SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 11
Downloaden Sie, um offline zu lesen
1
สามารถ สุวรรณรัตน์
นักวิชาการอิสระ
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
1.บทนำ
นับจากปีพ.ศ. 2504 ที่เริ่มมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อการพัฒนา
ประเทศ การเร่งรัดให้มีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมให้กับจังหวัดใน
แต่ละๆ ภูมิภาค กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยเร่งที่ทาให้เกิดการพัฒนาเมือง สาหรับเมืองในพื้นที่ภาคเหนือ
นอกจากการพัฒนาที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองในทุกมิติแล้ว ผลลัพธ์ของการพัฒนาเมืองยัง
เป็นแรงผลักให้เกิดปรากฏการณ์การรวมตัวของกลุ่มคนในพื้นที่ เกิดเป็นภาคประชาสังคมที่มีเป้าหมาย
และมีการทากิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาเมืองในแนวทางที่ตนเห็นชอบขึ้นจานวนมาก
จากการศึกษาการขับเคลื่อนงานของกลุ่มภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาเมืองในพื้นที่ศึกษา
(พื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่, ลาพูน, ลาปาง, แม่ฮ่องสอน และแพร่) พบว่าประเด็นร่วมใน
การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองของแต่ละพื้นที่ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก คือ
ประเด็นว่าด้วยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษามรดกทางวัฒนธรรม
ประเด็นว่าด้วยการรักษาสภาพแวดล้อม และการฟื้นฟูกายภาพเมือง
เนื้อหาในเอกสาร มาจากงานวิจัย เรื่อง “อนาคตเมืองเชียงใหม่ ขับเคลื่อนโดยภาคประชาสังคม” ภายใต้ แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง
ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยการสนับสนุนจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
POLICY BRIEF
แนวทางการพัฒนาภาคประชาสังคม
ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือ
(เชียงใหม่ ลาพูน ลาปาง แม่ฮ่องสอน และแพร่)
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 2
2. สถำนกำรณ์เมืองในภำคเหนือ
นโยบายของภาครัฐ และเอกชนจากภายนอกสู่ภายในพื้นที่เมืองคือปัจจัยและกลไกสาคัญใน
การผลักดัน และส่งเสริมความเปลี่ยนแปลงของเมืองในทุกจังหวัดของประเทศไม่เว้นกระทั้งเมืองใน
ภาคเหนือ โดยเฉพาะเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคอย่างเมืองเชียงใหม่ ที่เป็น
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านกายภาพ สังคมและเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นต้นแบบการ
พัฒนาในด้านนโยบาย โครงการ และกิจกรรมทั้งในส่วนของภาครัฐ และเอกชน รวมไปถึงการกระจาย
องค์ความรู้ เครื่องมือ และรูปแบบการทางานการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองโดยภาคประชาสังคม
นอกจากนี้รูปแบบของการกลายเป็นเมืองในทุกมิติของเมืองเชียงใหม่ยังส่งแรงกระเพื่อมทาให้เกิด
ความเปลี่ยนแปลงกับเมืองอื่นๆ ใกล้เคียงอีกด้วย
ภาวการณ์การขยายตัวของพื้นที่เมือง และการกลายเป็นเมืองหลักอย่างเชียงใหม่ในพื้นที่
ภาคเหนือปัจจุบัน สามารถสรุปเป็นผลกระทบเชิงประเด็นได้ดังนี้
1) ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายในเมืองหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพ เช่น สภาพทาง
กายภาพโดยรวมของเมืองมีความน่าอยู่ลดลง เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การขยายตัวของพื้นที่เขต
เมืองอย่างรวดเร็วทาให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ชุมชนดั้งเดิมที่ถูกปรับเปลี่ยนไปสู่ย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่น
หรือย่านธุรกิจ การสูญเสียพื้นที่สีเขียวภายในเมืองเพื่อการประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่น รวมไปถึงการ
สูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมหรือพื้นที่ที่เหมาะสาหรับการเพาะปลูกที่เป็นรอยต่อระหว่างเมืองกับชนบทไป
เพื่อการขยายตัวของที่อยู่อาศัยชานเมือง
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมของเมืองหลัก การเพิ่มขึ้นของประชากรภายในเมืองจากการ
หลั่งไหลเข้าเมืองด้วยปัจจัยดึงดูดด้านเศรษฐกิจ และโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเสื่อมถอย
ของสายสัมพันธ์ทางสังคมแบบดั้งเดิม วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป การให้ความสาคัญ การปฏิบัติที่แสดงออก
ถึงการให้คุณค่าและความหมายของมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนลดลง เป็นต้น
2) ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเมืองใกล้เคียง เมื่อเมืองหลักของภูมิภาคอย่างเชียงใหม่กลายเป็น
เมืองศูนย์กลางการพัฒนาและความเจริญ การหลั่งไหลของผู้คนจากเมืองใกล้เคียงอย่าง เชียงราย
แม่ฮ่องสอน ลาพูน ลาปาง น่าน แพร่ และพะเยา เข้าสู่เมืองเชียงใหม่จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแบบ
แผนคล้ายคลึงกัน ส่งผลให้เมืองใกล้เคียงเหล่านี้ได้รับผลกระทบที่คล้ายคลึงกัน อาทิ การอพยพออก
นอกพื้นที่ของคนในวัยเรียน และวัยแรงงาน เพื่อโอกาสทางการศึกษา และโอกาสทางธุรกิจ เป็นสาเหตุ
ทาให้ภายในพื้นที่ทั้งเขตเมือง และชนบทจะหลงเหลือก็แต่เพียงผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก การที่คนใน
พื้นที่ถูกดึงดูดให้อพยพไปสู่เมืองใหญ่ยังส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่โดยเฉพาะย่านเศรษฐกิจ
การค้า หรือชุมชนที่เคยมีผู้อาศัยหนาแน่น จะเกิดภาวะซบเซาเนื่องจากขาดประชากรวัยแรงงงานซึ่ง
เป็นกาลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ผลกระทบและปัญหาในปัจจุบันที่มีสาเหตุมาจากการขยายตัวของเมือหลัก และเมืองใกล้เคียง
สรุปเป็นรายจังหวัดในพื้นที่ศึกษาได้ดังนี้
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 3
2.1 เชียงใหม่ ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดของเมืองเชียงใหม่ คือสภาวะของเมืองที่
กาลังเดินหน้าสู่การเป็นมหานคร สังเกตได้จากการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์อาคารและพื้นที่ในเขต
เมืองเพื่อประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมากขึ้น และการขยายตัวจากตัวเมืองชั้นในออกไป
เชื่อมต่อกับเมืองขนาดเล็กซึ่งเป็นพื้นที่อาเภอในปริมณฑลของเมือง และเทศบาลในเขตปกครองของ
จังหวัดลาพูน โดยอาศัยเส้นทางวงแหวนรอบเมืองในรอบที่ 2 และ 3 และถนนซุปเปอร์ไฮเวย์
เชียงใหม่-ลาปางเป็นเส้นทางเชื่อมต่อ เกิดปรากฏการณ์โครงการอสังหาริมทรัพย์เข้าไปแทนที่พื้นที่
เกษตรกรรมโดยรอบเมือง และเกิดศูนย์กลางพาณิชยกรรม (CBD) แห่งใหม่ๆ เพื่อมุ่งเน้นให้บริการคน
ในพื้นที่ตามจุดตัดของถนนสายหลัก การปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์อาคารและพื้นที่ในเขตเมือง และ
การขยายตัวของที่อยู่อาศัยในพื้นที่ปริมณฑลของเมือง นาซึ่งผลกระทบและปัญหา อาทิ ปริมาณขยะ
ภายในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ยังอยู่ในปริมาณสูง และขยับขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาเรื่องการปล่อยน้าเสีย
โดยไม่ผ่านการบาบัดลงท่อระบายน้าสาธารณะและคลองแม่ข่า ปัญหาเกาะความร้อนซึ่งทาให้อุณหภูมิ
ภายในเมืองสูงขึ้นทุกปี ปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วนโดยเฉพาะในถนนสายสาคัญที่อยู่ใน
แนวรัศมีโดยรอบเขตเมืองซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียน มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาล ปัญหาหมอกควัน
คลุมเมืองแม้จะมีปัจจัยอื่นๆ มาสนับสนุนทาให้เกิดไม่ว่าจะเป็นลักษณะของภูมิประเทศ ไฟป่า และการ
เผาเศษวัสดุจากการเกษตรปริมาณมากในช่วงฤดูแล้ง แต่ส่วนหนึ่งของปัญหาก็มาจากปริมาณควันจาก
การใช้รถส่วนบุคคลในเขตเมืองที่มีมากขึ้น เพราะเมืองเชียงใหม่ยังขาดขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ
ปัญหาเรื่องการล่มสลายของคุณค่าและมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนดั้งเดิมจากการย้ายถิ่นฐานออก
ของคนในเพื่อหาที่อยู่อาศัยนอกเมือง และให้คนนอกเข้ามาใช้พื้นที่เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ
2.2 ลำพูน แม้เมืองลาพูนจะอยู่ไม่ไกลจากเมืองเชียงใหม่ แต่การขยายตัวของเมือง
ลาพูนยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องด้วยปัจจัยสาคัญคือการอพยพของแรงงานจากภายนอกพื้นที่เข้ามา
ทางานในเขตนิคมอุตสาหกรรมลาพูน เป็นผลให้เกิดการขยายพื้นที่อยู่อาศัยในด้านทิศเหนือของพื้นที่
เขตเมืองเก่าลาพูนได้แก่ พื้นที่เทศบาลตาบลบ้านกลาง เทศบาลตาบลเหมืองง่า เทศบาลตาบลมะเขื่อ
แจ้ และเทศบาลเมืองลาพูน ประชากรที่เป็นแรงงานเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นประชากรแฝงที่บางส่วนพัก
อาศัยในพื้นที่ บางส่วนอาศัยการเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ ทาให้เกิดปัญหาทั้งปริมาณขยะ และ
การจราจรติดขัดในช่วงเข้างานและหลังเลิกงานในแยกที่เป็นจุดตัดระหว่างเส้นทางเข้าสู่เมืองลาพูน
และถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลาปาง
นอกจากปัญหาดังกล่าวเมืองลาพูนยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจา เช่น ปัญหาการปล่อยน้า
เสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่ลาเหมืองสาธารณะ และปัญหาน้าแม่กวงที่ไหลผ่านตัวเมืองเกิดเน่า
เสียในฤดูแล้งเนื่องจากปริมาณน้าต้นทุนมีหน่วย ไม่สามารถเจือจางน้าที่ปล่อยจากครัวเรือน และพื้นที่
เกษตรโดยรอบ
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 4
2.3 ลำปำง ภาพรวมปัญหาในปัจจุบันของเมืองลาปางที่ปรากฏชัดและกลายเป็นวาระ
ของเมืองได้แก่ ปัญหาน้าวังเน่าเสียในฤดูแล้ง ซึ่งมีลักษณะปัญหาคล้ายคลึงกับปัญหาของเมืองลาพูน
ซึ่งมีต้นต่อสาเหตุมาจากปริมาณน้าต้นทุนมีจานวนลดลงจนไม่สามารถเจือจางน้าเสียจากครัวเรือนและ
น้าจากกิจกรรมการเกษตรได้ รวมไปปริมาณผักตบชวาและวัชพืชในลาน้ามีปริมาณมากนามาซึ่ง
ปัญหาน้าวังเน่าเสีย และส่งกลิ่นเหม็น จนเกิดการรวมไม้รวมมือกันของหน่วยงานภาครัฐและประชาชน
ในการแก้ปัญหาตลอดสายน้า
อีกหนึ่งประเด็นที่อยู่ในความสนใจของคนลาปางคือ ประเด็นการรักษาและฟื้นฟูมรดกทาง
วัฒนธรรมก็เป็นหนึ่งในประเด็นที่คนในเมืองลาปางให้ความสนใจ เช่น การอนุรักษ์และบูรณะศาสน
สถาน งานพุทธศิลป์ อาคารเก่าย่านเก่า และการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ของเมืองลาปาง ซึ่งอยู่
ในความสนใจของภาคประชาสังคมเมืองลาปาง และคนลาปางมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน
ก็ยังไม่มีความคืบหน้า
2.4 แม่ฮ่องสอน เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นเมืองในหุบเขา เมืองแม่ฮ่องสอนจึง
ประสบปัญหาหมอกควันคลุมเมืองอย่างรุนแรง และเป็นประจาทุกปี ต้นตอของหมอกควันมาจากการ
เผาเศษวัสดุจากการเกษตร ไฟป่า และหมอกควันจากประเทศเพื่อนบ้าน
อีกประเด็นที่อยู่ในความสนใจของภาคประชาสังคมเมืองแม่ฮ่องสอนคือ ภาวะการสูญเสียอัต
ลักษณ์ทางวัฒนธรรมไต จากกระแสการพัฒนาที่เข้ามาในพื้นที่ และคนแม่ฮ่องสอนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่
ต่างออกไปศึกษาและหางานทาในเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร จึงเกิดความวิตก
กังวลว่าการสืบทอดคุณค่า และวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ตัวตนคนไตจะถึงคราวหยุดชะงัก และ
ค่อยๆเสื่อมถอยไปตามอายุวัยของผู้สูงอายุที่ยังอยู่อาศัยในเมือง
2.5 แพร่ เมืองแพร่แม้จะเป็นเมืองขนาดเล็ก แต่ปัญหาการจัดการขยะก็เป็นปัญหาหนึ่งที่
ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมของเมืองไม่ต่างจากเมืองใหญ่ ด้วยสาเหตุขยะล้นเมือง และไม่สามารถจัดการ
เก็บและกาจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ราวปีปลายพ.ศ. 2557 จังหวัดแพร่ถูกจัดให้เป็นจังหวัดที่มี
ขยะสะสมมากเป็นอันดับ 8 ของประเทศ และมีการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการทิ้งขยะของ
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทั้ง 83 แห่ง ยังไม่มีการจัดการขยะที่เป็นระบบ มีการกองขยะไว้กลางแจ้ง
และมีขยะอันตราย ปะปนอยู่กับขยะทั่วไป ขณะนี้หน่อยงานได้อาศัยการฝั่งกลบเป็นการแก้ไขปัญหา
เฉพาะหน้า เพื่อรอให้โครงการจัดสร้างเตาเผาขยะแล้วเสร็จ
ปัญหาร่วมของเมืองในภาคเหนือ คือ นอกจากปัญหาหมอกควันคลุมเมือง และปัญหาน้าเสียใน
ฤดูแล้ว ปัญหาการสูญเสียอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และมรดกทางวัฒนธรรมก็เป็นปัญหาหนึ่งที่มักถูก
หยิบยกขึ้นมาและได้รับความสนใจจากภาคประชาสังคม แม้ในเมืองลาพูน ลาปาง แม่ฮ่องสอน และ
แพร่ ปรากฏการณ์ของปัญหาในเรื่องนี้อาจไม่เด่นชัดเท่ากับเมืองเชียงใหม่ที่มีกลุ่มภาคประชาสังคม
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 5
หลากหลายกลุ่มลุกขึ้นมาจัดการกับปัญหาด้วยตนเอง แต่ที่เมืองลาพูน ลาปาง แม่ฮ่องสอน และแพร่
ต่างมีลักษณะร่วมของปัญหาข้างเคียงที่ส่งให้เกิดปัญหาสั่นสะเทือนถึง วิถีวัฒนธรรม และมรดกทาง
วัฒนธรรมในพื้นที่ อาทิ
1) ปัญหาการเคลื่อนย้ายออกของคนในพื้นที่ เพื่อไปเป็นแรงงานในเมืองใหญ่ ส่งผลให้ที่พัก
อาศัยในเขตชุมชนเมืองหลงเหลือเพียงผู้สูงอายุ และร้านค้าท้องถิ่นไม่กี่แห่งที่ยังสามารถเปิดบริการได้
ทาให้เมืองเกิดความซบเซาขาดชีวิตชีวา เป็นปรากฏการณ์ “คนเฒ่าเฝ้าบ้าน” ที่พบเห็นได้ทั่วไปใน
เมืองเล็กๆทั่วภาคเหนือ
2) ปัญหาการขาดกาลังคนหนุ่มสาวในพื้นที่ นาสู่ปัญหาการขาดผู้สืบถอดวิถีวัฒนธรรม
ประเพณี และการรักษามรดกทางวัฒนธรรมของเมือง
3) ปัญหาด้านการเสื่อมสลายของอัตลักษณ์ และจิตวิญญาณของคนในเมือง และคนรุ่นหลัง
ปรากฏการณ์การแยกตัวออกไปจากสังคมเดิมของคนรุ่นใหม่วัยแรงงาน ส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกถึง
จิตวิญญาณหรืออัตลักษณ์ความเป็นตัวตน และความต้องการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง
ซึ่งจะสะท้อนออกมาให้เห็นผ่านบทบาทการทางานและความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม
3. กรณีศึกษำกำรขับเคลื่อนงำนของภำคประชำสังคมเพื่อกำรพัฒนำเมือง
จากการศึกษากลุ่มตัวแทนภาคประชาสังคมที่ในพื้นที่ศึกษาที่ยังคงทางานขับเคลื่อนการ
พัฒนาเมืองในปัจจุบัน ส่วนใหญ่กลุ่มต่างๆในพื้นที่จะนาประเด็นการดูแลรักษา และฟื้นฟูมรดกทาง
วัฒนธรรมที่ยึดโยงกับจิตสานึก ตัวตน และอัตลักษณ์มาเป็นเครื่องมือในการดึงดูดการมีส่วนร่วมและ
เป็นประเด็นหลักในการทางานที่มุ่งหวังจะส่งแรงกระเพื่อมไปสู่การดูแลเมืองของตนในมิติอื่นๆ ดัง
ตัวอย่างการทางานของตัวแทนภาคประชาสังคมในพื้นที่ศึกษา ดังต่อไปนี้
3.1.เมืองเชียงใหม่
1) เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ การรวมตัวกันของกลุ่มผู้นาชุมชนในเขตเมืองเก่า
เชียงใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดาเนินกิจกรรมอาสาเพื่อการอนุรักษ์ รักษา และฟื้นฟูมรดกทาง
วัฒนธรรมในเขตเมืองเชียงใหม่ ผ่านกิจกรรม กิจกรรมยอสวยไหว้สา พระญามังราย (งานปี๋ใหม่เมือง)
ซึ่งจัดติดต่อกันมาเป็นปีที่ 4 กิจกรรมจุดผางปะตี๊ดส่องฟ้า รักษาเมือง (งานประเพณีลอยกระทง) จัด
ขึ้นติดต่อมาเป็นปีที่ 4 และการติดตามความเคลื่อนไหว(โครงการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้ว) การปรับ
พื้นที่ทัณฑสถานหญิงใจกลางเมืองเชียงใหม่ให้เป็นข่วงสาธารณะ และกิจกรรมการอบรมนาฎศิลป์
ล้านนาสาหรับเยาวชน โครงการและกิจกรรมทั้งหมดทางกลุ่มเป็นผู้ริเริ่ม และได้รับการสนับสนุนจาก
เทศบาลนครเชียงใหม่ และหน่วยงานส่วนท้องถิ่น และส่วนกลาง
2) กลุ่มมือเย็นเมืองเย็น คือกลุ่มคนรุ่นใหม่จิตอาสาที่สนใจเรื่องพื้นที่สีเขียวและสิ่งแวดล้อม
เมือง ริเริ่มจากกลุ่มศิลปินนักดนตรี สถาปนิก นักออกแบบ สร้างกิจกรรมการปลูกต้นไม้รอบคูเมือง
เชียงใหม่ โดยอาศัยการรณรงค์ผ่าน Facebook ในรูปแบบของการ Challenge และการระดมทุนรวม
ไปถึงกล้าไม้จากคนทั่วไป หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลนคร
เชียงใหม่ และองค์ภาครัฐและเอกชนในพื้นที่
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 6
3.2 เมืองลำพูน
กลุ่ม Spirit of Lumphun กลุ่มภาคประชาสังคมผสมผสานระหว่างกลุ่มนักวิชาการท้องถิ่น
ปราชญ์ชุมชน ชาวบ้าน คนวัยแรงงาน และนักเรียนนักศึกษา ทางานจิตอาสาที่เกี่ยวข้องกับงาน
อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของเมืองลาพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อจิตสานึกให้คนลาพูนรักเมือง และจิต
วิญญาณความเป็นคนลาพูน ผ่านกิจกรรมได้แก่ งานก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลาพูน การจัดทา
นิทรรศการครูบาศรีวิชัย และการรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ และชีวประวัติครูบา ศรีวิชัย จัดทาเป็น
หนังสือประวัติครูบาศรีวิชัย การจัดงานลอยกะโล้งป้อบุญตั่นในช่วงประเพณีลอยกระทง
3.3 เมืองลำปำง
1) งานอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาวชุมชนปงสนุก จุดเริ่มต้นจากการรวมตัวของ
นักวิชาการ พระสงฆ์ และสมาชิกชุมชนปงสนุกเพื่อดาเนินงานอนุรักษ์และบูรณะวิหารพระเจ้าพันองค์
ที่วัดปงสนุก อาศัยการระดมทุน และการทางานแบบจิตอาสาระหว่างชุมชน วัด ร่วมกับนักวิชาการจาก
มหาวิทยาลัยจนในที่สุดวิหารได้รับการบูรณะและได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์ Award of Merit จาก
UNESCO ในปี 2550 เกิดเป็นกระแสและเครือข่ายการทางานจิตอาสาด้านการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์
ขยายออกไปทั่วจังหวัดลาปาง
2) งานฟื้นฟูกาดกองต้า (ตลาดจีน) ของชาวชุมชนตลาดจีน เกิดจากการรวมตัวของคนใน
ชุมชน และนักวิชาการที่มองเห็นคุณค่าของอาคารและย่านเก่าในพื้นที่ และการสนับสนุนจาก
หน่วยงานในท้องถิ่นส่งเสริมให้จัดถนนคนเดิน โดยการบริหารจัดการจากคนในชุมชนจนทาให้ย่านที่
เคยซบเซากลับมาคึกคัก และกลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ผสมผสานงานอนุรักษ์ด้าน
สถาปัตยกรรม การมีส่วนร่วม และการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์โดยชุมชน ที่สาเร็จเป็นรูปธรรมและ
ได้รับการยอมรับไปทั่ว
3) กลุ่มฮอมแฮง กับการรณรงค์จัดสร้างหอศิลป์ลาปาง การรวมตัวโดยจิตอาสาของศิลปิน
นักวิชาการ และคนทั่วไปที่สนใจ เรียกร้องให้มีการปรับปรุงศาลากลางจังหวัดเดิมที่ตั้งอยู่กลางใจเมือง
ให้เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลปะของคนลาปาง จัดกิจกรรมเวทีเสวนา และกิจกรรการแสดงด้าน
วัฒนธรรมอยู่ครั้งใหญ่ถึง 3 ในช่วง ในช่วงพ.ศ. 2546-2549 แต่เนื่องจากการจัดสร้างหอศิลป์ต้องใช้
งบประมาณสูง และยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามารับผิดชอบได้ความเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมจึง
ค่อยเงียบหายไป แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังมีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ออกมาเป็นระยะในเรื่องความ
คืบหน้าของโครงการ แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีความชัดเจน
3.4 เมืองแม่ฮ่องสอน
เป็นเมืองขนาดเล็กที่มีชุมชนในเขตเมืองเพียง 6 ชุมชน และยังมีระบบการดูแลและการสร้าง
การมีส่วนร่วมผ่านงานวัฒนธรรมของเมืองอย่างสภาน้าเน่ง (สภาน้าชา) ของผู้อาวุโสที่ช่วยวางแผน
กาหนดการทางานสาคัญๆ อย่างงานปอยส่างลอง หรืองานพีด (ออกพรรษา) การรวมตัวเพื่อการ
พัฒนาเมืองที่เด่นชัดของภาคประชาสังคมในช่วงที่ผ่านมาคือ งานชมรมบ้านเก่าเมืองแม่ฮ่องสอน
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 7
เกิดจากการรวมตัวของเจ้าของบ้านไม้เก่า ริมถนนสิงหนาทบารุง และบ้านไม้เก่าในเขตเทศบาลเมือง
แม่ฮ่องสอน รวมตัวกันขึ้นเพื่อสร้างแผนการอนุรักษ์ และซ่อมแทรมบ้าน รวมไปถึงการดูแลภูมิทัศน์ใน
พื้นที่ถนนสิงหนาบารุง ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณโดยเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน และสถาบัน
พัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) หรือ พอช.
3.5 เมืองแพร่
ข่ายลูกหลานเมืองแพร่ และชมรมอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่ เกิดจากการ
รวมตัวและการทางานแบบจิตอาสาของนักวิชาการท้องถิ่น ปราชญ์ท้องถิ่น สถาปนิก และนักพัฒนา
เอกชน โดยมีวัตถุประสงค์การทางาน คือ เพื่อรวบรวมข้อมูลอาคารบ้านพัก สถานที่สาคัญทาง
ประวัติศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ และผลักดันให้เกิดพื้นที่อนุรักษ์ ตามหลักวิชาการ ร่วมดาเนินงานกับ
ภาครัฐเพื่อการอนุรักษ์ และดูแลเมือง รวมไปถึงการจัดทาแผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยวด้าน
ศิลปวัฒนธรรม งานที่ผ่านมีกิจกรรมหลายอย่าง อาทิ การจัดตั้งถนนคนเดินกาดกองเก่า (กาดพระ
นอน) การจัดทริปจักรยานปั่นชมเมืองแพร่ ‘ปั่นเปลี่ยนแป้’ การจัดทัวร์สามล้อถีบ การจัดนิทรรศการว่า
ด้วยคนเมืองแพร่ และกิจกรรมทางศิลปะที่ช่วยสร้างสีสันให้กับเมืองเก่าแพร่
4.องค์ประกอบของภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองในพื้นที่ศึกษา
จากการศึกษาตัวแทนภาคประชาสังคมในพื้นที่ศึกษาพบว่า องค์ประกอบพื้นฐานซึ่งเป็นปัจจัย
สู่ความสาเร็จของภาคประชาสังคมในการพัฒนาเมือง ประกอบขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ของ 4
องค์ประกอบ ได้แก่
1) กลุ่มพลเมือง กลุ่มคน เครือข่าย ชมรม สมาคม หรือองค์กรภาคประชาชน ผู้ตระหนัก และ
เล็งเห็นความสาคัญของประเด็นการพัฒนา และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเมือง และมีการรวมตัว
กันเพื่อดาเนินกิจกรรมแบบจิตอาสา เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ อิงอาศัยปัจจัยของสภาพสังคมของพื้นที่นั้น
โดยมีลักษณะร่วม คือ การมีคนรุ่นใหม่วัย 30 – 60 ปีที่มีอาชีพประจา หรือมีงานที่สร้างรายได้เลี้ยง
ตนเองได้ เป็นกลุ่มคนที่มาพร้อมความรู้ การศึกษา สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ในการสื่อ
ต่อกลุ่มคนในพื้นที่ ดาเนินงานโดยใช้ต้นทุนทางสังคม และกลไกความสัมพันธ์ รากเหง้าวัฒนธรรม
และจิตสานึก ในความเป็น “พวกพ้องเดียวกัน” หรือ “คนบ้านเดียวกัน” พัฒนาสู่การสร้างพื้นที่
สาธารณะเชิงประเด็น การวางแผนและการดาเนินงานขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองเป็นกลุ่มภาคประชา
สังคม
2) ประเด็นการขับเคลื่อน คือเรื่องราวว่าด้วยความเปลี่ยนแปลง หรือการพัฒนาเมืองที่กลุ่ม
ภาคประชาสังคม รับรู้ รู้สึก และตระหนักถึงความสาคัญของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง ชุมชน
และสังคมที่ตนเองให้คุณค่าและความหมายว่าตนเองมีส่วนเป็นเจ้าของร่วม หรือมีส่วนได้ส่วนเสีย
ประเด็นขับเคลื่อนที่พบบ่อย และมีลักษณะคล้ายคลึงกันในพื้นที่ภาคเหนือคือ ประเด็นด้านการอนุรักษ์
มรดกทางวัฒนธรรม และการดูแลสภาพแวดล้อมของเมือง
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 8
3) กิจกรรม คือ เครื่องมือสาคัญที่ทาให้เป้าหมายของการขับเคลื่อนงานภาคประชาสังคม
ดาเนินไปสู่เป้าหมายที่กลุ่มได้วางไว้ร่วมกัน จากกิจกรรมของกลุ่มตัวแทนภาคประชาสังคมในพื้นที่
ศึกษา พบว่ากิจกรรมที่สร้างขึ้นจะมุ่งเน้นเป้าหมายแบบหลายประโยชน์ไว้ในกิจกรรมเดียวทั้งเพื่อการ
สื่อสารสร้างความเข้าใจและความตระหนักแก่คนในชุมชน และภาครัฐ การรวมผู้คนในพื้นที่ และการ
ช่วงชิงการนิยามความหมายของการพัฒนาพื้นที่ การสร้างและปลุกจิตสานึกให้กับชุมชน และการสร้าง
การมีส่วนร่วมกับคนภายในชุมชน จนถึงการเชื่อมโยงสู่กลุ่มองค์กรภายนอก อย่างภาครัฐ และเอกชน
ให้เข้าร่วม และยอมรับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
4) การบริหารจัดการ สาหรับกลุ่มภาคประชาสังคมในพื้นที่ศึกษา รูปแบบการบริหารจัดการที่
ประสบความสาเร็จ และสามารถดาเนินงานได้ต่อเนื่องติดต่อกันหลายปี ล้วนแล้วแต่มีรูปแบบการ
บริหารที่พึ่งพาอาศัยการบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนการมีส่วนร่วม อาศัยความสัมพันธ์ทางสังคม การรู้จัก
กัน มิตรภาพ และฉันทามติในการตัดสินใจดาเนินงาน บริหารจัดการทุนภายใน และขับเคลื่อนแนวคิด
ที่ชัดเจน แข็งแรง เชื่อมโยงกับองค์กรภายนอกที่ต้องเข้ามาร่วมในลักษณะการปฎิบัติตาม ให้ความ
ช่วยเหลือ และสนับสนุนหนุนเสริม
แผนผังที่ 1.1 สรุปกระบวนขับเคลื่อนงานของกลุ่มภาคประชาสังคมในพื้นที่ศึกษา
5. ข้อเสนอแนะแนวทำงกำรพัฒนำภำคประชำสังคม
5.1. ข้อเสนอแนะกำรพัฒนำศักยภำพองค์ประกอบกำรดำเนินงำน ประกอบด้วย 2
ส่วนสาคัญ คือ การบริหารจัดการทุน และการดาเนินงาน
1) การพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการทุน
ทุนภายในกลุ่ม หมายถึง ต้นทุนของคนในกลุ่มภาคประชาสังคมที่ช่วยส่งเสริมการทางาน อาทิ
ความรู้ ความสามารถ และทุนทางสังคมของปัจเจก ความเข้มแข้งของการทางานร่วมกันเป็นทีม
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 9
การจะพัฒนาทุนภายในกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของสมาชิกในงาน
ผลักดัน 2 ประเด็น คือ 1) การให้คุณค่าและเน้นย้าจินตภาพร่วม(เป้าหมาย) ของสิ่งที่ดึงดูดการรวมตัว
กันผ่านการทางานร่วมกัน 2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการทางาน
ทุนภายนอกกลุ่ม หมายถึง ทุนทางสังคมที่มีความเกี่ยวโยงส่งผลต่อการพัฒนาโอกาสการ
พัฒนาศักยภาพการดาเนินงานของกลุ่ม การพัฒนาทุนภายนอกกลุ่มให้สามารถส่งผลดีต่อการทางาน
ของกลุ่ม เป็นงานที่ต้องอาศัยศิลปะในการสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการบริหารจัดการ
ผลประโยชน์ที่เอื้อให้แก่กันระหว่างกลุ่ม รวมถึงการเรียนรู้ที่จะทางานร่วมกับองค์กรอื่นๆ วลีที่ว่า
“เมืองเป็นเรื่องของทุกคน” และ “จงแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง” จึงเป็นข้อคิดสาคัญซึ่งควรนามาปรับใช้
ในการบริหารจัดการทุนภายนอก
2) ศักยภาพในการดาเนินงาน
ศักยภาพการดาเนินงานของกลุ่ม หมายถึง ความสามารถในการดาเนินงาน ซึ่งอยู่บนฐาน
ความรู้ และทักษะของคนในกลุ่ม การดาเนินงานที่สอดประสานเป็นเนื้อเดียวกันของคนในกลุ่ม การ
พัฒนาศักยภาพการดาเนินงานของกลุ่ม สามารถดาเนินการได้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ
อบรม การฟังบรรยาย การศึกษาดูงาน และการทดลองทาโครงการนาร่องพร้อมการนาเข้าข้อมูลและ
ความรู้ใหม่ๆ จากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งนอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อการดาเนินงานแล้วยังเป็นการ
พัฒนาศักยภาพ ทักษะ และความรู้ของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม รวมไปถึงการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันภายใน
กลุ่มสมาชิก และกับเครือข่ายการทางานภายนอก
ศักยภาพการดาเนินระหว่างกลุ่ม การพัฒนาศักยภาพการดาเนินระหว่างกลุ่ม จะต้องคานึงถึง
การนาหลักการดังต่อไปนี้ไป
 การให้ความสาคัญกับการร่วมแบ่งปัน และประกอบสร้างจินตภาพร่วมของการพัฒนาเมือง
จินตภาพในการพัฒนาเมือง ในที่นี้หมายถึง ความนึกคิดที่เห็นเป็นภาพของเมืองที่ดี (ที่ตนเอง
อยากให้เป็น) ที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมเข้ามาช่วยกันสร้างสรรค์
 ลดความคิดการแบ่งแยก และการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม
 มุ่งเน้นการสร้างโอกาสของการทางานร่วมกันอยู่เสมอ
 ใช้ระบบอุปถัมภ์เป็นเครื่องมืออย่างรอบคอบในการขับเคลื่อนงานภาคประชาสังคม
 มุ่งสร้างและพัฒนาพื้นที่กลางในทางานร่วมกันให้เข้มแข็ง
5.2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบำย
1) การสนับสนุนพลเมือง
 การพัฒนาศักยภาพและจิตสานึกการเป็นพลเมืองในทุกช่วงชีวิต จากวัยเรียน วัยทางาน
และวัยเกษียณอายุ เช่น การเพิ่มกิจกรรมอาสา การขอความร่วมมือ การแบ่งหน้าที่และกรจาย
อานาจให้ชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจ และลงมือทา
 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาเมือง บทบาทภาคประชาสังคม การบริหาร
จัดการ และการริเริ่มโครงการนาร่อง
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 1 0
 กิจกรรมดูงาน เรียนรู้ ฟังบรรยาย เพื่อพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ของพลเมือง
2) การพัฒนานโยบายเพื่อสนับสนุนภาคประชาสังคม การออกนโยบาย และโครงการที่
สนับสนุนการทางานเชิงนโยบายจากหน่วยงานหรือองค์กรในพื้นที่
3) การสนับสนุนกิจกรรมของภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะส่วนท้องถิ่น
ควรพัฒนาช่องทางการสนับสุนนกิจกรรม ที่ภาคประชาสังคมเข้าถึงได้ง่าย ลดระเบียบที่สลับซับซ้อน
ลง เน้นหนักกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดความโปร่งใส น่าเชื่อถือ มีบรรทัดฐาน ไม่มีผลประโยชน์
แอบแฝง
4) การสนับสนุนการบริหารจัดการของภาคประชาสังคม การสนับสนุนเชิงนโยบายในด้าน
การบริหารจัดการ คือ การสร้างโครงการที่สร้างสรรค์โอกาสให้ภาคประชาสังคมสามารถเพิ่มพูน
ต้นทุนภายนอก เช่น เครือข่ายทางด้านวิชาการ เครือข่ายทางภาคเอกชน หรือเครือข่ายองค์กรอื่นๆ
ได้เข้ามาร่วมพบปะ หรือทดลองทางานร่วมกัน
การพัฒนาเมืองโดยใช้ฐานคิดของการพัฒนาภาคประชาสังคม คือ การพัฒนาเมืองที่มุ่งไปที่
การส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัย และผู้ใช้บริการเมืองมีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการการออกแบบนโยบาย
กระบวนการปฏิบัติ และการจัดสรรทรัพยากร รวมถึงการลงมือทา เพื่อการพัฒนาพื้นที่บนพื้นฐาน
การมีส่วนร่วม การขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองในวิถีดังกล่าวจึงต้องอาศัย การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ของกลุ่มผู้ปฎิบัติการ 3 กลุ่ม คือ การพัฒนาบุคลากรภาคประชาสังคม ผู้ดาเนินงานหลัก และการ
พัฒนาองค์กรภาครัฐ องค์กรวิชาการ และเอกชน ผู้มีบทบาททั้งการสนับสนุนในระดับนโยบาย
งบประมาณ และการปฏิบัติการ และการพัฒนาจินตภาพร่วมในการพัฒนาเมือง
กระบวนการพัฒนาองค์ประกอบทั้ง 3 จึงควรดาเนินไปภายใต้บริบทและความเหมาะสม ทั้ง
สามารถพัฒนาไปพร้อมๆ กัน หรือพัฒนาแบบแยกส่วน สิ่งที่สาคัญในกระบวนการดังกล่าวคือการ
รักษา หัวใจของการทางานโดยกระบวนการมีส่วนร่วม และการรักษาจินตภาพของการพัฒนาเมืองที่
ต้องมีบทบาทของภาคประชาสังคมเป็นหนึ่งในกลจักรสาคัญ
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 1 1
เพิ่มเติมได้ที่ furd-rsu.org หรือ
https://www.facebook.com/furd.rsu
ประธำนกำกับทิศทำงแผนงำน นพม. : ศ.ดร. เอนก เหล่ำธรรมทัศน์
ผู้อำนวยกำรศูนย์ศึกษำมหำนครและเมือง : น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณำธิกำร : น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้ช่วยบรรณาธิการ : น.ส.ณัฐธิดา เย็นบารุง
ผู้เขียน : สำมำรถ สุวรรณรัตน์
รูปเล่ม : น.ส.ณัฐธิดา เย็นบารุง
ปก : อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
ปีที่เผยแพร่ : สิงหาคม 2559
สำนักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
ที่อยู่ติดต่อ
แผนงำนนโยบำยสำธำรณะเพื่อพัฒนำอนำคตของเมือง ศูนย์ศึกษำมหำนครและเมือง วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4/2 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560
แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560
แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560Kanjana thong
 
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...Kanjana thong
 
Tic 1
Tic  1Tic  1
Tic 1BTNHO
 
แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561 - 2564) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561 - 2564) ของเทศบาลตำบลท่าเสาแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561 - 2564) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561 - 2564) ของเทศบาลตำบลท่าเสาKanjana thong
 
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม ฉบับที่ 1
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม  ฉบับที่ 1แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม  ฉบับที่ 1
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม ฉบับที่ 1Kanjana thong
 
กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน  กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน FURD_RSU
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยKlangpanya
 
FURD CITIES MONITOR VOL.6 (OCTOBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.6 (OCTOBER 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.6 (OCTOBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.6 (OCTOBER 2017)FURD_RSU
 
การศึกษาการขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียว
การศึกษาการขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียวการศึกษาการขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียว
การศึกษาการขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียวFURD_RSU
 
เทคนิคการบริหารรา
เทคนิคการบริหารราเทคนิคการบริหารรา
เทคนิคการบริหารราonyatada
 
恐怖份子的家園
恐怖份子的家園恐怖份子的家園
恐怖份子的家園honan4108
 
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สำเร็จรูป
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สำเร็จรูปแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สำเร็จรูป
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สำเร็จรูปสปสช นครสวรรค์
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยKlangpanya
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสาKanjana thong
 
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2FURD_RSU
 
Loadแนวข้อสอบ ผู้ดูแลผู้รับการสงเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
 Loadแนวข้อสอบ ผู้ดูแลผู้รับการสงเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ Loadแนวข้อสอบ ผู้ดูแลผู้รับการสงเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
Loadแนวข้อสอบ ผู้ดูแลผู้รับการสงเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการนวพร คำแสนวงษ์
 
แผนยุทธศาสตร์
แผนยุทธศาสตร์แผนยุทธศาสตร์
แผนยุทธศาสตร์0884045430
 

Was ist angesagt? (20)

แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560
แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560
แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560
 
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...
 
Tic 1
Tic  1Tic  1
Tic 1
 
แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561 - 2564) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561 - 2564) ของเทศบาลตำบลท่าเสาแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561 - 2564) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561 - 2564) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
 
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม ฉบับที่ 1
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม  ฉบับที่ 1แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม  ฉบับที่ 1
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม ฉบับที่ 1
 
บทที่ ๑
บทที่ ๑บทที่ ๑
บทที่ ๑
 
กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน  กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
FURD CITIES MONITOR VOL.6 (OCTOBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.6 (OCTOBER 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.6 (OCTOBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.6 (OCTOBER 2017)
 
การศึกษาการขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียว
การศึกษาการขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียวการศึกษาการขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียว
การศึกษาการขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียว
 
บัญชีสรุปโครงการ
บัญชีสรุปโครงการบัญชีสรุปโครงการ
บัญชีสรุปโครงการ
 
เทคนิคการบริหารรา
เทคนิคการบริหารราเทคนิคการบริหารรา
เทคนิคการบริหารรา
 
恐怖份子的家園
恐怖份子的家園恐怖份子的家園
恐怖份子的家園
 
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สำเร็จรูป
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สำเร็จรูปแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สำเร็จรูป
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สำเร็จรูป
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
 
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
Loadแนวข้อสอบ ผู้ดูแลผู้รับการสงเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
 Loadแนวข้อสอบ ผู้ดูแลผู้รับการสงเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ Loadแนวข้อสอบ ผู้ดูแลผู้รับการสงเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
Loadแนวข้อสอบ ผู้ดูแลผู้รับการสงเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
 
แผนยุทธศาสตร์
แผนยุทธศาสตร์แผนยุทธศาสตร์
แผนยุทธศาสตร์
 

Andere mochten auch

เมิองสายบุรี การขยายตัวของเมืองและพื้นที่สีเขียว
เมิองสายบุรี การขยายตัวของเมืองและพื้นที่สีเขียวเมิองสายบุรี การขยายตัวของเมืองและพื้นที่สีเขียว
เมิองสายบุรี การขยายตัวของเมืองและพื้นที่สีเขียวFURD_RSU
 
จันทบุรี:การขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียว
จันทบุรี:การขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียวจันทบุรี:การขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียว
จันทบุรี:การขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียวFURD_RSU
 
PPT ทรัพยากรสำหรับการพัฒนาเมืองสงขลา
PPT ทรัพยากรสำหรับการพัฒนาเมืองสงขลาPPT ทรัพยากรสำหรับการพัฒนาเมืองสงขลา
PPT ทรัพยากรสำหรับการพัฒนาเมืองสงขลาFURD_RSU
 
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุFURD_RSU
 
การพัฒนาเมืองของไทยในอนาคต: อุปสรรค นโยบาย กลไก และทางออก
การพัฒนาเมืองของไทยในอนาคต: อุปสรรค นโยบาย กลไก และทางออก การพัฒนาเมืองของไทยในอนาคต: อุปสรรค นโยบาย กลไก และทางออก
การพัฒนาเมืองของไทยในอนาคต: อุปสรรค นโยบาย กลไก และทางออก FURD_RSU
 
งานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคม
งานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคมงานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคม
งานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคมFURD_RSU
 
FURD Cities Monitor Vol.2 (February 2017)
FURD Cities Monitor Vol.2 (February 2017)FURD Cities Monitor Vol.2 (February 2017)
FURD Cities Monitor Vol.2 (February 2017)FURD_RSU
 
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัลบทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัลFURD_RSU
 
รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...
รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...
รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...FURD_RSU
 
PPT อนาคตเมืองเชียงใหม่โดยภาคประชาสังคม
PPT อนาคตเมืองเชียงใหม่โดยภาคประชาสังคมPPT อนาคตเมืองเชียงใหม่โดยภาคประชาสังคม
PPT อนาคตเมืองเชียงใหม่โดยภาคประชาสังคมFURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2016 REPORT
FURD SUMMIT 2016 REPORTFURD SUMMIT 2016 REPORT
FURD SUMMIT 2016 REPORTFURD_RSU
 
รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...
รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...
รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...FURD_RSU
 

Andere mochten auch (13)

เมิองสายบุรี การขยายตัวของเมืองและพื้นที่สีเขียว
เมิองสายบุรี การขยายตัวของเมืองและพื้นที่สีเขียวเมิองสายบุรี การขยายตัวของเมืองและพื้นที่สีเขียว
เมิองสายบุรี การขยายตัวของเมืองและพื้นที่สีเขียว
 
จันทบุรี:การขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียว
จันทบุรี:การขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียวจันทบุรี:การขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียว
จันทบุรี:การขยายตัวของเมืองกับพื้นที่สีเขียว
 
PPT ทรัพยากรสำหรับการพัฒนาเมืองสงขลา
PPT ทรัพยากรสำหรับการพัฒนาเมืองสงขลาPPT ทรัพยากรสำหรับการพัฒนาเมืองสงขลา
PPT ทรัพยากรสำหรับการพัฒนาเมืองสงขลา
 
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
 
Agenda Bangkok
Agenda BangkokAgenda Bangkok
Agenda Bangkok
 
การพัฒนาเมืองของไทยในอนาคต: อุปสรรค นโยบาย กลไก และทางออก
การพัฒนาเมืองของไทยในอนาคต: อุปสรรค นโยบาย กลไก และทางออก การพัฒนาเมืองของไทยในอนาคต: อุปสรรค นโยบาย กลไก และทางออก
การพัฒนาเมืองของไทยในอนาคต: อุปสรรค นโยบาย กลไก และทางออก
 
งานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคม
งานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคมงานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคม
งานวิจัยเรื่อง อนาคตของเมืองเชียงใหม่ขับเคลือนโดยภาคประชาสังคม
 
FURD Cities Monitor Vol.2 (February 2017)
FURD Cities Monitor Vol.2 (February 2017)FURD Cities Monitor Vol.2 (February 2017)
FURD Cities Monitor Vol.2 (February 2017)
 
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัลบทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
 
รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...
รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...
รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...
 
PPT อนาคตเมืองเชียงใหม่โดยภาคประชาสังคม
PPT อนาคตเมืองเชียงใหม่โดยภาคประชาสังคมPPT อนาคตเมืองเชียงใหม่โดยภาคประชาสังคม
PPT อนาคตเมืองเชียงใหม่โดยภาคประชาสังคม
 
FURD SUMMIT 2016 REPORT
FURD SUMMIT 2016 REPORTFURD SUMMIT 2016 REPORT
FURD SUMMIT 2016 REPORT
 
รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...
รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...
รายงานความก้าวหน้า การพัฒนาเมืองชายฝั่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจัง...
 

Ähnlich wie Policy brief แนวทางการพัฒนาภาคประชาสังคม ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน และแพร่)

นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะ
นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะ
นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะFURD_RSU
 
กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...
กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...
กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...Kosin Jind
 
4. development plane
4. development plane4. development plane
4. development planechanok
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD_RSU
 
Transformation to hi value and sustainable thailand
Transformation to hi value and sustainable thailandTransformation to hi value and sustainable thailand
Transformation to hi value and sustainable thailandPattie Pattie
 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)Kanjana thong
 
แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวTananya Jangouksom
 
แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่...
แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่...แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่...
แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่...Somyoch Comesite
 
มุมมองผู้บริหาร
มุมมองผู้บริหารมุมมองผู้บริหาร
มุมมองผู้บริหารMr-Dusit Kreachai
 
สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...
สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...
สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...Dr.Choen Krainara
 
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558pakpoom khangtomnium
 
สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่
สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่
สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่FURD_RSU
 

Ähnlich wie Policy brief แนวทางการพัฒนาภาคประชาสังคม ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน และแพร่) (20)

นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะ
นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะ
นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะ
 
กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...
กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...
กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...
 
แนวสรุปนักพัฒนาชุมชน99
แนวสรุปนักพัฒนาชุมชน99แนวสรุปนักพัฒนาชุมชน99
แนวสรุปนักพัฒนาชุมชน99
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2560 - 2563
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2560 - 2563แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2560 - 2563
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2560 - 2563
 
4. development plane
4. development plane4. development plane
4. development plane
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
Transformation to hi value and sustainable thailand
Transformation to hi value and sustainable thailandTransformation to hi value and sustainable thailand
Transformation to hi value and sustainable thailand
 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
 
strategy PR
 strategy PR strategy PR
strategy PR
 
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
 
แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
 
แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
 
แนวทางประสานแผน 59
แนวทางประสานแผน 59แนวทางประสานแผน 59
แนวทางประสานแผน 59
 
แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่...
แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่...แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่...
แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่...
 
มุมมองผู้บริหาร
มุมมองผู้บริหารมุมมองผู้บริหาร
มุมมองผู้บริหาร
 
สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...
สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...
สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...
 
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
 
สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่
สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่
สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่
 
คําบรรยายลักษณะงานเชิงกลยุทธ์ระดับอำเภอของพัฒนาชุมชน
คําบรรยายลักษณะงานเชิงกลยุทธ์ระดับอำเภอของพัฒนาชุมชนคําบรรยายลักษณะงานเชิงกลยุทธ์ระดับอำเภอของพัฒนาชุมชน
คําบรรยายลักษณะงานเชิงกลยุทธ์ระดับอำเภอของพัฒนาชุมชน
 

Mehr von FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กFURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลFURD_RSU
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมFURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมFURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมFURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกFURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขFURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองFURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองFURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยFURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังFURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...FURD_RSU
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)FURD_RSU
 

Mehr von FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
 

Policy brief แนวทางการพัฒนาภาคประชาสังคม ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน และแพร่)

  • 1. 1 สามารถ สุวรรณรัตน์ นักวิชาการอิสระ แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 1.บทนำ นับจากปีพ.ศ. 2504 ที่เริ่มมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อการพัฒนา ประเทศ การเร่งรัดให้มีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมให้กับจังหวัดใน แต่ละๆ ภูมิภาค กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยเร่งที่ทาให้เกิดการพัฒนาเมือง สาหรับเมืองในพื้นที่ภาคเหนือ นอกจากการพัฒนาที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองในทุกมิติแล้ว ผลลัพธ์ของการพัฒนาเมืองยัง เป็นแรงผลักให้เกิดปรากฏการณ์การรวมตัวของกลุ่มคนในพื้นที่ เกิดเป็นภาคประชาสังคมที่มีเป้าหมาย และมีการทากิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาเมืองในแนวทางที่ตนเห็นชอบขึ้นจานวนมาก จากการศึกษาการขับเคลื่อนงานของกลุ่มภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาเมืองในพื้นที่ศึกษา (พื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่, ลาพูน, ลาปาง, แม่ฮ่องสอน และแพร่) พบว่าประเด็นร่วมใน การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองของแต่ละพื้นที่ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นว่าด้วยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษามรดกทางวัฒนธรรม ประเด็นว่าด้วยการรักษาสภาพแวดล้อม และการฟื้นฟูกายภาพเมือง เนื้อหาในเอกสาร มาจากงานวิจัย เรื่อง “อนาคตเมืองเชียงใหม่ ขับเคลื่อนโดยภาคประชาสังคม” ภายใต้ แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยการสนับสนุนจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) POLICY BRIEF แนวทางการพัฒนาภาคประชาสังคม ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลาพูน ลาปาง แม่ฮ่องสอน และแพร่)
  • 2. แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 2 2. สถำนกำรณ์เมืองในภำคเหนือ นโยบายของภาครัฐ และเอกชนจากภายนอกสู่ภายในพื้นที่เมืองคือปัจจัยและกลไกสาคัญใน การผลักดัน และส่งเสริมความเปลี่ยนแปลงของเมืองในทุกจังหวัดของประเทศไม่เว้นกระทั้งเมืองใน ภาคเหนือ โดยเฉพาะเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคอย่างเมืองเชียงใหม่ ที่เป็น ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านกายภาพ สังคมและเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นต้นแบบการ พัฒนาในด้านนโยบาย โครงการ และกิจกรรมทั้งในส่วนของภาครัฐ และเอกชน รวมไปถึงการกระจาย องค์ความรู้ เครื่องมือ และรูปแบบการทางานการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองโดยภาคประชาสังคม นอกจากนี้รูปแบบของการกลายเป็นเมืองในทุกมิติของเมืองเชียงใหม่ยังส่งแรงกระเพื่อมทาให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงกับเมืองอื่นๆ ใกล้เคียงอีกด้วย ภาวการณ์การขยายตัวของพื้นที่เมือง และการกลายเป็นเมืองหลักอย่างเชียงใหม่ในพื้นที่ ภาคเหนือปัจจุบัน สามารถสรุปเป็นผลกระทบเชิงประเด็นได้ดังนี้ 1) ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายในเมืองหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพ เช่น สภาพทาง กายภาพโดยรวมของเมืองมีความน่าอยู่ลดลง เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การขยายตัวของพื้นที่เขต เมืองอย่างรวดเร็วทาให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ชุมชนดั้งเดิมที่ถูกปรับเปลี่ยนไปสู่ย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่น หรือย่านธุรกิจ การสูญเสียพื้นที่สีเขียวภายในเมืองเพื่อการประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่น รวมไปถึงการ สูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมหรือพื้นที่ที่เหมาะสาหรับการเพาะปลูกที่เป็นรอยต่อระหว่างเมืองกับชนบทไป เพื่อการขยายตัวของที่อยู่อาศัยชานเมือง การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมของเมืองหลัก การเพิ่มขึ้นของประชากรภายในเมืองจากการ หลั่งไหลเข้าเมืองด้วยปัจจัยดึงดูดด้านเศรษฐกิจ และโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเสื่อมถอย ของสายสัมพันธ์ทางสังคมแบบดั้งเดิม วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป การให้ความสาคัญ การปฏิบัติที่แสดงออก ถึงการให้คุณค่าและความหมายของมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนลดลง เป็นต้น 2) ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเมืองใกล้เคียง เมื่อเมืองหลักของภูมิภาคอย่างเชียงใหม่กลายเป็น เมืองศูนย์กลางการพัฒนาและความเจริญ การหลั่งไหลของผู้คนจากเมืองใกล้เคียงอย่าง เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลาพูน ลาปาง น่าน แพร่ และพะเยา เข้าสู่เมืองเชียงใหม่จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแบบ แผนคล้ายคลึงกัน ส่งผลให้เมืองใกล้เคียงเหล่านี้ได้รับผลกระทบที่คล้ายคลึงกัน อาทิ การอพยพออก นอกพื้นที่ของคนในวัยเรียน และวัยแรงงาน เพื่อโอกาสทางการศึกษา และโอกาสทางธุรกิจ เป็นสาเหตุ ทาให้ภายในพื้นที่ทั้งเขตเมือง และชนบทจะหลงเหลือก็แต่เพียงผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก การที่คนใน พื้นที่ถูกดึงดูดให้อพยพไปสู่เมืองใหญ่ยังส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่โดยเฉพาะย่านเศรษฐกิจ การค้า หรือชุมชนที่เคยมีผู้อาศัยหนาแน่น จะเกิดภาวะซบเซาเนื่องจากขาดประชากรวัยแรงงงานซึ่ง เป็นกาลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผลกระทบและปัญหาในปัจจุบันที่มีสาเหตุมาจากการขยายตัวของเมือหลัก และเมืองใกล้เคียง สรุปเป็นรายจังหวัดในพื้นที่ศึกษาได้ดังนี้
  • 3. แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 3 2.1 เชียงใหม่ ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดของเมืองเชียงใหม่ คือสภาวะของเมืองที่ กาลังเดินหน้าสู่การเป็นมหานคร สังเกตได้จากการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์อาคารและพื้นที่ในเขต เมืองเพื่อประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมากขึ้น และการขยายตัวจากตัวเมืองชั้นในออกไป เชื่อมต่อกับเมืองขนาดเล็กซึ่งเป็นพื้นที่อาเภอในปริมณฑลของเมือง และเทศบาลในเขตปกครองของ จังหวัดลาพูน โดยอาศัยเส้นทางวงแหวนรอบเมืองในรอบที่ 2 และ 3 และถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลาปางเป็นเส้นทางเชื่อมต่อ เกิดปรากฏการณ์โครงการอสังหาริมทรัพย์เข้าไปแทนที่พื้นที่ เกษตรกรรมโดยรอบเมือง และเกิดศูนย์กลางพาณิชยกรรม (CBD) แห่งใหม่ๆ เพื่อมุ่งเน้นให้บริการคน ในพื้นที่ตามจุดตัดของถนนสายหลัก การปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์อาคารและพื้นที่ในเขตเมือง และ การขยายตัวของที่อยู่อาศัยในพื้นที่ปริมณฑลของเมือง นาซึ่งผลกระทบและปัญหา อาทิ ปริมาณขยะ ภายในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ยังอยู่ในปริมาณสูง และขยับขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาเรื่องการปล่อยน้าเสีย โดยไม่ผ่านการบาบัดลงท่อระบายน้าสาธารณะและคลองแม่ข่า ปัญหาเกาะความร้อนซึ่งทาให้อุณหภูมิ ภายในเมืองสูงขึ้นทุกปี ปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วนโดยเฉพาะในถนนสายสาคัญที่อยู่ใน แนวรัศมีโดยรอบเขตเมืองซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียน มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาล ปัญหาหมอกควัน คลุมเมืองแม้จะมีปัจจัยอื่นๆ มาสนับสนุนทาให้เกิดไม่ว่าจะเป็นลักษณะของภูมิประเทศ ไฟป่า และการ เผาเศษวัสดุจากการเกษตรปริมาณมากในช่วงฤดูแล้ง แต่ส่วนหนึ่งของปัญหาก็มาจากปริมาณควันจาก การใช้รถส่วนบุคคลในเขตเมืองที่มีมากขึ้น เพราะเมืองเชียงใหม่ยังขาดขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ ปัญหาเรื่องการล่มสลายของคุณค่าและมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนดั้งเดิมจากการย้ายถิ่นฐานออก ของคนในเพื่อหาที่อยู่อาศัยนอกเมือง และให้คนนอกเข้ามาใช้พื้นที่เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ 2.2 ลำพูน แม้เมืองลาพูนจะอยู่ไม่ไกลจากเมืองเชียงใหม่ แต่การขยายตัวของเมือง ลาพูนยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องด้วยปัจจัยสาคัญคือการอพยพของแรงงานจากภายนอกพื้นที่เข้ามา ทางานในเขตนิคมอุตสาหกรรมลาพูน เป็นผลให้เกิดการขยายพื้นที่อยู่อาศัยในด้านทิศเหนือของพื้นที่ เขตเมืองเก่าลาพูนได้แก่ พื้นที่เทศบาลตาบลบ้านกลาง เทศบาลตาบลเหมืองง่า เทศบาลตาบลมะเขื่อ แจ้ และเทศบาลเมืองลาพูน ประชากรที่เป็นแรงงานเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นประชากรแฝงที่บางส่วนพัก อาศัยในพื้นที่ บางส่วนอาศัยการเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ ทาให้เกิดปัญหาทั้งปริมาณขยะ และ การจราจรติดขัดในช่วงเข้างานและหลังเลิกงานในแยกที่เป็นจุดตัดระหว่างเส้นทางเข้าสู่เมืองลาพูน และถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลาปาง นอกจากปัญหาดังกล่าวเมืองลาพูนยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจา เช่น ปัญหาการปล่อยน้า เสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่ลาเหมืองสาธารณะ และปัญหาน้าแม่กวงที่ไหลผ่านตัวเมืองเกิดเน่า เสียในฤดูแล้งเนื่องจากปริมาณน้าต้นทุนมีหน่วย ไม่สามารถเจือจางน้าที่ปล่อยจากครัวเรือน และพื้นที่ เกษตรโดยรอบ
  • 4. แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 4 2.3 ลำปำง ภาพรวมปัญหาในปัจจุบันของเมืองลาปางที่ปรากฏชัดและกลายเป็นวาระ ของเมืองได้แก่ ปัญหาน้าวังเน่าเสียในฤดูแล้ง ซึ่งมีลักษณะปัญหาคล้ายคลึงกับปัญหาของเมืองลาพูน ซึ่งมีต้นต่อสาเหตุมาจากปริมาณน้าต้นทุนมีจานวนลดลงจนไม่สามารถเจือจางน้าเสียจากครัวเรือนและ น้าจากกิจกรรมการเกษตรได้ รวมไปปริมาณผักตบชวาและวัชพืชในลาน้ามีปริมาณมากนามาซึ่ง ปัญหาน้าวังเน่าเสีย และส่งกลิ่นเหม็น จนเกิดการรวมไม้รวมมือกันของหน่วยงานภาครัฐและประชาชน ในการแก้ปัญหาตลอดสายน้า อีกหนึ่งประเด็นที่อยู่ในความสนใจของคนลาปางคือ ประเด็นการรักษาและฟื้นฟูมรดกทาง วัฒนธรรมก็เป็นหนึ่งในประเด็นที่คนในเมืองลาปางให้ความสนใจ เช่น การอนุรักษ์และบูรณะศาสน สถาน งานพุทธศิลป์ อาคารเก่าย่านเก่า และการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ของเมืองลาปาง ซึ่งอยู่ ในความสนใจของภาคประชาสังคมเมืองลาปาง และคนลาปางมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีความคืบหน้า 2.4 แม่ฮ่องสอน เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นเมืองในหุบเขา เมืองแม่ฮ่องสอนจึง ประสบปัญหาหมอกควันคลุมเมืองอย่างรุนแรง และเป็นประจาทุกปี ต้นตอของหมอกควันมาจากการ เผาเศษวัสดุจากการเกษตร ไฟป่า และหมอกควันจากประเทศเพื่อนบ้าน อีกประเด็นที่อยู่ในความสนใจของภาคประชาสังคมเมืองแม่ฮ่องสอนคือ ภาวะการสูญเสียอัต ลักษณ์ทางวัฒนธรรมไต จากกระแสการพัฒนาที่เข้ามาในพื้นที่ และคนแม่ฮ่องสอนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ ต่างออกไปศึกษาและหางานทาในเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร จึงเกิดความวิตก กังวลว่าการสืบทอดคุณค่า และวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ตัวตนคนไตจะถึงคราวหยุดชะงัก และ ค่อยๆเสื่อมถอยไปตามอายุวัยของผู้สูงอายุที่ยังอยู่อาศัยในเมือง 2.5 แพร่ เมืองแพร่แม้จะเป็นเมืองขนาดเล็ก แต่ปัญหาการจัดการขยะก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมของเมืองไม่ต่างจากเมืองใหญ่ ด้วยสาเหตุขยะล้นเมือง และไม่สามารถจัดการ เก็บและกาจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ราวปีปลายพ.ศ. 2557 จังหวัดแพร่ถูกจัดให้เป็นจังหวัดที่มี ขยะสะสมมากเป็นอันดับ 8 ของประเทศ และมีการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการทิ้งขยะของ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทั้ง 83 แห่ง ยังไม่มีการจัดการขยะที่เป็นระบบ มีการกองขยะไว้กลางแจ้ง และมีขยะอันตราย ปะปนอยู่กับขยะทั่วไป ขณะนี้หน่อยงานได้อาศัยการฝั่งกลบเป็นการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้า เพื่อรอให้โครงการจัดสร้างเตาเผาขยะแล้วเสร็จ ปัญหาร่วมของเมืองในภาคเหนือ คือ นอกจากปัญหาหมอกควันคลุมเมือง และปัญหาน้าเสียใน ฤดูแล้ว ปัญหาการสูญเสียอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และมรดกทางวัฒนธรรมก็เป็นปัญหาหนึ่งที่มักถูก หยิบยกขึ้นมาและได้รับความสนใจจากภาคประชาสังคม แม้ในเมืองลาพูน ลาปาง แม่ฮ่องสอน และ แพร่ ปรากฏการณ์ของปัญหาในเรื่องนี้อาจไม่เด่นชัดเท่ากับเมืองเชียงใหม่ที่มีกลุ่มภาคประชาสังคม
  • 5. แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 5 หลากหลายกลุ่มลุกขึ้นมาจัดการกับปัญหาด้วยตนเอง แต่ที่เมืองลาพูน ลาปาง แม่ฮ่องสอน และแพร่ ต่างมีลักษณะร่วมของปัญหาข้างเคียงที่ส่งให้เกิดปัญหาสั่นสะเทือนถึง วิถีวัฒนธรรม และมรดกทาง วัฒนธรรมในพื้นที่ อาทิ 1) ปัญหาการเคลื่อนย้ายออกของคนในพื้นที่ เพื่อไปเป็นแรงงานในเมืองใหญ่ ส่งผลให้ที่พัก อาศัยในเขตชุมชนเมืองหลงเหลือเพียงผู้สูงอายุ และร้านค้าท้องถิ่นไม่กี่แห่งที่ยังสามารถเปิดบริการได้ ทาให้เมืองเกิดความซบเซาขาดชีวิตชีวา เป็นปรากฏการณ์ “คนเฒ่าเฝ้าบ้าน” ที่พบเห็นได้ทั่วไปใน เมืองเล็กๆทั่วภาคเหนือ 2) ปัญหาการขาดกาลังคนหนุ่มสาวในพื้นที่ นาสู่ปัญหาการขาดผู้สืบถอดวิถีวัฒนธรรม ประเพณี และการรักษามรดกทางวัฒนธรรมของเมือง 3) ปัญหาด้านการเสื่อมสลายของอัตลักษณ์ และจิตวิญญาณของคนในเมือง และคนรุ่นหลัง ปรากฏการณ์การแยกตัวออกไปจากสังคมเดิมของคนรุ่นใหม่วัยแรงงาน ส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกถึง จิตวิญญาณหรืออัตลักษณ์ความเป็นตัวตน และความต้องการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง ซึ่งจะสะท้อนออกมาให้เห็นผ่านบทบาทการทางานและความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม 3. กรณีศึกษำกำรขับเคลื่อนงำนของภำคประชำสังคมเพื่อกำรพัฒนำเมือง จากการศึกษากลุ่มตัวแทนภาคประชาสังคมที่ในพื้นที่ศึกษาที่ยังคงทางานขับเคลื่อนการ พัฒนาเมืองในปัจจุบัน ส่วนใหญ่กลุ่มต่างๆในพื้นที่จะนาประเด็นการดูแลรักษา และฟื้นฟูมรดกทาง วัฒนธรรมที่ยึดโยงกับจิตสานึก ตัวตน และอัตลักษณ์มาเป็นเครื่องมือในการดึงดูดการมีส่วนร่วมและ เป็นประเด็นหลักในการทางานที่มุ่งหวังจะส่งแรงกระเพื่อมไปสู่การดูแลเมืองของตนในมิติอื่นๆ ดัง ตัวอย่างการทางานของตัวแทนภาคประชาสังคมในพื้นที่ศึกษา ดังต่อไปนี้ 3.1.เมืองเชียงใหม่ 1) เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ การรวมตัวกันของกลุ่มผู้นาชุมชนในเขตเมืองเก่า เชียงใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดาเนินกิจกรรมอาสาเพื่อการอนุรักษ์ รักษา และฟื้นฟูมรดกทาง วัฒนธรรมในเขตเมืองเชียงใหม่ ผ่านกิจกรรม กิจกรรมยอสวยไหว้สา พระญามังราย (งานปี๋ใหม่เมือง) ซึ่งจัดติดต่อกันมาเป็นปีที่ 4 กิจกรรมจุดผางปะตี๊ดส่องฟ้า รักษาเมือง (งานประเพณีลอยกระทง) จัด ขึ้นติดต่อมาเป็นปีที่ 4 และการติดตามความเคลื่อนไหว(โครงการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้ว) การปรับ พื้นที่ทัณฑสถานหญิงใจกลางเมืองเชียงใหม่ให้เป็นข่วงสาธารณะ และกิจกรรมการอบรมนาฎศิลป์ ล้านนาสาหรับเยาวชน โครงการและกิจกรรมทั้งหมดทางกลุ่มเป็นผู้ริเริ่ม และได้รับการสนับสนุนจาก เทศบาลนครเชียงใหม่ และหน่วยงานส่วนท้องถิ่น และส่วนกลาง 2) กลุ่มมือเย็นเมืองเย็น คือกลุ่มคนรุ่นใหม่จิตอาสาที่สนใจเรื่องพื้นที่สีเขียวและสิ่งแวดล้อม เมือง ริเริ่มจากกลุ่มศิลปินนักดนตรี สถาปนิก นักออกแบบ สร้างกิจกรรมการปลูกต้นไม้รอบคูเมือง เชียงใหม่ โดยอาศัยการรณรงค์ผ่าน Facebook ในรูปแบบของการ Challenge และการระดมทุนรวม ไปถึงกล้าไม้จากคนทั่วไป หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลนคร เชียงใหม่ และองค์ภาครัฐและเอกชนในพื้นที่
  • 6. แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 6 3.2 เมืองลำพูน กลุ่ม Spirit of Lumphun กลุ่มภาคประชาสังคมผสมผสานระหว่างกลุ่มนักวิชาการท้องถิ่น ปราชญ์ชุมชน ชาวบ้าน คนวัยแรงงาน และนักเรียนนักศึกษา ทางานจิตอาสาที่เกี่ยวข้องกับงาน อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของเมืองลาพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อจิตสานึกให้คนลาพูนรักเมือง และจิต วิญญาณความเป็นคนลาพูน ผ่านกิจกรรมได้แก่ งานก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลาพูน การจัดทา นิทรรศการครูบาศรีวิชัย และการรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ และชีวประวัติครูบา ศรีวิชัย จัดทาเป็น หนังสือประวัติครูบาศรีวิชัย การจัดงานลอยกะโล้งป้อบุญตั่นในช่วงประเพณีลอยกระทง 3.3 เมืองลำปำง 1) งานอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาวชุมชนปงสนุก จุดเริ่มต้นจากการรวมตัวของ นักวิชาการ พระสงฆ์ และสมาชิกชุมชนปงสนุกเพื่อดาเนินงานอนุรักษ์และบูรณะวิหารพระเจ้าพันองค์ ที่วัดปงสนุก อาศัยการระดมทุน และการทางานแบบจิตอาสาระหว่างชุมชน วัด ร่วมกับนักวิชาการจาก มหาวิทยาลัยจนในที่สุดวิหารได้รับการบูรณะและได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์ Award of Merit จาก UNESCO ในปี 2550 เกิดเป็นกระแสและเครือข่ายการทางานจิตอาสาด้านการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์ ขยายออกไปทั่วจังหวัดลาปาง 2) งานฟื้นฟูกาดกองต้า (ตลาดจีน) ของชาวชุมชนตลาดจีน เกิดจากการรวมตัวของคนใน ชุมชน และนักวิชาการที่มองเห็นคุณค่าของอาคารและย่านเก่าในพื้นที่ และการสนับสนุนจาก หน่วยงานในท้องถิ่นส่งเสริมให้จัดถนนคนเดิน โดยการบริหารจัดการจากคนในชุมชนจนทาให้ย่านที่ เคยซบเซากลับมาคึกคัก และกลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ผสมผสานงานอนุรักษ์ด้าน สถาปัตยกรรม การมีส่วนร่วม และการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์โดยชุมชน ที่สาเร็จเป็นรูปธรรมและ ได้รับการยอมรับไปทั่ว 3) กลุ่มฮอมแฮง กับการรณรงค์จัดสร้างหอศิลป์ลาปาง การรวมตัวโดยจิตอาสาของศิลปิน นักวิชาการ และคนทั่วไปที่สนใจ เรียกร้องให้มีการปรับปรุงศาลากลางจังหวัดเดิมที่ตั้งอยู่กลางใจเมือง ให้เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลปะของคนลาปาง จัดกิจกรรมเวทีเสวนา และกิจกรรการแสดงด้าน วัฒนธรรมอยู่ครั้งใหญ่ถึง 3 ในช่วง ในช่วงพ.ศ. 2546-2549 แต่เนื่องจากการจัดสร้างหอศิลป์ต้องใช้ งบประมาณสูง และยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามารับผิดชอบได้ความเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมจึง ค่อยเงียบหายไป แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังมีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ออกมาเป็นระยะในเรื่องความ คืบหน้าของโครงการ แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีความชัดเจน 3.4 เมืองแม่ฮ่องสอน เป็นเมืองขนาดเล็กที่มีชุมชนในเขตเมืองเพียง 6 ชุมชน และยังมีระบบการดูแลและการสร้าง การมีส่วนร่วมผ่านงานวัฒนธรรมของเมืองอย่างสภาน้าเน่ง (สภาน้าชา) ของผู้อาวุโสที่ช่วยวางแผน กาหนดการทางานสาคัญๆ อย่างงานปอยส่างลอง หรืองานพีด (ออกพรรษา) การรวมตัวเพื่อการ พัฒนาเมืองที่เด่นชัดของภาคประชาสังคมในช่วงที่ผ่านมาคือ งานชมรมบ้านเก่าเมืองแม่ฮ่องสอน
  • 7. แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 7 เกิดจากการรวมตัวของเจ้าของบ้านไม้เก่า ริมถนนสิงหนาทบารุง และบ้านไม้เก่าในเขตเทศบาลเมือง แม่ฮ่องสอน รวมตัวกันขึ้นเพื่อสร้างแผนการอนุรักษ์ และซ่อมแทรมบ้าน รวมไปถึงการดูแลภูมิทัศน์ใน พื้นที่ถนนสิงหนาบารุง ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณโดยเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน และสถาบัน พัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) หรือ พอช. 3.5 เมืองแพร่ ข่ายลูกหลานเมืองแพร่ และชมรมอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่ เกิดจากการ รวมตัวและการทางานแบบจิตอาสาของนักวิชาการท้องถิ่น ปราชญ์ท้องถิ่น สถาปนิก และนักพัฒนา เอกชน โดยมีวัตถุประสงค์การทางาน คือ เพื่อรวบรวมข้อมูลอาคารบ้านพัก สถานที่สาคัญทาง ประวัติศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ และผลักดันให้เกิดพื้นที่อนุรักษ์ ตามหลักวิชาการ ร่วมดาเนินงานกับ ภาครัฐเพื่อการอนุรักษ์ และดูแลเมือง รวมไปถึงการจัดทาแผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยวด้าน ศิลปวัฒนธรรม งานที่ผ่านมีกิจกรรมหลายอย่าง อาทิ การจัดตั้งถนนคนเดินกาดกองเก่า (กาดพระ นอน) การจัดทริปจักรยานปั่นชมเมืองแพร่ ‘ปั่นเปลี่ยนแป้’ การจัดทัวร์สามล้อถีบ การจัดนิทรรศการว่า ด้วยคนเมืองแพร่ และกิจกรรมทางศิลปะที่ช่วยสร้างสีสันให้กับเมืองเก่าแพร่ 4.องค์ประกอบของภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองในพื้นที่ศึกษา จากการศึกษาตัวแทนภาคประชาสังคมในพื้นที่ศึกษาพบว่า องค์ประกอบพื้นฐานซึ่งเป็นปัจจัย สู่ความสาเร็จของภาคประชาสังคมในการพัฒนาเมือง ประกอบขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ของ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กลุ่มพลเมือง กลุ่มคน เครือข่าย ชมรม สมาคม หรือองค์กรภาคประชาชน ผู้ตระหนัก และ เล็งเห็นความสาคัญของประเด็นการพัฒนา และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเมือง และมีการรวมตัว กันเพื่อดาเนินกิจกรรมแบบจิตอาสา เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ อิงอาศัยปัจจัยของสภาพสังคมของพื้นที่นั้น โดยมีลักษณะร่วม คือ การมีคนรุ่นใหม่วัย 30 – 60 ปีที่มีอาชีพประจา หรือมีงานที่สร้างรายได้เลี้ยง ตนเองได้ เป็นกลุ่มคนที่มาพร้อมความรู้ การศึกษา สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ในการสื่อ ต่อกลุ่มคนในพื้นที่ ดาเนินงานโดยใช้ต้นทุนทางสังคม และกลไกความสัมพันธ์ รากเหง้าวัฒนธรรม และจิตสานึก ในความเป็น “พวกพ้องเดียวกัน” หรือ “คนบ้านเดียวกัน” พัฒนาสู่การสร้างพื้นที่ สาธารณะเชิงประเด็น การวางแผนและการดาเนินงานขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองเป็นกลุ่มภาคประชา สังคม 2) ประเด็นการขับเคลื่อน คือเรื่องราวว่าด้วยความเปลี่ยนแปลง หรือการพัฒนาเมืองที่กลุ่ม ภาคประชาสังคม รับรู้ รู้สึก และตระหนักถึงความสาคัญของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง ชุมชน และสังคมที่ตนเองให้คุณค่าและความหมายว่าตนเองมีส่วนเป็นเจ้าของร่วม หรือมีส่วนได้ส่วนเสีย ประเด็นขับเคลื่อนที่พบบ่อย และมีลักษณะคล้ายคลึงกันในพื้นที่ภาคเหนือคือ ประเด็นด้านการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรม และการดูแลสภาพแวดล้อมของเมือง
  • 8. แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 8 3) กิจกรรม คือ เครื่องมือสาคัญที่ทาให้เป้าหมายของการขับเคลื่อนงานภาคประชาสังคม ดาเนินไปสู่เป้าหมายที่กลุ่มได้วางไว้ร่วมกัน จากกิจกรรมของกลุ่มตัวแทนภาคประชาสังคมในพื้นที่ ศึกษา พบว่ากิจกรรมที่สร้างขึ้นจะมุ่งเน้นเป้าหมายแบบหลายประโยชน์ไว้ในกิจกรรมเดียวทั้งเพื่อการ สื่อสารสร้างความเข้าใจและความตระหนักแก่คนในชุมชน และภาครัฐ การรวมผู้คนในพื้นที่ และการ ช่วงชิงการนิยามความหมายของการพัฒนาพื้นที่ การสร้างและปลุกจิตสานึกให้กับชุมชน และการสร้าง การมีส่วนร่วมกับคนภายในชุมชน จนถึงการเชื่อมโยงสู่กลุ่มองค์กรภายนอก อย่างภาครัฐ และเอกชน ให้เข้าร่วม และยอมรับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 4) การบริหารจัดการ สาหรับกลุ่มภาคประชาสังคมในพื้นที่ศึกษา รูปแบบการบริหารจัดการที่ ประสบความสาเร็จ และสามารถดาเนินงานได้ต่อเนื่องติดต่อกันหลายปี ล้วนแล้วแต่มีรูปแบบการ บริหารที่พึ่งพาอาศัยการบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนการมีส่วนร่วม อาศัยความสัมพันธ์ทางสังคม การรู้จัก กัน มิตรภาพ และฉันทามติในการตัดสินใจดาเนินงาน บริหารจัดการทุนภายใน และขับเคลื่อนแนวคิด ที่ชัดเจน แข็งแรง เชื่อมโยงกับองค์กรภายนอกที่ต้องเข้ามาร่วมในลักษณะการปฎิบัติตาม ให้ความ ช่วยเหลือ และสนับสนุนหนุนเสริม แผนผังที่ 1.1 สรุปกระบวนขับเคลื่อนงานของกลุ่มภาคประชาสังคมในพื้นที่ศึกษา 5. ข้อเสนอแนะแนวทำงกำรพัฒนำภำคประชำสังคม 5.1. ข้อเสนอแนะกำรพัฒนำศักยภำพองค์ประกอบกำรดำเนินงำน ประกอบด้วย 2 ส่วนสาคัญ คือ การบริหารจัดการทุน และการดาเนินงาน 1) การพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการทุน ทุนภายในกลุ่ม หมายถึง ต้นทุนของคนในกลุ่มภาคประชาสังคมที่ช่วยส่งเสริมการทางาน อาทิ ความรู้ ความสามารถ และทุนทางสังคมของปัจเจก ความเข้มแข้งของการทางานร่วมกันเป็นทีม
  • 9. แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 9 การจะพัฒนาทุนภายในกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของสมาชิกในงาน ผลักดัน 2 ประเด็น คือ 1) การให้คุณค่าและเน้นย้าจินตภาพร่วม(เป้าหมาย) ของสิ่งที่ดึงดูดการรวมตัว กันผ่านการทางานร่วมกัน 2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการทางาน ทุนภายนอกกลุ่ม หมายถึง ทุนทางสังคมที่มีความเกี่ยวโยงส่งผลต่อการพัฒนาโอกาสการ พัฒนาศักยภาพการดาเนินงานของกลุ่ม การพัฒนาทุนภายนอกกลุ่มให้สามารถส่งผลดีต่อการทางาน ของกลุ่ม เป็นงานที่ต้องอาศัยศิลปะในการสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการบริหารจัดการ ผลประโยชน์ที่เอื้อให้แก่กันระหว่างกลุ่ม รวมถึงการเรียนรู้ที่จะทางานร่วมกับองค์กรอื่นๆ วลีที่ว่า “เมืองเป็นเรื่องของทุกคน” และ “จงแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง” จึงเป็นข้อคิดสาคัญซึ่งควรนามาปรับใช้ ในการบริหารจัดการทุนภายนอก 2) ศักยภาพในการดาเนินงาน ศักยภาพการดาเนินงานของกลุ่ม หมายถึง ความสามารถในการดาเนินงาน ซึ่งอยู่บนฐาน ความรู้ และทักษะของคนในกลุ่ม การดาเนินงานที่สอดประสานเป็นเนื้อเดียวกันของคนในกลุ่ม การ พัฒนาศักยภาพการดาเนินงานของกลุ่ม สามารถดาเนินการได้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ อบรม การฟังบรรยาย การศึกษาดูงาน และการทดลองทาโครงการนาร่องพร้อมการนาเข้าข้อมูลและ ความรู้ใหม่ๆ จากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งนอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อการดาเนินงานแล้วยังเป็นการ พัฒนาศักยภาพ ทักษะ และความรู้ของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม รวมไปถึงการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันภายใน กลุ่มสมาชิก และกับเครือข่ายการทางานภายนอก ศักยภาพการดาเนินระหว่างกลุ่ม การพัฒนาศักยภาพการดาเนินระหว่างกลุ่ม จะต้องคานึงถึง การนาหลักการดังต่อไปนี้ไป  การให้ความสาคัญกับการร่วมแบ่งปัน และประกอบสร้างจินตภาพร่วมของการพัฒนาเมือง จินตภาพในการพัฒนาเมือง ในที่นี้หมายถึง ความนึกคิดที่เห็นเป็นภาพของเมืองที่ดี (ที่ตนเอง อยากให้เป็น) ที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมเข้ามาช่วยกันสร้างสรรค์  ลดความคิดการแบ่งแยก และการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม  มุ่งเน้นการสร้างโอกาสของการทางานร่วมกันอยู่เสมอ  ใช้ระบบอุปถัมภ์เป็นเครื่องมืออย่างรอบคอบในการขับเคลื่อนงานภาคประชาสังคม  มุ่งสร้างและพัฒนาพื้นที่กลางในทางานร่วมกันให้เข้มแข็ง 5.2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบำย 1) การสนับสนุนพลเมือง  การพัฒนาศักยภาพและจิตสานึกการเป็นพลเมืองในทุกช่วงชีวิต จากวัยเรียน วัยทางาน และวัยเกษียณอายุ เช่น การเพิ่มกิจกรรมอาสา การขอความร่วมมือ การแบ่งหน้าที่และกรจาย อานาจให้ชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจ และลงมือทา  กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาเมือง บทบาทภาคประชาสังคม การบริหาร จัดการ และการริเริ่มโครงการนาร่อง
  • 10. แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 1 0  กิจกรรมดูงาน เรียนรู้ ฟังบรรยาย เพื่อพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ของพลเมือง 2) การพัฒนานโยบายเพื่อสนับสนุนภาคประชาสังคม การออกนโยบาย และโครงการที่ สนับสนุนการทางานเชิงนโยบายจากหน่วยงานหรือองค์กรในพื้นที่ 3) การสนับสนุนกิจกรรมของภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะส่วนท้องถิ่น ควรพัฒนาช่องทางการสนับสุนนกิจกรรม ที่ภาคประชาสังคมเข้าถึงได้ง่าย ลดระเบียบที่สลับซับซ้อน ลง เน้นหนักกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดความโปร่งใส น่าเชื่อถือ มีบรรทัดฐาน ไม่มีผลประโยชน์ แอบแฝง 4) การสนับสนุนการบริหารจัดการของภาคประชาสังคม การสนับสนุนเชิงนโยบายในด้าน การบริหารจัดการ คือ การสร้างโครงการที่สร้างสรรค์โอกาสให้ภาคประชาสังคมสามารถเพิ่มพูน ต้นทุนภายนอก เช่น เครือข่ายทางด้านวิชาการ เครือข่ายทางภาคเอกชน หรือเครือข่ายองค์กรอื่นๆ ได้เข้ามาร่วมพบปะ หรือทดลองทางานร่วมกัน การพัฒนาเมืองโดยใช้ฐานคิดของการพัฒนาภาคประชาสังคม คือ การพัฒนาเมืองที่มุ่งไปที่ การส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัย และผู้ใช้บริการเมืองมีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการการออกแบบนโยบาย กระบวนการปฏิบัติ และการจัดสรรทรัพยากร รวมถึงการลงมือทา เพื่อการพัฒนาพื้นที่บนพื้นฐาน การมีส่วนร่วม การขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองในวิถีดังกล่าวจึงต้องอาศัย การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ของกลุ่มผู้ปฎิบัติการ 3 กลุ่ม คือ การพัฒนาบุคลากรภาคประชาสังคม ผู้ดาเนินงานหลัก และการ พัฒนาองค์กรภาครัฐ องค์กรวิชาการ และเอกชน ผู้มีบทบาททั้งการสนับสนุนในระดับนโยบาย งบประมาณ และการปฏิบัติการ และการพัฒนาจินตภาพร่วมในการพัฒนาเมือง กระบวนการพัฒนาองค์ประกอบทั้ง 3 จึงควรดาเนินไปภายใต้บริบทและความเหมาะสม ทั้ง สามารถพัฒนาไปพร้อมๆ กัน หรือพัฒนาแบบแยกส่วน สิ่งที่สาคัญในกระบวนการดังกล่าวคือการ รักษา หัวใจของการทางานโดยกระบวนการมีส่วนร่วม และการรักษาจินตภาพของการพัฒนาเมืองที่ ต้องมีบทบาทของภาคประชาสังคมเป็นหนึ่งในกลจักรสาคัญ
  • 11. แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 1 1 เพิ่มเติมได้ที่ furd-rsu.org หรือ https://www.facebook.com/furd.rsu ประธำนกำกับทิศทำงแผนงำน นพม. : ศ.ดร. เอนก เหล่ำธรรมทัศน์ ผู้อำนวยกำรศูนย์ศึกษำมหำนครและเมือง : น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณำธิกำร : น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้ช่วยบรรณาธิการ : น.ส.ณัฐธิดา เย็นบารุง ผู้เขียน : สำมำรถ สุวรรณรัตน์ รูปเล่ม : น.ส.ณัฐธิดา เย็นบารุง ปก : อรุณ สถิตพงศ์สถาพร ปีที่เผยแพร่ : สิงหาคม 2559 สำนักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ ที่อยู่ติดต่อ แผนงำนนโยบำยสำธำรณะเพื่อพัฒนำอนำคตของเมือง ศูนย์ศึกษำมหำนครและเมือง วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4/2 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064