SlideShare a Scribd company logo
1 of 43
Download to read offline
รายงาน
อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาค
บริการ และ/หรือ เศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
การประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7
อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการ และ/หรือ
เศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
จัดโดย
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
19 มิถุนายน 2560
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ถอดความและเรียบเรียง : ปาณัท ทองพ่วง ปลายฟ้า บุนนาค และณัฐธิดา เย็นบํารุง
เผยแพร่: กรกฎาคม 2560
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
สารบัญ
หน้า
บทนา
อนาคตเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า
ได้จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด และนโยบายเศรษฐกิจควรเข้ามาส่งเสริมอย่างไร
โดย รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ 1
บทอภิปราย 15
บทสรุป 37
ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 39
บทนา
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2560 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ
มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิง
เศรษฐกิจภาคบริการ และ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า? ณ โรงแรม VIE ราชเทวี โดยมี
รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นวิทยากรบรรยายนํา และมีนักคิด นักยุทธศาสตร์
นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการเข้าร่วมระดมสมองในประเด็นของการประเมินแนว
ทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า ในฐานะแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจทางเลือกของประเทศไทย ที่
สอดคล้องกับจุดแข็งของวัฒนธรรมและสังคมไทย และมาเป็นทางเลือกนอกเหนือหรือคู่ขนานไปกับแนว
ทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งเป็นแนวทางหลักของโลก
ในเวลานี้ และที่รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้นํามาใช้ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0
ในการนี้ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้จัดทํารายงานสรุปเนื้อหาการประชุมครั้งนี้
ขึ้นเผยแพร่เป็นความรู้ ให้ผู้กําหนดและตัดสินใจทางนโยบายทั้งในภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม
นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ได้นําไปใช้ประโยชน์ต่อไป
1
อนาคตเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงเศรษฐกิจภาค
บริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า
ได้จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด
และนโยบายเศรษฐกิจควร
เข้ามาส่งเสริมอย่างไร
รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
อธิการบดีกิตติคุณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
2
อนาคตเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือ
เศรษฐกิจแบบหลั่นล้าได้จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด
และนโยบายเศรษฐกิจควรเข้ามาส่งเสริมอย่างไร
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และอธิการวิทยาลัย
รัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวเปิดประชุมและแนะนําวิทยากร
วิทยากรในวันนี้คือ ท่านอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ ท่านจะมาพูดเรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย
พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและหรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้าได้จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด และนโยบาย
เศรษฐกิจควรจะเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนอย่างไร ท่านเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ เวลานี้ก็ช่วยรัฐบาลอยู่ในบางเรื่อง และเคยเป็นอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อยู่หลายปีทีเดียว ปัจจุบัน
ดํารงตําแหน่งเป็นอธิการบดีกิตติคุณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ขอเรียนเชิญท่านอาจารย์วรากรณ์ครับ
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีกิตติคุณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ผมรู้สึกยินดีที่มีโอกาสเป็นวิทยากรในวันนี้ ผมเคยมาร่วมฟังหลายครั้งด้วยกันในกลุ่มของ
อาจารย์เอนก ซึ่งเป็นเพื่อนที่นับถือกันมายาวนานที่ธรรมศาสตร์ วันนี้ก็อยากจะเรียนเสนอบางความคิด
เรื่องเศรษฐกิจหลั่นล้านี้ที่อาจไม่ได้สมบูรณ์ ถือเป็นอาหารสมองสําหรับถกเถียงกันต่อไป
ขอพูดประเด็นแรกก่อน เรื่องการพึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการหรือเศรษฐกิจหลั่นล้า คําว่าหลั่นล้า
นั้น อาจารย์เอนกเป็นคนประดิษฐ์ขึ้นมา อาจารย์เอนกเป็นคนเก่งกาจมากในการคิดชื่อที่ฟังแล้วติดหูและ
บ่งบอกถึงคุณลักษณะที่ชัดเจน ผมก็เพิ่งอ่านบทความของอาจารย์เอนกเรื่องเศรษฐกิจหลั่นล้าเมื่อครู่นี้
ผมตีความว่าหลั่นล้านี้คงกินความไปถึงภาคบริการ พวกธุรกิจเกี่ยวกับ hospitality ท่องเที่ยว ต้อนรับ
สื่อสาร หรือที่อาจารย์เอนกใช้คําว่า สันถวไมตรี และพูดถึงเรื่องมิติต่างๆ ของภาคบริการ ผมก็เลย
อนุโลมว่าเศรษฐกิจหลั่นล้าเป็นภาคบริการ เพื่อทําให้ตัวเลขง่ายเข้า วันนี้ผมก็จะมานําเสนอเหตุผลและ
ข้อเสนอแนะว่ารัฐบาลควรทําอะไรบ้าง
3
ภาคบริการเป็นส่วนหลักของเศรษฐกิจไทยและโลก
ในส่วนแรก มาดู GDP by sectors ในประเทศไทย ในปี 2012 สัดส่วน GDP ที่มาจากภาค
เกษตรอยู่ที่ 8.4 เปอร์เซ็นต์ อุตสาหกรรม 39.2 เปอร์เซ็นต์ และภาคบริการ 52.4 เปอร์เซ็นต์ ปี 2016
สัดส่วนก็เปลี่ยนไปไม่มาก เป็นมาจากภาคเกษตร 13.3 เปอร์เซ็นต์ อุตสาหกรรม 34 เปอร์เซ็นต์ ภาค
บริการ 52.7 เปอร์เซ็นต์ คือไปพึ่งทางเกษตรเพิ่มมากขึ้น ก็ขอขยายความจุดนี้เล็กน้อย เกษตรกรรมที่ได้
ราคาดีในปัจจุบันนั้นอยู่ทางภาคตะวันออก แถบจังหวัดระยอง จันทบุรี มีการค้าขายผลไม้กันอย่าง
ร้อนแรงมาก และผลไม้ไทยก็มีราคาแพงขึ้นด้วย ตอนนี้ก็มีคนมีการศึกษาจํานวนไม่น้อยที่หันไปทําสวน
ผลไม้ ผมเคยไปดูด้วยตาตนเอง การขนผลไม้จากจันทบุรี ไปที่ฮานอย เวียดนาม และส่งไปทางจีนด้วย
ไปพบกับผู้หญิงรายหนึ่งซึ่งเป็นแม่ค้าจากเวียดนาม อยู่ในเมืองไทย 9 เดือน 3 เดือนส่งมังคุดข้ามไปที่
ฮานอยวันละ 3 ตัน ไปยังคลังเก็บใหญ่ที่นั่น และจัดส่งไปยังเมืองจีนซึ่งมีพรมแดนห่างกันประมาณร้อย
กิโลเมตรต่อไป ซื้อมะม่วงอีก 3 เดือน ไล่ซื้อตั้งแต่ตลาดไทไปยันพิษณุโลก ใช้เวลา 3 เดือนเหมือนกัน
ส่วนการซื้อลําไยที่จันทบุรีต้องจ่ายเงินสดนะครับ เพราะว่ามีหลายเจ้ามาแข่ง ทั้งจีน ทั้งเวียดนาม สรุปปี
หนึ่ง 9 เดือนอยู่ประเทศไทย เห็นชัดว่าภาคผลไม้กําลังมาแรงมาก เพราะในข้อตกลงอาเซียน+6 นั้น
ข้อตกลงหนึ่งระหว่างจีนกับกลุ่มอาเซียนก็คือการไม่เก็บภาษีอากรเรื่องผลไม้ ดังนั้น เวลานี้จึงร้อนแรง
มาก ผมสันนิษฐานว่านี่เป็นสาเหตุที่ทําให้ภาคเกษตรมีสัดส่วนมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นใน GDP
กลับมาดูที่ระดับโลก ก็พบว่าโดยเฉลี่ยนั้น ภาคบริการคิดเป็นประมาณ 63.6 เปอร์เซ็นต์ เหตุผล
ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่า GDP ส่วนใหญ่มาจากเศรษฐกิจใหญ่ๆ ของโลก และเศรษฐกิจของประเทศที่
พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ก็เป็นภาคบริการทั้งนั้น อย่างในกลุ่ม G8 หรือ G20 ที่เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดนั้น ส่วน
ใหญ่แล้วก็เป็นภาคบริการทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ของไทยโดยเฉลี่ยแล้ว สัดส่วนภาคบริการก็ถือว่ายังตํ่า
กว่าของโลก เพราะของเราอยู่ที่ 52.7 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ของโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 63.6 เปอร์เซ็นต์
เหตุใดเศรษฐกิจโลกจึงหันมาพึ่งพิงภาคบริการเป็นหลัก
1. Disruptive Technology ช่วยสนับสนุน
คําถามก็คือเหตุใดเศรษฐกิจโลกจึงเป็นภาคบริการมากขึ้น ผมก็ลองวิเคราะห์ดูว่าส่วนหนึ่งที่ทํา
ให้เป็นภาคบริการยิ่งขึ้นก็เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า disruptive technology เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่ปี 1972 เป็นต้น
มา ต้นทศวรรษ 1970 นี้เป็นช่วงเวลาที่แปลกประหลาด คือเป็นช่วงของการปฏิวัติความรู้ที่มีการโดด
ข้ามของความรู้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แล้วก็เกิด disruptive technology ขึ้นมา
ผมขออนุญาตพูดถึง disruptive technology ลึกนิดหนึ่ง disruptive technology ต่างจาก
sustaining technology เช่น รถยนต์ที่เปลี่ยนรุ่น หรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปโดยที่ไม่ได้มีอะไรที่เปลี่ยน
แบบร้าวลึก แต่ถ้าเป็นเทคโนโลยีบางอย่างที่เปลี่ยนแบบร้าวลึกนั้น มันจะเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมไปอย่าง
สิ้นเชิง ผมขอยกตัวอย่างเรื่องลวดหนาม ลวดหนามเป็นสิ่งที่ทําให้คาวบอยหายสาบสูญไป คาวบอยนั้น
หายสาบสูญไปประมาณช่วงทศวรรษ 1860-1890 เมื่อก่อนหน้าที่สําคัญของคาวบอยก็คือขี่ม้าเพื่อไล่
4
ต้อนวัวให้อยู่ในอาณาเขตที่เลี้ยงวัว พอมีคนคิดลวดหนามขึ้นมา ก็ขึงลวดหนามแทน กั้นไว้เป็นเขตๆ ไม่
จําเป็นต้องไล่ต้อนทุกวัน ยกเว้นช่วงที่เดินทางข้ามดินแดนเพื่อเอาไปขายที่ยังอาจต้องใช้การต้อน
เพราะฉะนั้น อาชีพของคาวบอยก็เลยหายไป พร้อมๆ กับที่มีรถยนต์เกิดขึ้นในประมาณทศวรรษ 1900
อันนี้ disruptive ชัดเจน หรืออย่างมีดโกนหนวด บริษัทยิลเลตเอามีดโกนหนวดแบบใหม่ออกวางขาย
ประมาณทศวรรษ 1870 ก่อนหน้านั้น มีดโกนหนวดต้องเอาไปลับ แต่พอยิลเลตทําแบบที่โกนหนวดที่มี
ก้าน มีใบเป็นสี่เหลี่ยมใส่ลงไป ขันน็อตแล้วใช้ได้เลย เทคโนโลยีในเรื่องการขายใบมีดโกนหนวดก็ต้อง
เลิกไป เพราะคนหันมาโกนหนวดแบบใหม่ อย่างนี้ก็ถือว่าเป็น disruptive technology
ในงานวิจัยของ Mckinsey Global Institute ได้ยกตัวอย่าง disruptive technology ในยุคนี้มา
หลายอย่างที่พวกเราก็คงได้ยินกัน เช่น
1) Mobile Internet นั้นเห็นชัดเจนว่าเป็น disruptive เพราะการใช้งานไม่ได้อยู่เพียง device
เดียวแล้ว แต่เชื่อมกับ device อื่นๆ ได้ด้วย
2) Automation of Knowledge Work ตัวอย่างที่ชัดเจนเช่น โปรแกรมใหม่ของซุปเปอร์
คอมพิวเตอร์ IBM Watson ที่รวบรวมอาการป่วยทั้งหมดใส่ในซอฟต์แวร์ทําเป็นเท็มเพลต ใส่อาการของ
โรคเข้าไปและสามารถวินิจฉัยออกมาว่าโอกาสที่จะเป็นโรคต่างๆ มีกี่เปอร์เซ็นต์ และบอกวิธีรักษา บอก
ตัวยาล่าสุดที่ทดลองแล้วได้ผล บอกกรณีตัวอย่างต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในโลก ข้อมูลเหล่านี้ถูกใส่เข้าไป
หมด หมอเป็นคนตัดสินใจว่าน่าจะเป็นโรคใด จะรักษาแบบใด โปรแกรมนี้มีแล้ว อีกโปรแกรมหนึ่งของ
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ IBM Watson คือในเรื่องกฎหมาย ตอนนี้อาชีพนักกฎหมายที่เขียนคําร้องหรือให้
คําแนะนําในคดีง่ายๆ อาจจะหางานทําได้ยากแล้ว เพราะโปรแกรมของวัตสันเก็บคําตัดสินและหนทางใน
การต่อสู้ของคดีความทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาย้อนหลังไป 70-80 ปี ซึ่งในระบบศาลของอเมริกานั้น การ
ตัดสินคดีใช้การอ้างอิงของเก่า เพราะฉะนั้น โปรแกรมนี้ก็จะรวบรวมเรื่องราวของคดีในอดีตไว้ครบถ้วน
บอกได้ว่าคดีจะมีโอกาสแพ้ชนะเท่าไร คดีแบบเดียวกันมีการตัดสินที่ไหน เมื่อไร อย่างไร โดยใคร เรื่อง
การทําสัญญาต่างๆ ไม่ต้องพูดถึง โปรแกรมนี้สามารถทําได้หมด นี่เป็นตัวอย่างของ Automation of
Knowledge Working ที่ชัดเจน
3) Internet of Things คือเครือข่ายของวงจรคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อถึงกันและเกิดเป็น
วงจรข้อมูลที่เรียกว่า Big Data ตัวอย่างของ Internet of Things ง่ายๆ ที่ผมเห็นในประเทศไทยเช่น เมื่อ
เราเดินเข้าไปในโรงแรมที่ปิดไฟอยู่ ไฟก็ติดเอง เช่นเดียวกับที่เวลาไข่ไก่ที่แช่ไว้ในตู้เย็นหมด ก็จะเตือน
เข้าโทรศัพท์มือถือ เพราะมีเซ็นเซอร์ที่คอยชั่งนํ้าหนักอยู่ใต้ช่องใส่ไข่ หรือวงจรสถิตสําหรับไปโรยไว้ใน
ดิน ที่จะส่งสัญญาณบอกว่าขณะนั้นดินตรงนั้นมีความชื้นเท่าไร เหมาะกับการปลูกพืชอะไร ฯลฯ ฉะนั้น
เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data นั้นสําคัญมาก เพราะนับวันข้อมูลในอินเทอร์เน็ตก็จะมีมากขึ้น
จาก Internet of Things ที่เป็นตัว generate ข้อมูล
พูดถึงเรื่องเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า หลายท่านคงทราบดีว่าตอนนี้ประเทศไทยมีหุ่นยนต์ผ่าตัดอยู่ 5
เครื่องด้วยกันชื่อดาวินชี ผมเคยเข้าไปดูที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ในการผ่าตัด ยกตัวอย่างกรณีผ่าตัดไส้
5
ติ่ง หมอจะเอาหุ่นยนต์ไปวางไว้ที่ท้องคนไข้ ผ่าท้องเป็นรอยเล็กๆ เอากล้องใส่เข้าไป หมอก็จะนั่งที่
เครื่องที่อยู่ข้างนอก ใส่แว่นตาเหมือนเล่นเกม แล้วมองเข้าไปในเครื่อง ซึ่งจะถ่ายทอดภาพเป็นสามมิติ
และขยายขนาดจากเล็กไปใหญ่ เมื่อหาจุดที่จะตัดได้ หุ่นยนต์ก็จะส่งสัญญาณให้แพทย์กดยืนยัน เมื่อกด
ยืนยันก็ตัดได้เลย การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์จึงเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะแม่นยํากว่าการผ่าตัดโดย
แพทย์ นี่ก็เป็น disruptive technology โดยแท้ สมัยก่อนการผ่าตัดแบบดั้งเดิมใช้คนผ่าเป็นรอยใหญ่
ต่อมาก็พัฒนาเป็นการผ่ารอยเล็กโดยใช้กล้องส่องเข้าไป แต่การใช้หุ่นยนต์นั้นเป็นการพัฒนามาอีกขั้น
หนึ่ง
4) ระบบการจัดเก็บข้อมูลโดย Cloud ปัจจุบันการเก็บข้อมูลของหน่วยงานไม่จําเป็นต้องมี
เครื่องเก็บข้อมูลของตัวเองแยกอีกแล้ว แต่สามารถไปเก็บรวมกันไว้ใน Server ของบริษัทใหญ่ใน
ต่างประเทศแทน สมัยก่อน ปีหนึ่งๆ ประเทศไทยเคยซื้อ Server 5-7 พันตัวต่อปี เวลานี้สํานัก
งบประมาณไม่ให้ซื้อแล้ว ให้ใช้บริการ Cloud แทน เพราะทั้งต้นทุนถูกกว่าและเก็บข้อมูลได้มากกว่า เคย
มีการตรวจสอบ Server ที่ศูนย์ราชการ มีอยู่ 2-3 พันตัว พบว่าแต่ละหน่วยงานต่างมี Server ของตัวเอง
และใช้สํารองข้อมูลจริงเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของความจุ แต่ถ้าเป็น Cloud แล้วก็ไม่ต้องจมค่าใช้จ่าย จะใช้
เท่าไรก็ซื้อความจุเท่านั้น นี่ก็เป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า disruptive แน่นอน
รถยนต์ไร้คนขับนั้น ในสิงคโปร์เริ่มนํามาใช้แล้ว หรือโดรน ซึ่งก็คือยานไร้คนขับ ซึ่งควบคุมด้วย
ปัญญาประดิษฐ์ ผมไปจอร์เจียเมื่อสองปีก่อน มีอาคารสนามบินที่สวยงามมาก เลยถ่ายรูปกัน ปรากฏว่า
เจ้าหน้าที่ทหารให้มาลบภาพหมดเลย ผมก็ถามว่าทําไม เพราะสมัยนี้ในกูเกิลก็มีภาพเหล่านี้หมดแล้ว
ทําไมต้องให้ลบอีก แต่เหตุผลไม่ใช่เรื่องนั้น เหตุผลคือเรื่องความปลอดภัย เพราะภาพกูเกิลไม่ได้เห็น
ภาพของสถานที่ครบทุกมุมที่ชัดเจนขนาดนั้น แต่ที่ถ่ายนี้เป็นภาพของตึกที่ชัดเจนมาก ถ้าถ่ายภาพตึก
สามสี่มุมอย่างชัดเจนแล้วไปเก็บไว้ในสมองกลของโดรน เวลาที่โดรนหรือมิสไซล์วิ่งไปก็จะแมทช์ระหว่าง
ภาพที่เก็บไว้ในสมองกลกับภาพของจริง เมื่อพบก็วิ่งเข้าชนได้เลย เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องความมั่นคง
ที่สืบเนื่องมาจากปัญญาประดิษฐ์
5) Next Generation Genomics คือการพยายามจะเข้าไปแก้ไขดีเอ็นเอที่บกพร่องซึ่งถ่ายทอด
ทางพันธุกรรม ในปัจจุบันได้ก้าวหน้ามาถึงขั้นที่ทําแผนที่ดีเอ็นเอได้แล้ว ตอนนี้เราจ่ายเงินเพียง 3-4 พัน
บาทก็สามารถรู้ได้แล้วว่าตัวเรามีโอกาสเป็นโรคใดบ้างจากการแค่เอานํ้าลายไปแตะ ตามแผนที่ที่รู้ว่า
บริเวณนี้ในดีเอ็นเอเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศชาย บริเวณนั้นเกี่ยวกับอัลไซเมอร์ บริเวณนั้นเกี่ยวกับ
เบาหวาน ในอนาคตต่อไปจะไปถึงขั้นแก้ไขยีนส์ได้ ไม่ใช่แค่เพียงรู้และยอมรับสภาพอย่างที่เป็นอยู่
6) Next Generation Storage มาแน่นอน ตอนนี้บริษัท Tesla ไม่ได้ผลิตแต่รถยนต์แล้ว ใน
อเมริกา หลายบ้านก็ซื้อ Tesla Storage มาเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดดในตอนกลางวัน แปะไว้ฝา
บ้าน ต่อไปในอนาคต รถยนต์ hybrid มาแน่นอน ต่อไปในอนาคตรถยนต์ที่ใช้นํ้ามันไม่ว่าดีเซลหรือ
เบนซินอย่างเดียว ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรถยนต์เพื่อนผมคนหนึ่งบอกว่าเครื่องยนต์ที่ก้าวหน้าที่สุด
6
ในตอนนี้คือเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนเบนซินนั้นล้าหลัง เพราะในวงการรถยนต์ได้ทุ่มเทค้นคว้าวิจัยเรื่อง
ดีเซลจนกระทั่งประหยัดและก้าวหน้าไปมาก เครื่องเบนซินยังสู้ดีเซลไม่ได้
7) 3D Printing เวลานี้ไม่ได้พิมพ์ออกมาเป็นกระดาษ พิมพ์ออกมาเป็นวัตถุได้เลย ออกมาเป็น
ผลิตภัณฑ์ได้เลย ผมเห็นที่ลอนดอน เขาถ่ายรูปคนที่ล็อบบี้โรงแรมคราวละ 70 ปอนด์ รุ่งขึ้นเขาจะเอา
ตุ๊กตามาให้ หน้าตาเหมือนเราทุกอย่าง ใส่รองเท้าก็เหมือนกัน สีเชือกรองเท้าก็เหมือนกัน เวลานี้ที่
เมืองไทยที่ใช้กันมากเกี่ยวกับ 3D printing ก็คือพิมพ์ที่ครอบฟันได้อย่างแม่นยํา และ 3D printing ก็ยัง
ถูกนําไปใช้ในทางการแพทย์อื่นๆ เช่น ซ้อมผ่าตัดสมอง ผ่าตัดอะไรต่างๆ
8) Advanced Material ขณะนี้มีดที่คมที่สุดไม่ใช่โลหะ แต่เป็นพลาสติก เพราะนาโนเทคโนโลยี
สามารถไป manipulate โมเลกุลได้ หรือมีแบตเตอรี่ที่ไม่ต้องซื้อ spare แล้ว ซื้อก้อนเดียวใช้ได้ตลอดก็มี
ไม่ทําออกมาขาย แต่ในด้านความรู้นั้นไปไกลแล้ว
9) Oil & Gas Recovery พวกหินเชลล์ที่นํามาสกัดนํ้ามันออกมาก็เป็นความก้าวหน้า ตอนนี้ก็
ทําให้ที่อเมริการาคานํ้ามันตก ส่วนความก้าวหน้าเรื่อง Renewable Electricity นั้นไม่ต้องพูดถึง แผง
โซลาร์นั้นเมื่อก่อนจะผลิตไฟฟ้าได้ช่วงเดียวคือเช้าหรือบ่าย แต่เวลานี้หันตามแสงอาทิตย์ได้แล้ว เพราะ
มีการนํา Internet of Things ไปใส่แผงโซลาร์ คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมอยู่จะสั่งให้แผงหันไปตามอัตโนมัติ
ตามทิศทางของแสงอาทิตย์ หรือใบพัดที่ผลิตไฟฟ้าจากลมนั้น ก็จะสามารถบิดใบตามทิศทางและ
ความเร็วลม เพื่อจะผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น
10) Disruptive Technology ในภาคการเงินการธนาคาร เวลานี้ในภาคการธนาคารมีความ
เปลี่ยนแปลงที่ disruptive มาก ตัวอย่างเช่น อาลีบาบาตอนนี้ปล่อยกู้ให้คนทั่วโลก สามารถกู้ได้ตั้งแต่
สองหยวนจนถึงพันหยวน อนุมัติเงินภายในเวลาสามนาที ไม่ต้องมีหลักทรัพย์คํ้าประกัน เพียงแค่คืน
ภายในเวลาสองปี นี่เป็นบริการกู้ยืมที่รวดเร็วมาก เพราะเวลาเป็นสมาชิกกับอาลีบาบาต้องกรอกประวัติ
อยู่แล้วว่ามีฐานเงินเท่าไร มีเงินที่ใช้จ่ายมากเท่าไรอยู่แล้ว ดังนั้นก็สามารถอนุมัติได้
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีนตอนนี้ไปไกลมาก ผมเพิ่งกลับมาจากเซี่ยงไฮ้ ที่นั่นผมเห็น
ขอทาน เขาไม่ได้เอากระป๋องเงินมาวาง แต่เอาสมาร์ทโฟนมาหงายแล้วก็เปิด QR code ไว้ คนบริจาคก็
มาสแกน QR code จะจ่ายด้วย UnionPay หรือ AliPay ก็ได้ กดเสร็จก็บริจาคเงินให้ขอทานได้ทันที ผม
เห็นคนเล่นไพ่นกกระจอกกันอยู่สามสี่คน ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือคนละเครื่องวางไว้ข้างตัว เพื่อที่จะ
จ่ายเงิน สามารถเล่นกันได้เปิดเผย ยิ่งกว่านั้น ร้ายขายผักในตลาดก็มี QR code แปะอยู่ เมื่อจะจ่ายเงิน
ก็สแกนแล้วก็จ่ายได้เลย ไม่ต้องใช้เงินสด
ในสวีเดน ที่ผมเห็น มีการใช้ธนบัตรน้อยลงมาก ใช้บัตรเดบิตแทน ไปที่ใดก็ใช้การ์ดแปะ ถ้าใคร
จะถอนเงินที่ธนาคารเกินกว่าหนึ่งร้อยยูโร ต้องโทรไปบอกล่วงหน้า เพราะธนาคารจะไม่มีเงินเตรียมไว้
ให้ และถ้าใครเอาเงินจํานวนมากไปฝากธนาคาร สมมติว่าสัก 500-600 ยูโร เอกอัครราชทูตไทยประจํา
สวีเดนบอกผมว่าต้องอธิบายว่าเอาเงินไปทําอะไร เพราะที่นั่นไม่ได้ใช้เงินสดกันมาก ที่ประเทศ
7
เอสโตเนียยิ่งแล้วใหญ่ เอสโตเนียนั้นอยู่ใกล้ๆ สวีเดน เป็นชาวไวกิ้งเหมือนกัน แต่คนไม่ค่อยรู้จักเพราะ
เคยเป็นรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียตมายาวนาน ที่เอสโตเนียมีประชากรประมาณ 1.2 ล้านคน ทุกคนเป็น
E-Citizen สามารถทําทุกอย่างได้ด้วยการ์ดใบเดียว ตั้งแต่ซื้อของจนกระทั่งจ่ายค่าปรับตํารวจ ทุกคน
สามารถเข้าไปดูประวัติของตัวเองได้ว่ารัฐบาลเก็บข้อมูลของตัวเองไว้ที่ไหนบ้าง และคนที่เข้าไปดูจะรู้
ด้วยว่าใครเข้าไปดูคนสุดท้าย ตั้งคําถามได้ มีตํารวจคนหนึ่งเข้าไปดูประวัติของผู้หญิงที่คบกัน ปรากฏว่า
ตํารวจคนนั้นถูกไล่ออก เพราะว่าลํ้าสิทธิของผู้อื่น คน 1.2 ล้านคนนี้สามารถติดต่อกับรัฐมนตรี อธิบดี ได้
ตลอดเวลา และเป็นเวลาสิบกว่าปีมาแล้วที่เอสโตเนียเลือกตั้งโดยทางออนไลน์ ไม่ต้องเดินทางมาให้
หนาว โหวตที่บ้านได้ แม้แต่หย่ากันยังทําออนไลน์ได้ แต่แต่งงานต้องไปที่สถานที่ราชการ เห็นได้ชัดว่า
disruptive technology เหล่านี้มีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติด้านการเงินการธนาคารนี้ชัดเจน
ต่อไป ถ้าประเทศไทยเป็นเหมือนประเทศอื่น อาจจะพัฒนากลายเป็นตู้ที่เอาบัตรประชาชนไปใส่แล้วก็
สามารถอ่านเครดิตบูโรด้วยตัวเองได้ว่ามีหนี้อยู่เท่าไร บัตรเครดิตมีหนี้เท่าไร มีคนอยู่ในบ้านกี่คน มีเงิน
อยู่ในประกันสังคมเท่าไร บริการเหล่านี้ก็จะมีมากขึ้นๆ และจะขยายไปตู้เอทีเอ็มด้วย โดยที่ไม่
จําเป็นต้องสร้างตู้ใหม่ ใช้ตู้เอทีเอ็มแทนเหมือนบางประเทศ การจ่ายเงินถึงกัน อย่างพร้อมเพย์นั้นที่จริง
ก็เป็นเพียงวิธีเดียวที่เราใช้ในประเทศไทย ความจริงมันมีมากมายหลายวิธี เหมือนกับ digital currency
ที่เราพูดถึงกันนั้น ความจริงมีตั้ง 400 digital currencies ในขณะนี้ที่เกิดขึ้น แล้วทุกประเทศก็คิดที่
จะต้องทํา digital currency ของตัวเองขึ้นมา ผมไปที่ธนาคารกลางของสวีเดน เขาก็ศึกษาอยู่ เขาเตรียม
ที่จะเปิด digital currency ของตนเอง โลกออนไลน์นั้นเปลี่ยนแปลงทุกวัน แต่ละคนก็คิดวิธีขึ้นมาว่าจะ
จัดระบบการเงินกันอย่างไร ซึ่งบางครั้งก็เป็นอันตราย เช่นเรื่อง Bitcoin นั้น ทําให้ไม่รู้เลยว่าใครเป็นคน
จ่าย และจ่ายให้ใคร หรือจ่ายที่ใด เพราะฉะนั้น ทําให้คอร์รัปชั่นหรือเรียกค่าไถ่เองเกิดขึ้นได้มาก นี่ก็เป็น
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี
ทั้งหมดนี้เป็นความก้าวหน้าของ Disruptive Technology ซึ่งเป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่ผมเห็นว่าทํา
ให้โลกหันมาสู่เศรษฐกิจภาคบริการ
2. ความตันของ Factory Economy
เหตุผลที่สองที่ทําให้เศรษฐกิจโลกหันมาพึ่งภาคบริการมากขึ้น คือความตันของ Factory
Economy หมายความว่าถ้าเราจะพึ่งพิงการผลิตสินค้าราคาถูกเพื่อมาสู้กับต่างประเทศ เพื่อส่งไปขาย
ต่างประเทศ หรือผลิตชิ้นส่วนราคาถูกที่เราเชี่ยวชาญ อย่างที่เราทําอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ซึ่ง
เรากว้างขวางมาก แต่เราเห็นภาพตอนนี้แล้วว่ามันมาถึงทางตัน เพราะจะมีคนที่ผลิตได้ถูกกว่าเราและ
เทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้น หนทางรอดของคนในตลาดก็คือหันมาพึ่งพิงภาคบริการ
มากกว่าจะไปทําโรงงานเพื่อผลิตของต้นทุนตํ่าแบบในอดีต ปัจจุบันเรามีเวียดนามมาแข่งกับเรา ผลิตได้
ถูกกว่าเรา ค่าจ้างถูกกว่าเรา ไม่เหมือนเมื่อสามสิบปีก่อนที่เราทําได้ถูกที่สุด เพราะฉะนั้น ความตันตรงนี้
ผลักดันให้ต้องดิ้นรนไปสู่ภาคบริการ
8
3. Neo-Liberalism
เหตุผลที่สามก็คือ Neo-Liberalism หรือลัทธิทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ ตั้งแต่ทศวรรษ
1980 เป็นต้นมาความคิดของคนในโลกนี้ก็หันไปสู่ความเปิดกว้างของตลาดเสรี ไม่ว่าจะเป็น
Deregulation Privatization การใช้ตลาดเสรี การลดบทบาทของภาครัฐ แนวคิดแบบนี้ทําให้เกิดความ
คล่องตัวมากขึ้น ทําให้ภาคบริการเข้ามาเป็นฐานของเศรษฐกิจได้ ไม่จําเป็นต้องพึ่งพิงภาคอุตสาหกรรม
เหมือนที่เคยเป็นมายาวนาน
4. ขนาดของการผลิตและเทคโนโลยีทุกระดับ
เหตุผลที่สี่คือ ขนาดของการผลิตและเทคโนโลยีทุกระดับ เมื่อมีการผลิตและเทคโนโลยีทุกระดับ
เกิดขึ้น ก็ทําให้มีบริการที่เกี่ยวเนื่องต่อมาด้วย เช่น การท่องเที่ยวของเราที่คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว 32
ล้านคนในปีนี้ มันก็ไม่ได้มีแต่การท่องเที่ยวที่เราเห็น มันจะมีอย่างอื่นที่ตามมาด้วย เรื่องอาหารการกิน
เรื่องการผลิตของมาขายนักท่องเที่ยว หรือบริการอื่นๆ ที่เพิ่มตามมา เวลามีการผลิตทุกระดับ ก็ต้องมี
ภาคบริการเสริมขึ้นมาทั้งสิ้น เช่น เราสร้างพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวขึ้นให้คนเข้ามาดู ก็ไม่ได้หมายถึงจะมีตัว
พิพิธภัณฑ์อย่างเดียว แต่ยังมีภาคบริการเข้ามาเกี่ยวพัน เช่น ร้านอาหาร ร้านนํ้า หรือเรื่องการท่องเที่ยว
ที่ไปไกลกว่านั้น ที่ฟิลิปปินส์กับออสเตรเลียมีพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่สร้างภาคบริการเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่า
เชื่อ คือคนออสเตรเลียชอบมานอนในโรงแรมที่อยู่ใกล้บ้าน เพราะเขาไม่อยากล้างจาน ไม่อยากทําความ
สะอาดบ้าน แล้วก็รวมเพื่อนมาอยู่ที่โรงแรมด้วยกัน จุดประสงค์ของคนออสเตรเลียส่วนใหญ่ก็คือ เมา
ตั้งแต่เช้า ไปจนบ่าย ถึงคํ่า โดยที่ไม่ต้องกลัวตํารวจจับ เมาแล้วก็นอนที่โรงแรมเลย ในมะนิลา ฟิลิปปินส์
ก็ทําแบบเดียวกัน ประเทศไทยยังไม่ค่อยมีใครทําแบบนี้ แต่ในอนาคตอาจจะมีคนไทยที่เบื่ออาจจะ
เปลี่ยนบรรยากาศมานอนโรงแรมบ้างแม้ว่าบ้านจะอยู่ติดกับโรงแรมก็ตาม ก็จะทําให้เกิดภาคบริการ
เพิ่มขึ้น โดยสรุปในประเด็นนี้คือพอเกิดการผลิตหรือเทคโนโลยีบางอย่างก็ทําให้เกิดภาคบริการเพิ่มขึ้น
ตามมา
5. ภาคบริการมีความยืดหยุ่นและหลากหลาย
ลองดู Informal Sector ของบ้านเรา เมื่อมีนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มเป็น 5 ล้านคน ภาคบริการขนาด
ใหญ่ก็เกิดขึ้นมามากมายทันที นี่คือความยืดหยุ่นคล่องตัวของภาคบริการ ถึงแม้คนจีนจะเข้ามาทําธุรกิจ
เองในภาคบริการ ส่วนความหลากหลายนั้น ภาคบริการนั้นเกี่ยวเนื่องถึงหลายสิ่ง เอาแค่อาหารอย่าง
เดียว จะต้องมีคนไปหาวัตถุดิบ คนส่งต่อ คนขาย คนติดตามดูแล มันไล่ไปหมด แล้วงานเหล่านี้ก็มี
เพิ่มขึ้น ผมคิดว่าในปัจจุบันนี้ มูลค่าในภาคการท่องเที่ยวของเราเห็นบอกว่าจะถึง 3 ล้านล้านบาท แต่
ความจริงแล้ว มันสร้างมูลค่าเกี่ยวกับภาคบริการที่ตามมาอีกมากมาย เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการท่องเที่ยว
นั่นเองที่พยุงให้เศรษฐกิจของเราพออยู่ได้ในปัจจุบัน
ผมคุยกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเมื่อสองวันก่อน เขาบอกว่าของเรามี
นักท่องเที่ยว 32-34 ล้านคน มาเลเซียก็มีนักท่องเที่ยว 32-34 ล้านคน แต่เขาบอกว่าตัวเลขของมาเลเซีย
9
เป็นตัวเลขที่ดูของไทยก่อน แล้วก็เอาตัวเลขของเขามาปรับตาม คือเขาเอาตัวเลขของการข้ามชายแดน
มารวมด้วย เพราะว่าแต่ละวันจะมีคนมาเลเซีย คนสิงคโปร์ ข้ามสะพานจากมาเลเซียไปทํางานที่สิงคโปร์
วันหนึ่งเป็นหมื่นเป็นแสนคน ถ้าบวกตัวเลขข้ามไปข้ามมาแบบนี้ต่อปีก็ถึง 32 ล้านคน แต่ความจริงแล้ว
ไม่ได้เป็น “นักท่องเที่ยว” ในความหมายเดียวกับประเทศไทย ญี่ปุ่นเองนักท่องเที่ยวตอนนี้ก็เพิ่มขึ้นถึง
24 ล้านคนต่อปีแล้ว เชื่อว่าจะทะลุ 30-40 ล้านคนในไม่ช้า ญี่ปุ่นพึ่งมาค้นพบว่าภาคบริการ ภาค
ท่องเที่ยวของตน เป็นภาคเศรษฐกิจที่มีศักยภาพที่แอบซ่อน ตอนนี้เราจะเห็นว่าบ้านเรือนต่างๆ ของ
ญี่ปุ่นที่เมื่อก่อนไม่ใช่ร้านค้า เวลานี้เปลี่ยนจากบ้านกลายเป็นร้านขายของไปหมดแล้ว เพราะว่าภาค
บริการสามารถปรับได้รวดเร็วคล่องตัวมาก
โครงสร้างและนโยบายของรัฐควรสนับสนุนและส่งเสริมเศรษฐกิจหลั่นล้า/
บริการอย่างไร
โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ
ผมคิดว่าเรื่องดิจิทัลเป็นเรื่องสําคัญมาก ปฏิเสธไม่ได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานของเราต้องทําให้เป็น
ระบบที่ส่งเสริมดิจิทัล โครงสร้างอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์หมู่บ้านที่กําลังทํา ตอนนี้เปิดใช้ไปแล้ว 200
หมู่บ้าน และในที่สุด เกือบทุกหมู่บ้านในประเทศไทยก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์เหล่านี้ได้
แต่คําถามที่เราต้องถามคือ แล้วอย่างไรต่อ ถ้ามีบรอดแบนด์ในหมู่บ้านแล้วจะช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น
อย่างไร หรือการมีข้อมูลต่างๆ มากขึ้นจะเป็นประโยชน์กับการดํารงชีวิตของคนเหล่านี้หรือเปล่า แต่
แน่นอนว่าเราจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย
โครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมายและระเบียบ
มีคนบอกผมว่า หากนับจํานวนกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เรามีตอนนี้มีอยู่ประมาณแสนกว่า
ฉบับ แล้วทุกวันก็จะมีคนผลิตกฎหมายใหม่ออกมาอีกตลอดเวลา กระทั่งคนเขียนเองก็จําไม่ได้ สิ่งที่ตลก
คือ เราก็ยังพูดกันว่าทุกคนต้องรู้กฎหมาย รวมทั้งที่เกิดขึ้นมาใหม่ด้วย ทั้งแสนฉบับเราต้องรู้หมด
มิฉะนั้นจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มิได้ เรื่องรูปแบบการบริหารในอนาคตนั้น ผมคิดว่าเราต้องหารูปแบบ
การบริหารใหม่ที่สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่ทําให้เราสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ สุดท้ายคือ
กระบวนทัศน์ (Mindset) สําคัญมาก ผมช่วยองค์การมหาชนอยู่สองแห่ง สองแห่งนี้ต่างกันมาก องค์การ
มหาชนแรกนั้นทํางานด้วยความจํากัดมาก เพราะบุคลากรที่ทํางานอยู่นั้นเดิมเป็นข้าราชการซึ่งย้ายจาก
กระทรวงมายังองค์การมหาชนแห่งนี้ วิธีการคิดยังเป็นแบบเจ้าขุนมูลนายอยู่ คิดว่าตัวเองจะได้อะไรจาก
ระบบ มากกว่าคิดว่าตัวเองให้อะไรกับระบบ ในขณะที่องค์การมหาชนอีกแห่งหนึ่งเป็นองค์กรที่ไม่ได้มา
จากราชการ และมีความคิดที่แตกต่างออกไป คือคิดแต่ว่าจะทําอะไรที่ทันสมัย ที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
มากกว่าคิดว่าตัวเองต้องการได้อะไรจากระบบ ผมคิดว่าการปฏิรูปนั้น ความจริงไม่ได้อยู่ที่การปฏิรูป
กฎหมาย การปฏิรูปที่จริงคือการเปลี่ยนแปลงคน ทั้งวิธีการคิดและพฤติกรรม แต่ถ้าเราคิดว่าการปฏิรูป
คือการเปลี่ยนแปลงกฎหมายนั้น ผมคิดว่ายังไปไม่ถึงขั้นสุด สูงสุดต้องเปลี่ยนแปลงคน
10
การสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์/หลั่นล้าด้วย “ทุน” ทางสังคมและวัฒนธรรม
ผมอยากจะกล่าวถึงอีกเรื่องหนึ่ง คือ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่คนกล่าวถึงกันมาก ผมคิดว่า
เศรษฐกิจสร้างสรรค์จะเป็นตัวส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจหลั่นล้าของอาจารย์เอนก ถ้าพูดถึง
เศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้นก็ใช้หลักการสร้างมูลค่า ใช้ทรัพยากรเท่าเดิมหรือน้อยลง ใช้ความคิดสติปัญญา
ให้มากขึ้น นําประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ผมเคยยกตัวอย่างให้ผู้ว่าราชการ
จังหวัดบางจังหวัดฟัง ในโรงเรียนของกระทรวงมหาดไทย ว่าที่สมุทรสงคราม (แม่กลอง) นั้นน่าจะมีบ้าน
เกิดของอิน-จัน หรือที่ชาวอเมริกันรู้จักในนามของ Siamese Twin ในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น คนอเมริกันชื่อ
Hunter มาซื้อเอาอิน-จัน ซึ่งเป็นแฝดที่มีร่างกายติดกันแต่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งมีอยู่น้อยมากในสมัยนั้น ไป
จากพ่อแม่ที่ริมแม่นํ้าท่าจีน เอาไปออกงานละครสัตว์ที่อเมริกา คนก็มาดูกันมากเพราะไม่เชื่อว่ามีคนที่
ร่างกายติดกัน ก็ปรากฏว่าคนอเมริกันรู้จัก ไซมีส ทวิน ดีมาก ดีถึงขนาดที่คําว่า Siamese Twin
กลายเป็นคํานามทั่วไปที่ใช้เรียกอะไรก็ตามที่มีลักษณะตัวติดกันแต่หัวแยกออกเป็นสอง แต่ที่ผ่านมาคน
ที่ไปเที่ยวแม่กลองนั้นรู้จักอยู่สองอย่างคือ เอื้อ สุนทรสนานกับหิ่งห้อย แต่ถ้าเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้น
ต้องสร้างให้อิน-จันเป็น “แบรนด์” ของจังหวัดไปเลย จําลองบ้านเกิดของเขาขึ้นมา เหมือนที่วอชิงตัน ดีซี
บ้านเกิดของจอร์จ วอชิงตัน อายุ 250 ปี ก็ทําเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ตราบใดที่ถ่ายภาพแล้วมีป้ายบอกว่า
เป็นบ้านเกิดของอิน-จัน ผมเชื่อว่ามีคนไปเที่ยว ซึ่งเราไม่ได้ทําแบบหลอกลวง แต่ต้องยืนยันโดย
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้ TPBS เคยไปถ่ายสารคดีเรื่องตระกูล Bunker ที่รัฐนอร์ท แคโรไล
นา ซึ่งเป็นลูกหลานของอิน-จัน มาร่วมงานกันเป็นร้อยคน เพราะอินนั้นแต่งงานกับพี่สาว ส่วนจัน
แต่งงานกับน้องสาว มีลูกหลานออกมาเยอะแยะ เรื่องนี้เป็นตํานานที่คนอเมริกันที่มีการศึกษาใครๆ ก็
รู้จัก แต่คนที่มาประเทศไทยจํานวนมาก ไม่รู้ว่า Thailand กับ Siam นั้นคือประเทศเดียวกัน ผมมีเพื่อน
สนิทหลายคนที่ไม่รู้เลยว่า Thailand กับ Siam คือประเทศเดียวกัน พอรู้ก็ตื่นเต้นมาก เพราะ Siam ใน
ความรู้สึกของฝรั่งนั้นมีลักษณะ exotic ไม่ว่าเรื่องของ Siamese Twin Siamese Cat ฯลฯ แต่ว่าเรายัง
ไม่ได้เอาเรื่องราวเหล่านี้มาทําให้เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เรื่องราวและสติปัญญานั้นสามารถดึงดูดความ
สนใจของคน และทําให้สามารถขายบริการหรือสินค้าได้ดียิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างคนที่ไปเที่ยวประเทศเช็ก (Czech) นั้น จะต้องไปดูปราสาทแดร็กคิวล่า ซึ่งแดร็กคิว
ล่านั้นไม่มีตัวตนอยู่จริง เป็นนิยาย แต่คนก็เอามาจินตนาการว่ามีจริง และต้องไปดูคฤหาสน์ของแดร็กคิว
ล่า ผมก็คิดว่าเหตุใดเราไม่ทํา “แม่นากพระโขนง” ให้เป็นผีประจําอาเซียน ให้เป็นแบรนด์เนมของผี ที่คน
อาเซียนเมื่อนึกถึงผีเมื่อไร ก็ต้องนึกถึงแม่นากพระโขนง ผมว่าเราสามารถสร้างเงินได้อีกมาก และนี่คือ
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งต้องมีเรื่องราวและประวัติศาสตร์อยู่เบื้องหลัง คล้ายกับญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ ซึ่ง
เวลาที่ไปเที่ยวที่ใดจะมีเรื่องราวที่เล่าถึงสถานที่นั้นโดยเฉพาะที่ทําให้คนศรัทธา สมมติบอกว่านํ้าตกที่
เชียงใหม่แห่งหนึ่ง มีแท่นหินแห่งหนึ่งที่นํ้าตกนั้นเป็นแท่นหินที่สาวเครือฟ้ากระโดดฆ่าตัวตายหลังจาก
เรือโทพร้อมไม่มาตามนัด ซึ่งเรื่องสาวเครือฟ้าเป็นนิยายเก่าแก่ของหญิงสาวชาวเหนือที่รักกับหนุ่มชาว
ใต้แล้วไม่สมหวัง แท่นหินนั้นจากที่ไม่เคยมีคุณค่าเลย ตอนนี้ก็กลายเป็นมีคุณค่า คนก็ปีนขึ้นไปดูแท่นที่
สาวเครือฟ้ากระโดดลงมาฆ่าตัวตาย หรือตอนผมยืนอยู่ใกล้ๆ กับประตูชัยของฝรั่งเศส เห็นแท่นซีเมนต์
11
ธรรมดาก็ไม่รู้สึกตื่นเต้นอะไร แต่เมื่อมัคคุเทศก์บอกว่าที่ที่คุณยืนอยู่นั้น เมื่อสองร้อยกว่าปีมาแล้ว มี
กิโยตินตั้งไว้ โรเบสปิแอร์หรือมารีอังตัวเนตต์ก็ถูกกิโยตินตัดหัวที่นี่ สถานที่ตรงนั้นกลายเป็นสถานที่
ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาทันที ผมไปเที่ยวที่ซีเรีย เราไปดูเมืองโรมัน ซึ่งเวลานี้ไม่ทราบยังอยู่หรือโดนระเบิดพังไป
แล้ว เป็นแหล่งเดียวที่มีหินอ่อน เป็นเมืองโรมันที่สมบูรณ์ที่สุด เห็นแม้กระทั่งร่องเกวียนที่สึกอยู่บนถนน
สองพันกว่าปีมาแล้วยังเห็นรอยของล้อเกวียนที่วิ่งไปบนถนน เมื่อคนมาดูแล้วเกิดอารมณ์ความรู้สึกตาม
แต่จะเกิดความรู้สึกร่วมได้ก็ต้องเกิดจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้คนรู้เรื่องราวด้วย
อีกเรื่องหนึ่งที่ผมขอยกตัวอย่างคือ คนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอายุประมาณ 50 ปี
เคยบอกผมว่า มาเที่ยวเมืองไทย อยากมาเห็นบ้านของยามาดะ นางามาสะ ซึ่งก็คือออกญาเสนาภิมุข ที่
เป็นหัวหน้าซามูไรสมัยพระนเรศวร เพื่อนผมคนนี้เล่าว่าในบทเรียนญี่ปุ่นที่เขาเรียนสมัยเด็กนั้น ยามาดะ
มีชีวิตที่โลดโผนมาก เคยไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและถูกวางยาพิษตาย เขาก็อยากจะไปเห็น
บ้านที่นครศรีธรรมราชของยามาดะ ถ้าหากเราไปหาหรือจําลองบ้านนั้นขึ้นมาใหม่ แล้วทําป้ายเขียนว่า
เคยเป็นจวนเจ้าเมืองยามาดะ ผมเชื่อว่าจะมีคนญี่ปุ่นไปดูกันมาก เพราะคนญี่ปุ่นรุ่นเก่าเขาเรียนเรื่อง
ยามาดะจากแบบเรียน นี่คือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ผมคิดว่าเราสามารถทําได้อีกมาก เพราะเป็นสิ่งที่
สามารถสร้างมูลค่าได้จากของที่มีอยู่
ในนิยามของ UNCTAD ต้นทุนของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมตั้งแต่มรดกทางวัฒนธรรม
จิตรกรรม ศิลปะการแสดง การพิมพ์ การกระจายเสียง ฟิล์ม ดิจิตอลคอนเท็นท์ แฟชั่นดีไซน์
เครื่องประดับ สถาปัตยกรรม ฯลฯ มีการคํานวณกันครั้งหนึ่งเมื่อ 5-6 ปีก่อน พบว่ามูลค่าที่เกี่ยวพันกับ
กิจการเหล่านี้อยู่ที่ประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ไทย ผมคิดว่าตัวเลขนี้ยังน้อยเกินไป ถ้านับว่าสิ่ง
เหล่านี้ยังไปเกี่ยวพันกับการบริการอื่นๆ อีกมาก ซึ่งหลายอย่างในนี้เกี่ยวพันกับเศรษฐกิจหลั่นล้า ผมเชื่อ
ว่าจะสร้างมูลค่าได้มากและเป็นของที่ทําได้ไม่ยากจนเกินไป
หากเราลองพิจารณาดู มีหลายตัวอย่างมากของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ถ้าคนไทยคิดได้ จะทํา
ประโยชน์ได้มาก ที่ผ่านมาที่เราคิดได้ก็มีเช่นรถอีแต๋น เรือหางยาว เป็นของเราที่เราคิดขึ้นมาเอง ใน
ต่างประเทศก็ดูตัวอย่างได้ อย่างกระเป๋ามีล้อนั้นเป็นเรื่องอัศจรรย์มาก ผมไปอ่านประวัติมา มนุษย์ใน
โลกนั้นรู้จักล้อมาประมาณห้าพันปี ตั้งแต่ในการสร้างปีระมิด สร้างนครวัดเมื่อหลายพันปีที่แล้วก็ใช้ล้อ
เป็นลูกรอกแบกหิน แล้ว กระเป๋าเดินทางมีล้อนั้น ความจริงมีมาแล้วตั้งแต่ประมาณปี 1970 แต่เป็นแบบ
ลากตามแกนนอน แต่พอถึงปี 1980 มีกัปตันคนหนึ่งทํากระเป๋ามีล้อแบบที่เราเห็นทุกวันนี้ คือลากแบบ
สองล้อ เขาประดิษฐ์ขึ้นมาเอง คนก็ถามว่ากัปตันซื้อมาจากที่ใด เขาก็เลยลาออกจากการเป็นกัปตันของ
สายการบิน Northwest Airline มาตั้งบริษัทชื่อ Travelpro เวลานี้ Travelpro เป็นบริษัทที่ใหญ่มากของ
โลก นับจากนั้นโลกก็ใช้กระเป๋าลากมาจนถึงทุกวันนี้ แล้วก็ลอกเลียนแบบไปผลิตกันทั้งโลก และพัฒนา
ต่อยอดไปอีก คือทั้งล้อและกระเป๋านั้นเป็นเรื่องธรรมดามาก แต่ก่อนหน้านั้นไม่เคยมีใครเอาของสอง
อย่างนี้มาติดกัน
12
อีกตัวอย่างหนึ่งคือหม้อหุงข้าวไฟฟ้า หลายท่านอาจจะจําได้ว่าประมาณ พ.ศ.2500 เศษ หม้อหุง
ข้าวไฟฟ้าเข้ามาในบ้านเรา หม้อหุงข้าวไฟฟ้านั้นเริ่มมาจากสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งญี่ปุ่นหุงข้าว
ด้วยไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเหล่านี้ทําให้นํ้าข้าวที่ให้สุนัขกินหรือไม้ขัดหม้อที่เอาไว้นวดเด็กไทยมา
หลายร้อยปีหายไป เพราะตอนนี้ก็แค่กดปุ่มเท่านั้นเอง นี่ก็เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์
หรือมาดูมวยไทย มวยไทยนั้น ถ้าดูประวัติศาสตร์ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่ามวยไทย มีแต่มวยที่อยู่ใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา คนเขมรก็ชกมวยแบบเรา คนลาวก็ชก คนพม่าก็ชก แต่ไทยนํามาสร้าง
มูลค่าหรือทําเป็นการพาณิชย์ (commercialized) ก่อนคนอื่น กล่าวคือหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์สร้างเวทีราชดําเนินขึ้นมา หลังจากนั้นก็มีค่ายมวยเกิดขึ้น เช่น
ยนตรกิจ และอื่นๆ ก็เลย commercialized กลายเป็นเรียกว่ามวยไทย เวลานี้เลยกลายเป็นธุรกิจใหญ่โต
ถ้าไปดู Thai Fight ชกไฟท์หนึ่งหนึ่งล้านบาท เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ชัดเจนมาก แต่เราอาจจะทําถูก
หรือผิดผมก็ไม่ทราบที่เราไม่ standardize มวยไทยเหมือนกับเทควันโด ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
กลายเป็นมวยพันๆ แบบ ทั่วโลก
อาหารไทย อาหารไทยนั้นเป็นสิ่งที่ปนกันหมด มาจากทุกชาติ คนไทยเอามาปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงจนเป็นอาหารไทย และเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยแท้ ผมไปร้านอาหารอยู่ร้านหนึ่งเมื่อสัก
สองปีมาแล้ว ชื่อว่าร้านนํ้า อยู่ที่โรงแรมสุโขทัย แพงมาก เป็นร้านอาหารมิชลิน เขาเอาตําราอาหารมา
จากหนังสืองานศพ ที่เป็นที่นิยมของคนไทยสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่จะพิมพ์ตํารากับข้าวของ
บรรพบุรุษของคนในครอบครัวที่เสียชีวิตไปแล้ว เขาไปค้นเอาตําราตรงนั้นมาทําอาหาร ที่ประทับใจผม
ที่สุดคือเขาเอามะม่วงดิบมาหั่นเฉียงๆ แบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน แล้วมีพริกกะเกลือที่มาจิ้มกับมะม่วง
สีเขียวเหมือนกัน ผมก็ดูแล้วร้องโอ้โหว่าเอาสีเขียวใส่ลงไป ใครจะไปกิน แต่เจ้าของร้านซึ่งเป็นคน
ออสเตรเลียแต่มาแต่งงานกับคนไทยบอกว่า ที่เห็นเขียวนั้น เพราะเอาผิวของมะกรูดมาหั่นละเอียดแล้ว
ตํากับพริกกะเกลือ สีเขียวนั้นสอดคล้องกับสีมะม่วง และรสชาตินั้นทําให้ผมประทับใจมากว่าเป็น
เศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยแท้ คือเป็นของไทยแบบดั้งเดิมแต่สามารถเอามาทําให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
สุดท้ายคือพระเครื่อง เมื่อคุยกับคนในวงการพระเครื่อง ผมตกใจมาก ผมไปที่ศูนย์ราชการเมื่อ
อาทิตย์ที่แล้ว ในฮอลล์ที่ใหญ่เกือบเท่าสนามฟุตบอล เกือบครึ่งหนึ่งมาประกวดพระเครื่องกัน ผู้คนมากัน
มืดฟ้ามัวดิน คนไทยทั้งนั้น เต็มไปหมด ผมก็เดินเข้าไปเลียบๆ เคียงๆ ถามเขาด้วยความอยากรู้ เขา
บอกว่างานนี้ไม่ได้จัดแค่เฉพาะวันนั้นวันเดียว แต่มีทุกอาทิตย์ ความสนใจพระเครื่องในเวลานี้ขึ้นสูงมาก
เพราะไม่ได้เพียงแต่นับถือและเอามาแขวน แต่ว่ามันกลายเป็นสินค้าส่งออกด้วย คนจีนเข้ามาเช่าเยอะ
ผมไปเที่ยวในอาเซียน ผมก็ถามคนเขมร คนลาว คนพม่า คนเหล่านี้ไม่แขวนพระ เขาจะแขวนตะกรุด
หรืออะไรต่างๆ มีคนไทยอยู่ชาติเดียวในอาเซียนที่แขวนพระ แต่เวลานี้ ผู้นําลาว ผู้นําเขมร ก็แขวนพระ
สมเด็จ แต่คนทั่วไปนั้นจะไม่แขวนพระ เพราะเขากลัวว่าเวลาทําอะไรไม่ดีแล้วจะเสียกับตัว แต่คนไทย
เราแขวนพระมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ ถ้าไปเที่ยวต่างประเทศ อยากจะรู้ว่าใครเป็นคนไทยนั้นดูไม่
ยากเลย ดูที่คอ ถ้าเป็นพระนั้นร้อยทั้งร้อยเป็นคนไทย และถ้าเวลาเราไปเที่ยวแล้วไม่อยากให้เขารู้ว่า
เป็นคนไทย ให้เอาพระแอบซ่อนไว้ในเสื้อ เขาก็จะไม่รู้ว่าเป็นคนไทย พระเครื่องเป็นเอกลักษณ์ของคน
13
ไทยที่กลายเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไปแล้ว ผมว่าไม่มีดินที่ใดที่มีราคาแพงเท่าพระเครื่อง ไม่ถึงคิวบิกนิ้ว
ราคาเป็นหลายสิบล้าน เพราะว่าเป็นสินค้าที่ขึ้นอยู่กับความพอใจของคน
ผมคิดว่าเกาหลีใต้เป็นตัวอย่างของประเทศที่ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ดี ผมเองก็เป็นแฟน
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้ และเป็นแฟนไม่ว่าจะเป็นดีวีดี พล็อตเรื่อง การออกแบบเสื้อผ้า
มรดกวัฒนธรรม เพลง นักร้อง นักแสดง การท่องเที่ยว ในความรู้สึกของผม จากการศึกษา
ประวัติศาสตร์สิ่งที่คนเกาหลีใต้ต้องการคือการยอมรับ ถ้าดูแผนที่ เราจะเห็นว่าประเทศเกาหลีใต้อยู่ตรง
ปลายคาบสมุทร ถ้าไม่ทําตัวเองให้มีคุณค่าแล้ว ตกทะเลแน่นอน เกาหลีนั้นเคยเป็นเมืองขึ้นญี่ปุ่นโดย
สมบูรณ์ตั้งแต่ปี 1910 – 1945 มหาวิทยาลัยโซลนั้นญี่ปุ่นก็เป็นคนตั้งขึ้นมา เกาหลีใต้จึงเป็นตัวอย่างของ
เศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือเรียกได้ว่าเป็นเศรษฐกิจหลั่นล้าโดยแท้ ลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมาของวัฒนธรรม
เกาหลีใต้นั้นขายได้มาก มีคนบอกผมว่าเวลานี้ช่างตัดผมเกาหลีใต้มาตัดผมที่สยามสแควร์ ครั้งละ 2-3
หมื่นห้าพันบาท มีคนไปตัดไม่เว้น หรือหากจะผ่าตัดเสริมความงาม ก็ไม่ต้องไปเกาหลีแล้ว อยู่เมืองไทย
ก็มีหมอเกาหลีบินมาทําให้ บริการอย่างนี้เองเป็นสิ่งที่ผมเชื่อว่าทําเงินให้กับเกาหลีใต้มากมาย แล้ว
กระแสนิยมเกาหลี หรือ K-wave ก็ไม่ได้มีคนบ้าคลั่งเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่บ้าคลั่งเกือบทั้ง
โลก
ถามว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้นมาจากอะไร ก็มาจากทุน บวกกับ New DNA ทุนนั้นมาในรูปของ
ทุนมนุษย์(Human Capital) ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ทุนทางสังคม (Social Capital) ทุน
ทางสถาบัน (Institutional Capital) และทุนทางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Capital) ทุนเหล่านี้
ถือเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจหลั่นล้า
ตัวอย่างที่ผมเห็นเช่น อินโดนีเซีย มีเกาะ 50,000 เกาะ ครั้งซูการ์โนขึ้นมามีอํานาจเมื่อราว 70 ปี
มาแล้ว คนอินโดนีเซียต่างคนต่างพูดคนละภาษา แต่ซูการ์โนผลักดันให้เกิดภาษาประจําชาติขึ้นมา
เรียกว่า บาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) คําว่า “บาฮาซา” นี้คือคําเดียวกับ “ภาษา” โดยเอา
ภาษามาเลย์มาดัดแปลงเป็นบาฮาซา จนตอนนี้คนอินโดนีเซีย 260 ล้านคนพูดภาษาเดียวกัน มีตํารา
ภาษาเดียวกัน ภาษานั้นใช้ตัวอักษรโรมัน และใช้คําศัพท์ของตะวันตกก็มาก และเป็นภาษาซึ่งมี
ไวยากรณ์คล้ายภาษาไทย เรียงประธาน กริยา กรรม เป็นภาษาที่เรียนรู้ได้เร็ว ทําให้ประเทศเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน จาก 50,000 เกาะ กลายเป็นประเทศเดียวกันได้ ก็จากทุนทางสังคมด้านภาษาที่ว่านี้
ส่วนในเรื่อง New DNA นั้น ผมคิดว่าคุณลักษณะสําคัญของคนรุ่นใหม่ที่จะทําเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์จะต้องมี ทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทักษะด้านนวัตกรรม (Innovative Skill)
ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Skill) และกรอบคิดสร้างสรรค์ (Creative Mindset)
ตัวอย่างเช่น ผมจําได้ว่าเมื่อสี่สิบปีที่แล้วผมศึกษาเรื่องรถไถแบบเดินตามที่ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นรุ่นแรก
ของรถไถเดินตาม มีประมาณสามสี่บริษัทที่ผลิตรถไถออกมาขายให้กับชาวนา เวลานั้นเราใช้รถไถน้อย
มาก ส่วนใหญ่ใช้ควาย ต่อมาจีนกับญี่ปุ่นเอารถไถเดินตามที่ผลิตโดยสามสี่บริษัทที่ฉะเชิงเทราไปพัฒนา
กระทั่งกลายเป็นรถไถแบบในปัจจุบันนี้ที่ถือได้ ผมเห็นที่พิษณุโลกวันก่อน ขนาดของรถไถนั้นเล็กลงมา
14
เหลือคันเล็กๆ เท่านั้นเอง เป็นของจีนผลิตมาขาย เพราะคนแถวนั้นทําสวนกันมาก ก็ไม่จําเป็นต้องซื้อ
รถไถคันใหญ่ ซื้อคันเล็กที่สามารถพรวนดิน ตัดหญ้าอะไรต่างๆ ได้ ราคาก็ถูก เพราะฉะนั้น เราจะต้องมี
ทักษะด้านการประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และต้องมีกรอบคิดที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ที่ไม่คิดแต่จะ
ลอกเลียนแบบคนอื่นตลอดเวลา และต้องมีทักษะผู้ประกอบการ กับทักษะด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าทักษะและความคิดสร้างสรรค์จะเป็นฐานที่เพิ่มมูลค่าให้ภาคบริการของเรา
ได้ และผมคิดว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นภาคที่ยังจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกมาก และทาได้ไม่ยากเกินไป
จากฐานที่เรามีอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปวัฒนธรรมของเรา เพียงแต่จะต้องสร้างอะไรบางอย่างที่
เป็นมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราว บรรจุภัณฑ์ หรือพัฒนาคุณภาพของสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว
15
บทอภิปราย
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?

More Related Content

What's hot

การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม USMAN WAJI
 
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020Klangpanya
 
วางแผนการเงินด้วย 4D Link ลงทุน ออมเงิน ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี
วางแผนการเงินด้วย 4D Link ลงทุน ออมเงิน ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีวางแผนการเงินด้วย 4D Link ลงทุน ออมเงิน ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี
วางแผนการเงินด้วย 4D Link ลงทุน ออมเงิน ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีTitaree Taweepongsapat
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางUSMAN WAJI
 
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560Klangpanya
 
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558Klangpanya
 
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว  บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว USMAN WAJI
 
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่า
ยุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่ายุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่า
ยุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่าKlangpanya
 
OBOR Monitor I กันยายน 2559
OBOR Monitor I กันยายน 2559OBOR Monitor I กันยายน 2559
OBOR Monitor I กันยายน 2559Klangpanya
 
ประวัติ True
ประวัติ Trueประวัติ True
ประวัติ TrueTn' Nam
 
Burma Thai relations
Burma   Thai relationsBurma   Thai relations
Burma Thai relationsFishFly
 
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปีอนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปีKlangpanya
 
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี Klangpanya
 
ชุมนุมสหกรณ์ 22 ม ค 56
ชุมนุมสหกรณ์ 22 ม ค 56ชุมนุมสหกรณ์ 22 ม ค 56
ชุมนุมสหกรณ์ 22 ม ค 56nachol_fsct
 

What's hot (16)

งานธุรการ
งานธุรการงานธุรการ
งานธุรการ
 
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
 
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
 
วางแผนการเงินด้วย 4D Link ลงทุน ออมเงิน ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี
วางแผนการเงินด้วย 4D Link ลงทุน ออมเงิน ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีวางแผนการเงินด้วย 4D Link ลงทุน ออมเงิน ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี
วางแผนการเงินด้วย 4D Link ลงทุน ออมเงิน ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
 
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560
 
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558
 
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว  บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
 
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
 
ยุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่า
ยุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่ายุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่า
ยุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่า
 
OBOR Monitor I กันยายน 2559
OBOR Monitor I กันยายน 2559OBOR Monitor I กันยายน 2559
OBOR Monitor I กันยายน 2559
 
ประวัติ True
ประวัติ Trueประวัติ True
ประวัติ True
 
Burma Thai relations
Burma   Thai relationsBurma   Thai relations
Burma Thai relations
 
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปีอนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
 
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
 
ชุมนุมสหกรณ์ 22 ม ค 56
ชุมนุมสหกรณ์ 22 ม ค 56ชุมนุมสหกรณ์ 22 ม ค 56
ชุมนุมสหกรณ์ 22 ม ค 56
 

Similar to รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?

การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมการรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมjeabjeabloei
 
สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy
สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy
สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy IMC Institute
 
Aec ประเทศเราจะได้รับประโยชน์อะไร
Aec ประเทศเราจะได้รับประโยชน์อะไรAec ประเทศเราจะได้รับประโยชน์อะไร
Aec ประเทศเราจะได้รับประโยชน์อะไรUtai Sukviwatsirikul
 
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณBig Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณSettapong Malisuwan
 
คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2559
คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2559คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2559
คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2559Thailand Board of Investment North America
 
Data strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Data strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ  Data strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Data strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ Settapong Malisuwan
 
The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)IMC Institute
 
Seminar เศรษฐกิจโลก
Seminar เศรษฐกิจโลกSeminar เศรษฐกิจโลก
Seminar เศรษฐกิจโลกVilaiwun Bunya
 
2562 final-project no.20-610
2562 final-project no.20-6102562 final-project no.20-610
2562 final-project no.20-610pleng.mu
 
2562 final-project no.20-610
2562 final-project no.20-6102562 final-project no.20-610
2562 final-project no.20-610Piyasasu
 
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
Medhub 3 4 52  anchana na ranongMedhub 3 4 52  anchana na ranong
Medhub 3 4 52 anchana na ranongNithimar Or
 
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressedETDAofficialRegist
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงKowin Butdawong
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงKowin Butdawong
 
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdfทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdfkittithaithana
 
Furd urban think tank นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ...
Furd urban think tank นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น                 ...Furd urban think tank นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น                 ...
Furd urban think tank นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ...FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD_RSU
 
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed_1
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed_120181102 etda annual-2017-for_download_compressed_1
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed_1ETDAofficialRegist
 

Similar to รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า? (20)

การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมการรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
 
สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy
สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy
สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy
 
Aec ประเทศเราจะได้รับประโยชน์อะไร
Aec ประเทศเราจะได้รับประโยชน์อะไรAec ประเทศเราจะได้รับประโยชน์อะไร
Aec ประเทศเราจะได้รับประโยชน์อะไร
 
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณBig Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
 
คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2559
คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2559คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2559
คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2559
 
Data strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Data strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ  Data strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Data strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
 
The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)
 
Seminar เศรษฐกิจโลก
Seminar เศรษฐกิจโลกSeminar เศรษฐกิจโลก
Seminar เศรษฐกิจโลก
 
2562 final-project no.20-610
2562 final-project no.20-6102562 final-project no.20-610
2562 final-project no.20-610
 
2562 final-project no.20-610
2562 final-project no.20-6102562 final-project no.20-610
2562 final-project no.20-610
 
smart อปท
smart อปทsmart อปท
smart อปท
 
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
Medhub 3 4 52  anchana na ranongMedhub 3 4 52  anchana na ranong
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
 
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdfทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
 
Furd urban think tank นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ...
Furd urban think tank นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น                 ...Furd urban think tank นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น                 ...
Furd urban think tank นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ...
 
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
 
Unemployment
UnemploymentUnemployment
Unemployment
 
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed_1
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed_120181102 etda annual-2017-for_download_compressed_1
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed_1
 

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า?

  • 2. การประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการ และ/หรือ เศรษฐกิจแบบหลั่นล้า? จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 19 มิถุนายน 2560 รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ถอดความและเรียบเรียง : ปาณัท ทองพ่วง ปลายฟ้า บุนนาค และณัฐธิดา เย็นบํารุง เผยแพร่: กรกฎาคม 2560 ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 4. บทนา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2560 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิง เศรษฐกิจภาคบริการ และ/หรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า? ณ โรงแรม VIE ราชเทวี โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นวิทยากรบรรยายนํา และมีนักคิด นักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการเข้าร่วมระดมสมองในประเด็นของการประเมินแนว ทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบหลั่นล้า ในฐานะแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจทางเลือกของประเทศไทย ที่ สอดคล้องกับจุดแข็งของวัฒนธรรมและสังคมไทย และมาเป็นทางเลือกนอกเหนือหรือคู่ขนานไปกับแนว ทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งเป็นแนวทางหลักของโลก ในเวลานี้ และที่รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้นํามาใช้ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในการนี้ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้จัดทํารายงานสรุปเนื้อหาการประชุมครั้งนี้ ขึ้นเผยแพร่เป็นความรู้ ให้ผู้กําหนดและตัดสินใจทางนโยบายทั้งในภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ได้นําไปใช้ประโยชน์ต่อไป
  • 6. 2 อนาคตเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและ/หรือ เศรษฐกิจแบบหลั่นล้าได้จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด และนโยบายเศรษฐกิจควรเข้ามาส่งเสริมอย่างไร ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และอธิการวิทยาลัย รัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวเปิดประชุมและแนะนําวิทยากร วิทยากรในวันนี้คือ ท่านอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ ท่านจะมาพูดเรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย พึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการและหรือเศรษฐกิจแบบหลั่นล้าได้จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด และนโยบาย เศรษฐกิจควรจะเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนอย่างไร ท่านเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ เวลานี้ก็ช่วยรัฐบาลอยู่ในบางเรื่อง และเคยเป็นอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อยู่หลายปีทีเดียว ปัจจุบัน ดํารงตําแหน่งเป็นอธิการบดีกิตติคุณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ขอเรียนเชิญท่านอาจารย์วรากรณ์ครับ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีกิตติคุณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผมรู้สึกยินดีที่มีโอกาสเป็นวิทยากรในวันนี้ ผมเคยมาร่วมฟังหลายครั้งด้วยกันในกลุ่มของ อาจารย์เอนก ซึ่งเป็นเพื่อนที่นับถือกันมายาวนานที่ธรรมศาสตร์ วันนี้ก็อยากจะเรียนเสนอบางความคิด เรื่องเศรษฐกิจหลั่นล้านี้ที่อาจไม่ได้สมบูรณ์ ถือเป็นอาหารสมองสําหรับถกเถียงกันต่อไป ขอพูดประเด็นแรกก่อน เรื่องการพึ่งพิงเศรษฐกิจภาคบริการหรือเศรษฐกิจหลั่นล้า คําว่าหลั่นล้า นั้น อาจารย์เอนกเป็นคนประดิษฐ์ขึ้นมา อาจารย์เอนกเป็นคนเก่งกาจมากในการคิดชื่อที่ฟังแล้วติดหูและ บ่งบอกถึงคุณลักษณะที่ชัดเจน ผมก็เพิ่งอ่านบทความของอาจารย์เอนกเรื่องเศรษฐกิจหลั่นล้าเมื่อครู่นี้ ผมตีความว่าหลั่นล้านี้คงกินความไปถึงภาคบริการ พวกธุรกิจเกี่ยวกับ hospitality ท่องเที่ยว ต้อนรับ สื่อสาร หรือที่อาจารย์เอนกใช้คําว่า สันถวไมตรี และพูดถึงเรื่องมิติต่างๆ ของภาคบริการ ผมก็เลย อนุโลมว่าเศรษฐกิจหลั่นล้าเป็นภาคบริการ เพื่อทําให้ตัวเลขง่ายเข้า วันนี้ผมก็จะมานําเสนอเหตุผลและ ข้อเสนอแนะว่ารัฐบาลควรทําอะไรบ้าง
  • 7. 3 ภาคบริการเป็นส่วนหลักของเศรษฐกิจไทยและโลก ในส่วนแรก มาดู GDP by sectors ในประเทศไทย ในปี 2012 สัดส่วน GDP ที่มาจากภาค เกษตรอยู่ที่ 8.4 เปอร์เซ็นต์ อุตสาหกรรม 39.2 เปอร์เซ็นต์ และภาคบริการ 52.4 เปอร์เซ็นต์ ปี 2016 สัดส่วนก็เปลี่ยนไปไม่มาก เป็นมาจากภาคเกษตร 13.3 เปอร์เซ็นต์ อุตสาหกรรม 34 เปอร์เซ็นต์ ภาค บริการ 52.7 เปอร์เซ็นต์ คือไปพึ่งทางเกษตรเพิ่มมากขึ้น ก็ขอขยายความจุดนี้เล็กน้อย เกษตรกรรมที่ได้ ราคาดีในปัจจุบันนั้นอยู่ทางภาคตะวันออก แถบจังหวัดระยอง จันทบุรี มีการค้าขายผลไม้กันอย่าง ร้อนแรงมาก และผลไม้ไทยก็มีราคาแพงขึ้นด้วย ตอนนี้ก็มีคนมีการศึกษาจํานวนไม่น้อยที่หันไปทําสวน ผลไม้ ผมเคยไปดูด้วยตาตนเอง การขนผลไม้จากจันทบุรี ไปที่ฮานอย เวียดนาม และส่งไปทางจีนด้วย ไปพบกับผู้หญิงรายหนึ่งซึ่งเป็นแม่ค้าจากเวียดนาม อยู่ในเมืองไทย 9 เดือน 3 เดือนส่งมังคุดข้ามไปที่ ฮานอยวันละ 3 ตัน ไปยังคลังเก็บใหญ่ที่นั่น และจัดส่งไปยังเมืองจีนซึ่งมีพรมแดนห่างกันประมาณร้อย กิโลเมตรต่อไป ซื้อมะม่วงอีก 3 เดือน ไล่ซื้อตั้งแต่ตลาดไทไปยันพิษณุโลก ใช้เวลา 3 เดือนเหมือนกัน ส่วนการซื้อลําไยที่จันทบุรีต้องจ่ายเงินสดนะครับ เพราะว่ามีหลายเจ้ามาแข่ง ทั้งจีน ทั้งเวียดนาม สรุปปี หนึ่ง 9 เดือนอยู่ประเทศไทย เห็นชัดว่าภาคผลไม้กําลังมาแรงมาก เพราะในข้อตกลงอาเซียน+6 นั้น ข้อตกลงหนึ่งระหว่างจีนกับกลุ่มอาเซียนก็คือการไม่เก็บภาษีอากรเรื่องผลไม้ ดังนั้น เวลานี้จึงร้อนแรง มาก ผมสันนิษฐานว่านี่เป็นสาเหตุที่ทําให้ภาคเกษตรมีสัดส่วนมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นใน GDP กลับมาดูที่ระดับโลก ก็พบว่าโดยเฉลี่ยนั้น ภาคบริการคิดเป็นประมาณ 63.6 เปอร์เซ็นต์ เหตุผล ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่า GDP ส่วนใหญ่มาจากเศรษฐกิจใหญ่ๆ ของโลก และเศรษฐกิจของประเทศที่ พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ก็เป็นภาคบริการทั้งนั้น อย่างในกลุ่ม G8 หรือ G20 ที่เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดนั้น ส่วน ใหญ่แล้วก็เป็นภาคบริการทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ของไทยโดยเฉลี่ยแล้ว สัดส่วนภาคบริการก็ถือว่ายังตํ่า กว่าของโลก เพราะของเราอยู่ที่ 52.7 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ของโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 63.6 เปอร์เซ็นต์ เหตุใดเศรษฐกิจโลกจึงหันมาพึ่งพิงภาคบริการเป็นหลัก 1. Disruptive Technology ช่วยสนับสนุน คําถามก็คือเหตุใดเศรษฐกิจโลกจึงเป็นภาคบริการมากขึ้น ผมก็ลองวิเคราะห์ดูว่าส่วนหนึ่งที่ทํา ให้เป็นภาคบริการยิ่งขึ้นก็เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า disruptive technology เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่ปี 1972 เป็นต้น มา ต้นทศวรรษ 1970 นี้เป็นช่วงเวลาที่แปลกประหลาด คือเป็นช่วงของการปฏิวัติความรู้ที่มีการโดด ข้ามของความรู้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แล้วก็เกิด disruptive technology ขึ้นมา ผมขออนุญาตพูดถึง disruptive technology ลึกนิดหนึ่ง disruptive technology ต่างจาก sustaining technology เช่น รถยนต์ที่เปลี่ยนรุ่น หรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปโดยที่ไม่ได้มีอะไรที่เปลี่ยน แบบร้าวลึก แต่ถ้าเป็นเทคโนโลยีบางอย่างที่เปลี่ยนแบบร้าวลึกนั้น มันจะเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมไปอย่าง สิ้นเชิง ผมขอยกตัวอย่างเรื่องลวดหนาม ลวดหนามเป็นสิ่งที่ทําให้คาวบอยหายสาบสูญไป คาวบอยนั้น หายสาบสูญไปประมาณช่วงทศวรรษ 1860-1890 เมื่อก่อนหน้าที่สําคัญของคาวบอยก็คือขี่ม้าเพื่อไล่
  • 8. 4 ต้อนวัวให้อยู่ในอาณาเขตที่เลี้ยงวัว พอมีคนคิดลวดหนามขึ้นมา ก็ขึงลวดหนามแทน กั้นไว้เป็นเขตๆ ไม่ จําเป็นต้องไล่ต้อนทุกวัน ยกเว้นช่วงที่เดินทางข้ามดินแดนเพื่อเอาไปขายที่ยังอาจต้องใช้การต้อน เพราะฉะนั้น อาชีพของคาวบอยก็เลยหายไป พร้อมๆ กับที่มีรถยนต์เกิดขึ้นในประมาณทศวรรษ 1900 อันนี้ disruptive ชัดเจน หรืออย่างมีดโกนหนวด บริษัทยิลเลตเอามีดโกนหนวดแบบใหม่ออกวางขาย ประมาณทศวรรษ 1870 ก่อนหน้านั้น มีดโกนหนวดต้องเอาไปลับ แต่พอยิลเลตทําแบบที่โกนหนวดที่มี ก้าน มีใบเป็นสี่เหลี่ยมใส่ลงไป ขันน็อตแล้วใช้ได้เลย เทคโนโลยีในเรื่องการขายใบมีดโกนหนวดก็ต้อง เลิกไป เพราะคนหันมาโกนหนวดแบบใหม่ อย่างนี้ก็ถือว่าเป็น disruptive technology ในงานวิจัยของ Mckinsey Global Institute ได้ยกตัวอย่าง disruptive technology ในยุคนี้มา หลายอย่างที่พวกเราก็คงได้ยินกัน เช่น 1) Mobile Internet นั้นเห็นชัดเจนว่าเป็น disruptive เพราะการใช้งานไม่ได้อยู่เพียง device เดียวแล้ว แต่เชื่อมกับ device อื่นๆ ได้ด้วย 2) Automation of Knowledge Work ตัวอย่างที่ชัดเจนเช่น โปรแกรมใหม่ของซุปเปอร์ คอมพิวเตอร์ IBM Watson ที่รวบรวมอาการป่วยทั้งหมดใส่ในซอฟต์แวร์ทําเป็นเท็มเพลต ใส่อาการของ โรคเข้าไปและสามารถวินิจฉัยออกมาว่าโอกาสที่จะเป็นโรคต่างๆ มีกี่เปอร์เซ็นต์ และบอกวิธีรักษา บอก ตัวยาล่าสุดที่ทดลองแล้วได้ผล บอกกรณีตัวอย่างต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในโลก ข้อมูลเหล่านี้ถูกใส่เข้าไป หมด หมอเป็นคนตัดสินใจว่าน่าจะเป็นโรคใด จะรักษาแบบใด โปรแกรมนี้มีแล้ว อีกโปรแกรมหนึ่งของ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ IBM Watson คือในเรื่องกฎหมาย ตอนนี้อาชีพนักกฎหมายที่เขียนคําร้องหรือให้ คําแนะนําในคดีง่ายๆ อาจจะหางานทําได้ยากแล้ว เพราะโปรแกรมของวัตสันเก็บคําตัดสินและหนทางใน การต่อสู้ของคดีความทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาย้อนหลังไป 70-80 ปี ซึ่งในระบบศาลของอเมริกานั้น การ ตัดสินคดีใช้การอ้างอิงของเก่า เพราะฉะนั้น โปรแกรมนี้ก็จะรวบรวมเรื่องราวของคดีในอดีตไว้ครบถ้วน บอกได้ว่าคดีจะมีโอกาสแพ้ชนะเท่าไร คดีแบบเดียวกันมีการตัดสินที่ไหน เมื่อไร อย่างไร โดยใคร เรื่อง การทําสัญญาต่างๆ ไม่ต้องพูดถึง โปรแกรมนี้สามารถทําได้หมด นี่เป็นตัวอย่างของ Automation of Knowledge Working ที่ชัดเจน 3) Internet of Things คือเครือข่ายของวงจรคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อถึงกันและเกิดเป็น วงจรข้อมูลที่เรียกว่า Big Data ตัวอย่างของ Internet of Things ง่ายๆ ที่ผมเห็นในประเทศไทยเช่น เมื่อ เราเดินเข้าไปในโรงแรมที่ปิดไฟอยู่ ไฟก็ติดเอง เช่นเดียวกับที่เวลาไข่ไก่ที่แช่ไว้ในตู้เย็นหมด ก็จะเตือน เข้าโทรศัพท์มือถือ เพราะมีเซ็นเซอร์ที่คอยชั่งนํ้าหนักอยู่ใต้ช่องใส่ไข่ หรือวงจรสถิตสําหรับไปโรยไว้ใน ดิน ที่จะส่งสัญญาณบอกว่าขณะนั้นดินตรงนั้นมีความชื้นเท่าไร เหมาะกับการปลูกพืชอะไร ฯลฯ ฉะนั้น เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data นั้นสําคัญมาก เพราะนับวันข้อมูลในอินเทอร์เน็ตก็จะมีมากขึ้น จาก Internet of Things ที่เป็นตัว generate ข้อมูล พูดถึงเรื่องเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า หลายท่านคงทราบดีว่าตอนนี้ประเทศไทยมีหุ่นยนต์ผ่าตัดอยู่ 5 เครื่องด้วยกันชื่อดาวินชี ผมเคยเข้าไปดูที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ในการผ่าตัด ยกตัวอย่างกรณีผ่าตัดไส้
  • 9. 5 ติ่ง หมอจะเอาหุ่นยนต์ไปวางไว้ที่ท้องคนไข้ ผ่าท้องเป็นรอยเล็กๆ เอากล้องใส่เข้าไป หมอก็จะนั่งที่ เครื่องที่อยู่ข้างนอก ใส่แว่นตาเหมือนเล่นเกม แล้วมองเข้าไปในเครื่อง ซึ่งจะถ่ายทอดภาพเป็นสามมิติ และขยายขนาดจากเล็กไปใหญ่ เมื่อหาจุดที่จะตัดได้ หุ่นยนต์ก็จะส่งสัญญาณให้แพทย์กดยืนยัน เมื่อกด ยืนยันก็ตัดได้เลย การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์จึงเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะแม่นยํากว่าการผ่าตัดโดย แพทย์ นี่ก็เป็น disruptive technology โดยแท้ สมัยก่อนการผ่าตัดแบบดั้งเดิมใช้คนผ่าเป็นรอยใหญ่ ต่อมาก็พัฒนาเป็นการผ่ารอยเล็กโดยใช้กล้องส่องเข้าไป แต่การใช้หุ่นยนต์นั้นเป็นการพัฒนามาอีกขั้น หนึ่ง 4) ระบบการจัดเก็บข้อมูลโดย Cloud ปัจจุบันการเก็บข้อมูลของหน่วยงานไม่จําเป็นต้องมี เครื่องเก็บข้อมูลของตัวเองแยกอีกแล้ว แต่สามารถไปเก็บรวมกันไว้ใน Server ของบริษัทใหญ่ใน ต่างประเทศแทน สมัยก่อน ปีหนึ่งๆ ประเทศไทยเคยซื้อ Server 5-7 พันตัวต่อปี เวลานี้สํานัก งบประมาณไม่ให้ซื้อแล้ว ให้ใช้บริการ Cloud แทน เพราะทั้งต้นทุนถูกกว่าและเก็บข้อมูลได้มากกว่า เคย มีการตรวจสอบ Server ที่ศูนย์ราชการ มีอยู่ 2-3 พันตัว พบว่าแต่ละหน่วยงานต่างมี Server ของตัวเอง และใช้สํารองข้อมูลจริงเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของความจุ แต่ถ้าเป็น Cloud แล้วก็ไม่ต้องจมค่าใช้จ่าย จะใช้ เท่าไรก็ซื้อความจุเท่านั้น นี่ก็เป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า disruptive แน่นอน รถยนต์ไร้คนขับนั้น ในสิงคโปร์เริ่มนํามาใช้แล้ว หรือโดรน ซึ่งก็คือยานไร้คนขับ ซึ่งควบคุมด้วย ปัญญาประดิษฐ์ ผมไปจอร์เจียเมื่อสองปีก่อน มีอาคารสนามบินที่สวยงามมาก เลยถ่ายรูปกัน ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ทหารให้มาลบภาพหมดเลย ผมก็ถามว่าทําไม เพราะสมัยนี้ในกูเกิลก็มีภาพเหล่านี้หมดแล้ว ทําไมต้องให้ลบอีก แต่เหตุผลไม่ใช่เรื่องนั้น เหตุผลคือเรื่องความปลอดภัย เพราะภาพกูเกิลไม่ได้เห็น ภาพของสถานที่ครบทุกมุมที่ชัดเจนขนาดนั้น แต่ที่ถ่ายนี้เป็นภาพของตึกที่ชัดเจนมาก ถ้าถ่ายภาพตึก สามสี่มุมอย่างชัดเจนแล้วไปเก็บไว้ในสมองกลของโดรน เวลาที่โดรนหรือมิสไซล์วิ่งไปก็จะแมทช์ระหว่าง ภาพที่เก็บไว้ในสมองกลกับภาพของจริง เมื่อพบก็วิ่งเข้าชนได้เลย เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องความมั่นคง ที่สืบเนื่องมาจากปัญญาประดิษฐ์ 5) Next Generation Genomics คือการพยายามจะเข้าไปแก้ไขดีเอ็นเอที่บกพร่องซึ่งถ่ายทอด ทางพันธุกรรม ในปัจจุบันได้ก้าวหน้ามาถึงขั้นที่ทําแผนที่ดีเอ็นเอได้แล้ว ตอนนี้เราจ่ายเงินเพียง 3-4 พัน บาทก็สามารถรู้ได้แล้วว่าตัวเรามีโอกาสเป็นโรคใดบ้างจากการแค่เอานํ้าลายไปแตะ ตามแผนที่ที่รู้ว่า บริเวณนี้ในดีเอ็นเอเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศชาย บริเวณนั้นเกี่ยวกับอัลไซเมอร์ บริเวณนั้นเกี่ยวกับ เบาหวาน ในอนาคตต่อไปจะไปถึงขั้นแก้ไขยีนส์ได้ ไม่ใช่แค่เพียงรู้และยอมรับสภาพอย่างที่เป็นอยู่ 6) Next Generation Storage มาแน่นอน ตอนนี้บริษัท Tesla ไม่ได้ผลิตแต่รถยนต์แล้ว ใน อเมริกา หลายบ้านก็ซื้อ Tesla Storage มาเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดดในตอนกลางวัน แปะไว้ฝา บ้าน ต่อไปในอนาคต รถยนต์ hybrid มาแน่นอน ต่อไปในอนาคตรถยนต์ที่ใช้นํ้ามันไม่ว่าดีเซลหรือ เบนซินอย่างเดียว ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรถยนต์เพื่อนผมคนหนึ่งบอกว่าเครื่องยนต์ที่ก้าวหน้าที่สุด
  • 10. 6 ในตอนนี้คือเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนเบนซินนั้นล้าหลัง เพราะในวงการรถยนต์ได้ทุ่มเทค้นคว้าวิจัยเรื่อง ดีเซลจนกระทั่งประหยัดและก้าวหน้าไปมาก เครื่องเบนซินยังสู้ดีเซลไม่ได้ 7) 3D Printing เวลานี้ไม่ได้พิมพ์ออกมาเป็นกระดาษ พิมพ์ออกมาเป็นวัตถุได้เลย ออกมาเป็น ผลิตภัณฑ์ได้เลย ผมเห็นที่ลอนดอน เขาถ่ายรูปคนที่ล็อบบี้โรงแรมคราวละ 70 ปอนด์ รุ่งขึ้นเขาจะเอา ตุ๊กตามาให้ หน้าตาเหมือนเราทุกอย่าง ใส่รองเท้าก็เหมือนกัน สีเชือกรองเท้าก็เหมือนกัน เวลานี้ที่ เมืองไทยที่ใช้กันมากเกี่ยวกับ 3D printing ก็คือพิมพ์ที่ครอบฟันได้อย่างแม่นยํา และ 3D printing ก็ยัง ถูกนําไปใช้ในทางการแพทย์อื่นๆ เช่น ซ้อมผ่าตัดสมอง ผ่าตัดอะไรต่างๆ 8) Advanced Material ขณะนี้มีดที่คมที่สุดไม่ใช่โลหะ แต่เป็นพลาสติก เพราะนาโนเทคโนโลยี สามารถไป manipulate โมเลกุลได้ หรือมีแบตเตอรี่ที่ไม่ต้องซื้อ spare แล้ว ซื้อก้อนเดียวใช้ได้ตลอดก็มี ไม่ทําออกมาขาย แต่ในด้านความรู้นั้นไปไกลแล้ว 9) Oil & Gas Recovery พวกหินเชลล์ที่นํามาสกัดนํ้ามันออกมาก็เป็นความก้าวหน้า ตอนนี้ก็ ทําให้ที่อเมริการาคานํ้ามันตก ส่วนความก้าวหน้าเรื่อง Renewable Electricity นั้นไม่ต้องพูดถึง แผง โซลาร์นั้นเมื่อก่อนจะผลิตไฟฟ้าได้ช่วงเดียวคือเช้าหรือบ่าย แต่เวลานี้หันตามแสงอาทิตย์ได้แล้ว เพราะ มีการนํา Internet of Things ไปใส่แผงโซลาร์ คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมอยู่จะสั่งให้แผงหันไปตามอัตโนมัติ ตามทิศทางของแสงอาทิตย์ หรือใบพัดที่ผลิตไฟฟ้าจากลมนั้น ก็จะสามารถบิดใบตามทิศทางและ ความเร็วลม เพื่อจะผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น 10) Disruptive Technology ในภาคการเงินการธนาคาร เวลานี้ในภาคการธนาคารมีความ เปลี่ยนแปลงที่ disruptive มาก ตัวอย่างเช่น อาลีบาบาตอนนี้ปล่อยกู้ให้คนทั่วโลก สามารถกู้ได้ตั้งแต่ สองหยวนจนถึงพันหยวน อนุมัติเงินภายในเวลาสามนาที ไม่ต้องมีหลักทรัพย์คํ้าประกัน เพียงแค่คืน ภายในเวลาสองปี นี่เป็นบริการกู้ยืมที่รวดเร็วมาก เพราะเวลาเป็นสมาชิกกับอาลีบาบาต้องกรอกประวัติ อยู่แล้วว่ามีฐานเงินเท่าไร มีเงินที่ใช้จ่ายมากเท่าไรอยู่แล้ว ดังนั้นก็สามารถอนุมัติได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีนตอนนี้ไปไกลมาก ผมเพิ่งกลับมาจากเซี่ยงไฮ้ ที่นั่นผมเห็น ขอทาน เขาไม่ได้เอากระป๋องเงินมาวาง แต่เอาสมาร์ทโฟนมาหงายแล้วก็เปิด QR code ไว้ คนบริจาคก็ มาสแกน QR code จะจ่ายด้วย UnionPay หรือ AliPay ก็ได้ กดเสร็จก็บริจาคเงินให้ขอทานได้ทันที ผม เห็นคนเล่นไพ่นกกระจอกกันอยู่สามสี่คน ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือคนละเครื่องวางไว้ข้างตัว เพื่อที่จะ จ่ายเงิน สามารถเล่นกันได้เปิดเผย ยิ่งกว่านั้น ร้ายขายผักในตลาดก็มี QR code แปะอยู่ เมื่อจะจ่ายเงิน ก็สแกนแล้วก็จ่ายได้เลย ไม่ต้องใช้เงินสด ในสวีเดน ที่ผมเห็น มีการใช้ธนบัตรน้อยลงมาก ใช้บัตรเดบิตแทน ไปที่ใดก็ใช้การ์ดแปะ ถ้าใคร จะถอนเงินที่ธนาคารเกินกว่าหนึ่งร้อยยูโร ต้องโทรไปบอกล่วงหน้า เพราะธนาคารจะไม่มีเงินเตรียมไว้ ให้ และถ้าใครเอาเงินจํานวนมากไปฝากธนาคาร สมมติว่าสัก 500-600 ยูโร เอกอัครราชทูตไทยประจํา สวีเดนบอกผมว่าต้องอธิบายว่าเอาเงินไปทําอะไร เพราะที่นั่นไม่ได้ใช้เงินสดกันมาก ที่ประเทศ
  • 11. 7 เอสโตเนียยิ่งแล้วใหญ่ เอสโตเนียนั้นอยู่ใกล้ๆ สวีเดน เป็นชาวไวกิ้งเหมือนกัน แต่คนไม่ค่อยรู้จักเพราะ เคยเป็นรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียตมายาวนาน ที่เอสโตเนียมีประชากรประมาณ 1.2 ล้านคน ทุกคนเป็น E-Citizen สามารถทําทุกอย่างได้ด้วยการ์ดใบเดียว ตั้งแต่ซื้อของจนกระทั่งจ่ายค่าปรับตํารวจ ทุกคน สามารถเข้าไปดูประวัติของตัวเองได้ว่ารัฐบาลเก็บข้อมูลของตัวเองไว้ที่ไหนบ้าง และคนที่เข้าไปดูจะรู้ ด้วยว่าใครเข้าไปดูคนสุดท้าย ตั้งคําถามได้ มีตํารวจคนหนึ่งเข้าไปดูประวัติของผู้หญิงที่คบกัน ปรากฏว่า ตํารวจคนนั้นถูกไล่ออก เพราะว่าลํ้าสิทธิของผู้อื่น คน 1.2 ล้านคนนี้สามารถติดต่อกับรัฐมนตรี อธิบดี ได้ ตลอดเวลา และเป็นเวลาสิบกว่าปีมาแล้วที่เอสโตเนียเลือกตั้งโดยทางออนไลน์ ไม่ต้องเดินทางมาให้ หนาว โหวตที่บ้านได้ แม้แต่หย่ากันยังทําออนไลน์ได้ แต่แต่งงานต้องไปที่สถานที่ราชการ เห็นได้ชัดว่า disruptive technology เหล่านี้มีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติด้านการเงินการธนาคารนี้ชัดเจน ต่อไป ถ้าประเทศไทยเป็นเหมือนประเทศอื่น อาจจะพัฒนากลายเป็นตู้ที่เอาบัตรประชาชนไปใส่แล้วก็ สามารถอ่านเครดิตบูโรด้วยตัวเองได้ว่ามีหนี้อยู่เท่าไร บัตรเครดิตมีหนี้เท่าไร มีคนอยู่ในบ้านกี่คน มีเงิน อยู่ในประกันสังคมเท่าไร บริการเหล่านี้ก็จะมีมากขึ้นๆ และจะขยายไปตู้เอทีเอ็มด้วย โดยที่ไม่ จําเป็นต้องสร้างตู้ใหม่ ใช้ตู้เอทีเอ็มแทนเหมือนบางประเทศ การจ่ายเงินถึงกัน อย่างพร้อมเพย์นั้นที่จริง ก็เป็นเพียงวิธีเดียวที่เราใช้ในประเทศไทย ความจริงมันมีมากมายหลายวิธี เหมือนกับ digital currency ที่เราพูดถึงกันนั้น ความจริงมีตั้ง 400 digital currencies ในขณะนี้ที่เกิดขึ้น แล้วทุกประเทศก็คิดที่ จะต้องทํา digital currency ของตัวเองขึ้นมา ผมไปที่ธนาคารกลางของสวีเดน เขาก็ศึกษาอยู่ เขาเตรียม ที่จะเปิด digital currency ของตนเอง โลกออนไลน์นั้นเปลี่ยนแปลงทุกวัน แต่ละคนก็คิดวิธีขึ้นมาว่าจะ จัดระบบการเงินกันอย่างไร ซึ่งบางครั้งก็เป็นอันตราย เช่นเรื่อง Bitcoin นั้น ทําให้ไม่รู้เลยว่าใครเป็นคน จ่าย และจ่ายให้ใคร หรือจ่ายที่ใด เพราะฉะนั้น ทําให้คอร์รัปชั่นหรือเรียกค่าไถ่เองเกิดขึ้นได้มาก นี่ก็เป็น ปัญหาที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี ทั้งหมดนี้เป็นความก้าวหน้าของ Disruptive Technology ซึ่งเป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่ผมเห็นว่าทํา ให้โลกหันมาสู่เศรษฐกิจภาคบริการ 2. ความตันของ Factory Economy เหตุผลที่สองที่ทําให้เศรษฐกิจโลกหันมาพึ่งภาคบริการมากขึ้น คือความตันของ Factory Economy หมายความว่าถ้าเราจะพึ่งพิงการผลิตสินค้าราคาถูกเพื่อมาสู้กับต่างประเทศ เพื่อส่งไปขาย ต่างประเทศ หรือผลิตชิ้นส่วนราคาถูกที่เราเชี่ยวชาญ อย่างที่เราทําอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ซึ่ง เรากว้างขวางมาก แต่เราเห็นภาพตอนนี้แล้วว่ามันมาถึงทางตัน เพราะจะมีคนที่ผลิตได้ถูกกว่าเราและ เทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้น หนทางรอดของคนในตลาดก็คือหันมาพึ่งพิงภาคบริการ มากกว่าจะไปทําโรงงานเพื่อผลิตของต้นทุนตํ่าแบบในอดีต ปัจจุบันเรามีเวียดนามมาแข่งกับเรา ผลิตได้ ถูกกว่าเรา ค่าจ้างถูกกว่าเรา ไม่เหมือนเมื่อสามสิบปีก่อนที่เราทําได้ถูกที่สุด เพราะฉะนั้น ความตันตรงนี้ ผลักดันให้ต้องดิ้นรนไปสู่ภาคบริการ
  • 12. 8 3. Neo-Liberalism เหตุผลที่สามก็คือ Neo-Liberalism หรือลัทธิทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมาความคิดของคนในโลกนี้ก็หันไปสู่ความเปิดกว้างของตลาดเสรี ไม่ว่าจะเป็น Deregulation Privatization การใช้ตลาดเสรี การลดบทบาทของภาครัฐ แนวคิดแบบนี้ทําให้เกิดความ คล่องตัวมากขึ้น ทําให้ภาคบริการเข้ามาเป็นฐานของเศรษฐกิจได้ ไม่จําเป็นต้องพึ่งพิงภาคอุตสาหกรรม เหมือนที่เคยเป็นมายาวนาน 4. ขนาดของการผลิตและเทคโนโลยีทุกระดับ เหตุผลที่สี่คือ ขนาดของการผลิตและเทคโนโลยีทุกระดับ เมื่อมีการผลิตและเทคโนโลยีทุกระดับ เกิดขึ้น ก็ทําให้มีบริการที่เกี่ยวเนื่องต่อมาด้วย เช่น การท่องเที่ยวของเราที่คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว 32 ล้านคนในปีนี้ มันก็ไม่ได้มีแต่การท่องเที่ยวที่เราเห็น มันจะมีอย่างอื่นที่ตามมาด้วย เรื่องอาหารการกิน เรื่องการผลิตของมาขายนักท่องเที่ยว หรือบริการอื่นๆ ที่เพิ่มตามมา เวลามีการผลิตทุกระดับ ก็ต้องมี ภาคบริการเสริมขึ้นมาทั้งสิ้น เช่น เราสร้างพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวขึ้นให้คนเข้ามาดู ก็ไม่ได้หมายถึงจะมีตัว พิพิธภัณฑ์อย่างเดียว แต่ยังมีภาคบริการเข้ามาเกี่ยวพัน เช่น ร้านอาหาร ร้านนํ้า หรือเรื่องการท่องเที่ยว ที่ไปไกลกว่านั้น ที่ฟิลิปปินส์กับออสเตรเลียมีพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่สร้างภาคบริการเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่า เชื่อ คือคนออสเตรเลียชอบมานอนในโรงแรมที่อยู่ใกล้บ้าน เพราะเขาไม่อยากล้างจาน ไม่อยากทําความ สะอาดบ้าน แล้วก็รวมเพื่อนมาอยู่ที่โรงแรมด้วยกัน จุดประสงค์ของคนออสเตรเลียส่วนใหญ่ก็คือ เมา ตั้งแต่เช้า ไปจนบ่าย ถึงคํ่า โดยที่ไม่ต้องกลัวตํารวจจับ เมาแล้วก็นอนที่โรงแรมเลย ในมะนิลา ฟิลิปปินส์ ก็ทําแบบเดียวกัน ประเทศไทยยังไม่ค่อยมีใครทําแบบนี้ แต่ในอนาคตอาจจะมีคนไทยที่เบื่ออาจจะ เปลี่ยนบรรยากาศมานอนโรงแรมบ้างแม้ว่าบ้านจะอยู่ติดกับโรงแรมก็ตาม ก็จะทําให้เกิดภาคบริการ เพิ่มขึ้น โดยสรุปในประเด็นนี้คือพอเกิดการผลิตหรือเทคโนโลยีบางอย่างก็ทําให้เกิดภาคบริการเพิ่มขึ้น ตามมา 5. ภาคบริการมีความยืดหยุ่นและหลากหลาย ลองดู Informal Sector ของบ้านเรา เมื่อมีนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มเป็น 5 ล้านคน ภาคบริการขนาด ใหญ่ก็เกิดขึ้นมามากมายทันที นี่คือความยืดหยุ่นคล่องตัวของภาคบริการ ถึงแม้คนจีนจะเข้ามาทําธุรกิจ เองในภาคบริการ ส่วนความหลากหลายนั้น ภาคบริการนั้นเกี่ยวเนื่องถึงหลายสิ่ง เอาแค่อาหารอย่าง เดียว จะต้องมีคนไปหาวัตถุดิบ คนส่งต่อ คนขาย คนติดตามดูแล มันไล่ไปหมด แล้วงานเหล่านี้ก็มี เพิ่มขึ้น ผมคิดว่าในปัจจุบันนี้ มูลค่าในภาคการท่องเที่ยวของเราเห็นบอกว่าจะถึง 3 ล้านล้านบาท แต่ ความจริงแล้ว มันสร้างมูลค่าเกี่ยวกับภาคบริการที่ตามมาอีกมากมาย เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการท่องเที่ยว นั่นเองที่พยุงให้เศรษฐกิจของเราพออยู่ได้ในปัจจุบัน ผมคุยกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเมื่อสองวันก่อน เขาบอกว่าของเรามี นักท่องเที่ยว 32-34 ล้านคน มาเลเซียก็มีนักท่องเที่ยว 32-34 ล้านคน แต่เขาบอกว่าตัวเลขของมาเลเซีย
  • 13. 9 เป็นตัวเลขที่ดูของไทยก่อน แล้วก็เอาตัวเลขของเขามาปรับตาม คือเขาเอาตัวเลขของการข้ามชายแดน มารวมด้วย เพราะว่าแต่ละวันจะมีคนมาเลเซีย คนสิงคโปร์ ข้ามสะพานจากมาเลเซียไปทํางานที่สิงคโปร์ วันหนึ่งเป็นหมื่นเป็นแสนคน ถ้าบวกตัวเลขข้ามไปข้ามมาแบบนี้ต่อปีก็ถึง 32 ล้านคน แต่ความจริงแล้ว ไม่ได้เป็น “นักท่องเที่ยว” ในความหมายเดียวกับประเทศไทย ญี่ปุ่นเองนักท่องเที่ยวตอนนี้ก็เพิ่มขึ้นถึง 24 ล้านคนต่อปีแล้ว เชื่อว่าจะทะลุ 30-40 ล้านคนในไม่ช้า ญี่ปุ่นพึ่งมาค้นพบว่าภาคบริการ ภาค ท่องเที่ยวของตน เป็นภาคเศรษฐกิจที่มีศักยภาพที่แอบซ่อน ตอนนี้เราจะเห็นว่าบ้านเรือนต่างๆ ของ ญี่ปุ่นที่เมื่อก่อนไม่ใช่ร้านค้า เวลานี้เปลี่ยนจากบ้านกลายเป็นร้านขายของไปหมดแล้ว เพราะว่าภาค บริการสามารถปรับได้รวดเร็วคล่องตัวมาก โครงสร้างและนโยบายของรัฐควรสนับสนุนและส่งเสริมเศรษฐกิจหลั่นล้า/ บริการอย่างไร โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ผมคิดว่าเรื่องดิจิทัลเป็นเรื่องสําคัญมาก ปฏิเสธไม่ได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานของเราต้องทําให้เป็น ระบบที่ส่งเสริมดิจิทัล โครงสร้างอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์หมู่บ้านที่กําลังทํา ตอนนี้เปิดใช้ไปแล้ว 200 หมู่บ้าน และในที่สุด เกือบทุกหมู่บ้านในประเทศไทยก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์เหล่านี้ได้ แต่คําถามที่เราต้องถามคือ แล้วอย่างไรต่อ ถ้ามีบรอดแบนด์ในหมู่บ้านแล้วจะช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น อย่างไร หรือการมีข้อมูลต่างๆ มากขึ้นจะเป็นประโยชน์กับการดํารงชีวิตของคนเหล่านี้หรือเปล่า แต่ แน่นอนว่าเราจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย โครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมายและระเบียบ มีคนบอกผมว่า หากนับจํานวนกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เรามีตอนนี้มีอยู่ประมาณแสนกว่า ฉบับ แล้วทุกวันก็จะมีคนผลิตกฎหมายใหม่ออกมาอีกตลอดเวลา กระทั่งคนเขียนเองก็จําไม่ได้ สิ่งที่ตลก คือ เราก็ยังพูดกันว่าทุกคนต้องรู้กฎหมาย รวมทั้งที่เกิดขึ้นมาใหม่ด้วย ทั้งแสนฉบับเราต้องรู้หมด มิฉะนั้นจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มิได้ เรื่องรูปแบบการบริหารในอนาคตนั้น ผมคิดว่าเราต้องหารูปแบบ การบริหารใหม่ที่สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่ทําให้เราสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ สุดท้ายคือ กระบวนทัศน์ (Mindset) สําคัญมาก ผมช่วยองค์การมหาชนอยู่สองแห่ง สองแห่งนี้ต่างกันมาก องค์การ มหาชนแรกนั้นทํางานด้วยความจํากัดมาก เพราะบุคลากรที่ทํางานอยู่นั้นเดิมเป็นข้าราชการซึ่งย้ายจาก กระทรวงมายังองค์การมหาชนแห่งนี้ วิธีการคิดยังเป็นแบบเจ้าขุนมูลนายอยู่ คิดว่าตัวเองจะได้อะไรจาก ระบบ มากกว่าคิดว่าตัวเองให้อะไรกับระบบ ในขณะที่องค์การมหาชนอีกแห่งหนึ่งเป็นองค์กรที่ไม่ได้มา จากราชการ และมีความคิดที่แตกต่างออกไป คือคิดแต่ว่าจะทําอะไรที่ทันสมัย ที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น มากกว่าคิดว่าตัวเองต้องการได้อะไรจากระบบ ผมคิดว่าการปฏิรูปนั้น ความจริงไม่ได้อยู่ที่การปฏิรูป กฎหมาย การปฏิรูปที่จริงคือการเปลี่ยนแปลงคน ทั้งวิธีการคิดและพฤติกรรม แต่ถ้าเราคิดว่าการปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลงกฎหมายนั้น ผมคิดว่ายังไปไม่ถึงขั้นสุด สูงสุดต้องเปลี่ยนแปลงคน
  • 14. 10 การสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์/หลั่นล้าด้วย “ทุน” ทางสังคมและวัฒนธรรม ผมอยากจะกล่าวถึงอีกเรื่องหนึ่ง คือ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่คนกล่าวถึงกันมาก ผมคิดว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์จะเป็นตัวส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจหลั่นล้าของอาจารย์เอนก ถ้าพูดถึง เศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้นก็ใช้หลักการสร้างมูลค่า ใช้ทรัพยากรเท่าเดิมหรือน้อยลง ใช้ความคิดสติปัญญา ให้มากขึ้น นําประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ผมเคยยกตัวอย่างให้ผู้ว่าราชการ จังหวัดบางจังหวัดฟัง ในโรงเรียนของกระทรวงมหาดไทย ว่าที่สมุทรสงคราม (แม่กลอง) นั้นน่าจะมีบ้าน เกิดของอิน-จัน หรือที่ชาวอเมริกันรู้จักในนามของ Siamese Twin ในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น คนอเมริกันชื่อ Hunter มาซื้อเอาอิน-จัน ซึ่งเป็นแฝดที่มีร่างกายติดกันแต่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งมีอยู่น้อยมากในสมัยนั้น ไป จากพ่อแม่ที่ริมแม่นํ้าท่าจีน เอาไปออกงานละครสัตว์ที่อเมริกา คนก็มาดูกันมากเพราะไม่เชื่อว่ามีคนที่ ร่างกายติดกัน ก็ปรากฏว่าคนอเมริกันรู้จัก ไซมีส ทวิน ดีมาก ดีถึงขนาดที่คําว่า Siamese Twin กลายเป็นคํานามทั่วไปที่ใช้เรียกอะไรก็ตามที่มีลักษณะตัวติดกันแต่หัวแยกออกเป็นสอง แต่ที่ผ่านมาคน ที่ไปเที่ยวแม่กลองนั้นรู้จักอยู่สองอย่างคือ เอื้อ สุนทรสนานกับหิ่งห้อย แต่ถ้าเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้น ต้องสร้างให้อิน-จันเป็น “แบรนด์” ของจังหวัดไปเลย จําลองบ้านเกิดของเขาขึ้นมา เหมือนที่วอชิงตัน ดีซี บ้านเกิดของจอร์จ วอชิงตัน อายุ 250 ปี ก็ทําเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ตราบใดที่ถ่ายภาพแล้วมีป้ายบอกว่า เป็นบ้านเกิดของอิน-จัน ผมเชื่อว่ามีคนไปเที่ยว ซึ่งเราไม่ได้ทําแบบหลอกลวง แต่ต้องยืนยันโดย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้ TPBS เคยไปถ่ายสารคดีเรื่องตระกูล Bunker ที่รัฐนอร์ท แคโรไล นา ซึ่งเป็นลูกหลานของอิน-จัน มาร่วมงานกันเป็นร้อยคน เพราะอินนั้นแต่งงานกับพี่สาว ส่วนจัน แต่งงานกับน้องสาว มีลูกหลานออกมาเยอะแยะ เรื่องนี้เป็นตํานานที่คนอเมริกันที่มีการศึกษาใครๆ ก็ รู้จัก แต่คนที่มาประเทศไทยจํานวนมาก ไม่รู้ว่า Thailand กับ Siam นั้นคือประเทศเดียวกัน ผมมีเพื่อน สนิทหลายคนที่ไม่รู้เลยว่า Thailand กับ Siam คือประเทศเดียวกัน พอรู้ก็ตื่นเต้นมาก เพราะ Siam ใน ความรู้สึกของฝรั่งนั้นมีลักษณะ exotic ไม่ว่าเรื่องของ Siamese Twin Siamese Cat ฯลฯ แต่ว่าเรายัง ไม่ได้เอาเรื่องราวเหล่านี้มาทําให้เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เรื่องราวและสติปัญญานั้นสามารถดึงดูดความ สนใจของคน และทําให้สามารถขายบริการหรือสินค้าได้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างคนที่ไปเที่ยวประเทศเช็ก (Czech) นั้น จะต้องไปดูปราสาทแดร็กคิวล่า ซึ่งแดร็กคิว ล่านั้นไม่มีตัวตนอยู่จริง เป็นนิยาย แต่คนก็เอามาจินตนาการว่ามีจริง และต้องไปดูคฤหาสน์ของแดร็กคิว ล่า ผมก็คิดว่าเหตุใดเราไม่ทํา “แม่นากพระโขนง” ให้เป็นผีประจําอาเซียน ให้เป็นแบรนด์เนมของผี ที่คน อาเซียนเมื่อนึกถึงผีเมื่อไร ก็ต้องนึกถึงแม่นากพระโขนง ผมว่าเราสามารถสร้างเงินได้อีกมาก และนี่คือ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งต้องมีเรื่องราวและประวัติศาสตร์อยู่เบื้องหลัง คล้ายกับญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ ซึ่ง เวลาที่ไปเที่ยวที่ใดจะมีเรื่องราวที่เล่าถึงสถานที่นั้นโดยเฉพาะที่ทําให้คนศรัทธา สมมติบอกว่านํ้าตกที่ เชียงใหม่แห่งหนึ่ง มีแท่นหินแห่งหนึ่งที่นํ้าตกนั้นเป็นแท่นหินที่สาวเครือฟ้ากระโดดฆ่าตัวตายหลังจาก เรือโทพร้อมไม่มาตามนัด ซึ่งเรื่องสาวเครือฟ้าเป็นนิยายเก่าแก่ของหญิงสาวชาวเหนือที่รักกับหนุ่มชาว ใต้แล้วไม่สมหวัง แท่นหินนั้นจากที่ไม่เคยมีคุณค่าเลย ตอนนี้ก็กลายเป็นมีคุณค่า คนก็ปีนขึ้นไปดูแท่นที่ สาวเครือฟ้ากระโดดลงมาฆ่าตัวตาย หรือตอนผมยืนอยู่ใกล้ๆ กับประตูชัยของฝรั่งเศส เห็นแท่นซีเมนต์
  • 15. 11 ธรรมดาก็ไม่รู้สึกตื่นเต้นอะไร แต่เมื่อมัคคุเทศก์บอกว่าที่ที่คุณยืนอยู่นั้น เมื่อสองร้อยกว่าปีมาแล้ว มี กิโยตินตั้งไว้ โรเบสปิแอร์หรือมารีอังตัวเนตต์ก็ถูกกิโยตินตัดหัวที่นี่ สถานที่ตรงนั้นกลายเป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาทันที ผมไปเที่ยวที่ซีเรีย เราไปดูเมืองโรมัน ซึ่งเวลานี้ไม่ทราบยังอยู่หรือโดนระเบิดพังไป แล้ว เป็นแหล่งเดียวที่มีหินอ่อน เป็นเมืองโรมันที่สมบูรณ์ที่สุด เห็นแม้กระทั่งร่องเกวียนที่สึกอยู่บนถนน สองพันกว่าปีมาแล้วยังเห็นรอยของล้อเกวียนที่วิ่งไปบนถนน เมื่อคนมาดูแล้วเกิดอารมณ์ความรู้สึกตาม แต่จะเกิดความรู้สึกร่วมได้ก็ต้องเกิดจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้คนรู้เรื่องราวด้วย อีกเรื่องหนึ่งที่ผมขอยกตัวอย่างคือ คนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอายุประมาณ 50 ปี เคยบอกผมว่า มาเที่ยวเมืองไทย อยากมาเห็นบ้านของยามาดะ นางามาสะ ซึ่งก็คือออกญาเสนาภิมุข ที่ เป็นหัวหน้าซามูไรสมัยพระนเรศวร เพื่อนผมคนนี้เล่าว่าในบทเรียนญี่ปุ่นที่เขาเรียนสมัยเด็กนั้น ยามาดะ มีชีวิตที่โลดโผนมาก เคยไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและถูกวางยาพิษตาย เขาก็อยากจะไปเห็น บ้านที่นครศรีธรรมราชของยามาดะ ถ้าหากเราไปหาหรือจําลองบ้านนั้นขึ้นมาใหม่ แล้วทําป้ายเขียนว่า เคยเป็นจวนเจ้าเมืองยามาดะ ผมเชื่อว่าจะมีคนญี่ปุ่นไปดูกันมาก เพราะคนญี่ปุ่นรุ่นเก่าเขาเรียนเรื่อง ยามาดะจากแบบเรียน นี่คือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ผมคิดว่าเราสามารถทําได้อีกมาก เพราะเป็นสิ่งที่ สามารถสร้างมูลค่าได้จากของที่มีอยู่ ในนิยามของ UNCTAD ต้นทุนของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมตั้งแต่มรดกทางวัฒนธรรม จิตรกรรม ศิลปะการแสดง การพิมพ์ การกระจายเสียง ฟิล์ม ดิจิตอลคอนเท็นท์ แฟชั่นดีไซน์ เครื่องประดับ สถาปัตยกรรม ฯลฯ มีการคํานวณกันครั้งหนึ่งเมื่อ 5-6 ปีก่อน พบว่ามูลค่าที่เกี่ยวพันกับ กิจการเหล่านี้อยู่ที่ประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ไทย ผมคิดว่าตัวเลขนี้ยังน้อยเกินไป ถ้านับว่าสิ่ง เหล่านี้ยังไปเกี่ยวพันกับการบริการอื่นๆ อีกมาก ซึ่งหลายอย่างในนี้เกี่ยวพันกับเศรษฐกิจหลั่นล้า ผมเชื่อ ว่าจะสร้างมูลค่าได้มากและเป็นของที่ทําได้ไม่ยากจนเกินไป หากเราลองพิจารณาดู มีหลายตัวอย่างมากของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ถ้าคนไทยคิดได้ จะทํา ประโยชน์ได้มาก ที่ผ่านมาที่เราคิดได้ก็มีเช่นรถอีแต๋น เรือหางยาว เป็นของเราที่เราคิดขึ้นมาเอง ใน ต่างประเทศก็ดูตัวอย่างได้ อย่างกระเป๋ามีล้อนั้นเป็นเรื่องอัศจรรย์มาก ผมไปอ่านประวัติมา มนุษย์ใน โลกนั้นรู้จักล้อมาประมาณห้าพันปี ตั้งแต่ในการสร้างปีระมิด สร้างนครวัดเมื่อหลายพันปีที่แล้วก็ใช้ล้อ เป็นลูกรอกแบกหิน แล้ว กระเป๋าเดินทางมีล้อนั้น ความจริงมีมาแล้วตั้งแต่ประมาณปี 1970 แต่เป็นแบบ ลากตามแกนนอน แต่พอถึงปี 1980 มีกัปตันคนหนึ่งทํากระเป๋ามีล้อแบบที่เราเห็นทุกวันนี้ คือลากแบบ สองล้อ เขาประดิษฐ์ขึ้นมาเอง คนก็ถามว่ากัปตันซื้อมาจากที่ใด เขาก็เลยลาออกจากการเป็นกัปตันของ สายการบิน Northwest Airline มาตั้งบริษัทชื่อ Travelpro เวลานี้ Travelpro เป็นบริษัทที่ใหญ่มากของ โลก นับจากนั้นโลกก็ใช้กระเป๋าลากมาจนถึงทุกวันนี้ แล้วก็ลอกเลียนแบบไปผลิตกันทั้งโลก และพัฒนา ต่อยอดไปอีก คือทั้งล้อและกระเป๋านั้นเป็นเรื่องธรรมดามาก แต่ก่อนหน้านั้นไม่เคยมีใครเอาของสอง อย่างนี้มาติดกัน
  • 16. 12 อีกตัวอย่างหนึ่งคือหม้อหุงข้าวไฟฟ้า หลายท่านอาจจะจําได้ว่าประมาณ พ.ศ.2500 เศษ หม้อหุง ข้าวไฟฟ้าเข้ามาในบ้านเรา หม้อหุงข้าวไฟฟ้านั้นเริ่มมาจากสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งญี่ปุ่นหุงข้าว ด้วยไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเหล่านี้ทําให้นํ้าข้าวที่ให้สุนัขกินหรือไม้ขัดหม้อที่เอาไว้นวดเด็กไทยมา หลายร้อยปีหายไป เพราะตอนนี้ก็แค่กดปุ่มเท่านั้นเอง นี่ก็เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือมาดูมวยไทย มวยไทยนั้น ถ้าดูประวัติศาสตร์ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่ามวยไทย มีแต่มวยที่อยู่ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา คนเขมรก็ชกมวยแบบเรา คนลาวก็ชก คนพม่าก็ชก แต่ไทยนํามาสร้าง มูลค่าหรือทําเป็นการพาณิชย์ (commercialized) ก่อนคนอื่น กล่าวคือหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์สร้างเวทีราชดําเนินขึ้นมา หลังจากนั้นก็มีค่ายมวยเกิดขึ้น เช่น ยนตรกิจ และอื่นๆ ก็เลย commercialized กลายเป็นเรียกว่ามวยไทย เวลานี้เลยกลายเป็นธุรกิจใหญ่โต ถ้าไปดู Thai Fight ชกไฟท์หนึ่งหนึ่งล้านบาท เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ชัดเจนมาก แต่เราอาจจะทําถูก หรือผิดผมก็ไม่ทราบที่เราไม่ standardize มวยไทยเหมือนกับเทควันโด ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ กลายเป็นมวยพันๆ แบบ ทั่วโลก อาหารไทย อาหารไทยนั้นเป็นสิ่งที่ปนกันหมด มาจากทุกชาติ คนไทยเอามาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงจนเป็นอาหารไทย และเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยแท้ ผมไปร้านอาหารอยู่ร้านหนึ่งเมื่อสัก สองปีมาแล้ว ชื่อว่าร้านนํ้า อยู่ที่โรงแรมสุโขทัย แพงมาก เป็นร้านอาหารมิชลิน เขาเอาตําราอาหารมา จากหนังสืองานศพ ที่เป็นที่นิยมของคนไทยสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่จะพิมพ์ตํารากับข้าวของ บรรพบุรุษของคนในครอบครัวที่เสียชีวิตไปแล้ว เขาไปค้นเอาตําราตรงนั้นมาทําอาหาร ที่ประทับใจผม ที่สุดคือเขาเอามะม่วงดิบมาหั่นเฉียงๆ แบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน แล้วมีพริกกะเกลือที่มาจิ้มกับมะม่วง สีเขียวเหมือนกัน ผมก็ดูแล้วร้องโอ้โหว่าเอาสีเขียวใส่ลงไป ใครจะไปกิน แต่เจ้าของร้านซึ่งเป็นคน ออสเตรเลียแต่มาแต่งงานกับคนไทยบอกว่า ที่เห็นเขียวนั้น เพราะเอาผิวของมะกรูดมาหั่นละเอียดแล้ว ตํากับพริกกะเกลือ สีเขียวนั้นสอดคล้องกับสีมะม่วง และรสชาตินั้นทําให้ผมประทับใจมากว่าเป็น เศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยแท้ คือเป็นของไทยแบบดั้งเดิมแต่สามารถเอามาทําให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น สุดท้ายคือพระเครื่อง เมื่อคุยกับคนในวงการพระเครื่อง ผมตกใจมาก ผมไปที่ศูนย์ราชการเมื่อ อาทิตย์ที่แล้ว ในฮอลล์ที่ใหญ่เกือบเท่าสนามฟุตบอล เกือบครึ่งหนึ่งมาประกวดพระเครื่องกัน ผู้คนมากัน มืดฟ้ามัวดิน คนไทยทั้งนั้น เต็มไปหมด ผมก็เดินเข้าไปเลียบๆ เคียงๆ ถามเขาด้วยความอยากรู้ เขา บอกว่างานนี้ไม่ได้จัดแค่เฉพาะวันนั้นวันเดียว แต่มีทุกอาทิตย์ ความสนใจพระเครื่องในเวลานี้ขึ้นสูงมาก เพราะไม่ได้เพียงแต่นับถือและเอามาแขวน แต่ว่ามันกลายเป็นสินค้าส่งออกด้วย คนจีนเข้ามาเช่าเยอะ ผมไปเที่ยวในอาเซียน ผมก็ถามคนเขมร คนลาว คนพม่า คนเหล่านี้ไม่แขวนพระ เขาจะแขวนตะกรุด หรืออะไรต่างๆ มีคนไทยอยู่ชาติเดียวในอาเซียนที่แขวนพระ แต่เวลานี้ ผู้นําลาว ผู้นําเขมร ก็แขวนพระ สมเด็จ แต่คนทั่วไปนั้นจะไม่แขวนพระ เพราะเขากลัวว่าเวลาทําอะไรไม่ดีแล้วจะเสียกับตัว แต่คนไทย เราแขวนพระมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ ถ้าไปเที่ยวต่างประเทศ อยากจะรู้ว่าใครเป็นคนไทยนั้นดูไม่ ยากเลย ดูที่คอ ถ้าเป็นพระนั้นร้อยทั้งร้อยเป็นคนไทย และถ้าเวลาเราไปเที่ยวแล้วไม่อยากให้เขารู้ว่า เป็นคนไทย ให้เอาพระแอบซ่อนไว้ในเสื้อ เขาก็จะไม่รู้ว่าเป็นคนไทย พระเครื่องเป็นเอกลักษณ์ของคน
  • 17. 13 ไทยที่กลายเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไปแล้ว ผมว่าไม่มีดินที่ใดที่มีราคาแพงเท่าพระเครื่อง ไม่ถึงคิวบิกนิ้ว ราคาเป็นหลายสิบล้าน เพราะว่าเป็นสินค้าที่ขึ้นอยู่กับความพอใจของคน ผมคิดว่าเกาหลีใต้เป็นตัวอย่างของประเทศที่ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ดี ผมเองก็เป็นแฟน ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้ และเป็นแฟนไม่ว่าจะเป็นดีวีดี พล็อตเรื่อง การออกแบบเสื้อผ้า มรดกวัฒนธรรม เพลง นักร้อง นักแสดง การท่องเที่ยว ในความรู้สึกของผม จากการศึกษา ประวัติศาสตร์สิ่งที่คนเกาหลีใต้ต้องการคือการยอมรับ ถ้าดูแผนที่ เราจะเห็นว่าประเทศเกาหลีใต้อยู่ตรง ปลายคาบสมุทร ถ้าไม่ทําตัวเองให้มีคุณค่าแล้ว ตกทะเลแน่นอน เกาหลีนั้นเคยเป็นเมืองขึ้นญี่ปุ่นโดย สมบูรณ์ตั้งแต่ปี 1910 – 1945 มหาวิทยาลัยโซลนั้นญี่ปุ่นก็เป็นคนตั้งขึ้นมา เกาหลีใต้จึงเป็นตัวอย่างของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือเรียกได้ว่าเป็นเศรษฐกิจหลั่นล้าโดยแท้ ลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมาของวัฒนธรรม เกาหลีใต้นั้นขายได้มาก มีคนบอกผมว่าเวลานี้ช่างตัดผมเกาหลีใต้มาตัดผมที่สยามสแควร์ ครั้งละ 2-3 หมื่นห้าพันบาท มีคนไปตัดไม่เว้น หรือหากจะผ่าตัดเสริมความงาม ก็ไม่ต้องไปเกาหลีแล้ว อยู่เมืองไทย ก็มีหมอเกาหลีบินมาทําให้ บริการอย่างนี้เองเป็นสิ่งที่ผมเชื่อว่าทําเงินให้กับเกาหลีใต้มากมาย แล้ว กระแสนิยมเกาหลี หรือ K-wave ก็ไม่ได้มีคนบ้าคลั่งเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่บ้าคลั่งเกือบทั้ง โลก ถามว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้นมาจากอะไร ก็มาจากทุน บวกกับ New DNA ทุนนั้นมาในรูปของ ทุนมนุษย์(Human Capital) ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ทุนทางสังคม (Social Capital) ทุน ทางสถาบัน (Institutional Capital) และทุนทางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Capital) ทุนเหล่านี้ ถือเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจหลั่นล้า ตัวอย่างที่ผมเห็นเช่น อินโดนีเซีย มีเกาะ 50,000 เกาะ ครั้งซูการ์โนขึ้นมามีอํานาจเมื่อราว 70 ปี มาแล้ว คนอินโดนีเซียต่างคนต่างพูดคนละภาษา แต่ซูการ์โนผลักดันให้เกิดภาษาประจําชาติขึ้นมา เรียกว่า บาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) คําว่า “บาฮาซา” นี้คือคําเดียวกับ “ภาษา” โดยเอา ภาษามาเลย์มาดัดแปลงเป็นบาฮาซา จนตอนนี้คนอินโดนีเซีย 260 ล้านคนพูดภาษาเดียวกัน มีตํารา ภาษาเดียวกัน ภาษานั้นใช้ตัวอักษรโรมัน และใช้คําศัพท์ของตะวันตกก็มาก และเป็นภาษาซึ่งมี ไวยากรณ์คล้ายภาษาไทย เรียงประธาน กริยา กรรม เป็นภาษาที่เรียนรู้ได้เร็ว ทําให้ประเทศเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน จาก 50,000 เกาะ กลายเป็นประเทศเดียวกันได้ ก็จากทุนทางสังคมด้านภาษาที่ว่านี้ ส่วนในเรื่อง New DNA นั้น ผมคิดว่าคุณลักษณะสําคัญของคนรุ่นใหม่ที่จะทําเศรษฐกิจ สร้างสรรค์จะต้องมี ทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทักษะด้านนวัตกรรม (Innovative Skill) ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Skill) และกรอบคิดสร้างสรรค์ (Creative Mindset) ตัวอย่างเช่น ผมจําได้ว่าเมื่อสี่สิบปีที่แล้วผมศึกษาเรื่องรถไถแบบเดินตามที่ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นรุ่นแรก ของรถไถเดินตาม มีประมาณสามสี่บริษัทที่ผลิตรถไถออกมาขายให้กับชาวนา เวลานั้นเราใช้รถไถน้อย มาก ส่วนใหญ่ใช้ควาย ต่อมาจีนกับญี่ปุ่นเอารถไถเดินตามที่ผลิตโดยสามสี่บริษัทที่ฉะเชิงเทราไปพัฒนา กระทั่งกลายเป็นรถไถแบบในปัจจุบันนี้ที่ถือได้ ผมเห็นที่พิษณุโลกวันก่อน ขนาดของรถไถนั้นเล็กลงมา
  • 18. 14 เหลือคันเล็กๆ เท่านั้นเอง เป็นของจีนผลิตมาขาย เพราะคนแถวนั้นทําสวนกันมาก ก็ไม่จําเป็นต้องซื้อ รถไถคันใหญ่ ซื้อคันเล็กที่สามารถพรวนดิน ตัดหญ้าอะไรต่างๆ ได้ ราคาก็ถูก เพราะฉะนั้น เราจะต้องมี ทักษะด้านการประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และต้องมีกรอบคิดที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ที่ไม่คิดแต่จะ ลอกเลียนแบบคนอื่นตลอดเวลา และต้องมีทักษะผู้ประกอบการ กับทักษะด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าทักษะและความคิดสร้างสรรค์จะเป็นฐานที่เพิ่มมูลค่าให้ภาคบริการของเรา ได้ และผมคิดว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นภาคที่ยังจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกมาก และทาได้ไม่ยากเกินไป จากฐานที่เรามีอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปวัฒนธรรมของเรา เพียงแต่จะต้องสร้างอะไรบางอย่างที่ เป็นมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราว บรรจุภัณฑ์ หรือพัฒนาคุณภาพของสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว