาชิกอาเซียนที่เชื่อมโยงกับแนวโน้มดัง
ไทยอาจต้องเร่งปรับตัวอย่างน้อย
ในเชิงรับ ต่อการทำ�ความเข้าใจและ
สร้างความรู้ที่เป็นปัจจุบันต่อพื้นที่
ในอาณาบริเวณอินโด-แปซิฟิก ที่ไม่
เพียงอยู่ในเส้นทางโอบล้อมของ
นโยบาย “One Belt, One Road”
โดยเฉพาะ “the 21st
Maritime
Silk Road” จากจีน แต่บริเวณนี้
ยังเป็นจุดตัดของยูเรเซีย ที่เชื่อม
ไปละตินอเมริกา และแอฟริกา ที่
อุปสรรคด้านการโทรคมนาคมดูจะ
เริ่มลดน้อยลง...ไทยอาจต้องเห็น
ถึงความสำ�คัญของ อินเดีย อินโด-
นีเซีย และเมียนมาร์ ให้มากกว่าที่
ผ่านมา
16 ววรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
กล่าว โดยเฉพาะอินโดนีเซียและเมียนมาร์ ที่เชื่อม
โยงกับการโอบล้อมของผืนแผ่นดินใหญ่ยูเรเซีย
และนโยบายหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (OBOR) จาก
จีน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ งานวิจัยเบื้องต้นในครั้งนี้
เสนอให้สังคมไทย โดยเฉพาะผู้มีส่วนกำ�หนดนโยบาย
และยุทธศาสตร์ในระดับต่างๆ ปรับวิถีคิด (way of
thought) ที่อาจจะได้รับการปลูกฝังให้ติดยึดจนยาก
จะไถ่ถอน (mindset) จากการให้ความสำ�คัญกับ
วิถีความเป็นไปของโลกที่คล้อยตาม และ/หรือตาม
อย่างตะวันตก ให้หันมามองเห็นและยอมรับความ
สำ�คัญของพื้นที่ดังกล่าวให้มากขึ้นไม่เพียงเท่านั้น
ในเนื้อหาของบทที่ 5 ยังเสนอให้ผู้คนในสังคมไทย
ปรับวิถีคิด(และ/หรือวิถีดำ�รงชีวิต)ที่มองเห็นความ
สำ�คัญของการศึกษา ว่ามิใช่เป็นแค่เพียงการไต่บันได
ดาราทางสังคม หากแต่ยัง(และยิ่ง)เป็นพื้นที่เรียนรู้
สำ�คัญทั้งต่อเรื่องโครงสร้างความสัมพันธ์ในระดับ
ต่างๆ ไปจนถึงการเป็นพื้นที่สำ�คัญในการบ่มเพาะ
คุณสมบัติของการเป็นมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่ง
ควรมีทั้งสำ�นึกและความสามารถในการเผชิญรับ
(และ/หรือ อาจถึงขั้นตอบโต้) ความท้าทายต่างๆ ที่
การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับไวของเทคโนโลยีผลักดัน
ให้ปรากฏอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะในยุคสมัยของ
Internet of Things (IoT)
17
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends)
ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย
บทนำ�
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

บทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีม
บทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีมบทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีม
บทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีมKanitta Fon
 
รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...
รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...
รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...Sircom Smarnbua
 
บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)
บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)
บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)Marine Meas
 
สถานการณ์ครอบครัวและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง
สถานการณ์ครอบครัวและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ครอบครัวและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง
สถานการณ์ครอบครัวและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงBe SK
 
ตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บท
ตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บทตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บท
ตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บทDr.Krisada [Hua] RMUTT
 
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้krupornpana55
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยPaew Tongpanya
 
บทที่ 7 อำนาจและภาวะผู้นำ
บทที่ 7 อำนาจและภาวะผู้นำบทที่ 7 อำนาจและภาวะผู้นำ
บทที่ 7 อำนาจและภาวะผู้นำAj.Mallika Phongphaew
 
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐPrachyanun Nilsook
 
Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...
Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...
Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...Teetut Tresirichod
 
บทท 2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1
บทท   2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1บทท   2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1
บทท 2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1Mayko Chan
 
ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58
ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58
ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58somporn Isvilanonda
 
ตาราง 6 โครงสร้างรายวิชา
ตาราง 6 โครงสร้างรายวิชาตาราง 6 โครงสร้างรายวิชา
ตาราง 6 โครงสร้างรายวิชาNicharee Piwjan
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศPa'rig Prig
 
โครงสร้างองค์กร เสริมสุข
โครงสร้างองค์กร เสริมสุขโครงสร้างองค์กร เสริมสุข
โครงสร้างองค์กร เสริมสุข0868472700
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Warunee Kantapanom
 
หน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นหน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นPaew Tongpanya
 
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา (FISH BONE)
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา (FISH BONE)การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา (FISH BONE)
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา (FISH BONE)Sasipa YAisong
 

Was ist angesagt? (20)

Ast.c2560.5t
Ast.c2560.5tAst.c2560.5t
Ast.c2560.5t
 
OM Theory (Ch.2)
OM Theory (Ch.2)OM Theory (Ch.2)
OM Theory (Ch.2)
 
บทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีม
บทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีมบทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีม
บทความวิจัยเรื่องการทำงานเป็นทีม
 
รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...
รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...
รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...
 
บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)
บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)
บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)
 
สถานการณ์ครอบครัวและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง
สถานการณ์ครอบครัวและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ครอบครัวและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง
สถานการณ์ครอบครัวและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง
 
ตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บท
ตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บทตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บท
ตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บท
 
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
 
บทที่ 7 อำนาจและภาวะผู้นำ
บทที่ 7 อำนาจและภาวะผู้นำบทที่ 7 อำนาจและภาวะผู้นำ
บทที่ 7 อำนาจและภาวะผู้นำ
 
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐ
 
Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...
Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...
Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...
 
บทท 2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1
บทท   2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1บทท   2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1
บทท 2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1
 
ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58
ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58
ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58
 
ตาราง 6 โครงสร้างรายวิชา
ตาราง 6 โครงสร้างรายวิชาตาราง 6 โครงสร้างรายวิชา
ตาราง 6 โครงสร้างรายวิชา
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
โครงสร้างองค์กร เสริมสุข
โครงสร้างองค์กร เสริมสุขโครงสร้างองค์กร เสริมสุข
โครงสร้างองค์กร เสริมสุข
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
หน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นหน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
 
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา (FISH BONE)
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา (FISH BONE)การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา (FISH BONE)
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา (FISH BONE)
 

Andere mochten auch

World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560
World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560
World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560Klangpanya
 
บทเรียนจากแนวทางการพัฒนาประเทศของจีนเทียบกับตะวันตก
บทเรียนจากแนวทางการพัฒนาประเทศของจีนเทียบกับตะวันตกบทเรียนจากแนวทางการพัฒนาประเทศของจีนเทียบกับตะวันตก
บทเรียนจากแนวทางการพัฒนาประเทศของจีนเทียบกับตะวันตกKlangpanya
 
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานกา...
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานกา...รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานกา...
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานกา...Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศKlangpanya
 
สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทย
สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทยสถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทย
สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทยKlangpanya
 
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยแนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยKlangpanya
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยKlangpanya
 
OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559
OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559
OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559Klangpanya
 
OBOR Monitor I ตุลาคม 2559
OBOR Monitor I ตุลาคม 2559OBOR Monitor I ตุลาคม 2559
OBOR Monitor I ตุลาคม 2559Klangpanya
 
บทวิจารณ์หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย
บทวิจารณ์หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทยบทวิจารณ์หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย
บทวิจารณ์หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทยKlangpanya
 
OBOR Monitor I กันยายน 2559
OBOR Monitor I กันยายน 2559OBOR Monitor I กันยายน 2559
OBOR Monitor I กันยายน 2559Klangpanya
 
OBOR Monitor I สิงหาคม 2559
OBOR Monitor I สิงหาคม 2559OBOR Monitor I สิงหาคม 2559
OBOR Monitor I สิงหาคม 2559Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559Klangpanya
 
World Think Tank Monitor มกราคม 2560
World Think Tank Monitor มกราคม 2560World Think Tank Monitor มกราคม 2560
World Think Tank Monitor มกราคม 2560Klangpanya
 
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559Klangpanya
 
เทคนิคการสอนตาม Tqf3
เทคนิคการสอนตาม Tqf3เทคนิคการสอนตาม Tqf3
เทคนิคการสอนตาม Tqf3Prachyanun Nilsook
 
thai education reform(book)
thai education reform(book)thai education reform(book)
thai education reform(book)Sireetorn Buanak
 

Andere mochten auch (18)

World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560
World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560
World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560
 
บทเรียนจากแนวทางการพัฒนาประเทศของจีนเทียบกับตะวันตก
บทเรียนจากแนวทางการพัฒนาประเทศของจีนเทียบกับตะวันตกบทเรียนจากแนวทางการพัฒนาประเทศของจีนเทียบกับตะวันตก
บทเรียนจากแนวทางการพัฒนาประเทศของจีนเทียบกับตะวันตก
 
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานกา...
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานกา...รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานกา...
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานกา...
 
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
 
สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทย
สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทยสถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทย
สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทย
 
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยแนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
 
OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559
OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559
OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559
 
OBOR Monitor I ตุลาคม 2559
OBOR Monitor I ตุลาคม 2559OBOR Monitor I ตุลาคม 2559
OBOR Monitor I ตุลาคม 2559
 
บทวิจารณ์หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย
บทวิจารณ์หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทยบทวิจารณ์หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย
บทวิจารณ์หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย
 
OBOR Monitor I กันยายน 2559
OBOR Monitor I กันยายน 2559OBOR Monitor I กันยายน 2559
OBOR Monitor I กันยายน 2559
 
OBOR Monitor I สิงหาคม 2559
OBOR Monitor I สิงหาคม 2559OBOR Monitor I สิงหาคม 2559
OBOR Monitor I สิงหาคม 2559
 
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
 
World Think Tank Monitor มกราคม 2560
World Think Tank Monitor มกราคม 2560World Think Tank Monitor มกราคม 2560
World Think Tank Monitor มกราคม 2560
 
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
 
Thailand's Eastern Economic Corridor (ECC)
Thailand's Eastern Economic Corridor (ECC)Thailand's Eastern Economic Corridor (ECC)
Thailand's Eastern Economic Corridor (ECC)
 
เทคนิคการสอนตาม Tqf3
เทคนิคการสอนตาม Tqf3เทคนิคการสอนตาม Tqf3
เทคนิคการสอนตาม Tqf3
 
thai education reform(book)
thai education reform(book)thai education reform(book)
thai education reform(book)
 

Ähnlich wie แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)

แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเ...
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเ...แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเ...
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเ...Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559Klangpanya
 
แผนพัฒนาการศึกษา 11
แผนพัฒนาการศึกษา 11แผนพัฒนาการศึกษา 11
แผนพัฒนาการศึกษา 11Ch Khankluay
 
ใบกิจกรรม เรื่อง วัฒนธรรมเกาหลี
ใบกิจกรรม เรื่อง  วัฒนธรรมเกาหลีใบกิจกรรม เรื่อง  วัฒนธรรมเกาหลี
ใบกิจกรรม เรื่อง วัฒนธรรมเกาหลีPrapatsorn Chaihuay
 
งานเสวนา บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2015 ปัญหา อุปสรรคและโอกาส
งานเสวนา บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2015  ปัญหา อุปสรรคและโอกาสงานเสวนา บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2015  ปัญหา อุปสรรคและโอกาส
งานเสวนา บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2015 ปัญหา อุปสรรคและโอกาสTeeranan
 
27มค
27มค27มค
27มคohmchit
 
27มค
27มค27มค
27มคohmchit
 
ไอเอส1
ไอเอส1ไอเอส1
ไอเอส10866589628
 
กลุ่ม Ol o --วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยจากอดีตสู่อนาคต
กลุ่ม Ol o --วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยจากอดีตสู่อนาคตกลุ่ม Ol o --วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยจากอดีตสู่อนาคต
กลุ่ม Ol o --วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยจากอดีตสู่อนาคตfreelance
 
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคตการวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคตTor Jt
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยKlangpanya
 
จีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย
จีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทยจีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย
จีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทยKlangpanya
 
World issues 160155
World issues 160155World issues 160155
World issues 160155Teeranan
 
ใบกิจกรรม เรื่อง มิติโลก 8 ด้าน
ใบกิจกรรม เรื่อง  มิติโลก 8 ด้านใบกิจกรรม เรื่อง  มิติโลก 8 ด้าน
ใบกิจกรรม เรื่อง มิติโลก 8 ด้านPrapatsorn Chaihuay
 
ใบกิจกรรม เรื่อง มิติโลก 8 ด้าน
ใบกิจกรรม เรื่อง  มิติโลก 8 ด้านใบกิจกรรม เรื่อง  มิติโลก 8 ด้าน
ใบกิจกรรม เรื่อง มิติโลก 8 ด้านPrapatsorn Chaihuay
 
สรุปเนื้อหาสำคัญ
สรุปเนื้อหาสำคัญสรุปเนื้อหาสำคัญ
สรุปเนื้อหาสำคัญKittinee Chaiwatthana
 
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์pyopyo
 

Ähnlich wie แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม) (20)

แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเ...
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเ...แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเ...
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเ...
 
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
 
Thai Education Master Plan # 11
Thai Education Master Plan # 11Thai Education Master Plan # 11
Thai Education Master Plan # 11
 
แผนพัฒนาการศึกษา 11
แผนพัฒนาการศึกษา 11แผนพัฒนาการศึกษา 11
แผนพัฒนาการศึกษา 11
 
ใบกิจกรรม เรื่อง วัฒนธรรมเกาหลี
ใบกิจกรรม เรื่อง  วัฒนธรรมเกาหลีใบกิจกรรม เรื่อง  วัฒนธรรมเกาหลี
ใบกิจกรรม เรื่อง วัฒนธรรมเกาหลี
 
งานเสวนา บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2015 ปัญหา อุปสรรคและโอกาส
งานเสวนา บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2015  ปัญหา อุปสรรคและโอกาสงานเสวนา บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2015  ปัญหา อุปสรรคและโอกาส
งานเสวนา บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2015 ปัญหา อุปสรรคและโอกาส
 
27มค
27มค27มค
27มค
 
27มค
27มค27มค
27มค
 
Sakanan nuclear power_plants
Sakanan nuclear power_plantsSakanan nuclear power_plants
Sakanan nuclear power_plants
 
ไอเอส1
ไอเอส1ไอเอส1
ไอเอส1
 
5
55
5
 
กลุ่ม Ol o --วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยจากอดีตสู่อนาคต
กลุ่ม Ol o --วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยจากอดีตสู่อนาคตกลุ่ม Ol o --วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยจากอดีตสู่อนาคต
กลุ่ม Ol o --วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยจากอดีตสู่อนาคต
 
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคตการวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
 
จีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย
จีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทยจีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย
จีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย
 
World issues 160155
World issues 160155World issues 160155
World issues 160155
 
ใบกิจกรรม เรื่อง มิติโลก 8 ด้าน
ใบกิจกรรม เรื่อง  มิติโลก 8 ด้านใบกิจกรรม เรื่อง  มิติโลก 8 ด้าน
ใบกิจกรรม เรื่อง มิติโลก 8 ด้าน
 
ใบกิจกรรม เรื่อง มิติโลก 8 ด้าน
ใบกิจกรรม เรื่อง  มิติโลก 8 ด้านใบกิจกรรม เรื่อง  มิติโลก 8 ด้าน
ใบกิจกรรม เรื่อง มิติโลก 8 ด้าน
 
สรุปเนื้อหาสำคัญ
สรุปเนื้อหาสำคัญสรุปเนื้อหาสำคัญ
สรุปเนื้อหาสำคัญ
 
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์
 

Mehr von Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

Mehr von Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย (ฉบับเต็ม)

  • 1.
  • 2.
  • 3. เสนอต่อ สถาบันคลังปัญญาค้นหายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตไทย วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เสนอโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ แขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีนาคม/กันยายน 2559 แนวโน้มและทิศทาง การเปลี่ยนแปลงของโลก ในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อ ประเทศไทยและความเป็นไป ในสังคมไทย โครงการวิจัยเบื้องต้นต่อ
  • 4. ความไม่แน่นอนจากความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง รวดเร็วและ ฉับไวในศตวรรษที่ 21 ไม่เพียงเกินกำ�ลังความสามารถในการ ควบคุมของมนุษย์แต่เหตุการณ์เหล่านี้ยังนำ�มาซึ่งโศกนาฏ- กรรม เหตุการณ์และ/หรือปรากฏการณ์ความไม่แน่นอนเหล่านี้ ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องของสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ อาทิสึนามิอาเซียนค.ศ.2004แผ่นดินไหว-สึนามิและปัญหา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น เมื่อ ค.ศ. 2011 ไปจนถึงความ รุนแรงจากการใช้กำ�ลังอาวุธ อาทิ กรณีสงครามกลาง เมือง ซีเรีย และการขยายตัวของ Islamic State (IS) ที่ก่อคลื่นผู้ อพยพจำ�นวนมหาศาล มิพักต้องเอ่ยถึง ความทุกข์ยากของ ผู้คนจำ�นวนมากที่ได้รับผลกระทบในวงกว้างจากวิกฤต เศรษฐกิจเมื่อค.ศ.2008ที่เริ่มปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคมระหว่างประเทศ เป็นจุดเริ่มของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ที่พยายามทำ�ความเข้าใจทิศทางความเป็นไปของโลกใน อนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อทั้งประเทศไทยและสังคมไทย งานวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นนี้ ศึกษาในสองกลุ่มคำ�ถาม กลุ่มแรกเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างอำ�นาจระหว่างประเทศใน อนาคตว่า จะมีศตวรรษแห่งชาวเอเชีย หรือศตวรรษในชื่อ เรียกอื่นใดหรือไม่ คำ�ถามที่สองเป็นการคาดการณ์ว่ามนุษย์ จะต้องเผชิญความท้าทายใดในอนาคต ทั้งในฐานะที่เป็น ปัจเจก และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติโดยรวม อนาคตวิทยาหรืออนาคตศึกษา เป็นกรอบการศึกษากว้างที่ ผู้วิจัยเลือกด้วยเหตุที่เน้นในเรื่องของการวิเคราะห์ที่ใช้การ เชื่อมโยงตรรกะเป็นพื้นฐาน ผสานกับการคาดการณ์อย่างมี วิสัยทัศน์ เพื่อวาดหวังถึงเส้นทางอนาคตที่ดีกว่า การวิเคราะห์ เนื้อหาเป็นเครื่องมือวิเคราะห์หลักสำ�หรับการวิจัยเอกสาร ในครั้งนี้ งานวิจัยนี้เสนอว่า โครงสร้างระหว่างประเทศของ โลกในอนาคตจะเป็นแบบหลายขั้วอำ�นาจ เพราะอำ�นาจที่ อ่อนแรงลงของตะวันตกโดยเฉพาะในมิติเศรษฐกิจ แนวคิด ศตวรรษแห่งอเมริกันชน และแนวคิดศตวรรษชาวยุโรปจึง อ่อนแสงลงไปเช่นกัน แม้ความสำ�คัญของชาวเอเชียจะเพิ่ม มากขึ้น แต่แนวคิดศตวรรษแห่งชาวเอเชียก็ยังมีปัญหาใน ตนเอง แต่แนวคิดศตวรรษอินโด-แปซิฟิก ค่อนข้างจะเป็น ไปได้ เพราะมีอาณาบริเวณที่สามารถเข้าถึงดินแดนยูเรเซีย ที่มีความสำ�คัญทางกายภาพต่อสองนโยบายของจีน นั่นคือ “One Belt, One Road” และ “the New Silk Road” การ เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น เป็นความท้าทายหลักต่อมนุษยชาติ ขณะที่ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีเป็นความท้าทายต่อความเป็นอยู่และบุคลิก ลักษณ์ของมนุษย์ ที่หล่อหลอมในยุคสมัยของ Internet of Things (IoT) คำ�สำ�คัญ: แนวโน้มอนาคตโลก อนาคตวิทยา/อนาคตศึกษา ศตวรรษแห่งชาวเอเชีย ภาวะโลกร้อน เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และ Internet of Things (IoT) แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย บทคัดย่อ 2 วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
  • 5. บทคัดย่อ Not only do uncertainties due to severely and rapidly changing evets in the early 21st century exceed our human-being’s capacity to control, they also bring tragedies. Such uncertain events and/or phenomena range from environments and ecological problems, e.g.ASEANtsunami2004,the2011earthquake- then-tsunamitriggeringnuclear-power plants’ problem in Japan, to violence and wars, e.g. Syrian civil war and the expansion of Islamic State (IS) causing massive migration. There was also 2008 credit crunch crisis igniting the structural changing of international political economy and many people’s hardships. These events help setting up this research aiming to understand the direction of the global trends that might affect Thailand and the Thai society. This qualitative research has two groups of questions: the first one related to what kind of the future international power structure, whether there will be Asian Century, or other so-called ‘Century’; the second one anticipatingwhatkindofchallengesthathuman being might have faced, as an individual and as a part of humanity in general. Futur- ology or Future Studies is applied here due to its emphasis on logical linking and visionary forecasting for anticipating better future. Content analysis is an analytical tool for this documentary research. This research proposes that the multi- polarworldisaprobableinternationalstructure due to the rather waning power of the West, specifically in terms of economics. Rather dim are the American Century and the New European Century. Though Asian significance will be increased, the Asian Century is quite a problematic. The Indo-Pacific Century is more likely, having its access to the Eurasia in mind accompanied by its geographical significance to China’s ‘One Belt, One Road’ and ‘the New Silk Road’. Severe environ- mental changing and global warming are the main challenge for humanity while advanced technology challenges individuals’ well-being and characteristics. Key Words: Global Trends, Futurology/Future Studies, AsianCentury,GlobalWarming,Advanced Technology Global Trends that might affect Thailand and the Thai Society Abstract 3 แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย
  • 7. สารบัญ บทคัดย่อ Abstract บทนำ� แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทย และสังคมไทย บทที่ 1 อนาคตวิทยา/อนาคตศึกษา: กรอบความคิดและวิธีการศึกษา บทที่ 2 (ฤา) ศตวรรษแห่งเอเชียยังไม่สิ้นมนต์ขลัง: หลากสีสันชาติพันธุ์และภูมิศาสตร์ บทที่ 3 สหรัฐอเมริกา–คนล้ม (?) ที่ยากจะก้าวข้าม?: (ยังคงเป็น?) ผู้นำ�ตะวันตกที่หยัดยืนอย่างอ่อนล้าในศตวรรษที่ 21 บทที่ 4 สหภาพยุโรป (European Union: EU) ที่อ่อนล้า: การรวมกลุ่มที่อาจสะดุดขาตนเองจากปัญหาเศรษฐกิจและสังคม บทที่ 5 ความท้าทายต่อมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 สภาพอากาศและนิเวศที่เปลี่ยนแปลง กับความก้าวลํ้าของเทคโนโลยี บทสรุปและข้อเสนอแนะ: ความพร้อมและทางเลือกของไทย (?) กับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป แหล่งอ้างอิงท้ายเล่ม บรรณานุกรม 2 6 - 17 18 - 27 28 - 46 47 - 64 65 - 79 80 - 98 99 - 102 103 - 119 120 - 134
  • 8. ..การรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนำ�มาซึ่งแนวคิดใหม่แห่ง อนาคต ดังนั้นมันจึงเป็นเขตพื้นที่เดียวแห่งกาลเวลาซึ่ง การเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นได้ อนาคตคือ เขตพื้นที่ชั่วคราว ที่เปิดกว้าง กาลเวลา สามารถเป็นสิ่งใหม่ หาใช่แค่เพียง ส่วนต่อขยายของอดีต ด้วยวิถีเช่นนี้ การรับรู้ประวัติศาสตร์ในตอนนี้ จึงหาใช่เพียง แค่เรื่องของสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นไปโดยธรรมชาติ หรือผลิตขึ้น โดยการตัดสินใจชะตากรรมอันศักดิ์สิทธิ์และลึกลับ หากแต่เป็นสิ่งที่สามารถผลิตขึ้นได้โดยการกระทำ� การคาด คำ�นวณ ความตั้งใจความมุ่งมั่นของผู้คน ดังนั้น มันจึงเป็น สิ่งที่สามารถออกแบบ และมีความหมายที่ตามมาได้… Anibal Quijano (2000)1 6 วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
  • 9. บทนำ� ในเวลาเพียงกว่าทศวรรษของการก้าวย่างเข้าสู่ ศตวรรษที่ 21 ความเปลี่ยนแปลงรอบตัวปรากฏขึ้น อย่างรวดเร็ว ฉับไว แระรุนแรง หากมองในเชิงสภาพ แวดล้อมและระบบนิเวศที่เกินกำ�ลังควบคุมของ มนุษย์ ก็มีหลากหลายตัวอย่างให้จดจำ� อาทิ สึนามิ อาเซียน ค.ศ. 2004 แผ่นดินไหว-สึนามิ และปัญหา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น เมื่อ ค.ศ. 2011 ใน ปีเดียวกันนั้นเอง อินโดจีนและไทยเผชิญปัญหา พายุพัดถล่มและนํ้าท่วมอย่างหนัก หากมองในเชิง เหตุการณ์ที่เป็นผลมาจากการกระทำ�ของมนุษย์ โดยตรง เราได้เห็นทั้งความรุนแรงจากการใช้กำ�ลัง อาวุธ อาทิ กรณีสงครามกลางเมืองซีเรีย และการ ขยายตัวของ Islamic State (IS) ที่ก่อคลื่นผู้อพยพ จำ�นวนมหาศาล ซึ่งมีจำ�นวนไม่น้อยที่ต้องจบชีวิต ลงกลางทะเล ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น เรายังได้ เห็นภาพชาวโรฮิงญา (Rohingya) ที่ประสบชะตา- กรรมในย่านมหาสมุทรอินเดีย มิพักต้องเอ่ยถึงความ ทุกข์ยากของผู้คนจำ�นวนมากที่ได้รับผลกระทบใน วงกว้างจากวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อ ค.ศ. 2008 การจะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงและความเป็น ไปของโลกดังกล่าวข้างต้น (ซึ่งเป็นแค่เพียงตัวอย่าง บางส่วน) หาใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อมองโลกใน ลักษณะองค์รวมที่เป็นหนึ่งเดียว(holism)หรือสังคม โลกที่เป็นผลรวม (wholism) ของทั้งความเหมือน ความคล้ายคลึง และ/หรือ ความต่างในทุกมิติและ หลากระดับ ที่มักกระตุ้นให้ผู้คนเลือกมองอยู่บ่อย ครั้งในลักษณะที่หากไม่เน้นไปที่ความขัดแย้งก็จะ เน้นไปที่ความร่วมมือ ราวกับภาพความสัมพันธ์ทั้ง สองนั้นเป็นไปแบบสามารถแยกขาดออกจากกัน ในลักษณะที่ใครหลายคนอาจเข้าใจว่า หากมีความ ร่วมมือย่อมไร้ซึ่งความขัดแย้ง และเป็นไปในลักษณะ ตรงข้ามด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จริงในหลากหลายสังคมได้ช่วยให้เราเห็นว่า หาได้ เป็นความสัมพันธ์ด้านเดียวเสมอไป บ่อยครั้งที่การ คาดการณ์ถึงอนาคตร่วมกัน อาจแปลงความขัดแย้ง ให้กลายเป็นความร่วมมือ แนวคิดตั้งต้นและพัฒนา- การความร่วมมือของกลุ่มองค์การระหว่างประเทศ บทนำ� แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย อาเซียนสึนามิ ค.ศ. 2004 ที่มา: http://www.spree.space.com (7/3/2016) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมา ไดอิจิ ญี่ปุ่น ค.ศ. 2011 ที่มา: http://www.enfomable.com (7/3/2016) 7 แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย
  • 10. ระดับภูมิภาคอาทิสหภาพยุโรป(EuropeanUnion: EU) และประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) และแม้กระทั่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) เป็นกรณีตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่อง ดังกล่าว แต่ก็มีไม่น้อยเช่นกันที่การคาดการณ์ถึง การมีอนาคตร่วมกันโดยเฉพาะหากยึดโยงกับ ความต่าง (อย่างน้อยจากกระแสหลักของสังคม) ทาง ชาติพันธุ์ และ/หรือความคิด-ความเชื่อที่อาจปรากฏ ได้ทั้งในมิติด้านการเมือง เศรษฐกิจ ไปจนถึงสังคม- วัฒนธรรม และศาสนา กลับให้ผลไปในทิศทางตรง กันข้าม ความรุนแรงจากการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ของ IS อาจถือเป็นกรณีตัวอย่างที่เด่นชัดในเรื่องดัง กล่าว ทั้งนี้สิ่งที่ยากจะปฏิเสธก็คือ การวางแนวทาง ภาพเส้นทางในอนาคตย่อมขึ้นอยู่กับสมมุติฐานใน การคิด โดยเฉพาะเมื่อคาดการณ์ถึงผลประโยชน์ใน อนาคต ท่ามกลางความกังวลต่อความจำ�กัดของ ทรัพยากรตั้งแต่ทรัพยากรธรรมชาติไปจนถึงทรัพยากร ทางสังคม และความสามารถในการแข่งขัน ในยุค สมัยที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นเสมือน ดาบสองคม ที่อาจสร้างภาพความเข้าใจว่า ปัจเจกชน ดูจะมีพื้นที่อิสระในการตัดเฉือนอำ�นาจการควบคุม ข้อมูลข่าวสาร ที่กดบังคับในหลากหลายแง่มุมชีวิต จากอำ�นาจรัฐที่ตนเป็นพลเมืองในสังกัด รวมถึงอาจ สร้างพลังต่อรองแบบฝูงชนได้มากขึ้นหากสามารถ ประสานความร่วมมือแบบโครงข่ายกลุ่มชุมชน (TheMultitude)2 ราวกับจะลืมเลือนไปว่าเทคโนโลยี เดียวกันนั้นยังอาจสร้างสภาพกดบังคับ และ/หรือ อาจ ถึงขั้นทำ�ลายอิสรภาพของมนุษย์ได้เช่นกัน ไม่ว่า เราจะเฝ้ามองเรื่องราวหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธ ก็คือ ความเป็นไปในลักษณะข้างต้นล้วนส่งผลกระทบ ต่อเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การเข้าใจและสามารถ คาดการณ์ถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ อาจช่วยให้เรารับมือ กับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น โครงการวิจัย เบื้องต้นต่อแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลง ของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผล นํ้าท่วมใหญ่ที่ราบภาคกลางประเทศไทย ค.ศ. 2011 ที่มา: http://eee.enjwikipedia.org (7/3/2016) สงครามกลางเมืองในซีเรียที่ดำ�เนินมากว่า 4 ปี ที่มา: http://www.enwikipedia.org (7/3/2016) กรณีปัญหาเรือมนุษย์โรฮิงญา น่านนํ้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มา: http://www.ibtimes.com (7/3/2016)) 8 วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
  • 11. กระทบต่อความเป็นไปในสังคมไทย เกิดขึ้นด้วยจุด มุ่งหมายในลักษณะดังกล่าว คำ�ถามวิจัย กรอบความคิด และวิธีการศึกษา หากอนาคตคือ ความสืบเนื่องของปัจจุบัน ที่มีราก- ฐานมาจากอดีต แค่เพียงภาพปัจจุบันร่วมสมัยของ ศตวรรษที่ 21 ดังได้กล่าวข้างต้น คงทำ�ให้ผู้คน จำ�นวนไม่น้อย (รวมถึงตัวผู้วิจัย) อดห่วงกังวลไม่ ได้ว่า สภาพโลกในอนาคตจะเป็นอย่างไร เราทั้งใน ฐานะปัจเจก พลเมืองของรัฐ และพลเมืองโลก จะดำ�รง ตนอยู่อย่างไร เราจะสามารถกำ�หนดเลือกเส้นทาง อนาคตที่ดี (อย่างน้อยต้องไม่แย่ไปกว่าปัจจุบัน) ได้ หรือไม่ ประเด็นเหล่านี้คือ คำ�ถามพื้นฐานที่กำ�กับ การดำ�เนินโครงการวิจัยเบื้องต้นในครั้งนี้ ที่แม้จะมี ภาพของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำ�หนดนโยบาย และ/หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความเป็นไประหว่างประเทศสู่สาธารณชนเป็นเป้า- หมายหลักในการรบอกเล่าวิเคราะห์ผลการศึกษา แต่การศึกษาในครั้งนี้ยังได้รวมกลุ่มคนทั่วไปที่อาจ สนใจศึกษาภาพความเป็นไประหว่างประเทศ ที่อาจ เชื่อมโยงไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับความเป็นไปใน สังคมไทยเข้าไว้ด้วยในการจัดทำ�รายการศึกษาวิจัย ในครั้งนี้ด้วยลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ในการบอกเล่าเรื่องราวจากการวิจัยเบื้องต้นถึง แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกใน อนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อ ความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย กอปรกับ ความหลากหลายของทั้งหน่วยการวิเคราะห์ และระดับ การวิเคราะห์ ทำ�ให้ไม่ง่ายนักที่จะคัดสรรค์แนวคิด ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งมาช่วยในการกำ�หนดกรอบ ความคิด อย่างไรก็ตาม การพยายามศึกษาภาพความ เป็นไปในอนาคต ซึ่งปรากฏภายใต้ชื่อว่า อนาคต วิทยา (Futurology) และ/หรือ การศึกษาอนาคต (FutureStudies)ดูจะเสนอเส้นทางให้ผู้วิจัยสามารถ ประยุกต์ใช้การศึกษาดังกล่าวในการดำ�เนินการ วิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ในครั้ง นี้ ด้วยเหตุว่าสาระของการศึกษานี้ไม่เพียงยอมรับ การตั้งคำ�ถามในเชิงปทัสถาน แต่ยังเปิดทางให้กับ การใช้ตรรกะเชื่อมโยงภาพ ในลักษณะของการเสนอ ทางเลือกถึงเส้นทางที่เป็นไปได้ (probable) เส้น ทางที่น่าปรารถนา (desirable) และเส้นทางที่อาจ เป็นไปได้ (possible) ที่จะช่วยเชื่อมโยงความคิด ในวันนี้เข้ากับความเป็นจริงของวันพรุ่งนี้3 กล่าวอีก นัยหนึ่งก็คือ การมีวิสัยทัศน์ต่อโลกในอนาคต เป็น สิ่งที่สาระของการศึกษานี้ไม่เพียงใส่ใจ แต่ยังให้ ความสำ�คัญอีกด้วย ทั้งนี้มิได้หมายความว่า การมี วิสัยทัศน์ดังกล่าวผุดพรายขึ้นมาจากอากาศธาตุ แต่ต้องอาศัยพื้นฐานในการคิด วิเคราะห์ ด้วยความ เข้าใจถึงความเป็นปัจจุบัน อันเชื่อมโยงกับรากฐาน ความเป็นไปในอดีต และการคาดการณ์โดยอาศัย ข้อมูลและหลักการที่เป็นระบบ เพื่อไม่ให้ตกเป็น เหยื่อของความเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (อย่างแย่ที่สุด) และ/หรือ เพื่อให้สามารถหยัดยืนอยู่ ได้อย่างมั่นคงและสง่างาม (อย่างดีที่สุด) คงไม่เป็นการเกินเลยไปนักที่จะกล่าวว่า สำ�หรับผู้วิจัยแล้ว การเปิดพื้นที่ให้ความสำ�คัญกับ การเชื่อมต่อตรรกะและโอกาสในการเสนอวิสัย- ทัศน์ต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ดีกว่า เป็นสิ่ง ที่ทำ�ให้การศึกษาในแนวทางอนาคตวิทยา และ/หรือ อนาคตศึกษา สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับ การตั้งคำ�ถามต่อสภาพความเป็นไปและความ เปลี่ยนแปลงสังคม โดยเฉพาะจากสายคิดในตระกูล แบบมาร์กซ์ (Marxian linage) ที่มองความเปลี่ยน- แปลงของความเป็นไปที่จับต้องได้รอบตัวมนุษย์ว่า มีพัฒนาการความเป็นไปในมิติประวัติศาสตร์ (historical materialism) ที่ร่วมแบ่งปันพื้นที่ความ สนใจกับกลุ่มสายคิดสังคมนิยม ทัศนะพื้นฐานต่อ โลกและสังคมโลกจากพื้นฐานแนวคิดในกลุ่มนี้ นั่นเองที่เป็นพื้นฐานสำ�คัญให้กับการดำ�เนิน โครงการวิจัยเบื้องต้นต่อแนวโน้มและทิศทางการ เปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและความเป็น ไปในสังคมไทย พื้นฐานแนวคิดดังกล่าวนี่เองที่ผู้วิจัยได้นำ� เสนอสอดแทรกไว้ทั้งในส่วนของคำ�ถามในกลุ่มแรก และคำ�ถามวิจัยในกลุ่มที่สอง (ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อ ไป) โดยเฉพาะเมื่อกลุ่มสายความคิดในตระกูลมาร์ก- 9 แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย บทนำ�
  • 12. ประเทศไทย ทำ�ให้ผู้วิจัยให้ความสำ�คัญกับความเป็น ไปในเอเชีย สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปเป็นหลัก โดยภูมิภาคทั้งสามนี้เป็นเนื้อหาหลักให้กับการ วิเคราะห์แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่ผู้วิจัยได้บอก เล่าเรื่องราวไว้ในบทที่ 2 บทที่ 3 และบทที่ 4 ตาม ลำ�ดับ จากคำ�ถามกลุ่มแรกที่มองมนุษย์ในฐานะ สมาชิกรัฐ จึงยากยิ่งนักที่จะไม่ใส่ใจว่า สถานะทาง เศรษฐกิจ-สังคม และบทบาทการเมืองระหว่างของ รัฐเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องราวเหล่านั้นมีโอกาส จะสัมพันธ์อย่างไรกับรัฐไทยที่ผู้วิจัยเป็นสมาชิก ส่วนคำ�ถามกลุ่มที่สองเป็นการมองภาพและเสนอ ความเป็นไปของประเด็นวิจัยรองด้วยมุมมองของ การเป็นมนุษย์ในสองสถานะ สถานะแรกให้ความ สำ�คัญกับมนุษยชาติในฐานะที่เป็นองค์รวม(holism) ประเด็นการศึกษาในส่วนนี้จึงเลือกเน้นไปที่เรื่อง ระบบนิเวศและภาวะโลกร้อน สถานะที่สองเน้นไปที่ ความเป็นปัจเจก (individuality) ของมนุษย์ แม้จะ ยอมรับนัยยะที่ไม่ได้ถอยห่างจากการเป็นส่วนหนึ่ง ของชุมชน และเครือข่ายสังคม (ทั้งที่เป็นเครือข่าย กายภาพและเครือข่ายออนไลน์) ประเด็นการศึกษา ในส่วนนี้จึงให้ความสำ�คัญกับเทคโนโลยี โดยให้ ความสำ�คัญกับเทคโนโลยีการสื่อสาร และการแพทย์ ซิสต์จำ�นวนไม่น้อยสนองตอบต่อเสียง วิพากษ์ว่า การมุ่งวิเคราะห์โดยอาศัยข้อ กำ�หนดจากพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ(eco- nomic determinism) แต่เพียงอย่าง เดียว ช่างเป็นกรอบคิดที่คับแคบ จนยาก จะก่อความเข้าใจความเปลี่ยนแปลง ทางสังคมอย่างรอบด้าน อันเป็นที่มาของ การเสนอกรอบความคิดกระแสทาง เลือกจำ�นวนไม่น้อยให้กับการพัฒนาตัว ของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ (International Relations: IR) และเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่าง ประเทศ (International Political Eco- nomy: IPE) ที่ล้วนเรียกร้องและเสนอภาพ ให้เรามองความเปลี่ยนแปลงและความ เป็นไปในสังคมทั้งระดับภายในและ ระหว่างประเทศ ด้วยตรรกะที่เชื่อมโยง อย่างมีบูรณาการ (integrated logical thinking) การมองภาพในลักษณะองค์รวมดังกล่าวพัฒนา ตัวอย่างมากในช่วงทศวรรษ 19604 ความรู้ความ เข้าใจพื้นฐาน (foundational knowledge) จาก IR และ IPE นี่เองที่ทำ�ให้ผู้วิจัยสนใจหยิบเลือกอนาคต วิทยา และ/หรืออนาคตศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งพื้นที่การ ศึกษาที่เคลื่อนไหวสนองตอบต่อความเปลี่ยน- แปลงดังกล่าว มาช่วยในการทดลองกำ�หนดกรอบ โครงการเสนองานศึกษาวิจัยในครั้งนี้ กล่าวได้ว่าผู้วิจัยได้อาศัยภาพความเข้าใจ เช่นนั้นกำ�หนดกลุ่มคำ�ถามวิจัยออกเป็นสองกลุ่ม จากมุมมองของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ (International Relations: IR) ที่ไม่อาจ ละเลยการตั้งคำ�ถามต่อความเป็นไปของโครงสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (structure of inter- national relations) ซึ่งยากจะเลี่ยงพ้นมิติคิดของ ความสัมพันธ์เชิงอำ�นาจ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กลุ่ม คำ�ถามแรกนั้นมุ่งมองความสัมพันธ์ระหว่างรัฐโดย เฉพาะการคาดการณ์ว่า โลกในอนาคตจะมีพลัง อำ�นาจจากรัฐใดเป็นผู้ผลักดัน เป็นเพียงรัฐเดียวหรือ มากกว่าหนึ่ง เป็นรัฐที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของซีกโลกใด และด้วยการใช้วิธีการมองออกไป (outwards look- ing) ยังความสัมพันธ์ภายนอก โดยใช้จุดยืนของ 10 วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ หากอนาคตคือ ความสืบเนื่องของปัจจุบัน ที่มีรากฐานมาจากอดีต แค่เพียงภาพปัจจุบัน ของสารพันปัญหาและความรุนแรงตั้งแต่ ช่วงต้นศตวรรษที่ 21 คงทำ�ให้ผู้คนจำ�นวน ไม่น้อยอดห่วงกังวลไม่ได้ว่า สภาพโลกใน อนาคตจะเป็นอย่างไร เราทั้งในฐานะปัจเจก พลเมืองของรัฐ และพลเมืองโลก จะดำ�รง ตนอยู่อย่างไร เราจะสามารถกำ�หนดเลือก เส้นทางอนาคตที่ดี (อย่างน้อยต้องไม่แย่ไป กว่าปัจจุบัน) ได้หรือไม่ ประเด็นเหล่านี้คือ คำ�ถามพื้นฐานที่กำ�กับการดำ�เนินโครงการ วิจัยในครั้งนี้
  • 13. ที่อาจส่งผลต่อการปรับฐานประชากร และ/หรือสร้าง- สรรค์วิสัยทัศน์ถึงอนาคตที่อาจเปลี่ยนแปลงไป โดย เฉพาะจากการเชื่อมต่อเครือข่ายความก้าวหน้าของ Internet of Things (IoT) ผู้วิจัยเลือกใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) โดยมีคำ�ถามต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นที่ สอดรับกับกรอบวิธีคิดในการช่วยคัดกรองข้อมูล จากการดำ�เนินการวิจัยเอกสาร (documentary research) ซึ่งมีทั้งสิ่งตีพิมพ์และข้อมูลออนไลน์ใน รูปของการรายงานข่าวและบทวิเคราะห์ หนังสือพิมพ์ รายงานการวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มในความ เป็นไปในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในครั้ง นี้ และหนังสือ ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง และอาจมีส่วน เกี่ยวข้องกับประเด็นซึ่งผู้วิจัยสนใจค้นคว้า กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ศึกษาวิจัยมีจุดมุ่ง- หมายหลักในการนำ�เสนอภาพความรู้ความเข้าใจ เบื้องต้นต่อทิศทางแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของ โลกผ่านการเชื่อมโยงตรรกะ (analytically logical correlation) ที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหา (con- tent analysis) จากการสำ�รวจวิจัยเอกสาร (doc- umentary research) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวอัน เป็นหัวข้อวิจัย โดยแม้จะมีกลุ่มเป้าหมายส่วนหนึ่ง เป็นกลุ่มคนที่อาจจะเกี่ยวโยงกับการกำ�หนดนโยบาย ในระดับใดระดับหนึ่ง แต่ดังที่ได้กล่าว ไว้บ้างแล้วว่า ผู้วิจัยได้รวมกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็นประชาชนทั่วไปเข้าไว้ด้วย การนำ� เสนอด้วยการบอกเล่าเรื่องราว และการ เชื่อมโยงภาพในลักษณะดังกล่าว จึงเป็น ความคาดหวังว่าอาจจะช่วยปูพื้นฐานให้ ผู้คนเหล่านั้นได้มีโอกาสเข้าใจความ เป็นไปของโลกในอนาคตได้เพิ่มมากขึ้น ด้วยลักษณะดังกล่าวนี่เองที่ทำ�ให้การ มุ่งหาคำ�ตอบว่าอะไรคือสาเหตุกำ�หนด ทิศทางความเปลี่ยนแปลง (cause – effect analysis) หาใช่เป้าประสงค์หลัก ของการศึกษาวิจัยเบื้องต้นในครั้งนี้ ผลการศึกษา: โลกหลายขั้วอำ�นาจที่เอียงข้าง เอเชีย กับความท้าทายต่อมนุษย์ หากขนาดฐานประชากรเป็นหนึ่งในปัจจัยสำ�คัญที่ จะบ่งบอกว่า ประเทศและ/หรือดินแดนใดจะมีศักยภาพ มากน้อยเพียงใดในการเป็นผู้มีบทบาทสำ�คัญใน การผลักดันการเปลี่ยนแปลงทิศทางของโลกใน อนาคต โลกในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้าคงมีสีสันที่ น่าจับตามองมากกว่าแค่กลุ่มผู้นำ�ชาวผิวขาวจากซีก โลกเหนือและผู้นำ�ผิวสีอ่อนจางจากเอเชียไม่กี่ประเทศ ฐานข้อมูล ค.ศ. 2015 จัดให้ไนจีเรีย มีการขยายตัว ของประชากรมากที่สุด ขณะที่ฐานข้อมูล ค.ศ. 2006 มอบตำ�แหน่งดังกล่าวให้กับอินเดีย ซึ่งในฐานข้อมูล ล่าสุดตกลงไปเป็นอันดับ 4 รองจากบังกลาเทศ (ขึ้น จากอันดับ 4) และจีน (ตกจากอันดับ 2 เพราะแนว โน้มอัตราเจริญพันธ์ุที่ลดตํ่าอย่างต่อเนื่อง) โดยมี อินโดนีเซีย (หนึ่งเดียวของประเทศอาเซียนที่ขึ้น10 อันดับแรก) ครองตำ�แหน่งที่ 5 โดยไม่มีความ เปลี่ยนแปลง ตามด้วยปากีสถาน (ตกจากอันดับ 3) บราซิล (ตกจากอันดับ 6) เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย5 สองอันดับสุดท้ายคือ สหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย เสนอทิศทางภาพความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ 11 แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย ไนจีเรีย บังคลาเทศ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ปากีสถาน บราซิล เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย คือ มหาอำ�นาจ แห่งศตวรรษที่ 22 ในเรื่องของการขยาย ฐานประชากรทั้งจากอัตราการเกิดและ การอพยพเข้าดินแดนดังกล่าว ที่อาจ จะช่วยเติมสีสันให้การประชุม สุดยอด ผู้นำ�โลกในอนาคตมีความหลากหลาย กว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเชิงชาติพันธุ์ และศาสนา บทนำ�
  • 14. เพราะประชากรที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ เป็นลูกหลานชาวผิวสีจากหลากหลายที่มาซึ่งอพยพ เข้าไปตั้งรกราก ศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Cent- er) คาดการณ์ถึงขั้นที่ว่า ใน ค.ศ. 2065 ประชากร ราว 1/3 (จากจำ�นวน 441 ล้านคน) ของสหรัฐ- อเมริกามาจากกลุ่มผู้อพยพและ/หรือผู้สืบเชื้อสาย ของกลุ่มคนดังกล่าว โดยมีสัดส่วนเชื้อสายเอเชียเพิ่ม ใกล้เคียงกับเชื้อสายแอฟริกา แม้จะยังเป็นรองเชื้อสาย Hispanics และเชื้อสายยุโรป ที่ไม่เพียงช่วยประคับ- ประคองไม่ให้ประชากรวัยทำ�งานหดตัวเร็วเกินไป แต่ยังอาจช่วยปรับภาพลักษณ์สังคมอเมริกันที่ดูจะ สัมพันธ์กับแนวคิดอนุรักษนิยมอิงศาสนา อันเป็น ฐานเสียงสำ�คัญของพรรครีพับลิกันให้ลดน้อยลง6 หากไร้แรงกระเพื่อมไหวของพลังต่อต้านที่พยายาม ฉุดรั้งภาพลักษณ์ว่า แผ่นดินสหรัฐอเมริกาไม่เพียง เป็นความสืบเนื่องของประวัติศาสตร์ ยุโรป แต่ยัง เป็นจุดสูงสุดของพลังจากตะวันตกที่ยังอาจครอง ความเป็นเจ้า (hegemon) เหนือผืนแผ่นดินโลก กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หากการยอมรับความแตกต่าง หลากหลายสัมฤทธิผลได้จริงในสหรัฐอเมริกา การจัด ทำ�นโยบายต่างประเทศและการดำ�เนินความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกากับภูมิภาคต่างๆ อาจเข้าสู่ภาวะสมดุลมากกว่าที่ผ่านมา ขณะที่ข้อมูลประชากรรัสเซียในช่วงกึ่ง ทศวรรษที่ผ่านมาให้ภาพต่างจากความกังวลใน การหดตัวของประชากรเพราะอัตราการตายสูงกว่า อัตราการเกิดเช่นที่เคยปรากฏในช่วงทศวรรษ 1990 – 2000 การขยายตัวของประชากรรัสเซียอาจ ก่อความเปลี่ยนแปลงบนแผ่นดินยุโรปได้ไม่มากก็ น้อย โดยเฉพาะเมื่อการเพิ่มขึ้นของประชากรไม่อาจ ธนาคารการพัฒนาใหม่ (New Devel- opment Bank) จุดเริ่มประกาศความ คิดต่างด้านโครงสร้างเศรษฐศาสตร์- การเมืองระหว่างประเทศ ที่มา: http://www.nomorefiatmoney- please.blogspot.com (7/3/2016) ธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่ง เอเชีย (Asian Infrastructure Invest- ment Bank: AIIB) อีกหนึ่งแรงผลักดัน จากปักกิ่ง ที่มา: http://www.news.xinhua.com (7/3/2016) กลุ่ม BRICS จะยังคงเป็นแรงโน้มถ่วง สำ�คัญในศตวรรษที่ 21 ได้หรือไม่ ที่มา: http://www.bidnessetc.com (7/6/2016)) 12 วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
  • 15. อาศัยแค่เพียงการสนับสนุนส่งเสริมค่านิยมครอบ- ครัวแนวจารีตด้วยการขึ้นภาษีการหย่าร้าง แต่ยังต้อง อาศัยสัดส่วนไม่น้อยจากการอพยพเข้ารัสเซียของ ประชากรจากเอเชียกลางที่เป็นประชากรมุสลิม และ อาจรวมถึงจากยูเครนและไครเมียในช่วง ค.ศ. 2014- 2015 ที่อาจเข้าช่วยเติมเต็มตลาดแรงงาน (ไร้ทักษะ) ได้บ้าง7 สิ่งที่ยากจะมองข้ามก็คือ ปัจจัยฐานประชากร โดยเฉพาะการขยายตัวของประชากรรุ่นเยาว์และ ประชากรวัยทำ�งานที่หมายถึงกำ�ลังแรงงานและฐาน ภาษีในอนาคต หาใช่ปัจจัยสำ�คัญเพียงหนึ่งเดียวใน การกำ�หนดฐานะและบทบาทของดินแดนต่างๆ บนเวทีระหว่างประเทศ สถานะทางเศรษฐกิจย่อม มิใช่สิ่งที่จะเพิกเฉยได้โดยเด็ดขาด และสภาพทาง เศรษฐกิจนี่เอง ที่ทำ�ให้เราได้เห็นว่า การปรากฏตัว ของสถาบันการเงิน-การธนาคารระหว่างประเทศแห่ง ใหม่ที่ไม่ได้มีผู้นำ�เป็นกลุ่มชาติตะวันตกแบบเดิม ซึ่งเคยผลักดันการเกิดขึ้นของกฎบัตรแอตแลน- ติก (Atlantic Charter) ที่มีส่วนในการสถาปนา ระบบเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods System) และ/หรือการผลักดันการยอมรับฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) สาธารณรัฐประชาชนจีนดูจะมีความโดดเด่น ในเรื่องดังกล่าวมากที่สุด การเกิดขึ้นของสองสถาบัน การเงินทางเลือกจากระบบเบรตตันวูดส์ ซึ่งล้วนใช้ ค.ศ.2016เป็นปีเริ่มดำ�เนินการล้วนมีปักกิ่งร่วมเป็น ผู้ผลักดันสำ�คัญ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของธนาคาร การพัฒนาใหม่ (New Development Bank: NDB)8 ซึ่งเคยเรียกขานกันว่า BRICS Bank เมื่อ แนวคิดดังกล่าวเริ่มปรากฏใน ค.ศ. 2013 ซึ่งนัก ลงทุนต่างชาติ (โดยเฉพาะชาติตะวันตก) ถอนตัวออก จากตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ NDB แม้จะเคยมีการ ตั้งข้อสังเกตว่า การรวมกลุ่มดำ�เนินการและโครงสร้าง บริหารของ NDB มีลักษณะเฉพาะกลุ่มที่ไม่น่าจะก่อ ผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจโลกมากนัก แต่ สำ�หรับจู กวาง เหยา (Zhu Guangyau) รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการคลังของจีนนั้น เศรษฐกิจเกิด ใหม่รวมถึงประเทศ BRICS คือพลังใหม่ ผลผลิต มวลรวม (GDP) ของประเทศเหล่านี้จะมากกว่าร้อยละ 20 ของ GDP โลกใน ค.ศ. 2020 หลังจากนั้นจะ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 แม้ว่าจะเผชิญกับความท้าทาย แต่ก็มีโอกาสใหม่ๆ ที่เรียกร้องให้เกิดการกระชับ ความร่วมมือเช่นกัน9 การผลักดันการจัดตั้งธนาคารการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB) ของปักกิ่ง ได้เริ่มเสนอ แนวคิดตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 เช่นกัน โดย ครั้งนี้ได้ขยายวงกว้างร่วมกับประเทศสมาชิกก่อตั้ง อื่นๆ 57 ประเทศ ที่มีหลายประเทศเป็นประเทศ เศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งล้วนได้รับผลกระทบจากความ ผันผวนทางเศรษฐกิจนับจาก ค.ศ. 2008 อยู่ไม่น้อย ขณะที่อีกหลายประเทศซึ่งตอบรับเป็นสมาชิกได้รับ การยอมรับว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้วรวมถึงพันธมิตร ในระบบเบรตตันวูดส์และฉันทานุมัติวอชิงตันอย่าง อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี AIIB มีเงินทุน ตั้งต้น 100 พันล้านดอลลาร์ (ร้อยละ 50 มาจากจีน) ในช่วงเวลาไม่ถึงสามปี จีนและกลุ่มพันธมิตรสามารถ ผลักดันสถาบันทางเลือกด้านการเงิน-การธนาคาร ระหว่างประเทศได้ถึงสองแห่ง ในช่วงครึ่งเดือนแรก ของมกราคม ค.ศ. 2016 ก่อนที่ AIIB จะเปิดดำ�เนิน การอย่างเป็นทางการ สมาชิก 17 ประเทศได้ให้การ สนับสนุนทางการเงินมาแล้วโดยคิดเป็นร้อยละ 50.110 ภาพความเป็นไป ณ ปัจจุบัน คงทำ�ให้เกิด จินตภาพได้ไม่ยากว่า ใช่หรือไม่ว่า จีนยังคงได้รับ การจับตามองในฐานะผู้นำ�(หรืออาจจะหนึ่งในผู้นำ�) ที่จะยังคงช่วยผลักดันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ที่หลายฝ่ายยังคงมองว่า การเติบโตของเศรษฐกิจ โลกจะยังคงเป็นเสมือนยาครอบจักรวาลในการ รักษาสารพัดปัญหาตั้งแต่ความขัดแย้งและการใช้ ความรุนแรงระหว่างประเทศ ไปจนถึงการบรรเทา ความขัดแย้งและการกระจายความเป็นธรรมใน สังคมระดับประเทศ โดยที่ผู้คนจำ�นวนไม่น้อยอาจ จะหลงลืมไปว่า สารพันปัญหาดังกล่าวเป็นเสมือน อีกด้านหนึ่งของเหรียญที่ขยายตัวร่วมไปกับกระแส เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ ที่ยากจะหลีกเลี่ยงการฉาย ภาพของความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วฉับไวทาง ด้านการเงิน เป็นเหตุให้ผู้ศึกษาวิจัยต้องเปิดพื้นที่ สอดแทรกเนื้อหาและภาพความเคลื่อนไหวดัง กล่าวลงในหลายพื้นที่ของการนำ�เสนอเนื้อหา โดย 13 แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย บทนำ�
  • 16. เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคำ�ถามแรกเพราะ ความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับไวของ ภาคการเงินเป็นสิ่งที่จะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ว่าอาจจะส่งผลกระทบ (ไม่ว่าจะมาก-น้อยเพียงใด) ต่อการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโดยภาพรวม ทั้งนี้สิ่ง ที่ผู้วิจัยต้องการจะเน้นยํ้าก็คือ วิกฤตเศรษฐกิจ ค.ศ. 2008 ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากภาคการเงิน (รวมถึงความ ผันผวนของราคาหลักทรัพย์) เป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยน สำ�คัญในการปรับโครงสร้างอำ�นาจระหว่างประเทศ ทั้งนี้ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงในเรื่องดัง กล่าวอาจสำ�คัญมากยิ่งขึ้นเมื่อนำ�การขยายตัวของ เศรษฐกิจภาคบริการบนต้นทุนการหดตัวของเศรษฐกิจ ภาคการผลิต เข้ามาเป็นส่วนร่วมในการพิจารณา การวิเคราะห์แนวโน้มจากกลุ่มคำ�ถาม แรกทำ�ให้ยากจะปฏิเสธว่า แนวคิดศตวรรษแห่งชาว เอเชีย (the Asian Century) ยังคงได้รับการให้ ความสำ�คัญร่วมไปกับความคิดที่ว่า จีนได้รับการ จับตามองในฐานะผู้ที่มีบทบาทสำ�คัญในการขับ เคลื่อนเศรษฐกิจโลก แม้จะเป็นไปท่ามกลางเสียง ตั้งคำ�ถามว่า แท้จริงแล้ว เอเชีย หมายถึงขอบเขต แค่ไหน และศตวรรษแห่งชาวเอเชียอาจไม่จำ�เป็นต้อง หมายถึงความเด่นนำ�ของชาวจีน แท้จริงนั้น แนว ความคิดที่เอนเอียงมายังโลกตะวันออก ยังครอบ- คลุมถึงแนวคิดศตวรรษแห่งแปซิฟิก (the Pacific Century) ศตวรรษแห่งเอเชีย-แปซิฟิก (the Asia- Pacific Century) ที่มีสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่นเป็นผู้ร่วมผลักดันร่วมกับแนวคิดศตวรรษ อินโด-แปซิฟิก (the Indo-Pacific Century) ที่ ทำ�ให้อินเดียได้รับความสนใจมากขึ้นในฐานะจุด ตัดสำ�คัญของยูเรเซีย (Eurasia) ที่สามารถเชื่อม ต่อไปยังแอฟริกา และละตินอเมริกาได้ ไม่ต่างจาก เส้นทางเชื่อมต่อสมัยจักรวรรดินิยม หากแต่ครั้งนี้ เป็นการพัดหวนของกระแสลมแห่งบูรพาวิถี พื้นที่ดัง- กล่าวยังอยู่ในแนวโอบล้อมของนโยบายที่จีนผลัก ดันอย่างเข้มข้นนั่นคือ“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”(One Belt, One Road) โดยเฉพาะเส้นทางสายไหมทาง ทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 (the 21st Maritime Silk Road) อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำ�กัดของกรอบการ ศึกษาวิจัยในครั้งนี้และความจำ�กัดของพื้นที่นำ�เสนอ ทำ�ให้ผู้วิจัยไม่อาจมุ่งประเด็นมาที่พื้นที่หลักของดิน แดนยูเรเซียนี้เพียงอย่างเดียว แม้จะได้เสนอ (เบื้องต้น ในครั้งนี้) ถึงความสำ�คัญของพื้นที่ดังกล่าว เช่นที่ ได้นำ�เสนอถึงความสำ�คัญของ China – Pakistan Economic Corridor (CPEC) ไว้บ้างแล้ว และแม้ กระทั่งเชื่อมโยงพื้นที่ดังกล่าวเข้ากับของเขตความ เปลี่ยนแปลงและความเป็นไปของสหภาพยุโรป รวมถึงเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน ที่เชื่อมโยงกับพื้นที่เอเชียกลาง แม้กระนั้นก็ตาม การที่ผู้ทรงคุณวุฒิชี้ถึงประเด็น ดังกล่าว ยิ่งทำ�ให้ผู้วิจัยเห็นว่า การเสนอภาพความ เปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอำ�นาจระหว่างประเทศ ในครั้งนี้ (ดังจะได้กล่าวต่อไป) ยิ่งสนับสนุนให้ผู้วิจัย ตระหนักเพิ่มขึ้นถึงความสำ�คัญของพื้นที่ดังกล่าวที่ เหมาะจะศึกษาในฐานะส่วนขยายจากการศึกษา วิจัยในครั้งนี้ หากได้รับการสนับสนุน สำ�หรับการ เชื่อมดยงกับสังคมไทยนั้น กล่าวได้ว่า ไทยควรเพิ่ม การใช้ประโยชน์และพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตกโดย เฉพาะชายฝั่ง ให้มากกว่าเป็นแค่เพียงแหล่งรองรับ ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว โดยควรกระชับความ สัมพันธ์ (มิใช่แค่เพียงกับอินเดีย) กับอินโด-นีเซีย ให้มากขึ้นกว่าการดำ�เนินการภายใต้กรอบของ อาเซียน ทั้งนี้การดำ�เนินการดังกล่าวยังอาจช่วยผ่อน คลายแรงตึงเครียด ต่อกรณีความขัดแย้งภายในพื้นที่ ภาคใต้ของไทย ในส่วนความเป็นไปของโครงสร้างระหว่าง ประเทศนั้น ผู้วิจัยยังพบด้วยว่า ดินแดนตะวันตกทั้ง สหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งในงานวิจัยนี้เน้นไปที่สห- ภาพยุโรป (European Union: EU) ต่างพยายาม ดิ้นรนแสวงหาเส้นทางรักษาโครงสร้างอำ�นาจแบบ เดิมที่มีประเทศตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา เป็นแกนนำ�ท่ามกลางการตั้งคำ�ถามถึงความแข็ง- แกร่งของสหรัฐอเมริกา ที่แม้การถือครองพื้นที่ทาง เศรษฐกิจระดับโลกจะหดแคบลง ข้อมูลสถิติถึง ค.ศ. 2015 ระบุว่า สหรัฐอเมริกาครองส่วนแบ่ง GDP โลกอยู่เพียงร้อยละ 23 และส่วนแบ่งการค้าสินค้า โลกอยู่เพียงร้อยละ 12 แต่ก็ยังเป็นแหล่งดูดซับทรัพ- ยากรบุคคลที่สำ�คัญต่อการสรรค์สร้างและขับเคลื่อน เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในมิติของเศรษฐกิจเชิงสร้าง- สรรค์ (creative economy) เพราะไม่เพียง Silicon 14 ววรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
  • 17. Valley จะยังคงโดดเด่น แต่บรรษัทอเมริกันยังคง เป็นผู้นำ�ในโลก social media และระบบ cloud เช่นเดียวกับที่ธุรกิจการเงิน-การธนาคาร (ร้อยละ 55 ของกองทุนระหว่างประเทศอยู่ในความดูแลของผู้ จัดการชาวอเมริกัน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44 เมื่อทศ- วรรษก่อนหน้า) ตลอดจนเงินดอลลาร์สหรัฐ ยังสำ�คัญ อย่างน้อยในอีกกึ่งศตวรรษในการกำ�กับทิศทาง เศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมโลกทุนนิยมที่ค่อยๆ แตก ร้าว11 อาจกล่าวได้ว่า แม้ “ศตวรรษแห่งอเมริกัน ชน” (the American Century) ยากจะหวนคืน อย่างเด่นชัด แต่ความโดดเด่นจากการดูดซับทรัพ- ยากรเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าวข้างต้น ก็ยังคง เป็นเครื่องยืนยันถึงพื้นฐานที่ก้าวข้ามได้ไม่ง่ายนัก จากการดำ�เนินการอันโดดเด่นของแนวคิดศตวรรษ แห่งอเมริกันชน ทำ�ให้การทำ�ความเข้าใจสาระ (แม้ จะเป็นไปโดยย่อ) ของรูปแบบ วิธีการ และพื้นฐาน การก่อตัวของแนวคิดดังกล่าว อาจจะเป็นประโยชน์ กับสังคมไทย ท่ามกลางกระแสคลื่นลมที่ไทย (ทั้ง รัฐไทย สังคมไทย และอาจรวมถึงคนไทยในระดับ ปัจเจก) ต้องปรับตัวรักษาสมดุล มิใช่เฉพาะระหว่าง ตะวันตก(สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป)กับตะวัน- ออก(จีนญี่ปุ่น)แต่อาจรวมถึงการรักษาความสัมพันธ์ อันสมดุลระหว่างตะวันออกด้านแปซิฟิก (จีน ญี่ปุ่น) กับตะวันออกด้านมหาสมุทรอินเดีย (อินเดีย อินโด- นีเซีย) ในการปรับจุดเน้นนโยบายมาที่อาณาบริเวณ อินโด-แปซิฟิก ดังกล่าวข้างต้น ความพยายามของยุโรปดูจะปรากฏใน ลักษณะทั้งการทบทวนเส้นทางของตน และการพยา- ยามแสวงหาหนทางในการแสดงบทบาทระดับนำ� โดยในการทบทวนบทบาทของตนเองนั้นผู้วิจัยพบ ว่า EU ได้เน้นไปที่เส้นทางแห่งความสำ�เร็จที่เคย ก้าวผ่านมา ในการใช้มิติด้านเศรษฐกิจ และการ จัดองค์กรบริหารจัดการความแตกต่างก้าวข้าม เส้นพรมแดนทางการเมืองที่มักยึดติดกับพื้นภูมิ สังคม-วัฒนธรรม ที่ดูจะสัมพันธ์กับชาติพันธุ์เฉพาะ มากกว่าการให้คุณค่ามนุษย์โดยองค์รวม ความ สำ�เร็จในเส้นทางเช่นนี้เองที่อาจเป็นต้นแบบใน การบริหารจัดการโลกในศตวรรษที่ 2112 เช่นที่มาร์ค เลโอนาร์ด (Mark Leonard) ผู้อำ�นวยการด้าน นโยบายต่างประเทศแห่งศูนย์ปฏิรูปยุโรป (Centre for European Reform) เสนอไว้ในหนังสือ Eu- rope Will Run the 21st Century (2005) แนวคิดเช่นนี้เสนอว่า ระบบบรัสเซลล์ ที่เป็นการ สังเคราะห์การให้ความสำ�คัญกับเสรีภาพทางการ เมืองบนพื้นฐานประชาธิปไตย เสถียรภาพ และ สวัสดิการทางสังคม จะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เกิด “ศตวรรษชาวยุโรปใหม่” (New European Cen- tury)13 แม้ภาพข้างต้นจะน่าสนใจเพียงใด แต่ก็ เป็นการยากยิ่งที่ผู้วิจัยจะปฏิเสธข้อจำ�กัดในหลาย ด้านของยุโรป โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากรายงาน Global Europe 2050 ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรป เป็นผู้จัดทำ� ตั้งแต่ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงฐาน ประชากร การรับมือต่อปัญหาผู้อพยพลี้ภัย ท่าที กังขาของรัฐสมาชิกต่อ บทบาท อำ�นาจ หน้าที่ ที่ ขยายเพิ่มมากขึ้นของบรัสเซลล์ ที่ไม่ต้องรับผิดชอบ อันใดต่อฐานเสียงทางการเมือง แม้จะให้ความใส่ใจ กับปัญหาสังคมและคุณภาพประชากรโดยเฉพาะ กลุ่มเยาวชนเพิ่มขึ้นอย่างมาก พร้อมกับการสร้าง และยอมรับความแตกต่างหลากหลายเพิ่มมาก ขึ้น แต่ก็ยังยากจะรับประกันว่า ระบบบรัสเซลล์จะ ทำ�งานได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางความ เข้มข้นของปัญหาผู้อพยพที่เชื่อมไปยังความกังวล ต่อสวัสดิการและแรงงาน โดยเฉพาะเมื่อผนวกเข้า กับการยากจะผสานกลมกลืนของกลุ่มวัฒนธรรม อิสลาม14 สำ�หรับสังคมไทยแล้วภาพเช่นนี้ช่วยบอก เราได้เช่นกันว่า แม้มิติทางเศรษฐกิจของยุโรปจะยัง สำ�คัญ แต่เราอาจจำ�เป็นต้องทำ�ความเข้าใจพื้นฐาน สังคม-วัฒนธรรมปัจจุบันที่หลากหลายมากขึ้น ของยุโรป ยุโรปจึงไม่ควรจะมีความหมายแค่เพียง EUภายใต้กำ�กับการของยุโรปตะวันตกตามความ คุ้นชินแต่เดิม การปรับขยายพื้นฐานการศึกษาในสังคม ให้ครอบคลุมพื้นที่และมิติที่หลากหลายยิ่งขึ้น เป็นบทสรุปที่ผู้วิจัยได้จากข้อค้นพบในการศึกษา ประเด็นปัญหาในกลุ่มที่สอง ที่มีมนุษย์เป็นตัวตั้ง ทั้งประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ และประเด็นในเรื่องของเทคโนโลยี โดยที่การศึกษา ในที่นี้ไม่ควรเป็นเรื่องของการศึกษาในระบบแต่ 15 แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย บทนำ�
  • 18. เพียงอย่างเดียว แต่ควรเพิ่มมิติและวิธีการศึกษา ให้หลากหลาย เพื่อการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีที่ ก้าวลํ้าอย่างเท่าทัน แนวทางเช่นนี้เสริมด้วยการ เพิ่มพื้นที่ทางสังคมทั้งทางกายภาพและออนไลน์ อาจช่วยกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมได้ทักษะเสริมที่ จำ�เป็นในการทำ�ความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่ รวดเร็วฉับไวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับ การที่สามารถเป็นช่องทางสำ�คัญในการแสวงหา ความรู้ความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ระหว่างประเทศดังกล่าวข้างต้น กล่าวได้ว่า ข้อเสนอต่อสังคมไทยจากภาพ รวมการศึกษาวิจัยเบื้องต้นในครั้งนี้ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย หลักอยู่ที่การเสนอภาพกว้างของทิศทางการ เปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อสังคมไทยใน ฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก ซึ่งยากจะเลี่ยง พ้นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง อำ�นาจระหว่างประเทศ (กลุ่มคำ�ถามแรก) มิพัก ต้องเอ่ยถึง ผลกระทบจากความท้าทายต่อความเป็น ไปของมนุษย์ (กลุ่มคำ�ถามที่สอง) แม้ทิศทางดัง กล่าวที่ผู้วิจัยนำ�เสนอจากการวิเคราะห์เนื้อหาจะ เป็นส่วนหนึ่งที่อาศัยพื้นฐานจากความพยายาม ของหน่วยงานที่ปรึกษาข่าวกรองแห่งชาติ (National Intelligence Council: NIC) ของสหรัฐอเมริกา ที่ทุ่มเทงบประมาณไปไม่น้อยในการระดมสรรพ กำ�ลังในการศึกษา คาดการณ์ และเผยแพร่แนว โน้มโลก (จากการตีความของสหรัฐอเมริกา) อย่าง แพร่หลายตั้งแต่ช่วงหลังสงครามเย็น จนทำ�ให้เกิด การรับรู้อยู่บ้าง (โดยเฉพาะในสังคมไทย) ถึง “Know Trends” ที่ดำ�รงอยู่และแสดงแนวโน้มที่จะสืบเนื่อง ต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม การมีภูมิศาสตร์การเมือง และยุทธศาสตร์กายภาพของไทยเป็นที่ตั้ง ทำ�ให้ผู้ ศึกษาวิจัยเน้นยํ้าถึงอินโด-แปซิฟิกว่าจะเพิ่มความ สำ�คัญขึ้นมากในอนาคต แต่ความรู้ความเข้าใจที่ เป็นปัจจุบันของไทยต่ออาณาบริเวณดังกล่าว อาจ เรียกได้ว่ายังไม่เพียงพอ และมักจะเน้นไปที่บทบาท การปรับตัวเชิงรับ (defensive adjustment) ทั้ง เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสังคมไทยกับสังคม ต่างๆ ในอาณาบริเวณดังกล่าว และความสัมพันธ์ ตลอดจนความเป็นไประหว่างในพื้นที่เหล่านั้น ไม่ ว่าจะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับไทยหรือไม่ ก็ตาม แม้งานวิจัยนี้จะยังมิได้นำ�เสนอให้สังคมไทย มุ่งมองความสำ�คัญของดินแดนเหล่านี้เป็นอันดับ แรก เพราะเนื้อหาการวิเคราะห์อาณาบริเวณเหล่า นั้นโดยตรง แต่ภาพการศึกษาในอาณาบริเวณที่ สังคมไทยคุ้นชินโดยเฉพาะสังคมตะวันตก และ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือทำ�ให้เห็นถึงพลังที่ อ่อนล้าของดินแดนเหล่านี้ และเป็นไปได้เช่นกันว่า ความอ่อนล้าของดินแดนเหล่านี้ ทำ�ให้อาณาบริเวณ อินโด-แปซิฟิก อาจดูโชนแสงขึ้นมากโดยเปรียบ เทียบ งานศึกษาวิจัยในครั้งนี้จึงเรียกร้องให้ รัฐไทย สังคมไทย และชาวไทยเพิ่มความสำ�คัญให้กับดิน แดนทางตะวันตกของประเทศที่ชิดใกล้กับอินโด- แปซิฟิก จากแนวโน้มที่อินเดียดูจะเพิ่มความสำ�คัญ อย่างยากจะปฏิเสธ รวมถึงเพิ่มความใส่ใจให้มาก ขึ้นต่อสมาชิกอาเซียนที่เชื่อมโยงกับแนวโน้มดัง ไทยอาจต้องเร่งปรับตัวอย่างน้อย ในเชิงรับ ต่อการทำ�ความเข้าใจและ สร้างความรู้ที่เป็นปัจจุบันต่อพื้นที่ ในอาณาบริเวณอินโด-แปซิฟิก ที่ไม่ เพียงอยู่ในเส้นทางโอบล้อมของ นโยบาย “One Belt, One Road” โดยเฉพาะ “the 21st Maritime Silk Road” จากจีน แต่บริเวณนี้ ยังเป็นจุดตัดของยูเรเซีย ที่เชื่อม ไปละตินอเมริกา และแอฟริกา ที่ อุปสรรคด้านการโทรคมนาคมดูจะ เริ่มลดน้อยลง...ไทยอาจต้องเห็น ถึงความสำ�คัญของ อินเดีย อินโด- นีเซีย และเมียนมาร์ ให้มากกว่าที่ ผ่านมา 16 ววรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
  • 19. กล่าว โดยเฉพาะอินโดนีเซียและเมียนมาร์ ที่เชื่อม โยงกับการโอบล้อมของผืนแผ่นดินใหญ่ยูเรเซีย และนโยบายหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (OBOR) จาก จีน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ งานวิจัยเบื้องต้นในครั้งนี้ เสนอให้สังคมไทย โดยเฉพาะผู้มีส่วนกำ�หนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ในระดับต่างๆ ปรับวิถีคิด (way of thought) ที่อาจจะได้รับการปลูกฝังให้ติดยึดจนยาก จะไถ่ถอน (mindset) จากการให้ความสำ�คัญกับ วิถีความเป็นไปของโลกที่คล้อยตาม และ/หรือตาม อย่างตะวันตก ให้หันมามองเห็นและยอมรับความ สำ�คัญของพื้นที่ดังกล่าวให้มากขึ้นไม่เพียงเท่านั้น ในเนื้อหาของบทที่ 5 ยังเสนอให้ผู้คนในสังคมไทย ปรับวิถีคิด(และ/หรือวิถีดำ�รงชีวิต)ที่มองเห็นความ สำ�คัญของการศึกษา ว่ามิใช่เป็นแค่เพียงการไต่บันได ดาราทางสังคม หากแต่ยัง(และยิ่ง)เป็นพื้นที่เรียนรู้ สำ�คัญทั้งต่อเรื่องโครงสร้างความสัมพันธ์ในระดับ ต่างๆ ไปจนถึงการเป็นพื้นที่สำ�คัญในการบ่มเพาะ คุณสมบัติของการเป็นมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่ง ควรมีทั้งสำ�นึกและความสามารถในการเผชิญรับ (และ/หรือ อาจถึงขั้นตอบโต้) ความท้าทายต่างๆ ที่ การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับไวของเทคโนโลยีผลักดัน ให้ปรากฏอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะในยุคสมัยของ Internet of Things (IoT) 17 แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของประเทศไทยและสังคมไทย บทนำ�