SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 10
Downloaden Sie, um offline zu lesen
ตรรกศาสตร์และการพิสูจน์                                                                                        1




บทที่
         ตรรกศาสตรและการพิสจน
                            ู
           ในโลกป จ จุ บั น เรามั ก เผชิ ญ กั บ ป ญ หาการพิ สู จ น ค วามจริงในสิ่ งที่ ได รับ ทราบหรื อ
ตองการทราบวาขั้นตอนในการแกป ญ หาตางๆ คําตอบที่ ได ถูกต องหรือไม เชน เมื่อเขียน
โปรแกรมคอมพิวเตอรเราจะทราบไดอยางไรวาโปรแกรมนั้นทํางานอยางที่ตองการ บางขอ
ความเชน “ดวงอาทิตยขึ้นทางทิศตะวันออก” “หนึ่งสัปดาหมี 9 วัน” คนสวนใหญทราบทันทีวา
ขอความแรกเปนจริงแตขอความหลังเปนเท็จ บางคําถามไมงายนักที่จะตอบในทันทีวาจริงหรือ
ไมโดยเฉพาะอยางยิ่งขอความทางคณิตศาสตร เชน “ไมวา n เปนจํานวนนับใดๆ n 3 + n
เป น จํ า นวนคู เสมอ” บางข อ ความเช น ทฤษฎี บ ทสุ ด ท า ยของ แฟร ม าต (Fermat’s Last
Theorem) “สําหรับจํานวนเต็ม n ใดๆ ซึ่ง n > z สมการ x n + y n = z n ไมมีผลเฉลย ซึ่ง
x , y และ z เปนจํานวนเต็มซึ่งไมใชศูนย (zero)” ขอความอยูในสมุดบันทึกนักคณิตศาสตร
ชาวฝรั่งเศสผูมีชื่อเสียง ปแยร เดอ แฟรมาต (Pierre de Fermat, 1601-1655) เขากลาววา
เนื่ อ งจากเนื้ อ ที่ ในสมุ ด บั น ทึ ก ไม เพี ย งพอจึ งไม ได บั น ทึ ก บทพิ สู จ น ไว นั ก คณิ ต ศาสตรไ ด
พยายามพิสูจนทฤษฎีบทสุดทายของแฟรมาตมาตลอดจนเกิดคณิ ตศาสตรแขนงใหมๆ ที่มี
ประโยชน
           คนสวนใหญที่เริ่มศึกษาวิทยาศาสตรกายภาพ มักเบื่อหนายตอบทพิสูจนของทฤษฎี
บทต า งๆ สนใจเพี ย งการนํ า ไปประยุ ก ต ใช เท า นั้ น หากทุ ก คนคิ ด เช น นี้ วิ ท ยาศาสตร แ ละ
เทคโนโลยีคงจะไมกาวหนาอยางเชนในปจจุบัน การมีแนวคิดทฤษฎีใหมๆ ยอมเปนผลจาก
การศึกษาทฤษฎีบทที่มีอยูวามีแนวคิดมาอยางไร และจะยืนยันไดอยางไรวาสิ่งที่เราคิดขึ้นมา
นั้นถูกตอง เชน หากเราเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอรขึ้นเพื่อทํางานชิ้นหนึ่ง เรามีวิธีตรวจสอบ
ไดอยางไรวาโปรแกรมนั้นทํางานใหไดตามตองการจริงๆ หรือหากมีใครจัดรายการเกมโชวโดย
2                                                                           หลักคณิตศาสตร์


ตั้งกติกาวาผูที่ชนะไดรางวัลคือ ผูที่สามารถจัดเรียงแผนกระดาษ 36 แผน ซึ่งแตละแผนมีเลข
1, 2, …, 36 เขียนอยูแผนละ 1 หมายเลขบนชองวาง 36 ชองในวงลอนําโชค โดยที่ผลบวก
ของตัวเลขใน 3 ชองที่ติดกันใดๆ มีคานอยกวา 55 ทานจะทราบไดอยางไรวา ทานสมควรจะ
เลนเกมนี้หรือไม
         ในบทนี้เราจะกลาวถึงตรรกศาสตรพื้นฐานสําหรับใชในการพิสูจน และการพิสูจนแบบ
ตางๆ ซึ่งใชในการพิสูจนขอความทางคณิตศาสตร

1.1 ประพจนและคาความจริง
        ขอความที่นาสนใจทางคณิตศาสตรเปนขอความที่เราตัดสินไดวา ตองเปนจริงหรือเปน
เท็จอยางใดอยางหนึ่งเทานั้น จะเปนทั้งสองอยางไมได กลาวคือ ถาขอความใดไมเปนจริงแลว
ขอความนั้นตองเปนเท็จ ในนัยกลับกัน ถาขอความใดไมเปนเท็จแลว ขอความนั้นตองเปนจริง
ประโยคเชน “จํานวนเฉพาะเปนจํานวนที่สําคัญที่สุด” เปนประโยคที่เราไมสนใจ เพราะเปน
ประโยคแสดงความคิดเห็นซึ่งมีทั้งผูที่เห็นดวยและผูท่คัดคาน
                                                     ี

บทนิยามที่ 1 ประพจน (proposition หรือ statement) เปนประโยคซึ่งเปนจริงหรือเปนเท็จ
อยางใดอยางหนึ่งเทานั้น
ตัวอยางที่ 1.1 ประโยคตอไปนี้เปนประพจน
                (1) ดวงอาทิตยขึ้นทางทิศตะวันออก                            (จริง)
                (2) ประเทศไทยประกอบดวยจังหวัด 20 จังหวัด                   (เท็จ)
                (3) 2 เปนจํานวนอตรรกยะ                                     (จริง)
                (4) ถา x = 1 แลว x = -1
                                     2
                                                                            (เท็จ)
                (5) 5 ไมเปนจํานวนจริง                                     (เท็จ)
                (6) 4597366114 > 28                                         (จริง)
                (7) 2 + 1 เปนจํานวนเฉพาะ
                      4765


ขอสังเกต : เราไมสามารถบอกไดทันทีวา ประโยคที่ 7 เปนจริงหรือเท็จ แตหากใหเวลาพอ
สมควรเราจะบอกไดวา ประโยคนี้จริงหรือเท็จ

ตัวอยางที่ 1.2 ประโยคตอไปนี้ไมเปนประพจน
                (1) พรุงนี้คุณไปทํางานหรือเปลา                                (คําถาม)
ตรรกศาสตร์และการพิสูจน์                                                                                3


                    (2) ฝากซื้อตั๋วละครดวยนะ                                                 (ขอรอง)
                    (3) อยาซน                                                                (คําสั่ง)
                    (4) a ⋅ b = b ⋅ a
                    (5) x 2 = -1
                    (6) r เปนจํานวนอตรรกยะ
ขอสังเกต : ประโยคที่ 4, 5 และ 6 ไมเปนประพจนเพราะเราไมสามารถทราบวา a, b, x หรือ
r คืออะไร จึงตัดสินไมไดวา ประโยคเหลานี้จริงหรือเท็จ
สัญกรณ เมื่อเราตองการแทนประพจนดวยสัญลักษณเรานิยมแทนดวยอักษรตัวพิมพเล็กใน
ภาษาอังกฤษ เชน p, q, r เปนตน
           เมื่อประพจน p เปนจริง เรากลาววา p มีคาความจริง (truth value) เปนจริง เขียน
แทนคาความจริงเปนจริงดวยสัญลักษณ T และถาประพจน p เปนเท็จ เรากลาววา p มีคา
ความจริงเปนเท็จ เขียนแทนคาความจริงเปนเท็จดวยสัญลักษณ F (ในทางคอมพิวเตอรนิยม
ใช “ 1 ” แทน “จริง” และ “ 0 ” แทน “เท็จ”)
           จะสั ง เกตเห็ น ได ว า ประพจน ใ นตั ว อย า งที่ 1.1 เป น ประพจน เชิ ง เดี่ ย ว (simple
statement) กลาวคือเปนประพจนซึ่งเราไมสามารถแยกออกเปนประพจนยอยมากกวาหนึ่ง
ประพจนได เรายังมีประพจนซึ่งเกิดจากการนิเสธประพจน หรือรวมสองประพจนเขาดวยกัน
ตั ว เชื่ อ ม (connective) (และ)  , (หรื อ )  , (ถ า ...แล ว ...)  หรื อ (ก็ ต อ เมื่ อ ) « เรี ย ก
ประพจนที่ไดวา ประพจนเชิงประกอบ (complex statement)

       ให p และ q เปนประพจนใดๆ
       นิเสธ (negation) ของ p เขียนแทนดวยสัญลักษณ                   p     เปนประพจนที่มีคาความ
จริงตรงกันขามกับ p ดังแสดงในตารางขางลางนี้

                                ตารางที่ 1.1
                                      p            p
                                      T             F
                                      F             T
4                                                                                หลักคณิตศาสตร์


ตัวอยางเชน       p           : วันนี้เปนวันเสาร
                     p : วันนี้ไมใชวันเสาร
           การรวม (conjunction) ของ p และ q เขียนแทนดวยสัญลักษณ p  q อานวา “ p
และ q ” เปนประพจน p  q มีคาความจริงเปนจริงในกรณีเดียวเทานั้น คือ ทั้ง p และ q มี
คาความจริงเปนจริงทั้งคู
ตัวอยางเชน            p : เชียงใหมเปนจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย
                        q      : เชียงใหมตั้งอยูในภาคเหนือของประเทศไทย
 p  q มีคาความจริงเปนจริง เพราะ p มีคาความจริงเปนจริง และ q มีคาความจริงเปนจริง
           ประพจน “ภาคตนปการศึกษา 2534 นางสาว สมศรี รักวิทยา ลงทะเบียนเรียนวิชา
คณิตศาสตรและวิชาฟสิกส” เขียนในรูปสัญลักษณทางคณิตศาสตรไดคือ r  s โดยที่
r : ภาคตนปการศึกษา 2534 นางสาว สมศรี รักวิทยา ลงทะเบียนเรียนวิชาคณิตศาสตร
s : ภาคตนปการศึกษา 2535 นางสาว สมศรี รักวิทยา ลงทะเบียนเรียนวิชาฟสิกส
ประพจนเชนนี้เปนจริงกรณีเดียวเทานั้นคือ r เปนจริง และ s เปนจริง
           การเลือก (disjunction) ระหวาง p และ q เขียนแทนดวย p  q อานวา “ p หรือ
q ” แตมีความหมายตรงกับ p และ/หรือ q นั่นคือ
           ประพจน p  q มีคาความจริงเปนเท็จกรณีเดียวเทานั้นคือ เมื่อ p และ q มีคาความ
จริงเปนเท็จทั้งคู มองดูอาจขัดกับความรูสึกของเราวาการเลือกควรเลือกเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม
ควรเลือกทั้งสองอยาง หากเราเปรียบเทียบวาประพจนเปนสมบัติที่เราตัดสินไดวาจริงหรือเท็จ
ก็คงพอจะรับ p  q ในเชิงตรรกศาสตรได เชน คุณสมบัติของผูมีสิทธิสมัครงานบริษัทแหง
หนึ่งเขียนไววา
           วุฒิการศึกษา : วิทยาศาสตรบัณฑิต หรือ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
           หากสมศรีเรียนจบทั้งสองปริญญาคือ ทั้งวิทยาศาสตรบัณฑิต และวิศวกรรมศาสตร
บัณฑิต สมศรียอมมีสิทธิสมัครงานในตําแหนงดังกลาวไดเชนกัน
           การแจงเหตุ (implication) p สูผล q เขียนแทนดวย p  q อานวา “ถา p แลว
q ” หรือ “ p สรุปไดวา q ” หรือ “ p เปนเงื่อนไขที่เพียงพอ (sufficient) สําหรับ q ” หรือ “ q
เป น เงื่ อ นไขที่ จํ า เป น (necessary) สํ า หรับ p ” เราเรีย กประพจน p ว า ข อ สมมติ ฐ าน
(hypothesis) และเรียกประพจน q วา ผลสรุป (conclusion)
            p  q มีคาความจริงเปนเท็จกรณีเดียวเทานั้นคือ เมื่อ p มีคาความจริงเปนจริงและ
q มีคาความจริงเปนเท็จ นั่นคือ เมื่อ p มีคาความจริงเปนเท็จ เราจะสรุปอะไรซึ่งเปนจริงหรือ
ตรรกศาสตร์และการพิสูจน์                                                                     5


เท็จยอมถือวาเราพูดความจริง แตหาก p เปนจริง จะตองไดผล q ซึ่งเปนจริง จึงจะถือวาเรา
พูดความจริง
ตัวอยางเชน         p : วันนี้เปนวันจันทร
                     q     : นายสมชาย เหลืองสด ใสเสื้อสีเหลือง
               p q        : ถาวันนี้เปนวันจันทรแลว นายสมชาย เหลืองสด ใสเสื้อสีเหลือง
p  q เปนเท็จก็ตอเมื่อวันนี้เปนวันจันทรแตนายสมชาย เหลืองสด ไมไดใสเสื้อสีเหลือง แต
หากเราพบสมชายใสเสื้อสีเหลือง เราจะดวนสรุปวาวันนี้เปนวันจันทรไมได (สมชายอาจชอบสี
เหลืองมากจึงใสเสื้อสีเหลืองบอย) แตที่แนๆ ก็คือ วันจันทรเขาจะไมยอมใสเสื้อสีอื่นเลยนอก
จากสีเหลือง p  q กลาวไดอีกอยางหนึ่งวา นายสมชาย เหลืองสด ใสเสื้อสีเหลืองทุกวัน
จันทร
         การสมมูลกัน (equivalence) ของ p และ q เขียนแทนดวย p « q อานวา “ p ก็
ตอเมื่อ (if and only if) q ” หรือ “ p สมมูลกับ q ” หรือ “ p เปนเงื่อนไขที่เพียงพอและจําเปน
สําหรับ q ” p « q เปนสัญลักษณแทนประพจน (p  q )  (q  p) ดังนั้น
          p « q มีคาความจริงเปนจริงกรณีที่ p และ q มีคาความจริงตรงกัน เชนในตัวอยาง
นายสมชาย เหลืองสด
          p « q วันนี้เปนวันจันทร ก็ตอเมื่อ นายสมชาย เหลืองสด ใสเสื้อสีเหลือง ประพจนนี้
เปนจริง เมื่อสมชายใสเสื้อสีเหลืองในวันจันทร และถาสมชายใสเสื้อสีเหลืองสรุปไดวาวันนี้เปน
วันจันทร นั่นคือ สีเสื้อของสมชายเปนเครื่องชี้บอกไดวาวันนั้นเปนวันจันทรหรือไม
         ตารางที่ 1.1 แสดงคาความจริงของประพจน  p โดยแจกแจงกรณีทั้งหมดที่เปนไป
ไดของ p เราเรียกตารางซึ่งแสดงคาความจริงของประพจนเชิงประกอบโดยแจกแจงคาความ
จริงในทุกกรณี ของประพจนยอยเชิงเดียวทั้งหมดที่ประกอบเปนประพจนนั้นวา ตารางคา
ความจริง (truth table) ของประพจน
         เพื่อเปนตัวอยาง เราสรุปตารางคาความจริง p  q, p  q, p  q และ p « q ใน
ตารางเดียวกันดังนี้
6                                                                                           หลักคณิตศาสตร์


                       ตารางที่ 1.2
                            p          q           p q            p q          p q          p «q
                            T         T              T               T             T              T
                            T          F             F               T             F              F
                            F         T              F               T             T              F
                            F          F             F               F             T              T


        โดยทั่วไปเมื่อประพจนเชิงประกอบ P มีประพจนยอยเชิงเดียวทั้งหมด n ประพจน
คือ p1, p2, ..., pn จะแจงกรณี ไดทั้งหมด 2n กรณี เพื่อแจกแจงใหครบทุกกรณี เราทําเปน
ขั้นตอน ดังนี้
        1. แบงตารางเปน n + 1 หลัก (column) โดยแตละหลักเขียนประพจนเดียวเรียงไป
ตามลําดับ โดยหลักสุดทายคือประพจน P
        2. ในหลัก i ใดๆ (เพื่อใหเปนระบบควรเริ่มจากหลักที่ 1) เขียน T เปนจํานวน 2n -i
ตัว บรรทัดละตัว สลับกับ F จํานวน 2n-i ตัว บรรทัดละตัว จนกวาจะครบ 2n ตัว เชน

                        p        q         P                        p       q        r            P
                        T       T                                  T        T       T
                        T        F                                 T        T       F
                        F       T                                  T        F       T
                        F        F                                 T        F       F
                                                                   F        T       T
                                                                   F        T       F
                                                                   F        F       T
                                                                   F        F       F

         3. ใส ค า ความจริ งให ป ระพจน ย อ ยของ P ซึ่ งเชื่ อ มด ว ยตั ว เชื่ อ มเพี ย งตั ว เดี ย วใต
ตัวเชื่อมจากวงเล็บในสุดไปเรื่อยๆ จนกวาจะไดคาความจริงของ P
         เราใชตารางที่ 1.1 และ 1.2 เปนหลักในการสรางตารางคาความจริงของประพจนอ่นๆ                     ื
ดังแสดงในตัวอยางตอไปนี้
ตรรกศาสตร์และการพิสูจน์                                                                                  7


ตัวอยางที่ 1.3 จงเขียนตารางแสดงคาความจริงประพจน (( p)  q )  p
                             p       q             (( p)  q )  p
                            T       T                F      F      T
                            T        F               F      F      T
                            F       T                T      T      F
                            F        F               T      F      T
            ลําดับขั้น       1       1               2      3      4


           สังเกตวาตารางคาความจริงนี้สรางอยางประหยัดเนื้อที่ บรรทัดสุดท ายซึ่งเขียนวา
ลําดับขั้นนั้น ตัวเลขที่ปรากฏแสดงถึงลําดับในการแจงคาความจริง ลําดับสุดทาย (ในตัวอยาง
นี้ตรงกับขั้นที่ 4) เป น คาความจริงของประพจนที่ตองการ เราตีตารางเพื่ อเนน ใหเห็น จาก
ตั ว อย า งข า งต น อ า นได ว า เมื่ อ p เป น จริ ง q เป น จริ ง จะได (( p)  q )  p เป น จริ ง
ดังนี้ เปนตน

ตัวอยางที่ 1.4 จงเขียนตารางคาความจริงของประพจน
         (p  (q  r )) « ((p  q )  (p  r ))


                   p        q       r      (p  (q  r )) « ((p  q )  (p  r ))

                  T        T       T           T     T       T         T   T    T
                  T        T        F          T     F       T         T   T    T
                  T        F       T           T     F       T         T   T    T
                  T        F        F          T     F       T         T   T    T
                   F       T       T           T     T       T         T   T    T
                   F       T        F          F     F       T         T   F     F
                   F       F       T           F     F       T         F   F     T
                   F       F        F          F     F       T         F   F     F
                   1        1       1          3      2       4        2   3      2
8                                                                                     หลักคณิตศาสตร์


       เพื่อความสะดวกในบางครั้งเราอาจตัดวงเล็บบางคูออกไดโดยมีขอตกลงลําดับกอน
หลังของตัวเชื่อมดังนี้
       1. 
       2. ,  (กรณีมีทั้งสองตัวเชื่อมตองใสวงเล็บคั่น)
       3. 
       4. «


ตัวอยางเชน
(( p)  q )  p                            เขียนแทนดวย        p q  p
(p  (q  r )) « ((p  q )  (p  r ))      เขียนแทนดวย       p  (q  r ) « (p  q )  (p  r )


บทนิ ย ามที่ 2 สั จ นิ รั น ดร (tautology) คื อ ประพจน ที่ มี ค า ความจริ ง เป น จริ ง เสมอ ส ว น
ประพจนที่มีคาความจริงเปนเท็จเสมอเรียกวา ความขัดแยงกัน (contradiction)
       จากตัวอยางที่ 1.4 จะเห็นวา (p  (q  r )) « ((p  q )  (p  r )) เปนสัจนิรันดร
เราแสดงไดโดยงายวา p  p เปนความขัดแยงกัน




                                     แบบฝกหัดที่ 1.1

1. จงพิจารณาวาประโยคตอไปนี้เปนประพจนหรือไม
    1.1 5 + 8 = 20
    1.2 จงหาผลเฉลยของสมการ x + 1 = 3
    1.3 ถา 1 + 2 = 7   แลว   2(1 + 2) = 14
    1.4 ให x > 8
    1.5 จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเปนมหาวิทยาลัยซึ่งตั้งอยูในภาคเหนือของประเทศไทย
    1.6 ประเทศไทยอยูในทวีปเอเชีย
    1.7 จงทําดี
    1.8 อะ อะ อยาทิ้งขยะ
ตรรกศาสตร์และการพิสูจน์                                                      9


  1.9 4 เปนจํานวนเต็มลบ ก็ตอเมื่อ -4     เปนจํานวนเต็มบวก
  1.10 หนังสือ หรือ 7 เปนสัตวเลี้ยงลูกดวยนม
  1.11 จะทําการบานหรือเขานอน
  1.12 ทุกจํานวนเต็มซึ่งใหญกวา 3 เปนผลบวกของจํานวนเฉพาะสองจํานวน
  1.13 มีจํานวนเฉพาะอยูมากกวา 10 ตัว
  1.14 x 2 > 0
  1.15 a > b ก็ตอเมื่อ a 2 > b 2
2. จงหาคาความจริงของประพจนใน (1)
3. ให p, q, r และ s เปนประพจน จงสรางตารางคาความจริงของประพจนตอไปนี้
   3.1 p  (q  r ) « (p  q )  (p  r )
   3.2 (p  q ) « ( q  p)
   3.3 (p  q ) « ( p  q )
   3.4  (p  q ) « p  q
   3.5 p  q  p
   3.6 ((p  q )  p)  q
   3.7 [(p  q )  (r  s )]  ((p  r )  q  s )
   3.8  (p  q )  (s  r )
   3.9  (p  q )  (r   s )
   3.10 p  p
   3.11 p  p
   3.12 p  (q   q ) « p
   3.13 p  (r   r )
   3.14 p  (q   q )
4. ประพจนใดในขอ 3 เปนสัจนิรันดร
5. ประพจนใดในขอ 3 เปนความขัดแยงกัน
10                                                                               หลักคณิตศาสตร์


1.2 การสมมูลเชิงตรรกศาสตร
        เรานิยาม “ความเหมือน” (การสมมูล) ของของ 2 สิ่งไดอยางไร
        ในทางเรขาคณิตความเหมือนหมายถึงรูปทรงไมแตกตางกัน เชน สามเหลี่ยมสองรูป
เทากันทุกประการ ก็ตอเมื่อ สามเหลี่ยมสองรูปมีดานเทากันทุกดาน ดานตอดาน
         การเหมือนกันของนิพจนของจํานวนจริงสองนิพจนในเชิงพีชคณิต เรากลาววานิพจน
ทั้งสองเปนเอกลักษณกัน เชน (a + b)2 และ a 2 + 2ab + b 2 เปนเอกลักษณกัน เขียนแทน
ดวย (a + b)2 = a 2 + 2ab + b 2 หมายความวา เมื่อเราแทนคา a และ b ดวยจํานวนจริงใด
เชน แทน a ดวย 1 และแทน b ดวย 3 ในนิพ จนทางซายมือและนิพ จนทางขวามือของ
                    2
เครื่องหมาย “ = ” คาที่คํานวณไดจะเทากัน ดังนั้น เราสามารถใชนิพจนที่เปนเอกลักษณกันนี้
แทนที่กันไดเสมอ
         ในเชิ ง ตรรกศาสตร สํ า หรั บ ประพจน ค า ความจริ ง เป น ตั ว บ ง บอกเอกลั ก ษณ ข อง
ประพจนนั้นๆ ดังนั้น ประพจน 2 ประพจน “เหมือนกัน ” ในเชิงตรรกศาสตรหมายความวา
ประพจนทั้งสองมีคาความจริงตรงกันในทุกกรณี เราสามารถแทนที่ประพจนที่ “เหมือนกัน” นี้
ไดเชนกัน

บทนิยามที่ 3 ให p และ q เป น ประพจน เรากล า วว า p และ q สมมู ล กั น เชิ ง ตรรก-
ศาสตร (logically equivalent) เขียนแทนดวยสัญลักษณ p  q ก็ตอเมื่อประพจน p « q
เปนสัจนิรันดร นั่นคือ คาความจริงของ p และ q ตรงกันทุกกรณี

ตัวอยางที่ 1.5 พิจารณาตารางคาความจริงของประพจน               p  q,  q  p,  p  q
และ q  p

                      p      q        p q          q  p           p q          qp
                     T       T          T               T                 T             T
                     T       F           F              F                 F             T
                     F       T          T               T                 T             F
                     F       F          T               T                 T             T

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นAon Narinchoti
 
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นchantana17
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์Anchalee BuddhaBucha
 
บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์Gawewat Dechaapinun
 
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นKrutom Nyschool
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓ นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓   นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติภาษาบาลี ชุดที่ ๓   นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓ นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติAnchalee BuddhaBucha
 
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นAkkradet Keawyoo
 
ไวยากรณ์เบื้องต้น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์
ไวยากรณ์เบื้องต้น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ไวยากรณ์เบื้องต้น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์
ไวยากรณ์เบื้องต้น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์Prasit Koeiklang
 
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นRitthinarongron School
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๒ โครงสร้างวจีวิภาค
ภาษาบาลี ชุดที่ ๒   โครงสร้างวจีวิภาคภาษาบาลี ชุดที่ ๒   โครงสร้างวจีวิภาค
ภาษาบาลี ชุดที่ ๒ โครงสร้างวจีวิภาคAnchalee BuddhaBucha
 
ความน่าจะเป็น(Probability)
ความน่าจะเป็น(Probability)ความน่าจะเป็น(Probability)
ความน่าจะเป็น(Probability)Aommii Honestly
 

Was ist angesagt? (19)

Sample space
Sample spaceSample space
Sample space
 
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น
 
31201final521
31201final52131201final521
31201final521
 
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น
 
Limit
LimitLimit
Limit
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์
 
บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์
 
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น
 
5.สูตรการหาความน่าจะเป็น
5.สูตรการหาความน่าจะเป็น5.สูตรการหาความน่าจะเป็น
5.สูตรการหาความน่าจะเป็น
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓ นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓   นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติภาษาบาลี ชุดที่ ๓   นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓ นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
 
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น
 
ไวยากรณ์เบื้องต้น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์
ไวยากรณ์เบื้องต้น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ไวยากรณ์เบื้องต้น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์
ไวยากรณ์เบื้องต้น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์
 
Polynomial
PolynomialPolynomial
Polynomial
 
Logic1
Logic1Logic1
Logic1
 
Test
TestTest
Test
 
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๒ โครงสร้างวจีวิภาค
ภาษาบาลี ชุดที่ ๒   โครงสร้างวจีวิภาคภาษาบาลี ชุดที่ ๒   โครงสร้างวจีวิภาค
ภาษาบาลี ชุดที่ ๒ โครงสร้างวจีวิภาค
 
Add m2-1-chapter3
Add m2-1-chapter3Add m2-1-chapter3
Add m2-1-chapter3
 
ความน่าจะเป็น(Probability)
ความน่าจะเป็น(Probability)ความน่าจะเป็น(Probability)
ความน่าจะเป็น(Probability)
 

Ähnlich wie 9789740329909

ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
ตรรกศาสตร์เบื้องต้นตรรกศาสตร์เบื้องต้น
ตรรกศาสตร์เบื้องต้นAtar Tharinee
 
การสอบย่อย1 ตรรกศาสตร์
การสอบย่อย1  ตรรกศาสตร์การสอบย่อย1  ตรรกศาสตร์
การสอบย่อย1 ตรรกศาสตร์krukanidfkw
 
หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์
หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์
หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์จูน นะค่ะ
 
หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์
หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์
หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์จูน นะค่ะ
 
แผน ค31201 แผนที่ 1
แผน ค31201 แผนที่ 1แผน ค31201 แผนที่ 1
แผน ค31201 แผนที่ 1krucharuncha2
 
การสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่น
การสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่นการสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่น
การสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่นkruthai40
 

Ähnlich wie 9789740329909 (20)

Logic
LogicLogic
Logic
 
Logicc
LogiccLogicc
Logicc
 
Final 31201 53
Final 31201 53Final 31201 53
Final 31201 53
 
72 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่7_ความน่าจะเป็น2
72 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่7_ความน่าจะเป็น272 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่7_ความน่าจะเป็น2
72 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่7_ความน่าจะเป็น2
 
Logic
LogicLogic
Logic
 
ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
ตรรกศาสตร์เบื้องต้นตรรกศาสตร์เบื้องต้น
ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
 
ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
ตรรกศาสตร์เบื้องต้นตรรกศาสตร์เบื้องต้น
ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
 
31201mid521
31201mid52131201mid521
31201mid521
 
Logic content
Logic contentLogic content
Logic content
 
Logic content
Logic contentLogic content
Logic content
 
71 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่6_ความน่าจะเป็น1
71 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่6_ความน่าจะเป็น171 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่6_ความน่าจะเป็น1
71 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่6_ความน่าจะเป็น1
 
09 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่3_สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล
09 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่3_สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล09 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่3_สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล
09 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่3_สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล
 
การสอบย่อย1 ตรรกศาสตร์
การสอบย่อย1  ตรรกศาสตร์การสอบย่อย1  ตรรกศาสตร์
การสอบย่อย1 ตรรกศาสตร์
 
08 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่2_ประพจน์และกาสมมูล
08 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่2_ประพจน์และกาสมมูล08 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่2_ประพจน์และกาสมมูล
08 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่2_ประพจน์และกาสมมูล
 
31201mid531
31201mid53131201mid531
31201mid531
 
หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์
หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์
หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์
 
หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์
หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์
หน่วยที่ 2 ตรรกศาสตร์
 
04 การเชื่อมประพจน์
04 การเชื่อมประพจน์04 การเชื่อมประพจน์
04 การเชื่อมประพจน์
 
แผน ค31201 แผนที่ 1
แผน ค31201 แผนที่ 1แผน ค31201 แผนที่ 1
แผน ค31201 แผนที่ 1
 
การสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่น
การสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่นการสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่น
การสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่น
 

Mehr von CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

Mehr von CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740329909

  • 1. ตรรกศาสตร์และการพิสูจน์ 1 บทที่ ตรรกศาสตรและการพิสจน ู ในโลกป จ จุ บั น เรามั ก เผชิ ญ กั บ ป ญ หาการพิ สู จ น ค วามจริงในสิ่ งที่ ได รับ ทราบหรื อ ตองการทราบวาขั้นตอนในการแกป ญ หาตางๆ คําตอบที่ ได ถูกต องหรือไม เชน เมื่อเขียน โปรแกรมคอมพิวเตอรเราจะทราบไดอยางไรวาโปรแกรมนั้นทํางานอยางที่ตองการ บางขอ ความเชน “ดวงอาทิตยขึ้นทางทิศตะวันออก” “หนึ่งสัปดาหมี 9 วัน” คนสวนใหญทราบทันทีวา ขอความแรกเปนจริงแตขอความหลังเปนเท็จ บางคําถามไมงายนักที่จะตอบในทันทีวาจริงหรือ ไมโดยเฉพาะอยางยิ่งขอความทางคณิตศาสตร เชน “ไมวา n เปนจํานวนนับใดๆ n 3 + n เป น จํ า นวนคู เสมอ” บางข อ ความเช น ทฤษฎี บ ทสุ ด ท า ยของ แฟร ม าต (Fermat’s Last Theorem) “สําหรับจํานวนเต็ม n ใดๆ ซึ่ง n > z สมการ x n + y n = z n ไมมีผลเฉลย ซึ่ง x , y และ z เปนจํานวนเต็มซึ่งไมใชศูนย (zero)” ขอความอยูในสมุดบันทึกนักคณิตศาสตร ชาวฝรั่งเศสผูมีชื่อเสียง ปแยร เดอ แฟรมาต (Pierre de Fermat, 1601-1655) เขากลาววา เนื่ อ งจากเนื้ อ ที่ ในสมุ ด บั น ทึ ก ไม เพี ย งพอจึ งไม ได บั น ทึ ก บทพิ สู จ น ไว นั ก คณิ ต ศาสตรไ ด พยายามพิสูจนทฤษฎีบทสุดทายของแฟรมาตมาตลอดจนเกิดคณิ ตศาสตรแขนงใหมๆ ที่มี ประโยชน คนสวนใหญที่เริ่มศึกษาวิทยาศาสตรกายภาพ มักเบื่อหนายตอบทพิสูจนของทฤษฎี บทต า งๆ สนใจเพี ย งการนํ า ไปประยุ ก ต ใช เท า นั้ น หากทุ ก คนคิ ด เช น นี้ วิ ท ยาศาสตร แ ละ เทคโนโลยีคงจะไมกาวหนาอยางเชนในปจจุบัน การมีแนวคิดทฤษฎีใหมๆ ยอมเปนผลจาก การศึกษาทฤษฎีบทที่มีอยูวามีแนวคิดมาอยางไร และจะยืนยันไดอยางไรวาสิ่งที่เราคิดขึ้นมา นั้นถูกตอง เชน หากเราเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอรขึ้นเพื่อทํางานชิ้นหนึ่ง เรามีวิธีตรวจสอบ ไดอยางไรวาโปรแกรมนั้นทํางานใหไดตามตองการจริงๆ หรือหากมีใครจัดรายการเกมโชวโดย
  • 2. 2 หลักคณิตศาสตร์ ตั้งกติกาวาผูที่ชนะไดรางวัลคือ ผูที่สามารถจัดเรียงแผนกระดาษ 36 แผน ซึ่งแตละแผนมีเลข 1, 2, …, 36 เขียนอยูแผนละ 1 หมายเลขบนชองวาง 36 ชองในวงลอนําโชค โดยที่ผลบวก ของตัวเลขใน 3 ชองที่ติดกันใดๆ มีคานอยกวา 55 ทานจะทราบไดอยางไรวา ทานสมควรจะ เลนเกมนี้หรือไม ในบทนี้เราจะกลาวถึงตรรกศาสตรพื้นฐานสําหรับใชในการพิสูจน และการพิสูจนแบบ ตางๆ ซึ่งใชในการพิสูจนขอความทางคณิตศาสตร 1.1 ประพจนและคาความจริง ขอความที่นาสนใจทางคณิตศาสตรเปนขอความที่เราตัดสินไดวา ตองเปนจริงหรือเปน เท็จอยางใดอยางหนึ่งเทานั้น จะเปนทั้งสองอยางไมได กลาวคือ ถาขอความใดไมเปนจริงแลว ขอความนั้นตองเปนเท็จ ในนัยกลับกัน ถาขอความใดไมเปนเท็จแลว ขอความนั้นตองเปนจริง ประโยคเชน “จํานวนเฉพาะเปนจํานวนที่สําคัญที่สุด” เปนประโยคที่เราไมสนใจ เพราะเปน ประโยคแสดงความคิดเห็นซึ่งมีทั้งผูที่เห็นดวยและผูท่คัดคาน ี บทนิยามที่ 1 ประพจน (proposition หรือ statement) เปนประโยคซึ่งเปนจริงหรือเปนเท็จ อยางใดอยางหนึ่งเทานั้น ตัวอยางที่ 1.1 ประโยคตอไปนี้เปนประพจน (1) ดวงอาทิตยขึ้นทางทิศตะวันออก (จริง) (2) ประเทศไทยประกอบดวยจังหวัด 20 จังหวัด (เท็จ) (3) 2 เปนจํานวนอตรรกยะ (จริง) (4) ถา x = 1 แลว x = -1 2 (เท็จ) (5) 5 ไมเปนจํานวนจริง (เท็จ) (6) 4597366114 > 28 (จริง) (7) 2 + 1 เปนจํานวนเฉพาะ 4765 ขอสังเกต : เราไมสามารถบอกไดทันทีวา ประโยคที่ 7 เปนจริงหรือเท็จ แตหากใหเวลาพอ สมควรเราจะบอกไดวา ประโยคนี้จริงหรือเท็จ ตัวอยางที่ 1.2 ประโยคตอไปนี้ไมเปนประพจน (1) พรุงนี้คุณไปทํางานหรือเปลา (คําถาม)
  • 3. ตรรกศาสตร์และการพิสูจน์ 3 (2) ฝากซื้อตั๋วละครดวยนะ (ขอรอง) (3) อยาซน (คําสั่ง) (4) a ⋅ b = b ⋅ a (5) x 2 = -1 (6) r เปนจํานวนอตรรกยะ ขอสังเกต : ประโยคที่ 4, 5 และ 6 ไมเปนประพจนเพราะเราไมสามารถทราบวา a, b, x หรือ r คืออะไร จึงตัดสินไมไดวา ประโยคเหลานี้จริงหรือเท็จ สัญกรณ เมื่อเราตองการแทนประพจนดวยสัญลักษณเรานิยมแทนดวยอักษรตัวพิมพเล็กใน ภาษาอังกฤษ เชน p, q, r เปนตน เมื่อประพจน p เปนจริง เรากลาววา p มีคาความจริง (truth value) เปนจริง เขียน แทนคาความจริงเปนจริงดวยสัญลักษณ T และถาประพจน p เปนเท็จ เรากลาววา p มีคา ความจริงเปนเท็จ เขียนแทนคาความจริงเปนเท็จดวยสัญลักษณ F (ในทางคอมพิวเตอรนิยม ใช “ 1 ” แทน “จริง” และ “ 0 ” แทน “เท็จ”) จะสั ง เกตเห็ น ได ว า ประพจน ใ นตั ว อย า งที่ 1.1 เป น ประพจน เชิ ง เดี่ ย ว (simple statement) กลาวคือเปนประพจนซึ่งเราไมสามารถแยกออกเปนประพจนยอยมากกวาหนึ่ง ประพจนได เรายังมีประพจนซึ่งเกิดจากการนิเสธประพจน หรือรวมสองประพจนเขาดวยกัน ตั ว เชื่ อ ม (connective) (และ)  , (หรื อ )  , (ถ า ...แล ว ...)  หรื อ (ก็ ต อ เมื่ อ ) « เรี ย ก ประพจนที่ไดวา ประพจนเชิงประกอบ (complex statement) ให p และ q เปนประพจนใดๆ นิเสธ (negation) ของ p เขียนแทนดวยสัญลักษณ p เปนประพจนที่มีคาความ จริงตรงกันขามกับ p ดังแสดงในตารางขางลางนี้ ตารางที่ 1.1 p p T F F T
  • 4. 4 หลักคณิตศาสตร์ ตัวอยางเชน p : วันนี้เปนวันเสาร  p : วันนี้ไมใชวันเสาร การรวม (conjunction) ของ p และ q เขียนแทนดวยสัญลักษณ p  q อานวา “ p และ q ” เปนประพจน p  q มีคาความจริงเปนจริงในกรณีเดียวเทานั้น คือ ทั้ง p และ q มี คาความจริงเปนจริงทั้งคู ตัวอยางเชน p : เชียงใหมเปนจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย q : เชียงใหมตั้งอยูในภาคเหนือของประเทศไทย p  q มีคาความจริงเปนจริง เพราะ p มีคาความจริงเปนจริง และ q มีคาความจริงเปนจริง ประพจน “ภาคตนปการศึกษา 2534 นางสาว สมศรี รักวิทยา ลงทะเบียนเรียนวิชา คณิตศาสตรและวิชาฟสิกส” เขียนในรูปสัญลักษณทางคณิตศาสตรไดคือ r  s โดยที่ r : ภาคตนปการศึกษา 2534 นางสาว สมศรี รักวิทยา ลงทะเบียนเรียนวิชาคณิตศาสตร s : ภาคตนปการศึกษา 2535 นางสาว สมศรี รักวิทยา ลงทะเบียนเรียนวิชาฟสิกส ประพจนเชนนี้เปนจริงกรณีเดียวเทานั้นคือ r เปนจริง และ s เปนจริง การเลือก (disjunction) ระหวาง p และ q เขียนแทนดวย p  q อานวา “ p หรือ q ” แตมีความหมายตรงกับ p และ/หรือ q นั่นคือ ประพจน p  q มีคาความจริงเปนเท็จกรณีเดียวเทานั้นคือ เมื่อ p และ q มีคาความ จริงเปนเท็จทั้งคู มองดูอาจขัดกับความรูสึกของเราวาการเลือกควรเลือกเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม ควรเลือกทั้งสองอยาง หากเราเปรียบเทียบวาประพจนเปนสมบัติที่เราตัดสินไดวาจริงหรือเท็จ ก็คงพอจะรับ p  q ในเชิงตรรกศาสตรได เชน คุณสมบัติของผูมีสิทธิสมัครงานบริษัทแหง หนึ่งเขียนไววา วุฒิการศึกษา : วิทยาศาสตรบัณฑิต หรือ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หากสมศรีเรียนจบทั้งสองปริญญาคือ ทั้งวิทยาศาสตรบัณฑิต และวิศวกรรมศาสตร บัณฑิต สมศรียอมมีสิทธิสมัครงานในตําแหนงดังกลาวไดเชนกัน การแจงเหตุ (implication) p สูผล q เขียนแทนดวย p  q อานวา “ถา p แลว q ” หรือ “ p สรุปไดวา q ” หรือ “ p เปนเงื่อนไขที่เพียงพอ (sufficient) สําหรับ q ” หรือ “ q เป น เงื่ อ นไขที่ จํ า เป น (necessary) สํ า หรับ p ” เราเรีย กประพจน p ว า ข อ สมมติ ฐ าน (hypothesis) และเรียกประพจน q วา ผลสรุป (conclusion) p  q มีคาความจริงเปนเท็จกรณีเดียวเทานั้นคือ เมื่อ p มีคาความจริงเปนจริงและ q มีคาความจริงเปนเท็จ นั่นคือ เมื่อ p มีคาความจริงเปนเท็จ เราจะสรุปอะไรซึ่งเปนจริงหรือ
  • 5. ตรรกศาสตร์และการพิสูจน์ 5 เท็จยอมถือวาเราพูดความจริง แตหาก p เปนจริง จะตองไดผล q ซึ่งเปนจริง จึงจะถือวาเรา พูดความจริง ตัวอยางเชน p : วันนี้เปนวันจันทร q : นายสมชาย เหลืองสด ใสเสื้อสีเหลือง p q : ถาวันนี้เปนวันจันทรแลว นายสมชาย เหลืองสด ใสเสื้อสีเหลือง p  q เปนเท็จก็ตอเมื่อวันนี้เปนวันจันทรแตนายสมชาย เหลืองสด ไมไดใสเสื้อสีเหลือง แต หากเราพบสมชายใสเสื้อสีเหลือง เราจะดวนสรุปวาวันนี้เปนวันจันทรไมได (สมชายอาจชอบสี เหลืองมากจึงใสเสื้อสีเหลืองบอย) แตที่แนๆ ก็คือ วันจันทรเขาจะไมยอมใสเสื้อสีอื่นเลยนอก จากสีเหลือง p  q กลาวไดอีกอยางหนึ่งวา นายสมชาย เหลืองสด ใสเสื้อสีเหลืองทุกวัน จันทร การสมมูลกัน (equivalence) ของ p และ q เขียนแทนดวย p « q อานวา “ p ก็ ตอเมื่อ (if and only if) q ” หรือ “ p สมมูลกับ q ” หรือ “ p เปนเงื่อนไขที่เพียงพอและจําเปน สําหรับ q ” p « q เปนสัญลักษณแทนประพจน (p  q )  (q  p) ดังนั้น p « q มีคาความจริงเปนจริงกรณีที่ p และ q มีคาความจริงตรงกัน เชนในตัวอยาง นายสมชาย เหลืองสด p « q วันนี้เปนวันจันทร ก็ตอเมื่อ นายสมชาย เหลืองสด ใสเสื้อสีเหลือง ประพจนนี้ เปนจริง เมื่อสมชายใสเสื้อสีเหลืองในวันจันทร และถาสมชายใสเสื้อสีเหลืองสรุปไดวาวันนี้เปน วันจันทร นั่นคือ สีเสื้อของสมชายเปนเครื่องชี้บอกไดวาวันนั้นเปนวันจันทรหรือไม ตารางที่ 1.1 แสดงคาความจริงของประพจน  p โดยแจกแจงกรณีทั้งหมดที่เปนไป ไดของ p เราเรียกตารางซึ่งแสดงคาความจริงของประพจนเชิงประกอบโดยแจกแจงคาความ จริงในทุกกรณี ของประพจนยอยเชิงเดียวทั้งหมดที่ประกอบเปนประพจนนั้นวา ตารางคา ความจริง (truth table) ของประพจน เพื่อเปนตัวอยาง เราสรุปตารางคาความจริง p  q, p  q, p  q และ p « q ใน ตารางเดียวกันดังนี้
  • 6. 6 หลักคณิตศาสตร์ ตารางที่ 1.2 p q p q p q p q p «q T T T T T T T F F T F F F T F T T F F F F F T T โดยทั่วไปเมื่อประพจนเชิงประกอบ P มีประพจนยอยเชิงเดียวทั้งหมด n ประพจน คือ p1, p2, ..., pn จะแจงกรณี ไดทั้งหมด 2n กรณี เพื่อแจกแจงใหครบทุกกรณี เราทําเปน ขั้นตอน ดังนี้ 1. แบงตารางเปน n + 1 หลัก (column) โดยแตละหลักเขียนประพจนเดียวเรียงไป ตามลําดับ โดยหลักสุดทายคือประพจน P 2. ในหลัก i ใดๆ (เพื่อใหเปนระบบควรเริ่มจากหลักที่ 1) เขียน T เปนจํานวน 2n -i ตัว บรรทัดละตัว สลับกับ F จํานวน 2n-i ตัว บรรทัดละตัว จนกวาจะครบ 2n ตัว เชน p q P p q r P T T T T T T F T T F F T T F T F F T F F F T T F T F F F T F F F 3. ใส ค า ความจริ งให ป ระพจน ย อ ยของ P ซึ่ งเชื่ อ มด ว ยตั ว เชื่ อ มเพี ย งตั ว เดี ย วใต ตัวเชื่อมจากวงเล็บในสุดไปเรื่อยๆ จนกวาจะไดคาความจริงของ P เราใชตารางที่ 1.1 และ 1.2 เปนหลักในการสรางตารางคาความจริงของประพจนอ่นๆ ื ดังแสดงในตัวอยางตอไปนี้
  • 7. ตรรกศาสตร์และการพิสูจน์ 7 ตัวอยางที่ 1.3 จงเขียนตารางแสดงคาความจริงประพจน (( p)  q )  p p q (( p)  q )  p T T F F T T F F F T F T T T F F F T F T ลําดับขั้น 1 1 2 3 4 สังเกตวาตารางคาความจริงนี้สรางอยางประหยัดเนื้อที่ บรรทัดสุดท ายซึ่งเขียนวา ลําดับขั้นนั้น ตัวเลขที่ปรากฏแสดงถึงลําดับในการแจงคาความจริง ลําดับสุดทาย (ในตัวอยาง นี้ตรงกับขั้นที่ 4) เป น คาความจริงของประพจนที่ตองการ เราตีตารางเพื่ อเนน ใหเห็น จาก ตั ว อย า งข า งต น อ า นได ว า เมื่ อ p เป น จริ ง q เป น จริ ง จะได (( p)  q )  p เป น จริ ง ดังนี้ เปนตน ตัวอยางที่ 1.4 จงเขียนตารางคาความจริงของประพจน (p  (q  r )) « ((p  q )  (p  r )) p q r (p  (q  r )) « ((p  q )  (p  r )) T T T T T T T T T T T F T F T T T T T F T T F T T T T T F F T F T T T T F T T T T T T T T F T F F F T T F F F F T F F T F F T F F F F F T F F F 1 1 1 3 2 4 2 3 2
  • 8. 8 หลักคณิตศาสตร์ เพื่อความสะดวกในบางครั้งเราอาจตัดวงเล็บบางคูออกไดโดยมีขอตกลงลําดับกอน หลังของตัวเชื่อมดังนี้ 1.  2. ,  (กรณีมีทั้งสองตัวเชื่อมตองใสวงเล็บคั่น) 3.  4. « ตัวอยางเชน (( p)  q )  p เขียนแทนดวย  p q  p (p  (q  r )) « ((p  q )  (p  r )) เขียนแทนดวย p  (q  r ) « (p  q )  (p  r ) บทนิ ย ามที่ 2 สั จ นิ รั น ดร (tautology) คื อ ประพจน ที่ มี ค า ความจริ ง เป น จริ ง เสมอ ส ว น ประพจนที่มีคาความจริงเปนเท็จเสมอเรียกวา ความขัดแยงกัน (contradiction) จากตัวอยางที่ 1.4 จะเห็นวา (p  (q  r )) « ((p  q )  (p  r )) เปนสัจนิรันดร เราแสดงไดโดยงายวา p  p เปนความขัดแยงกัน แบบฝกหัดที่ 1.1 1. จงพิจารณาวาประโยคตอไปนี้เปนประพจนหรือไม 1.1 5 + 8 = 20 1.2 จงหาผลเฉลยของสมการ x + 1 = 3 1.3 ถา 1 + 2 = 7 แลว 2(1 + 2) = 14 1.4 ให x > 8 1.5 จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเปนมหาวิทยาลัยซึ่งตั้งอยูในภาคเหนือของประเทศไทย 1.6 ประเทศไทยอยูในทวีปเอเชีย 1.7 จงทําดี 1.8 อะ อะ อยาทิ้งขยะ
  • 9. ตรรกศาสตร์และการพิสูจน์ 9 1.9 4 เปนจํานวนเต็มลบ ก็ตอเมื่อ -4 เปนจํานวนเต็มบวก 1.10 หนังสือ หรือ 7 เปนสัตวเลี้ยงลูกดวยนม 1.11 จะทําการบานหรือเขานอน 1.12 ทุกจํานวนเต็มซึ่งใหญกวา 3 เปนผลบวกของจํานวนเฉพาะสองจํานวน 1.13 มีจํานวนเฉพาะอยูมากกวา 10 ตัว 1.14 x 2 > 0 1.15 a > b ก็ตอเมื่อ a 2 > b 2 2. จงหาคาความจริงของประพจนใน (1) 3. ให p, q, r และ s เปนประพจน จงสรางตารางคาความจริงของประพจนตอไปนี้ 3.1 p  (q  r ) « (p  q )  (p  r ) 3.2 (p  q ) « ( q  p) 3.3 (p  q ) « ( p  q ) 3.4  (p  q ) « p  q 3.5 p  q  p 3.6 ((p  q )  p)  q 3.7 [(p  q )  (r  s )]  ((p  r )  q  s ) 3.8  (p  q )  (s  r ) 3.9  (p  q )  (r   s ) 3.10 p  p 3.11 p  p 3.12 p  (q   q ) « p 3.13 p  (r   r ) 3.14 p  (q   q ) 4. ประพจนใดในขอ 3 เปนสัจนิรันดร 5. ประพจนใดในขอ 3 เปนความขัดแยงกัน
  • 10. 10 หลักคณิตศาสตร์ 1.2 การสมมูลเชิงตรรกศาสตร เรานิยาม “ความเหมือน” (การสมมูล) ของของ 2 สิ่งไดอยางไร ในทางเรขาคณิตความเหมือนหมายถึงรูปทรงไมแตกตางกัน เชน สามเหลี่ยมสองรูป เทากันทุกประการ ก็ตอเมื่อ สามเหลี่ยมสองรูปมีดานเทากันทุกดาน ดานตอดาน การเหมือนกันของนิพจนของจํานวนจริงสองนิพจนในเชิงพีชคณิต เรากลาววานิพจน ทั้งสองเปนเอกลักษณกัน เชน (a + b)2 และ a 2 + 2ab + b 2 เปนเอกลักษณกัน เขียนแทน ดวย (a + b)2 = a 2 + 2ab + b 2 หมายความวา เมื่อเราแทนคา a และ b ดวยจํานวนจริงใด เชน แทน a ดวย 1 และแทน b ดวย 3 ในนิพ จนทางซายมือและนิพ จนทางขวามือของ 2 เครื่องหมาย “ = ” คาที่คํานวณไดจะเทากัน ดังนั้น เราสามารถใชนิพจนที่เปนเอกลักษณกันนี้ แทนที่กันไดเสมอ ในเชิ ง ตรรกศาสตร สํ า หรั บ ประพจน ค า ความจริ ง เป น ตั ว บ ง บอกเอกลั ก ษณ ข อง ประพจนนั้นๆ ดังนั้น ประพจน 2 ประพจน “เหมือนกัน ” ในเชิงตรรกศาสตรหมายความวา ประพจนทั้งสองมีคาความจริงตรงกันในทุกกรณี เราสามารถแทนที่ประพจนที่ “เหมือนกัน” นี้ ไดเชนกัน บทนิยามที่ 3 ให p และ q เป น ประพจน เรากล า วว า p และ q สมมู ล กั น เชิ ง ตรรก- ศาสตร (logically equivalent) เขียนแทนดวยสัญลักษณ p  q ก็ตอเมื่อประพจน p « q เปนสัจนิรันดร นั่นคือ คาความจริงของ p และ q ตรงกันทุกกรณี ตัวอยางที่ 1.5 พิจารณาตารางคาความจริงของประพจน p  q,  q  p,  p  q และ q  p p q p q  q  p  p q qp T T T T T T T F F F F T F T T T T F F F T T T T