SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
DIFFERENTIAL DIAGNOSIS  MUSCULOSKELETAL DISEASES RangsimaPoomsawat                       E mail :  rangsima@chiangmai.ac.th to_rangsima@hotmail.com http://rangsima.motionforum.net/forum.htm http://www.facebook.com/RangsimaPoomsawat 6/6/2010 1 rangsima@chiangmai.ac.th
ARTHRALGIA 6/6/2010 2 rangsima@chiangmai.ac.th
ARTHRALGIA HISTORY TAKING การได้รับบาดเจ็บ อวัยวะ/บริเวณที่ปวด ข้อเดียว/หลายข้อ ข้างเดียว/หลายข้าง ประวัติเคยมีหรือเป็นร่วม เช่น เจ็บคอ หัวใจมีเสียงฟู่ มีผื่นขึ้น ผมร่วง มีการติดเชื้อบริเวณอื่นมาก่อน เช่น ฝี คออักเสบ ปอดบวม หนองใน ปวดและชาปลายมือข้างใดข้างหนึ่ง ปวดเวลา บิดข้อ 6/6/2010 3 rangsima@chiangmai.ac.th
PHYSICAL EXAM Reflex Range of motion  การกดเจ็บ  มีเสียงกรอบแกรบ  อุณหภูมิ บวม แดง-ร้อน รอยเขียว ฟกช้ำ  ความผิดปกติในความสั้นยาวของแขนขา LAB INVESTIGATION ,[object Object]
MRI
RF
ESR
Uric Acid6/6/2010 4 rangsima@chiangmai.ac.th
5 FRACTURE Type : Simple/Closed  Fx. Compound/Opened Fx. S/Sx :  บวม เขียวช้ำ เจ็บปวด เคลื่อนไหวลำบาก  แขนขาผิดรูป โก่งงอ  สั้นกว่าข้างที่ดี Crepitus Rx :  Splint - - Refer IV Reduce / Cast / Slab Surgery  6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
6 SPRAIN Causes :  Fall ข้อเท้าพลิก  บิด tendon ฉีกขาด S/Sx :  ปวด ข้อบวม แดง ร้อน เขียว ฟกช้ำ Rx :  Cold compress  q 3-4 hrs/48 hrs แรก Hot Compress 15-30 min , 2-3 T/d Fenac Gel E Bandage ยกสูง  Rest Analgesics : NSAIDs 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
7 RHEUMATOID ARTHRITIS Age 20-50, Female > Male Causes :  Autoimmune - - อักเสบของ fascia tendon muscle S/Sx :  Weak,  anorexia, joint pain  Arthritis : Hand wrist Foot Shoulder Elbow Symmetrical, กระสวย Morning stiffness Lab : ESR ,   RF , Film Rx :  NSAIDs : ASA Physical Therapy 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
8 GOUTY ARTHRITIS Male> Female Causes : Uric acid S/Sx :  Acute –Pain , Mono / Big toe บวม แดง ร้อน ปวดมาก ผิวลอก คัน กลางคืน  ** Alcohol Tophi/Tophus Lab : Uric acid Complication : deformity Rx :  Colchicine   -  Acute Allopurinol   -  Chronic Indomethacin 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
9 CARPAL TUNNEL SYNDROME: CTS Causes :  บาดเจ็บที่ข้อมือ ใช้งานของข้อมือมากกว่าปกติ   อาจพบร่วมกับโรคปวดข้อรูมาตอยด์, โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย, เบาหวาน, ภาวะอ้วน S/Sx :   ปวดแสบปวดร้อนชา อาจปวดร้าวขึ้นไปที่แขนหรือหัวไหล่  เป็นมากตอนกลางคืน หรือ ตอนเช้ามืด จนสะดุ้งตื่น  ห้อยข้อมือตรงขอบเตียงหรือสะบัดมือ ดีขึ้น ใช้ข้อมือ งอมือเร็วๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหรือชา ถ้าเป็นมากๆ อาจทำให้นิ้วหัวแม่โป้งและนิ้วอื่นๆ ชาและอ่อนแรงได้  อาการอาจเกิดที่มือข้างเดียว หรือ 2  ข้างก็ได้ Lab :   EMG  Complication :Atrophy Rx :   Analgesics ,NSAIDs Steroid injection  Surgery 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
10 TENDINITIS Causes :  Trauma , ทำงานหนัก  ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อสะโพก  เส้นเอ็นร้อยหวาย  S/Sx :  ปวด ปวดมากขึ้นถ้าตึงมากขึ้น Rx :  Rest Hot Compress Balm E Bandage NSAIDs Steroid injection 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
11 OSTEOARTHRITIS Age > 40 , Female > Male Causes :  Degen. Obesity  ข้อรับน้ำหนัก Mono/ Poly  1-2  S/Sx :  Chronic pain  ^  เดิน ขัดสมาธิ ยกของ Crepitus Lab :  Film,  Aspirate Rx :  เปลี่ยนอิริยาบถ ลดนน. Rest    Isometric excercise NSAIDs Steroid injection 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
ARTHRALGIA 6/6/2010 12 rangsima@chiangmai.ac.th
BACK PAIN 6/6/2010 13 rangsima@chiangmai.ac.th
BACK PAIN HISTORY TAKING เคาะเจ็บสีข้าง ปัสสาวะขุ่น/แดง  มีไข้สูง  แขน ขาชา เป็นอัมพาต อาการปวดร้าว เสียวชา    ประวัติการทำงาน   การออกกำลังกาย  การออกแรง  6/6/2010 14 rangsima@chiangmai.ac.th
PHYSICAL EXAM Musculo :  Range of motion Kidney : CVA  Kidney punch LAB INVESTIGATION ,[object Object]
MRI
U/A6/6/2010 15 rangsima@chiangmai.ac.th
16 ANKYLOSING SPONDYLITIS อักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลังแบบเรื้อรัง  Male > Female, Younger Causes :  Autoimmune  ~ Genetics S/Sx :   ปวดหลัง มากตอนตื่นนอน หลังแข็ง  ดีขึ้นถ้าได้เคลื่อนไหวร่างกาย เสียว ชา ร้าวลงขา ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด Lab :ERS, C reactive protein  Film Spine Hip Complication : ข้อต่อเชื่อมติดกัน หลังโก่ง ข้อสะโพกติดแข็ง เดินไม่ได้ ปอดอักเสบ ขาอ่อนแรง กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ Rx :  Refer , Indomethacin Hip  replacement 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
BACK PAIN 6/6/2010 17 rangsima@chiangmai.ac.th
JOINT PAIN/ MYALGIA HISTORY TAKING การได้รับบาดเจ็บ/แรงกดทับต่างๆ    อวัยวะที่ปวดเมื่อย    ลักษณะการเกิด : เฉียบพลัน/เรื้อรัง  ท่าทางการทำงานหรือกิจวัตรประจำวัน 6/6/2010 18 rangsima@chiangmai.ac.th
PHYSICAL EXAM Range of motion ของข้อต่างๆ การกดเจ็บ   มีเสียงกรอบแกรบอุณหภูมิบริเวณนั้น   ความมั่นคง และความผิดปกติในความสั้นยาว LAB INVESTIGATION 6/6/2010 19 rangsima@chiangmai.ac.th

More Related Content

Viewers also liked

Musculoskeletal system
Musculoskeletal systemMusculoskeletal system
Musculoskeletal systemwhitchur
 
Generadores de corriente continua
Generadores de corriente continuaGeneradores de corriente continua
Generadores de corriente continualuisvera95
 
Bristol Energy Annual Review 2016
Bristol Energy Annual Review 2016Bristol Energy Annual Review 2016
Bristol Energy Annual Review 2016Nicola Yates OBE
 
Participación Ciudadana y Gestión Local
Participación Ciudadana y Gestión LocalParticipación Ciudadana y Gestión Local
Participación Ciudadana y Gestión Localalexeidis gonzalez
 
Allianss Arhitektid portfolio
Allianss Arhitektid portfolio Allianss Arhitektid portfolio
Allianss Arhitektid portfolio infoallianss
 

Viewers also liked (9)

2010_PMC Neurological Disease
2010_PMC Neurological Disease2010_PMC Neurological Disease
2010_PMC Neurological Disease
 
Musculoskeletal system
Musculoskeletal systemMusculoskeletal system
Musculoskeletal system
 
Generadores de corriente continua
Generadores de corriente continuaGeneradores de corriente continua
Generadores de corriente continua
 
Bristol Energy Annual Review 2016
Bristol Energy Annual Review 2016Bristol Energy Annual Review 2016
Bristol Energy Annual Review 2016
 
Participación Ciudadana y Gestión Local
Participación Ciudadana y Gestión LocalParticipación Ciudadana y Gestión Local
Participación Ciudadana y Gestión Local
 
Joints
JointsJoints
Joints
 
Joints powerpoint
Joints powerpointJoints powerpoint
Joints powerpoint
 
Small Cell @ UI
Small Cell @ UISmall Cell @ UI
Small Cell @ UI
 
Allianss Arhitektid portfolio
Allianss Arhitektid portfolio Allianss Arhitektid portfolio
Allianss Arhitektid portfolio
 

More from Nursing Room By Rangsima

2018 concepts and management of complicated eye problems
2018  concepts and management of complicated eye problems2018  concepts and management of complicated eye problems
2018 concepts and management of complicated eye problemsNursing Room By Rangsima
 
2018 Fundamental Concepts of Eye Health Assessment For Ophthalmic Nurse Pract...
2018 Fundamental Concepts of Eye Health Assessment For Ophthalmic Nurse Pract...2018 Fundamental Concepts of Eye Health Assessment For Ophthalmic Nurse Pract...
2018 Fundamental Concepts of Eye Health Assessment For Ophthalmic Nurse Pract...Nursing Room By Rangsima
 
2018-Issues and Trend in Ocular Pharmacology for Ophthalmic Nurse Practitioner
2018-Issues and Trend in Ocular Pharmacology for Ophthalmic Nurse Practitioner2018-Issues and Trend in Ocular Pharmacology for Ophthalmic Nurse Practitioner
2018-Issues and Trend in Ocular Pharmacology for Ophthalmic Nurse PractitionerNursing Room By Rangsima
 

More from Nursing Room By Rangsima (20)

2018 concepts and management of complicated eye problems
2018  concepts and management of complicated eye problems2018  concepts and management of complicated eye problems
2018 concepts and management of complicated eye problems
 
2018 Fundamental Concepts of Eye Health Assessment For Ophthalmic Nurse Pract...
2018 Fundamental Concepts of Eye Health Assessment For Ophthalmic Nurse Pract...2018 Fundamental Concepts of Eye Health Assessment For Ophthalmic Nurse Pract...
2018 Fundamental Concepts of Eye Health Assessment For Ophthalmic Nurse Pract...
 
2018-Issues and Trend in Ocular Pharmacology for Ophthalmic Nurse Practitioner
2018-Issues and Trend in Ocular Pharmacology for Ophthalmic Nurse Practitioner2018-Issues and Trend in Ocular Pharmacology for Ophthalmic Nurse Practitioner
2018-Issues and Trend in Ocular Pharmacology for Ophthalmic Nurse Practitioner
 
2016 Neurological Assessment
2016 Neurological Assessment2016 Neurological Assessment
2016 Neurological Assessment
 
2016 GI Assessment
2016 GI Assessment2016 GI Assessment
2016 GI Assessment
 
2016 CVS assessment
2016 CVS assessment2016 CVS assessment
2016 CVS assessment
 
2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment
 
4.strategies 53
4.strategies  534.strategies  53
4.strategies 53
 
3.public policy 53
3.public policy  533.public policy  53
3.public policy 53
 
2.primary health care 53
2.primary health care 532.primary health care 53
2.primary health care 53
 
1.Health Community_Concept
1.Health Community_Concept1.Health Community_Concept
1.Health Community_Concept
 
2010 breast & reproductve examination
2010 breast & reproductve examination2010 breast & reproductve examination
2010 breast & reproductve examination
 
Review PMC 2010
Review PMC 2010Review PMC 2010
Review PMC 2010
 
2010 musculo skeleton assessment
2010 musculo skeleton assessment2010 musculo skeleton assessment
2010 musculo skeleton assessment
 
Eye assessment
Eye assessmentEye assessment
Eye assessment
 
Case Conference_PMC
Case Conference_PMCCase Conference_PMC
Case Conference_PMC
 
2010_GI Assessment
2010_GI Assessment2010_GI Assessment
2010_GI Assessment
 
2010_Thyroid Examination
2010_Thyroid Examination2010_Thyroid Examination
2010_Thyroid Examination
 
2010_Cardiovascular Assessment
2010_Cardiovascular Assessment2010_Cardiovascular Assessment
2010_Cardiovascular Assessment
 
2010_Health assessment
2010_Health assessment2010_Health assessment
2010_Health assessment
 

2010_PMC Musculoskeleton

  • 1. DIFFERENTIAL DIAGNOSIS MUSCULOSKELETAL DISEASES RangsimaPoomsawat E mail : rangsima@chiangmai.ac.th to_rangsima@hotmail.com http://rangsima.motionforum.net/forum.htm http://www.facebook.com/RangsimaPoomsawat 6/6/2010 1 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 2. ARTHRALGIA 6/6/2010 2 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 3. ARTHRALGIA HISTORY TAKING การได้รับบาดเจ็บ อวัยวะ/บริเวณที่ปวด ข้อเดียว/หลายข้อ ข้างเดียว/หลายข้าง ประวัติเคยมีหรือเป็นร่วม เช่น เจ็บคอ หัวใจมีเสียงฟู่ มีผื่นขึ้น ผมร่วง มีการติดเชื้อบริเวณอื่นมาก่อน เช่น ฝี คออักเสบ ปอดบวม หนองใน ปวดและชาปลายมือข้างใดข้างหนึ่ง ปวดเวลา บิดข้อ 6/6/2010 3 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 4.
  • 5. MRI
  • 6. RF
  • 7. ESR
  • 8. Uric Acid6/6/2010 4 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 9. 5 FRACTURE Type : Simple/Closed Fx. Compound/Opened Fx. S/Sx : บวม เขียวช้ำ เจ็บปวด เคลื่อนไหวลำบาก แขนขาผิดรูป โก่งงอ สั้นกว่าข้างที่ดี Crepitus Rx : Splint - - Refer IV Reduce / Cast / Slab Surgery 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 10. 6 SPRAIN Causes : Fall ข้อเท้าพลิก บิด tendon ฉีกขาด S/Sx : ปวด ข้อบวม แดง ร้อน เขียว ฟกช้ำ Rx : Cold compress q 3-4 hrs/48 hrs แรก Hot Compress 15-30 min , 2-3 T/d Fenac Gel E Bandage ยกสูง Rest Analgesics : NSAIDs 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 11. 7 RHEUMATOID ARTHRITIS Age 20-50, Female > Male Causes : Autoimmune - - อักเสบของ fascia tendon muscle S/Sx : Weak, anorexia, joint pain Arthritis : Hand wrist Foot Shoulder Elbow Symmetrical, กระสวย Morning stiffness Lab : ESR , RF , Film Rx : NSAIDs : ASA Physical Therapy 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 12. 8 GOUTY ARTHRITIS Male> Female Causes : Uric acid S/Sx : Acute –Pain , Mono / Big toe บวม แดง ร้อน ปวดมาก ผิวลอก คัน กลางคืน ** Alcohol Tophi/Tophus Lab : Uric acid Complication : deformity Rx : Colchicine - Acute Allopurinol - Chronic Indomethacin 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 13. 9 CARPAL TUNNEL SYNDROME: CTS Causes : บาดเจ็บที่ข้อมือ ใช้งานของข้อมือมากกว่าปกติ อาจพบร่วมกับโรคปวดข้อรูมาตอยด์, โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย, เบาหวาน, ภาวะอ้วน S/Sx : ปวดแสบปวดร้อนชา อาจปวดร้าวขึ้นไปที่แขนหรือหัวไหล่ เป็นมากตอนกลางคืน หรือ ตอนเช้ามืด จนสะดุ้งตื่น ห้อยข้อมือตรงขอบเตียงหรือสะบัดมือ ดีขึ้น ใช้ข้อมือ งอมือเร็วๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหรือชา ถ้าเป็นมากๆ อาจทำให้นิ้วหัวแม่โป้งและนิ้วอื่นๆ ชาและอ่อนแรงได้ อาการอาจเกิดที่มือข้างเดียว หรือ 2 ข้างก็ได้ Lab : EMG Complication :Atrophy Rx : Analgesics ,NSAIDs Steroid injection Surgery 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 14. 10 TENDINITIS Causes : Trauma , ทำงานหนัก ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อสะโพก เส้นเอ็นร้อยหวาย S/Sx : ปวด ปวดมากขึ้นถ้าตึงมากขึ้น Rx : Rest Hot Compress Balm E Bandage NSAIDs Steroid injection 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 15. 11 OSTEOARTHRITIS Age > 40 , Female > Male Causes : Degen. Obesity ข้อรับน้ำหนัก Mono/ Poly 1-2 S/Sx : Chronic pain ^ เดิน ขัดสมาธิ ยกของ Crepitus Lab : Film, Aspirate Rx : เปลี่ยนอิริยาบถ ลดนน. Rest Isometric excercise NSAIDs Steroid injection 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 16. ARTHRALGIA 6/6/2010 12 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 17. BACK PAIN 6/6/2010 13 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 18. BACK PAIN HISTORY TAKING เคาะเจ็บสีข้าง ปัสสาวะขุ่น/แดง มีไข้สูง แขน ขาชา เป็นอัมพาต อาการปวดร้าว เสียวชา ประวัติการทำงาน การออกกำลังกาย การออกแรง 6/6/2010 14 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 19.
  • 20. MRI
  • 22. 16 ANKYLOSING SPONDYLITIS อักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลังแบบเรื้อรัง Male > Female, Younger Causes : Autoimmune ~ Genetics S/Sx : ปวดหลัง มากตอนตื่นนอน หลังแข็ง ดีขึ้นถ้าได้เคลื่อนไหวร่างกาย เสียว ชา ร้าวลงขา ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด Lab :ERS, C reactive protein Film Spine Hip Complication : ข้อต่อเชื่อมติดกัน หลังโก่ง ข้อสะโพกติดแข็ง เดินไม่ได้ ปอดอักเสบ ขาอ่อนแรง กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ Rx : Refer , Indomethacin Hip replacement 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 23. BACK PAIN 6/6/2010 17 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 24. JOINT PAIN/ MYALGIA HISTORY TAKING การได้รับบาดเจ็บ/แรงกดทับต่างๆ อวัยวะที่ปวดเมื่อย ลักษณะการเกิด : เฉียบพลัน/เรื้อรัง ท่าทางการทำงานหรือกิจวัตรประจำวัน 6/6/2010 18 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 25. PHYSICAL EXAM Range of motion ของข้อต่างๆ การกดเจ็บ มีเสียงกรอบแกรบอุณหภูมิบริเวณนั้น ความมั่นคง และความผิดปกติในความสั้นยาว LAB INVESTIGATION 6/6/2010 19 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 26. 20 MUSCULOTENDINOUS STRAIN Causes : ทำงานก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก นั่ง ยืน นอน ยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง ใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป นอนที่นอนนุ่มเกินไป เกร็งตัว มีอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง S/Sx : รู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง ซึ่งอาจเกิดขึ้นฉับพลัน หรือค่อยเป็นทีละน้อย อาจเป็นอยู่ตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะท่า การไอ จาม หรือบิดตัวเอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น Rx : นอนบนที่แข็งและเรียบแทน นั่งให้ถูกท่า หรือเปลี่ยนเป็นรองเท้าธรรมดาแทน ลดน้ำหนัก ให้นอนหงายบนพื้น แล้วใช้เท้าพาดบนเก้าอี้ให้เข่างอเป็นมุมฉาก บริหารกล้ามเนื้อหลัง ยาหม่อง น้ำมันระกำ ทานวด ใช้น้ำอุ่นจัดๆ ประคบ ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน, พาราเซตามอล ไดอะซีแพม ยาคลายกล้ามเนื้อ 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 27. 21 SYSTEMIC LUPUS ERYTHEMATOSUS Causes : Autoimmune --> Inflammation : ผิวหนัง ข้อกระดูก ไต ปอด หัวใจ เลือด สมอง ++ Sulfa, Hydralazine, Methyldopa, INH, Quinidine, Phenytoin, Thiouracilแดด Stress Preg S/Sx : ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อยตามตัว ปวดบวมตามข้อเล็ก ๆ (เช่น ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า) ทั้งสองข้าง คล้าย ๆ กับ โรคปวดข้อรูมาตอยด์ (แต่ต่างกันที่ไม่มีลักษณะ หงิกงอ ข้อพิการ) ทำให้กำมือลำบาก อาการเหล่านี้จะค่อยเป็นค่อยไป เป็นแรมเดือน 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 28. 22 SYSTEMIC LUPUS ERYTHEMATOSUS มีผื่น หรือฝ้าแดงขึ้นที่ข้างจมูกทั้ง 2 ข้าง - ผื่นปีกผีเสื้อ (butterfly rash) มีอาการแพ้แดด คือ เวลาไปถูกแดด ผิวหนังจะมีผื่นแดงเกิดขึ้น และ ผื่นแดงที่ข้างจมูก(ผื่นปีกผีเสื้อ) อาจมีจุดแดง(petichiae) มีประจำเดือนมากกว่าปกติ ผมร่วงมาก มีจ้ำแดง ๆ ขึ้นที่ฝ่ามือนิ้วมือ นิ้วเท้าซีดขาว และเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ เวลาถูกความเย็น ( Raynaud's phenomenon) ต่อมน้ำเหลืองโต ตับม้ามโต ซีด โลหิตจาง จากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย 6/6/2010 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 29. SYSTEMIC LUPUS ERYTHEMATOSUS S/Sx : รุนแรง   อาจมีอาการบวมทั้งตัว (จากไตอักเสบ) หายใจหอบ (จากปอดอักเสบ ภาวะมีน้ำในช่องปอด หรือหัวใจวาย) ชีพจรเต้นเร็วหรือไม่เป็นจังหวะ (จากหัวใจอักเสบ) อาจมีอาการทางประสาท เช่น เสียสติ ซึม เพ้อ ประสาทหลอน แขนขาอ่อนแรง ตาเหล่ ชัก หมดสติ และอาจตายภายใน 3-4 สัปดาห์ ส่วนมากจะมีอาการกำเริบ เป็น ๆ หาย ๆเรื้อรังเป็นปี ๆ Lab : ESR Antinuclear factors LE Cell U/A CXR EKG Complication : Rx : NSAIDs, Hydroxychloroquine Prednisolone Immunosuppressive 6/6/2010 23 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 30. JOINT PAIN/ MYALGIA 6/6/2010 24 rangsima@chiangmai.ac.th
  • 31. DIFFERENTIAL DIAGNOSIS MUSCULOSKELETAL DISEASES RangsimaPoomsawat E mail : rangsima@chiangmai.ac.th to_rangsima@hotmail.com http://rangsima.motionforum.net/forum.htm http://www.facebook.com/RangsimaPoomsawat 6/6/2010 25 rangsima@chiangmai.ac.th

Editor's Notes

  1. แนวทางการซักประวัติ ซักประวัติตามหลักการซักประวัติทั่วไป และสิ่งบ่งชี้ของอาการปวดข้อการได้รับบาดเจ็บอวัยวะ/บริเวณที่ปวดการมีอาการนำมาก่อนหรือเป็นร่วมกัน เช่น เจ็บคอ ทำใจมีเสียงฟู่ มีผื่นขึ้น ผมร่วงมีการติดเชื้อบริเวณอื่นมาก่อน เช่น ฝี คออักเสบ ปอดบวม หนองในลักษณะปวดข้อเป็นแบบข้อเดียว/หลายข้อ ข้างเดียว/หลายข้างปวดและชาปลายมือข้างใดข้างหนึ่งปวดเวลา บิดข้อ
  2. การตรวจร่างกาย สังเกตผู้ป่วยเมื่อแรกพบพฤติกรรม บุคลิก อารมณ์การพูด ความสนใจ ความจำ ประเมินความเชื่อถือได้ของข้อมูลตรวจทางระบบประสาท ทำร่วมกับตรวจร่างกายทั่วไปเช่น Reflex, Range of motion ของข้อต่างๆการกดเจ็บมีเสียงกรอบแกรบ อุณหภูมิบริเวณนั้น ความมั่นคง และ ลักษณะบวม แดง-ร้อน รอยเขียว ฟกช้ำ และความผิดปกติในความสั้นยาวของแขนขาการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การ x-ray, MRI, Rheumatoid factor, ESRม ตรวจเลือดหา uric acid
  3. กระดูกหัก (fracture bone)กระดูกหัก แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่กระดูกหักชนิดธรรมดา (simple fracture/closed fracture) จะมีอาการกระดูกหักเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีบาดแผลที่ผิวหนัง และกระดูกจะไม่โผล่ออกนอกผิวหนังกระดูกหักชนิดซับซ้อนหรือมีบาดแผล (compound fracture/open fracture) จะมีบาดแผลซึ่งลึกถึงกระดูก หรือกระดูกหักที่อาจทิ่มแทงทะลุออกนอกเนื้อ ถือเป็นชนิดร้ายแรง อาจทำให้ตกเลือดรุนแรง เส้นประสาทถูกทำลาย หรือติดเชื้อได้ง่าย เป็นสาเหตุที่ทำให้สูญเสียแขนขาได้สาเหตุ ส่วนมากมักเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ เช่น หกล้ม รถคว่ำ รถชน เป็นต้นในผู้สูงอายุ กระดูกเสื่อม ผุและเปราะ จึงมีโอกาสหักง่าย เมื่อถูกแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย ที่พบได้บ่อย คือ กระดูกต้นขาหรือสะโพกหักอาการ บริเวณที่หักมีลักษณะบวม เขียวช้ำ เจ็บปวด ซึ่งจะเป็นมากเวลาเคลื่อนไหวหรือใช้มือกดถูก บางรายอาจรู้สึกเคลื่อนไหวส่วนนั้นลำบาก แขนขาส่วนที่หัก อาจมีลักษณะผิดรูปร่าง เช่น โก่งงอ หรือสั้นกว่าข้างที่ดีบางครั้งถ้าลองจับกระดูกบริเวรนั้นดู อาจได้ยินเสียงกระดูกสีกัน หรือรู้สึกกรอบแกรบ แต่กระดูกบางแห่ง เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาจมีอาการบวมและปวดเพียงเล็กน้อย จนเข้าใจผิดว่าเป็นเพียงข้อเคล็ดข้อแพลงก็ได้การรักษา หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลควรให้การปฐมพยาบาล เช่น ห้ามเลือด ใส่เฝือก หรือดามกระดูกส่วนที่หักไว้ ถ้าช็อกให้น้ำเกลือแล้วส่งโรงพยาบาล มักจะวินิจฉัยโดยเอกซเรย์ดูลักษณะการหักของกระดูก แล้วให้การรักษาโดยพยายามดึงกระดูกให้เข้าที่ แล้วใส่เฝือกปูนปลาสเตอร์ไว้
  4. ข้อแพลง(sprain)พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ข้อที่พบได้บ่อยมาก ได้แก่ ข้อเท้า มักจะเกิดจากการเดินสะดุดหรือหกล้ม ข้อเท้าพลิก หรือบิดงอ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดที่ข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อมือ และข้อนิ้วสาเหตุ เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อที่ยืดอยู่รอบๆ ข้อต่อฉีกขาด จากการหกล้ม ข้อบิด ถูกกระแทกหรือยกของหนักอาการผู้ป่วยจะมีอาการปวดเจ็บที่ข้อ หลังได้รับบาดเจ็บทันที โดยจะเจ็บมากเวลาเคลื่อนไหวข้อ หรือใช้นิ้วกดถูก อาการจะรุนแรงมากน้อยขึ้นกับปริมาณของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่ฉีกขาดข้อมีลักษณะบวมแดงและร้อน อาจพบรอยเขียว คล้ำหรือฟกช้ำ เนื่องจากหลอดเลือดฝอยแตกร่วมด้วยการรักษาหลังได้รับบาดเจ็บ ควรประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็นทันที เพื่อลดอาการบวมและปวด ทำทุก 3-4 ชั่วโมง ในระยะ 48 ชั่วโมงแรก แต่หลัง 48 ชั่วโมงไปแล้ว ควรประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆ หรือแช่น้ำอุ่นจัดๆ ครั้งละ 15-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อลดอาการอักเสบ และใช้ขี้ผึ้งน้ำมันระกำ หรือยาหม่องทานวด แล้วใช้ผ้าพันแผลชนิดยืดพันพอแน่น และยกข้อที่แพลงให้สูง และอย่าใช้ข้อข้างนั้นทำงาน ควรพักจนกว่าอาการปวดจะทุเลาถ้าปวด กินยาแก้ปวด หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ หรือสงสัยกระดูกหัก ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์เพื่อตรวจดูว่ากระดูกหักหรือไม่ เพราะในรายที่ข้อแพลงรุนแรง อาจต้องเข้าเฝือกหรือแก้ไขด้วยการผ่าตัด
  5. โรครูมาตอยด์ (Rhuematoid) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 1-3 ของคนทั่วไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 4-5 เท่า และพบมากในช่วงอายุ 20-50 ปี แต่ก็พบได้ในคนทุกเพศทุกวัยสาเหตุ โรคนี้พบว่ามีการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุข้อเกือบทุกแห่งทั่วร่างกายพร้อมๆ กัน ร่วมกับมีการอักเสบของพังผืดหุ้มข้อ เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อ เชื่อว่า เป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการตอบสนองอย่างผิดปกติต่อเชื้อโรค หรือสารเคมีบางอย่าง ทำให้มีการสร้างแอนติบอดีที่มีปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อในบริเวณข้อของตัวเอง เรียกว่า ปฏิกิริยาภูมิต้านตัวเอง หรือ ออโตอิมมูนอาการอาการค่อยเป็นค่อยไป เริ่มด้วยอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและกระดูกนำมาก่อนนานนับเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน แล้วต่อมาจึงมีอาการอักเสบของข้อปรากฏให้เห็นข้อที่เริ่มมีอาการอักเสบก่อน ได้แก่ ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า ต่อมาจะเป็นที่ข้อไหล่ ข้อศอกผู้ป่วยจะมีลักษณะจำเพาะคือ มีอาการปวดข้อพร้อมกันและคล้ายคลึงกันทั้งสองข้างและข้อจะบวมแดงร้อน นิ้วมือเท้าจะบวมเหมือนรูปกระสวย ต่อมาอาการอักเสบจะลุกลามไปทุกข้อทั่วร่างกาย ตั้งแต่ข้อขากรรไกรลงมาที่ต้นคอ ไหปลาร้า ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้วมือลงมาจนถึงข้อเท้าและข้อนิ้วเท้า บางรายอาจมีอาการอักเสบของข้อเพียง 1 ข้อหรือไม่กี่ข้อ อาการปวดข้อและข้อแข็ง มักจะเป็นมากในช่วงตื่นนอนหรือตอนเช้า พอสายๆ หรือหลังมีการเคลื่อนไหวของร่างกายจะทุเลา บางรายอาจมีการปวดข้อตอนกลางคืน จนนอนไม่หลับการรักษา หากสงสัย ควรแนะนำไปโรงพยาบาล การตรวจเลือดจะพบค่าอีเอสอาร์ (ESR) สูง และมักจะพบRhumatoid factor เอกซเรย์ข้อจะพบมีการสึกกร่อนของกระดูก และความผิดปกติของข้อ การรักษา ให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ตัวที่ใช้ได้ผลดีและราคาถูกได้แก่ Aspirin ผู้ใหญ่วันละ 4-6 กรัม (12-20 เม็ด) เด็กให้ขนาด 60-80 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร และกินร่วมกับยาลดกรดเพื่อป้องกันมิให้เป็นโรคกระเพาะ และควรให้การรักษาทางภายภาพบำบัดร่วมไปด้วย ESR stands for erythrocyte sedimentation rate. It is a test that indirectly measures how much inflammation is in the body. However, it rarely leads directly to a specific diagnosis.How the Test is PerformedBlood is drawn from a vein, usually from the inside of the elbow or the back of the hand. The site is cleaned with germ-killing medicine (antiseptic). The health care provider wraps an elastic band around the upper arm to apply pressure to the area and make the vein swell with blood.Next, the health care provider gently inserts a needle into the vein. The blood collects into an airtight vial or tube attached to the needle. The elastic band is removed from your arm.Once the blood has been collected, the needle is removed, and the puncture site is covered to stop any bleeding.In infants or young children, a sharp tool called a lancet may be used to puncture the skin and make it bleed. The blood collects into a small glass tube called a pipette, or onto a slide or test strip. A bandage may be placed over the area if there is any bleeding.The blood sample is sent to a lab. The test measures how fast red blood cells called erythrocytes fall to the bottom of a tall, thin tube.How to Prepare for the TestThere are no special preparations needed.How the Test Will FeelWhen the needle is inserted to draw blood, some people feel moderate pain, while others feel only a prick or stinging sensation. Afterward, there may be some throbbing.Why the Test is PerformedThis test can be used to monitor inflammatory or cancerous diseases. It is a screening test, which means it cannot be used to diagnose a specific disorder.However, it is useful in detecting and monitoring tuberculosis, tissue death, certain forms of arthritis, autoimmune disorders, and inflammatory diseases that cause vague symptoms.Normal ResultsAdults (Westergren method):Men under 50 years old: less than 15 mm/hr Men over 50 years old: less than 20 mm/hr Women under 50 years old: less than 20 mm/hr Women over 50 years old: less than 30 mm/hr Children (Westergren method):Newborn: 0 to 2 mm/hr Neonatal to puberty: 3 to 13 mm/hr Note: mm/hr. = millimeters per hourWhat Abnormal Results MeanAn increased ESR rate may be due to:AnemiaEndocarditisKidney diseaseOsteomyelitisPregnancy Rheumatic fever Rheumatoid arthritisSyphilisSystemic lupus erythematosusThyroid diseaseTuberculosis Other inflammatory conditions Very high ESR levels occur with:Body-wide (systemic) infection Giant cell arteritisHyperfibrinogenemia (increased fibrinogen levels in the blood) Multiple myelomaMacroglobulinemia - primaryNecrotizing vasculitisPolymyalgiarheumaticaLower-than-normal levels occur with:Congestive heart failureHyperviscosityHypofibrinogenemia (decreased fibrinogen levels) Low plasma protein (due to liver or kidney disease) PolycythemiaSickle cell anemiaAdditional conditions that may affect test results:Allergic vasculitisAtrialmyxomaAutoimmune hepatitisEndometritisEosinophilic fasciitis Erysipelas Juvenile rheumatoid arthritis Legionnaire's disease OsteomyelitisPelvic inflammatory disease Pericarditis after a heart attack Retroperitoneal fibrosis Skin lesion of blastomycosisSubacutethyroiditisScleroderma RisksVeins and arteries vary in size from one patient to another and from one side of the body to the other. Obtaining a blood sample from some people may be more difficult than from others.Other risks associated with having blood drawn are slight but may include:Excessive bleeding Fainting or feeling light-headed Hematoma (blood accumulating under the skin) Infection (a slight risk any time the skin is broken) Alternative NamesErythrocyte sedimentation rate; Sed rate; Sedimentation rate
  6. . โรคเกาต์ (Gout)โรคเกาต์เป็นโรคปวดข้อเรื้อรังชนิดหนึ่ง พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนมากจะพบในผู้ชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงพบได้น้อย ถ้าพบมักจะเป็นหลังวัยหมดประจำเดือนเป็นโรคที่มีทางรักษาให้หายได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจมีภาวะ แทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้สาเหตุ เกิดจากร่างกายมีกรดยูริก (uric acid) มากเกินไป ร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากเกินไป หรือไตขับกรดยูริกได้น้อยลง ก็จะ ทำให้มีกรดยูริกคั่งอยู่ในร่างกายมากผิดปกติ ซึ่งจะตกผลึกสะสมอยู่ ตามข้อ ผิวหนัง ไตและอวัยวะอื่น ๆ ทำให้เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ ผู้ป่วยส่วนมาก มีสาเหตุจากร่างกายสร้างกรดยูริกมากเกินไป อาการ มีอาการปวดข้อรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที ถ้าเป็นการปวดครั้ง แรกมักจะเป็นเพียงข้อเดียว ข้อที่พบมาก ได้แก่ นิ้วหัวแม่เท้า ข้อจะบวมและเจ็บมากจนเดิน ไม่ไหว ผิวหนังในบริเวณนั้นจะตึง ร้อนและแดง และจะพบลักษณะ จำเพาะ คือ ขณะที่อาการเริ่มทุเลา ผิวหนังในบริเวณที่ปวดนั้นจะลอก และคันผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการปวดตอนกลางคืน และมักจะเป็นหลังดื่มเหล้า หรือเบียร์ (ทำให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง) บางครั้งอาจมีอาการขณะมีภาวะ เครียดทางจิตใจ เป็นโรคติดเชื้อ หรือได้รับการผ่าตัดด้วยสาเหตุอื่นถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา ในระยะแรก ๆ อาจกำเริบทุก 1-2 ปี โดย เป็นที่ข้อเดิม แต่ต่อมาจะเป็นถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ทุก 4-6 เดือน แล้วเป็น ทุก 2-3 เดือน จนกระทั่งทุกเดือน หรือเดือนละหลายครั้ง และระยะการปวดจะนานวันขึ้นเรื่อย ๆ เช่น กลายเป็น 7-14 วัน จนกระทั่งหลาย สัปดาห์หรือปวดตลอดเวลา ส่วนข้อที่ปวดก็จะเพิ่มจากข้อเดียวเป็น 2-3 ข้อ (เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อเท้า นิ้วมือ นิ้วเท้า) จนกระทั่ง เป็นเกือบทุกข้อในระยะหลัง เมื่อข้ออักเสบหลายข้อ ผู้ป่วยมักสังเกตว่ามีปุ่มก้อน ขึ้นที่บริเวณที่เคยอักเสบบ่อย ๆ เช่น ข้อนิ้วเท้า ข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อ เข่า รวมทั้งที่หู เรียกว่า ตุ่มโทฟัส (tophus/tophi) ซึ่งเป็นแหล่งสะสม ของสารยูริก ปุ่มก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อย ๆ จนบางครั้งแตกออกมีสารขาว ๆ คล้ายช็อล์ก หรือยาสีฟันไหลออกมา กลายเป็นแผลเรื้อรัง หายช้า ในที่ สุดข้อต่าง ๆ จะค่อย ๆ พิการและใช้งานไม่ได้การรักษาถ้ามีอาการชัดเจน ให้ ยาเม็ด (Colchicine) ขนาด 0.5 มิลลิกรัม ครั้งแรกให้ 1-2 เม็ดแล้วให้ ซ้ำอีกครั้งละ 1 เม็ดทุก 1 ชั่วโมงเป็นเวลา 8 ชั่วโมง แล้วให้เป็น 1 เม็ดทุก 2 ชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด โดยทั่วไปจะให้ได้ประมาณ 8-20 เม็ด และอาการปวดข้อจะหายใน 24-72 ชั่วโมง ถ้ามีอาการท้องเดินให้กินยาแก้ท้องเดินถ้าไม่มีคอลชิซีน อาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่น อินโดเมทาซิน หรือ ไอบูโพรเฟน ครั้งแรกให้ 2 เม็ด แล้วให้ 1 เม็ดทุก 6 ชั่วโมง จนกว่าจะหาย แต่ไม่ควรให้นานกว่า 3 วัน และควรกินยาลดกรด  ควบด้วยในรายที่อาการไม่ดีขึ้นหรืออาการไม่ชัดเจนควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องเจาะเลือดหาระดับของกรดยูริกในเลือด (ค่าปกติเท่ากับ 3-7 มิลลิกรัมต่อเลือด 100มล.) และตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าจำเป็นควรให้ยารักษาแบบเดียวกับข้อ 1 ถ้าไม่ได้ผลอาจให้สเตอรอยด์ ระหว่างที่ไม่มีอาการปวดข้อ ควรให้ คอลชิซีนวันละ 1-2 เม็ด กินเป็นประจำเพื่อป้องกันมิให้ข้ออักเสบกำเริบรุนแรง
  7. . เส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น/ โรคคาร์พัลทูนแนล(carpal tunnel syndrome: CTS)เส้นประสาทมือที่เรียกว่า ประสาทมีเดียน เมื่อลงมาที่ข้อมือ จะวิ่งผ่านช่องเล็กๆ ซึ่งประกอบด้วยกระดูกข้อมือ และแผ่นพังผืดเหนียวๆ ที่อยู่ข้างใต้ของกระดูกข้อมือ เราเรียกช่องเล็กๆ นี้ว่า capaltunelในบางครั้ง เนื้อเยื่อภายในช่องแคบนี้อาจเกิดการบวม ทำให้เส้นประสาทมีเดียนถูกบีบรัด เกิดมีอาการปวดชาที่ปลายมือ เรียกว่า โรคคาร์พัลทูนแนล (carpal tunnel syndrome)หรือเส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่นโรคนี้พบได้ค่อนข้างบ่อย พบมาในผู้หญิงอายุ 30-60 ปีสาเหตุ อาจเกิดจากการบาดเจ็บที่ข้อมือ มักเกิดจากการใช้งานของข้อมือมากกว่าปกติ หรืออาจพบร่วมกับภาวะอื่นๆ เช่น โรคปวดข้อรูมาตอยด์, โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย, เบาหวาน, ภาวะอ้วน เป็นต้น บางรายอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออาจพบมีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วยอาการผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนหรือรู้สึกชาเป็นพักๆ ที่มือ บางครั้งอาจปวดร้าวขึ้นไปที่แขนหรือหัวไหล่ อาการปวดมากจะเป็นมากตอนกลางคืนหรือตอนเช้ามืด จนบางครั้งอาจทำให้ผู้ป่วยสะดุ้งตื่น บางรายเมื่อได้ห้อยข้อมือตรงขอบเตียงหรือสะบัดมือ จะรู้สึกลุเลาได้การทำงานโดยใช้ข้อมือ งอมือเร็วๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหรือชาได้ ถ้าเป็นมากๆ อาจทำให้นิ้วหัวแม่โป้งและนิ้วอื่นๆ ชาและอ่อนแรงได้ อาการอาจเกิดที่มือข้างเดียว หรือ 2 ข้างก็ได้อาการแทรกซ้อน หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อมือฝ่อได้การรักษา หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องวินิจฉัยโดยการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อการรักษา ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย อาจให้กินยาแก้ปวด, ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ และใส่เฝือกที่มือเวลาเข้านอน บางรายอาจต้องฉีดสเตอรอยด์เข้าที่ข้อมือข้างที่ปวด ถ้าเป็นมาก อาจต้องผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้อาการทุเลาภายในเวลาไม่กี่วัน
  8. เส้นเอ็นอักเสบ (tendinitis)เส้นเอ็นที่พบว่าเกิดการอักเสบได้บ่อย ได้แก่ เส้นเอ็นที่ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อสะโพก และเส้นเอ็นร้อยหวาย โรคนี้พบได้ค่อนข้างบ่อย เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่อาจเป็นเรื้อรัง และทำให้ทำงานหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัดสาเหตุ การอักเสบของเส้นเอ็น มีสาเหตุจากการได้รับบาดเจ็บ หรือทำงานหนักอาการ มีอาการเจ็บปวดตรงเส้นเอ็นที่อักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ทำให้เส้นเอ็นส่วนนั้นถูกยืดและดึงรั้งอาการมักจะเป็นอยู่นอนเป็นสัปดาห์ๆ หรือเป็นเดือนๆการรักษาควรหยุดพักการใช้ข้อที่ปวด ใช้น้ำอุ่นจัดๆ ประคบ ทานวดด้วยขี้ผึ้งน้ำมันระกำหรือยาหม่อง ใช้ผ้าพันแผลชนิดยืดพันให้พอแน่น และให้กินยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์เมื่อทุเลาปวด ให้ค่อยๆ เคลื่อนไหว บริหารข้อนั้นให้คืนสู่สภาพปกติถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ ควรแนะนำไปโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์ บางรายอาจพบมีหินปูนหรือแคลเซียมเกาะที่เส้นเอ็น ในรายที่เป็นมาก อาจต้องฉีดสเตอรอยด์ตรงบริเวณที่ปวด ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดีแต่ไม่ควรฉีดเกินปีละ 2-3 ครั้ง อาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อยฉีกขาด เกิดภาวะแทรกซ้อนยุ่งยากตามมาได้
  9. 8. ข้อเสื่อม (osteo arthritis)ข้อเสื่อม พบเป็นสาเหตุอันดับแรกของอาการปวดข้อในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือหลังวัยหมดประจำเดือน พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 3 เท่า ถือเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ค่อยมีโรคแทรกซ้อนที่อันตรายร้ายแรง แต่จะมีอันตรายที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดข้อ และยาสเตอรอยด์อย่างพร่ำเพรื่อสาเหตุ เกิดจากข้อเสื่อมตามวัย หรือข้อรับน้ำหนักมากเกินไปหรือมีการบาดเจ็บ ทำให้กระดูกอ่อนตรงผิวข้อต่อสึกกร่อน และมีกระดูกงอก เวลาเคลื่อนไหวข้อจึงทำให้เกิดอาการปวดขัดในข้ออาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ อายุมาก ความอ้วน อาชีพที่ต้องใช้ข้อมาก เป็นต้น ข้อที่เป็นได้บ่อย มักเป็นข้อที่รับน้ำหนักมาก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง ข้อกระดูกคอ เป็นต้น นอกจากนี้บางรายอาจเป็นตามข้อนิ้วมือได้ ผู้ป่วยอาจมีภาวะเสื่อมของข้อหลายแหล่งพร้อมกัน แต่มักจะมีอาการแสดงเพียง 1-2 ข้อเท่านั้นอาการ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อในข้อเรื้อรังเป็นแรมเดือนแรมปี บางครั้งอาจมีเสียงดังกรอบแกรบขณะที่เคลื่อนไหว ผู้ป่วยที่ปวดที่ข้อเข่า มักจะปวดมากเวลาเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน หรืออยู่ในท่างอเข่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานั่งคุกเข่า พับเพียบ หรือขัดสมาธินานๆ หรือเดินขึ้นลงบันได หรือยกของหนัก อาการปวดข้อมักจะเป็นตอนกลางคืน แต่ถ้าเป็นมาก อาจมีอาการบวม และมีน้ำขังอยู่ในข้อการรักษาถ้ามีอาการปวด ให้พักข้อที่ปวด และใช้น้ำร้อนประคบและกินยาแก้ปวดพาราเซตามอลบรรเทา เป็นครั้งคราว ถ้ามีอาการปวดมาก อาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ 3-5 วัน ไม่ควรกินติดต่อกันนานๆ และควรระมัดระวังในการใช้ยานี้ในผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคกระเพาะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อาการปวดข้อกำเริบ เช่น ห้ามยกของหนัก อย่ายืนนาน อย่านั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ หรือขัดสมาธิ พยายามนั่งในท่าเหยียดเข่าตรง หลีกเลี่ยงการเดินขึ้นลงบันได ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เช่น หลังจากนั่งทำงานนาน 1 ชั่วโมง ควรพัก และลุกขึ้นเดินสัก 2-3 นาที เป็นต้น ถ้าน้ำหนักมาก ควรพยายามลดน้ำหนัก ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดทุเลาได้มากพยายามบริหารกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวข้อให้แข็งแรง เช่น ถ้าปวดหลังก็ให้บริหารกล้ามเนื้อหลัง ถ้าปวดเข่าก็บริหารกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้า การฝึกกล้ามเนื้อควรเริ่มทำเมื่ออาการปวดทุเลาลงแล้ว ระยะแรกฝึกวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 5-10 นาที จนรู้สึกกล้ามเนื้อแข็งแรงไม่เมื่อยง่าย จึงเพิ่มเป็นวันละ 3-5 ครั้งถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 3-4 สัปดาห์ หรือบวมตามข้อ หรือมีอาการปวดร้าวหรือชาตามแขนหรือขา ควรแนะนำไปโรงพยาบาล อาจต้องตรวจโดยการเอกซเรย์ดูการเปลี่ยนแปลงของข้อ หรือถ้าบวมตามข้ออาจเจาะน้ำในข้อออกตรวจพิสูจน์ และรักษาด้วยการให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ถ้าเป็นมากอาจฉีดสเตอรอยด์เข้าในข้อเป็นครั้งคราว และให้การรักษาทางกายภาพบำบัด
  10. แนวทางการรักษากลุ่มอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการปวดข้อถ้ามีอาการร่วมกับอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ถ้าพบภายหลังบาดเจ็บปวดข้อมากจนเคลื่อนไหวลำบาก หรือสงสัยกระดูกหักการรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อประเมินภาวะความรู้สึกตัว ABCs ให้ออกซิเจน ถ้าหายใจไม่ดี ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ถ้ามีความดันโลหิตลดลง หรือมีภาวะช็อค ประเมินตำแหน่งที่สงสัยว่าหัก ตาม (splint) ส่วนที่สงสัยว่าหักประคบเย็นเพื่อลดความเจ็บปวด และลดบวมให้ยาฉีดแก้ปวดจัดท่าให้เหมาะสม เพื่อให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้นพิจารณางดน้ำ และอาหารทางปาก ส่งต่อทันทีถ้าปวดบวมรุนแรงหรือข้อบวมแดงร้อนการรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ ให้ยาแก้ปวด หรือส่งต่อภายใน 24 ชั่วโมงถ้ามีไข้เกิน 7 วัน หรือปวดตามข้อนิ้วมือหลายๆ ข้อพร้อมกันหรือสองข้างการรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ ให้ยาตามอาการ หรือส่งต่อภายใน 1 สัปดาห์ถ้าไม่มีอาการดังในข้อ 1.1-1.3 2.1 ถ้าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม (ปวดข้อในข้อเข่าเรื้อรังในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือคนอ้วน)การรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อให้คำแนะนำ : หลีกเลี่ยงท่าที่ทำให้ปวดเข่า (อย่านั่งงอเข่าอย่าเดินขึ้นลงบันได อย่ายืนนานๆ อย่าแบกของหนัก ฯลฯ) ลดน้ำหนัก, บริหารข้อเข่าถ้าปวดมากให้ประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆ และกิน Paracetamolเป็นครั้งคราวควรส่งต่อ ถ้ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ ปวดรุนแรง ข้อบวมแดงร้อนและมีไข้ 2.2 ถ้าเกิดข้อเท้าแพลง การรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อประคบด้วยน้ำแข็งภายใน 48 ชม. แรกหลังจากนั้นประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆใช้ผ้ายืดพันรอบๆ ข้อ และพักการใช้ข้อควรส่งต่อ ถ้ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ปวดมาก หรืออาการไม่ทุเลาใน 1 สัปดาห์ถ้ามีอาการปวดตามข้อโดยมีอาการไม่ชัดเจนการรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ ให้กินยา Paracetamolและพิจารณาให้ยาตามความจำเป็น
  11. แนวทางการซักประวัติ ซักประวัติตามหลักการซักประวัติทั่วไป และสิ่งบ่งชี้ของอาการปวดหลังมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ : เคาะเจ็บสีข้าง ปัสสาวะขุ่น/แดง มีไข้สูง แขน ขาชา เป็นอัมพาตอาการปวดร้าว เสียวชา ประวัติการทำงาน การออกกำลังกาย การออกแรง เป็นต้น
  12. การตรวจร่างกาย สังเกตผู้ป่วยเมื่อแรกพบพฤติกรรม บุคลิก อารมณ์การพูด ความสนใจ ความจำ ประเมินความเชื่อถือได้ของข้อมูลตรวจทางระบบประสาท ทำร่วมกับตรวจร่างกายทั่วไปได้แก่ การทรงตัวRange of motion ของข้อต่างๆ การกดเจ็บมีเสียงกรอบแกรบอุณหภูมิบริเวณนั้นความมั่นคงความผิดปกติในความสั้นยาวและลักษณะบวม แดง-ร้อน รอยเขียว ฟกช้ำการตรวจทางห้องปฏิบัติการการ x-ray, MRI
  13. โรคนี้มีภาวะการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลังแบบเรื้อรัง และค่อยๆ รุนแรงขึ้นจนมีการเชื่อมต่อกันของข้อต่อกระดูก พบได้ประปราย จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักพบในคนหนุ่มสาวสาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่ามีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาภูมิต้านตัวเอง ต่อเนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อกระดูกต่างๆ และสันนิษฐานว่า อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์อาการ เริ่มมีอาการปวดข้อโดยเฉพาะปวดหลังหรือบั้นเอว ในระยะแรกมักมีอาการปวดเป็นครั้งคราว และดีขึ้นจากการกินยาแก้ปวด ที่เด่นชัด คือ จะปวดหลังมากเวลานอนโดยเฉพาะในช่วงเช้า บางครั้งจะปวดมากจนต้องตื่นนอน อาจมีอาการหลังแข็ง และดีขึ้นหลังจากได้เคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกาย บางรายอาจรู้สึกปวดเมื่อยง่าย หลังทำงานหรือเล่นกีฬา บางรายอาจมีอาการปวดร้าวลงขาแบบรากประสาทถูกกดถ้าเป็นรุนแรงอาจมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีดอาการแทรกซ้อน ข้อต่อสันหลัง เชื่อมติดกันจนมีความพิการ คือ หลังโก่ง ข้อสะโพกติดแข็ง จนยืนและเดินไม่ได้ข้อต่อกระดูกซี่โครงติดแข็ง ทำให้สมรรถภาพปอดลดลง อาจเกิดการติดเชื้อในปอด ปอดอักเสบได้ ประสาทสันหลังส่วนล่างผิดปกติ เกิดอาการปวดขาอ่อนแรง กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้การรักษา หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจยืนยันโดยการตรวจเลือด ซึ่งจะพบค่าอีเอสอาร์ (ESR) และ C-reactive protein สูงกว่าปกติการตรวจเอกซเรย์ จะพบความผิดปกติของข้อต่อสันหลังและข้อต่อสะโพกในระยะที่โรคเป็นมากแล้วการรักษายังไม่มีการรักษาจำเพาะเพียงแต่ให้การบรรเทาอาการปวด อักเสบ และป้องกันความพิการโดยให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ตัวที่ใช้ได้ผลดี ได้แก่ อินโดเมทาซิน ซึ่งควรปรับให้เข้ากับความรุนแรงและระยะของโรคในผู้ป่วยแต่ละราย บางรายหลังให้ยาแล้วทุเลา อาจหยุดยาได้เลย บางรายอาจต้องการเพียงวันละ 1 แคปซูล (25 มิลลิกรัม) ในรายที่เป็นรุนแรงอาจต้องใช้ถึง 150-200 มิลลิกรัมต่อวันกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยคงรูปทรงในท่าตรงใหสามารถยืนและนั่งตรงได้ และรักษามุมการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง สะโพก คอ และทรวงอกไว้การผ่าตัดสำหรับระยะท้ายของโรคที่มีการติดแข็งของข้อ เช่น การเปลี่ยนข้อสะโพก การดัดกระดูกเอวที่โก่งค้งให้ตรง เป็นต้น
  14. แนวทางการรักษากลุ่มอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการปวดหลังถ้ามีอาการร่วมกับอาการข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ปวดท้องรุนแรง, อาเจียนรุนแรง และใช้มือกดท้องรู้สึกเจ็บมากการรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ ส่งต่อทันที ดูแลภาวะฉุกเฉิน (ABCs) งดน้ำงดอาหารถ้ามีภาวะขาดน้ำให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามความเหมาะสม2. ถ้ามีอาการไข้, หนาวสั่นมาก ปัสสาวะขุ่น และใช้กำปั้นทุบเบาๆ ที่สีข้างรู้สึกเจ็บมาก การรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ ส่งต่อภายใน 24 ชั่วโมง ให้ยาลดไข้, ดื่มน้ำมากๆให้ยาตามอาการ3. ถ้ามีอาการร่วมกับอาการข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้น้ำหนักลด ดีซ่าน ปวดหลังหรือเสียวชาลงมาตามด้านข้างของขาข้างใดข้างหนึ่งปัสสาวะขุ่นแดง และมีไข้เกิน 7 วันการรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ ส่งต่อภายใน 24 ชั่วโมง ให้ยาลดไข้ แก้ปวด และให้ยาตามอาการ4. ถ้าไม่มีอาการดังในข้อ 1-3แต่มีอาการปวดเมื่อยหลังถ้าปวดตรงแนวกลางหลัง ใช้มือทุบเบาๆ หรือบีบนวด จะรู้สึกสบายขึ้นการรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ ประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆ หรือใช้ลูกประคบสมุนไพร หลีกเลี่ยงการนอนที่นอนนุ่มๆ ควรนอนที่นอนแข็งๆ ปรับท่านั่ง/ยืน/ยกของให้แผ่นหลังตั้งฉากกับพื้นตลอดเวลา ระวัง อย่าให้หลังก้ม หรือคดงอ บริหารกล้ามเนื้อหลัง ให้แข็งแรง ให้ยาแก้ปวด Paracetamol พิจารณาให้ยา NSAID ตามความจำเป็น ควรส่งต่อ ถ้ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ 1) เมื่อกินยาแล้วไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์ และ 2) มีอาการปวดเสียวลงข้างหนึ่ง เป็นๆ หายๆ เรื้อรัง
  15. แนวทางการซักประวัติ ซักประวัติตามหลักการซักประวัติทั่วไป และสิ่งบ่งชี้ของอาการปวดเมื่อยตามข้อ/กล้ามเนื้อ เช่น การได้รับบาดเจ็บ/แรงกดทับต่างๆ อวัยวะที่ปวดเมื่อย ลักษณะการเกิด : เฉียบพลัน/เรื้อรัง และ ท่าทางการทำงานหรือกิจวัตรประจำวัน
  16. การตรวจร่างกาย สังเกตผู้ป่วยเมื่อแรกพบพฤติกรรม บุคลิก อารมณ์การพูด ความสนใจ ความจำ ประเมินความเชื่อถือได้ของข้อมูลตรวจทางระบบประสาท ทำร่วมกับตรวจร่างกายทั่วไปการทรงตัว การมองเห็น Light reflex Range of motion ของข้อต่างๆ การกดเจ็บ มีเสียงกรอบแกรบอุณหภูมิบริเวณนั้น ความมั่นคง และความผิดปกติในความสั้นยาวการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ดูรายละเอียดในแต่ละโรคประกอบ
  17. ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Musculotendinous Strain) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการปวดหลัง พบได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเป็นต้นไป เป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง และมักจะหายได้เอง แต่อาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรังสาเหตุ มักเกิดจากการทำงานก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก นั่ง ยืน นอน หรือยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง ใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป หรือนอนที่นอนนุ่มเกินไป ทำให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลังส่วนล่าง ซึ่งจะมีอาการเกร็งตัว ทำให้เกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง อาการผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง ซึ่งอาจเกิดขึ้นฉับพลัน หรือค่อยเป็นทีละน้อย อาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะในท่าบางท่า การไอ จาม หรือบิดตัวเอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้นโดยทั่วไปผู้ป่วยจะแข็งแรงดี และไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วยการรักษาสังเกตว่ามีสาเหตุจากอะไร เช่น ถ้าปวดหลังตอนตื่นนอน ก็อาจเกิดจากที่นอนนุ่มไปหรือนอนเตียงสปริง ก็แก้ไขโดยนอนบนที่แข็งและเรียบแทน ถ้าปวดหลังตอนเย็น ก็มักจะเกิดจากการนั่งตัวงอตัวเอียง หรือใส่รองเท้าส้นสูง ก็พยายามนั่งให้ถูกท่า หรือเปลี่ยนเป็นรองเท้าธรรมดาแทน ถ้าอ้วนไป ควรพยายามลดน้ำหนักถ้ามีอาการปวดมาก ให้นอนหงายบนพื้น แล้วใช้เท้าพาดบนเก้าอี้ให้เข่างอเป็นมุมฉาก สักครู่หนึ่งก็อาจทุเลาได้ หรือจะใช้ยาหม่องหรือน้ำมันระกำทานวดหรือใช้น้ำอุ่นจัดๆ ประคบก็ได้ถ้าไม่หาย ก็ให้ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน, พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด จะกินควบกับไดอะซีแพม ขนาด 2 มิลลิกรัม ด้วยก็ได้ ถ้ายังไม่หาย อาจให้ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น เมโทรคาร์บามอล, คาริโซม่า ครั้งละ 1 เม็ด ซ้ำได้ทุก 6-8 ชั่วโมง ผู้ป่วยควรนอนที่นอนแข็ง และหมั่นฝึกกายบริหารให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงถ้าเป็นเรื้อรัง หรือมีอาการปวดร้าวลงมาที่ขาหรือชาที่ขา หรือขาไม่มีแรง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ควรแนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์และ/หรือตรวจพิเศษอื่นๆ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบชาวไร่ชาวนา กรรมกรที่ทำงานหนัก และในหมู่คนที่ทำงานนั่งโต๊ะนานๆ ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคไต โรคกษัย และซื้อยาชุด ยาแก้กษัยหรือยาแก้โรคไตกินอย่างผิดๆ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดโทษได้ ดังนั้น จึงควรแนะนำชาวบ้านให้เข้าใจถึงสาเหตุของอาการปวดหลัง และควรใช้ยาเท่าที่จำเป็น โดยทั่วไป อาการปวดหลังเนื่องจากกล้ามเนื้อมักจะปวดตรงกลางหลัง ส่วนโรคไตมักจะปวดที่สีข้าง และอาจมีไข้สูงหนาวสั่น หรือปัสสาวะขุ่นและแดงร่วมด้วย
  18. SLEเอสแอลอี ซึ่งมีคำเต็มว่า systemic lupus erythematosus(ซิสเทมิก ลูปัส อีริทีมาโตซัส)โรคนี้มักจะมีความผิดปกติ ของอวัยวะได้หลายระบบ (เช่น ผิวหนัง ข้อกระดูก ไต ปอด หัวใจ เลือด สมอง เป็นต้น) พร้อมๆ กัน และอาจมีความรุนแรงทำให้พิการหรือตายได้สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการตอบสนองอย่างผิดปกติต่อเชื้อโรค หรือสารเคมีบางอย่าง ทำให้มีการสร้างแอนติบอดีหรือภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของตัวเอง จึงจัดเป็น โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) ชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับโรคปวดข้อรูมาตอยด์ แต่โรคนี้มักจะมีการอักเสบของอวัยวะหลายระบบเช่น ผิวหนัง ข้อกระดูก ไต ปอด หัวใจ เลือด สมอง เป็นต้นบางครั้งอาจพบมีสาเหตุกระตุ้นให้อาการกำเริบ เช่น ยาบางชนิด (เช่น ซัลฟา, ไฮดราลาซีน, เมทิลโดพา, โปรเคนเอไมด์, ไอเอ็นเอช, คลอโพรมาซีน, ควินิดีน, เฟนิโทอิน, ไทโอยูราซิล) การถูกแดด การกระทบกระเทือนทางจิตใจ การตั้งครรภ์ ฯลฯอาการที่พบได้บ่อยคือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อยตามตัว ปวดและบวมตามข้อต่าง ๆซึ่งโดยมากจะเป็นตามข้อเล็ก ๆ (เช่น ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า) ทั้งสองข้าง คล้าย ๆ กับ โรคปวดข้อรูมาตอยด์ (แต่ต่างกันที่ไม่มีลักษณะ หงิกงอ ข้อพิการ) ทำให้กำมือลำบาก อาการเหล่านี้จะค่อยเป็นค่อยไป เป็นแรมเดือนนอกจากนี้ผู้ป่วยยังมักจะมีผื่น หรือฝ้าแดงขึ้นที่ข้างจมูกทั้ง 2 ข้าง ทำให้มีลักษณะเหมือนปีกผีเสื้อเรียกว่า ผื่นปีกผีเสื้อ (butterfly rash) บางรายมีอาการแพ้แดด คือ เวลาไปถูกแดด ผิวหนังจะมีผื่นแดงเกิดขึ้น และ ผื่นแดงที่ข้างจมูก(ผื่นปีกผีเสื้อ) จะเกิดขึ้นชัดเจน อาการไข้ และปวดข้อจะเป็นรุนแรงขึ้น บางรายอาจมีจุดแดง (petichiae) หรือมีประจำเดือนมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอาการระยะแรกของโรคนี้ก่อนมีอาการอื่น ๆ ให้เห็นชัดเจน บางครั้งแพทย์อาจวินิจฉัยว่าเป็นไอทีพี บางรายอาจมีอาการผมร่วงมาก มีจ้ำแดง ๆ ขึ้นที่ฝ่ามือนิ้วมือ นิ้วเท้าซีดขาว และเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ เวลาถูกความเย็น (Raynaud's phenomenon) ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วไป ตับม้ามโต หรือมีภาวะซีด โลหิตจาง จากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายในรายที่เป็นรุนแรง   อาจมีอาการบวมทั้งตัว (จากไตอักเสบ), หายใจหอบ (จากปอดอักเสบ ภาวะมีน้ำในช่องปอด หรือหัวใจวาย) ชีพจรเต้นเร็วหรือไม่เป็นจังหวะ (จากหัวใจอักเสบ) ในรายที่มีการอักเสบของหลอดเลือดในสมอง อาจทำให้มีอาการทางประสาท เช่น เสียสติ ซึม เพ้อประสาทหลอน แขนขาอ่อนแรง ตาเหล่ ชัก หมดสติ และอาจตายภายใน 3-4 สัปดาห์ ส่วนมากจะมีอาการกำเริบ เป็น ๆ หาย ๆเรื้อรังเป็นปี ๆการรักษาหากสงสัย ควรแนะนำไปโรงพยาบาลโดยเร็วการตรวจเลือดพบว่า ค่าอีเอสอาร์ (ESR) สูง,พบแอนตินิวเคลียร์ แฟกเตอร์ (Antinuclear factor) และ แอลอีเซลล์ (LE cell) ตรวจปัสสาวะ  อาจพบสารไข่ขาว และเม็ดเลือดแดงนอกจากนี้ อาจทำการตรวจเอกซเรย์   คลื่นหัวใจและ ตรวจพิเศษอื่น ๆการรักษาในรายที่เป็นไม่รุนแรง (เช่น มีไข้ ปวดข้อ มีผื่นแดงขึ้นที่หน้า) อาจเริ่มให้ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ,ถ้าไม่ได้ผลอาจให้ไฮดรอกซีคลอโรควีน(Hydroxychloroquine)วันละ 1-2 เม็ด เพื่อช่วยลดอาการเหล่านี้ในรายที่เป็นรุนแรงควรให้สเตอรอยด์  เช่น เพร็ดนิโซโลน ขนาด 8-12 เม็ดต่อวัน ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ หรือหลายเดือน เพื่อลดการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ เมื่อดีขึ้นจึงค่อย ๆ ลดยาลง และให้ในขนาดต่ำ ควบคุมอาการไปเรื่อย ๆ อาจนานเป็นแรมปี หรือจนกว่าจะเห็นว่าปลอดภัยถ้าไม่ได้ผล อาจต้องให้ยากดระบบภูมิคุ้มกัน หรือยากดอิมมูน (lmmunosuppressive) เช่น ไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) อะซาไทโอพรีน (Azathioprine) เป็นต้น ยานี้เป็นยาอันตราย อาจทำให้ผมร่วงหรือหัวล้านได้ผมร่วงหรือหัวล้านได้  ผมร่วงหรือหัวล้านได้ เมื่อหยุดยา ผมจะงอกขึ้นใหม่ได้
  19. SLEเอสแอลอี ซึ่งมีคำเต็มว่า systemic lupus erythematosus(ซิสเทมิก ลูปัส อีริทีมาโตซัส)โรคนี้มักจะมีความผิดปกติ ของอวัยวะได้หลายระบบ (เช่น ผิวหนัง ข้อกระดูก ไต ปอด หัวใจ เลือด สมอง เป็นต้น) พร้อมๆ กัน และอาจมีความรุนแรงทำให้พิการหรือตายได้สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการตอบสนองอย่างผิดปกติต่อเชื้อโรค หรือสารเคมีบางอย่าง ทำให้มีการสร้างแอนติบอดีหรือภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของตัวเอง จึงจัดเป็น โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) ชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับโรคปวดข้อรูมาตอยด์ แต่โรคนี้มักจะมีการอักเสบของอวัยวะหลายระบบเช่น ผิวหนัง ข้อกระดูก ไต ปอด หัวใจ เลือด สมอง เป็นต้นบางครั้งอาจพบมีสาเหตุกระตุ้นให้อาการกำเริบ เช่น ยาบางชนิด (เช่น ซัลฟา, ไฮดราลาซีน, เมทิลโดพา, โปรเคนเอไมด์, ไอเอ็นเอช, คลอโพรมาซีน, ควินิดีน, เฟนิโทอิน, ไทโอยูราซิล) การถูกแดด การกระทบกระเทือนทางจิตใจ การตั้งครรภ์ ฯลฯอาการที่พบได้บ่อยคือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อยตามตัว ปวดและบวมตามข้อต่าง ๆซึ่งโดยมากจะเป็นตามข้อเล็ก ๆ (เช่น ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า) ทั้งสองข้าง คล้าย ๆ กับ โรคปวดข้อรูมาตอยด์ (แต่ต่างกันที่ไม่มีลักษณะ หงิกงอ ข้อพิการ) ทำให้กำมือลำบาก อาการเหล่านี้จะค่อยเป็นค่อยไป เป็นแรมเดือนนอกจากนี้ผู้ป่วยยังมักจะมีผื่น หรือฝ้าแดงขึ้นที่ข้างจมูกทั้ง 2 ข้าง ทำให้มีลักษณะเหมือนปีกผีเสื้อเรียกว่า ผื่นปีกผีเสื้อ (butterfly rash) บางรายมีอาการแพ้แดด คือ เวลาไปถูกแดด ผิวหนังจะมีผื่นแดงเกิดขึ้น และ ผื่นแดงที่ข้างจมูก(ผื่นปีกผีเสื้อ) จะเกิดขึ้นชัดเจน อาการไข้ และปวดข้อจะเป็นรุนแรงขึ้น บางรายอาจมีจุดแดง (petichiae) หรือมีประจำเดือนมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอาการระยะแรกของโรคนี้ก่อนมีอาการอื่น ๆ ให้เห็นชัดเจน บางครั้งแพทย์อาจวินิจฉัยว่าเป็นไอทีพี บางรายอาจมีอาการผมร่วงมาก มีจ้ำแดง ๆ ขึ้นที่ฝ่ามือนิ้วมือ นิ้วเท้าซีดขาว และเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ เวลาถูกความเย็น (Raynaud's phenomenon) ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วไป ตับม้ามโต หรือมีภาวะซีด โลหิตจาง จากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายในรายที่เป็นรุนแรง   อาจมีอาการบวมทั้งตัว (จากไตอักเสบ), หายใจหอบ (จากปอดอักเสบ ภาวะมีน้ำในช่องปอด หรือหัวใจวาย) ชีพจรเต้นเร็วหรือไม่เป็นจังหวะ (จากหัวใจอักเสบ) ในรายที่มีการอักเสบของหลอดเลือดในสมอง อาจทำให้มีอาการทางประสาท เช่น เสียสติ ซึม เพ้อประสาทหลอน แขนขาอ่อนแรง ตาเหล่ ชัก หมดสติ และอาจตายภายใน 3-4 สัปดาห์ ส่วนมากจะมีอาการกำเริบ เป็น ๆ หาย ๆเรื้อรังเป็นปี ๆการรักษาหากสงสัย ควรแนะนำไปโรงพยาบาลโดยเร็วการตรวจเลือดพบว่า ค่าอีเอสอาร์ (ESR) สูง,พบแอนตินิวเคลียร์ แฟกเตอร์ (Antinuclear factor) และ แอลอีเซลล์ (LE cell) ตรวจปัสสาวะ  อาจพบสารไข่ขาว และเม็ดเลือดแดงนอกจากนี้ อาจทำการตรวจเอกซเรย์   คลื่นหัวใจและ ตรวจพิเศษอื่น ๆการรักษาในรายที่เป็นไม่รุนแรง (เช่น มีไข้ ปวดข้อ มีผื่นแดงขึ้นที่หน้า) อาจเริ่มให้ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ,ถ้าไม่ได้ผลอาจให้ไฮดรอกซีคลอโรควีน(Hydroxychloroquine)วันละ 1-2 เม็ด เพื่อช่วยลดอาการเหล่านี้ในรายที่เป็นรุนแรงควรให้สเตอรอยด์  เช่น เพร็ดนิโซโลน ขนาด 8-12 เม็ดต่อวัน ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ หรือหลายเดือน เพื่อลดการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ เมื่อดีขึ้นจึงค่อย ๆ ลดยาลง และให้ในขนาดต่ำ ควบคุมอาการไปเรื่อย ๆ อาจนานเป็นแรมปี หรือจนกว่าจะเห็นว่าปลอดภัยถ้าไม่ได้ผล อาจต้องให้ยากดระบบภูมิคุ้มกัน หรือยากดอิมมูน (lmmunosuppressive) เช่น ไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) อะซาไทโอพรีน (Azathioprine) เป็นต้น ยานี้เป็นยาอันตราย อาจทำให้ผมร่วงหรือหัวล้านได้ผมร่วงหรือหัวล้านได้  ผมร่วงหรือหัวล้านได้ เมื่อหยุดยา ผมจะงอกขึ้นใหม่ได้
  20. การรักษาหากสงสัย ควรแนะนำไปโรงพยาบาลโดยเร็วการตรวจเลือดพบว่า ค่าอีเอสอาร์ (ESR) สูง,พบแอนตินิวเคลียร์ แฟกเตอร์ (Antinuclear factor) และ แอลอีเซลล์ (LE cell) ตรวจปัสสาวะ  อาจพบสารไข่ขาว และเม็ดเลือดแดงนอกจากนี้ อาจทำการตรวจเอกซเรย์   คลื่นหัวใจและ ตรวจพิเศษอื่น ๆการรักษาในรายที่เป็นไม่รุนแรง (เช่น มีไข้ ปวดข้อ มีผื่นแดงขึ้นที่หน้า) อาจเริ่มให้ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ,ถ้าไม่ได้ผลอาจให้ไฮดรอกซีคลอโรควีน(Hydroxychloroquine)วันละ 1-2 เม็ด เพื่อช่วยลดอาการเหล่านี้ในรายที่เป็นรุนแรงควรให้สเตอรอยด์  เช่น เพร็ดนิโซโลน ขนาด 8-12 เม็ดต่อวัน ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ หรือหลายเดือน เพื่อลดการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ เมื่อดีขึ้นจึงค่อย ๆ ลดยาลง และให้ในขนาดต่ำ ควบคุมอาการไปเรื่อย ๆ อาจนานเป็นแรมปี หรือจนกว่าจะเห็นว่าปลอดภัยถ้าไม่ได้ผล อาจต้องให้ยากดระบบภูมิคุ้มกัน หรือยากดอิมมูน (lmmunosuppressive) เช่น ไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) อะซาไทโอพรีน (Azathioprine) เป็นต้น ยานี้เป็นยาอันตราย อาจทำให้ผมร่วงหรือหัวล้านได้ผมร่วงหรือหัวล้านได้  ผมร่วงหรือหัวล้านได้ เมื่อหยุดยา ผมจะงอกขึ้นใหม่ได้
  21. แนวทางรักษากลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในร่วมกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ1. ถ้ามีอาการร่วมกับอาการข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้น้ำหนักลด ดีซ่าน และปวดเมื่อยนานกว่า 3 สัปดาห์การรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ 1)ให้ยาบรรเทาอาการ 2) ส่งต่อภายใน 1 สัปดาห์ 2. ถ้าไม่มีอาการดังในข้อ 1 แต่มีอาการดังนี้1. ปวดเมื่อยตรงท้ายทอยหรือต้นคอการรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ ประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆ แนะนำการบริหารกล้ามเนื้อคอ ให้ยาแก้ปวด Paracetamol พิจารณาให้ยา NSAID ถ้าจำเป้น (ควรระวังภาวะแทรกซ้อนทางกระเพาะโดยให้ยาเคลือบกระเพาะร่วมด้วย) และควรส่งต่อ ถ้ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้1) ถ้าไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์ หรือปวดร้าวลงแขน 2)เคลื่อนไหวคอลำบาก2. มีอาการเมื่อยล้าทั่วไป โดยตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติอื่นๆการรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ พักผ่อนให้เพียงพอ อาบน้ำอุ่น ให้ Paracetamol และควรส่งต่อ ถ้ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง1) ถ้าไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์ และ 2) น้ำหนักลด