SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 19
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  RFID มาใช้ในคลังสินค้า<br />นายอนุรุทธ์  เมฆพะโยม<br />บทคัดย่อ<br />ในปัจจุบันระบบจัดการคลังสินค้าใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดในการอ่านข้อมูลของสินค้าและมักจะมีปัญหาแถบรหัสบาร์โค้ดเลือนทำให้การอ่านข้อมูลทำได้ยาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคโนโลยี RFID และเพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้และผ่านการอบรมด้านเทคโนโลยี RFID จำนวน 65 คน แล้วนำมาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ <br />จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านรูปแบบของ Tag และปัจจัยด้านการนำกลับมาใช้ใหม่มีผลต่อการตัดสินใจในการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า ทั้งนี้เนื่องจาก Tag ที่ใช้จะมีขนาดเล็กทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เพิ่มสภาพคล่องในการทำงานมากขึ้น ลดความผิดพลาดโดยรวมและยังสามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละชิ้นได้ อีกทั้งการที่ Tag เขียนข้อมูลซ้ำได้มากและยังสามารถอ่าน-เขียนข้อมูลได้ทันที ทำให้สามารถประหยัดต้นทุนแล้วยังส่งผลให้ลูกค้าเชื่อมั่นในคุณภาพด้านการบริการที่ถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งไม่สามารถตีค่าเป็นจำนวนเงินได้ <br />1.บทนำ<br />การดำเนินธุรกิจในภาวะปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการบริหารงานขององค์กร กระบวนการทางธุรกิจแบบใหม่ถูกสร้างและควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือหลักในการเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างหน่วยงาน ภายในและภายนอกองค์กร เช่นคู่ค้าทางธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลให้ความสามารถในการสื่อสาร ควบคุม ตลอดจนการประมวลผลเพื่อการตัดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้อง และรวดเร็วพร้อมเผชิญหน้ากับการแข่งขันในยุคพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า การควบคุมการผลิต การสั่งซื้อ การวางแผนการผลิต การบริหารสินค้าคงคลัง เป็นต้น  <br />ในปัจจุบันระบบจัดการคลังสินค้าใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดในการอ่านข้อมูลของสินค้าซึ่งจะได้ข้อมูลสินค้านั้นๆ และมักจะมีปัญหาแถบรหัสบาร์โค้ด (Barcode) เลือนทำให้การอ่านข้อมูลทำได้ยาก การนำเทคโนโลยี Radio Frequency Identification (RFID) มาแทนระบบเก่า เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็วและจัดการได้ง่ายขึ้น ทั้งข้อมูลที่สามารถเก็บได้ มากขึ้นตามขนาดของหน่วยความจำการอ่านด้วยคลื่นวิทยุทำให้อ่านข้อมูลจากแทกซ์ (Tag)ได้ง่าย และสามารถอ่านได้ในระยะไกล และตัวอ่านบางชนิดยังสามารถอ่านข้อมูลได้ ทีละหลายสินค้าพร้อมกันโดยเราไม่ต้องนำตัวอ่านข้อมูลยิงลำแสง เพื่ออ่านค่าบนแถบรหัส แต่เราสามารถนำสินค้าเคลื่อนที่ผ่านตัวอ่านแทน โดยจะใช้การส่งข้อมูลเป็นสัญญาณวิทยุเพื่ออ่านข้อมูลจากแทกซ์ ทำหน้าที่เหมือนแถบรหัสบนบาร์โค้ด แต่เก็บข้อมูลได้มากกว่า  ซึ่งจากเดิมแถบบาร์โค้ดสามารถเก็บข้อมูลได้เพียงรหัสสินค้าและทำการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลแต่แทกซ์ จะเก็บข้อมูลในหน่วยความจำของมันเองซึ่งสามารถเก็บข้อมูลที่สำคัญได้มากขึ้น เช่น ที่มาของสินค้า ตำแหน่งจัดวางสินค้า วันหมดอายุของสินค้าฯลฯ และในกรณีที่สินค้าเกิดการเสียหายหรือชำรุดสามารถดูข้อมูลจากแทกซ์ซึ่งเราสามารถรู้ ถึงที่มาได้ทันทีหรือเมื่อสินค้าเข้า-ออกจากคลังสินค้าเราสามารถตรวจสอบสินค้าจากแทกซ์ได้ว่าสินค้าแต่ ละชิ้นนั้นได้ถูกนำมาจากที่ใด ส่งออกไปยังสถานที่ใดและยังทำให้ง่ายต่อการอ่านจำนวนสินค้าที่ขนออกมาในปริมาณมาก ซึ่งจะเห็นว่าการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการจัดการระบบคลังสินค้าเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีบาร์โค้ดได้มากขึ้นผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรศึกษาถึงการนำเอาเทคโนโลยีระบบ RFID (Radio Frequency Identification) มาประยุกต์ใช้แทนระบบบาร์โค้ด เพื่อใช้ในการจัดการสินค้าทั้งส่วน สินค้าเข้า สินค้าส่งออก การค้นหาสินค้า ซึ่งระบบ RFID (Radio Frequency Identification) จะให้ความถูกต้องและแม่นยำของข้อมูล ทำให้องค์กรสามารถจัดการบริหารทรัพยากรได้อย่างถูกต้องและสามารถนำไปใช้ในการวางแผนงานได้มากขึ้น<br />2.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง<br />แนวคิดเกี่ยว RFID<br />RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำไปใช้งานแทนระบบบาร์โค้ด (Bar Code)  โดยจุดเด่นของ RFID อยู่ที่การอ่านข้อมูลจาก Tag ได้หลายๆ  Tag แบบไร้สัมผัสและสามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี ทนต่อความเปียกชื้นแรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก สามารถอ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในไมโครชิปที่อยู่ใน Tag ในปัจจุบันได้มีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานในด้านอื่นๆนอกเหนือจากนำมาใช้แทนระบบบาร์โค้ดแบบเดิม เช่น ใช้ในบัตรชนิดต่างๆ เช่น บัตรสำหรับใช้ผ่านเข้าออกสถานที่ต่างๆ บัตรที่จอดรถ ตามศูนย์การค้าต่างๆ ที่เราอาจพบเห็นอยู่ในรูปของ Tag สินค้า มีขนาดเล็กจนสามารถแทรกลงระหว่างชั้นของเนื้อกระดาษได้ หรือเป็นแคปซูลขนาดเล็กฝังเอาไว้ในตัวสัตว์เพื่อบันทึกประวัติต่างๆ เป็นต้น<br />การประยุกต์ใช้งาน RFID  จะมีลักษณะการใช้งานที่คล้ายกับบาร์โค้ด (Bar Code) และยังสามารถรองรับความต้องการอีกหลายอย่างที่บาร์โค้ดไม่สามารถตอบสนองได้ เนื่องจากบาร์โค้ดจะเป็นระบบที่อ่านได้อย่างเดียว (Read Only) ไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่บนบาร์โค้ดได้ แต่ Tag ของระบบ RFID จะสามารถเลือกใช้ Tag ที่อ่านได้อย่างเดียวหรือทั้งอ่านและบันทึกข้อมูลก็ได้ ดังนั้นจึงสามารถเปลี่ยนแปลงหรือทำการบันทึกข้อมูลที่อยู่ใน Tag ได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ระบบ RFID ยังสามารถใช้งานได้แม้ขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ เช่นในขณะสินค้ากำลังเคลื่อนที่อยู่บนสายพานการผลิต (Conveyor) หรือในบางประเทศก็มีการใช้ระบบ RFID ในการเก็บค่าผ่านทางด่วนโดยที่ผู้ใช้บริการทางด่วนไม่ต้องหยุดรถเพื่อจ่ายค่าบริการผู้ใช้ทางด่วนจะมี Tag ติดอยู่กับรถและ Tag จะทำการสื่อสารกับตัวอ่านข้อมูลผ่านสายอากาศขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นทางด่วน ในขณะที่รถแล่นผ่านสายอากาศ ตัวอ่านข้อมูลก็จะคิดค่าบริการและบันทึกจำนวนเงินที่เหลือลงใน Tag โดยอัตโนมัติหรือแม้กระทั้งการใช้งานในปศุสัตว์เพื่อบันทึกประวัติ หรือระบุความแตกต่างของสัตว์แต่ละตัวที่อยู่ในฟาร์ม ข้อดีของระบบ RFID อีกอย่างก็คือ Tag และตัวอ่านข้อมูลสามารถสื่อสารผ่านตัวกลางได้หลายอย่างเช่น น้ำ, พลาสติก, กระจก, หรือวัสดุทึบแสงอื่นๆ  (เฉลิมพล เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา 2547:19) <br />แนวคิดเกี่ยวกระบวนการตัดสินใจ<br />กระบวนการตัดสินใจ (Process of decision making) หมายถึง การกำหนดขั้นตอนของการตัดสินใจตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย การตัดสินใจโดยมีลำดับขั้นของกระบวนการ ดังกล่าว เป็นการตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผลและมีกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นการตัดสินใจโดยใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือช่วยในการหาข้อสรุปเพื่อการตัดสินใจ ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจมีอยู่หลายรูปแบบ แล้วแต่ความคิดเห็นของนักวิชาการ พลันเกต และแอ็ตเนอร์ (Plunkett and Attner, 1994:162) ได้เสนอลำดับขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้ (กุลชลี ไชยนันตา 2539:135-139)<br />ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา (Define the problem) เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะการระบุปัญหาได้ถูกต้องหรือไม่ ย่อมมีผลต่อการดำเนินการในขั้นต่อ ๆ ไปของกระบวนการตัดสินใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการตัดสินใจด้วย ดังนั้น ผู้บริหารจึงควรระมัดระวังมิให้เกิดความผิดพลาดในการระบุปัญหาขององค์การ ทั้งนี้ ผู้บริหารควรแยกแยะความแตกต่างระหว่างอาการแสดง (symptom) ที่เกิดขึ้นกับตัวปัญหาที่แท้จริงเสียก่อน <br />ขั้นที่ 2 การระบุข้อจำกัดของปัจจัย (Indentify limiting factors) เมื่อสามารถระบุปัญหาได้ถูกต้องแล้ว ผู้บริหารควรพิจารณาถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ขององค์การ โดยพิจารณาจากทรัพยากรซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการผลิต ได้แก่ กำลังคน เงินทุน เครื่องจักร สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ รวมทั้งเวลาซึ่งมักเป็นปัจจัยจำกัดที่พบอยู่เสมอ ๆ การรู้ถึงข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จะช่วยให้ผู้บริหารกำหนดขอบเขตในการพัฒนาทางเลือกให้แคบลงได้ <br />ขั้นที่ 3 การพัฒนาทางเลือก (Develop potential alternatives) ขั้นตอนต่อไป ผู้บริหารควรทำการพัฒนาทางเลือกต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งทางเลือกเหล่านั้นควรเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพและมีความเป็นไปได้ ในการแก้ปัญหาให้น้อยลงหรือให้ประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเช่น กรณีที่องค์การประสบปัญหาเวลาการผลิตไม่เพียงพอ ผู้บริหารอาจพิจารณาทางเลือกดังนี้ 1) เพิ่มการทำงานกะพิเศษ 2) เพิ่มการทำงานล่วงเวลาโดยใช้ตารางปกติ 3) เพิ่มจำนวนพนักงาน หรือ 4) ไม่ทำอะไรเลย ในการพัฒนาทางเลือกผู้บริหารอาจขอความคิดเห็นจากนักบริหารอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จทั้งภายในและภายนอกขององค์การ ซึ่งอาจใช้วิธีการปรึกษาหารือเป็นรายบุคคล หรือจัดการประชุมกลุ่มย่อยขึ้น <br />ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ทางเลือก (Analyze the alternatives) เมื่อผู้บริหารได้ทำการพัฒนาทางเลือกต่าง ๆ โดยจะนำเอาข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกมาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบ และควรวิเคราะห์ทางเลือกในสองแนวทาง  อย่างไรก็ตามทางเลือกบางทางเลือกที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดขององค์การก็อาจทำให้เกิดผลต่อเนื่องที่ไม่พึงประสงค์ตามมา เช่น ทางเลือกหนึ่ง ของการเพิ่มผลผลิต ได้แก่การลงทุนติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้แก้ปัญหาได้ แต่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการลดลงของขวัญกำลังใจของพนักงานในระยะต่อมา เป็นต้น <br />ขั้นที่ 5 การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด (Select the best alternative) เมื่อผู้บริหารได้ทำการ วิเคราะห์และประเมินทางเลือกต่าง ๆ แล้ว ผู้บริหารควรเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเดียว ทางเลือกที่ดีที่สุดควรมีผลเสียต่อเนื่องในภายหลังน้อยที่สุด และให้ผลประโยชน์มากที่สุด แต่บางครั้งผู้บริหารอาจตัดสินใจเลือกทางเลือกแบบประนีประนอม โดยพิจารณาองค์ประกอบที่ดีที่สุดของแต่ละทางเลือกนำมาผสมผสานกัน <br />ขั้นที่ 6 การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ (Implement the decision) เมื่อผู้บริหารได้ทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว ก็ควรมีการนำผลการตัดสินใจนั้นไปปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารควรกำหนดโปรแกรมของการตัดสินใจ โดยระบุถึงตารางเวลาการดำเนินงาน งบประมาณ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ควรมีการมอบหมายอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจน และจัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารที่จะช่วยให้การตัดสินใจเป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้ผู้บริหารควรกำหนดระเบียบวิธี กฎ และนโยบาย ซึ่งมีส่วนสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ <br />ขั้นที่ 7 การสร้างระบบควบคุมและประเมินผล (Establish a control and evaluation system) ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตัดสินใจ ได้แก่ การสร้างระบบการควบคุมและการประเมินผล ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ผู้บริหารแก้ปัญหาหรือทำการตัดสินใจใหม่ได้โดยได้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติที่ดีที่สุด<br />3.ระเบียบวิธีวิจัยและสมมติฐานการวิจัย<br />ตัวแปรต้น<br />ปัจจัยพื้นฐานด้านผู้ปฏิบัติงาน- เพศ - อายุ    - รายได้- การศึกษา     -ประสบการณ์การทำงาน              <br />ตัวแปรตาม<br />ระดับขั้นตอนการตัดสินใจ1 การระบุปัญหา2 การระบุข้อจำกัด3 การพัฒนาทางเลือก<br />ปัจจัยพื้นฐานด้าน RFID- ระยะของสัญญาณ- รูปแบบของ Tag- วัตถุที่จะนำ Tag ไปติดตั้ง- ราคาต้นทุนของ Tag- ความคงทน- ความถูกต้องน่าเชื่อถือ- ความง่ายและความยืดหยุ่นในการใช้- การนำกลับมาใช้ใหม่<br />รูปที่1.กรอบแนวความคิด<br />ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง    คือ ผู้ปฏิบัติงานระดับสูง, ผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง และ ผู้ปฏิบัติงานระดับปฏิบัติการ สายงานระบบปฏิบัติการ บริษัท มินอิก เทคโนโลยี (ประเทศไทย)และบริษัท ไทยเจแปนแก็ซ จำกัด การกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้เต็มประชากรทั้งหมด   จำนวน 65  คน   <br />เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ผู้จัดทำได้ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ นำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า<br />การเก็บรวบรวมข้อมูล หลังจากที่ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวความคิด  ทฤษฏีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาตามกรอบแนวความคิดในการวิจัย โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการศึกษาครั้งนี้อย่างเป็นขั้นตอน  ดังนี้<br />1.นำหนังสือขออนุญาตจากสำนักงานโครงการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร  ถึง บริษัทที่ทำการสุ่มตัวอย่าง เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสนับสนุนการวิจัย<br />2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้เวลาทั้งสิ้น 4 เดือนจาก เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 <br />3.  ผู้วิจัยจะดำเนินการจัดส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์และติดตามทางโทรศัพท์ ภายใน 30 วัน<br />4. เก็บรวมรวมแบบสอบถามที่ได้จากการกรอกข้อมูลที่สมบูรณ์มาจนครบ<br />5.  ตรวจสอบความสมบูรณ์ของคำถามในแบบสอบถาม<br />6.  จัดหมวดหมู่ข้อมูลในแบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป<br />การวิเคราะห์ข้อมูล<br />1.แบบสอบถามที่เป็นข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ (Percentage)<br />2.แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณสมบัติพื้นฐานด้านเทคโนโลยีRFIDใช้แบบมาตรวัดแบบประมาณค่า5ระดับ   <br />เกณฑ์การประเมินค่าวัดแบ่งเป็น 5 ระดับ  การแปลความหมายค่าเฉลี่ย โดยผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการของเบส (Best,John W .Best.) (สุทธิชัย เลิศเจริญวงศา. 2548 : 35)  ดังนี้<br />ระดับคะแนน4.51 - 5.00 คะแนนมีระดับของการตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุดระดับคะแนน3.51 - 4.50 คะแนนมีระดับของการตัดสินใจอยู่ในระดับมากระดับคะแนน2.51- 3.50 คะแนนมีระดับของการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลางระดับคะแนน1.51 - 2.50 คะแนนมีระดับของการตัดสินใจอยู่ในระดับน้อยระดับคะแนน1.00 - 1.50 คะแนนมีระดับของการตัดสินใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด<br />และใช้การวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)<br />3.  แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจในการเลือกใช้ RFID มาใช้ในคลังสินค้า วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)<br />สถิติที่ใช้ในการวิจัย<br />กกกกผู้วิจัยนำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้<br />1. ค่าร้อยละ (Percentage) ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านผู้ปฏิบัติงาน<br />2. ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้าน RFID และข้อมูลแบบสอบถามมาตราส่วน 5 ช่วง<br />3. t-test  ใช้ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยไม่เกิน 2 กลุ่ม<br />4. Anova ใช้ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเกิน 2 กลุ่ม<br />5. Multiple regression ใช้ในการวิเคราะห์ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นฐานด้าน RFID ที่มีผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า <br />4.ผลการวิจัยและอภิปรายผล<br />1.  พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.8) ที่เหลือเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 46.2) เมื่อจำแนกตามอายุส่วนใหญ่ มี 25-35 ปี (ร้อยละ 36.9) รองลงมาอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 36-40 ปี (ร้อยละ 26.2) และอยู่ในช่วงอายุ 41-45 ปี (ร้อยละ 15.4) ที่เหลืออยู่ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 25 ปี (ร้อยละ 13.8) ระหว่างอายุ 46-50 (ร้อยละ 6.2) และมากกว่า 50 ปี (ร้อยละ 1.5) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามรายได้ พบว่าส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001 – 20,000 บาท (ร้อยละ 35.4) รองลงมามีรายได้ 20,001-30,000 บาท (ร้อยละ 20.0) มีรายได้ 30,001-40,000 บาท (ร้อยละ 13.8)   มีรายได้ 40,001-50,000 บาท (ร้อยละ 13.8) ที่เหลือมีรายได้ ต่ำกว่า 10,000 บาท (ร้อยละ 12.3) และรายได้มากกว่า 50,000 บาท (ร้อยละ 4.6) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามวุฒิทางการศึกษาสูงสุด พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 61.5) รองลงมาอยู่ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี (ร้อยละ 21.5) ระดับอนุปริญญา/ปวส. (ร้อยละ 13.8) และระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 3.1) ตามลำดับ                   เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงานพบว่าส่วนใหญ่อยู่ช่วงประสบการณ์การทำงาน 6-10 ปี (ร้อยละ 35.4) รองลงมาคือช่วงประสบการณ์การทำงาน 1-5 ปี, 10-15 ปี (ร้อยละ21.5) และประสบการณ์การทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 9.2) ที่เหลือมีประสบการณ์การทำงานมาก 15-20 ปี (ร้อยละ 7.7) และประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 1 ปี (ร้อยละ 4.6) ตามลำดับ<br />2.  ผลการศึกษาปัจจัยพื้นฐานด้านผู้ปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อระดับขั้นตอนการตัดสินใจนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า พบว่า ปัจจัยพื้นฐานด้านผู้ปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ระดับมาก <br />3.  ผลการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้าน RFID ที่ส่งผลต่อระดับขั้นตอนการตัดสินใจนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า ทั้ง 8 ด้าน คือ ด้านระยะของสัญญาณ, ด้านรูปแบบของ Tag, ด้านวัตถุที่จะนำ Tag ไปติดตั้ง, ด้านราคาต้นทุนของ Tag, ด้านความคงทน, ด้านความถูกต้องน่าเชื่อถือ, ด้านความง่ายและยืดหยุ่นในการใช้งาน และด้านการนำกลับมาใช้ใหม่ พบว่า ทั้งในภาพรวม อยู่ในระดับมาก<br />อภิปรายผลการวิจัย  <br />1. ปัจจัยด้านรูปแบบของ Tag ซึ่งได้แก่ มีขนาดเล็ก, สามารถอ่าน-เขียนข้อมูลได้แม้ขณะวัตถุเคลื่อนที่, Tag มีหลากหลายรูปแบบทำให้สามารถประยุกต์ใช้งานได้ง่าย มีผลต่อการตัดสินใจในการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เนื่องจาก Tag มีขนาดเล็กทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบทำให้เพิ่มสภาพคล่องในการทำงานมากขึ้น ลดความผิดพลาดโดยรวมและยังสามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละชิ้นได้ ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของ วชิราภรณ์  คลังธนบูรณ์ (2549) ได้ทำการศึกษาและประยุกต์ใช้ RFID ในห้องสมุดแนวคิดที่จะทำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในกระบวนการยืมคืนหนังสือและสื่อโสตทัศน์ด้วยตนเอง การยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้เทคโนโลยี Barcode ผู้ใช้ต้องติดต่อขอความช่วยเหลือ จากบรรณารักษ์/เจ้าหน้าที่ จะนำเอาแถบ Barcode ที่ติดกับทรัพยากรสารสนเทศนั้นไปไว้ในบริเวณที่เครื่องอ่านรหัส Barcode โดยสามารถอ่านได้ทีละเล่มแต่สำหรับเทคโนโลยี RFID นั้นมีลักษณะคล้ายกับ Barcode และยังสามารถรองรับความต้องการอีกหลายๆ อย่างที่ Barcode ไม่สามารถตอบสนองได้ กล่าวคือ เทคโนโลยี Barcode เป็นระบบที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่บน Barcode ได้ แต่ป้าย RFID สามาระอ่านและบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากตัวเลขและเพิ่มเติมข้อมูลภายหลังได้ นอกจากนี้ระบบเทคโนโลยี RFID เป็นเทคโนโลยีที่สามารถส่งข้อมูลทุกอย่างผ่านคลื่นความถี่วิทยุ ดังนั้นการอ่านข้อมูลจากป้าย RFID จึงไม่ต้องป้ายข้อมูลอยู่ในบริเวณที่เครื่องอ่าน อ่านได้และผู้ใช้สามารถยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้เมื่อมีการยืมคืนผ่านเทคโนโลยี RFID ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศจะถูกปรับปรุงข้อมูลเป็นปัจจุบันทันที กระบวนการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบเทคโนโลยี RFID <br />2. ปัจจัยด้านการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งได้แก่ อ่านและเขียนซ้ำได้มากกว่า 100,000 ครั้งและสามารถนำกลับมาใช้กับวัตถุชิ้นอื่นต่อไปได้ มีผลต่อการตัดสินใจในการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เป็นเพราะ การที่ Tag เขียนข้อมูลซ้ำได้มากอีกทั้งยังสามารถเขียนข้อมูลได้ทันที ทำให้สามารถประหยัดต้นทุนแล้วยังส่งผลให้ลูกค้าเชื่อมั่นในคุณภาพด้านการบริการที่ถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งไม่สามารถตีค่าเป็นจำนวนเงินได้ ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของ Seagate (2548) ที่พบว่า การติด RFID ที่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท เช่น ดิกส์ไดรฟ์, แมกเนติกดิสก์ และหัวอ่าน/เขียนระบบของเทปไดรฟ์ สามารถติดตามผลิตภัณฑ์ที่กำลังผลิตอยู่ในห้องสะอาดได้ แต่ระบบ Barcode ไม่สามารถใช้ได้ เพราะต้องมีการคำนึงถึงสารที่ปนเปื้อนในห้องสะอาดและยิ่งกว่านั้นการได้ติดตามตรวจสอบความถูกต้องของผลิตภัณฑ์ในขณะทำงานจริง จะช่วยให้ Seagate สามารถเพิ่มคุณภาพสินค้าและประสิทธิภาพการผลิต โดยการหาจุดที่ผิดพลาดว่ามาจากตรงไหนของแต่ละปัญหา ระบบ Barcode ที่มีอยู่ไม่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องได้เกิน 98% สำหรับงานที่กำลังอยู่ในช่วงการผลิต ปัญหาด้านการผลิตจะยากและใช้เวลานานในการแยกปัญหามาจากตรงไหนของแต่ละปัญหา <br />5.สรุป<br />ระบบ RFID ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ทำให้ยังไม่มีบริษัทที่ใช้ระบบ RFID มากเท่าที่ควร ควรจะมีการศึกษาระบบ RFID และนำมาใช้ให้มากขึ้นเนื่องจากจะสามารถลดต้นทุนในการดูแลรักษาสินค้า ความถูกต้องของข้อมูล อีกทั้งยังสามารถให้ความเชื่อมั่นจากลูกค้าได้ ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถอยู่รอดในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงและรุนแรงได้<br /> HYPERLINK quot;
ที่มา http://www.thailog.org/wikilog/quot;
 ที่มา http://www.thailog.org/wikilog/<br />
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี  Rfid มาใช้ในคลังสินค้า

Weitere ähnliche Inhalte

Andere mochten auch

Toyota Kata – habits for continuous improvements Lean IT Summit 2013
Toyota Kata – habits for continuous improvements Lean IT Summit 2013Toyota Kata – habits for continuous improvements Lean IT Summit 2013
Toyota Kata – habits for continuous improvements Lean IT Summit 2013Håkan Forss
 
LO530 Warehouse Management
LO530 Warehouse ManagementLO530 Warehouse Management
LO530 Warehouse ManagementConsultor SAP MM
 
Read financial statement in 3 hours
Read financial statement in 3 hoursRead financial statement in 3 hours
Read financial statement in 3 hoursEarn LikeStock
 
Kanban Kata - Lean Kanban European Conference Tour 2012
Kanban Kata - Lean Kanban European Conference Tour 2012Kanban Kata - Lean Kanban European Conference Tour 2012
Kanban Kata - Lean Kanban European Conference Tour 2012Håkan Forss
 
Toyota production way
Toyota production wayToyota production way
Toyota production wayPeter Bielik
 
259000828 toyota-kata-presentation-from-keith-deibert
259000828 toyota-kata-presentation-from-keith-deibert259000828 toyota-kata-presentation-from-keith-deibert
259000828 toyota-kata-presentation-from-keith-deibertMario Charlin
 
Toyota operational leadership structure
Toyota operational leadership structureToyota operational leadership structure
Toyota operational leadership structureLeanLeadership
 
Microsoft dynamics warehouse management system implementation guide
Microsoft dynamics warehouse management system implementation guideMicrosoft dynamics warehouse management system implementation guide
Microsoft dynamics warehouse management system implementation guideBiswanath Dey
 
Toyota kata and beyond
Toyota kata and beyondToyota kata and beyond
Toyota kata and beyondWilliam Judd
 
Fundamentals of value engineering
Fundamentals of value engineering Fundamentals of value engineering
Fundamentals of value engineering Karim Ragab
 
From quality management to performance excellence
From quality management to performance excellenceFrom quality management to performance excellence
From quality management to performance excellenceAreté Partners
 
ความรู้เบื้องต้นระบบคุณภาพ
ความรู้เบื้องต้นระบบคุณภาพความรู้เบื้องต้นระบบคุณภาพ
ความรู้เบื้องต้นระบบคุณภาพJirasap Kijakarnsangworn
 

Andere mochten auch (18)

Toyota Kata – habits for continuous improvements Lean IT Summit 2013
Toyota Kata – habits for continuous improvements Lean IT Summit 2013Toyota Kata – habits for continuous improvements Lean IT Summit 2013
Toyota Kata – habits for continuous improvements Lean IT Summit 2013
 
LO530 Warehouse Management
LO530 Warehouse ManagementLO530 Warehouse Management
LO530 Warehouse Management
 
Read financial statement in 3 hours
Read financial statement in 3 hoursRead financial statement in 3 hours
Read financial statement in 3 hours
 
Kanban Kata - Lean Kanban European Conference Tour 2012
Kanban Kata - Lean Kanban European Conference Tour 2012Kanban Kata - Lean Kanban European Conference Tour 2012
Kanban Kata - Lean Kanban European Conference Tour 2012
 
Warehouse Management
Warehouse ManagementWarehouse Management
Warehouse Management
 
Toyota production way
Toyota production wayToyota production way
Toyota production way
 
259000828 toyota-kata-presentation-from-keith-deibert
259000828 toyota-kata-presentation-from-keith-deibert259000828 toyota-kata-presentation-from-keith-deibert
259000828 toyota-kata-presentation-from-keith-deibert
 
Toyota operational leadership structure
Toyota operational leadership structureToyota operational leadership structure
Toyota operational leadership structure
 
Microsoft dynamics warehouse management system implementation guide
Microsoft dynamics warehouse management system implementation guideMicrosoft dynamics warehouse management system implementation guide
Microsoft dynamics warehouse management system implementation guide
 
4.fmea
4.fmea4.fmea
4.fmea
 
Toyota kata and beyond
Toyota kata and beyondToyota kata and beyond
Toyota kata and beyond
 
Qcc facilitator
Qcc facilitatorQcc facilitator
Qcc facilitator
 
Erp Strength & Weakness
Erp Strength & WeaknessErp Strength & Weakness
Erp Strength & Weakness
 
Quality Management Philosophies
Quality Management PhilosophiesQuality Management Philosophies
Quality Management Philosophies
 
Fundamentals of value engineering
Fundamentals of value engineering Fundamentals of value engineering
Fundamentals of value engineering
 
From quality management to performance excellence
From quality management to performance excellenceFrom quality management to performance excellence
From quality management to performance excellence
 
Risk management
Risk managementRisk management
Risk management
 
ความรู้เบื้องต้นระบบคุณภาพ
ความรู้เบื้องต้นระบบคุณภาพความรู้เบื้องต้นระบบคุณภาพ
ความรู้เบื้องต้นระบบคุณภาพ
 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี Rfid มาใช้ในคลังสินค้า

  • 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า<br />นายอนุรุทธ์ เมฆพะโยม<br />บทคัดย่อ<br />ในปัจจุบันระบบจัดการคลังสินค้าใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดในการอ่านข้อมูลของสินค้าและมักจะมีปัญหาแถบรหัสบาร์โค้ดเลือนทำให้การอ่านข้อมูลทำได้ยาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคโนโลยี RFID และเพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้และผ่านการอบรมด้านเทคโนโลยี RFID จำนวน 65 คน แล้วนำมาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ <br />จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านรูปแบบของ Tag และปัจจัยด้านการนำกลับมาใช้ใหม่มีผลต่อการตัดสินใจในการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า ทั้งนี้เนื่องจาก Tag ที่ใช้จะมีขนาดเล็กทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เพิ่มสภาพคล่องในการทำงานมากขึ้น ลดความผิดพลาดโดยรวมและยังสามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละชิ้นได้ อีกทั้งการที่ Tag เขียนข้อมูลซ้ำได้มากและยังสามารถอ่าน-เขียนข้อมูลได้ทันที ทำให้สามารถประหยัดต้นทุนแล้วยังส่งผลให้ลูกค้าเชื่อมั่นในคุณภาพด้านการบริการที่ถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งไม่สามารถตีค่าเป็นจำนวนเงินได้ <br />1.บทนำ<br />การดำเนินธุรกิจในภาวะปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการบริหารงานขององค์กร กระบวนการทางธุรกิจแบบใหม่ถูกสร้างและควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือหลักในการเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างหน่วยงาน ภายในและภายนอกองค์กร เช่นคู่ค้าทางธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลให้ความสามารถในการสื่อสาร ควบคุม ตลอดจนการประมวลผลเพื่อการตัดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้อง และรวดเร็วพร้อมเผชิญหน้ากับการแข่งขันในยุคพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า การควบคุมการผลิต การสั่งซื้อ การวางแผนการผลิต การบริหารสินค้าคงคลัง เป็นต้น <br />ในปัจจุบันระบบจัดการคลังสินค้าใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดในการอ่านข้อมูลของสินค้าซึ่งจะได้ข้อมูลสินค้านั้นๆ และมักจะมีปัญหาแถบรหัสบาร์โค้ด (Barcode) เลือนทำให้การอ่านข้อมูลทำได้ยาก การนำเทคโนโลยี Radio Frequency Identification (RFID) มาแทนระบบเก่า เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็วและจัดการได้ง่ายขึ้น ทั้งข้อมูลที่สามารถเก็บได้ มากขึ้นตามขนาดของหน่วยความจำการอ่านด้วยคลื่นวิทยุทำให้อ่านข้อมูลจากแทกซ์ (Tag)ได้ง่าย และสามารถอ่านได้ในระยะไกล และตัวอ่านบางชนิดยังสามารถอ่านข้อมูลได้ ทีละหลายสินค้าพร้อมกันโดยเราไม่ต้องนำตัวอ่านข้อมูลยิงลำแสง เพื่ออ่านค่าบนแถบรหัส แต่เราสามารถนำสินค้าเคลื่อนที่ผ่านตัวอ่านแทน โดยจะใช้การส่งข้อมูลเป็นสัญญาณวิทยุเพื่ออ่านข้อมูลจากแทกซ์ ทำหน้าที่เหมือนแถบรหัสบนบาร์โค้ด แต่เก็บข้อมูลได้มากกว่า ซึ่งจากเดิมแถบบาร์โค้ดสามารถเก็บข้อมูลได้เพียงรหัสสินค้าและทำการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลแต่แทกซ์ จะเก็บข้อมูลในหน่วยความจำของมันเองซึ่งสามารถเก็บข้อมูลที่สำคัญได้มากขึ้น เช่น ที่มาของสินค้า ตำแหน่งจัดวางสินค้า วันหมดอายุของสินค้าฯลฯ และในกรณีที่สินค้าเกิดการเสียหายหรือชำรุดสามารถดูข้อมูลจากแทกซ์ซึ่งเราสามารถรู้ ถึงที่มาได้ทันทีหรือเมื่อสินค้าเข้า-ออกจากคลังสินค้าเราสามารถตรวจสอบสินค้าจากแทกซ์ได้ว่าสินค้าแต่ ละชิ้นนั้นได้ถูกนำมาจากที่ใด ส่งออกไปยังสถานที่ใดและยังทำให้ง่ายต่อการอ่านจำนวนสินค้าที่ขนออกมาในปริมาณมาก ซึ่งจะเห็นว่าการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการจัดการระบบคลังสินค้าเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีบาร์โค้ดได้มากขึ้นผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรศึกษาถึงการนำเอาเทคโนโลยีระบบ RFID (Radio Frequency Identification) มาประยุกต์ใช้แทนระบบบาร์โค้ด เพื่อใช้ในการจัดการสินค้าทั้งส่วน สินค้าเข้า สินค้าส่งออก การค้นหาสินค้า ซึ่งระบบ RFID (Radio Frequency Identification) จะให้ความถูกต้องและแม่นยำของข้อมูล ทำให้องค์กรสามารถจัดการบริหารทรัพยากรได้อย่างถูกต้องและสามารถนำไปใช้ในการวางแผนงานได้มากขึ้น<br />2.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง<br />แนวคิดเกี่ยว RFID<br />RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำไปใช้งานแทนระบบบาร์โค้ด (Bar Code) โดยจุดเด่นของ RFID อยู่ที่การอ่านข้อมูลจาก Tag ได้หลายๆ Tag แบบไร้สัมผัสและสามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี ทนต่อความเปียกชื้นแรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก สามารถอ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในไมโครชิปที่อยู่ใน Tag ในปัจจุบันได้มีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานในด้านอื่นๆนอกเหนือจากนำมาใช้แทนระบบบาร์โค้ดแบบเดิม เช่น ใช้ในบัตรชนิดต่างๆ เช่น บัตรสำหรับใช้ผ่านเข้าออกสถานที่ต่างๆ บัตรที่จอดรถ ตามศูนย์การค้าต่างๆ ที่เราอาจพบเห็นอยู่ในรูปของ Tag สินค้า มีขนาดเล็กจนสามารถแทรกลงระหว่างชั้นของเนื้อกระดาษได้ หรือเป็นแคปซูลขนาดเล็กฝังเอาไว้ในตัวสัตว์เพื่อบันทึกประวัติต่างๆ เป็นต้น<br />การประยุกต์ใช้งาน RFID จะมีลักษณะการใช้งานที่คล้ายกับบาร์โค้ด (Bar Code) และยังสามารถรองรับความต้องการอีกหลายอย่างที่บาร์โค้ดไม่สามารถตอบสนองได้ เนื่องจากบาร์โค้ดจะเป็นระบบที่อ่านได้อย่างเดียว (Read Only) ไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่บนบาร์โค้ดได้ แต่ Tag ของระบบ RFID จะสามารถเลือกใช้ Tag ที่อ่านได้อย่างเดียวหรือทั้งอ่านและบันทึกข้อมูลก็ได้ ดังนั้นจึงสามารถเปลี่ยนแปลงหรือทำการบันทึกข้อมูลที่อยู่ใน Tag ได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ระบบ RFID ยังสามารถใช้งานได้แม้ขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ เช่นในขณะสินค้ากำลังเคลื่อนที่อยู่บนสายพานการผลิต (Conveyor) หรือในบางประเทศก็มีการใช้ระบบ RFID ในการเก็บค่าผ่านทางด่วนโดยที่ผู้ใช้บริการทางด่วนไม่ต้องหยุดรถเพื่อจ่ายค่าบริการผู้ใช้ทางด่วนจะมี Tag ติดอยู่กับรถและ Tag จะทำการสื่อสารกับตัวอ่านข้อมูลผ่านสายอากาศขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นทางด่วน ในขณะที่รถแล่นผ่านสายอากาศ ตัวอ่านข้อมูลก็จะคิดค่าบริการและบันทึกจำนวนเงินที่เหลือลงใน Tag โดยอัตโนมัติหรือแม้กระทั้งการใช้งานในปศุสัตว์เพื่อบันทึกประวัติ หรือระบุความแตกต่างของสัตว์แต่ละตัวที่อยู่ในฟาร์ม ข้อดีของระบบ RFID อีกอย่างก็คือ Tag และตัวอ่านข้อมูลสามารถสื่อสารผ่านตัวกลางได้หลายอย่างเช่น น้ำ, พลาสติก, กระจก, หรือวัสดุทึบแสงอื่นๆ (เฉลิมพล เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา 2547:19) <br />แนวคิดเกี่ยวกระบวนการตัดสินใจ<br />กระบวนการตัดสินใจ (Process of decision making) หมายถึง การกำหนดขั้นตอนของการตัดสินใจตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย การตัดสินใจโดยมีลำดับขั้นของกระบวนการ ดังกล่าว เป็นการตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผลและมีกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นการตัดสินใจโดยใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือช่วยในการหาข้อสรุปเพื่อการตัดสินใจ ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจมีอยู่หลายรูปแบบ แล้วแต่ความคิดเห็นของนักวิชาการ พลันเกต และแอ็ตเนอร์ (Plunkett and Attner, 1994:162) ได้เสนอลำดับขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้ (กุลชลี ไชยนันตา 2539:135-139)<br />ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา (Define the problem) เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะการระบุปัญหาได้ถูกต้องหรือไม่ ย่อมมีผลต่อการดำเนินการในขั้นต่อ ๆ ไปของกระบวนการตัดสินใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการตัดสินใจด้วย ดังนั้น ผู้บริหารจึงควรระมัดระวังมิให้เกิดความผิดพลาดในการระบุปัญหาขององค์การ ทั้งนี้ ผู้บริหารควรแยกแยะความแตกต่างระหว่างอาการแสดง (symptom) ที่เกิดขึ้นกับตัวปัญหาที่แท้จริงเสียก่อน <br />ขั้นที่ 2 การระบุข้อจำกัดของปัจจัย (Indentify limiting factors) เมื่อสามารถระบุปัญหาได้ถูกต้องแล้ว ผู้บริหารควรพิจารณาถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ขององค์การ โดยพิจารณาจากทรัพยากรซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการผลิต ได้แก่ กำลังคน เงินทุน เครื่องจักร สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ รวมทั้งเวลาซึ่งมักเป็นปัจจัยจำกัดที่พบอยู่เสมอ ๆ การรู้ถึงข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จะช่วยให้ผู้บริหารกำหนดขอบเขตในการพัฒนาทางเลือกให้แคบลงได้ <br />ขั้นที่ 3 การพัฒนาทางเลือก (Develop potential alternatives) ขั้นตอนต่อไป ผู้บริหารควรทำการพัฒนาทางเลือกต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งทางเลือกเหล่านั้นควรเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพและมีความเป็นไปได้ ในการแก้ปัญหาให้น้อยลงหรือให้ประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเช่น กรณีที่องค์การประสบปัญหาเวลาการผลิตไม่เพียงพอ ผู้บริหารอาจพิจารณาทางเลือกดังนี้ 1) เพิ่มการทำงานกะพิเศษ 2) เพิ่มการทำงานล่วงเวลาโดยใช้ตารางปกติ 3) เพิ่มจำนวนพนักงาน หรือ 4) ไม่ทำอะไรเลย ในการพัฒนาทางเลือกผู้บริหารอาจขอความคิดเห็นจากนักบริหารอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จทั้งภายในและภายนอกขององค์การ ซึ่งอาจใช้วิธีการปรึกษาหารือเป็นรายบุคคล หรือจัดการประชุมกลุ่มย่อยขึ้น <br />ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ทางเลือก (Analyze the alternatives) เมื่อผู้บริหารได้ทำการพัฒนาทางเลือกต่าง ๆ โดยจะนำเอาข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกมาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบ และควรวิเคราะห์ทางเลือกในสองแนวทาง อย่างไรก็ตามทางเลือกบางทางเลือกที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดขององค์การก็อาจทำให้เกิดผลต่อเนื่องที่ไม่พึงประสงค์ตามมา เช่น ทางเลือกหนึ่ง ของการเพิ่มผลผลิต ได้แก่การลงทุนติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้แก้ปัญหาได้ แต่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการลดลงของขวัญกำลังใจของพนักงานในระยะต่อมา เป็นต้น <br />ขั้นที่ 5 การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด (Select the best alternative) เมื่อผู้บริหารได้ทำการ วิเคราะห์และประเมินทางเลือกต่าง ๆ แล้ว ผู้บริหารควรเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเดียว ทางเลือกที่ดีที่สุดควรมีผลเสียต่อเนื่องในภายหลังน้อยที่สุด และให้ผลประโยชน์มากที่สุด แต่บางครั้งผู้บริหารอาจตัดสินใจเลือกทางเลือกแบบประนีประนอม โดยพิจารณาองค์ประกอบที่ดีที่สุดของแต่ละทางเลือกนำมาผสมผสานกัน <br />ขั้นที่ 6 การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ (Implement the decision) เมื่อผู้บริหารได้ทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว ก็ควรมีการนำผลการตัดสินใจนั้นไปปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารควรกำหนดโปรแกรมของการตัดสินใจ โดยระบุถึงตารางเวลาการดำเนินงาน งบประมาณ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ควรมีการมอบหมายอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจน และจัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารที่จะช่วยให้การตัดสินใจเป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้ผู้บริหารควรกำหนดระเบียบวิธี กฎ และนโยบาย ซึ่งมีส่วนสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ <br />ขั้นที่ 7 การสร้างระบบควบคุมและประเมินผล (Establish a control and evaluation system) ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตัดสินใจ ได้แก่ การสร้างระบบการควบคุมและการประเมินผล ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ผู้บริหารแก้ปัญหาหรือทำการตัดสินใจใหม่ได้โดยได้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติที่ดีที่สุด<br />3.ระเบียบวิธีวิจัยและสมมติฐานการวิจัย<br />ตัวแปรต้น<br />ปัจจัยพื้นฐานด้านผู้ปฏิบัติงาน- เพศ - อายุ - รายได้- การศึกษา -ประสบการณ์การทำงาน <br />ตัวแปรตาม<br />ระดับขั้นตอนการตัดสินใจ1 การระบุปัญหา2 การระบุข้อจำกัด3 การพัฒนาทางเลือก<br />ปัจจัยพื้นฐานด้าน RFID- ระยะของสัญญาณ- รูปแบบของ Tag- วัตถุที่จะนำ Tag ไปติดตั้ง- ราคาต้นทุนของ Tag- ความคงทน- ความถูกต้องน่าเชื่อถือ- ความง่ายและความยืดหยุ่นในการใช้- การนำกลับมาใช้ใหม่<br />รูปที่1.กรอบแนวความคิด<br />ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานระดับสูง, ผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง และ ผู้ปฏิบัติงานระดับปฏิบัติการ สายงานระบบปฏิบัติการ บริษัท มินอิก เทคโนโลยี (ประเทศไทย)และบริษัท ไทยเจแปนแก็ซ จำกัด การกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้เต็มประชากรทั้งหมด จำนวน 65 คน <br />เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้จัดทำได้ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ นำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า<br />การเก็บรวบรวมข้อมูล หลังจากที่ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวความคิด ทฤษฏีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาตามกรอบแนวความคิดในการวิจัย โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการศึกษาครั้งนี้อย่างเป็นขั้นตอน ดังนี้<br />1.นำหนังสือขออนุญาตจากสำนักงานโครงการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ถึง บริษัทที่ทำการสุ่มตัวอย่าง เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสนับสนุนการวิจัย<br />2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้เวลาทั้งสิ้น 4 เดือนจาก เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 <br />3. ผู้วิจัยจะดำเนินการจัดส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์และติดตามทางโทรศัพท์ ภายใน 30 วัน<br />4. เก็บรวมรวมแบบสอบถามที่ได้จากการกรอกข้อมูลที่สมบูรณ์มาจนครบ<br />5. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของคำถามในแบบสอบถาม<br />6. จัดหมวดหมู่ข้อมูลในแบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป<br />การวิเคราะห์ข้อมูล<br />1.แบบสอบถามที่เป็นข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ (Percentage)<br />2.แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณสมบัติพื้นฐานด้านเทคโนโลยีRFIDใช้แบบมาตรวัดแบบประมาณค่า5ระดับ <br />เกณฑ์การประเมินค่าวัดแบ่งเป็น 5 ระดับ การแปลความหมายค่าเฉลี่ย โดยผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการของเบส (Best,John W .Best.) (สุทธิชัย เลิศเจริญวงศา. 2548 : 35) ดังนี้<br />ระดับคะแนน4.51 - 5.00 คะแนนมีระดับของการตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุดระดับคะแนน3.51 - 4.50 คะแนนมีระดับของการตัดสินใจอยู่ในระดับมากระดับคะแนน2.51- 3.50 คะแนนมีระดับของการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลางระดับคะแนน1.51 - 2.50 คะแนนมีระดับของการตัดสินใจอยู่ในระดับน้อยระดับคะแนน1.00 - 1.50 คะแนนมีระดับของการตัดสินใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด<br />และใช้การวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)<br />3. แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจในการเลือกใช้ RFID มาใช้ในคลังสินค้า วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)<br />สถิติที่ใช้ในการวิจัย<br />กกกกผู้วิจัยนำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้<br />1. ค่าร้อยละ (Percentage) ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านผู้ปฏิบัติงาน<br />2. ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้าน RFID และข้อมูลแบบสอบถามมาตราส่วน 5 ช่วง<br />3. t-test ใช้ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยไม่เกิน 2 กลุ่ม<br />4. Anova ใช้ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเกิน 2 กลุ่ม<br />5. Multiple regression ใช้ในการวิเคราะห์ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นฐานด้าน RFID ที่มีผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า <br />4.ผลการวิจัยและอภิปรายผล<br />1. พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.8) ที่เหลือเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 46.2) เมื่อจำแนกตามอายุส่วนใหญ่ มี 25-35 ปี (ร้อยละ 36.9) รองลงมาอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 36-40 ปี (ร้อยละ 26.2) และอยู่ในช่วงอายุ 41-45 ปี (ร้อยละ 15.4) ที่เหลืออยู่ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 25 ปี (ร้อยละ 13.8) ระหว่างอายุ 46-50 (ร้อยละ 6.2) และมากกว่า 50 ปี (ร้อยละ 1.5) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามรายได้ พบว่าส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001 – 20,000 บาท (ร้อยละ 35.4) รองลงมามีรายได้ 20,001-30,000 บาท (ร้อยละ 20.0) มีรายได้ 30,001-40,000 บาท (ร้อยละ 13.8) มีรายได้ 40,001-50,000 บาท (ร้อยละ 13.8) ที่เหลือมีรายได้ ต่ำกว่า 10,000 บาท (ร้อยละ 12.3) และรายได้มากกว่า 50,000 บาท (ร้อยละ 4.6) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามวุฒิทางการศึกษาสูงสุด พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 61.5) รองลงมาอยู่ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี (ร้อยละ 21.5) ระดับอนุปริญญา/ปวส. (ร้อยละ 13.8) และระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 3.1) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงานพบว่าส่วนใหญ่อยู่ช่วงประสบการณ์การทำงาน 6-10 ปี (ร้อยละ 35.4) รองลงมาคือช่วงประสบการณ์การทำงาน 1-5 ปี, 10-15 ปี (ร้อยละ21.5) และประสบการณ์การทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 9.2) ที่เหลือมีประสบการณ์การทำงานมาก 15-20 ปี (ร้อยละ 7.7) และประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 1 ปี (ร้อยละ 4.6) ตามลำดับ<br />2. ผลการศึกษาปัจจัยพื้นฐานด้านผู้ปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อระดับขั้นตอนการตัดสินใจนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า พบว่า ปัจจัยพื้นฐานด้านผู้ปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ระดับมาก <br />3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้าน RFID ที่ส่งผลต่อระดับขั้นตอนการตัดสินใจนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า ทั้ง 8 ด้าน คือ ด้านระยะของสัญญาณ, ด้านรูปแบบของ Tag, ด้านวัตถุที่จะนำ Tag ไปติดตั้ง, ด้านราคาต้นทุนของ Tag, ด้านความคงทน, ด้านความถูกต้องน่าเชื่อถือ, ด้านความง่ายและยืดหยุ่นในการใช้งาน และด้านการนำกลับมาใช้ใหม่ พบว่า ทั้งในภาพรวม อยู่ในระดับมาก<br />อภิปรายผลการวิจัย <br />1. ปัจจัยด้านรูปแบบของ Tag ซึ่งได้แก่ มีขนาดเล็ก, สามารถอ่าน-เขียนข้อมูลได้แม้ขณะวัตถุเคลื่อนที่, Tag มีหลากหลายรูปแบบทำให้สามารถประยุกต์ใช้งานได้ง่าย มีผลต่อการตัดสินใจในการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เนื่องจาก Tag มีขนาดเล็กทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบทำให้เพิ่มสภาพคล่องในการทำงานมากขึ้น ลดความผิดพลาดโดยรวมและยังสามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละชิ้นได้ ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของ วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ (2549) ได้ทำการศึกษาและประยุกต์ใช้ RFID ในห้องสมุดแนวคิดที่จะทำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในกระบวนการยืมคืนหนังสือและสื่อโสตทัศน์ด้วยตนเอง การยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้เทคโนโลยี Barcode ผู้ใช้ต้องติดต่อขอความช่วยเหลือ จากบรรณารักษ์/เจ้าหน้าที่ จะนำเอาแถบ Barcode ที่ติดกับทรัพยากรสารสนเทศนั้นไปไว้ในบริเวณที่เครื่องอ่านรหัส Barcode โดยสามารถอ่านได้ทีละเล่มแต่สำหรับเทคโนโลยี RFID นั้นมีลักษณะคล้ายกับ Barcode และยังสามารถรองรับความต้องการอีกหลายๆ อย่างที่ Barcode ไม่สามารถตอบสนองได้ กล่าวคือ เทคโนโลยี Barcode เป็นระบบที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่บน Barcode ได้ แต่ป้าย RFID สามาระอ่านและบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากตัวเลขและเพิ่มเติมข้อมูลภายหลังได้ นอกจากนี้ระบบเทคโนโลยี RFID เป็นเทคโนโลยีที่สามารถส่งข้อมูลทุกอย่างผ่านคลื่นความถี่วิทยุ ดังนั้นการอ่านข้อมูลจากป้าย RFID จึงไม่ต้องป้ายข้อมูลอยู่ในบริเวณที่เครื่องอ่าน อ่านได้และผู้ใช้สามารถยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้เมื่อมีการยืมคืนผ่านเทคโนโลยี RFID ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศจะถูกปรับปรุงข้อมูลเป็นปัจจุบันทันที กระบวนการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบเทคโนโลยี RFID <br />2. ปัจจัยด้านการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งได้แก่ อ่านและเขียนซ้ำได้มากกว่า 100,000 ครั้งและสามารถนำกลับมาใช้กับวัตถุชิ้นอื่นต่อไปได้ มีผลต่อการตัดสินใจในการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในคลังสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เป็นเพราะ การที่ Tag เขียนข้อมูลซ้ำได้มากอีกทั้งยังสามารถเขียนข้อมูลได้ทันที ทำให้สามารถประหยัดต้นทุนแล้วยังส่งผลให้ลูกค้าเชื่อมั่นในคุณภาพด้านการบริการที่ถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งไม่สามารถตีค่าเป็นจำนวนเงินได้ ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของ Seagate (2548) ที่พบว่า การติด RFID ที่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท เช่น ดิกส์ไดรฟ์, แมกเนติกดิสก์ และหัวอ่าน/เขียนระบบของเทปไดรฟ์ สามารถติดตามผลิตภัณฑ์ที่กำลังผลิตอยู่ในห้องสะอาดได้ แต่ระบบ Barcode ไม่สามารถใช้ได้ เพราะต้องมีการคำนึงถึงสารที่ปนเปื้อนในห้องสะอาดและยิ่งกว่านั้นการได้ติดตามตรวจสอบความถูกต้องของผลิตภัณฑ์ในขณะทำงานจริง จะช่วยให้ Seagate สามารถเพิ่มคุณภาพสินค้าและประสิทธิภาพการผลิต โดยการหาจุดที่ผิดพลาดว่ามาจากตรงไหนของแต่ละปัญหา ระบบ Barcode ที่มีอยู่ไม่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องได้เกิน 98% สำหรับงานที่กำลังอยู่ในช่วงการผลิต ปัญหาด้านการผลิตจะยากและใช้เวลานานในการแยกปัญหามาจากตรงไหนของแต่ละปัญหา <br />5.สรุป<br />ระบบ RFID ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ทำให้ยังไม่มีบริษัทที่ใช้ระบบ RFID มากเท่าที่ควร ควรจะมีการศึกษาระบบ RFID และนำมาใช้ให้มากขึ้นเนื่องจากจะสามารถลดต้นทุนในการดูแลรักษาสินค้า ความถูกต้องของข้อมูล อีกทั้งยังสามารถให้ความเชื่อมั่นจากลูกค้าได้ ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถอยู่รอดในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงและรุนแรงได้<br /> HYPERLINK quot; ที่มา http://www.thailog.org/wikilog/quot; ที่มา http://www.thailog.org/wikilog/<br />