SlideShare a Scribd company logo
1 of 9
Download to read offline
- -
เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com)
โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร
นโยบายการศึกษาของ รมว.ศธ.(พงศ์เทพ เทพกาญจนา)
1. เร่งคุณภาพการศึกษา โดย การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ การผลิตกําลังคนให้ตรงกับความ
ต้องการของประเทศ เน้นการผลิตคนด้านอาชีวะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นความรู้คู่คุณธรรม ระเบียบวินัย
ให้มีการพัฒนาครูโดยเฉพาะครูที่สอนไม่ตรงวุฒิ นอกจากนี้ให้เน้นการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน
2. โอกาสทางการศึกษา เน้นการดูแลเด็กยากไร้ ขาดแคลน ด้อยโอกาส ทุนการศึกษา รวมทั้งโครงการ
หนึ่งทุนหนึ่งอําเภอ(ODOS)
3. การนําสันติสุขสู่ชายแดนภาคใต้
4. การแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
5. Tablet ต้องดําเนินการจัดซื้อให้เปิดกว้าง แข่งขันอย่างเป็นธรรม
6. ให้มีการส่งเสริมการวิจัย
7. กองทุนตั้งตัวได้
8. รธน.ฉบับประชาชน
9. เร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุน
10. ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ไม่ซื้อขายตําแหน่ง ดูแลการบริหารงานบุคคลให้โปร่งใส
11 การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ไม่เน้นยุบเลิกโรงเรียน แต่ให้เน้นนวัตกรรม การเคลื่ยนย้ายนักเรียน
ทําSchool Mapping แล้วจัดทําแผนการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน
- -
เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com)
โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร
นโยบายของ รมช.ศธ.(เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช)
- การผลิตกําลังคน ต้องต้องเน้นความเก่งและความดี
- เน้น คุณภาพ โอกาส ประสิทธิภาพ
- เน้นสวัสดิการและการเลื่อนไหลของเงินเดือนครู ครูคืนถิ่นให้สรุปผลการดําเนินการด้วย ปรับเปลี่ยน
วิธีการเลื่อนวิทยฐานะ
- เน้นการใช้ ICT การส่งเสริมหน้าที่พลเมืองศีลธรรม
- ปรับการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษาให้เหมาะสม
- ปรับภาพลักษณ์อาชีวะให้ดีขึ้น และปรับสัดส่วนนักเรียนอาชีวะต่อสายสามัญให้มากขึ้น
- -
เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com)
โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร
สรุปนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา)
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช)
วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2555
ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ได้มอบนโยบายและแนวทาง
การทํางานแก่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ในวันแรกที่เข้ารับตําแหน่งอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ที่ห้องประชุมราชวัลลภ สรุปดังนี้
• ให้ช่วยพัฒนาการศึกษาอย่างเข้มแข็ง โดยอาศัยผู้ที่มีความรอบรู้ทั้งภายใน-ภายนอกกระทรวง
ขอให้ช่วยกันทํางานพัฒนาการศึกษาไทยอย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้แม้จะได้รับการศึกษามาจาก
สถาบันการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาตั้งแต่ช่วงที่เริ่ม
ทํางาน แม้อาจจะมีโอกาสไปสอนหนังสือ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยอยู่บ้าง แต่หาก
พูดถึงประสบการณ์ต่างๆ ด้านการศึกษาแล้ว ท่านทั้งหลายที่อยู่ในกระทรวงศึกษาธิการถือว่ารอบรู้มากกว่า แม้ว่า
ท่านจะมีความรอบรู้แล้ว แต่เชื่อว่าสิ่งที่ท่านรอบรู้ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาไทยเท่านั้น เพราะเรายังมีผู้ที่มี
ความรอบรู้อีกมากที่ไม่ได้อยู่ในกระทรวง หรืออยู่ในกระทรวงแต่ไม่ได้อยู่ในห้องนี้
• การศึกษาเป็นหัวใจการแข่งขันของประเทศ
เรื่องของการศึกษานั้น ทุกประเทศถือเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศ เพราะในโลกยุคปัจจุบัน
ที่แข่งขันกันด้วยความรู้ ความสามารถ และคุณภาพของคน ไม่ได้แข่งขันที่จํานวนคนหรือทรัพยากรเหมือนในอดีต
การที่จะขับเคลื่อนการศึกษาแต่ละครั้งใช้เวลานานมาก เพราะเกี่ยวข้องกับบุคลากรผู้สอนกว่า ๘ แสนกว่าคน และ
ผู้เรียนอีกหลายล้านคน จึงใช้เวลานานกว่าการพัฒนาอื่นๆ เช่น การสร้างรถไฟฟ้า มาก แต่หากไม่ขับเคลื่อนและ
ไม่ทําอย่างต่อเนื่อง ผลก็จะไม่เกิด
กระทรวงศึกษาธิการ จะมีทีมการทํางานที่จะเข้ามาร่วมผลักดันนโยบายการศึกษาของรัฐบาล
และจะมีส่วนช่วยเรื่องกฎหมายต่างๆ ซึ่งหลายท่านเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย
ขณะเดียวกัน มีคําถามจากคนทั่วไปว่าการศึกษาไทยอยู่ในระดับน่าพอใจหรือไม่ คําตอบคือยังไม่
อยู่ในระดับที่น่าพอใจ จากการวัดกันในระดับนานาชาติ ที่เรียกว่า Program for International Student
Assessment : PISA ซึ่งเป็นโครงการประเมินผลนักศึกษานานาชาติ ได้ประเมินผลในกลุ่มประเทศ OECD
- -
เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com)
โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร
จํานวน ๓๔ ประเทศ และประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก OECD อีก ๓๑ ประเทศ รวมเป็น ๖๕ ประเทศ ปรากฏว่า
ในเรื่องของการอ่าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์นั้น ประเทศไทยอยู่ในลําดับประมาณที่ ๕๐ ทั้งสามด้าน โดยใน
ระดับอาเซียนสูงกว่าประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น ส่วนประเทศระดับแนวหน้า เช่น สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น ติดอันดับ
๑ ใน ๕ ซึ่งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ทราบข้อมูลนี้ดีว่าเด็กไทยเรียนเยอะ
ครูสอนเยอะ แต่เรียนรู้น้อย นี่คือผลสรุปทางวิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาไทยใช้เวลาเรียนเยอะ แต่เรียนรู้น้อย
เด็กเครียด และจบออกไปแล้วยังสู้เขาไม่ได้
• ให้กระทรวงศึกษาธิการมีบทบาทขับเคลื่อนนโยบายด้านอื่นๆ ของรัฐบาลด้วย ไม่เน้นเฉพาะ
การศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการต้องร่วมกันขับเคลื่อนในส่วนของนโยบายรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่นโยบายที่เป็น
นโยบายเร่งด่วนและนโยบายที่เกี่ยวกับด้านการศึกษาโดยตรงเท่านั้น แต่กระทรวงศึกษาธิการจะต้องมีบทบาทใน
การขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เช่น การเร่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เพียงพอ ซึ่งปรากฏใน
นโยบายรัฐบาลข้อ ๔.๓ นั้น แม้จะไม่เกี่ยวกับการศึกษา แต่การผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
ผู้รับผิดชอบในการผลิตคือ สกอ. หรือการสร้างฐานคนที่มีความรู้ ความชํานาญ และความคิดสร้างสรรค์ต่อยอด
ความรู้ สร้างนวัตกรรม ซึ่งกําหนดไว้ในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น ศธ.จําเป็นต้องเข้าไปดําเนินการด้วย เป็น
ต้น ฉะนั้นจึงมีอีกหลายนโยบายที่ ศธ.จะต้องเข้าไปขับเคลื่อนหรือทํางานร่วมกับกระทรวงอื่นๆ ซึ่งจะเห็นว่าบาง
เรื่องอาจจะไม่ใช่เรื่องของกระทรวงโดยตรง แต่ก็ต้องดําเนินการร่วมกัน เช่น การแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นต้น
• ประกาศ ๑๐ นโยบาย กระทรวงศึกษาธิการที่จะขับเคลื่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) จะนํานโยบายของรัฐบาลมา
ขับเคลื่อนให้ต่อเนื่องตั้งแต่นโยบายสมัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสองท่าน คือ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญ
กุล และศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธํารงเวช เพราะเป็นนโยบายรัฐบาลที่จะต้องขับเคลื่อนไปให้ประสบ
ความสําเร็จให้ได้ ส่วนในรายละเอียดที่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาว่ามีอะไรจะปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือ
ดําเนินการไปแล้วประสบปัญหาอุปสรรค ก็ต้องมาหารือกันต่อไป สําหรับนโยบายที่ผู้บริหารควรให้ความสําคัญ
และขับเคลื่อนการทํางาน โดยสรุปมีดังนี้
๑) เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพผู้ศึกษา ซึ่งถือเป็นเรื่องสําคัญที่ขอให้ทุกคนให้
ความสนใจ โดยมีประเด็นย่อย ดังนี้
- -
เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com)
โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร
- การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ เนื่องจากปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่าง
รวดเร็วมาก และจากผลการประเมินด้านการศึกษาของเด็กไทยที่พบว่าเด็กเรียนเยอะ แต่รู้น้อย จึงควรมีการ
ทบทวนว่า เด็กควรจะเรียนอะไรเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ต่อ รวมทั้งเนื้อหาสาระในหลักสูตร ที่ควรจะเน้นพื้นฐาน
คณิตศาสตร์เพื่อต่อยอดการผลักดันเรื่องการผลิตนักวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สําหรับภาษาอังกฤษก็มีความ
จําเป็น เพราะจากผลการประเมินของบริษัท Education First ที่รายงานโดย New York Times ได้ประเมิน ๕๔
ประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ พบว่าประเทศไทยอยู่ใน ๕ อันดับสุดท้าย ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ
จะต้องดําเนินการอย่างไรในเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษของเด็กไทย รวมทั้งการใช้ภาษาไทยด้วย เพราะการอ่านเราก็
ยังมีปัญหา รวมทั้งควรสร้างจิตสํานึกและค่านิยมที่ถูกต้องให้แก่เด็กด้วย
- การผลิตคนให้ตรงกับอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและระดับสากล ขณะนี้ประเทศขาด
บุคลากรด้านการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้งพยาบาลที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ จึงมีความ
จําเป็นที่จะต้องผลิตคนให้ตรงกับอุปสงค์ ตัวอย่างคือในขณะนี้มีบริษัทไทยไปลงทุนซื้อกิจการในต่างประเทศ เช่น
โรงงานถลุงเหล็กที่อังกฤษ ก็ต้องการบุคลากรของไทยไปทํางานในต่างประเทศเช่นเดียวกับบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น
ซึ่งเข้ามาเปิดกิจการในเมืองไทย ก็จําเป็นต้องใช้คนญี่ปุ่นเข้ามาทํางานในเมืองไทยด้วย ดังนั้นคนไทยจะต้องมี
ศักยภาพเพียงพอที่จะไปทํางานในต่างประเทศได้ รวมทั้งเป็นการเตรียมคนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วย โดยครู
อาจารย์จะต้องแนะนํานักเรียนนักศึกษาตั้งแต่ต้น หากสนใจเรียนในสาขาที่ขาดแคลน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์
หรือเรียนพยาบาลที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ เมื่อเปิดประชาคมอาเซียนก็จะมีงานรองรับและมีรายได้ที่ดี แต่หาก
เลือกเรียนในสายสังคมหรือสาขาวิชาที่มีคนเรียนจํานวนมากแล้ว อาจไม่มีโอกาสได้ทํางานตามสาขาที่เรียน หรือ
อาจต้องไปทํางานในสาขาอื่นที่ไม่ได้เรียน ซึ่งในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้เน้นให้ กระทรวงศึกษาธิการผลิตคนให้
เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ คือในส่วนของอาชีวศึกษาที่จะต้องเน้นทั้งด้านคอมพิวเตอร์
และวิศวกรรมยานยนต์
- การปลูกฝังคุณธรรมและจิตสํานึกประชาธิปไตย โดย กระทรวงศึกษาธิการได้ดําเนินการ
เรื่องการปฏิบัติธรรมของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะการปลูกฝังเรื่องเหล่านี้ไม่ควรทําเป็นครั้งคราว
แต่ควรมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อต้นปี ๒๕๕๕ ตนได้รับเชิญให้ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มี
ความเป็นวินัยมาก โดยได้มีโอกาสไปดูงานโรงเรียนประถมศึกษา เพราะเหตุการณ์สึนามิที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้ต่อสู้กับ
เหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งเห็นประชาชนมีวินัยในการต่อแถวได้อย่างยอดเยี่ยม จากการดูงานพบว่าได้เห็นการฝึกอบรม
ด้านวินัยตั้งแต่เล็กๆ เกี่ยวกับการแบ่งหน้าที่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความเสียสละในห้องเรียน ทั้งนี้หาก
เรานําแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ หรือดําเนินโครงการครูพระสอนศีลธรรม รวมทั้งการดําเนินโครงการปฏิบัติธรรม
- -
เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com)
โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร
สําหรับผู้บริหารของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธํารงเวช) ก็ถือเป็น
นโยบายที่ดี เพราะเมื่อได้ผลในทางที่ดีขึ้น ก็ควรดําเนินการต่อไป
- การพัฒนาคุณภาพครู อาจารย์ โดยเฉพาะด้านที่ขาดแคลน ซึ่งผลการประเมินต่างๆ พบว่า
มีครูที่สอนไม่ตรงตามสาขาจํานวนมาก ดังนั้นจึงจะต้องพัฒนาครูผู้สอนเหล่านี้ รวมทั้งครูบรรจุใหม่ให้มีคุณภาพ
เช่นกันด้วย นอกจากนี้ได้รับทราบปัญหาคนที่มีความรู้ในสาขาที่ขาดแคลน เช่น ด้านภาษา วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ ที่เต็มใจจะเข้ามาช่วยสอน แต่ติดปัญหาไม่สามารถสอนได้ เพราะไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู แต่ความ
จริงคือบุคคลเหล่านั้นสามารถสอนในมหาวิทยาลัยได้ ได้รับทราบว่ามหาวิทยาลัยเชิญไปสอนได้ แต่จะไปช่วยสอน
ประจําในโรงเรียนไม่ได้ ซึ่งต้องยอมรับว่าหลายท่านมีความรู้มากกว่าครูที่เรามีอยู่เพราะเป็นสาขาที่เราขาดแคลน
หรือกรณีที่นํานักศึกษาจากอังกฤษเข้ามาช่วยสอนในโรงเรียน ก็ยังพบปัญหาเช่นกัน ที่จริงแล้วหากเป็นการช่วย
สอนไม่น่าจะมีปัญหา เพราะไม่ใช่เป็นครูประจํา โดยเฉพาะธุรกิจต่างๆ ซึ่งมี Corporate Social Responsibility :
CSR อยู่แล้ว แทนที่จะไปทาสีโรงเรียน อาจเป็นการช่วยสอนน่าจะดีกว่าด้วยซ้ําไป
- การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา เข้าใจว่า
จะมีหลายโรงเรียนที่ทําได้ดี มีการจัดระบบการศึกษาที่ดี และมีโรงเรียนไปดูเป็นตัวอย่าง ซึ่ง กระทรวงศึกษาธิการ
ควรจะไปดูว่าโรงเรียนใดที่จัดการศึกษาได้ดี มีรูปแบบต่างๆ หลากหลาย และเป็นตัวอย่างให้โรงเรียนอื่นพิจารณา
นําไปปรับใช้ได้ จึงควรจะมีการกระจายแนวความคิดดีๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้นต่อไป
๒) การสร้างโอกาสทางการศึกษา ซึ่งจะครอบคลุม ๒ เรื่อง คือ
- สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการทุพลภาพ อย่าง
ทั่วถึง เช่น โครงการ ๑ อําเภอ ๑ ทุน ซึ่งในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้เน้นให้
โอกาสแก่คนที่ยากไร้ แต่ในระยะหลังได้เปิดโอกาสให้มีการสอบแข่งขัน ใครสอบได้ดี ก็จะได้รับทุน จึงต้องการ
ให้พิจารณาด้วยว่าถึงแม้จะมีทุนสําหรับเด็กเก่ง แต่คงต้องพิจารณาทุนสําหรับผู้ยากไร้เพิ่มเติมด้วย มิฉะนั้น
คนที่ยากไร้ก็จะเสียโอกาสที่จะไปศึกษาต่อในต่างประเทศ รวมทั้งด้านความเสมอภาคต่างๆ ด้วย
- การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต เช่นการจัดการศึกษาของสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่อยู่วัยทํางานได้ยกระดับตัวเอง พัฒนาให้รองรับกับ
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ต่อไปเราจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ เพราะคนอายุ ๖๐ ปียังสามารถทําอะไรได้อีกมาก
เพราะคนที่อยู่ในวัยทํางานรองรับไม่เพียงพอ ในหลายประเทศให้คนที่อายุมากแล้ว แต่ไม่สูงมากเกินไป
กลับมาเป็นปัจจัยการผลิตอยู่ เราจะดําเนินการให้ท่านเหล่านี้ได้รับการพัฒนาเรื่องความรู้ การประกอบอาชีพ
- -
เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com)
โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร
เพื่อให้กลับมาเป็นกําลังการผลิตของสังคม มิฉะนั้นเด็กรุ่นหลังเรา จะแบกรับพวกเราไม่ไหว เพราะจํานวนน้อย
แต่ผู้สูงอายุของเรามีจํานวนมากกว่า
๓) การนําสันติสุขสู่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงศึกษาธิการจะต้องประสานงานร่วมกับ
หน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองอํานวยการรักษา
ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ดําเนินการเรื่องนี้ ขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้บอกว่า ต้องเน้นการศึกษา
ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบสุขใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่ง กระทรวงศึกษาธิการต้องมีบทบาทย่างมากใน
เรื่องนี้
๔) การแก้ไขปัญหายาเสพติด ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการดําเนินการอยู่แล้ว แต่ต้องเข้มแข็ง
ติดตามใกล้ชิด ในสถานศึกษาต้องไม่มียาเสพติด ซึ่งในสมัยก่อนเรียกว่า "โรงเรียนสีขาว"
๕) แท็บเล็ต จะจัดหาในปีนี้สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
โดยขอให้ดูแลในเรื่องการจัดหา โดยให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส ที่สําคัญเนื้อหาสาระในแท็บเล็ต
ต้องมีการพัฒนาเนื้อหาให้มีความน่าสนใจสําหรับเด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้
๖) การวิจัย เป็นเรื่องสําคัญ แต่ที่ผ่านมาเหตุที่งบประมาณการวิจัยลดลง ก็เพราะวิจัยไปแล้วคน
ไม่เห็นการนําไปใช้ประโยชน์ แต่หากวิจัยแล้วสามารถนําไปใช้ประโยชน์ต่อภาคการผลิต เป็นประโยชน์ต่อภาคอื่นๆ
งบประมาณวิจัยจะไหลเทมาทั้งจากภาครัฐและเอกชน แนวทางแก้ไขอย่างแรกคือ ขอให้ไปดูงานวิจัยที่ทําไว้แล้ว
ที่อยู่บนชั้น บนหิ้งทั้งหลาย งานวิจัยใดที่นํามาปรับใช้เป็นประโยชน์ประยุกต์ใช้ได้ ภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม
ภาคธุรกิจ หรือภาคสังคม นํามาปัดฝุ่น แล้วให้คนได้เห็นว่า สิ่งที่วิจัยไปแล้วใช้ได้จริง เป็นประโยชน์จริง อย่างที่สอง
เวลาจะวิจัยอะไร หากได้มีการทํางานร่วมกับคนที่จะใช้ผลงานวิจัย เช่น ภาคธุรกิจ หากวิจัยแล้วภาคธุรกิจได้
ประโยชน์ หมายความว่าแทนที่รัฐจะต้องเสียงบอุดหนุนงานวิจัยเอง ๑๐๐% ธุรกิจอาจจะรับทั้ง ๑๐๐% หรือ
อาจจะมีส่วนร่วมก็ได้ อย่างนี้ก็จะเห็นว่าทําแล้วได้ประโยชน์ ขอให้นักวิจัยทั้งหลาย นอกจากวิจัยทางด้าน
วิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์แท้ๆ ก็ทําไปส่วนหนึ่ง แต่ส่วนที่นําไปใช้ได้จริง ประยุกต์ใช้ได้จริง ก็ต้องมี ซึ่งจะเป็น
ส่วนที่ทําให้คนเห็นความสําคัญของงานวิจัย และเราจะได้พัฒนาส่งเสริมงานวิจัยกันมากกว่านี้
๗) กองทุนตั้งตัวได้ ขณะนี้เมื่อพิจารณาผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่ามีความพร้อม
พอสมควร สามารถดําเนินการนโยบายดังกล่าวได้ นอกจากนี้ผู้ประกอบการทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ
ใหม่ๆ ที่มีระบบช่วยสนับสนุน ก็สามารถดําเนินการในส่วนที่ชํานาญ แต่ส่วนที่ไม่ชํานาญอาจมีระบบที่มี
ผู้ดําเนินการให้ ซึ่งอาจไปจ้างอีกประเภทหนึ่งมาดําเนินการ เช่น ผู้ประกอบการบางรายเก่งในด้านการผลิต แต่เรื่อง
การทําบัญชี การบริหารต่างๆ อาจมีระบบใดเข้ามาช่วยดูแลตรงนี้หรือไม่
- -
เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com)
โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร
๘) การผลักดันการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้มีรัฐธรรมนูญของประชาชน ซึ่งเป็นนโยบายของ
รัฐบาลเช่นกัน โดย กระทรวงศึกษาธิการจะมีส่วนร่วมในการรณรงค์ ทําความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชน
๙) งบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด แต่สิ่งที่จะขอให้
พิจารณาคืองบลงทุน โดยขอให้เร่งดําเนินการให้มีการเบิกจ่าย โครงการเดียวกันให้เริ่มดําเนินการตั้งแต่ต้น
ปีงบประมาณ ให้เงินลงไปในระบบเศรษฐกิจ เพื่อช่วยระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วย อย่าไปปล่อยค้างท่อ
จนกระทั่งปลายปีงบประมาณ และการจัดซื้อจัดจ้างก็ให้ดําเนินการตามระบบที่โปร่งใส หากไม่จําเป็นต้องใช้วิธี
กรณีพิเศษ ก็ขอให้จัดซื้อจัดจ้างโดยระบบปกติ เพื่อจะได้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
๑๐) ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- ความโปร่งใส ไม่มีการทุจริตคอรัปชัน นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
ย้ําให้ดูแลเรื่องการทุจริตคอรัปชันอย่างเต็มที่ ต้องพยายามไม่ให้เกิดข้อครหา โดยเฉพาะเรื่องการซื้อขายตําแหน่ง
เพราะหากหน่วยงานใดที่มีข้อครหาเกี่ยวกับการซื้อขายตําแหน่ง ก็หลีกไม่พ้นที่จะมีการทุจริตคอรัปชันตามมา
ซึ่งจะส่งผลให้คนที่ทํางานอย่างเข้มแข็ง ตรงไปตรงมา ทํางานอย่างทุ่มเท ก็จะหมดกําลังใจ จึงขอให้ช่วยกันดูแล
ให้ดี
- การล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษา อีกส่วนหนึ่งที่มีข่าวบ่อยๆ ถือเป็นเรื่องสําคัญเรื่อง
หนึ่ง คือ การล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษา ระหว่างครูกับนักเรียน อาจารย์กับนักศึกษา และในส่วนของ
บุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจะต้องไม่ให้คนในวงการเดียวกันมาทําอะไรที่เป็นการล่วงละเมิดทางเพศ หากเรา
ดําเนินการอย่างจริงจัง เรื่องเหล่านี้ก็จะน้อยลง แต่หากเราไม่เอาจริง ดูเป็นเรื่องที่ไม่ให้ความสนใจ ก็จะเกิดเรื่องนี้
ขึ้นบ่อยๆ ในสถานศึกษา
- ประสิทธิภาพ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงโรงเรียนขนาดเล็กมาก ซึ่งผลประเมินคุณภาพ
การศึกษาอยู่ในระดับที่ต่ํา แต่หากเราจัดระบบรับส่งเด็กจากโรงเรียนขนาดเล็กด้อยคุณภาพ ไปเรียนอีกโรงเรียน
แห่งหนึ่งที่ตั้งห่างไกลออกไป แต่มีคุณภาพดีกว่า โดยผู้ปกครองไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ก็จะทําให้เด็กได้รับ
การศึกษาที่ดีขึ้น รวมทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย แต่การดําเนินการจะต้องไม่มีปัญหาเรื่องมวลชน คือ
ชาวบ้านก็ไม่ติดใจ และจัดระบบวิธีการที่ดีในการรับส่งนักเรียนอย่างสะดวก ตรงนี้คือส่วนที่จะช่วยกันพัฒนาขึ้นมา
พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) กล่าวเสริม
ว่า เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นนักกฎหมาย ดังนั้นจึงจะเข้ามาผลักดันกฎหมายต่างๆ ที่ยัง
ค้างอยู่ เพื่อให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงิน
- -
เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com)
โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร
ประจําตําแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เงินเดือนเต็มขั้น ให้เงินเดือนไหลลื่นได้สะดวกขึ้น
โดยให้สามารถไปรับเงินเดือนในอันดับขั้นต่อไปได้ เช่น อันดับ คศ.๒ ที่เงินเดือนเต็มขั้นให้รับเงินเดือนในอันดับ
คศ.๓ ได้ ซึ่งทราบว่าขณะนี้กําลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งจะดําเนินการ
โครงการครูคืนถิ่น ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธํารงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้
ดําเนินการไปแล้ว เพื่อให้ครูได้มีโอกาสกลับไปดูแลครอบครัวตามเป้าหมายของโครงการ
นอกจากนี้ จะติดตามการขอเลื่อนวิทยฐานะของครูว่า จะมีวิธีอย่างไรที่จะมีทางเลือกให้ผลงาน
ของครูได้รับการพิจารณาเร็วขึ้น ซึ่งปัญหาอาจเป็นเพราะมีผู้อ่านผลงานทางวิชาการไม่เพียงพอ จึงต้องไปพิจารณา
ว่าจะมีทางเลือกอย่างไรเพื่อให้ครูได้เลื่อนวิทยฐานะเร็วขึ้น เพราะบางคนส่งผลงานไปนานแล้วจนใกล้จะเกษียณ
อายุราชการแต่ก็ยังไม่ได้รับการพิจารณา ส่วนเรื่องเด็กนักเรียนต้องการให้เน้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรมควบคู่ไปกับ
การเรียนการสอน ซึ่งตรงนี้อาจต้องมาพิจารณาว่าจะต้องนําหลักสูตรหน้าที่พลเมืองกลับมาใช้หรือไม่อย่างไร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) กล่าวด้วยว่า มีแนวคิดที่จะ
ดําเนินการงานในหลายด้าน ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา การทําบัญชีครัวเรือน โครงการในพระราชดําริ
เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ ศูนย์ศิลปาชีพ OTOP ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งการเตรียม
ความพร้อมของบุคลากร นักเรียน นักศึกษา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอีกด้วย
แหล่งข้อมูล ข่าวสํานักงานรัฐมนตรี ๒๘๗/๒๕๕๕
http://www.moe.go.th/websm/2012/nov/287.html

More Related Content

Similar to สรุปนโยบายรัฐบาล

แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2krupornpana55
 
Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)chorchamp
 
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย Phichai Na Bhuket
 
Teaching English for communication using JITSUPA model
Teaching English for communication using JITSUPA modelTeaching English for communication using JITSUPA model
Teaching English for communication using JITSUPA modelJessie SK
 
E learning กับ social media จะไปด้วยกันอย่างไรเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย
E learning กับ social media จะไปด้วยกันอย่างไรเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยE learning กับ social media จะไปด้วยกันอย่างไรเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย
E learning กับ social media จะไปด้วยกันอย่างไรเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยKobwit Piriyawat
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิต
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิตรายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิต
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิตWichai Likitponrak
 
หลักสูตรปกIsม.ต้น.55doc
หลักสูตรปกIsม.ต้น.55docหลักสูตรปกIsม.ต้น.55doc
หลักสูตรปกIsม.ต้น.55dockrupornpana55
 
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทยแนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทยKlangpanya
 
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
หลักสูตรปกIsม.ปลาย.55doc
หลักสูตรปกIsม.ปลาย.55docหลักสูตรปกIsม.ปลาย.55doc
หลักสูตรปกIsม.ปลาย.55dockrupornpana55
 
Tablet1
Tablet1Tablet1
Tablet1jamrat
 
การเรียนการสอนด้วย Tablet
การเรียนการสอนด้วย Tabletการเรียนการสอนด้วย Tablet
การเรียนการสอนด้วย TabletPrachyanun Nilsook
 
ทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบ
ทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบ
ทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบChalermpon Dondee
 
1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)Tophit Sampootong
 
- แผนภูมิจุดเน้นเชิงนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจร...
- แผนภูมิจุดเน้นเชิงนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจร...- แผนภูมิจุดเน้นเชิงนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจร...
- แผนภูมิจุดเน้นเชิงนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจร...ประชาสัมพันธ์ สพป.สตูล
 

Similar to สรุปนโยบายรัฐบาล (20)

แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
 
Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)
 
สพฐ
สพฐสพฐ
สพฐ
 
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
 
Teaching English for communication using JITSUPA model
Teaching English for communication using JITSUPA modelTeaching English for communication using JITSUPA model
Teaching English for communication using JITSUPA model
 
E learning กับ social media จะไปด้วยกันอย่างไรเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย
E learning กับ social media จะไปด้วยกันอย่างไรเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยE learning กับ social media จะไปด้วยกันอย่างไรเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย
E learning กับ social media จะไปด้วยกันอย่างไรเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิต
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิตรายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิต
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิต
 
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
 
หลักสูตรปกIsม.ต้น.55doc
หลักสูตรปกIsม.ต้น.55docหลักสูตรปกIsม.ต้น.55doc
หลักสูตรปกIsม.ต้น.55doc
 
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
 
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทยแนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
 
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘
 
หลักสูตรปกIsม.ปลาย.55doc
หลักสูตรปกIsม.ปลาย.55docหลักสูตรปกIsม.ปลาย.55doc
หลักสูตรปกIsม.ปลาย.55doc
 
Tablet1
Tablet1Tablet1
Tablet1
 
การเรียนการสอนด้วย Tablet
การเรียนการสอนด้วย Tabletการเรียนการสอนด้วย Tablet
การเรียนการสอนด้วย Tablet
 
Tablet1
Tablet1Tablet1
Tablet1
 
ทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบ
ทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบ
ทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบ
 
1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)
 
1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)
 
- แผนภูมิจุดเน้นเชิงนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจร...
- แผนภูมิจุดเน้นเชิงนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจร...- แผนภูมิจุดเน้นเชิงนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจร...
- แผนภูมิจุดเน้นเชิงนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจร...
 

สรุปนโยบายรัฐบาล

  • 1. - - เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com) โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร นโยบายการศึกษาของ รมว.ศธ.(พงศ์เทพ เทพกาญจนา) 1. เร่งคุณภาพการศึกษา โดย การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ การผลิตกําลังคนให้ตรงกับความ ต้องการของประเทศ เน้นการผลิตคนด้านอาชีวะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นความรู้คู่คุณธรรม ระเบียบวินัย ให้มีการพัฒนาครูโดยเฉพาะครูที่สอนไม่ตรงวุฒิ นอกจากนี้ให้เน้นการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน 2. โอกาสทางการศึกษา เน้นการดูแลเด็กยากไร้ ขาดแคลน ด้อยโอกาส ทุนการศึกษา รวมทั้งโครงการ หนึ่งทุนหนึ่งอําเภอ(ODOS) 3. การนําสันติสุขสู่ชายแดนภาคใต้ 4. การแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 5. Tablet ต้องดําเนินการจัดซื้อให้เปิดกว้าง แข่งขันอย่างเป็นธรรม 6. ให้มีการส่งเสริมการวิจัย 7. กองทุนตั้งตัวได้ 8. รธน.ฉบับประชาชน 9. เร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุน 10. ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ไม่ซื้อขายตําแหน่ง ดูแลการบริหารงานบุคคลให้โปร่งใส 11 การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ไม่เน้นยุบเลิกโรงเรียน แต่ให้เน้นนวัตกรรม การเคลื่ยนย้ายนักเรียน ทําSchool Mapping แล้วจัดทําแผนการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน
  • 2. - - เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com) โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร นโยบายของ รมช.ศธ.(เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) - การผลิตกําลังคน ต้องต้องเน้นความเก่งและความดี - เน้น คุณภาพ โอกาส ประสิทธิภาพ - เน้นสวัสดิการและการเลื่อนไหลของเงินเดือนครู ครูคืนถิ่นให้สรุปผลการดําเนินการด้วย ปรับเปลี่ยน วิธีการเลื่อนวิทยฐานะ - เน้นการใช้ ICT การส่งเสริมหน้าที่พลเมืองศีลธรรม - ปรับการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษาให้เหมาะสม - ปรับภาพลักษณ์อาชีวะให้ดีขึ้น และปรับสัดส่วนนักเรียนอาชีวะต่อสายสามัญให้มากขึ้น
  • 3. - - เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com) โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร สรุปนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ได้มอบนโยบายและแนวทาง การทํางานแก่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ในวันแรกที่เข้ารับตําแหน่งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ที่ห้องประชุมราชวัลลภ สรุปดังนี้ • ให้ช่วยพัฒนาการศึกษาอย่างเข้มแข็ง โดยอาศัยผู้ที่มีความรอบรู้ทั้งภายใน-ภายนอกกระทรวง ขอให้ช่วยกันทํางานพัฒนาการศึกษาไทยอย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้แม้จะได้รับการศึกษามาจาก สถาบันการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาตั้งแต่ช่วงที่เริ่ม ทํางาน แม้อาจจะมีโอกาสไปสอนหนังสือ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยอยู่บ้าง แต่หาก พูดถึงประสบการณ์ต่างๆ ด้านการศึกษาแล้ว ท่านทั้งหลายที่อยู่ในกระทรวงศึกษาธิการถือว่ารอบรู้มากกว่า แม้ว่า ท่านจะมีความรอบรู้แล้ว แต่เชื่อว่าสิ่งที่ท่านรอบรู้ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาไทยเท่านั้น เพราะเรายังมีผู้ที่มี ความรอบรู้อีกมากที่ไม่ได้อยู่ในกระทรวง หรืออยู่ในกระทรวงแต่ไม่ได้อยู่ในห้องนี้ • การศึกษาเป็นหัวใจการแข่งขันของประเทศ เรื่องของการศึกษานั้น ทุกประเทศถือเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศ เพราะในโลกยุคปัจจุบัน ที่แข่งขันกันด้วยความรู้ ความสามารถ และคุณภาพของคน ไม่ได้แข่งขันที่จํานวนคนหรือทรัพยากรเหมือนในอดีต การที่จะขับเคลื่อนการศึกษาแต่ละครั้งใช้เวลานานมาก เพราะเกี่ยวข้องกับบุคลากรผู้สอนกว่า ๘ แสนกว่าคน และ ผู้เรียนอีกหลายล้านคน จึงใช้เวลานานกว่าการพัฒนาอื่นๆ เช่น การสร้างรถไฟฟ้า มาก แต่หากไม่ขับเคลื่อนและ ไม่ทําอย่างต่อเนื่อง ผลก็จะไม่เกิด กระทรวงศึกษาธิการ จะมีทีมการทํางานที่จะเข้ามาร่วมผลักดันนโยบายการศึกษาของรัฐบาล และจะมีส่วนช่วยเรื่องกฎหมายต่างๆ ซึ่งหลายท่านเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย ขณะเดียวกัน มีคําถามจากคนทั่วไปว่าการศึกษาไทยอยู่ในระดับน่าพอใจหรือไม่ คําตอบคือยังไม่ อยู่ในระดับที่น่าพอใจ จากการวัดกันในระดับนานาชาติ ที่เรียกว่า Program for International Student Assessment : PISA ซึ่งเป็นโครงการประเมินผลนักศึกษานานาชาติ ได้ประเมินผลในกลุ่มประเทศ OECD
  • 4. - - เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com) โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร จํานวน ๓๔ ประเทศ และประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก OECD อีก ๓๑ ประเทศ รวมเป็น ๖๕ ประเทศ ปรากฏว่า ในเรื่องของการอ่าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์นั้น ประเทศไทยอยู่ในลําดับประมาณที่ ๕๐ ทั้งสามด้าน โดยใน ระดับอาเซียนสูงกว่าประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น ส่วนประเทศระดับแนวหน้า เช่น สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น ติดอันดับ ๑ ใน ๕ ซึ่งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ทราบข้อมูลนี้ดีว่าเด็กไทยเรียนเยอะ ครูสอนเยอะ แต่เรียนรู้น้อย นี่คือผลสรุปทางวิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาไทยใช้เวลาเรียนเยอะ แต่เรียนรู้น้อย เด็กเครียด และจบออกไปแล้วยังสู้เขาไม่ได้ • ให้กระทรวงศึกษาธิการมีบทบาทขับเคลื่อนนโยบายด้านอื่นๆ ของรัฐบาลด้วย ไม่เน้นเฉพาะ การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการต้องร่วมกันขับเคลื่อนในส่วนของนโยบายรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่นโยบายที่เป็น นโยบายเร่งด่วนและนโยบายที่เกี่ยวกับด้านการศึกษาโดยตรงเท่านั้น แต่กระทรวงศึกษาธิการจะต้องมีบทบาทใน การขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เช่น การเร่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เพียงพอ ซึ่งปรากฏใน นโยบายรัฐบาลข้อ ๔.๓ นั้น แม้จะไม่เกี่ยวกับการศึกษา แต่การผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้รับผิดชอบในการผลิตคือ สกอ. หรือการสร้างฐานคนที่มีความรู้ ความชํานาญ และความคิดสร้างสรรค์ต่อยอด ความรู้ สร้างนวัตกรรม ซึ่งกําหนดไว้ในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น ศธ.จําเป็นต้องเข้าไปดําเนินการด้วย เป็น ต้น ฉะนั้นจึงมีอีกหลายนโยบายที่ ศธ.จะต้องเข้าไปขับเคลื่อนหรือทํางานร่วมกับกระทรวงอื่นๆ ซึ่งจะเห็นว่าบาง เรื่องอาจจะไม่ใช่เรื่องของกระทรวงโดยตรง แต่ก็ต้องดําเนินการร่วมกัน เช่น การแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นต้น • ประกาศ ๑๐ นโยบาย กระทรวงศึกษาธิการที่จะขับเคลื่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) จะนํานโยบายของรัฐบาลมา ขับเคลื่อนให้ต่อเนื่องตั้งแต่นโยบายสมัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสองท่าน คือ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญ กุล และศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธํารงเวช เพราะเป็นนโยบายรัฐบาลที่จะต้องขับเคลื่อนไปให้ประสบ ความสําเร็จให้ได้ ส่วนในรายละเอียดที่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาว่ามีอะไรจะปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือ ดําเนินการไปแล้วประสบปัญหาอุปสรรค ก็ต้องมาหารือกันต่อไป สําหรับนโยบายที่ผู้บริหารควรให้ความสําคัญ และขับเคลื่อนการทํางาน โดยสรุปมีดังนี้ ๑) เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพผู้ศึกษา ซึ่งถือเป็นเรื่องสําคัญที่ขอให้ทุกคนให้ ความสนใจ โดยมีประเด็นย่อย ดังนี้
  • 5. - - เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com) โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร - การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ เนื่องจากปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็วมาก และจากผลการประเมินด้านการศึกษาของเด็กไทยที่พบว่าเด็กเรียนเยอะ แต่รู้น้อย จึงควรมีการ ทบทวนว่า เด็กควรจะเรียนอะไรเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ต่อ รวมทั้งเนื้อหาสาระในหลักสูตร ที่ควรจะเน้นพื้นฐาน คณิตศาสตร์เพื่อต่อยอดการผลักดันเรื่องการผลิตนักวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สําหรับภาษาอังกฤษก็มีความ จําเป็น เพราะจากผลการประเมินของบริษัท Education First ที่รายงานโดย New York Times ได้ประเมิน ๕๔ ประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ พบว่าประเทศไทยอยู่ใน ๕ อันดับสุดท้าย ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ จะต้องดําเนินการอย่างไรในเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษของเด็กไทย รวมทั้งการใช้ภาษาไทยด้วย เพราะการอ่านเราก็ ยังมีปัญหา รวมทั้งควรสร้างจิตสํานึกและค่านิยมที่ถูกต้องให้แก่เด็กด้วย - การผลิตคนให้ตรงกับอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและระดับสากล ขณะนี้ประเทศขาด บุคลากรด้านการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้งพยาบาลที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ จึงมีความ จําเป็นที่จะต้องผลิตคนให้ตรงกับอุปสงค์ ตัวอย่างคือในขณะนี้มีบริษัทไทยไปลงทุนซื้อกิจการในต่างประเทศ เช่น โรงงานถลุงเหล็กที่อังกฤษ ก็ต้องการบุคลากรของไทยไปทํางานในต่างประเทศเช่นเดียวกับบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาเปิดกิจการในเมืองไทย ก็จําเป็นต้องใช้คนญี่ปุ่นเข้ามาทํางานในเมืองไทยด้วย ดังนั้นคนไทยจะต้องมี ศักยภาพเพียงพอที่จะไปทํางานในต่างประเทศได้ รวมทั้งเป็นการเตรียมคนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วย โดยครู อาจารย์จะต้องแนะนํานักเรียนนักศึกษาตั้งแต่ต้น หากสนใจเรียนในสาขาที่ขาดแคลน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ หรือเรียนพยาบาลที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ เมื่อเปิดประชาคมอาเซียนก็จะมีงานรองรับและมีรายได้ที่ดี แต่หาก เลือกเรียนในสายสังคมหรือสาขาวิชาที่มีคนเรียนจํานวนมากแล้ว อาจไม่มีโอกาสได้ทํางานตามสาขาที่เรียน หรือ อาจต้องไปทํางานในสาขาอื่นที่ไม่ได้เรียน ซึ่งในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้เน้นให้ กระทรวงศึกษาธิการผลิตคนให้ เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ คือในส่วนของอาชีวศึกษาที่จะต้องเน้นทั้งด้านคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมยานยนต์ - การปลูกฝังคุณธรรมและจิตสํานึกประชาธิปไตย โดย กระทรวงศึกษาธิการได้ดําเนินการ เรื่องการปฏิบัติธรรมของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะการปลูกฝังเรื่องเหล่านี้ไม่ควรทําเป็นครั้งคราว แต่ควรมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อต้นปี ๒๕๕๕ ตนได้รับเชิญให้ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มี ความเป็นวินัยมาก โดยได้มีโอกาสไปดูงานโรงเรียนประถมศึกษา เพราะเหตุการณ์สึนามิที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้ต่อสู้กับ เหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งเห็นประชาชนมีวินัยในการต่อแถวได้อย่างยอดเยี่ยม จากการดูงานพบว่าได้เห็นการฝึกอบรม ด้านวินัยตั้งแต่เล็กๆ เกี่ยวกับการแบ่งหน้าที่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความเสียสละในห้องเรียน ทั้งนี้หาก เรานําแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ หรือดําเนินโครงการครูพระสอนศีลธรรม รวมทั้งการดําเนินโครงการปฏิบัติธรรม
  • 6. - - เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com) โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร สําหรับผู้บริหารของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธํารงเวช) ก็ถือเป็น นโยบายที่ดี เพราะเมื่อได้ผลในทางที่ดีขึ้น ก็ควรดําเนินการต่อไป - การพัฒนาคุณภาพครู อาจารย์ โดยเฉพาะด้านที่ขาดแคลน ซึ่งผลการประเมินต่างๆ พบว่า มีครูที่สอนไม่ตรงตามสาขาจํานวนมาก ดังนั้นจึงจะต้องพัฒนาครูผู้สอนเหล่านี้ รวมทั้งครูบรรจุใหม่ให้มีคุณภาพ เช่นกันด้วย นอกจากนี้ได้รับทราบปัญหาคนที่มีความรู้ในสาขาที่ขาดแคลน เช่น ด้านภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ที่เต็มใจจะเข้ามาช่วยสอน แต่ติดปัญหาไม่สามารถสอนได้ เพราะไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู แต่ความ จริงคือบุคคลเหล่านั้นสามารถสอนในมหาวิทยาลัยได้ ได้รับทราบว่ามหาวิทยาลัยเชิญไปสอนได้ แต่จะไปช่วยสอน ประจําในโรงเรียนไม่ได้ ซึ่งต้องยอมรับว่าหลายท่านมีความรู้มากกว่าครูที่เรามีอยู่เพราะเป็นสาขาที่เราขาดแคลน หรือกรณีที่นํานักศึกษาจากอังกฤษเข้ามาช่วยสอนในโรงเรียน ก็ยังพบปัญหาเช่นกัน ที่จริงแล้วหากเป็นการช่วย สอนไม่น่าจะมีปัญหา เพราะไม่ใช่เป็นครูประจํา โดยเฉพาะธุรกิจต่างๆ ซึ่งมี Corporate Social Responsibility : CSR อยู่แล้ว แทนที่จะไปทาสีโรงเรียน อาจเป็นการช่วยสอนน่าจะดีกว่าด้วยซ้ําไป - การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา เข้าใจว่า จะมีหลายโรงเรียนที่ทําได้ดี มีการจัดระบบการศึกษาที่ดี และมีโรงเรียนไปดูเป็นตัวอย่าง ซึ่ง กระทรวงศึกษาธิการ ควรจะไปดูว่าโรงเรียนใดที่จัดการศึกษาได้ดี มีรูปแบบต่างๆ หลากหลาย และเป็นตัวอย่างให้โรงเรียนอื่นพิจารณา นําไปปรับใช้ได้ จึงควรจะมีการกระจายแนวความคิดดีๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้นต่อไป ๒) การสร้างโอกาสทางการศึกษา ซึ่งจะครอบคลุม ๒ เรื่อง คือ - สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการทุพลภาพ อย่าง ทั่วถึง เช่น โครงการ ๑ อําเภอ ๑ ทุน ซึ่งในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้เน้นให้ โอกาสแก่คนที่ยากไร้ แต่ในระยะหลังได้เปิดโอกาสให้มีการสอบแข่งขัน ใครสอบได้ดี ก็จะได้รับทุน จึงต้องการ ให้พิจารณาด้วยว่าถึงแม้จะมีทุนสําหรับเด็กเก่ง แต่คงต้องพิจารณาทุนสําหรับผู้ยากไร้เพิ่มเติมด้วย มิฉะนั้น คนที่ยากไร้ก็จะเสียโอกาสที่จะไปศึกษาต่อในต่างประเทศ รวมทั้งด้านความเสมอภาคต่างๆ ด้วย - การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต เช่นการจัดการศึกษาของสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่อยู่วัยทํางานได้ยกระดับตัวเอง พัฒนาให้รองรับกับ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ต่อไปเราจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ เพราะคนอายุ ๖๐ ปียังสามารถทําอะไรได้อีกมาก เพราะคนที่อยู่ในวัยทํางานรองรับไม่เพียงพอ ในหลายประเทศให้คนที่อายุมากแล้ว แต่ไม่สูงมากเกินไป กลับมาเป็นปัจจัยการผลิตอยู่ เราจะดําเนินการให้ท่านเหล่านี้ได้รับการพัฒนาเรื่องความรู้ การประกอบอาชีพ
  • 7. - - เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com) โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร เพื่อให้กลับมาเป็นกําลังการผลิตของสังคม มิฉะนั้นเด็กรุ่นหลังเรา จะแบกรับพวกเราไม่ไหว เพราะจํานวนน้อย แต่ผู้สูงอายุของเรามีจํานวนมากกว่า ๓) การนําสันติสุขสู่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงศึกษาธิการจะต้องประสานงานร่วมกับ หน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองอํานวยการรักษา ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ดําเนินการเรื่องนี้ ขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้บอกว่า ต้องเน้นการศึกษา ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบสุขใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่ง กระทรวงศึกษาธิการต้องมีบทบาทย่างมากใน เรื่องนี้ ๔) การแก้ไขปัญหายาเสพติด ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการดําเนินการอยู่แล้ว แต่ต้องเข้มแข็ง ติดตามใกล้ชิด ในสถานศึกษาต้องไม่มียาเสพติด ซึ่งในสมัยก่อนเรียกว่า "โรงเรียนสีขาว" ๕) แท็บเล็ต จะจัดหาในปีนี้สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โดยขอให้ดูแลในเรื่องการจัดหา โดยให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส ที่สําคัญเนื้อหาสาระในแท็บเล็ต ต้องมีการพัฒนาเนื้อหาให้มีความน่าสนใจสําหรับเด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ ๖) การวิจัย เป็นเรื่องสําคัญ แต่ที่ผ่านมาเหตุที่งบประมาณการวิจัยลดลง ก็เพราะวิจัยไปแล้วคน ไม่เห็นการนําไปใช้ประโยชน์ แต่หากวิจัยแล้วสามารถนําไปใช้ประโยชน์ต่อภาคการผลิต เป็นประโยชน์ต่อภาคอื่นๆ งบประมาณวิจัยจะไหลเทมาทั้งจากภาครัฐและเอกชน แนวทางแก้ไขอย่างแรกคือ ขอให้ไปดูงานวิจัยที่ทําไว้แล้ว ที่อยู่บนชั้น บนหิ้งทั้งหลาย งานวิจัยใดที่นํามาปรับใช้เป็นประโยชน์ประยุกต์ใช้ได้ ภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ หรือภาคสังคม นํามาปัดฝุ่น แล้วให้คนได้เห็นว่า สิ่งที่วิจัยไปแล้วใช้ได้จริง เป็นประโยชน์จริง อย่างที่สอง เวลาจะวิจัยอะไร หากได้มีการทํางานร่วมกับคนที่จะใช้ผลงานวิจัย เช่น ภาคธุรกิจ หากวิจัยแล้วภาคธุรกิจได้ ประโยชน์ หมายความว่าแทนที่รัฐจะต้องเสียงบอุดหนุนงานวิจัยเอง ๑๐๐% ธุรกิจอาจจะรับทั้ง ๑๐๐% หรือ อาจจะมีส่วนร่วมก็ได้ อย่างนี้ก็จะเห็นว่าทําแล้วได้ประโยชน์ ขอให้นักวิจัยทั้งหลาย นอกจากวิจัยทางด้าน วิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์แท้ๆ ก็ทําไปส่วนหนึ่ง แต่ส่วนที่นําไปใช้ได้จริง ประยุกต์ใช้ได้จริง ก็ต้องมี ซึ่งจะเป็น ส่วนที่ทําให้คนเห็นความสําคัญของงานวิจัย และเราจะได้พัฒนาส่งเสริมงานวิจัยกันมากกว่านี้ ๗) กองทุนตั้งตัวได้ ขณะนี้เมื่อพิจารณาผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่ามีความพร้อม พอสมควร สามารถดําเนินการนโยบายดังกล่าวได้ นอกจากนี้ผู้ประกอบการทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ ใหม่ๆ ที่มีระบบช่วยสนับสนุน ก็สามารถดําเนินการในส่วนที่ชํานาญ แต่ส่วนที่ไม่ชํานาญอาจมีระบบที่มี ผู้ดําเนินการให้ ซึ่งอาจไปจ้างอีกประเภทหนึ่งมาดําเนินการ เช่น ผู้ประกอบการบางรายเก่งในด้านการผลิต แต่เรื่อง การทําบัญชี การบริหารต่างๆ อาจมีระบบใดเข้ามาช่วยดูแลตรงนี้หรือไม่
  • 8. - - เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com) โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร ๘) การผลักดันการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้มีรัฐธรรมนูญของประชาชน ซึ่งเป็นนโยบายของ รัฐบาลเช่นกัน โดย กระทรวงศึกษาธิการจะมีส่วนร่วมในการรณรงค์ ทําความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน ๙) งบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด แต่สิ่งที่จะขอให้ พิจารณาคืองบลงทุน โดยขอให้เร่งดําเนินการให้มีการเบิกจ่าย โครงการเดียวกันให้เริ่มดําเนินการตั้งแต่ต้น ปีงบประมาณ ให้เงินลงไปในระบบเศรษฐกิจ เพื่อช่วยระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วย อย่าไปปล่อยค้างท่อ จนกระทั่งปลายปีงบประมาณ และการจัดซื้อจัดจ้างก็ให้ดําเนินการตามระบบที่โปร่งใส หากไม่จําเป็นต้องใช้วิธี กรณีพิเศษ ก็ขอให้จัดซื้อจัดจ้างโดยระบบปกติ เพื่อจะได้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ๑๐) ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี - ความโปร่งใส ไม่มีการทุจริตคอรัปชัน นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ย้ําให้ดูแลเรื่องการทุจริตคอรัปชันอย่างเต็มที่ ต้องพยายามไม่ให้เกิดข้อครหา โดยเฉพาะเรื่องการซื้อขายตําแหน่ง เพราะหากหน่วยงานใดที่มีข้อครหาเกี่ยวกับการซื้อขายตําแหน่ง ก็หลีกไม่พ้นที่จะมีการทุจริตคอรัปชันตามมา ซึ่งจะส่งผลให้คนที่ทํางานอย่างเข้มแข็ง ตรงไปตรงมา ทํางานอย่างทุ่มเท ก็จะหมดกําลังใจ จึงขอให้ช่วยกันดูแล ให้ดี - การล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษา อีกส่วนหนึ่งที่มีข่าวบ่อยๆ ถือเป็นเรื่องสําคัญเรื่อง หนึ่ง คือ การล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษา ระหว่างครูกับนักเรียน อาจารย์กับนักศึกษา และในส่วนของ บุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจะต้องไม่ให้คนในวงการเดียวกันมาทําอะไรที่เป็นการล่วงละเมิดทางเพศ หากเรา ดําเนินการอย่างจริงจัง เรื่องเหล่านี้ก็จะน้อยลง แต่หากเราไม่เอาจริง ดูเป็นเรื่องที่ไม่ให้ความสนใจ ก็จะเกิดเรื่องนี้ ขึ้นบ่อยๆ ในสถานศึกษา - ประสิทธิภาพ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงโรงเรียนขนาดเล็กมาก ซึ่งผลประเมินคุณภาพ การศึกษาอยู่ในระดับที่ต่ํา แต่หากเราจัดระบบรับส่งเด็กจากโรงเรียนขนาดเล็กด้อยคุณภาพ ไปเรียนอีกโรงเรียน แห่งหนึ่งที่ตั้งห่างไกลออกไป แต่มีคุณภาพดีกว่า โดยผู้ปกครองไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ก็จะทําให้เด็กได้รับ การศึกษาที่ดีขึ้น รวมทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย แต่การดําเนินการจะต้องไม่มีปัญหาเรื่องมวลชน คือ ชาวบ้านก็ไม่ติดใจ และจัดระบบวิธีการที่ดีในการรับส่งนักเรียนอย่างสะดวก ตรงนี้คือส่วนที่จะช่วยกันพัฒนาขึ้นมา พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) กล่าวเสริม ว่า เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นนักกฎหมาย ดังนั้นจึงจะเข้ามาผลักดันกฎหมายต่างๆ ที่ยัง ค้างอยู่ เพื่อให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงิน
  • 9. - - เว็บไซต์ครูไทบ้านดอทคอม (www.kroothaiban.com) โดย นายวีระยุทธ มณีโคตร ประจําตําแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เงินเดือนเต็มขั้น ให้เงินเดือนไหลลื่นได้สะดวกขึ้น โดยให้สามารถไปรับเงินเดือนในอันดับขั้นต่อไปได้ เช่น อันดับ คศ.๒ ที่เงินเดือนเต็มขั้นให้รับเงินเดือนในอันดับ คศ.๓ ได้ ซึ่งทราบว่าขณะนี้กําลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งจะดําเนินการ โครงการครูคืนถิ่น ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธํารงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ ดําเนินการไปแล้ว เพื่อให้ครูได้มีโอกาสกลับไปดูแลครอบครัวตามเป้าหมายของโครงการ นอกจากนี้ จะติดตามการขอเลื่อนวิทยฐานะของครูว่า จะมีวิธีอย่างไรที่จะมีทางเลือกให้ผลงาน ของครูได้รับการพิจารณาเร็วขึ้น ซึ่งปัญหาอาจเป็นเพราะมีผู้อ่านผลงานทางวิชาการไม่เพียงพอ จึงต้องไปพิจารณา ว่าจะมีทางเลือกอย่างไรเพื่อให้ครูได้เลื่อนวิทยฐานะเร็วขึ้น เพราะบางคนส่งผลงานไปนานแล้วจนใกล้จะเกษียณ อายุราชการแต่ก็ยังไม่ได้รับการพิจารณา ส่วนเรื่องเด็กนักเรียนต้องการให้เน้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรมควบคู่ไปกับ การเรียนการสอน ซึ่งตรงนี้อาจต้องมาพิจารณาว่าจะต้องนําหลักสูตรหน้าที่พลเมืองกลับมาใช้หรือไม่อย่างไร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) กล่าวด้วยว่า มีแนวคิดที่จะ ดําเนินการงานในหลายด้าน ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา การทําบัญชีครัวเรือน โครงการในพระราชดําริ เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ ศูนย์ศิลปาชีพ OTOP ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งการเตรียม ความพร้อมของบุคลากร นักเรียน นักศึกษา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอีกด้วย แหล่งข้อมูล ข่าวสํานักงานรัฐมนตรี ๒๘๗/๒๕๕๕ http://www.moe.go.th/websm/2012/nov/287.html