SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 112
Downloaden Sie, um offline zu lesen
อ.พรรณราย ชาญหิรัญ
ผศ.วั ช ราภรณ์ อาจหาญ
พระอภัยมณี (พระอภัยมณี, ผีเสื้อสมุทร)
สังข์ทอง
 -พระสังข์
-นางรจนา
 -เจ้าเงาะ
สังข์ทอง (พระสังข์)
 วรรณคดี = Literature (ศัพท์บัญญัติในสมัยรัชกาลที่ ๖)
 ความหมายกว้าง = บทประพันธ์ทุกประเภทที่แต่งขึ้น (ร้อยแก้ว-ร้อยกรอง,แต่ง
  ดี-แต่งเลว,เล่าสืบต่อกัน)
 ความหมายแคบ = เฉพาะบทประพันธ์ที่มีศิลปะการแต่ง, มีคุณค่าทางอารมณ์,
  ได้รับการยกย่องสืบต่อมายาวนาน
 วรรณกรรม = Literary Work (ใช้แพร่หลายในสมัยหลัง)
 ความหมาย = บทประพันธ์ทั่วๆไป
 *ในที่นี้ใช้คาว่า “วรรณคดี” ในความหมายกว้าง*
 ๑. เกิดขึ้นจากความปรารถนาของมนุษย์ในด้านความบันเทิงใจ (การเต้นรา
  การละเล่น การแสดง)
    เริ่มแรกเป็นเสียงและจังหวะ ต่อมามีเนื้อร้อง จนบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
 ๒. ความรู้สึกสะเทือนใจ ทั้งสุขหรือทุกข์
    เห็นอกเห็นใจ
    สงสาร
    ตื่นเต้น
    ชื่นชม
    อารมณ์รัก
    อารมณ์ทางเพศ
 ๓. ศาสนา ประเพณี พิธีกรรม มนุษย์พึ่งพาอาศัยอานาจเหนือธรรมชาติช่วย
  บันดาลให้สมหวัง เกิดวรรณคดีประเภทโองการสดุดีเทพเจ้า คาบวงสรวงสังเวย
  เทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
 ๔. กิจกรรมที่อาศัยจังหวะ ความพร้อมเพรียง และความสนุกสนาน
    การพายเรือ การเกี่ยวข้าว ก่อให้เกิดวรรณคดีประเภทกาพย์เห่เรือ เพลง
      เกี่ยวข้าว




    *สรุป วรรณคดีสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก*
 ระยะแรก เกิดจากความรู้สึกตามธรรมชาติ
   ดีใจ=กระโดดโลดเต้น,เปล่งเสียงออกมา,เต้นเป็นจังหวะ
 ต่อมามีเครื่องดนตรี(กลอง)ประกอบ
 มีเนื้อความสั้นๆซ้าๆ อยู่ในบทร้อง บทขับ คาบวงสรวงสดุดี ไม่ทราบผู้แต่ง เป็น
  ของส่วนรวม เรื่องราวกลุ่มชน,วีรบุรุษ ภายหลังเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึกส่วน
  ตน=แสดงบุคลิกลักษณะส่วนตัวของกวี
 วรรณคดีแยกออกมาจากการเต้นราและดนตรี ภาษาซับซ้อน ประณีตงดงาม
 วรรณคดียุคแรกมักเป็นร้อยกรอง (แสดงถึงความศรัทธา)


 ยุคหลังอิทธิพลตะวันตกเป็นร้อยแก้ว (แสดงเหตุผล)
 ๑. วรรณคดีเป็นศิลปะ
    สัมพันธ์กับศิลปะสาขาอื่น เช่น ภาพนรกสวรรค์จากวรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระ
     ร่วง
    การสร้างความงามและไพเราะเป็นหน้าที่ของศิลปะ
    ศิลปะยกจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้นได้ (น้อมใจให้ซาบซึ้งต่อคุณงามความดี)
 ๒. วรรณคดีคือชีวิต
    วรรณคดีเป็นผลผลิตของมนุษย์ วัตถุดิบสาคัญในการสร้างวรรณคดีคือชีวิต
     (ความเป็นอยู่ของคน,สภาพแวดล้อมในสังคม)
    อ่านวรรณคดี=ได้สัมผัสชีวิต ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมของผู้คนต่างแดน,
     ต่างชั้นวรรณะ,ต่างเพศ,ต่างวัย,ต่างศาสนา,ต่างยุคสมัย—ผ่านตัวละครใน
     วรรณคดี
    อ่านวรรณคดี=เพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิต,เข้าใจชีวิตหลากหลายที่อาจไม่พบ
     ในชีวิตจริง,เป็นหลัก/แนวทางในการดาเนินชีวิตในสังคม
 ๓. วรรณคดีเป็นเครื่องแสดงออกทางสังคม
    แหล่งกาเนิดของวรรณคดี=ผู้คน+สภาพแวดล้อมในสังคมที่ผู้ประพันธ์พบ
     เห็น
    วรรณคดีสะท้อนลักษณะของสังคม
    เมื่อสังคมพัฒนาไปตามยุคสมัย วรรณคดีก็มีวิวัฒนาการสอดคล้องกับ
     ลักษณะของสังคม
วรรณกรรมสะท้อนชีวิต : สาวเครือฟ้า
นวนิยายสะท้อนชีวิตและสังคม: ดอกส้มสีทอง
 วรรณคดีสมัยสุโขทัย


 วรรณคดีสมัยอยุธยา
    วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น
    วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
    วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย


 วรรณคดีสมัยธนบุรี
 วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์
    วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร.๑-ร.๓)


 วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๔-พ.ศ. ๒๔๗๕
   วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๔
   วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๕
   วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๖
   วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๗
 วรรณคดีสมัย พ.ศ. ๒๔๗๕-ปัจจุบัน
    พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๗
    พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๕๐๐
    พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๑๙
    พ.ศ. ๒๕๒๐-ปัจจุบัน


 สรุปวิวัฒนาการวรรณคดีไทย
 ลายลักษณ์อักษร=พ่อขุนรามคาแหงมหาราช
   วรรณคดีสรรเสริญพระเกียรติเรื่องแรกของไทย ศิลาจารึกหลักที่ ๑
   เรื่องเด่น+สมบูรณ์สุด=ไตรภูมิพระร่วง ของพระยาลิไทย ใช้เทศน์โปรดพระ
    ราชมารดาและประชาชน กล่าวถึงไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
   สุภาษิตพระร่วง มุ่งสอนคนทั่วไปให้ประพฤติเป็นคนดี อยู่ร่วมกับคนอื่นใน
    สังคมได้
 ส่วนใหญ่เป็นร้อยแก้ว ร้อยกรองเรื่องเดียว คือ สุภาษิตพระร่วง
 ภาษาเริ่มจากเป็นคาไทยแท้ ประโยคสั้นๆ แล้วเริ่มใช้คาบาลี สันสกฤต เขมร
  ราชาศัพท์ ประโยคยาวซับซ้อนขึ้น

 สรุป วรรณคดียุคนี้มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองแฝงอยู่
    บันทึกสังคม ทั้งผู้นาและผู้คนในสังคม
    กาหนดอุดมการณ์ทางจริยธรรมของประชาชน เพื่อสร้างความมั่นคงแก่ชาติ
     และผู้นา
    ปลุกจิตสานึกให้เป็นคนดีในสังคม
 เริ่มสถาปนาบ้านเมือง ต้องการความสามัคคี ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีต่อ
  ผู้นา เกิด ลิลิตโองการแช่งน้า ให้พราหมณ์สวดในพระราชพิธีถือ
  น้าพระพิพัฒน์สัตยา,เนื้อหาอัญเชิญเทพเจ้า+ภูติผีให้มาเป็นพยาน+สาปแช่งผู้
  ทรยศ+อวยพรผู้จงรักภักดี
 ลิลิตยวนพ่าย สรรเสริญสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ=เทวราชา,กล่าวถึงการชนะ
  สงครามต่อพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา
 มหาชาติค้าหลวง นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่งเรื่องของพระพุทธเจ้า
  เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร จากพระบรมราชโองการของสมเด็จพระบรมไตร
  โลกนาถ เห็นพระราชประสงค์ที่จะปลูกฝังความศรัทธาและค่านิยมการฟังเทศน์
  มหาชาติจนยึดกันเป็นประเพณี
 ลิลิตพระลอ วรรณคดีนิทานนิยาย มีเค้าเรื่องจริงทางภาคเหนือ เนื้อเรื่องเป็น
  โศกนาฏกรรมที่แฝงไว้ด้วยปรัชญา
 ก้าสรวลโคลงดัน(ก้าสรวลศรีปราชญ์) วรรณคดีแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของกวี
 ทวาทศมาส นิราศเรื่องเด่นเชิงโวหารที่ครวญถึงนาง มีผู้ยึดเป็นแบบอย่างในการ
  แต่งนิราศในสมัยต่อมา




 สรุป เนื้อหาสูงส่งศักดิ์สิทธิ์ ภาษาและฉันทลักษณ์ยาก=แต่งโดยคนชั้นสูง, เพื่อ
  คนชั้นสูง
 วรรณคดีส่วนใหญ่เกิดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 สมุทรโฆษค้าฉันท์ โปรดให้พระมหาราชครูแต่งเพื่อใช้พากย์หนัง
 จินดามณี แฝงการเมือง เป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก พระโหราธิบดีแต่ง
  ต่อต้านวัฒนธรรมตะวันตกด้านภาษา
 โคลงทศรถสอนพระราม,โคลงพาลีสอนน้อง,โคลงราชสวัสดิ์=วรรณคดีคาสอนที่
  มุ่งสอนชนชั้นที่มีบทบาทต่อบ้านเมือง ให้ตระหนักในหน้าที่ สอดคล้องสภาพ
  สังคมที่รุ่งเรืองแต่มีข้อขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับข้าราชการ
 โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ ข้าราชการที่ภักดี คือ พระศรีมโหสถ
  เสนอภาพกษัตริย์ที่มีพระบรมเดชานุภาพและบุญญาบารมี
 ค้าฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของขุนเทพกวี แต่งเพื่อใช้ในพิธีสมโภชช้างเผือก
  ให้ช้างละพยศมาอยู่คู่พระบารมี
 อนิรุทธค้าฉันท์ ศรีปราชญ์แต่งด้วยขนบแบบใหม่ (ไม่มีบทไหว้ครูตอนต้นเรื่อง)
  เนื้อเรื่องมีการอุมสม
                    ้
 กาพย์ห่อโคลง ของพระศรีมโหสถ สภาพสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของ
  ประชาชนในพระนคร
 สรุป คลายความขึงขังลงทั้งเนื้อหาและรูปแบบ
 วรรณคดีส่วนใหญ่เกิดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชโอรสก็ทรงเป็นกวี
  สาคัญ คือ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ทางโลก+ทางธรรม
    ทางธรรม=นันโทปนันทสูตรค้าหลวง+พระมาลัยค้าหลวง (มีอิทธิพลต่อความ
     เชื่อเรื่องนรกสวรรค์,พระศรีอาริยเมตไตรยของคนไทย)
    ทางโลก=กาพย์เห่ชมเรือ เห่ปลา เห่นก เห่ไม้ และเห่ครวญ, กาพย์ห่อโคลง
     ประพาสธารทองแดง (ต่างจากขนบนิราศเพราะพรรณนาธรรมชาติที่พบ
     มากกว่าการครวญถึงนาง)
พระมาลัย
 โปรดสัตว์นรก
 กลอนบทละคร=ดาหลัง ของเจ้าฟ้ากุณฑล+อิเหนา ของเจ้าฟ้ามงกุฎ
  (บรรยากาศแปลกใหม่เพราะได้เค้าเรื่องมาจากชวา)
 บทละครนอกอีก ๑๕ เรื่อง=รามเกียรติ์,สังข์ทอง,โม่งป่า,พิกุลทอง, มโนห์รา ฯลฯ


 สรุป วรรณคดีขยายจากราชสานักสู่ประชาชนในรูปแบบของการแสดง คือ ละคร
  นอก วรรณคดีง่ายกว่าสมัยอยุธยาตอนต้นและตอนกลาง ที่เห็นได้ชัดคือมีกวี
  หญิงเกิดขึ้นแล้ว
 สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยา
 วรรณคดีอยุธยาส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับผู้แต่งและสมัยที่แต่ง อาจเพราะถือว่า
  วรรณคดีเป็นสมบัติร่วมกันของสังคม
 บ้านเมืองเต็มไปด้วยศึกสงคราม แต่มีวรรณคดีไม่น้อย
 นิทาน ๓ เรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตัดตอนมา ๔
  ตอนเพื่อใช้เป็นบทเล่นละคร
 อิเหนาค้าฉันท์ ของหลวงสรวิชิต(หน) แต่งเพื่อความบันเทิงและแสดงฝีปากเชิง
  กวี เหมือนเรื่อง ลิลิตเพชรมงกุฎ นิทานย่อยเรื่องแรกที่แทรกในนิทานเวตาล
  ปกรณัม สนุก ประเทืองปัญญา
 กฤษณาสอนน้องค้าฉันท์ พระภิกษุอินท์และพระยาราชสุภาวดีแต่งซ่อมฉบับ
  อยุธยา แต่สานวนโวหารไม่ดีเท่า
 นิราศกวางตุ้ง กลอนนิราศเรื่องแรกที่มีฉากต่างประเทศ
 สรุป วรรณคดีสมัยธนบุรีไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาทั้งแนวเรื่องและรูปแบบ กวี
  เลือกตัดตอนสั้นๆจากเรื่องเดิมที่นิยม ถ้าแต่งเองก็มีลักษณะเด่นที่มีการแสดง
  ความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
 สมัยรัชกาลที่ ๑




 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็น
  ราชธานี มีพระราชปณิธานคือสร้างความเข้มแข็งให้บ้านเมืองทุกด้าน (การเมือง
  การปกครอง, เศรษฐกิจและสังคม) ยึดกรุงศรีอยุธยาเป็นแม่แบบ
 ทรงฟื้นฟูวรรณคดีทุกประเภท ประเภทประเพณีพิธีการ=ลิลิตพยุหยาตราเพชร
  พวง โดยเจ้าพระยาพระคลัง(หน)
 ประเภทกฎหมาย โปรดให้ชาระกฎหมายโบราณ คือ กฎหมายตราสามดวง เพื่อ
  เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ
 ประเภทพงศาวดาร ให้เรียบเรียงพงศาวดารไทยและพงศาวดารมอญ
 ประเภทศาสนา=ไตรภูมิโลกวินิจฉัย นาเค้าโครงมาจากไตรภูมิพระร่วงฉบับพระ
  ยาลิไทย แต่ขยายความให้ละเอียดพิสดารมากยิ่งขึ้น
 ประเภทนิทานนิยาย ให้เจ้านายและข้าราชการช่วยกันรวบรวมแต่งบทละครเรื่อง
  รามเกียรติ์ อิเหนา ดาหลัง และอุณรุท และตราเป็นบทพระราชนิพนธ์ต้นฉบับ
  สาหรับพระนคร
 ทรงพระราชนิพนธ์เอง=นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง และให้กวีเรียบเรียงขึ้นใหม่=
  ราชาธิราช (มอญ) สามก๊ก (จีน) ไซฮั่น (จีน) นิทานอิหร่านราชธรรม (แขก
  เปอร์เซีย) ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในวงการวรรณคดีไทยเพราะนาเค้าเรื่องมา
  จากแหล่งอื่นที่มิใช่อินเดียและชวาเหมือนอดีต
เจ้าพระยาพระคลัง(หน)   สามก๊ก
 โคลงสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระชานิ-
  โวหารแต่งเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อรัชกาลที่ ๑

 สรุป ในสมัยรัชกาลที่ ๑ วรรณคดีนิทานนิยายหรือแสดงอารมณ์มักมีลักษณะร่วม
  กันคือเกี่ยวข้องกับการสงคราม เพราะกวีส่วนใหญ่เป็นนักรบและเป็นช่วงที่ยังมี
  ศึกสงครามอยู่มาก เรื่องเหล่านี้อาจช่วยกระตุ้นจิตสานึกของบุคคลในบทบาทของ
  ตนได้ งานไม่ดีเด่นด้านวรรณศิลป์มากเพราะมุ่งรวบรวมต้นฉบับให้สมบูรณ์
  มากกว่า
 สมัยรัชกาลที่ ๒
 เป็น “ยุคทองของวรรณคดี” เพราะบ้านเมืองดี ลักษณะของวรรณคดีเปลี่ยนไปคือ
  รัชกาลที่ ๒ มุ่งปรับปรุงวรรณคดีให้มีสุนทรียะยิ่งขึ้น
 รัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีขึ้นใหม่ร่วมกับกวีในราชสานัก คือ
  รามเกียรติ์ อิเหนา เพื่อใช้กับการแสดง (ตัวละครงาม รางาม ร้องเพราะ พิณ
  พาทย์เพราะ กลอนเพราะ)
 ทรงเลือกบทละครนอกสมัยอยุธยามาพระราชนิพนธ์ใหม่ ๕ เรื่อง คือ สังข์ทอง
  คาวี ไกรทอง มณีพิไชย และไชยเชษฐ์ พระราชโอรสคือพระเจ้าลูกยาเธอ กรม
  หมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงนิพนธ์เรื่องสังข์ศิลป์ชัย
 เสภาขุนช้างขุนแผน มาจากนิทานพื้นบ้านมีเค้าเรื่องจริงสมัยอยุธยา รัชกาลที่ ๒
  โปรดให้กวีรับไปแต่งเป็นตอนๆ กลายเป็นบทขับเสภาที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  เพราะเนื้อเรื่องสนุกและสมจริง สะท้อนสังคมอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น
  สานวนกลอนก็คมคาย

 สุนทรภู่เป็นกวีในราชสานักมีลีลากลอนเป็นเอกลักษณ์ มีจินตนาการเป็นเลิศ
  ประสบการณ์กว้างไกล แต่งเรื่องพระอภัยมณี ลักษณวงศ์ สิงหไกรภพ และ
  โคบุตร(สมัยร.๑)
 ที่เด่นอีกคือนิราศนรินทร ของนายนรินทร์ธิเบศร ได้รับอิทธิพลจากก้าสรวลโคลง
  ดันและทวาทศมาส
 โคลงนิราศถลางและเพลงยาวของพระยาตรังก็เด่นไม่แพ้กัน แต่ไม่แพร่หลายเท่า
 มีวรรณคดียอพระเกียรติสองเรื่อง คือ โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ
  พุทธเลิศหล้านภาลัย พระนิพนธ์พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และ
  โคลงดันเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของพระยา
  ตรังคภูมิบาล มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาก
 สรุป วรรณคดีการแสดงทั้งบทเสภาและบทละครนอกขยายออกไปนอกราชสานัก
  มากขึ้น กลอนได้รับอิทธิพลจากลีลากลอนของสุนทรภู่ คือ มีสัมผัสในแพรวพราว
  และจังหวะลื่นไหล
 สมัยรัชกาลที่ ๓
 วรรณคดีนิทานนิยายจากชาดกพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม
  พระปรมานุชิตชิโนรส=สมุทรโฆษค้าฉันท์ นิพนธ์ต่อจากสมัยอยุธยา และร่าย
  ยาวมหาเวสสันดรชาดก
 สุนทรภู่แต่ง กาพย์พระไชยสุริยา ขึ้นในสมัยนี้ เป็นเรื่องสั้นแต่วิพากษ์วิจารณ์
  สังคมและมีคติสอนใจ ใช้ประกอบการเรียนภาษาไทยทาให้เป็นที่รู้จักกว้างขวาง
 นิยายที่เป็นสีสันคือบทละครเรื่องระเด่นลันได ของพระมหามนตรี(ทรัพย์) ตัว
  ละครเป็นคนชั้นต่าคือแขกขอทานเป็นชู้กับแขกเลี้ยงวัวจนเกิดเรื่องขึ้น กวีตั้งใจ
  วิจารณ์เรื่องอิเหนาและเสียดสียั่วล้อคนในสังคม
มาจะกล่าวบทไป                    ถึงระเด่นลันไดอนาถา
เสวยราชย์องค์เดียวเที่ยวราภา        ตามตลาดเสาชิงช้าหน้าโบสถ์พราหมณ์
อยู่ปราสาทเสาคอดยอดด้วน             กาแพงแก้วแล้วล้วนด้วยเรียวหนาม
มีทหารหอนเห่าเฝ้าโมงยาม             คอยปราบปรามประจามิตรที่คิดร้าย
   เที่ยวสีซอขอข้าวสารทุกบ้านช่อง   เป็นเสบียงเลี้ยงท้องของถวาย
ไม่มีใครชิงชังทั้งหญิงชาย           ต่างฝากกายฝากตัวกลัวบารมี
พอโพล้เพล้เวลาจะสายัณห์             ยุงชุมสุมควันแล้วเข้าที่
บรรทมเหนือเสื่อลาแพนแท่นมณี         ภูมีซบเซาเมากัญชา
 เรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์เสียดสีข้าราชบริพารนอกและในราชสานัก คือ เพลงยาวว่า
  กระทบพระยามหาเทพ ของพระมหามนตรี(ทรัพย์) และเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ด
  สวรรค์ ของคุณสุวรรณ
 สุนทรภู่ต้องเร่ร่อนจึงเขียนนิราศไว้หลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศเมือง
  สุพรรณ มีประวัติกวี การวิพากษ์วิจารณ์ชีวิตและสังคมที่พบเจอมาตลอดชีวิต
 หมื่นพรหมสมพัตสร (นายมี) ถนัดลีลากลอนของสุนทรภู่ แต่งนิราศเดือน นิราศ
  พระแท่นดงรัง
 วรรณคดีคาสอนเด่นมาก โดยเฉพาะเรื่องปฐมสมโพธิกถา ของสมเด็จพระมหา
  สมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เนื้อหาละเอียดเป็นเลิศในหนังสือพุทธ
  ประวัติทั้งปวง โคลงโลกนิติ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชา-
  ดิศร รวบรวมจากฉบับกรุงเก่า
 มีวรรณคดีสอนสตรี ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑. กฤษณาสอนน้องค้าฉันท์ พระนิพนธ์
  สมเด็จฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ให้ไพเราะกว่าฉบับกรุงธนบุรี
 ๒. สุภาษิตสอนหญิง (สุนทรภู่) และ ๓. ต้ารับนางนพมาศ (ก่อนเชื่อว่าแต่งสมัย
  สุโขทัยโดยนางนพมาศ) เกี่ยวกับประเพณีพิธีการแต่ก็สอนสตรีแทรกด้วย
 วรรณคดียอพระเกียรติ=ลิลิตตะเลงพ่าย ของสมเด็จฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรส
  มีสีสันมาก โคลงดันเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ สรรเสริญพระเกียรติ
  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 สมัยนี้มีการจัดตั้งโรงพิมพ์ขึ้น หมอบรัดเลออกหนังสือพิมพ์ “บางกอกรีคอร์เดอร์”
 สรุป วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นง่ายกว่าอยุธยา กลอนเป็นที่นิยม มี
  วรรณคดีเกิดขึ้นเป็นจานวนมากและมีคุณภาพอีกด้วย
 สมัยรัชกาลที่ ๔
 มีการล่าอาณานิคมอย่างรุนแรง ร.๔ จึงต้องเปิดประเทศและพัฒนาสังคมไทย
  โดยมีวัฒนธรรมตะวันตกเป็นแบบอย่าง เพื่อเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยม
  (คนชั้นสูง)
 วรรณคดีส่วนใหญ่ยังคงสืบต่อมาจากอดีต นิทานนิยายเป็นเรื่องเดิม แต่ที่
  น่าสนใจคือบทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่องและพระมะเหลเถไถของคุณสุวรรณ ซึ่ง
  ถูกวิจารณ์ว่าสติฟั่นเฟือนขณะแต่ง แต่เรื่องกลับมีเนื้อหาและวิธีการแต่งที่แปลก
  สร้างความตลกขบขันได้ดี
เมื่อนั้น                   พระมะเหลเถไถมะไหลเถ
เสด็จขึ้นพลับพลามะลาเท                    มะไหลถอนนอนเอ้ทะเวกา
........................... ............................
    อันลูกท้าวไทมะไลที                    เลิศล้านารีมะลีกา
ชื่อนางตะแลงแกงมะแลงกา                    วาสนาควรคู่มะลูตอง
........................... ............................
    คิดพลางทางอิงมะลิงออง                 ค่อยประคองปลุกนางมะลางฉู
เจ้างามชื่นตื่นเถิดมะเลิศตู               แล้วเล้าโลมโฉมตรูมะลูเตา
 นิราศยังคงแต่งตามขนบที่ต่างไปก็มีนิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย มีฉาก
  เป็นประเทศตะวันตก ใช้คาทับศัพท์ภาษาอังกฤษ และเป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่
  ซื้อขายลิขสิทธิ์โดยหมอบรัดเล
 วรรณคดีสื่อมวลชนเริ่มมีมากขึ้น คือ มีนสพ.ถึง ๘ ฉบับ ทั้งไทยและอังกฤษ
 สมัยรัชกาลที่ ๕
 แรงกดดันจากประเทศมหาอานาจตะวันตกยิ่งรุนแรงมากขึ้น ร.๕ จึงต้องเร่ง
  ปรับปรุงประเทศครั้งใหญ่เพื่อให้พ้นจากการล่าอาณานิคม มีทั้งการเปลี่ยนแปลง
  โครงสร้างระบบบริหารราชการ การปฏิรูปการศึกษา การเผยแพร่อุดมการณ์
  ประชาธิปไตย สื่อมวลชนขยายตัว ล้วนมีผลต่อวรรณคดีไทย คือ หันไปทาง
  ตะวันตกอย่างเห็นได้ชัด
 วรรณคดีสมัย ร.๕ แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ วรรณคดีแบบเดิม และวรรณคดี
  สมัยใหม่
 วรรณคดีแบบเดิม คือ วรรณคดีร้อยกรองแบ่งได้เป็นประเภทยอพระเกียรติ
  เช่น เพลงยาวเฉลิมพระเกียรติ ของคุณพุ่ม ซึ่งเป็นกวีหญิง
 ประเภทนิทานนิยาย เช่น พระราชนิพนธ์บทละครยั่วล้อเรื่อง วงศ์เทวราช ลิลิต
  นิทราชาคริต บทละครเรื่องเงาะป่า (ผสมผสานวัฒนธรรมเก่าและใหม่ของการ
  แต่งวรรณคดี คือ เนื้อหาเป็นนวนิยายแต่แต่งเป็นกลอนบทละคร)
 ประเภทนิราศ นิราศหนองคาย ของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี น่าสนใจที่สุด เพราะ
  เป็นจดหมายเหตุบันทึกสภาพสังคมศักดินาและไพร่ วิพากษ์วิจารณ์อย่าง
  ตรงไปตรงมาและรุนแรงจนหนังสือถูกสั่งเผา และกวีถูกจาคุก
 วรรณคดีแบบใหม่ แต่งเป็นร้อยแก้ว มีหลายลักษณะ เช่น ประเภทสารคดี คือ
  ตาราแบบเรียน จดหมายเหตุ พงศาวดาร กฎหมาย เช่น แบบเรียนภาษาไทย
  ของพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร)
 ประเภทวิชาการ เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ ร.๕
 ประเภทสารคดีชีวประวัติ เช่น บทพระราชนิพนธ์ ไกลบ้าน
 ประเภทปทานุกรม พจนานุกรม ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่น
  อักขราภิธานศรัพท์ ของหมดบรัดเล
 ประเภทบันเทิงคดีรูปแบบใหม่ที่รับมาจากตะวันตกคือเรื่องสั้นและนวนิยาย
  สนุกนิ์นึก ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชาการ เป็นเรื่องแรก แต่ง
  ได้อย่างสมจริง
 นวนิยายเรื่องแรก คือ ความพยาบาท ของแม่วัน (พระยาสุรินทรราชา) แปลมา
  จากนวนิยายภาษาอังกฤษ
 ครูเหลี่ยม (หลวงวิลาศปริวัตร) ได้รับแรงบันดาลใจแต่งนวนิยายไทยแท้ๆขึ้น คือ
  เรื่องความไม่พยาบาท ที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ หัวใจชายหนุ่ม ของรามจิตติ (ร.๖)
  ช่วงนี้นวนิยายส่วนใหญ่แปลและนาเค้าโครงมาจากต่างประเทศ
 เกิดบทละครแบบใหม่จากวัฒนธรรมตะวันตกผสมผสานกับนิทานนิยายของไทย
  เช่น บทละครดึกด้าบรรพ์เรื่องอิเหนา บทละครพันทางเรื่องราชาธิราช บทละคร
  ร้องเรื่องสาวเครือฟ้า
 วรรณคดีสื่อมวลชนขยายตัวมาก มีนสพ.และนิตยสารประมาณ ๕๐ ฉบับ นสพ.
  ฉบับแรกของคนไทย คือ ดรุโณวาท ส่วนวชิรญาณและวชิราณวิเศษ เป็นนสพ.
  ของหอพระสมุดวชิรญาณที่สาคัญมาก
 วรรณคดีสาหรับเด็ก แบบเรียนและอ่านประกอบ เช่น นิทานอีสป นิทานสุภาษิต


 สรุป วรรณคดีสมัย ร.๕ เริ่มเปลี่ยนไปตามตะวันตกทั้งเนื้อหาและรูปแบบ เช่น
  การใช้นามแฝง เริ่มมีนักเขียนที่เป็นสามัญชนที่มีการศึกษาและแนวคิดแบบ
  ตะวันตก
 สมัยรัชกาลที่ ๖
 ร.๖ ทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ศึกษาในประเทศตะวันตก ในสมัยนี้มี
  ความเจริญทั้งด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นับว่าเป็นยุคทองของ
  วรรณคดีอีกยุคหนึ่ง ประชาชนเริ่มมีการศึกษาและมีพวกนสพ.มากขึ้น วรรณคดี
  จึงขยายออกไปสู่ประชาชนกว้างขวางขึ้น
 วรรณคดีแบบเดิมยังคงนิยมอยู่ มีพัฒนาการด้านเนื้อหาและรูปแบบบ้าง มีการ
  แต่งวรรณคดีนิทานนิยายจากวรรณคดีสันสกฤต เรื่องที่เด่นๆ คือ บทพระราช
  นิพนธ์เรื่องพระนลค้าหลวง ศกุนตลา สาวิตรี ของกวีอื่น เช่น นิทานเวตาล
  กนกนคร ของ น.ม.ส.
 ประเภทนิราศ นิราศนครวัด ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารง
  ราชานุภาพ นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีประเภทยอพระเกียรติ และวรรณคดี
  ประเภทศาสนาและคาสอน (เทศนาเสือป่า พระนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖)
 วรรณคดีแบบใหม่ รุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะบทละครพูด ส่วนใหญ่เป็นบทพระ
  ราชนิพนธ์ เช่น มัทนะพาธา หัวใจนักรบ เวนิสวานิช วิวาหพระสมุท หลวง
  จ้าเนียรเดินทาง
 นวนิยายและเรื่องสั้นได้รับความนิยมมาก นวนิยายมีหลายแนวทั้งชีวิตรัก
  ผจญภัย อาชญนิยาย อิงพงศาวดาร หัสนิยาย
 นวนิยายแปลเป็นที่นิยมมากที่สุดทั้งจีนและตะวันตก เช่น เชอร์ลอกโฮล์มส์ ของ
  แม่สะอาด
 น่าสังเกตว่าแต่งเรื่องสั้นและนวนิยายเองน้อยกว่าแปล
 มีหนังสืออ้างอิงประเภทพจนานุกรม ปทานุกรม บทความ สารคดีเชิงวิชาการ
  (บ่อเกิดรามเกียรติ์) บทความและสารคดีเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง สังคม
  เศรษฐกิจนิยมเขียนลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เพราะ ร.๖ ทรงพระราชทานสิทธิ
  เสรีภาพทางความคิดเป็นอย่างมาก (โคลนติดล้อ เมืองไทยจงตื่นเถิด ยิวแห่ง
  บูรพาทิศ) ปลุกใจคนไทยเรื่องชาตินิยม
 มีวรรณคดีสื่อมวลชน ๑๕๐ ฉบับ มีทั้งของกษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง สามัญชน
  และเริ่มมีการ์ตูนล้อการเมือง




 สรุป วรรณคดีร้อยแก้วได้รับความนิยม แต่ร้อยกรองก็ยังคงมีอยู่ ร.๖ ทรง
  สนับสนุนงานของกวีเป็นอย่างมาก
 สมัยรัชกาลที่ ๗
 เศรษฐกิจตกต่าที่สุด ประชาชนที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศประกอบกับ
  สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อมวลชน ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ.
  ๒๔๗๕ ทาให้ชนชั้นกลางมีบทบาทสูงแทบทุกด้านรวมทั้งวรรณคดี
 วรรณคดีไทยเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด คือ ร้อยกรองเรื่องยาวลดจานวนลง
  มาก
 นวนิยายและเรื่องสั้นพัฒนาไปมาก มีแนวใหม่ๆ เช่น ละครแห่งชีวิต ของ ม.จ.
  อากาศดาเกิง รพีพัฒน์ เป็นนวนิยายชีวิตต่างแดน ศัตรูของเจ้าหล่อน ของ
  ดอกไม้สด เป็นนวนิยายชีวิตครอบครัว สงครามชีวิต ของศรีบูรพา แสดง
  ความคิดวิพากษ์วิจารณ์ชีวิตและสังคม
 ประเภทตารา บทความ สารคดีเพิ่มจานวนขึ้น
ศรีบูรพา
 สงตรามชีวิต
-สรุป วรรณคดี ร.๔-พ.ศ. ๒๔๗๕
  -กวี นักเขียน นักนสพ.มีสิทธิเสรีภาพในการแต่งวรรณคดีสะท้อนสังคมและ
การเมือง การเมืองก็มีอิทธิพลต่อลักษณะของวรรณคดีสูง
  -วรรณคดีอนุรักษ์ยังมีอยู่แต่มีจานวนลดลง
  -วรรณคดีแบบใหม่ที่แต่งเพื่อสื่อความคิดมีจานวนมากขึ้น ผกผันไปตาม
การเมืองการปกครองและสังคม
 พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๗ ระยะแรกเป็นนวนิยายชีวิตครอบครัว ชนชั้นสูงได้รับ
  ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ ผู้ดี และหนึ่งในร้อย ของดอกไม้
  สด
 หญิงคนชั่ว ของ ก.สุรางคนางค์ เห็นอกเห็นใจชีวิตของโสเภณี
 ผู้ชนะสิบทิศ ของยาขอบ นวนิยายอิงพงศาวดารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
 ขุนศึก ของไม้เมืองเดิม นวนิยายอิงพงศาวดารมีบรรยากาศลูกทุ่ง
 ข้างหลังภาพ ของศรีบูรพา นวนิยายรักต่างวัยจบลงด้วยความสะเทือนใจ
ยาขอบ
โชติ แพร่พันธุ์
 ผู้ชนะสิบทิศ
 นโยบายรัฐนิยมของจอมพล ป. พิบูลสงครามเรื่องการส่งเสริมวัฒนธรรม การ
  เปลี่ยนแปลงการเขียนหนังสือไทย และการควบคุมงานเขียนให้อยู่ในกรอบแห่ง
  ศีลธรรม ทาให้นักเขียนถูกจากัดสิทธิเสรีภาพ บางคนเลิกเขียน บางคนเลี่ยงไป
  เขียนนวนิยายต่างแดน เช่น สด กูรมะโรหิต เขียนปักกิ่งนครแห่งความหลัง
 สามกรุง ของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นร้อยกรองเรื่องยาว
  แนวอนุรักษ์ สรรเสริญพระเกียรติกษัตริย์ในอดีต วิพากษ์วิจารณ์ผู้นาระหว่าง
  สงครามโลกครั้งที่ ๒ อย่างเข้มข้น
 หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ บ้านเมืองได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ประชาชนมี
  สิทธิเสรีภาพมากขึ้น บรรยากาศทางวรรณคดีผ่อนคลายลง นักเขียนเก่าๆผลิต
  ผลงานอีกครั้งหนึ่ง และมีนักเขียนใหม่เกิดขึ้น
 ที่น่าสังเกตคือมีนวนิยายพาฝันมากเป็นพิเศษ เช่น บ้านทรายทอง ดอกฟ้าและ
  โดมผู้จองหอง ของ ก.สุรางคนางค์
 หัสนิยาย(นิยายขบขัน) = ชุด พล นิกร กิมหงวน ของ ป.อินทรปาลิต
 นวนิยายรักของชนชั้นสูง = ปริศนา ของ ว.ณ.ประมวญมารค
 นิวนิยายอิงประวัติศาสตร์ = สี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช : สี่แผ่นดิน
 นักเขียนก้าวหน้าผลิตผลงานมาก สะท้อนชีวิตปัญญาชน แสดงทัศนะเกี่ยวกับ
  ชีวิตและปัญหาของสังคม เช่น ความรักของวัลยา ปีศาจ (เสนีย์ เสาวพงศ์)
  แผ่นดินของเรา (แม่อนงค์) แลไปข้างหน้า (ศรีบูรพา)
 เรื่องสั้นเฟื่องฟูมาก ศรีบูรพา, เสนีย์ เสาวพงศ์, มนัส จรรยงค์, ลาว คาหอม,
  อาจินต์ ปัญจพรรค์, รงค์ วงษ์สวรรค์ มักจบแบบหักมุม
 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรีปกครองแบบเผด็จการ สิทธิเสรีภาพ
  ของนักเขียนถูกจากัดมากกว่าครั้งใด นักเขียนถูกจับ หนังสือพิมพ์ถูกปิดตัว
 วรรณคดีนวนิยาย เรื่องสั้น ร้อยกรองประเภทชีวิตรักพาฝัน ครอบครัว บู๊ล้าง
  ผลาญมีมาก เช่น จ้าเลยรัก ของชูวงศ์ ฉายะจินดา ดาวพระศุกร์ ของ ข.อักษรา
  พันธ์ สลักจิตร ของ บุษยมาศ
จาเลยรัก ชูวงศ์ ฉายะจินดา
   ดาวพระศุกร์ ข.อักษราพันธ์
 จอมพลถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี นักเขียนมีเสรีภาพมากขึ้น นวนิยาย
  แนวตลาดยังนิยม อีกส่วนหนึ่งพัฒนาแนวสมจริง ซับซ้อน มีวรรณศิลป์ สะท้อน
  ปัญหาสังคม ให้สาระและแง่คิดนอกจากความบันเทิง เช่น เรือมนุษย์ ของ
  กฤษณา อโศกสิน จดหมายจากเมืองไทย ของโบตั๋น เขาชื่อกานต์ ของสุวรรณี
  สุคนธา
 หลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ นักเขียน นักอ่าน นักวิจารณ์มากขึ้น มีนวนิยายแนว
  การเมืองเกิดขึ้น ตื่นตัวกับประชาธิปไตยมากขึ้น เช่น พิราบแดง ของสุวัฒน์
  วรดิลก ต้าบลช่อมะกอก ของวัฒน์ วรรลยางกูร
กูเป็นนิสิตนักศึกษา โดย
 กูเป็นนิสิตนักศึกษา
  วาสนาสูงส่งสโมสร
  ย่าค่านี่จะย่าไปงานบอลล์        กูเป็นนิสิตนักศึกษา
  เสพเสน่ห์เกสรสุมาลี              เจ้าขี้ข้ารู้จักกูหรือไหม
                                   หัวเข็มขัด กลัดกระดุม ปุ่มเน็คไทร์
  กูเป็นนิสิตนักศึกษา              หลีกไปหลีกไปอย่ากีดทาง
  พริ้งสง่างามผงาดเพียงราชสีห์
  มันสมองของสยามธานี               กูเป็นนิสิตนักศึกษา
  ค่านี้กูจะนาบให้หนาใจ            มหาวิทยาลัยอันกว้างขวาง
                                   ศึกษาสรรพรสมิเว้นวาง
                                   เมืองกว้างช้างหลายสบายดี
กูเป็นนิสิตนักศึกษา โดย
 กูเป็นนิสิตนักศึกษา             กูเป็นนิสิตนักศึกษา
  เดินเหินดูสง่ามีราศี             หรูหราแหลมหลักอัครฐาน
  ย่าค่ากูจะย่าทั้งราตรี           พรุ่งนี้ก็ต้องไปร่วมงาน
  กรุงศรีอยุธยามาราธอน             สังสรรค์ในระดับปริญญา
                                   ได้โปรดฟังกูเถิดสักนิด
  เฮ้ย กูเป็นนิสิตนักศึกษา         กูเป็นนิสิตนักศึกษา
  มีสติปัญญาเยี่ยมสิงขร            เงียบโว้ย-ฟังกู--ปรัชญา
  ให้พระอินทร์เอาพระขรรค์มาบั่นรอน กูอยู่มหาวิทยาลัย...
  อเมริกามาสอนกูเชี่ยวชาญ          ...กูอยู่มหาวิทยาลัย
                                   รู้ไหม เห็นไหม ดีไหม
                                   อีกไม่นานเราก็ต่างจะตายไป
                                   กอบโกยใส่ตัวเองเสียก่อนเอย.
เพลงเถือนแห่งสถาบัน โดยวิทยากร เชียงกูล
       ่
 ดอกหาง นกยูง สีแดงฉาน
  บานอยู่เต็มฟากสวรรค์
                                   ฉันมา ฉันเห็น ฉันแพ้
  คนเดินผ่าน ไปมากัน
  เขาด้นดั้น หาสิ่งใด               ยินแต่ เสียงด่า ว่าโง่เง่า
                                    เพลงที่นี่ ไม่หวาน เหมือนบ้านเรา
  ปัญญา มีขาย ที่นี่หรือ            ใครไม่เข้า ถึงพอ เขาเยาะเย้ย
  จะแย่งซื้อ ได้ที่ไหน
  อย่างที่โก้ หรูหรา ราคาเท่าใด     นี่จะให้ อะไร กันบ้างไหม
  จะให้พ่อ ขายนา มาแลกเอา           มหาวิทยาลัย ใหญ่โตเหวย
                                    แม้นท่าน มิอาจให้ อะไรเลย
                                    วานนิ่งเฉย อย่าบ่น อย่าโวยวาย
เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน โดยวิทยากร เชียงกูล
              ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
               ฉันจึง มาหา ความหมาย
               ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย
               สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว

               มืดจริงหนอ สถาบัน อันกว้างขวาง
               ปล่อยฉัน อ้างว้าง ขับเคี่ยว
               เดินหา ซื้อปัญญา จนหน้าเซียว
               เทียวมา เทียวไป ไม่รู้วัน
เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน โดยวิทยากร เชียงกูล
 ดอกหาง นกยูง สีแดงฉาน
  บานอยู่เต็ม ฟากสวรรค์
  เกินพอ ให้เจ้า แบ่งปัน
  จงเก็บกัน อย่าเดิน ผ่านเลยไป
 หลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ร้อยกรองเพื่อชีวิตเฟื่องฟูมาก มาจากนิสิตนักศึกษา
  ได้รับอิสระอย่างเต็มที่ และขาดหายไปเมื่อเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
  เพราะนักเขียนก้าวหน้าถูกจับ ลี้ภัยในป่า หนังสือแนวก้าวหน้าถูกทาลาย
 ร้อยกรองแนวอนุรักษ์มีอย่างสม่าเสมอ เช่น นิราศขุนช้างขุนแผน ลิลิตสมเด็จพระ
  เจ้าตากสินมหาราช เพลงยาวอยุธยาวสาน เป็นต้น
 บทความและสารคดีทางการเมืองไม่รุ่งเรือง แต่เชิงวิชาการมีเป็นจานวนมาก
 เป็นยุคทองของวรรณคดีเด็กและเยาวชน เพราะได้รับการส่งเสริมจากรัฐและ
  เอกชน มีทั้งสารคดีและบันเทิงคดี
 หลัง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ นายธานินทร์ กรัยวิเชียรกวาดล้างคอมมิวนิสต์ วงการ
  วรรณคดีซบเซา หนังสือพิมพ์และนิตยสารที่ยอดสูงจะไม่เกี่ยวกับการเมืองมาก
  นัก เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ สกุลไทย ฟ้าเมืองไทย ขวัญเรือน เป็นต้น
 มีนวนิยายเรื่องสั้นเบาสมองมาก นวนิยายแปลเฟื่องฟู
 สมัยของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ การเมืองคลี่คลาย วรรณคดีก้าวหน้าหรือ
  เพื่อชีวิตกลับมามีบทบาทอีกครั้ง แต่ไม่รุ่งเท่าเดิม มีนวนิยายและเรื่องสั้น
  ประเภทพาฝัน สะท้อนสังคม และวิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างน่าสนใจ เช่น ลูก
  อีสาน ของคาพูน บุญทวี ผู้หญิงคนนันชื่อบุญรอด ของโบตั๋น ค้าพิพากษา ของ
  ชาติ กอบจิตติ งู ของวิมล ไทรนิ่มนวล แม่เบีย ของวาณิช จรุงกิจอนันต์ ตลิ่งสูง
  ซุงหนัก ของนิคม รายยวา
แม่เบี้ย
 วาณิช จรุงกิจอนันต์
 วิธีการนาเสนอแปลกใหม่ เช่น วินทร์ เลียววาริณ ในเรื่องประชาธิปไตยบนเส้น
  ขนาน
 บทร้อยกรองสั้นๆก็ยังนิยมอยู่ นักเขียนสาคัญ เช่น อังคาร กัลยาณพงศ์,
  เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, คมทวน คันธนู, จิระนันท์ พิตรปรีชา, ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ
 ยังมีโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย แต่ไม่เคร่งครัดฉันทลักษณ์มากนัก นิยมแต่ง
  ด้วยกลอนอิสระมากที่สุด
 ร้อยกรองเรื่องยาวแนวอนุรักษ์มีน้อย เด่นๆ เช่น ชักม้าชมเมือง ของเนาวรัตน์
  พงษ์ไพบูลย์
 บทความสารคดีรุ่งเรืองที่สุด นวนิยาย เรื่องสั้น นิทานประกอบภาพ การ์ตูน
  สาหรับเด็กรุ่งเรืองมาก เช่น หมู่บ้านอาบจันทร์ ของมาลา คาจันทร์ เจ้าหญิง
  นิทรา ของกาธร สถิรกุล ระยะหลังการ์ตูนญี่ปุ่นได้รับความนิยมสูง เกิดกระแส
  ต่อต้านรุนแรงต่อเนื้อหาและภาพที่ไม่เหมาะสม

 สรุป วรรณคดีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕-ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พัฒนาตาม
  แบบสากลทั้งเนื้อหาและรูปแบบ มุ่งเพื่อชีวิตและสื่อมวลชนมากขึ้น ไม่ใช่เพื่อ
  กษัตริย์ ศาสนา และบันเทิงอารมณ์เช่นในอดีตเท่านั้น การศึกษาทาให้ประชาชน
  มีบทบาทในฐานะผู้แต่ง ผู้อ่าน ผู้วิจารณ์ และผู้พิมพ์
 รางวัลซีไรต์ ( S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์
  ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (Southeast Asian Writers Award)
  เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นรางวัลประจาปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนใน
  ๑๐ ประเทศรัฐสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน
  ปัจจุบัน
 โดยงานเขียนที่ได้รับรางวัลเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง และมี
  งานเขียนหลากหลายรูปแบบที่ได้รับรางวัล อย่างเช่น กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น
  นวนิยาย ละครเวที คติชนวิทยา รวมไปถึงงานเขียนด้านสารคดีและงานเขียน
  ทางด้านศาสนา พิธีจะถูกจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์
  ทรงเป็นประธานในพิธี
 นับตั้งแต่มีการก่อตั้งรางวัลซีไรต์ขึ้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก
  เฉียงใต้ยังคงประกอบด้วยรัฐสมาชิกเพียง ๕ ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย
  มาเลเซีย พิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ บรูไนได้เข้าร่วม
  เป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามเข้า
  ร่วมในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และกัมพูชาเข้า
  ร่วมหลังสุดในปี พ.ศ. ๒๕๔๒
 ๒๕๒๒ ลูกอีสาน คาพูน บุญทวี นวนิยาย
 ๒๕๒๓ เพียงความเคลื่อนไหว เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีนิพนธ์
 ๒๕๒๔ ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง อัศศิริ ธรรมโชติ เรื่องสั้น
 ๒๕๒๕ ค้าพิพากษา ชาติ กอบจิตติ นิยาย
 ๒๕๒๖ นาฏกรรมบนลานกว้าง คมทวน คันธนู กวีนิพนธ์
 ๒๕๒๗ ซอยเดียวกัน วานิช จรุงกิจอนันต์ เรื่องสั้น
 ๒๕๒๘ ปูนปิดทอง กฤษณา อโศกสิน นิยาย
 ๒๕๒๙ ปณิธานกวี อังคาร กัลยาณพงศ์ กวีนิพนธ์
 ๒๕๓๐ ก่อกองทราบ ไพฑูรย์ ธัญญา เรื่องสั้น
 ๒๕๓๑ ตลิ่งสูง ซุงหนัก นิคม รายยวา นิยาย
 ๒๕๓๒ ใบไม้ที่หายไป จิรนันท์ พิตรปรีชา กวีนิพนธ์
 ๒๕๓๓ อัญมณีแห่งชีวิต อัญชัน เรื่องสั้น
 ๒๕๓๔ เจ้าจันทร์ผมหอม มาลา คาจันทร์ นิยาย
 ๒๕๓๕ มือนันสีขาว ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ กวีนิพนธ์
 ๒๕๓๖ ครอบครัวกลางถนน ศิลา โคมฉาย เรื่องสั้น
 ๒๕๓๗ เวลา ชาติ กอบจิตติ นิยาย
 ๒๕๓๘ ม้าก้านกล้วย ไพวรินทร์ ขาวงาม กวีนิพนธ์
 ๒๕๓๙ แผ่นดินอื่น กนกพงศ์ สงสมพันธ์ เรื่องสั้น
 ๒๕๔๐ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน วินทร์ เลียววาริณ นิยาย
 ๒๕๔๑ ในเวลา แรคา ประโดยคา กวีนิพนธ์
 ๒๕๔๒ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน วินทร์ เลียววาริณ เรื่องสั้น
 ๒๕๔๓ อมตะ วิมล ไทรนิ่มนวล นิยาย
 ๒๕๔๔ บ้านเก่า โชคชัย บัณฑิต กวีนิพนธ์
 ๒๕๔๕ ความน่าจะเป็น ปราบดา หยุ่น เรื่องสั้น
 ๒๕๔๖ ช่างส้าราญ เดือนวาด พิมวนา นิยาย
 ๒๕๔๗ แม่น้าร้าลึก เรวัตร์ พันธ์พิพัฒน์ กวีนิพนธ์
 ๒๕๔๘ เจ้าหงิญ บินหลา สันกลาคิรี เรื่องสั้น
 ๒๕๔๙ ความสุขของกะทิ งามพรรณ เวชชาชีวะ นวนิยาย
 ๒๕๕๐ โลกในดวงตาข้าพเจ้า มนตรี ศรียงค์ กวีนิพนธ์
 ๒๕๕๑ เราหลงลืมอะไรบางอย่าง วัชระ สัจจะสารสิน รวมเรื่องสั้น
 ๒๕๕๒ ลับแล แก่งคอย อุทิศ เหมะมูล นวนิยาย
 ๒๕๕๓ ไม่มีหญิงสาวในบทกวี ซะการีย์ยา อมตยา กวีนิพนธ์
รางวัลซีไรต์ปี ๒๕๕๒ ประเภทนวนิยาย
   ลับแลแก่งคอย ของ อุทิศ เหมะมูล
 นวนิยายเรื่อง ลับแล,แก่งคอย ของอุทิศ เหมะมูล เสนอมิติอันซับซ้อนของ
  ตัวตนมนุษย์ที่แยกไม่ออกจากรากเหง้า ชาติพันธุ์ ชุมชน ความเชื่อ และเรื่อง
  เล่า ผู้เขียนเล่าเรื่องชีวิตมนุษยที่ต้องเผชิญความคาดหวังซึ่งไม่อาจต้านทาน
  ได้และพยายามดิ้นรนหาทางออก
 ผู้เขียนใช้กลวิธีการเล่าเรื่องอันแยบยล สร้างตัวละครที่มีเลือดเนื้อและอารมณ์
  ราวกับมีตัวตนจริง สร้างฉาก และบรรยากาศได้อย่างมีชีวิตชีวา และใช้ภาษา
  ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง แสดงจินตภาพกระจ่างและงดงาม
 นวนิยายเรื่อง ลับแล,แก่งคอย ของอุทิศ เหมะมูล จึงสมควรได้รับรางวัล
  วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย
  ประจาปีพุทธศักราช ๒๕๕๒
รางวัลซีไรต์ปี ๒๕๕๓ ประเภทกวีนิพนธ์
ไม่มีหญิงสาวในบทกวี ของ ซะการีย์ยา อมตยา
ไม่มีหญิงสาวในบทกวี
 "ไม่มีหญิงสาวในบทกวี" ของ ซะการีย์ยา อมตยา เป็นกวีนิพนธ์นาเสนอภาพและ
  แนวคิดเพื่อการดารงและดาเนินชีวิตอย่างสันติสุข ที่ผสมผสานวรรณศิลป์
  ปรัชญา และศิลปะเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ประกอบด้วยเนื้อหาหลากหลายมิติ
  ตั้งแต่ปัจเจกบุคคล จนถึงวาระระดับสังคม ไม่ผูกกับยุคสมัย ไม่มีพรมแดน ข้าม
  มิติเวลาและมิติพื้นที่ มีความลุ่มลึก กระตุ้นให้เกิดจินตนาการ ขบคิด และคิดต่อ
ไม่มีหญิงสาวในบทกวี (ต่อ)
 กวีนิพนธ์เล่มนี้เป็นบทร้อยกรองอิสระ (free verse) มีความสอดคล้อง
  ระหว่างรูปแบบกับเนื้อหาที่มีความหลากหลาย แม้ไม่มีจังหวะของฉันทลักษณ์
  แต่ผู้เขียนสามารถวางจังหวะคากวีได้อย่างทรงพลัง และสามารถใช้ภาษาที่ทาให้
  เกิดจินตภาพ มีการสร้างพาพจน์ที่ลุ่มลึด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้การอ้างถึง
  (allusion) และปฎิทรรรศน์ <paradox>
 กวีนิพนธ์เรื่อง "ไม่มีหญิงสาวในบทกวี" ของ ซะการีย์ยา อมตยา จึงสมควร
  ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม (ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจาปี
  ๒๕๕๓
หนังสือรวมเรื่องสั้นที่เข้ารอบ ๗ เล่ม
                  รางวัลซีไรต์ประจาปี ๒๕๕๔
 ๑. ๒๔ เรื่องสั้นของฟ้า ของ ฟ้า พูลวรลักษณ์
  ๒. เรื่องของเรื่อง ของ พิเชษฐ์ศักดิ์ โพธิ์พยัคฆ์
  ๓. แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ ของ จเด็จ กาจรเดช
  ๔. กระดูกของความลวง ของ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์
  ๕. นิมิตต์วิกาล ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์
  ๖. บันไดกระจก ของ วัฒน์ ยวงแก้ว
  ๗. ภาพยนตร์ที่ถ่ายทาตลอดชีวิต ของ จักรพันธุ์ กังวาฬ
 ‘แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ’ ของ จเด็จ กาจรเดช
           “แดดเช้าเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟของ 'จเด็จ กาจรเดช' เป็นรวมเรื่องสั้นที่สร้าง
  พลังกระทบใจ นาเสนอประเด็นอันหลากหลายในสังคมร่วมสมัย เป็นความยอกย้อนที่มี
  ความซับซ้อนและความไร้สาระ ผูเขียนได้เสนอการปะทะกันระหว่างความจริงกับความ
                                  ้
  จริงเสมือน ความรู้ ความเชือ ตลอดจนความเป็นเรา กับความเป็นเขา
                            ่

             ผู้เขียนได้สร้างสรรค์กลวิธีการเล่าเรื่องหลายวิธีที่ท้าทายการตีความ เช่น การ
  ตัดต่อ การซ้า การใช้มุมมอง การเสียดสี การสร้างสัมพันธบท ตลอดจนการสร้างตัว
  ละครที่อยูในภาวะความรู้และความไม่รู้ ซึ่งสร้างความคลุมเคลือและความลวง กลวิธี
             ่
  เหล่านี้เปิดพื้นที่ให้ผู้อ่านสร้างความหมายได้หลายระดับ
 กว่า ๗๐๐ ปี วรรณคดีเกิดขึ้นเป็นจานวนมาก แม้บางช่วงจะมีปัญหา
  ภายในประเทศ แต่ก็ไม่ทาให้วรรณคดีขาดหายไป
 สมัยสุโขทัย เป็นยุคเริ่มแรกของวรรณคดี วรรณคดียังมีน้อยลักษณะ วรรณคดี
  เกี่ยวข้องกับสภาพบ้านเมืองที่เป็นราชอาณาจักรใหม่ คือ เน้นสร้างความศรัทธา
  และคุณภาพของประชาชน
 สมัยอยุธยาตอนต้น สังคมซับซ้อนมากขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหา
  ต่างๆ วรรณคดีสะท้อนสังคมอย่างชัดเจน คือ มีเนื้อหาและรูปแบบหลากหลาย
  จุดมุ่งหมายเพื่อสนองความปรารถนาของผู้แต่งและผู้เสพในราชสานักและชน
  ชั้นสูง วรรณคดีจึงมีลักษณะสูงส่ง และอลังการ
 สมัยอยุธยาตอนกลางส่วนใหญ่สืบต่อมาจากสมัยก่อน แต่ลดความเข้มข้นลง
  อย่างชัดเจน ทั้งเนื้อหาและรูปแบบที่ผ่อนคลายลง มีวรรณคดีใหม่ตอบสนอง
  ความต้องการทางการเมืองและสังคม
 สมัยอยุธยาตอนปลาย วรรณคดีคลี่คลายทั้งเนื้อหาและรูปแบบ ขยายจากราช
  สานักสู่สามัญชนในรูปของการแสดง
 สมัยกรุงธนบุรี บ้านเมืองมีแต่สงคราม วรรณคดีเกิดขึ้นเพื่อสืบสานด้าน
  วัฒนธรรมเท่านั้น ไม่มีพัฒนาการอย่างชัดเจน
 ต้นรัตนโกสินทร์ (ร.๑-ร.๓) วรรณคดีรุ่งเรืองอีกครั้ง เป็นเครื่องมือทางการ
  ปกครอง จรรโลงใจ และประเทืองปัญญา
 ร.๔ เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของวรรณคดีแบบใหม่ตามตะวันตก เห็นชัดขึ้นใน
  สมัย ร.๕ และ ร.๖ โดยเฉพาะสมัย ร.๖ พระองค์หล่อหลอมสองวัฒนธรรมออกมา
  เป็นวรรณคดีแนวผสมผสานและเป็นสากลมากขึ้น ประชาชนมีบทบาทใน
  วรรณคดีอย่างเปิดเผยไม่ได้แทรกอยู่เหมือนในอดีต
 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองวรรณคดีอิสระมากขึ้น ผู้แต่งมีหลายชนชั้น
  หลายเพศ และหลายวัย วรรณคดีเปลี่ยนแปลงตามกระแสสังคมอยู่ตลอดเวลา
  จนถึงปัจจุบัน (การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม)
 วรรณคดีมุ่งเพื่อขายมากกว่าอุดมการณ์ ประชากรถูกปิดกั้นการอ่านวรรณคดีจาก
  สื่อบันเทิงรูปแบบอื่น แต่ถึงอย่างไรวรรณคดีก็จะยังคงมีวิวัฒนาการต่อไปไม่
  สิ้นสุด
จบการสอนวิชาไทยศึกษา
หัวข้อ “วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม”
 ให้นิสิตบอกเล่าเรื่องราวความประทับเกี่ยวกับวรรณคดีที่
  เคยอ่านมา ๑ เรื่อง โดยอาจกล่าวถึงชื่อเรื่อง ตัวละคร เนื้อ
  เรื่องโดยย่อ และความประทับใจทีได้จากการอ่านวรรณคดี
                                 ่
  เรื่องนั้นๆ
 ความยาวประมาณ ๑/๒-๑ หน้ากระดาษ
 ขอให้นิสิตส่งกระดาษเป็นแผ่น ห้ามฉีกแบ่งครึ่งโดย
  เด็ดขาด มิเช่นนั้นจะถูกหักคะแนน

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

คีตกวีเอกของไทย
คีตกวีเอกของไทยคีตกวีเอกของไทย
คีตกวีเอกของไทยleemeanshun minzstar
 
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัดวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัดThiranan Suphiphongsakorn
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการแสดง ชุดที่ 4
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่อง การพัฒนารูปแบบการแสดง  ชุดที่  4เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่อง การพัฒนารูปแบบการแสดง  ชุดที่  4
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการแสดง ชุดที่ 4Panomporn Chinchana
 
แรงจูงใจของผู้เรียนภาษาไทย
แรงจูงใจของผู้เรียนภาษาไทยแรงจูงใจของผู้เรียนภาษาไทย
แรงจูงใจของผู้เรียนภาษาไทยJarinya Chaiyabin
 
โครงงาน เรื่อง การศึกษาปัญหาการอ่านหนังสือของคนไทย
โครงงาน เรื่อง การศึกษาปัญหาการอ่านหนังสือของคนไทย โครงงาน เรื่อง การศึกษาปัญหาการอ่านหนังสือของคนไทย
โครงงาน เรื่อง การศึกษาปัญหาการอ่านหนังสือของคนไทย Nawakhun Saensen
 
อาณาจักรฟูนัน โดยเดือนฉาย แสวงสิน
อาณาจักรฟูนัน โดยเดือนฉาย  แสวงสินอาณาจักรฟูนัน โดยเดือนฉาย  แสวงสิน
อาณาจักรฟูนัน โดยเดือนฉาย แสวงสินKokoco Sea
 
แผนเขียน ครั้งที่ 5
แผนเขียน ครั้งที่ 5แผนเขียน ครั้งที่ 5
แผนเขียน ครั้งที่ 5Pianolittlegirl
 
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นParn Parai
 
การสอนสังคีตบางชนิดและนาฎศีลป์.Docx
การสอนสังคีตบางชนิดและนาฎศีลป์.Docxการสอนสังคีตบางชนิดและนาฎศีลป์.Docx
การสอนสังคีตบางชนิดและนาฎศีลป์.Docxleemeanshun minzstar
 
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์พัน พัน
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาwattanaka
 
ไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้ากระแสWorrachet Boonyong
 
เรื่อง โพลาไรเซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เรื่อง  โพลาไรเซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเรื่อง  โพลาไรเซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เรื่อง โพลาไรเซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าSomporn Laothongsarn
 
ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยด้านพัสดุ
ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยด้านพัสดุตัวอย่างการกระทำผิดวินัยด้านพัสดุ
ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยด้านพัสดุNayada Siri-oin
 
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชChoengchai Rattanachai
 
ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 2
ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 2ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 2
ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 2Wijitta DevilTeacher
 

Was ist angesagt? (20)

คีตกวีเอกของไทย
คีตกวีเอกของไทยคีตกวีเอกของไทย
คีตกวีเอกของไทย
 
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัดวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการแสดง ชุดที่ 4
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่อง การพัฒนารูปแบบการแสดง  ชุดที่  4เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่อง การพัฒนารูปแบบการแสดง  ชุดที่  4
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการแสดง ชุดที่ 4
 
แรงจูงใจของผู้เรียนภาษาไทย
แรงจูงใจของผู้เรียนภาษาไทยแรงจูงใจของผู้เรียนภาษาไทย
แรงจูงใจของผู้เรียนภาษาไทย
 
โครงงาน เรื่อง การศึกษาปัญหาการอ่านหนังสือของคนไทย
โครงงาน เรื่อง การศึกษาปัญหาการอ่านหนังสือของคนไทย โครงงาน เรื่อง การศึกษาปัญหาการอ่านหนังสือของคนไทย
โครงงาน เรื่อง การศึกษาปัญหาการอ่านหนังสือของคนไทย
 
โครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานโครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงาน
 
อาณาจักรฟูนัน โดยเดือนฉาย แสวงสิน
อาณาจักรฟูนัน โดยเดือนฉาย  แสวงสินอาณาจักรฟูนัน โดยเดือนฉาย  แสวงสิน
อาณาจักรฟูนัน โดยเดือนฉาย แสวงสิน
 
แผนเขียน ครั้งที่ 5
แผนเขียน ครั้งที่ 5แผนเขียน ครั้งที่ 5
แผนเขียน ครั้งที่ 5
 
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
การสอนสังคีตบางชนิดและนาฎศีลป์.Docx
การสอนสังคีตบางชนิดและนาฎศีลป์.Docxการสอนสังคีตบางชนิดและนาฎศีลป์.Docx
การสอนสังคีตบางชนิดและนาฎศีลป์.Docx
 
โขน
โขนโขน
โขน
 
Art
ArtArt
Art
 
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
ไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้ากระแส
 
เรื่อง โพลาไรเซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เรื่อง  โพลาไรเซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเรื่อง  โพลาไรเซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เรื่อง โพลาไรเซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
 
ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยด้านพัสดุ
ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยด้านพัสดุตัวอย่างการกระทำผิดวินัยด้านพัสดุ
ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยด้านพัสดุ
 
Sicience project
Sicience projectSicience project
Sicience project
 
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 2
ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 2ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 2
ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 2
 

Ähnlich wie วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม

วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมmayavee16
 
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางNattha Namm
 
ศิลาจารึกหลักที่ ๑
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ศิลาจารึกหลักที่ ๑
ศิลาจารึกหลักที่ ๑krunoree.wordpress.com
 
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์ ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์ vanichar
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีRuangrat Watthanasaowalak
 
โบราณคดีอีสาน
โบราณคดีอีสานโบราณคดีอีสาน
โบราณคดีอีสานBenjawan Hengkrathok
 
สรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองสรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองkanchana13
 
สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]
สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]
สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]Nongkran Jarurnphong
 
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมารงานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมารSantichon Islamic School
 
สหบทกับวรรณกรรม
สหบทกับวรรณกรรมสหบทกับวรรณกรรม
สหบทกับวรรณกรรมAttaporn Saranoppakun
 

Ähnlich wie วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม (20)

Ppt1
Ppt1Ppt1
Ppt1
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
 
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
 
วรรณคดี
วรรณคดีวรรณคดี
วรรณคดี
 
ศิลาจารึกหลักที่ ๑
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ศิลาจารึกหลักที่ ๑
ศิลาจารึกหลักที่ ๑
 
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์ ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
 
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วงใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดี
 
โบราณคดีอีสาน
โบราณคดีอีสานโบราณคดีอีสาน
โบราณคดีอีสาน
 
สรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองสรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทอง
 
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วงใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
 
สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]
สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]
สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]
 
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมารงานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
 
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
 
สหบทกับวรรณกรรม
สหบทกับวรรณกรรมสหบทกับวรรณกรรม
สหบทกับวรรณกรรม
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 

Mehr von Orapan Chamnan

ระบบสอบ2557
ระบบสอบ2557ระบบสอบ2557
ระบบสอบ2557Orapan Chamnan
 
ใบความรู้ที่ 1.4
ใบความรู้ที่ 1.4 ใบความรู้ที่ 1.4
ใบความรู้ที่ 1.4 Orapan Chamnan
 
ใบความรู้ที่1.2
ใบความรู้ที่1.2ใบความรู้ที่1.2
ใบความรู้ที่1.2Orapan Chamnan
 
ใบความรู้ที่1
ใบความรู้ที่1ใบความรู้ที่1
ใบความรู้ที่1Orapan Chamnan
 
แนะแนวระบบสอบ2556
แนะแนวระบบสอบ2556แนะแนวระบบสอบ2556
แนะแนวระบบสอบ2556Orapan Chamnan
 
แนะแนวระบบสอบ2555
แนะแนวระบบสอบ2555แนะแนวระบบสอบ2555
แนะแนวระบบสอบ2555Orapan Chamnan
 
ใบความรู้ที่1.2
ใบความรู้ที่1.2ใบความรู้ที่1.2
ใบความรู้ที่1.2Orapan Chamnan
 
ใบความรู้ที่1.1
ใบความรู้ที่1.1ใบความรู้ที่1.1
ใบความรู้ที่1.1Orapan Chamnan
 
องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์Orapan Chamnan
 
การจัดการฐานข้อมูล
การจัดการฐานข้อมูลการจัดการฐานข้อมูล
การจัดการฐานข้อมูลOrapan Chamnan
 
ใบความรู้ที่2
ใบความรู้ที่2ใบความรู้ที่2
ใบความรู้ที่2Orapan Chamnan
 
รับครูดนตรี
รับครูดนตรีรับครูดนตรี
รับครูดนตรีOrapan Chamnan
 
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศOrapan Chamnan
 
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศOrapan Chamnan
 
ใบความรู้ที่1
ใบความรู้ที่1ใบความรู้ที่1
ใบความรู้ที่1Orapan Chamnan
 
Handbook2007%20for%20 print
Handbook2007%20for%20 printHandbook2007%20for%20 print
Handbook2007%20for%20 printOrapan Chamnan
 

Mehr von Orapan Chamnan (20)

สอบ LAB 2
สอบ LAB 2สอบ LAB 2
สอบ LAB 2
 
LAB2
LAB2LAB2
LAB2
 
ระบบสอบ2557
ระบบสอบ2557ระบบสอบ2557
ระบบสอบ2557
 
ใบความรู้ที่ 1.4
ใบความรู้ที่ 1.4 ใบความรู้ที่ 1.4
ใบความรู้ที่ 1.4
 
ใบความรู้ที่1.2
ใบความรู้ที่1.2ใบความรู้ที่1.2
ใบความรู้ที่1.2
 
ใบความรู้ที่1
ใบความรู้ที่1ใบความรู้ที่1
ใบความรู้ที่1
 
แนะแนวระบบสอบ2556
แนะแนวระบบสอบ2556แนะแนวระบบสอบ2556
แนะแนวระบบสอบ2556
 
แนะแนวระบบสอบ2555
แนะแนวระบบสอบ2555แนะแนวระบบสอบ2555
แนะแนวระบบสอบ2555
 
ใบความรู้ที่1.2
ใบความรู้ที่1.2ใบความรู้ที่1.2
ใบความรู้ที่1.2
 
ใบความรู้ที่1.1
ใบความรู้ที่1.1ใบความรู้ที่1.1
ใบความรู้ที่1.1
 
Lab2
Lab2Lab2
Lab2
 
องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
 
การจัดการฐานข้อมูล
การจัดการฐานข้อมูลการจัดการฐานข้อมูล
การจัดการฐานข้อมูล
 
ใบความรู้ที่2
ใบความรู้ที่2ใบความรู้ที่2
ใบความรู้ที่2
 
รับครูดนตรี
รับครูดนตรีรับครูดนตรี
รับครูดนตรี
 
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
 
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
 
ใบความรู้ที่1
ใบความรู้ที่1ใบความรู้ที่1
ใบความรู้ที่1
 
Handbook2007%20for%20 print
Handbook2007%20for%20 printHandbook2007%20for%20 print
Handbook2007%20for%20 print
 
Docflash8
Docflash8Docflash8
Docflash8
 

วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม

  • 2.
  • 3.
  • 4.
  • 5.
  • 6.
  • 7.
  • 8.
  • 10.
  • 13.  วรรณคดี = Literature (ศัพท์บัญญัติในสมัยรัชกาลที่ ๖)  ความหมายกว้าง = บทประพันธ์ทุกประเภทที่แต่งขึ้น (ร้อยแก้ว-ร้อยกรอง,แต่ง ดี-แต่งเลว,เล่าสืบต่อกัน)  ความหมายแคบ = เฉพาะบทประพันธ์ที่มีศิลปะการแต่ง, มีคุณค่าทางอารมณ์, ได้รับการยกย่องสืบต่อมายาวนาน  วรรณกรรม = Literary Work (ใช้แพร่หลายในสมัยหลัง)  ความหมาย = บทประพันธ์ทั่วๆไป  *ในที่นี้ใช้คาว่า “วรรณคดี” ในความหมายกว้าง*
  • 14.  ๑. เกิดขึ้นจากความปรารถนาของมนุษย์ในด้านความบันเทิงใจ (การเต้นรา การละเล่น การแสดง)  เริ่มแรกเป็นเสียงและจังหวะ ต่อมามีเนื้อร้อง จนบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
  • 15.  ๒. ความรู้สึกสะเทือนใจ ทั้งสุขหรือทุกข์  เห็นอกเห็นใจ  สงสาร  ตื่นเต้น  ชื่นชม  อารมณ์รัก  อารมณ์ทางเพศ
  • 16.  ๓. ศาสนา ประเพณี พิธีกรรม มนุษย์พึ่งพาอาศัยอานาจเหนือธรรมชาติช่วย บันดาลให้สมหวัง เกิดวรรณคดีประเภทโองการสดุดีเทพเจ้า คาบวงสรวงสังเวย เทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • 17.  ๔. กิจกรรมที่อาศัยจังหวะ ความพร้อมเพรียง และความสนุกสนาน  การพายเรือ การเกี่ยวข้าว ก่อให้เกิดวรรณคดีประเภทกาพย์เห่เรือ เพลง เกี่ยวข้าว  *สรุป วรรณคดีสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก*
  • 18.  ระยะแรก เกิดจากความรู้สึกตามธรรมชาติ ดีใจ=กระโดดโลดเต้น,เปล่งเสียงออกมา,เต้นเป็นจังหวะ  ต่อมามีเครื่องดนตรี(กลอง)ประกอบ  มีเนื้อความสั้นๆซ้าๆ อยู่ในบทร้อง บทขับ คาบวงสรวงสดุดี ไม่ทราบผู้แต่ง เป็น ของส่วนรวม เรื่องราวกลุ่มชน,วีรบุรุษ ภายหลังเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึกส่วน ตน=แสดงบุคลิกลักษณะส่วนตัวของกวี  วรรณคดีแยกออกมาจากการเต้นราและดนตรี ภาษาซับซ้อน ประณีตงดงาม
  • 19.  วรรณคดียุคแรกมักเป็นร้อยกรอง (แสดงถึงความศรัทธา)  ยุคหลังอิทธิพลตะวันตกเป็นร้อยแก้ว (แสดงเหตุผล)
  • 20.  ๑. วรรณคดีเป็นศิลปะ  สัมพันธ์กับศิลปะสาขาอื่น เช่น ภาพนรกสวรรค์จากวรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระ ร่วง  การสร้างความงามและไพเราะเป็นหน้าที่ของศิลปะ  ศิลปะยกจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้นได้ (น้อมใจให้ซาบซึ้งต่อคุณงามความดี)
  • 21.  ๒. วรรณคดีคือชีวิต  วรรณคดีเป็นผลผลิตของมนุษย์ วัตถุดิบสาคัญในการสร้างวรรณคดีคือชีวิต (ความเป็นอยู่ของคน,สภาพแวดล้อมในสังคม)  อ่านวรรณคดี=ได้สัมผัสชีวิต ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมของผู้คนต่างแดน, ต่างชั้นวรรณะ,ต่างเพศ,ต่างวัย,ต่างศาสนา,ต่างยุคสมัย—ผ่านตัวละครใน วรรณคดี  อ่านวรรณคดี=เพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิต,เข้าใจชีวิตหลากหลายที่อาจไม่พบ ในชีวิตจริง,เป็นหลัก/แนวทางในการดาเนินชีวิตในสังคม
  • 22.  ๓. วรรณคดีเป็นเครื่องแสดงออกทางสังคม  แหล่งกาเนิดของวรรณคดี=ผู้คน+สภาพแวดล้อมในสังคมที่ผู้ประพันธ์พบ เห็น  วรรณคดีสะท้อนลักษณะของสังคม  เมื่อสังคมพัฒนาไปตามยุคสมัย วรรณคดีก็มีวิวัฒนาการสอดคล้องกับ ลักษณะของสังคม
  • 25.  วรรณคดีสมัยสุโขทัย  วรรณคดีสมัยอยุธยา  วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น  วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง  วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย  วรรณคดีสมัยธนบุรี
  • 26.  วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์  วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร.๑-ร.๓)  วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๔-พ.ศ. ๒๔๗๕  วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๔  วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๕  วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๖  วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๗
  • 27.  วรรณคดีสมัย พ.ศ. ๒๔๗๕-ปัจจุบัน  พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๗  พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๕๐๐  พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๑๙  พ.ศ. ๒๕๒๐-ปัจจุบัน  สรุปวิวัฒนาการวรรณคดีไทย
  • 28.  ลายลักษณ์อักษร=พ่อขุนรามคาแหงมหาราช  วรรณคดีสรรเสริญพระเกียรติเรื่องแรกของไทย ศิลาจารึกหลักที่ ๑  เรื่องเด่น+สมบูรณ์สุด=ไตรภูมิพระร่วง ของพระยาลิไทย ใช้เทศน์โปรดพระ ราชมารดาและประชาชน กล่าวถึงไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ  สุภาษิตพระร่วง มุ่งสอนคนทั่วไปให้ประพฤติเป็นคนดี อยู่ร่วมกับคนอื่นใน สังคมได้
  • 29.  ส่วนใหญ่เป็นร้อยแก้ว ร้อยกรองเรื่องเดียว คือ สุภาษิตพระร่วง  ภาษาเริ่มจากเป็นคาไทยแท้ ประโยคสั้นๆ แล้วเริ่มใช้คาบาลี สันสกฤต เขมร ราชาศัพท์ ประโยคยาวซับซ้อนขึ้น  สรุป วรรณคดียุคนี้มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองแฝงอยู่  บันทึกสังคม ทั้งผู้นาและผู้คนในสังคม  กาหนดอุดมการณ์ทางจริยธรรมของประชาชน เพื่อสร้างความมั่นคงแก่ชาติ และผู้นา  ปลุกจิตสานึกให้เป็นคนดีในสังคม
  • 30.  เริ่มสถาปนาบ้านเมือง ต้องการความสามัคคี ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีต่อ ผู้นา เกิด ลิลิตโองการแช่งน้า ให้พราหมณ์สวดในพระราชพิธีถือ น้าพระพิพัฒน์สัตยา,เนื้อหาอัญเชิญเทพเจ้า+ภูติผีให้มาเป็นพยาน+สาปแช่งผู้ ทรยศ+อวยพรผู้จงรักภักดี  ลิลิตยวนพ่าย สรรเสริญสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ=เทวราชา,กล่าวถึงการชนะ สงครามต่อพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา  มหาชาติค้าหลวง นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่งเรื่องของพระพุทธเจ้า เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร จากพระบรมราชโองการของสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถ เห็นพระราชประสงค์ที่จะปลูกฝังความศรัทธาและค่านิยมการฟังเทศน์ มหาชาติจนยึดกันเป็นประเพณี
  • 31.  ลิลิตพระลอ วรรณคดีนิทานนิยาย มีเค้าเรื่องจริงทางภาคเหนือ เนื้อเรื่องเป็น โศกนาฏกรรมที่แฝงไว้ด้วยปรัชญา  ก้าสรวลโคลงดัน(ก้าสรวลศรีปราชญ์) วรรณคดีแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของกวี  ทวาทศมาส นิราศเรื่องเด่นเชิงโวหารที่ครวญถึงนาง มีผู้ยึดเป็นแบบอย่างในการ แต่งนิราศในสมัยต่อมา  สรุป เนื้อหาสูงส่งศักดิ์สิทธิ์ ภาษาและฉันทลักษณ์ยาก=แต่งโดยคนชั้นสูง, เพื่อ คนชั้นสูง
  • 32.  วรรณคดีส่วนใหญ่เกิดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  สมุทรโฆษค้าฉันท์ โปรดให้พระมหาราชครูแต่งเพื่อใช้พากย์หนัง  จินดามณี แฝงการเมือง เป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก พระโหราธิบดีแต่ง ต่อต้านวัฒนธรรมตะวันตกด้านภาษา  โคลงทศรถสอนพระราม,โคลงพาลีสอนน้อง,โคลงราชสวัสดิ์=วรรณคดีคาสอนที่ มุ่งสอนชนชั้นที่มีบทบาทต่อบ้านเมือง ให้ตระหนักในหน้าที่ สอดคล้องสภาพ สังคมที่รุ่งเรืองแต่มีข้อขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับข้าราชการ
  • 33.  โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ ข้าราชการที่ภักดี คือ พระศรีมโหสถ เสนอภาพกษัตริย์ที่มีพระบรมเดชานุภาพและบุญญาบารมี  ค้าฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของขุนเทพกวี แต่งเพื่อใช้ในพิธีสมโภชช้างเผือก ให้ช้างละพยศมาอยู่คู่พระบารมี  อนิรุทธค้าฉันท์ ศรีปราชญ์แต่งด้วยขนบแบบใหม่ (ไม่มีบทไหว้ครูตอนต้นเรื่อง) เนื้อเรื่องมีการอุมสม ้  กาพย์ห่อโคลง ของพระศรีมโหสถ สภาพสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชนในพระนคร
  • 35.  วรรณคดีส่วนใหญ่เกิดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชโอรสก็ทรงเป็นกวี สาคัญ คือ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ทางโลก+ทางธรรม  ทางธรรม=นันโทปนันทสูตรค้าหลวง+พระมาลัยค้าหลวง (มีอิทธิพลต่อความ เชื่อเรื่องนรกสวรรค์,พระศรีอาริยเมตไตรยของคนไทย)  ทางโลก=กาพย์เห่ชมเรือ เห่ปลา เห่นก เห่ไม้ และเห่ครวญ, กาพย์ห่อโคลง ประพาสธารทองแดง (ต่างจากขนบนิราศเพราะพรรณนาธรรมชาติที่พบ มากกว่าการครวญถึงนาง)
  • 37.  กลอนบทละคร=ดาหลัง ของเจ้าฟ้ากุณฑล+อิเหนา ของเจ้าฟ้ามงกุฎ (บรรยากาศแปลกใหม่เพราะได้เค้าเรื่องมาจากชวา)  บทละครนอกอีก ๑๕ เรื่อง=รามเกียรติ์,สังข์ทอง,โม่งป่า,พิกุลทอง, มโนห์รา ฯลฯ  สรุป วรรณคดีขยายจากราชสานักสู่ประชาชนในรูปแบบของการแสดง คือ ละคร นอก วรรณคดีง่ายกว่าสมัยอยุธยาตอนต้นและตอนกลาง ที่เห็นได้ชัดคือมีกวี หญิงเกิดขึ้นแล้ว
  • 39.  บ้านเมืองเต็มไปด้วยศึกสงคราม แต่มีวรรณคดีไม่น้อย  นิทาน ๓ เรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตัดตอนมา ๔ ตอนเพื่อใช้เป็นบทเล่นละคร  อิเหนาค้าฉันท์ ของหลวงสรวิชิต(หน) แต่งเพื่อความบันเทิงและแสดงฝีปากเชิง กวี เหมือนเรื่อง ลิลิตเพชรมงกุฎ นิทานย่อยเรื่องแรกที่แทรกในนิทานเวตาล ปกรณัม สนุก ประเทืองปัญญา  กฤษณาสอนน้องค้าฉันท์ พระภิกษุอินท์และพระยาราชสุภาวดีแต่งซ่อมฉบับ อยุธยา แต่สานวนโวหารไม่ดีเท่า  นิราศกวางตุ้ง กลอนนิราศเรื่องแรกที่มีฉากต่างประเทศ
  • 40.  สรุป วรรณคดีสมัยธนบุรีไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาทั้งแนวเรื่องและรูปแบบ กวี เลือกตัดตอนสั้นๆจากเรื่องเดิมที่นิยม ถ้าแต่งเองก็มีลักษณะเด่นที่มีการแสดง ความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
  • 41.  สมัยรัชกาลที่ ๑  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็น ราชธานี มีพระราชปณิธานคือสร้างความเข้มแข็งให้บ้านเมืองทุกด้าน (การเมือง การปกครอง, เศรษฐกิจและสังคม) ยึดกรุงศรีอยุธยาเป็นแม่แบบ
  • 42.  ทรงฟื้นฟูวรรณคดีทุกประเภท ประเภทประเพณีพิธีการ=ลิลิตพยุหยาตราเพชร พวง โดยเจ้าพระยาพระคลัง(หน)  ประเภทกฎหมาย โปรดให้ชาระกฎหมายโบราณ คือ กฎหมายตราสามดวง เพื่อ เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ  ประเภทพงศาวดาร ให้เรียบเรียงพงศาวดารไทยและพงศาวดารมอญ  ประเภทศาสนา=ไตรภูมิโลกวินิจฉัย นาเค้าโครงมาจากไตรภูมิพระร่วงฉบับพระ ยาลิไทย แต่ขยายความให้ละเอียดพิสดารมากยิ่งขึ้น
  • 43.  ประเภทนิทานนิยาย ให้เจ้านายและข้าราชการช่วยกันรวบรวมแต่งบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ อิเหนา ดาหลัง และอุณรุท และตราเป็นบทพระราชนิพนธ์ต้นฉบับ สาหรับพระนคร  ทรงพระราชนิพนธ์เอง=นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง และให้กวีเรียบเรียงขึ้นใหม่= ราชาธิราช (มอญ) สามก๊ก (จีน) ไซฮั่น (จีน) นิทานอิหร่านราชธรรม (แขก เปอร์เซีย) ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในวงการวรรณคดีไทยเพราะนาเค้าเรื่องมา จากแหล่งอื่นที่มิใช่อินเดียและชวาเหมือนอดีต
  • 45.  โคลงสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระชานิ- โวหารแต่งเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อรัชกาลที่ ๑  สรุป ในสมัยรัชกาลที่ ๑ วรรณคดีนิทานนิยายหรือแสดงอารมณ์มักมีลักษณะร่วม กันคือเกี่ยวข้องกับการสงคราม เพราะกวีส่วนใหญ่เป็นนักรบและเป็นช่วงที่ยังมี ศึกสงครามอยู่มาก เรื่องเหล่านี้อาจช่วยกระตุ้นจิตสานึกของบุคคลในบทบาทของ ตนได้ งานไม่ดีเด่นด้านวรรณศิลป์มากเพราะมุ่งรวบรวมต้นฉบับให้สมบูรณ์ มากกว่า
  • 46.  สมัยรัชกาลที่ ๒  เป็น “ยุคทองของวรรณคดี” เพราะบ้านเมืองดี ลักษณะของวรรณคดีเปลี่ยนไปคือ รัชกาลที่ ๒ มุ่งปรับปรุงวรรณคดีให้มีสุนทรียะยิ่งขึ้น  รัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีขึ้นใหม่ร่วมกับกวีในราชสานัก คือ รามเกียรติ์ อิเหนา เพื่อใช้กับการแสดง (ตัวละครงาม รางาม ร้องเพราะ พิณ พาทย์เพราะ กลอนเพราะ)  ทรงเลือกบทละครนอกสมัยอยุธยามาพระราชนิพนธ์ใหม่ ๕ เรื่อง คือ สังข์ทอง คาวี ไกรทอง มณีพิไชย และไชยเชษฐ์ พระราชโอรสคือพระเจ้าลูกยาเธอ กรม หมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงนิพนธ์เรื่องสังข์ศิลป์ชัย
  • 47.  เสภาขุนช้างขุนแผน มาจากนิทานพื้นบ้านมีเค้าเรื่องจริงสมัยอยุธยา รัชกาลที่ ๒ โปรดให้กวีรับไปแต่งเป็นตอนๆ กลายเป็นบทขับเสภาที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะเนื้อเรื่องสนุกและสมจริง สะท้อนสังคมอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น สานวนกลอนก็คมคาย  สุนทรภู่เป็นกวีในราชสานักมีลีลากลอนเป็นเอกลักษณ์ มีจินตนาการเป็นเลิศ ประสบการณ์กว้างไกล แต่งเรื่องพระอภัยมณี ลักษณวงศ์ สิงหไกรภพ และ โคบุตร(สมัยร.๑)
  • 48.  ที่เด่นอีกคือนิราศนรินทร ของนายนรินทร์ธิเบศร ได้รับอิทธิพลจากก้าสรวลโคลง ดันและทวาทศมาส  โคลงนิราศถลางและเพลงยาวของพระยาตรังก็เด่นไม่แพ้กัน แต่ไม่แพร่หลายเท่า  มีวรรณคดียอพระเกียรติสองเรื่อง คือ โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ พุทธเลิศหล้านภาลัย พระนิพนธ์พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และ โคลงดันเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของพระยา ตรังคภูมิบาล มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาก
  • 49.  สรุป วรรณคดีการแสดงทั้งบทเสภาและบทละครนอกขยายออกไปนอกราชสานัก มากขึ้น กลอนได้รับอิทธิพลจากลีลากลอนของสุนทรภู่ คือ มีสัมผัสในแพรวพราว และจังหวะลื่นไหล
  • 50.  สมัยรัชกาลที่ ๓  วรรณคดีนิทานนิยายจากชาดกพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม พระปรมานุชิตชิโนรส=สมุทรโฆษค้าฉันท์ นิพนธ์ต่อจากสมัยอยุธยา และร่าย ยาวมหาเวสสันดรชาดก  สุนทรภู่แต่ง กาพย์พระไชยสุริยา ขึ้นในสมัยนี้ เป็นเรื่องสั้นแต่วิพากษ์วิจารณ์ สังคมและมีคติสอนใจ ใช้ประกอบการเรียนภาษาไทยทาให้เป็นที่รู้จักกว้างขวาง
  • 51.  นิยายที่เป็นสีสันคือบทละครเรื่องระเด่นลันได ของพระมหามนตรี(ทรัพย์) ตัว ละครเป็นคนชั้นต่าคือแขกขอทานเป็นชู้กับแขกเลี้ยงวัวจนเกิดเรื่องขึ้น กวีตั้งใจ วิจารณ์เรื่องอิเหนาและเสียดสียั่วล้อคนในสังคม
  • 52. มาจะกล่าวบทไป ถึงระเด่นลันไดอนาถา เสวยราชย์องค์เดียวเที่ยวราภา ตามตลาดเสาชิงช้าหน้าโบสถ์พราหมณ์ อยู่ปราสาทเสาคอดยอดด้วน กาแพงแก้วแล้วล้วนด้วยเรียวหนาม มีทหารหอนเห่าเฝ้าโมงยาม คอยปราบปรามประจามิตรที่คิดร้าย เที่ยวสีซอขอข้าวสารทุกบ้านช่อง เป็นเสบียงเลี้ยงท้องของถวาย ไม่มีใครชิงชังทั้งหญิงชาย ต่างฝากกายฝากตัวกลัวบารมี พอโพล้เพล้เวลาจะสายัณห์ ยุงชุมสุมควันแล้วเข้าที่ บรรทมเหนือเสื่อลาแพนแท่นมณี ภูมีซบเซาเมากัญชา
  • 53.  เรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์เสียดสีข้าราชบริพารนอกและในราชสานัก คือ เพลงยาวว่า กระทบพระยามหาเทพ ของพระมหามนตรี(ทรัพย์) และเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ด สวรรค์ ของคุณสุวรรณ  สุนทรภู่ต้องเร่ร่อนจึงเขียนนิราศไว้หลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศเมือง สุพรรณ มีประวัติกวี การวิพากษ์วิจารณ์ชีวิตและสังคมที่พบเจอมาตลอดชีวิต
  • 54.  หมื่นพรหมสมพัตสร (นายมี) ถนัดลีลากลอนของสุนทรภู่ แต่งนิราศเดือน นิราศ พระแท่นดงรัง  วรรณคดีคาสอนเด่นมาก โดยเฉพาะเรื่องปฐมสมโพธิกถา ของสมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เนื้อหาละเอียดเป็นเลิศในหนังสือพุทธ ประวัติทั้งปวง โคลงโลกนิติ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชา- ดิศร รวบรวมจากฉบับกรุงเก่า  มีวรรณคดีสอนสตรี ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑. กฤษณาสอนน้องค้าฉันท์ พระนิพนธ์ สมเด็จฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ให้ไพเราะกว่าฉบับกรุงธนบุรี
  • 55.  ๒. สุภาษิตสอนหญิง (สุนทรภู่) และ ๓. ต้ารับนางนพมาศ (ก่อนเชื่อว่าแต่งสมัย สุโขทัยโดยนางนพมาศ) เกี่ยวกับประเพณีพิธีการแต่ก็สอนสตรีแทรกด้วย  วรรณคดียอพระเกียรติ=ลิลิตตะเลงพ่าย ของสมเด็จฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีสีสันมาก โคลงดันเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ สรรเสริญพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  สมัยนี้มีการจัดตั้งโรงพิมพ์ขึ้น หมอบรัดเลออกหนังสือพิมพ์ “บางกอกรีคอร์เดอร์”
  • 56.  สรุป วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นง่ายกว่าอยุธยา กลอนเป็นที่นิยม มี วรรณคดีเกิดขึ้นเป็นจานวนมากและมีคุณภาพอีกด้วย
  • 57.  สมัยรัชกาลที่ ๔  มีการล่าอาณานิคมอย่างรุนแรง ร.๔ จึงต้องเปิดประเทศและพัฒนาสังคมไทย โดยมีวัฒนธรรมตะวันตกเป็นแบบอย่าง เพื่อเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยม (คนชั้นสูง)  วรรณคดีส่วนใหญ่ยังคงสืบต่อมาจากอดีต นิทานนิยายเป็นเรื่องเดิม แต่ที่ น่าสนใจคือบทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่องและพระมะเหลเถไถของคุณสุวรรณ ซึ่ง ถูกวิจารณ์ว่าสติฟั่นเฟือนขณะแต่ง แต่เรื่องกลับมีเนื้อหาและวิธีการแต่งที่แปลก สร้างความตลกขบขันได้ดี
  • 58. เมื่อนั้น พระมะเหลเถไถมะไหลเถ เสด็จขึ้นพลับพลามะลาเท มะไหลถอนนอนเอ้ทะเวกา ........................... ............................ อันลูกท้าวไทมะไลที เลิศล้านารีมะลีกา ชื่อนางตะแลงแกงมะแลงกา วาสนาควรคู่มะลูตอง ........................... ............................ คิดพลางทางอิงมะลิงออง ค่อยประคองปลุกนางมะลางฉู เจ้างามชื่นตื่นเถิดมะเลิศตู แล้วเล้าโลมโฉมตรูมะลูเตา
  • 59.  นิราศยังคงแต่งตามขนบที่ต่างไปก็มีนิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย มีฉาก เป็นประเทศตะวันตก ใช้คาทับศัพท์ภาษาอังกฤษ และเป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่ ซื้อขายลิขสิทธิ์โดยหมอบรัดเล  วรรณคดีสื่อมวลชนเริ่มมีมากขึ้น คือ มีนสพ.ถึง ๘ ฉบับ ทั้งไทยและอังกฤษ
  • 60.  สมัยรัชกาลที่ ๕  แรงกดดันจากประเทศมหาอานาจตะวันตกยิ่งรุนแรงมากขึ้น ร.๕ จึงต้องเร่ง ปรับปรุงประเทศครั้งใหญ่เพื่อให้พ้นจากการล่าอาณานิคม มีทั้งการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างระบบบริหารราชการ การปฏิรูปการศึกษา การเผยแพร่อุดมการณ์ ประชาธิปไตย สื่อมวลชนขยายตัว ล้วนมีผลต่อวรรณคดีไทย คือ หันไปทาง ตะวันตกอย่างเห็นได้ชัด
  • 61.  วรรณคดีสมัย ร.๕ แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ วรรณคดีแบบเดิม และวรรณคดี สมัยใหม่  วรรณคดีแบบเดิม คือ วรรณคดีร้อยกรองแบ่งได้เป็นประเภทยอพระเกียรติ เช่น เพลงยาวเฉลิมพระเกียรติ ของคุณพุ่ม ซึ่งเป็นกวีหญิง  ประเภทนิทานนิยาย เช่น พระราชนิพนธ์บทละครยั่วล้อเรื่อง วงศ์เทวราช ลิลิต นิทราชาคริต บทละครเรื่องเงาะป่า (ผสมผสานวัฒนธรรมเก่าและใหม่ของการ แต่งวรรณคดี คือ เนื้อหาเป็นนวนิยายแต่แต่งเป็นกลอนบทละคร)
  • 62.
  • 63.  ประเภทนิราศ นิราศหนองคาย ของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี น่าสนใจที่สุด เพราะ เป็นจดหมายเหตุบันทึกสภาพสังคมศักดินาและไพร่ วิพากษ์วิจารณ์อย่าง ตรงไปตรงมาและรุนแรงจนหนังสือถูกสั่งเผา และกวีถูกจาคุก  วรรณคดีแบบใหม่ แต่งเป็นร้อยแก้ว มีหลายลักษณะ เช่น ประเภทสารคดี คือ ตาราแบบเรียน จดหมายเหตุ พงศาวดาร กฎหมาย เช่น แบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร)  ประเภทวิชาการ เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ ร.๕
  • 64.  ประเภทสารคดีชีวประวัติ เช่น บทพระราชนิพนธ์ ไกลบ้าน  ประเภทปทานุกรม พจนานุกรม ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่น อักขราภิธานศรัพท์ ของหมดบรัดเล  ประเภทบันเทิงคดีรูปแบบใหม่ที่รับมาจากตะวันตกคือเรื่องสั้นและนวนิยาย สนุกนิ์นึก ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชาการ เป็นเรื่องแรก แต่ง ได้อย่างสมจริง  นวนิยายเรื่องแรก คือ ความพยาบาท ของแม่วัน (พระยาสุรินทรราชา) แปลมา จากนวนิยายภาษาอังกฤษ
  • 65.  ครูเหลี่ยม (หลวงวิลาศปริวัตร) ได้รับแรงบันดาลใจแต่งนวนิยายไทยแท้ๆขึ้น คือ เรื่องความไม่พยาบาท ที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ หัวใจชายหนุ่ม ของรามจิตติ (ร.๖) ช่วงนี้นวนิยายส่วนใหญ่แปลและนาเค้าโครงมาจากต่างประเทศ  เกิดบทละครแบบใหม่จากวัฒนธรรมตะวันตกผสมผสานกับนิทานนิยายของไทย เช่น บทละครดึกด้าบรรพ์เรื่องอิเหนา บทละครพันทางเรื่องราชาธิราช บทละคร ร้องเรื่องสาวเครือฟ้า
  • 66.  วรรณคดีสื่อมวลชนขยายตัวมาก มีนสพ.และนิตยสารประมาณ ๕๐ ฉบับ นสพ. ฉบับแรกของคนไทย คือ ดรุโณวาท ส่วนวชิรญาณและวชิราณวิเศษ เป็นนสพ. ของหอพระสมุดวชิรญาณที่สาคัญมาก  วรรณคดีสาหรับเด็ก แบบเรียนและอ่านประกอบ เช่น นิทานอีสป นิทานสุภาษิต  สรุป วรรณคดีสมัย ร.๕ เริ่มเปลี่ยนไปตามตะวันตกทั้งเนื้อหาและรูปแบบ เช่น การใช้นามแฝง เริ่มมีนักเขียนที่เป็นสามัญชนที่มีการศึกษาและแนวคิดแบบ ตะวันตก
  • 67.  สมัยรัชกาลที่ ๖  ร.๖ ทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ศึกษาในประเทศตะวันตก ในสมัยนี้มี ความเจริญทั้งด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นับว่าเป็นยุคทองของ วรรณคดีอีกยุคหนึ่ง ประชาชนเริ่มมีการศึกษาและมีพวกนสพ.มากขึ้น วรรณคดี จึงขยายออกไปสู่ประชาชนกว้างขวางขึ้น  วรรณคดีแบบเดิมยังคงนิยมอยู่ มีพัฒนาการด้านเนื้อหาและรูปแบบบ้าง มีการ แต่งวรรณคดีนิทานนิยายจากวรรณคดีสันสกฤต เรื่องที่เด่นๆ คือ บทพระราช นิพนธ์เรื่องพระนลค้าหลวง ศกุนตลา สาวิตรี ของกวีอื่น เช่น นิทานเวตาล กนกนคร ของ น.ม.ส.
  • 68.  ประเภทนิราศ นิราศนครวัด ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารง ราชานุภาพ นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีประเภทยอพระเกียรติ และวรรณคดี ประเภทศาสนาและคาสอน (เทศนาเสือป่า พระนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖)  วรรณคดีแบบใหม่ รุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะบทละครพูด ส่วนใหญ่เป็นบทพระ ราชนิพนธ์ เช่น มัทนะพาธา หัวใจนักรบ เวนิสวานิช วิวาหพระสมุท หลวง จ้าเนียรเดินทาง  นวนิยายและเรื่องสั้นได้รับความนิยมมาก นวนิยายมีหลายแนวทั้งชีวิตรัก ผจญภัย อาชญนิยาย อิงพงศาวดาร หัสนิยาย
  • 69.  นวนิยายแปลเป็นที่นิยมมากที่สุดทั้งจีนและตะวันตก เช่น เชอร์ลอกโฮล์มส์ ของ แม่สะอาด  น่าสังเกตว่าแต่งเรื่องสั้นและนวนิยายเองน้อยกว่าแปล  มีหนังสืออ้างอิงประเภทพจนานุกรม ปทานุกรม บทความ สารคดีเชิงวิชาการ (บ่อเกิดรามเกียรติ์) บทความและสารคดีเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจนิยมเขียนลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เพราะ ร.๖ ทรงพระราชทานสิทธิ เสรีภาพทางความคิดเป็นอย่างมาก (โคลนติดล้อ เมืองไทยจงตื่นเถิด ยิวแห่ง บูรพาทิศ) ปลุกใจคนไทยเรื่องชาตินิยม
  • 70.  มีวรรณคดีสื่อมวลชน ๑๕๐ ฉบับ มีทั้งของกษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง สามัญชน และเริ่มมีการ์ตูนล้อการเมือง  สรุป วรรณคดีร้อยแก้วได้รับความนิยม แต่ร้อยกรองก็ยังคงมีอยู่ ร.๖ ทรง สนับสนุนงานของกวีเป็นอย่างมาก
  • 71.  สมัยรัชกาลที่ ๗  เศรษฐกิจตกต่าที่สุด ประชาชนที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศประกอบกับ สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อมวลชน ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ทาให้ชนชั้นกลางมีบทบาทสูงแทบทุกด้านรวมทั้งวรรณคดี
  • 72.  วรรณคดีไทยเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด คือ ร้อยกรองเรื่องยาวลดจานวนลง มาก  นวนิยายและเรื่องสั้นพัฒนาไปมาก มีแนวใหม่ๆ เช่น ละครแห่งชีวิต ของ ม.จ. อากาศดาเกิง รพีพัฒน์ เป็นนวนิยายชีวิตต่างแดน ศัตรูของเจ้าหล่อน ของ ดอกไม้สด เป็นนวนิยายชีวิตครอบครัว สงครามชีวิต ของศรีบูรพา แสดง ความคิดวิพากษ์วิจารณ์ชีวิตและสังคม  ประเภทตารา บทความ สารคดีเพิ่มจานวนขึ้น
  • 74. -สรุป วรรณคดี ร.๔-พ.ศ. ๒๔๗๕ -กวี นักเขียน นักนสพ.มีสิทธิเสรีภาพในการแต่งวรรณคดีสะท้อนสังคมและ การเมือง การเมืองก็มีอิทธิพลต่อลักษณะของวรรณคดีสูง -วรรณคดีอนุรักษ์ยังมีอยู่แต่มีจานวนลดลง -วรรณคดีแบบใหม่ที่แต่งเพื่อสื่อความคิดมีจานวนมากขึ้น ผกผันไปตาม การเมืองการปกครองและสังคม
  • 75.  พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๗ ระยะแรกเป็นนวนิยายชีวิตครอบครัว ชนชั้นสูงได้รับ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ ผู้ดี และหนึ่งในร้อย ของดอกไม้ สด  หญิงคนชั่ว ของ ก.สุรางคนางค์ เห็นอกเห็นใจชีวิตของโสเภณี  ผู้ชนะสิบทิศ ของยาขอบ นวนิยายอิงพงศาวดารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด  ขุนศึก ของไม้เมืองเดิม นวนิยายอิงพงศาวดารมีบรรยากาศลูกทุ่ง  ข้างหลังภาพ ของศรีบูรพา นวนิยายรักต่างวัยจบลงด้วยความสะเทือนใจ
  • 77.  นโยบายรัฐนิยมของจอมพล ป. พิบูลสงครามเรื่องการส่งเสริมวัฒนธรรม การ เปลี่ยนแปลงการเขียนหนังสือไทย และการควบคุมงานเขียนให้อยู่ในกรอบแห่ง ศีลธรรม ทาให้นักเขียนถูกจากัดสิทธิเสรีภาพ บางคนเลิกเขียน บางคนเลี่ยงไป เขียนนวนิยายต่างแดน เช่น สด กูรมะโรหิต เขียนปักกิ่งนครแห่งความหลัง  สามกรุง ของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นร้อยกรองเรื่องยาว แนวอนุรักษ์ สรรเสริญพระเกียรติกษัตริย์ในอดีต วิพากษ์วิจารณ์ผู้นาระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ ๒ อย่างเข้มข้น
  • 78.  หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ บ้านเมืองได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ประชาชนมี สิทธิเสรีภาพมากขึ้น บรรยากาศทางวรรณคดีผ่อนคลายลง นักเขียนเก่าๆผลิต ผลงานอีกครั้งหนึ่ง และมีนักเขียนใหม่เกิดขึ้น  ที่น่าสังเกตคือมีนวนิยายพาฝันมากเป็นพิเศษ เช่น บ้านทรายทอง ดอกฟ้าและ โดมผู้จองหอง ของ ก.สุรางคนางค์  หัสนิยาย(นิยายขบขัน) = ชุด พล นิกร กิมหงวน ของ ป.อินทรปาลิต  นวนิยายรักของชนชั้นสูง = ปริศนา ของ ว.ณ.ประมวญมารค  นิวนิยายอิงประวัติศาสตร์ = สี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
  • 80.  นักเขียนก้าวหน้าผลิตผลงานมาก สะท้อนชีวิตปัญญาชน แสดงทัศนะเกี่ยวกับ ชีวิตและปัญหาของสังคม เช่น ความรักของวัลยา ปีศาจ (เสนีย์ เสาวพงศ์) แผ่นดินของเรา (แม่อนงค์) แลไปข้างหน้า (ศรีบูรพา)  เรื่องสั้นเฟื่องฟูมาก ศรีบูรพา, เสนีย์ เสาวพงศ์, มนัส จรรยงค์, ลาว คาหอม, อาจินต์ ปัญจพรรค์, รงค์ วงษ์สวรรค์ มักจบแบบหักมุม
  • 81.  จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรีปกครองแบบเผด็จการ สิทธิเสรีภาพ ของนักเขียนถูกจากัดมากกว่าครั้งใด นักเขียนถูกจับ หนังสือพิมพ์ถูกปิดตัว  วรรณคดีนวนิยาย เรื่องสั้น ร้อยกรองประเภทชีวิตรักพาฝัน ครอบครัว บู๊ล้าง ผลาญมีมาก เช่น จ้าเลยรัก ของชูวงศ์ ฉายะจินดา ดาวพระศุกร์ ของ ข.อักษรา พันธ์ สลักจิตร ของ บุษยมาศ
  • 82. จาเลยรัก ชูวงศ์ ฉายะจินดา  ดาวพระศุกร์ ข.อักษราพันธ์
  • 83.  จอมพลถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี นักเขียนมีเสรีภาพมากขึ้น นวนิยาย แนวตลาดยังนิยม อีกส่วนหนึ่งพัฒนาแนวสมจริง ซับซ้อน มีวรรณศิลป์ สะท้อน ปัญหาสังคม ให้สาระและแง่คิดนอกจากความบันเทิง เช่น เรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน จดหมายจากเมืองไทย ของโบตั๋น เขาชื่อกานต์ ของสุวรรณี สุคนธา  หลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ นักเขียน นักอ่าน นักวิจารณ์มากขึ้น มีนวนิยายแนว การเมืองเกิดขึ้น ตื่นตัวกับประชาธิปไตยมากขึ้น เช่น พิราบแดง ของสุวัฒน์ วรดิลก ต้าบลช่อมะกอก ของวัฒน์ วรรลยางกูร
  • 84. กูเป็นนิสิตนักศึกษา โดย  กูเป็นนิสิตนักศึกษา วาสนาสูงส่งสโมสร ย่าค่านี่จะย่าไปงานบอลล์  กูเป็นนิสิตนักศึกษา เสพเสน่ห์เกสรสุมาลี เจ้าขี้ข้ารู้จักกูหรือไหม หัวเข็มขัด กลัดกระดุม ปุ่มเน็คไทร์ กูเป็นนิสิตนักศึกษา หลีกไปหลีกไปอย่ากีดทาง พริ้งสง่างามผงาดเพียงราชสีห์ มันสมองของสยามธานี กูเป็นนิสิตนักศึกษา ค่านี้กูจะนาบให้หนาใจ มหาวิทยาลัยอันกว้างขวาง ศึกษาสรรพรสมิเว้นวาง เมืองกว้างช้างหลายสบายดี
  • 85. กูเป็นนิสิตนักศึกษา โดย  กูเป็นนิสิตนักศึกษา  กูเป็นนิสิตนักศึกษา เดินเหินดูสง่ามีราศี หรูหราแหลมหลักอัครฐาน ย่าค่ากูจะย่าทั้งราตรี พรุ่งนี้ก็ต้องไปร่วมงาน กรุงศรีอยุธยามาราธอน สังสรรค์ในระดับปริญญา ได้โปรดฟังกูเถิดสักนิด เฮ้ย กูเป็นนิสิตนักศึกษา กูเป็นนิสิตนักศึกษา มีสติปัญญาเยี่ยมสิงขร เงียบโว้ย-ฟังกู--ปรัชญา ให้พระอินทร์เอาพระขรรค์มาบั่นรอน กูอยู่มหาวิทยาลัย... อเมริกามาสอนกูเชี่ยวชาญ ...กูอยู่มหาวิทยาลัย รู้ไหม เห็นไหม ดีไหม อีกไม่นานเราก็ต่างจะตายไป กอบโกยใส่ตัวเองเสียก่อนเอย.
  • 86. เพลงเถือนแห่งสถาบัน โดยวิทยากร เชียงกูล ่  ดอกหาง นกยูง สีแดงฉาน บานอยู่เต็มฟากสวรรค์  ฉันมา ฉันเห็น ฉันแพ้ คนเดินผ่าน ไปมากัน เขาด้นดั้น หาสิ่งใด ยินแต่ เสียงด่า ว่าโง่เง่า เพลงที่นี่ ไม่หวาน เหมือนบ้านเรา ปัญญา มีขาย ที่นี่หรือ ใครไม่เข้า ถึงพอ เขาเยาะเย้ย จะแย่งซื้อ ได้ที่ไหน อย่างที่โก้ หรูหรา ราคาเท่าใด นี่จะให้ อะไร กันบ้างไหม จะให้พ่อ ขายนา มาแลกเอา มหาวิทยาลัย ใหญ่โตเหวย แม้นท่าน มิอาจให้ อะไรเลย วานนิ่งเฉย อย่าบ่น อย่าโวยวาย
  • 87. เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน โดยวิทยากร เชียงกูล  ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึง มาหา ความหมาย ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว มืดจริงหนอ สถาบัน อันกว้างขวาง ปล่อยฉัน อ้างว้าง ขับเคี่ยว เดินหา ซื้อปัญญา จนหน้าเซียว เทียวมา เทียวไป ไม่รู้วัน
  • 88. เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน โดยวิทยากร เชียงกูล  ดอกหาง นกยูง สีแดงฉาน บานอยู่เต็ม ฟากสวรรค์ เกินพอ ให้เจ้า แบ่งปัน จงเก็บกัน อย่าเดิน ผ่านเลยไป
  • 89.  หลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ร้อยกรองเพื่อชีวิตเฟื่องฟูมาก มาจากนิสิตนักศึกษา ได้รับอิสระอย่างเต็มที่ และขาดหายไปเมื่อเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เพราะนักเขียนก้าวหน้าถูกจับ ลี้ภัยในป่า หนังสือแนวก้าวหน้าถูกทาลาย  ร้อยกรองแนวอนุรักษ์มีอย่างสม่าเสมอ เช่น นิราศขุนช้างขุนแผน ลิลิตสมเด็จพระ เจ้าตากสินมหาราช เพลงยาวอยุธยาวสาน เป็นต้น  บทความและสารคดีทางการเมืองไม่รุ่งเรือง แต่เชิงวิชาการมีเป็นจานวนมาก  เป็นยุคทองของวรรณคดีเด็กและเยาวชน เพราะได้รับการส่งเสริมจากรัฐและ เอกชน มีทั้งสารคดีและบันเทิงคดี
  • 90.  หลัง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ นายธานินทร์ กรัยวิเชียรกวาดล้างคอมมิวนิสต์ วงการ วรรณคดีซบเซา หนังสือพิมพ์และนิตยสารที่ยอดสูงจะไม่เกี่ยวกับการเมืองมาก นัก เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ สกุลไทย ฟ้าเมืองไทย ขวัญเรือน เป็นต้น  มีนวนิยายเรื่องสั้นเบาสมองมาก นวนิยายแปลเฟื่องฟู  สมัยของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ การเมืองคลี่คลาย วรรณคดีก้าวหน้าหรือ เพื่อชีวิตกลับมามีบทบาทอีกครั้ง แต่ไม่รุ่งเท่าเดิม มีนวนิยายและเรื่องสั้น ประเภทพาฝัน สะท้อนสังคม และวิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างน่าสนใจ เช่น ลูก อีสาน ของคาพูน บุญทวี ผู้หญิงคนนันชื่อบุญรอด ของโบตั๋น ค้าพิพากษา ของ ชาติ กอบจิตติ งู ของวิมล ไทรนิ่มนวล แม่เบีย ของวาณิช จรุงกิจอนันต์ ตลิ่งสูง ซุงหนัก ของนิคม รายยวา
  • 92.  วิธีการนาเสนอแปลกใหม่ เช่น วินทร์ เลียววาริณ ในเรื่องประชาธิปไตยบนเส้น ขนาน  บทร้อยกรองสั้นๆก็ยังนิยมอยู่ นักเขียนสาคัญ เช่น อังคาร กัลยาณพงศ์, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, คมทวน คันธนู, จิระนันท์ พิตรปรีชา, ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ  ยังมีโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย แต่ไม่เคร่งครัดฉันทลักษณ์มากนัก นิยมแต่ง ด้วยกลอนอิสระมากที่สุด  ร้อยกรองเรื่องยาวแนวอนุรักษ์มีน้อย เด่นๆ เช่น ชักม้าชมเมือง ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
  • 93.  บทความสารคดีรุ่งเรืองที่สุด นวนิยาย เรื่องสั้น นิทานประกอบภาพ การ์ตูน สาหรับเด็กรุ่งเรืองมาก เช่น หมู่บ้านอาบจันทร์ ของมาลา คาจันทร์ เจ้าหญิง นิทรา ของกาธร สถิรกุล ระยะหลังการ์ตูนญี่ปุ่นได้รับความนิยมสูง เกิดกระแส ต่อต้านรุนแรงต่อเนื้อหาและภาพที่ไม่เหมาะสม  สรุป วรรณคดีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕-ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พัฒนาตาม แบบสากลทั้งเนื้อหาและรูปแบบ มุ่งเพื่อชีวิตและสื่อมวลชนมากขึ้น ไม่ใช่เพื่อ กษัตริย์ ศาสนา และบันเทิงอารมณ์เช่นในอดีตเท่านั้น การศึกษาทาให้ประชาชน มีบทบาทในฐานะผู้แต่ง ผู้อ่าน ผู้วิจารณ์ และผู้พิมพ์
  • 94.  รางวัลซีไรต์ ( S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นรางวัลประจาปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนใน ๑๐ ประเทศรัฐสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน ปัจจุบัน  โดยงานเขียนที่ได้รับรางวัลเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง และมี งานเขียนหลากหลายรูปแบบที่ได้รับรางวัล อย่างเช่น กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย ละครเวที คติชนวิทยา รวมไปถึงงานเขียนด้านสารคดีและงานเขียน ทางด้านศาสนา พิธีจะถูกจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงเป็นประธานในพิธี
  • 95.  นับตั้งแต่มีการก่อตั้งรางวัลซีไรต์ขึ้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ยังคงประกอบด้วยรัฐสมาชิกเพียง ๕ ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย พิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ บรูไนได้เข้าร่วม เป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามเข้า ร่วมในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และกัมพูชาเข้า ร่วมหลังสุดในปี พ.ศ. ๒๕๔๒
  • 96.  ๒๕๒๒ ลูกอีสาน คาพูน บุญทวี นวนิยาย  ๒๕๒๓ เพียงความเคลื่อนไหว เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีนิพนธ์  ๒๕๒๔ ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง อัศศิริ ธรรมโชติ เรื่องสั้น  ๒๕๒๕ ค้าพิพากษา ชาติ กอบจิตติ นิยาย  ๒๕๒๖ นาฏกรรมบนลานกว้าง คมทวน คันธนู กวีนิพนธ์  ๒๕๒๗ ซอยเดียวกัน วานิช จรุงกิจอนันต์ เรื่องสั้น  ๒๕๒๘ ปูนปิดทอง กฤษณา อโศกสิน นิยาย  ๒๕๒๙ ปณิธานกวี อังคาร กัลยาณพงศ์ กวีนิพนธ์
  • 97.  ๒๕๓๐ ก่อกองทราบ ไพฑูรย์ ธัญญา เรื่องสั้น  ๒๕๓๑ ตลิ่งสูง ซุงหนัก นิคม รายยวา นิยาย  ๒๕๓๒ ใบไม้ที่หายไป จิรนันท์ พิตรปรีชา กวีนิพนธ์  ๒๕๓๓ อัญมณีแห่งชีวิต อัญชัน เรื่องสั้น  ๒๕๓๔ เจ้าจันทร์ผมหอม มาลา คาจันทร์ นิยาย  ๒๕๓๕ มือนันสีขาว ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ กวีนิพนธ์  ๒๕๓๖ ครอบครัวกลางถนน ศิลา โคมฉาย เรื่องสั้น  ๒๕๓๗ เวลา ชาติ กอบจิตติ นิยาย
  • 98.  ๒๕๓๘ ม้าก้านกล้วย ไพวรินทร์ ขาวงาม กวีนิพนธ์  ๒๕๓๙ แผ่นดินอื่น กนกพงศ์ สงสมพันธ์ เรื่องสั้น  ๒๕๔๐ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน วินทร์ เลียววาริณ นิยาย  ๒๕๔๑ ในเวลา แรคา ประโดยคา กวีนิพนธ์  ๒๕๔๒ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน วินทร์ เลียววาริณ เรื่องสั้น  ๒๕๔๓ อมตะ วิมล ไทรนิ่มนวล นิยาย  ๒๕๔๔ บ้านเก่า โชคชัย บัณฑิต กวีนิพนธ์  ๒๕๔๕ ความน่าจะเป็น ปราบดา หยุ่น เรื่องสั้น
  • 99.  ๒๕๔๖ ช่างส้าราญ เดือนวาด พิมวนา นิยาย  ๒๕๔๗ แม่น้าร้าลึก เรวัตร์ พันธ์พิพัฒน์ กวีนิพนธ์  ๒๕๔๘ เจ้าหงิญ บินหลา สันกลาคิรี เรื่องสั้น  ๒๕๔๙ ความสุขของกะทิ งามพรรณ เวชชาชีวะ นวนิยาย  ๒๕๕๐ โลกในดวงตาข้าพเจ้า มนตรี ศรียงค์ กวีนิพนธ์  ๒๕๕๑ เราหลงลืมอะไรบางอย่าง วัชระ สัจจะสารสิน รวมเรื่องสั้น  ๒๕๕๒ ลับแล แก่งคอย อุทิศ เหมะมูล นวนิยาย  ๒๕๕๓ ไม่มีหญิงสาวในบทกวี ซะการีย์ยา อมตยา กวีนิพนธ์
  • 100. รางวัลซีไรต์ปี ๒๕๕๒ ประเภทนวนิยาย ลับแลแก่งคอย ของ อุทิศ เหมะมูล
  • 101.  นวนิยายเรื่อง ลับแล,แก่งคอย ของอุทิศ เหมะมูล เสนอมิติอันซับซ้อนของ ตัวตนมนุษย์ที่แยกไม่ออกจากรากเหง้า ชาติพันธุ์ ชุมชน ความเชื่อ และเรื่อง เล่า ผู้เขียนเล่าเรื่องชีวิตมนุษยที่ต้องเผชิญความคาดหวังซึ่งไม่อาจต้านทาน ได้และพยายามดิ้นรนหาทางออก  ผู้เขียนใช้กลวิธีการเล่าเรื่องอันแยบยล สร้างตัวละครที่มีเลือดเนื้อและอารมณ์ ราวกับมีตัวตนจริง สร้างฉาก และบรรยากาศได้อย่างมีชีวิตชีวา และใช้ภาษา ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง แสดงจินตภาพกระจ่างและงดงาม  นวนิยายเรื่อง ลับแล,แก่งคอย ของอุทิศ เหมะมูล จึงสมควรได้รับรางวัล วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจาปีพุทธศักราช ๒๕๕๒
  • 103. ไม่มีหญิงสาวในบทกวี  "ไม่มีหญิงสาวในบทกวี" ของ ซะการีย์ยา อมตยา เป็นกวีนิพนธ์นาเสนอภาพและ แนวคิดเพื่อการดารงและดาเนินชีวิตอย่างสันติสุข ที่ผสมผสานวรรณศิลป์ ปรัชญา และศิลปะเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ประกอบด้วยเนื้อหาหลากหลายมิติ ตั้งแต่ปัจเจกบุคคล จนถึงวาระระดับสังคม ไม่ผูกกับยุคสมัย ไม่มีพรมแดน ข้าม มิติเวลาและมิติพื้นที่ มีความลุ่มลึก กระตุ้นให้เกิดจินตนาการ ขบคิด และคิดต่อ
  • 104. ไม่มีหญิงสาวในบทกวี (ต่อ)  กวีนิพนธ์เล่มนี้เป็นบทร้อยกรองอิสระ (free verse) มีความสอดคล้อง ระหว่างรูปแบบกับเนื้อหาที่มีความหลากหลาย แม้ไม่มีจังหวะของฉันทลักษณ์ แต่ผู้เขียนสามารถวางจังหวะคากวีได้อย่างทรงพลัง และสามารถใช้ภาษาที่ทาให้ เกิดจินตภาพ มีการสร้างพาพจน์ที่ลุ่มลึด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้การอ้างถึง (allusion) และปฎิทรรรศน์ <paradox>  กวีนิพนธ์เรื่อง "ไม่มีหญิงสาวในบทกวี" ของ ซะการีย์ยา อมตยา จึงสมควร ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม (ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจาปี ๒๕๕๓
  • 105. หนังสือรวมเรื่องสั้นที่เข้ารอบ ๗ เล่ม รางวัลซีไรต์ประจาปี ๒๕๕๔  ๑. ๒๔ เรื่องสั้นของฟ้า ของ ฟ้า พูลวรลักษณ์ ๒. เรื่องของเรื่อง ของ พิเชษฐ์ศักดิ์ โพธิ์พยัคฆ์ ๓. แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ ของ จเด็จ กาจรเดช ๔. กระดูกของความลวง ของ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ๕. นิมิตต์วิกาล ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ ๖. บันไดกระจก ของ วัฒน์ ยวงแก้ว ๗. ภาพยนตร์ที่ถ่ายทาตลอดชีวิต ของ จักรพันธุ์ กังวาฬ
  • 106.  ‘แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ’ ของ จเด็จ กาจรเดช “แดดเช้าเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟของ 'จเด็จ กาจรเดช' เป็นรวมเรื่องสั้นที่สร้าง พลังกระทบใจ นาเสนอประเด็นอันหลากหลายในสังคมร่วมสมัย เป็นความยอกย้อนที่มี ความซับซ้อนและความไร้สาระ ผูเขียนได้เสนอการปะทะกันระหว่างความจริงกับความ ้ จริงเสมือน ความรู้ ความเชือ ตลอดจนความเป็นเรา กับความเป็นเขา ่ ผู้เขียนได้สร้างสรรค์กลวิธีการเล่าเรื่องหลายวิธีที่ท้าทายการตีความ เช่น การ ตัดต่อ การซ้า การใช้มุมมอง การเสียดสี การสร้างสัมพันธบท ตลอดจนการสร้างตัว ละครที่อยูในภาวะความรู้และความไม่รู้ ซึ่งสร้างความคลุมเคลือและความลวง กลวิธี ่ เหล่านี้เปิดพื้นที่ให้ผู้อ่านสร้างความหมายได้หลายระดับ
  • 107.
  • 108.  กว่า ๗๐๐ ปี วรรณคดีเกิดขึ้นเป็นจานวนมาก แม้บางช่วงจะมีปัญหา ภายในประเทศ แต่ก็ไม่ทาให้วรรณคดีขาดหายไป  สมัยสุโขทัย เป็นยุคเริ่มแรกของวรรณคดี วรรณคดียังมีน้อยลักษณะ วรรณคดี เกี่ยวข้องกับสภาพบ้านเมืองที่เป็นราชอาณาจักรใหม่ คือ เน้นสร้างความศรัทธา และคุณภาพของประชาชน  สมัยอยุธยาตอนต้น สังคมซับซ้อนมากขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหา ต่างๆ วรรณคดีสะท้อนสังคมอย่างชัดเจน คือ มีเนื้อหาและรูปแบบหลากหลาย จุดมุ่งหมายเพื่อสนองความปรารถนาของผู้แต่งและผู้เสพในราชสานักและชน ชั้นสูง วรรณคดีจึงมีลักษณะสูงส่ง และอลังการ
  • 109.  สมัยอยุธยาตอนกลางส่วนใหญ่สืบต่อมาจากสมัยก่อน แต่ลดความเข้มข้นลง อย่างชัดเจน ทั้งเนื้อหาและรูปแบบที่ผ่อนคลายลง มีวรรณคดีใหม่ตอบสนอง ความต้องการทางการเมืองและสังคม  สมัยอยุธยาตอนปลาย วรรณคดีคลี่คลายทั้งเนื้อหาและรูปแบบ ขยายจากราช สานักสู่สามัญชนในรูปของการแสดง  สมัยกรุงธนบุรี บ้านเมืองมีแต่สงคราม วรรณคดีเกิดขึ้นเพื่อสืบสานด้าน วัฒนธรรมเท่านั้น ไม่มีพัฒนาการอย่างชัดเจน  ต้นรัตนโกสินทร์ (ร.๑-ร.๓) วรรณคดีรุ่งเรืองอีกครั้ง เป็นเครื่องมือทางการ ปกครอง จรรโลงใจ และประเทืองปัญญา
  • 110.  ร.๔ เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของวรรณคดีแบบใหม่ตามตะวันตก เห็นชัดขึ้นใน สมัย ร.๕ และ ร.๖ โดยเฉพาะสมัย ร.๖ พระองค์หล่อหลอมสองวัฒนธรรมออกมา เป็นวรรณคดีแนวผสมผสานและเป็นสากลมากขึ้น ประชาชนมีบทบาทใน วรรณคดีอย่างเปิดเผยไม่ได้แทรกอยู่เหมือนในอดีต  หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองวรรณคดีอิสระมากขึ้น ผู้แต่งมีหลายชนชั้น หลายเพศ และหลายวัย วรรณคดีเปลี่ยนแปลงตามกระแสสังคมอยู่ตลอดเวลา จนถึงปัจจุบัน (การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม)  วรรณคดีมุ่งเพื่อขายมากกว่าอุดมการณ์ ประชากรถูกปิดกั้นการอ่านวรรณคดีจาก สื่อบันเทิงรูปแบบอื่น แต่ถึงอย่างไรวรรณคดีก็จะยังคงมีวิวัฒนาการต่อไปไม่ สิ้นสุด
  • 112.  ให้นิสิตบอกเล่าเรื่องราวความประทับเกี่ยวกับวรรณคดีที่ เคยอ่านมา ๑ เรื่อง โดยอาจกล่าวถึงชื่อเรื่อง ตัวละคร เนื้อ เรื่องโดยย่อ และความประทับใจทีได้จากการอ่านวรรณคดี ่ เรื่องนั้นๆ  ความยาวประมาณ ๑/๒-๑ หน้ากระดาษ  ขอให้นิสิตส่งกระดาษเป็นแผ่น ห้ามฉีกแบ่งครึ่งโดย เด็ดขาด มิเช่นนั้นจะถูกหักคะแนน