SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 74
Downloaden Sie, um offline zu lesen
รายงานการวิจัย
เรื่อง
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากร
ที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข
โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
Rama – EGAT Heart Score
Cardiovascular Risk among Staff Working at The Central of
The Ministry of Public Health Using Risk Assessment of
Rama - EGAT Heart Score
โดย
นางเกษชดา ปัญเศษ
นางสาวสุกาญฎา กลิ่นถือศิล
นางอาภาสิณี กิ่งแก้ว
นางวิยดา วงศ์มณีโรจน์
สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ได้รับทุนสนับสนุนจากโรงพยาบาลราชวิถี
กรมการแพทย์ กรวงสาธารณสุข
ปีงบประมาณ 2556
ก
คํานํา
โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน หรือ
หลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุในผนังหลอดเลือดจนเกิดการ
ตีบตัน และแคบ ทําให้มีความต้านทานการไหลของเลือด หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เปราะบาง
มากขึ้น หากเกิดบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะทําให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อย เกิด
โรคหัวใจขาดเลือด หากอุดตันจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ จะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือหัวใจ
ล้มเหลว ทําให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและเสียชีวิตได้ โรคหัวใจและหลอดเลือดเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลาย
ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและเพศ ปัจจัยพฤติกรรม เช่น การออกกําลังกาย การ
รับประทานอาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันโลหิต ไขมัน และ
เบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนําไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด
ระดับแตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกัน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น ปัจจุบันองค์การ
อนามัยโลกเสนอแนวทางในการป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
แบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive cardiovascular risk management) เพื่อมุ่งแก้ไขสหปัจจัย
ทั้งหมดไปพร้อม ๆ กัน ไม่มุ่งรักษาเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ดังนั้นการพิจารณาความเสี่ยงในระดับ
บุคคลจําเป็นต้องใช้ปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพยากรณ์การ
เกิดโรคได้อย่างแม่นยํา เรียกการประเมินแบบนี้ว่า การประเมินความเสี่ยงรวม (Global risk
assessment) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกันโรคด้วยตนเองและลดโอกาสเกิดปัญหาทาง
โรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจตามมาในอนาคต ซึ่งต้องการการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุม
อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี ในฐานะหน่วยงานบริการ มี
หน้าที่ให้บริการแก่บุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข ทั้งด้านการรักษาพยาบาล
ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จึงได้ดําเนินการวิจัยเรื่องความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ
หลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขโดยใช้แบบประเมินความ
เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT Heart Score ในการประเมินความเสี่ยงรวม ผล
จากการวิจัยครั้งนี้ทําให้ได้ข้อมูลที่สําคัญในการวางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติ
ราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขให้ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนําไปสู่การสร้างเสริม
สุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานวิจัย
ฉบับนี้คงมีประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนผู้ที่สนใจจะนําข้อมูล
ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ต่อไป
(นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์)
ผู้อํานวยการสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
มีนาคม 2557
ข
กิตติกรรมประกาศ
รายงานวิจัยฉบับนี้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยความสนับสนุนและความร่วมมือจากบุคคล
หลายฝ่าย คณะผู้วิจัยขอขอบคุณคณะผู้บริหารของโรงพยาบาลราชวิถี และของกรมการแพทย์ที่
อนุมัติให้ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยนี้ ขอขอบพระคุณนายแพทย์อุดม เชาวรินทร์ ผู้อํานวยการ
โรงพยาบาลราชวิถี (ในขณะที่เริ่มทําวิจัยฉบับนี้ ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการสถานพยาบาลกระทรวง
สาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี) นายแพทย์อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยี
ทางการแพทย์ กรมการแพทย์ และนางวารุจีย์ ชูจิตร พยาบาลวิชาชีพชํานาญการพิเศษ ซึ่งได้กรุณา
ให้คําปรึกษาต่อคณะผู้วิจัยมาตลอด นับตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงการวิจัย
คณะผู้วิจัยขอแสดงความขอบคุณผู้ประสานงานทั้งในส่วนของหน่วยงาน กอง กรม จาก
โรงพยาบาลราชวิถี ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขทุกคนที่ให้
ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทําวิจัยครั้งนี้
ท้ายที่สุดนี้ คณะผู้วิจัยขอมอบความดีและคุณประโยชน์ทั้งหลายที่เกิดจากการวิจัย
ครั้งนี้แด่ผู้มีพระคุณ และทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องมา ณ โอกาสนี้
นางเกษชดา ปัญเศษ
นางสาวสุกาญฎา กลิ่นถือศิล
นางอาภาสิณี กิ่งแก้ว
นางวิยดา วงศ์มณีโรจน์
มีนาคม 2557
ค
ชื่องานวิจัย ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลาง
กระทรวงสาธารณสุขโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
Rama – EGAT Heart Score
ชื่อผู้เขียน นางเกษชดา ปัญเศษ พยาบาลวิชาชีพวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล
นางสาวสุกาญฎา กลิ่นถือศิล พยาบาลวิชาชีพวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล
นางอาภาสิณี กิ่งแก้ว พยาบาลวิชาชีพวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล
นางวิยดา วงศ์มณีโรจน์ พยาบาลวิชาชีพวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงต่อ
โรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบ
ประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT heart score ซึ่งพัฒนาโดย
คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ที่มารับการตรวจ
สุขภาพประจําปีย้อนหลัง จากรายงานผลการตรวจสุขภาพประจําปี พ.ศ. 2556 ตั้งแต่เดือนมีนาคม –
พฤษภาคม 2556 จํานวน 950 ราย ทําการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความ
แตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างแบบสองกลุ่มอิสระ โดยใช้การทดสอบค่าที และทดสอบ
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และถือค่า p – value น้อยกว่า 0.05 เป็น
นัยสําคัญทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ใน
ระดับน้อย ปานกลาง และสูง คิดเป็นร้อยละ 68.9, 27.7 และ 3.4 ตามลําดับ ค่าเฉลี่ยคะแนนความ
เสี่ยงของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 4.5 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.0) โอกาสเกิด
เส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปีเฉลี่ยร้อยละ 1.5 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.6) เพศชายมี
คะแนนความเสี่ยงเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (เพศชายมีคะแนนเฉลี่ย
7.5 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.9, เพศหญิงมีคะแนนเฉลี่ย 3.6 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.5) โดยเพศ
ชายมีโอกาสเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปีเฉลี่ยร้อยละ 2.5 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.5)
ในขณะที่เพศหญิงเฉลี่ยร้อยละ 1.2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.0) ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ
หลอดเลือดขึ้นอยู่กับสถานภาพด้านเพศอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยส่วนใหญ่เพศชายมี
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 46.9 ส่วนใหญ่
เพศหญิงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 76.7 และ
พบว่าลักษณะงานที่ทําขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่าผู้ที่
มีความเสี่ยงสูงส่วนมากมีลักษณะงานเป็นงานวิชาการ และงานธุรการ
ผลจากการวิจัยครั้งนี้ทําให้ได้ข้อมูลที่สําคัญในการวางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของ
บุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขให้ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
นําไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
ง
Research Title Cardiovascular Risk among Staff Working at The Central of
The Ministry of Public Health Using Risk Assessment of
Rama - EGAT Heart Score
Author Mrs. Ketchada Punset Professional Registered Nurse
Miss Sukanda Klinthuesin Professional Registered Nurse
Mrs. Apasinee Kingkaew Professional Registered Nurse
Mrs. Wiyada Wongmaneeroj Professional Registered Nurse
Abstract
The purpose of this retrospective descriptive research was to assess
cardiovascular risk among staffs working at the central of the Ministry of Public Health.
The Faculty of medicine, Ramathibodi Hospital has developed Rama – EGAT Heart
Score which was used as a tool in the present study for the total CVD risk calculation
for predicting a person’s chance of having severe coronary heart diseases within the
next ten years. The sample consists of 950 subjects from their medical history reports,
of the mentioned groups who had a regular check-up at the Ministry of Public Health
clinic, Rajavithi Hospital, between March and May 2013. Data were analyzed by
descriptive statistics, independent samples t-test, and chi – square test/ fisher exact test.
The results of the study indicated that 68.9, 27.7 and 3.4 percent of
participants had cardiovascular risk score at low, moderate and high level respectively.
The total mean score of cardiovascular risk was at low level (mean 4.5, S.D 4.0), chance
of having severe coronary heart diseases within the next ten years average 1.5 percent
(SD = 1.6). The cardiovascular risk mean score of male was significantly higher than
those in female (p < 0.5). Men had a chance of having severe coronary heart diseases
within the next ten years average 2.5 percent (SD = 2.5) while average 1.2 percent (SD =
1.0) was found in women. Cardiovascular risk level was significantly different between
gender (p < 0.5). Most of male had cardiovascular risk score at moderate level (46.9 %)
whereas most of female had cardiovascular risk score at low level (76.7 %). There were
significant difference (p < 0.5) of cardiovascular risk level among personnel with
differences job types, most of high cardiovascular risk level were observer in academic
and a service officers
The findings from the present study will be used to plan behavioral health
development for staffs working at the central of the Ministry of Public Health.
จ
สารบัญ
หน้า
คํานํา ก
กิตติกรรมประกาศ ข
บทคัดย่อ ค
Abstract ง
สารบัญ จ
สารบัญตาราง ช
บทที่ 1 บทนํา
ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา 1
คําถามการวิจัย 3
วัตถุประสงค์การวิจัย 3
ขอบเขตของการวิจัย 3
นิยามศัพท์ 4
กรอบแนวคิด 5
บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด 6
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 7
แนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 10
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากร 13
ที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 17
บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย
ประชากรเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่าง 22
เกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก 22
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 23
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 25
การดําเนินการ 25
การวิเคราะห์ข้อมูล 26
ข้อพิจารณาด้านจริยธรรม 26
ขั้นตอนการทําวิจัย 27
ฉ
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 28
ข้อมูลภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 31
บทที่ 5 อภิปรายผลการวิจัย
ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 46
ภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของ 47
บทที่ 6 สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการวิจัย 54
ข้อเสนอแนะ 55
บรรณานุกรม 57
ภาคผนวก 60
ก. เอกสารรับรองโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับการวิจัยในคน 61
ข. แบบบันทึกข้อมูล 62
ค. รายนามและประวัติย่อผู้วิจัย 63
ช
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 แสดงหน่วยงานต้นสังกัดของกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษา 28
2 แสดงลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษา 29
3 ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 32
ของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมและจําแนกตามเพศ
4 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 33
ของกลุ่มตัวอย่างจําแนกตามระดับความเสี่ยง
5 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่าง 35
จําแนกตามระดับความเสี่ยง
6 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง 37
ระดับความเสี่ยงน้อยจําแนกตามเพศ
7 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่าง 39
ระดับความเสี่ยงน้อยจําแนกตามเพศ
8 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง 40
ระดับความเสี่ยงปานกลางจําแนกตามเพศ
9 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่าง 42
ระดับความเสี่ยงปานกลางจําแนกตามเพศ
10 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง 43
ระดับความเสี่ยงสูงจําแนกตามเพ
11 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่าง 45
ระดับความเสี่ยงสูงจําแนกตามเพศ
1
บทที่ 1
บทนํา
ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
ปัจจุบันโรคเรื้อรังเป็นสาเหตุสําคัญของการตายและความพิการของประชากรทั่วโลก
องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าในปี 2548 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 58 ล้านคน โดยร้อยละ 60 หรือ
35 ล้านคนตายด้วยโรคเรื้อรังซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน โรคอ้วน
โรคมะเร็งและโรคทางการหายใจ หากไม่เร่งแก้ไข คาดว่าในปี 2558 จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ
17 หรือประมาณ 38.8 ล้านคน และยังพบว่าในภาระโรคทั้งหมดนั้นเป็นภาระ (burden) จากโรค
เรื้อรังดังกล่าวถึงร้อยละ 45.9 (World Health Organization [WHO], 2005) จากสถิติการรายงาน
สาเหตุการตายของประชากรโลก พบว่า จํานวนผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคต จนถึงปี พ.ศ. 2573
ถ้ายังไม่มีมาตรการการดําเนินการที่เหมาะสมและมีคุณภาพเพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม
ประเทศยากจน ทั้งด้านการสนับสนุนนโยบายและจัดบริการการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคที่
ครอบคลุมในกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มประชากรวัยทํางานหรือวัยผู้ใหญ่ในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคไม่ติดต่อ จากการรายงาน พบว่า โรคหัวใจขาดเลือดจัดเป็นลําดับที่ 3 ของสาเหตุการตาย
ทั้งหมด รองจากอุบัติเหตุจราจร และโรคหลอดเลือดสมองซึ่งจัดอยู่ในลําดับที่ 1 และที่ 2 ตามลําดับ
(สํานักโรคไม่ติดต่อ, 2553)
สําหรับในประเทศไทยจากการศึกษาของศูนย์ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ สํานักโรคไม่ติดต่อ กรม
ควบคุมโรค ในโครงการระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ BRFSS
(Behavioral Risk Factors Surveillance System) พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550 ของประชากรอายุ
15 - 74 ปี พบว่า ความชุกของผู้ที่เคยมีแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นจาก
0.5 ล้านคน จากการสํารวจ ปีพ.ศ. 2548 เป็น 0.7 ล้านคน ในการสํารวจ ปีพ.ศ. 2550 และจาก
รายงานสถิติสาธารณสุข ในปีพ.ศ. 2551 พบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองใหญ่ จํานวน
13,130 คน และเมื่อพิจารณารายภาคพบว่าภาคกลางมีจํานวนผู้เสียชีวิตมากที่สุด รองลงมาคือ
ภาคเหนือ จํานวนผู้ป่วยใน ด้วยโรคหัวใจขาดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่า 2.5 เท่าภายใน 7 ปี
โดยเพิ่มจาก 62,794 ราย ในปีพ.ศ. 2544 เป็น 159,176 ราย ในปีพ.ศ. 2551 ภาคกลางมีสัดส่วน
ผู้ป่วยใน สูงถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ เช่นเดียวกับจํานวนผู้ป่วยใน ด้วยโรคหลอดเลือดสมองมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าภายใน 7 ปี ภาคกลางมีสัดส่วนผู้ป่วยใน สูงถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ
(สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2553) และ จากรายงานการสํารวจ
สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 พบว่า ประชากรไทยที่มีอายุ
15 ปีขึ้นไปร้อยละ 1.4 และผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปร้อยละ 1.9 บอกว่าเคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์
ว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ชายและผู้หญิงมีความชุกของโรคใกล้เคียงกัน
2
ความชุกนี้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ความชุกสูงสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไปซึ่งพบร้อยละ 5.8 (สํานักงาน
สํารวจสุขภาพประชาชนไทย [สสท], 2551) โรคหัวใจและหลอดเลือด เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายปัจจัย
ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและเพศ ปัจจัยพฤติกรรม เช่น การออกกําลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่
ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันเลือด ไขมัน และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความ
เสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนําไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดระดับแตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลาย
ปัจจัยร่วมกัน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น (สุกิจ แย้มวงศ์, 2548)
จากข้อมูลดังกล่าว ถ้ามีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด
โรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การดําเนินการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชน
เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่กําลังเป็นปัญหาของประเทศได้ สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ได้
ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในข้าราชการและลูกจ้างประจําที่ปฏิบัติ
ราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขระหว่างปี พ.ศ. 2548 – 2555 ดังต่อไปนี้ ในปีพ.ศ. 2548
สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ได้ทําการศึกษาระดับไขมัน น้ําตาลในเลือด และความดันโลหิต
ของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 2,404 ราย พบว่า บุคลากร
จํานวน 982 ราย (ร้อยละ 40.8) ตรวจพบระดับไขมัน น้ําตาลในเลือด และความดันโลหิตสูงกว่า
ปกติอย่างน้อยหนึ่งอย่าง โดยพบเป็นไขมันในเลือดสูงกว่าปกติมากที่สุด รองลงมาเป็นความดันโลหิต
สูงกว่าปกติ และน้ําตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ตามลําดับ ความผิดปกติที่ตรวจพบทั้งหมดอยู่ในช่วง
กลุ่มอายุ 45 – 54 ปี มากที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
(กมลภัค นนทลักษณ์, เกษชดา ปัญเศษ, สุกาญฎา กลิ่นถือศิล, เพ็ญพรรณ บุญสาใจ, และมาณวิกา
กิ่งแก้ว, 2548)
ต่อมาปี พ.ศ. 2550 สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ได้ทําการวิจัยเรื่อง พฤติกรรม
สุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข : ศึกษากรณีผู้ที่มีไขมันในเลือด
สูง จํานวน 407 ราย ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้าน
การจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับสูงมาก คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการป้องกันปัจจัย
เสี่ยงอยู่ในระดับสูง ส่วนคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออก
กําลังกาย และด้านการดูแลรักษาสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วน
ใหญ่มีไขมันในเลือดสูงมานาน 3 ปีขึ้นไป ไม่ได้รับการรักษาด้วยการใช้ยา อาจเป็นเพราะขาด
ความรู้ความเข้าใจถึงผลเสียต่อสุขภาพของตนเอง ทั้งนี้เพราะการดําเนินโรคไม่ได้เป็นทันทีทันใด
บุคคลจึงไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างจํานวนมากมีโรค
ประจําตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน ร่วมด้วย รวมทั้งมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ใน
ระดับอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดง และก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ตามมา (กมลภัค นนทลักษณ์ และคณะ, 2550) และในปี พ.ศ. 2552 – 2555 สถานพยาบาล
กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทําคู่มือแนะนําการปฏิบัติตัวแต่ละรายโรค แจกพร้อมผลการตรวจ
สุขภาพให้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพทุกราย โดยคู่มือคําแนะนําการปฏิบัติตัว ประกอบด้วย
ข้อแนะนําการปฏิบัติตัว 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกําลังกาย ด้าน
การดูแลรักษาสุขภาพ ด้านการป้องกันปัจจัยเสี่ยง และด้านการจัดการกับความเครียด
3
สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี ในฐานะเป็นหน่วยงานบริการที่
รับผิดชอบดูแลด้านสุขภาพ ทั้งด้านการรักษาพยาบาล ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค แก่
ข้าราชการและลูกจ้างประจําสังกัดส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข ตามนโยบายของกรมการแพทย์
จึงสนใจศึกษาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้แบบประเมินของ Rama –
EGAT heart score ซึ่งเป็นแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นจากข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากคนไทยโดยคณะ
นักวิจัยไทยที่โรงพยาบาลรามาธิบดีได้รวบรวมไว้ จึงสามารถนํามาใช้กับประชากรไทยได้ดี โดยเฉพาะ
ในเพศหญิง เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงเพื่อคัดกรองได้แม่นยํา และเชื่อถือได้สําหรับการใช้ในหมู่คนไทย
(พัฒนาพร สุปินะ, กิติพงษ์ หาญเจริญ, สุคนธา ศิริ และอดิศักดิ์ มณีไสย, 2552) โดยการให้คะแนน
ในแต่ละปัจจัยเสี่ยงตามข้อแนะนํา และนําผลคะแนนรวมมาดูผลว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
มากน้อยเพียงใด การประเมินความเสี่ยงรวม เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน
ป้องกันโรคด้วยตนเองและลดโอกาสเกิดปัญหาทางโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจตามมาในอนาคต
ซึ่งต้องการการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ผลจากการวิจัยในครั้งนี้จะ
ทําให้ได้ข้อมูลที่สําคัญในการวางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลาง
กระทรวงสาธารณสุขให้ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อนําไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพและ
ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
คําถามการวิจัย
ภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวง
สาธารณสุข เป็นอย่างไร
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการ
ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (Rama –
EGAT heart score)
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นประเมินภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติ
ราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขที่มาใช้บริการตรวจสุขภาพประจําปี 2556 กับสถานพยาบาล
กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี จํานวน 4 กรม ได้แก่ 1. กรมการแพทย์ 2. กรมพัฒนา
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 3. สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ 4. กรม
สนับสนุนบริการสุขภาพ ในระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2556 เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง
ตามเกณฑ์คัดเข้า โดยการรวบรวมข้อมูลจากผลการตรวจสุขภาพ ในเวชระเบียนผู้ป่วย จํานวน 950
ราย
4
นิยามศัพท์
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หมายถึง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
หลอดเลือดหัวใจขั้นรุนแรง เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย และการเสียชีวิตเฉียบพลันในช่วงเวลา 10
ปีข้างหน้า วัดโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ใช้ผลเลือด)
Rama – EGAT heart score
บุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข หมายถึง ข้าราชการและ
ลูกจ้างประจําสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ซึ่งมีสถานที่ทํางานในหน่วยงานที่อยู่ในส่วนกลาง
กระทรวงสาธารณสุขที่มาใช้บริการตรวจสุขภาพประจําปีกับทางสถานพยาบาล จํานวน 4 กรม
ได้แก่ 1. กรมการแพทย์ 2. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 3. สํานักงาน
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ 4. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง หมายถึง ผู้ที่มีเส้นรอบเอว ดังนี้ ผู้หญิงมากกว่าหรือเท่า 80
เซนติเมตร และ ผู้ชายมากกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร ซึ่งประเมินจากการวัดเส้นรอบเอว
(Waist circumference) ด้วยสายวัดมาตรฐาน โดยวัดรอบเอวระดับตําแหน่งกึ่งกลางของข้างเอว
ระหว่างขอบล่างของซี่โครงล่างกับขอบบนที่อยู่ใกล้กับกระดูกเชิงกรานชิ้นบนสุด (iliac crest) ให้สาย
รอบเอวแนบรอบเอว และอยู่ในแนวขนานกับพื้น
ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง หมายถึง ผู้ที่มีระดับความดันโลหิตตัวบนสูงกว่าหรือ
เท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอท หรือ ความดันโลหิตตังล่างสูงกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท หรือ
ผู้ที่กําลังได้รับการรักษาด้วยการกินยาลดความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน หมายถึง ระดับน้ําตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อ
เดซิลิตร โดยการตรวจเลือดหลังอดอาหารนาน 12 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose, FPG) หรือ
เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยมาก่อนและขณะนี้กําลังรักษาด้วยยากินหรือยาฉีดลดน้ําตาลในเลือด
ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ หมายถึง ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดมากกว่าหรือ
เท่ากับ 280 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยการตรวจเลือดหลังอดอาหารนาน 12 ชั่วโมง
การสูบบุหรี่ หมายถึง ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจํา ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่นซึ่ง
เรียกว่าผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง ผู้ที่บริโภคยาสูบแบบไม่มีควันชนิดต่างๆ เช่น ยาฉุน ยาเส้น
ตลอดจนผู้ที่เคยสูบบุหรี่ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน และเพิ่งเลิกสูบบุหรี่ได้ไม่นาน (น้อยกว่า 15 ปี
เนื่องจากพบว่า หลังจากหยุดสูบบุหรี่ หยุดสูบได้อย่างน้อย 10 ปีจึงจะมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
ใกล้เคียงกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ และต้องเลิกสูบบุหรี่นานติดต่อกันมากกว่า 15 ปีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
และหลอดเลือดจึงจะลดลงเหลือเท่ากับคนที่ไม่สูบบุหรี่)
5
กรอบแนวคิด
แบบประเมินความเสี่ยง
ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
โดยประชาชน
(ใช้ผลเลือด)
Rama – EGAT heart score
1. อายุ
2. เพศ
3. โคเลสเตอรอล
4. บุหรี่
5. เบาหวาน
6. ความดันโลหิต
7. รอบเอว
ความเสี่ยง
ต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
1. ระดับน้อย
2. ระดับปานกลาง
3. ระดับสูง
6
บทที่ 2
ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการประเมินภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการ
ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (Rama –
EGAT heart score) ผู้วิจัยได้รวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นําเสนอตามลําดับดังนี้
1. สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด
2. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
3. แนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
4. ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลาง
กระทรวงสาธารณสุข
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน หรือหลอด
เลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุในผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตัน
และแคบ ทําให้มีความต้านทานการไหลของเลือด หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เปราะบางมากขึ้น
หากเกิดบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะทําให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อย เกิดโรคหัวใจขาด
เลือด หากอุดตันจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ จะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือหัวใจล้มเหลว ทําให้
กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเสียชีวิตได้
สําหรับในประเทศไทยจากการศึกษาของศูนย์ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ สํานักโรคไม่ติดต่อ กรม
ควบคุมโรค ในโครงการระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ BRFSS
(Behavioral Risk Factors Surveillance System) พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550 ของประชากรอายุ
15 - 74 ปี พบว่า ความชุกของผู้ที่เคยมีแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นจาก
0.5 ล้านคน จากการสํารวจ ปีพ.ศ. 2548 เป็น 0.7 ล้านคน ในการสํารวจ ปีพ.ศ. 2550 และจาก
รายงานสถิติสาธารณสุข ในปีพ.ศ. 2551 พบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองใหญ่ จํานวน
13,130 คน และเมื่อพิจารณารายภาคพบว่าภาคกลางมีจํานวนผู้เสียชีวิตมากที่สุด รองลงมาคือ
ภาคเหนือ จํานวนผู้ป่วยใน ด้วยโรคหัวใจขาดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่า 2.5 เท่าภายใน 7 ปี
โดยเพิ่มจาก 62,794 ราย ในปีพ.ศ. 2544 เป็น 159,176 ราย ในปีพ.ศ. 2551 ภาคกลางมีสัดส่วน
ผู้ป่วยใน สูงถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ เช่นเดียวกับจํานวนผู้ป่วยใน ด้วยโรคหลอดเลือดสมองมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าภายใน 7 ปี ภาคกลางมีสัดส่วนผู้ป่วยใน สูงถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ
(สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2553) และ จากรายงานการสํารวจ
สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 พบว่า ประชากรไทยที่มีอายุ
7
15 ปีขึ้นไปร้อยละ 1.4 และผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปร้อยละ 1.9 บอกว่าเคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์
ว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ชายและผู้หญิงมีความชุกของโรคใกล้เคียงกัน
ความชุกนี้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ความชุกสูงสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไปซึ่งพบร้อยละ 5.8 (สํานักงาน
สํารวจสุขภาพประชาชนไทย [สสท], 2551)
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจและหลอดเลือด เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ
และเพศ ปัจจัยพฤติกรรม เช่น การออกกําลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทาง
กายภาพ เช่น ความดันเลือด ไขมัน และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคล
ในการนําไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดระดับแตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกัน จะมีโอกาส
เสี่ยงต่อโรคมากขึ้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้
อายุ และ เพศ จากการศึกษา พบว่า โรคหัวใจ มีสาเหตุจาการที่มีอายุมากขึ้น โดยร้อย
ละ 94 ของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด คือผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป (Srimahachota et al., 2006)
โดยพบว่าระดับไขมันคอเลสเทอรอลจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป จนถึง 60 หรือ 65 ปี ในเพศ
ชายอายุก่อน 50 ปี พบว่ามีระดับไขมันคอเลสเทอรอลสูงกว่าเพศหญิงที่มีอายุเท่ากัน แต่เมื่ออายุ
หลัง 50 ปี ไปแล้ว พบว่า ในเพศหญิงจะมีระดับไขมันคอเลสเทอรอล สูงกว่าเพศชาย ทั้งนี้เป็น
เพราะเพศหญิงถึงวัยหมดประจําเดือนซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทําให้มีระดับไขมันคอเลสเทอรอลสูงขึ้น
ซึ่งการที่มีไขมันในเลือดสูงในเพศชายที่อายุมากกว่า 45 ปี และในเพศหญิงที่อายุมากกว่า 55 ปี จัด
ได้ว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดตามมา และจากการศึกษาของ
Framingham Heart พบว่าอัตราการเกิดซ้ําของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจะเพิ่มเป็น 9 เท่า
ในผู้หญิงหรือ 3 เท่าในผู้ชายที่มีระดับไขมันคอเลสเทอรอลในเลือดมากกว่า 270 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
เมื่อเทียบกับคนที่มีระดับไขมันคอเลสเทอรอลในเลือดน้อยกว่า 190 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และถ้ามี
ระดับไขมันคอเลสเทอรอลในเลือดตั้งแต่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไปโดยที่ไม่มีปัจจัยอื่น ๆ ร่วม
ด้วยเลย จะมีส่วนในการทําให้ตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของคนในสหรัฐอเมริกาถึงร้อยละ 42.7
แต่ถ้ามีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เพศชาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ ยิ่งจะทําให้มีความ
เสี่ยงมากขึ้นอย่างแน่นอน (สมปอง ธนไพศาลกิจ, 2549)
โคเลสเตอรอล การมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นสาเหตุสําคัญของการเกิดโรค
หลอดเลือดแดง ซึ่งบางครั้งก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดที่สําคัญ เช่น
กล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดสมองตีบหรือแตกเฉียบพลันตามมาได้ เนื่องจากคอเลสเทอรอลที่มี
อยู่ในเลือดจะเกาะหรือตกตะกอนเกาะกับผนังของเส้นเลือด โดยเฉพาะเส้นเลือดแดงจะแคบลง ทําให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต ทําให้ความดันโลหิตสูง (high blood pressure) คนที่เป็นโรค
นี้มักหัวใจวาย จากการตรวจทางพยาธิวิทยา พบว่า โรคหลอดเลือดแดงสามารถพบได้ตั้งแต่วัยเด็ก
หรือวัยรุ่น โดยการเกิดโรคหลอดเลือดมีความสัมพันธ์กับจํานวนปัจจัยและความรุนแรงของปัจจัย
เสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงระดับคอเลสเทอรอลในเลือด (ฆนัท ครุธกูล และคณะ, 2549) จากการศึกษา
พบว่า ถ้าลดระดับคอเลสเทอรอลลงได้ร้อยละ 1 จะทําให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ
8
ลดลงถึงร้อยละ 2 (สิริพันธุ์ จุลกรังคะ, 2541) จากการศึกษาเชิงอนุมานแสดงถึงระดับคอเลสเทอ
รอลที่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 10 จะเปลี่ยนแปลงอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ
38 (Low, Wald, & Thompson, 1994) มีการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า ผู้ที่มีระดับ
โคเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่า 300 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีอัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็น 4
เท่าของผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดต่ํากว่า 200 มิลลิกรัมต่อ โดยค่าโคเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น 1
mmol/l จะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจร้อยละ 35 (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ
95 อยู่ระหว่างร้อยละ 26-44) เพิ่มโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดทั้งที่เสียชีวิตและไม่
เสียชีวิตร้อยละ 25 (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 อยู่ระหว่างร้อยละ 13-40) และลดโอกาสการ
เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองแตกร้อยละ 20 (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 อยู่ระหว่างร้อยละ
8-30) (ฆนัท ครุฑกูล และคณะ, 2549)
บุหรี่ การสูบบุหรี่ทําให้เกิดอนุมูลอิสระเป็นจํานวนมากมีผลทําลายเซลล์เยื่อบุผนัง
หลอดเลือดชั้นใน และทําให้ไขมันไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นต่ํา (LDL-C) ในเลือดถูกออกซิไดส์
(oxidized) เกิดเป็น ออกซิไดส์ ไขมันไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นต่ํา (oxidized –LDL) เพิ่มขึ้น และ
ทําให้ระดับ ไขมันไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นสูง (HDL-C) ลดลง ซึ่งเป็นขบวนการสําคัญต่อการเกิด
โรคหลอดเลือดแดง นอกจากนี้คนสูบบุหรี่ยังมีเม็ดเลือดขาวสูง มีระดับ ไฟบริโนเจน (fibrinogen)
สูงขึ้น มีผลให้เกิดลิ่มเลือดง่ายขึ้น (ฆนัท ครุฑกูล และคณะ, 2549) มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ มี
โอกาสเกิดโรคหัวใจสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 6 เท่า (Contie, V., Defibaugh, A., Dutchen, S., Earl,
L. & Wein, H., 2012)
เบาหวาน การมีโรคเบาหวาน ความทนกลูโคสผิดปกติ และระดับน้ําตาลในเลือดหลัง
อดอาหารผิดปกติทําให้ความเสี่ยงต่อโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้น โรคเบาหวานทําให้เกิดการ
เสื่อมของหลอดเลือดทั้งขนาดเล็ก (microvascular complication) คือ ภาวะแทรกซ้อนที่จอ
ประสาทตา (retinopathy) ภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท (nephropathy) และหลอดเลือดขนาด
ใหญ่ (macrovascular complication) คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary hearth disease) โรค
หลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease) และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral
vascular disease) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหัวใจ
และหลอดเลือดสูงกว่าคนทั่วไป ความเสี่ยงดังกล่าวสูงขึ้นตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มให้การวินิจฉัยว่าเป็น
เบาหวาน หรือพบความผิดปกติของระดับน้ําตาลในเลือดที่ชัดเจน และยิ่งสูงขึ้นขึ้นอีกภายหลังที่
วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแล้ว อัตราความชุกของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งความผิดปกติ
ของหลอดเลือดที่ยังไม่ถึงขั้นมีอาการ (subclinical disease) สูง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นตาม
ความรุนแรงของความผิดปกติของน้ําตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคหัวใจมากถึง 2-4
เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน (Stamler, Vaccaro, Neaton, & Wentworth,
1993) ในประเทศไทย พบว่า ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือด เคยมีประวัติเป็นเบาหวานถึงร้อยละ 44
(Srimahachota, Kanjanavanit, & Boonyaratabej, 2006) งานวิจัยที่ติดตามไปข้างหน้าบ่งชี้ว่า
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าผู้ไม่ได้เป็น
เบาหวาน ผลการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) พบว่าเมื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆแล้ว relative
risk ของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้หญิงที่เป็นเบาหวานเท่ากับ 2.58 และในผู้ชาย
9
เท่ากับ 1.85 การวิจัยที่ใช้วิธีการติดตามกลุ่มประชากรไปในอนาคต (cohort) พบว่าอัตราการเสียชีวิต
ต่อปีในผู้ป่วยสูงกว่าคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิต
ของผู้ป่วยเบาหวานถึงร้อยละ 46 ในขณะที่ของคนทั่วไปเท่ากับร้อยละ 42 สาเหตุการเสียชีวิตที่สําคัญ
ของคนเอเชีย คือ โรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 42 การศึกษา Paris Prospective Study ใน
ระยะเวลา 10 ปี พบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าผู้ที่มี
ระดับน้ําตาลในเลือดปกติประมาณ 4 เท่า และผู้ที่มีความทนกลูโคสผิดปกติ (IGT) มีโอกาสเสียชีวิต
จากโรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าผู้ที่มีระดับน้ําตาลปกติประมาณ 2 เท่า และการศึกษา DECODE
Study ซึ่งทําในประเทศกลุ่มยุโรป พบว่า ผู้ที่มีความทนกลูโคสผิดปกติมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1.4
เท่า (สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2553)
ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิต หมายถึง ค่าของระดับความดันโลหิตต่อผนังหลอด
เลือดแดง ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะเบี่ยงเบนของค่าระดับความดันจากปกติ ซึ่งได้กําหนดเกณฑ์ใน
การวินิจฉัยความดันโลหิตสูงจากระดับความสัมพันธ์โดยตรงกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและ
หลอดเลือด ค่าความดันตัวบน (systolic) สูงกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอท และ หรือ ค่า
ความดันตัวล่าง (diastolic) สูงกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท คือภาวะโรคความดันโลหิตสูง
(Chobanian AV. et al., 2003) ภาวะความดันโลหิตสูงจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุ
ผิวชั้นในทั้งในเชิงกายภาพ และชีวเคมี เช่น ทําให้เซลล์เยื่อบุเพิ่มจํานวนมากขึ้น มีขนาด รูปร่าง
และส่วนประกอบภายในเซลล์เปลี่ยนไป ส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโมโนไซต์ (monocyte) เข้ามา
เกาะติดกับผนังหลอดเลือดง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังพบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบโดยมี
ขนาดใหญ่ขึ้น (hypertrophy) และมีการตอบสนองต่อการควบคุมการหดตัวผิดปกติลดลง ทําให้
หลอดเลือดขยายตัวได้ไม่ค่อยดี จาการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ของความดันโลหิตสูงกับโรคหลอด
เลือดสมองเป็นแบบต่อเนื่อง หมายความว่า ทุกค่าของระดับความดันโลหิตต่างมีความเสี่ยงต่อการ
เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อเทียบกับค่าอื่นทั้งสิ้น เช่น คนที่มีระดับความดันไดแอสโตลิก 90
มิลลิเมตรปรอท จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนที่มีค่าความดันไดแอสโต
ลิก 80 มิลลิเมตรปรอท แต่คนที่มีค่าความดันไดแอสโตลิก 80 มิลลิเมตรปรอท ก็มีค่าความเสี่ยง
มากกว่าคนที่มีค่าความดันไดแอสโตลิก 70 มิลลิเมตรปรอท เช่นเดียวกับที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่มี
ค่าความดันไดแอสโตลิก 60 มิลลิเมตรปรอท เป็นต้น (ฆนัท ครุฑกูล และคณะ, 2549)
ภาวะน้ําหนักเกิน การปล่อยให้น้ําหนักตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หมายถึง การเพิ่มปัจจัย
เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากภาวะน้ําหนักเกินเป็นสาเหตุ
ของการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ระดับไขมันในเลือดผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญให้หลอดเลือดแดงแข็ง และถ้าภาวะอ้วนหรือน้ําหนัก
เกินเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก โอกาสที่เด็กอ้วนจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนวัย (อายุ
65 ปี) เพิ่มมากขึ้น 3-5 เท่า ภาวะน้ําหนักเกิน มีแนวโน้มนําไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมอง โดย National Heart Lung blood Institute (NHIBL) และ American
Heart Association(AHA) (Grundy, Cleeman, Daniels, & et al., 2005) รายงานว่า โรคอ้วน
(obesity) ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง คลอเรสเทอรอลสูง เอชดีแอล คลอเรสเทอรอลต่ํา ระดับ
น้ําตาลในเลือดสูง และสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardio
10
Vascular risk) ภาวะอ้วนลงพุงและค่าดัชนีมวลกาย สามารถประเมินด้วยตนเองอย่างง่ายๆ ได้ดังนี้
ภาวะอ้วนลงพุง ประเมินจากการวัดเส้นรอบเอว (Waist circumference) เป็นค่าที่ได้จากการวัดรอบ
เอวด้วยสายวัดมาตรฐาน โดยวัดรอบเอวระดับตําแหน่งกึ่งกลางของข้างเอวระหว่างขอบล่างของ
ซี่โครงล่างกับขอบบนที่อยู่ใกล้กับกระดูกเชิงกรานชิ้นบนสุด (iliac crest) ให้สายรอบเอวแนบรอบเอว
และอยู่ในแนวขนานกับพื้น ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง หมายถึง ผู้หญิงที่มีเส้นรอบเอว มากกว่าหรือเท่า 80
เซนติเมตร หรือ ผู้ชายที่มีเส้นรอบเอว มากกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร ส่วนค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
สามารถคิดคํานวณได้โดยเอาค่าน้ําหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยค่าส่วนสูงเป็นเมตรยกกําลังสอง ดังนี้
น้ําหนัก (กิโลกรัม)/ส่วนสูง (เมตร)2
จากนั้นนําค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับตารางแสดงความสัมพันธ์ของ
น้ําหนักและรูปร่างในเกณฑ์มาตรฐาน ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index BMI) ปกติมีค่าเท่ากับ
18.5 - 22.99 กิโลกรัม/เมตร2
น้ําหนักต่ํากว่าปกติ มีค่าน้อยกว่า 18.5 กิโลกรัม/เมตร2
น้ําหนักเกินมี
ค่ามากกว่า 23 กิโลกรัม/เมตร2
(สํานักงานสํารวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบ
สาธารณสุข,2551)
ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันอาจมีปัจจัยเสี่ยงเดียว
หรือมีหลายปัจจัยก็ได้ ตั้งแต่ ภาวะอ้วนลงพุงหรือน้ําหนักเกิน ภาวะความดันโลหิตสูง ความเครียด
ภาวะน้ําตาลในเลือดสูงและโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ การไม่ออกกําลังกาย และการ
สูบบุหรี่ จากรายงานการสํารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-
2552 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงร่วมหลายปัจจัย (Multiple risk factors) ของโรคหัวใจและหลอด
เลือดในด้านภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ําตาลในเลือดสูงและโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือด
ผิดปกติ และการสูบบุหรี่ พบว่า ประชากรชายและหญิงไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยง 1
ปัจจัยเท่ากับร้อยละ 41.1 และ 34.1 ตามลําดับ รองลงมามี 2 ปัจจัย เท่ากับ ร้อยละ 9.5และ 7.4 ใน
เพศชาย และเพศหญิง นอกนั้น จะมีปัจจัยเสี่ยง 3 ปัจจัยขึ้นไป ความชุกของการมี 2 ปัจจัยเสี่ยงขึ้นไป
เพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น และสูงสุดในกลุ่มอายุ 60-69 ปี รองลงมาในกลุ่มอายุ70-79 ปี
แนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกเสนอแนวทางในการป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด
โรคหัวใจและหลอดเลือดแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive cardiovascular risk management)
เพื่อมุ่งแก้ไขสหปัจจัยทั้งหมดไปพร้อม ๆ กัน ไม่มุ่งรักษาเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ดังนั้นการ
พิจารณาความเสี่ยงในระดับบุคคลจําเป็นต้องใช้ปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกันเพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพในการพยากรณ์การเกิดโรคได้อย่างแม่นยํา ซึ่งเรียกการประเมินแบบนี้ว่า การประเมิน
ความเสี่ยงรวม (Global risk assessment) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทั้งต่างประเทศและในประเทศ
ไทยมีแนวทางการประเมินความเสี่ยงรวมต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจและ
หลอดมาก่อนหลายวิธี ซึ่งมีคุณลักษณะแบบประเมินที่แตกต่างกันไปทั้งลักษณะของตัวแปร ผลลัพธ์ที่
ได้จากการศึกษาและกลุ่มที่ทดลองใช้ เช่น Framingham heart score ในแถบอเมริกาเหนือ
Score ในแถบยุโรป Chinese multi-provincial cohort study (CMCS) ในประเทศจีน เป็น
11
ต้น วิธีการประเมินดังกล่าวขึ้นอยู่กับข้อมูลระบาดวิทยาในต่างประเทศและได้พบปัญหาในการ
นําไปใช้ในประเทศอื่น ๆ โดยประเมินความเสี่ยงเกินความเป็นจริงไปมาก ซึ่งอาจไม่เหมาะกับคนไทย
ดังนั้น นพ.สุกิจ แย้มวงษ์ (2548) จึงได้พัฒนาวิธีการคํานวณความเสี่ยงรวมโดยได้เพิ่มปัจจัยเสี่ยงใหม่
เช่น ภาวะอ้วนลงพุง โดยประเมินจากเส้นรอบเอว เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นจาก
ข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากคนไทยโดยคณะนักวิจัยไทยที่โรงพยาบาลรามาธิบดีได้รวบรวมไว้ จึงสามารถ
นํามาใช้กับประชากรไทยได้ดี โดยเฉพาะในเพศหญิง เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงเพื่อคัดกรองได้แม่นยํา
และเชื่อถือได้สําหรับการใช้ในหมู่คนไทย (พัฒนาพร สุปินะ, กิติพงษ์ หาญเจริญ, สุคนธา ศิริ และอดิ
ศักดิ์ มณีไสย, 2552)
แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT heart score มี 3
แบบ ได้แก่ (นพ.สุกิจ แย้มวงษ์, 2548)
1. แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ไม่ใช้ผลเลือด)
เป็นการประเมินปัจจัยเสี่ยงเพื่อควบคุม ป้องกันตนเองต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สําหรับ
ประชาชนอย่างง่ายๆ เพื่อการดูแลตนเองอย่างมีทิศทาง รู้จักปัจจัยเสี่ยงของตนเอง และหาวิธีการ
จัดการปัญหาด้วยตนเอง สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะใช้วิธีการอย่างไร มีเป้าหมายให้ภาวะสุขภาพ
ของตนเองอยู่ในระดับใด รับรู้ว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงใดบ้าง และปัจจัยเสี่ยงใดรุนแรงที่สุดต้องจัดการ
กับปัจจัยเสี่ยงในเบื้องต้นและลําดับต่อไป แบบประเมินความเสี่ยงฉบับนี้ใช้คะแนนความเสี่ยงของ 5
ปัจจัย คือ อายุ เพศ ประวัติการสูบบุหรี่ การเป็นความดันโลหิตสูง และค่าเส้นรอบเอว
2. แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ใช้ผลเลือด) จะ
เป็นประโยชน์อย่างมากในการสร้างความตระหนักทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ชุมชน และสังคมโดย
ส่วนรวม จะนําไปสู่คุณภาพการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และการสร้างเสริมสุขภาพด้วย
ตนเองของประชาชน ด้วยวิธีการรับรู้ปัญหาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยอ้างอิงผลการ
ตรวจร่างกาย อีกทั้งยังสามารถรับรู้ผลรวมของปัจจัยเสี่ยงและเปรียบเทียบโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค
ได้ ซึ่งจะนําไปสู่การเลือกวิธีการที่จะจัดการกับตนเองได้ดีขึ้นเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสามารถนําไปสู่
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อการป้องกัน ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
และหลอดเลือด แบบประเมินความเสี่ยงฉบับนี้ใช้คะแนนความเสี่ยงของ 7 ปัจจัย คือ อายุ เพศ
ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด ประวัติการสูบบุหรี่ การเป็นเบาหวาน การเป็นความดันโลหิตสูง
และค่าเส้นรอบเอว
3. แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยบุคลากรสาธารณสุข (อ้างอิง
ผลการตรวจร่างกายและผลเลือด) เป็นเครื่องมือสําหรับบุคลากรสาธารณสุข โดยการพัฒนาวิธีการ
คํานวณความเสี่ยงรวมที่อยู่บนพื้นฐานข้อมูลการศึกษาทางระบาดวิทยาโรคหัวใจและหลอดเลือดของ
คนไทย เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ในการประเมินความเสี่ยงรวมที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกัน
และลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนการเกิดโรคในอนาคต ทั้งยังเป็น
ประโยชน์ต่อการให้ข้อมูลของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อสร้างความตระหนักในการรับรู้ภาวะสุขภาพ
ของประชาชนเพื่อนําไปสู่คุณภาพการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคด้วยตนเอง แบบประเมิน
ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดฉบับนี้ใช้คะแนนความเสี่ยงของ 8 ปัจจัย คือ อายุ ระดับ
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH

Weitere ähnliche Inhalte

Andere mochten auch

บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2campzzz
 
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)Annop Phetchakhong
 
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่ CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่ Thorsang Chayovan
 
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการBest'Peerapat Promtang
 
บทนำ โรคอ้วน
บทนำ โรคอ้วนบทนำ โรคอ้วน
บทนำ โรคอ้วนพัน พัน
 
สารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทยสารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทยPoppy Nana
 
ปกนอก ปกใน
ปกนอก ปกในปกนอก ปกใน
ปกนอก ปกในamixdouble
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueNattakorn Sunkdon
 
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058Aphisit Aunbusdumberdor
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58renusaowiang
 
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554Utai Sukviwatsirikul
 
ตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อsukanya5729
 
แบบสอบถาม การเบี่ยงเบนพฤติกรรมของวัยรุน
แบบสอบถาม การเบี่ยงเบนพฤติกรรมของวัยรุนแบบสอบถาม การเบี่ยงเบนพฤติกรรมของวัยรุน
แบบสอบถาม การเบี่ยงเบนพฤติกรรมของวัยรุนสำเร็จ นางสีคุณ
 

Andere mochten auch (16)

บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
12
1212
12
 
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
 
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่ CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่
 
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
 
บทนำ โรคอ้วน
บทนำ โรคอ้วนบทนำ โรคอ้วน
บทนำ โรคอ้วน
 
สารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทยสารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทย
 
ปกนอก ปกใน
ปกนอก ปกในปกนอก ปกใน
ปกนอก ปกใน
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปก
 
กิติกรรมประกาศ
กิติกรรมประกาศกิติกรรมประกาศ
กิติกรรมประกาศ
 
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
 
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
 
ตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อ
 
แบบสอบถาม การเบี่ยงเบนพฤติกรรมของวัยรุน
แบบสอบถาม การเบี่ยงเบนพฤติกรรมของวัยรุนแบบสอบถาม การเบี่ยงเบนพฤติกรรมของวัยรุน
แบบสอบถาม การเบี่ยงเบนพฤติกรรมของวัยรุน
 

Ähnlich wie Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH

การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
Update cardiac prevention rehabilitation 2014
Update cardiac prevention rehabilitation 2014Update cardiac prevention rehabilitation 2014
Update cardiac prevention rehabilitation 2014Utai Sukviwatsirikul
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...Utai Sukviwatsirikul
 
author_pue,+Journal+manager,+13_Warissara152-165 (1).pdf
author_pue,+Journal+manager,+13_Warissara152-165 (1).pdfauthor_pue,+Journal+manager,+13_Warissara152-165 (1).pdf
author_pue,+Journal+manager,+13_Warissara152-165 (1).pdfssuser9f38da
 
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdftapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf60941
 
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557Utai Sukviwatsirikul
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Utai Sukviwatsirikul
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Utai Sukviwatsirikul
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Utai Sukviwatsirikul
 
แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ 2556 2560
แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ 2556 2560แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ 2556 2560
แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ 2556 2560Utai Sukviwatsirikul
 
Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104Utai Sukviwatsirikul
 
โครงการคัดกรองโรคทางหลอดเลือดและสุขภาพจิต ปี ๒๕๕๘
โครงการคัดกรองโรคทางหลอดเลือดและสุขภาพจิต ปี ๒๕๕๘โครงการคัดกรองโรคทางหลอดเลือดและสุขภาพจิต ปี ๒๕๕๘
โครงการคัดกรองโรคทางหลอดเลือดและสุขภาพจิต ปี ๒๕๕๘Fah Chimchaiyaphum
 
Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...
Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...
Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...Boonyarit Cheunsuchon
 
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔Puku Wunmanee
 

Ähnlich wie Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH (20)

การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
Update cardiac prevention rehabilitation 2014
Update cardiac prevention rehabilitation 2014Update cardiac prevention rehabilitation 2014
Update cardiac prevention rehabilitation 2014
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
 
author_pue,+Journal+manager,+13_Warissara152-165 (1).pdf
author_pue,+Journal+manager,+13_Warissara152-165 (1).pdfauthor_pue,+Journal+manager,+13_Warissara152-165 (1).pdf
author_pue,+Journal+manager,+13_Warissara152-165 (1).pdf
 
Epidemiology of NCD
Epidemiology of NCDEpidemiology of NCD
Epidemiology of NCD
 
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdftapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
 
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014
 
Basic oncology
Basic oncology  Basic oncology
Basic oncology
 
(Ptca)
(Ptca)(Ptca)
(Ptca)
 
Clu1
Clu1Clu1
Clu1
 
Cpg เบาหวาน 2560
Cpg เบาหวาน 2560Cpg เบาหวาน 2560
Cpg เบาหวาน 2560
 
แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ 2556 2560
แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ 2556 2560แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ 2556 2560
แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ 2556 2560
 
ผลวิจัยชี้สุขภาพคนไทย10ปีuc
ผลวิจัยชี้สุขภาพคนไทย10ปีucผลวิจัยชี้สุขภาพคนไทย10ปีuc
ผลวิจัยชี้สุขภาพคนไทย10ปีuc
 
Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104
 
โครงการคัดกรองโรคทางหลอดเลือดและสุขภาพจิต ปี ๒๕๕๘
โครงการคัดกรองโรคทางหลอดเลือดและสุขภาพจิต ปี ๒๕๕๘โครงการคัดกรองโรคทางหลอดเลือดและสุขภาพจิต ปี ๒๕๕๘
โครงการคัดกรองโรคทางหลอดเลือดและสุขภาพจิต ปี ๒๕๕๘
 
Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...
Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...
Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...
 
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
 

Mehr von DMS Library

EuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical Patient
EuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical PatientEuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical Patient
EuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical PatientDMS Library
 
์Needs of Elderly long term care medical services for hospital
์Needs of Elderly long term care medical services for hospital์Needs of Elderly long term care medical services for hospital
์Needs of Elderly long term care medical services for hospitalDMS Library
 
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุคู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุDMS Library
 
การเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุ
การเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุการเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุ
การเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุDMS Library
 
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานDMS Library
 
พฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัด
พฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัดพฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัด
พฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัดDMS Library
 
Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...
Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...
Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...DMS Library
 
ชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานี
ชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานีชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานี
ชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานีDMS Library
 
ต้อกระจก
ต้อกระจกต้อกระจก
ต้อกระจกDMS Library
 
Drugs Addiction Treatment System Integrated Model
Drugs Addiction Treatment System Integrated ModelDrugs Addiction Treatment System Integrated Model
Drugs Addiction Treatment System Integrated ModelDMS Library
 
ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...
ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...
ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...DMS Library
 
ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...
ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...
ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...DMS Library
 
พิการขาขาด
พิการขาขาดพิการขาขาด
พิการขาขาดDMS Library
 
ทารกแรกคลอด
ทารกแรกคลอดทารกแรกคลอด
ทารกแรกคลอดDMS Library
 
J.list searching manual
J.list searching manualJ.list searching manual
J.list searching manualDMS Library
 
Pcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัว
Pcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัวPcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัว
Pcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัวDMS Library
 
Pub healthplandevelopment10
Pub healthplandevelopment10Pub healthplandevelopment10
Pub healthplandevelopment10DMS Library
 
CPG diabetes 2554
CPG diabetes 2554CPG diabetes 2554
CPG diabetes 2554DMS Library
 

Mehr von DMS Library (20)

EuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical Patient
EuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical PatientEuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical Patient
EuroSCORE predict operative mortality in Thai Cardiac Surgical Patient
 
์Needs of Elderly long term care medical services for hospital
์Needs of Elderly long term care medical services for hospital์Needs of Elderly long term care medical services for hospital
์Needs of Elderly long term care medical services for hospital
 
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุคู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
 
การเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุ
การเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุการเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุ
การเข้าถึงบริการตามสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุ
 
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
 
พฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัด
พฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัดพฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัด
พฤติกรรมการมารับบริการบำบัดยาเสพติดจิตสังคมบำบัด
 
Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...
Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...
Self-management Program on Health Status and Quality of Life in Post Percutan...
 
ชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานี
ชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานีชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานี
ชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสุราษฏร์ธานี
 
ต้อกระจก
ต้อกระจกต้อกระจก
ต้อกระจก
 
Drugs Addiction Treatment System Integrated Model
Drugs Addiction Treatment System Integrated ModelDrugs Addiction Treatment System Integrated Model
Drugs Addiction Treatment System Integrated Model
 
ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...
ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...
ผลกระทบของนโยบายยาเสพติด: มุมมองจากผู้เสพยาบ้า และผู้ให้บริการบำบัดรักษาในหน่...
 
ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...
ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...
ทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับทันตกรรมผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลประสาท...
 
พิการขาขาด
พิการขาขาดพิการขาขาด
พิการขาขาด
 
ทารกแรกคลอด
ทารกแรกคลอดทารกแรกคลอด
ทารกแรกคลอด
 
J.list searching manual
J.list searching manualJ.list searching manual
J.list searching manual
 
Pcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัว
Pcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัวPcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัว
Pcfm6 เวชศาสตร์ครอบครัว
 
Type2 diabetes
Type2 diabetesType2 diabetes
Type2 diabetes
 
Pub healthplandevelopment10
Pub healthplandevelopment10Pub healthplandevelopment10
Pub healthplandevelopment10
 
CPG diabetes 2554
CPG diabetes 2554CPG diabetes 2554
CPG diabetes 2554
 
Type2 diabetes
Type2 diabetesType2 diabetes
Type2 diabetes
 

Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH

  • 1. รายงานการวิจัย เรื่อง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากร ที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT Heart Score Cardiovascular Risk among Staff Working at The Central of The Ministry of Public Health Using Risk Assessment of Rama - EGAT Heart Score โดย นางเกษชดา ปัญเศษ นางสาวสุกาญฎา กลิ่นถือศิล นางอาภาสิณี กิ่งแก้ว นางวิยดา วงศ์มณีโรจน์ สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับทุนสนับสนุนจากโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2556
  • 2. ก คํานํา โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน หรือ หลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุในผนังหลอดเลือดจนเกิดการ ตีบตัน และแคบ ทําให้มีความต้านทานการไหลของเลือด หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เปราะบาง มากขึ้น หากเกิดบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะทําให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อย เกิด โรคหัวใจขาดเลือด หากอุดตันจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ จะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือหัวใจ ล้มเหลว ทําให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและเสียชีวิตได้ โรคหัวใจและหลอดเลือดเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลาย ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและเพศ ปัจจัยพฤติกรรม เช่น การออกกําลังกาย การ รับประทานอาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันโลหิต ไขมัน และ เบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนําไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด ระดับแตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกัน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น ปัจจุบันองค์การ อนามัยโลกเสนอแนวทางในการป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive cardiovascular risk management) เพื่อมุ่งแก้ไขสหปัจจัย ทั้งหมดไปพร้อม ๆ กัน ไม่มุ่งรักษาเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ดังนั้นการพิจารณาความเสี่ยงในระดับ บุคคลจําเป็นต้องใช้ปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพยากรณ์การ เกิดโรคได้อย่างแม่นยํา เรียกการประเมินแบบนี้ว่า การประเมินความเสี่ยงรวม (Global risk assessment) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกันโรคด้วยตนเองและลดโอกาสเกิดปัญหาทาง โรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจตามมาในอนาคต ซึ่งต้องการการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุม อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี ในฐานะหน่วยงานบริการ มี หน้าที่ให้บริการแก่บุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข ทั้งด้านการรักษาพยาบาล ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จึงได้ดําเนินการวิจัยเรื่องความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขโดยใช้แบบประเมินความ เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT Heart Score ในการประเมินความเสี่ยงรวม ผล จากการวิจัยครั้งนี้ทําให้ได้ข้อมูลที่สําคัญในการวางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติ ราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขให้ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนําไปสู่การสร้างเสริม สุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานวิจัย ฉบับนี้คงมีประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนผู้ที่สนใจจะนําข้อมูล ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ต่อไป (นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์) ผู้อํานวยการสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ มีนาคม 2557
  • 3. ข กิตติกรรมประกาศ รายงานวิจัยฉบับนี้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยความสนับสนุนและความร่วมมือจากบุคคล หลายฝ่าย คณะผู้วิจัยขอขอบคุณคณะผู้บริหารของโรงพยาบาลราชวิถี และของกรมการแพทย์ที่ อนุมัติให้ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยนี้ ขอขอบพระคุณนายแพทย์อุดม เชาวรินทร์ ผู้อํานวยการ โรงพยาบาลราชวิถี (ในขณะที่เริ่มทําวิจัยฉบับนี้ ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการสถานพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี) นายแพทย์อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยี ทางการแพทย์ กรมการแพทย์ และนางวารุจีย์ ชูจิตร พยาบาลวิชาชีพชํานาญการพิเศษ ซึ่งได้กรุณา ให้คําปรึกษาต่อคณะผู้วิจัยมาตลอด นับตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงการวิจัย คณะผู้วิจัยขอแสดงความขอบคุณผู้ประสานงานทั้งในส่วนของหน่วยงาน กอง กรม จาก โรงพยาบาลราชวิถี ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขทุกคนที่ให้ ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทําวิจัยครั้งนี้ ท้ายที่สุดนี้ คณะผู้วิจัยขอมอบความดีและคุณประโยชน์ทั้งหลายที่เกิดจากการวิจัย ครั้งนี้แด่ผู้มีพระคุณ และทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องมา ณ โอกาสนี้ นางเกษชดา ปัญเศษ นางสาวสุกาญฎา กลิ่นถือศิล นางอาภาสิณี กิ่งแก้ว นางวิยดา วงศ์มณีโรจน์ มีนาคม 2557
  • 4. ค ชื่องานวิจัย ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลาง กระทรวงสาธารณสุขโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT Heart Score ชื่อผู้เขียน นางเกษชดา ปัญเศษ พยาบาลวิชาชีพวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล นางสาวสุกาญฎา กลิ่นถือศิล พยาบาลวิชาชีพวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล นางอาภาสิณี กิ่งแก้ว พยาบาลวิชาชีพวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล นางวิยดา วงศ์มณีโรจน์ พยาบาลวิชาชีพวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล บทคัดย่อ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงต่อ โรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบ ประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT heart score ซึ่งพัฒนาโดย คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ที่มารับการตรวจ สุขภาพประจําปีย้อนหลัง จากรายงานผลการตรวจสุขภาพประจําปี พ.ศ. 2556 ตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2556 จํานวน 950 ราย ทําการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความ แตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างแบบสองกลุ่มอิสระ โดยใช้การทดสอบค่าที และทดสอบ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และถือค่า p – value น้อยกว่า 0.05 เป็น นัยสําคัญทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ใน ระดับน้อย ปานกลาง และสูง คิดเป็นร้อยละ 68.9, 27.7 และ 3.4 ตามลําดับ ค่าเฉลี่ยคะแนนความ เสี่ยงของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 4.5 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.0) โอกาสเกิด เส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปีเฉลี่ยร้อยละ 1.5 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.6) เพศชายมี คะแนนความเสี่ยงเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (เพศชายมีคะแนนเฉลี่ย 7.5 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.9, เพศหญิงมีคะแนนเฉลี่ย 3.6 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.5) โดยเพศ ชายมีโอกาสเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปีเฉลี่ยร้อยละ 2.5 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.5) ในขณะที่เพศหญิงเฉลี่ยร้อยละ 1.2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.0) ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดขึ้นอยู่กับสถานภาพด้านเพศอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยส่วนใหญ่เพศชายมี ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 46.9 ส่วนใหญ่ เพศหญิงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 76.7 และ พบว่าลักษณะงานที่ทําขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่าผู้ที่ มีความเสี่ยงสูงส่วนมากมีลักษณะงานเป็นงานวิชาการ และงานธุรการ ผลจากการวิจัยครั้งนี้ทําให้ได้ข้อมูลที่สําคัญในการวางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของ บุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขให้ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นําไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • 5. ง Research Title Cardiovascular Risk among Staff Working at The Central of The Ministry of Public Health Using Risk Assessment of Rama - EGAT Heart Score Author Mrs. Ketchada Punset Professional Registered Nurse Miss Sukanda Klinthuesin Professional Registered Nurse Mrs. Apasinee Kingkaew Professional Registered Nurse Mrs. Wiyada Wongmaneeroj Professional Registered Nurse Abstract The purpose of this retrospective descriptive research was to assess cardiovascular risk among staffs working at the central of the Ministry of Public Health. The Faculty of medicine, Ramathibodi Hospital has developed Rama – EGAT Heart Score which was used as a tool in the present study for the total CVD risk calculation for predicting a person’s chance of having severe coronary heart diseases within the next ten years. The sample consists of 950 subjects from their medical history reports, of the mentioned groups who had a regular check-up at the Ministry of Public Health clinic, Rajavithi Hospital, between March and May 2013. Data were analyzed by descriptive statistics, independent samples t-test, and chi – square test/ fisher exact test. The results of the study indicated that 68.9, 27.7 and 3.4 percent of participants had cardiovascular risk score at low, moderate and high level respectively. The total mean score of cardiovascular risk was at low level (mean 4.5, S.D 4.0), chance of having severe coronary heart diseases within the next ten years average 1.5 percent (SD = 1.6). The cardiovascular risk mean score of male was significantly higher than those in female (p < 0.5). Men had a chance of having severe coronary heart diseases within the next ten years average 2.5 percent (SD = 2.5) while average 1.2 percent (SD = 1.0) was found in women. Cardiovascular risk level was significantly different between gender (p < 0.5). Most of male had cardiovascular risk score at moderate level (46.9 %) whereas most of female had cardiovascular risk score at low level (76.7 %). There were significant difference (p < 0.5) of cardiovascular risk level among personnel with differences job types, most of high cardiovascular risk level were observer in academic and a service officers The findings from the present study will be used to plan behavioral health development for staffs working at the central of the Ministry of Public Health.
  • 6. จ สารบัญ หน้า คํานํา ก กิตติกรรมประกาศ ข บทคัดย่อ ค Abstract ง สารบัญ จ สารบัญตาราง ช บทที่ 1 บทนํา ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา 1 คําถามการวิจัย 3 วัตถุประสงค์การวิจัย 3 ขอบเขตของการวิจัย 3 นิยามศัพท์ 4 กรอบแนวคิด 5 บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด 6 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 7 แนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 10 ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากร 13 ที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 17 บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย ประชากรเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่าง 22 เกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก 22 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 23 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 25 การดําเนินการ 25 การวิเคราะห์ข้อมูล 26 ข้อพิจารณาด้านจริยธรรม 26 ขั้นตอนการทําวิจัย 27
  • 7. ฉ สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 28 ข้อมูลภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 31 บทที่ 5 อภิปรายผลการวิจัย ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 46 ภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของ 47 บทที่ 6 สรุปและข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย 54 ข้อเสนอแนะ 55 บรรณานุกรม 57 ภาคผนวก 60 ก. เอกสารรับรองโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับการวิจัยในคน 61 ข. แบบบันทึกข้อมูล 62 ค. รายนามและประวัติย่อผู้วิจัย 63
  • 8. ช สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1 แสดงหน่วยงานต้นสังกัดของกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษา 28 2 แสดงลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษา 29 3 ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 32 ของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมและจําแนกตามเพศ 4 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 33 ของกลุ่มตัวอย่างจําแนกตามระดับความเสี่ยง 5 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่าง 35 จําแนกตามระดับความเสี่ยง 6 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง 37 ระดับความเสี่ยงน้อยจําแนกตามเพศ 7 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่าง 39 ระดับความเสี่ยงน้อยจําแนกตามเพศ 8 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง 40 ระดับความเสี่ยงปานกลางจําแนกตามเพศ 9 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่าง 42 ระดับความเสี่ยงปานกลางจําแนกตามเพศ 10 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง 43 ระดับความเสี่ยงสูงจําแนกตามเพ 11 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่าง 45 ระดับความเสี่ยงสูงจําแนกตามเพศ
  • 9. 1 บทที่ 1 บทนํา ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา ปัจจุบันโรคเรื้อรังเป็นสาเหตุสําคัญของการตายและความพิการของประชากรทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าในปี 2548 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 58 ล้านคน โดยร้อยละ 60 หรือ 35 ล้านคนตายด้วยโรคเรื้อรังซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็งและโรคทางการหายใจ หากไม่เร่งแก้ไข คาดว่าในปี 2558 จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 หรือประมาณ 38.8 ล้านคน และยังพบว่าในภาระโรคทั้งหมดนั้นเป็นภาระ (burden) จากโรค เรื้อรังดังกล่าวถึงร้อยละ 45.9 (World Health Organization [WHO], 2005) จากสถิติการรายงาน สาเหตุการตายของประชากรโลก พบว่า จํานวนผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคต จนถึงปี พ.ศ. 2573 ถ้ายังไม่มีมาตรการการดําเนินการที่เหมาะสมและมีคุณภาพเพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม ประเทศยากจน ทั้งด้านการสนับสนุนนโยบายและจัดบริการการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคที่ ครอบคลุมในกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มประชากรวัยทํางานหรือวัยผู้ใหญ่ในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อ การเกิดโรคไม่ติดต่อ จากการรายงาน พบว่า โรคหัวใจขาดเลือดจัดเป็นลําดับที่ 3 ของสาเหตุการตาย ทั้งหมด รองจากอุบัติเหตุจราจร และโรคหลอดเลือดสมองซึ่งจัดอยู่ในลําดับที่ 1 และที่ 2 ตามลําดับ (สํานักโรคไม่ติดต่อ, 2553) สําหรับในประเทศไทยจากการศึกษาของศูนย์ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ สํานักโรคไม่ติดต่อ กรม ควบคุมโรค ในโครงการระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ BRFSS (Behavioral Risk Factors Surveillance System) พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550 ของประชากรอายุ 15 - 74 ปี พบว่า ความชุกของผู้ที่เคยมีแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นจาก 0.5 ล้านคน จากการสํารวจ ปีพ.ศ. 2548 เป็น 0.7 ล้านคน ในการสํารวจ ปีพ.ศ. 2550 และจาก รายงานสถิติสาธารณสุข ในปีพ.ศ. 2551 พบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองใหญ่ จํานวน 13,130 คน และเมื่อพิจารณารายภาคพบว่าภาคกลางมีจํานวนผู้เสียชีวิตมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ จํานวนผู้ป่วยใน ด้วยโรคหัวใจขาดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่า 2.5 เท่าภายใน 7 ปี โดยเพิ่มจาก 62,794 ราย ในปีพ.ศ. 2544 เป็น 159,176 ราย ในปีพ.ศ. 2551 ภาคกลางมีสัดส่วน ผู้ป่วยใน สูงถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ เช่นเดียวกับจํานวนผู้ป่วยใน ด้วยโรคหลอดเลือดสมองมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าภายใน 7 ปี ภาคกลางมีสัดส่วนผู้ป่วยใน สูงถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ (สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2553) และ จากรายงานการสํารวจ สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 พบว่า ประชากรไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 1.4 และผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปร้อยละ 1.9 บอกว่าเคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ชายและผู้หญิงมีความชุกของโรคใกล้เคียงกัน
  • 10. 2 ความชุกนี้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ความชุกสูงสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไปซึ่งพบร้อยละ 5.8 (สํานักงาน สํารวจสุขภาพประชาชนไทย [สสท], 2551) โรคหัวใจและหลอดเลือด เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและเพศ ปัจจัยพฤติกรรม เช่น การออกกําลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันเลือด ไขมัน และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความ เสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนําไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดระดับแตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลาย ปัจจัยร่วมกัน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น (สุกิจ แย้มวงศ์, 2548) จากข้อมูลดังกล่าว ถ้ามีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การดําเนินการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชน เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่กําลังเป็นปัญหาของประเทศได้ สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ได้ ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในข้าราชการและลูกจ้างประจําที่ปฏิบัติ ราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขระหว่างปี พ.ศ. 2548 – 2555 ดังต่อไปนี้ ในปีพ.ศ. 2548 สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ได้ทําการศึกษาระดับไขมัน น้ําตาลในเลือด และความดันโลหิต ของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 2,404 ราย พบว่า บุคลากร จํานวน 982 ราย (ร้อยละ 40.8) ตรวจพบระดับไขมัน น้ําตาลในเลือด และความดันโลหิตสูงกว่า ปกติอย่างน้อยหนึ่งอย่าง โดยพบเป็นไขมันในเลือดสูงกว่าปกติมากที่สุด รองลงมาเป็นความดันโลหิต สูงกว่าปกติ และน้ําตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ตามลําดับ ความผิดปกติที่ตรวจพบทั้งหมดอยู่ในช่วง กลุ่มอายุ 45 – 54 ปี มากที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (กมลภัค นนทลักษณ์, เกษชดา ปัญเศษ, สุกาญฎา กลิ่นถือศิล, เพ็ญพรรณ บุญสาใจ, และมาณวิกา กิ่งแก้ว, 2548) ต่อมาปี พ.ศ. 2550 สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ได้ทําการวิจัยเรื่อง พฤติกรรม สุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข : ศึกษากรณีผู้ที่มีไขมันในเลือด สูง จํานวน 407 ราย ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้าน การจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับสูงมาก คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการป้องกันปัจจัย เสี่ยงอยู่ในระดับสูง ส่วนคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออก กําลังกาย และด้านการดูแลรักษาสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่มีไขมันในเลือดสูงมานาน 3 ปีขึ้นไป ไม่ได้รับการรักษาด้วยการใช้ยา อาจเป็นเพราะขาด ความรู้ความเข้าใจถึงผลเสียต่อสุขภาพของตนเอง ทั้งนี้เพราะการดําเนินโรคไม่ได้เป็นทันทีทันใด บุคคลจึงไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างจํานวนมากมีโรค ประจําตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน ร่วมด้วย รวมทั้งมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ใน ระดับอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดง และก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ตามมา (กมลภัค นนทลักษณ์ และคณะ, 2550) และในปี พ.ศ. 2552 – 2555 สถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทําคู่มือแนะนําการปฏิบัติตัวแต่ละรายโรค แจกพร้อมผลการตรวจ สุขภาพให้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพทุกราย โดยคู่มือคําแนะนําการปฏิบัติตัว ประกอบด้วย ข้อแนะนําการปฏิบัติตัว 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกําลังกาย ด้าน การดูแลรักษาสุขภาพ ด้านการป้องกันปัจจัยเสี่ยง และด้านการจัดการกับความเครียด
  • 11. 3 สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี ในฐานะเป็นหน่วยงานบริการที่ รับผิดชอบดูแลด้านสุขภาพ ทั้งด้านการรักษาพยาบาล ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค แก่ ข้าราชการและลูกจ้างประจําสังกัดส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข ตามนโยบายของกรมการแพทย์ จึงสนใจศึกษาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้แบบประเมินของ Rama – EGAT heart score ซึ่งเป็นแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นจากข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากคนไทยโดยคณะ นักวิจัยไทยที่โรงพยาบาลรามาธิบดีได้รวบรวมไว้ จึงสามารถนํามาใช้กับประชากรไทยได้ดี โดยเฉพาะ ในเพศหญิง เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงเพื่อคัดกรองได้แม่นยํา และเชื่อถือได้สําหรับการใช้ในหมู่คนไทย (พัฒนาพร สุปินะ, กิติพงษ์ หาญเจริญ, สุคนธา ศิริ และอดิศักดิ์ มณีไสย, 2552) โดยการให้คะแนน ในแต่ละปัจจัยเสี่ยงตามข้อแนะนํา และนําผลคะแนนรวมมาดูผลว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มากน้อยเพียงใด การประเมินความเสี่ยงรวม เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน ป้องกันโรคด้วยตนเองและลดโอกาสเกิดปัญหาทางโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจตามมาในอนาคต ซึ่งต้องการการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ผลจากการวิจัยในครั้งนี้จะ ทําให้ได้ข้อมูลที่สําคัญในการวางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลาง กระทรวงสาธารณสุขให้ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อนําไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด คําถามการวิจัย ภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวง สาธารณสุข เป็นอย่างไร วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการ ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (Rama – EGAT heart score) ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นประเมินภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติ ราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขที่มาใช้บริการตรวจสุขภาพประจําปี 2556 กับสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี จํานวน 4 กรม ได้แก่ 1. กรมการแพทย์ 2. กรมพัฒนา การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 3. สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ 4. กรม สนับสนุนบริการสุขภาพ ในระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2556 เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์คัดเข้า โดยการรวบรวมข้อมูลจากผลการตรวจสุขภาพ ในเวชระเบียนผู้ป่วย จํานวน 950 ราย
  • 12. 4 นิยามศัพท์ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หมายถึง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หลอดเลือดหัวใจขั้นรุนแรง เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย และการเสียชีวิตเฉียบพลันในช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้า วัดโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ใช้ผลเลือด) Rama – EGAT heart score บุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข หมายถึง ข้าราชการและ ลูกจ้างประจําสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ซึ่งมีสถานที่ทํางานในหน่วยงานที่อยู่ในส่วนกลาง กระทรวงสาธารณสุขที่มาใช้บริการตรวจสุขภาพประจําปีกับทางสถานพยาบาล จํานวน 4 กรม ได้แก่ 1. กรมการแพทย์ 2. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 3. สํานักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ 4. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง หมายถึง ผู้ที่มีเส้นรอบเอว ดังนี้ ผู้หญิงมากกว่าหรือเท่า 80 เซนติเมตร และ ผู้ชายมากกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร ซึ่งประเมินจากการวัดเส้นรอบเอว (Waist circumference) ด้วยสายวัดมาตรฐาน โดยวัดรอบเอวระดับตําแหน่งกึ่งกลางของข้างเอว ระหว่างขอบล่างของซี่โครงล่างกับขอบบนที่อยู่ใกล้กับกระดูกเชิงกรานชิ้นบนสุด (iliac crest) ให้สาย รอบเอวแนบรอบเอว และอยู่ในแนวขนานกับพื้น ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง หมายถึง ผู้ที่มีระดับความดันโลหิตตัวบนสูงกว่าหรือ เท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอท หรือ ความดันโลหิตตังล่างสูงกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท หรือ ผู้ที่กําลังได้รับการรักษาด้วยการกินยาลดความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หมายถึง ระดับน้ําตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อ เดซิลิตร โดยการตรวจเลือดหลังอดอาหารนาน 12 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose, FPG) หรือ เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยมาก่อนและขณะนี้กําลังรักษาด้วยยากินหรือยาฉีดลดน้ําตาลในเลือด ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ หมายถึง ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดมากกว่าหรือ เท่ากับ 280 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยการตรวจเลือดหลังอดอาหารนาน 12 ชั่วโมง การสูบบุหรี่ หมายถึง ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจํา ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่นซึ่ง เรียกว่าผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง ผู้ที่บริโภคยาสูบแบบไม่มีควันชนิดต่างๆ เช่น ยาฉุน ยาเส้น ตลอดจนผู้ที่เคยสูบบุหรี่ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน และเพิ่งเลิกสูบบุหรี่ได้ไม่นาน (น้อยกว่า 15 ปี เนื่องจากพบว่า หลังจากหยุดสูบบุหรี่ หยุดสูบได้อย่างน้อย 10 ปีจึงจะมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ใกล้เคียงกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ และต้องเลิกสูบบุหรี่นานติดต่อกันมากกว่า 15 ปีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดจึงจะลดลงเหลือเท่ากับคนที่ไม่สูบบุหรี่)
  • 13. 5 กรอบแนวคิด แบบประเมินความเสี่ยง ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ใช้ผลเลือด) Rama – EGAT heart score 1. อายุ 2. เพศ 3. โคเลสเตอรอล 4. บุหรี่ 5. เบาหวาน 6. ความดันโลหิต 7. รอบเอว ความเสี่ยง ต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ 1. ระดับน้อย 2. ระดับปานกลาง 3. ระดับสูง
  • 14. 6 บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการประเมินภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการ ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (Rama – EGAT heart score) ผู้วิจัยได้รวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นําเสนอตามลําดับดังนี้ 1. สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด 2. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 3. แนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 4. ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลาง กระทรวงสาธารณสุข 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน หรือหลอด เลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุในผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตัน และแคบ ทําให้มีความต้านทานการไหลของเลือด หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เปราะบางมากขึ้น หากเกิดบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะทําให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อย เกิดโรคหัวใจขาด เลือด หากอุดตันจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ จะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือหัวใจล้มเหลว ทําให้ กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเสียชีวิตได้ สําหรับในประเทศไทยจากการศึกษาของศูนย์ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ สํานักโรคไม่ติดต่อ กรม ควบคุมโรค ในโครงการระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ BRFSS (Behavioral Risk Factors Surveillance System) พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550 ของประชากรอายุ 15 - 74 ปี พบว่า ความชุกของผู้ที่เคยมีแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นจาก 0.5 ล้านคน จากการสํารวจ ปีพ.ศ. 2548 เป็น 0.7 ล้านคน ในการสํารวจ ปีพ.ศ. 2550 และจาก รายงานสถิติสาธารณสุข ในปีพ.ศ. 2551 พบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองใหญ่ จํานวน 13,130 คน และเมื่อพิจารณารายภาคพบว่าภาคกลางมีจํานวนผู้เสียชีวิตมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ จํานวนผู้ป่วยใน ด้วยโรคหัวใจขาดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่า 2.5 เท่าภายใน 7 ปี โดยเพิ่มจาก 62,794 ราย ในปีพ.ศ. 2544 เป็น 159,176 ราย ในปีพ.ศ. 2551 ภาคกลางมีสัดส่วน ผู้ป่วยใน สูงถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ เช่นเดียวกับจํานวนผู้ป่วยใน ด้วยโรคหลอดเลือดสมองมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าภายใน 7 ปี ภาคกลางมีสัดส่วนผู้ป่วยใน สูงถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ (สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2553) และ จากรายงานการสํารวจ สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 พบว่า ประชากรไทยที่มีอายุ
  • 15. 7 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 1.4 และผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปร้อยละ 1.9 บอกว่าเคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ชายและผู้หญิงมีความชุกของโรคใกล้เคียงกัน ความชุกนี้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ความชุกสูงสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไปซึ่งพบร้อยละ 5.8 (สํานักงาน สํารวจสุขภาพประชาชนไทย [สสท], 2551) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือด เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และเพศ ปัจจัยพฤติกรรม เช่น การออกกําลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทาง กายภาพ เช่น ความดันเลือด ไขมัน และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ในการนําไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดระดับแตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกัน จะมีโอกาส เสี่ยงต่อโรคมากขึ้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ อายุ และ เพศ จากการศึกษา พบว่า โรคหัวใจ มีสาเหตุจาการที่มีอายุมากขึ้น โดยร้อย ละ 94 ของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด คือผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป (Srimahachota et al., 2006) โดยพบว่าระดับไขมันคอเลสเทอรอลจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป จนถึง 60 หรือ 65 ปี ในเพศ ชายอายุก่อน 50 ปี พบว่ามีระดับไขมันคอเลสเทอรอลสูงกว่าเพศหญิงที่มีอายุเท่ากัน แต่เมื่ออายุ หลัง 50 ปี ไปแล้ว พบว่า ในเพศหญิงจะมีระดับไขมันคอเลสเทอรอล สูงกว่าเพศชาย ทั้งนี้เป็น เพราะเพศหญิงถึงวัยหมดประจําเดือนซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทําให้มีระดับไขมันคอเลสเทอรอลสูงขึ้น ซึ่งการที่มีไขมันในเลือดสูงในเพศชายที่อายุมากกว่า 45 ปี และในเพศหญิงที่อายุมากกว่า 55 ปี จัด ได้ว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดตามมา และจากการศึกษาของ Framingham Heart พบว่าอัตราการเกิดซ้ําของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจะเพิ่มเป็น 9 เท่า ในผู้หญิงหรือ 3 เท่าในผู้ชายที่มีระดับไขมันคอเลสเทอรอลในเลือดมากกว่า 270 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อเทียบกับคนที่มีระดับไขมันคอเลสเทอรอลในเลือดน้อยกว่า 190 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และถ้ามี ระดับไขมันคอเลสเทอรอลในเลือดตั้งแต่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไปโดยที่ไม่มีปัจจัยอื่น ๆ ร่วม ด้วยเลย จะมีส่วนในการทําให้ตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของคนในสหรัฐอเมริกาถึงร้อยละ 42.7 แต่ถ้ามีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เพศชาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ ยิ่งจะทําให้มีความ เสี่ยงมากขึ้นอย่างแน่นอน (สมปอง ธนไพศาลกิจ, 2549) โคเลสเตอรอล การมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นสาเหตุสําคัญของการเกิดโรค หลอดเลือดแดง ซึ่งบางครั้งก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดที่สําคัญ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดสมองตีบหรือแตกเฉียบพลันตามมาได้ เนื่องจากคอเลสเทอรอลที่มี อยู่ในเลือดจะเกาะหรือตกตะกอนเกาะกับผนังของเส้นเลือด โดยเฉพาะเส้นเลือดแดงจะแคบลง ทําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต ทําให้ความดันโลหิตสูง (high blood pressure) คนที่เป็นโรค นี้มักหัวใจวาย จากการตรวจทางพยาธิวิทยา พบว่า โรคหลอดเลือดแดงสามารถพบได้ตั้งแต่วัยเด็ก หรือวัยรุ่น โดยการเกิดโรคหลอดเลือดมีความสัมพันธ์กับจํานวนปัจจัยและความรุนแรงของปัจจัย เสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงระดับคอเลสเทอรอลในเลือด (ฆนัท ครุธกูล และคณะ, 2549) จากการศึกษา พบว่า ถ้าลดระดับคอเลสเทอรอลลงได้ร้อยละ 1 จะทําให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ
  • 16. 8 ลดลงถึงร้อยละ 2 (สิริพันธุ์ จุลกรังคะ, 2541) จากการศึกษาเชิงอนุมานแสดงถึงระดับคอเลสเทอ รอลที่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 10 จะเปลี่ยนแปลงอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 38 (Low, Wald, & Thompson, 1994) มีการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า ผู้ที่มีระดับ โคเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่า 300 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีอัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็น 4 เท่าของผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดต่ํากว่า 200 มิลลิกรัมต่อ โดยค่าโคเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น 1 mmol/l จะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจร้อยละ 35 (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 อยู่ระหว่างร้อยละ 26-44) เพิ่มโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดทั้งที่เสียชีวิตและไม่ เสียชีวิตร้อยละ 25 (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 อยู่ระหว่างร้อยละ 13-40) และลดโอกาสการ เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองแตกร้อยละ 20 (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 อยู่ระหว่างร้อยละ 8-30) (ฆนัท ครุฑกูล และคณะ, 2549) บุหรี่ การสูบบุหรี่ทําให้เกิดอนุมูลอิสระเป็นจํานวนมากมีผลทําลายเซลล์เยื่อบุผนัง หลอดเลือดชั้นใน และทําให้ไขมันไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นต่ํา (LDL-C) ในเลือดถูกออกซิไดส์ (oxidized) เกิดเป็น ออกซิไดส์ ไขมันไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นต่ํา (oxidized –LDL) เพิ่มขึ้น และ ทําให้ระดับ ไขมันไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นสูง (HDL-C) ลดลง ซึ่งเป็นขบวนการสําคัญต่อการเกิด โรคหลอดเลือดแดง นอกจากนี้คนสูบบุหรี่ยังมีเม็ดเลือดขาวสูง มีระดับ ไฟบริโนเจน (fibrinogen) สูงขึ้น มีผลให้เกิดลิ่มเลือดง่ายขึ้น (ฆนัท ครุฑกูล และคณะ, 2549) มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ มี โอกาสเกิดโรคหัวใจสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 6 เท่า (Contie, V., Defibaugh, A., Dutchen, S., Earl, L. & Wein, H., 2012) เบาหวาน การมีโรคเบาหวาน ความทนกลูโคสผิดปกติ และระดับน้ําตาลในเลือดหลัง อดอาหารผิดปกติทําให้ความเสี่ยงต่อโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้น โรคเบาหวานทําให้เกิดการ เสื่อมของหลอดเลือดทั้งขนาดเล็ก (microvascular complication) คือ ภาวะแทรกซ้อนที่จอ ประสาทตา (retinopathy) ภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท (nephropathy) และหลอดเลือดขนาด ใหญ่ (macrovascular complication) คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary hearth disease) โรค หลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease) และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหัวใจ และหลอดเลือดสูงกว่าคนทั่วไป ความเสี่ยงดังกล่าวสูงขึ้นตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มให้การวินิจฉัยว่าเป็น เบาหวาน หรือพบความผิดปกติของระดับน้ําตาลในเลือดที่ชัดเจน และยิ่งสูงขึ้นขึ้นอีกภายหลังที่ วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแล้ว อัตราความชุกของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งความผิดปกติ ของหลอดเลือดที่ยังไม่ถึงขั้นมีอาการ (subclinical disease) สูง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นตาม ความรุนแรงของความผิดปกติของน้ําตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคหัวใจมากถึง 2-4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน (Stamler, Vaccaro, Neaton, & Wentworth, 1993) ในประเทศไทย พบว่า ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือด เคยมีประวัติเป็นเบาหวานถึงร้อยละ 44 (Srimahachota, Kanjanavanit, & Boonyaratabej, 2006) งานวิจัยที่ติดตามไปข้างหน้าบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าผู้ไม่ได้เป็น เบาหวาน ผลการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) พบว่าเมื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆแล้ว relative risk ของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้หญิงที่เป็นเบาหวานเท่ากับ 2.58 และในผู้ชาย
  • 17. 9 เท่ากับ 1.85 การวิจัยที่ใช้วิธีการติดตามกลุ่มประชากรไปในอนาคต (cohort) พบว่าอัตราการเสียชีวิต ต่อปีในผู้ป่วยสูงกว่าคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ของผู้ป่วยเบาหวานถึงร้อยละ 46 ในขณะที่ของคนทั่วไปเท่ากับร้อยละ 42 สาเหตุการเสียชีวิตที่สําคัญ ของคนเอเชีย คือ โรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 42 การศึกษา Paris Prospective Study ใน ระยะเวลา 10 ปี พบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าผู้ที่มี ระดับน้ําตาลในเลือดปกติประมาณ 4 เท่า และผู้ที่มีความทนกลูโคสผิดปกติ (IGT) มีโอกาสเสียชีวิต จากโรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าผู้ที่มีระดับน้ําตาลปกติประมาณ 2 เท่า และการศึกษา DECODE Study ซึ่งทําในประเทศกลุ่มยุโรป พบว่า ผู้ที่มีความทนกลูโคสผิดปกติมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1.4 เท่า (สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2553) ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิต หมายถึง ค่าของระดับความดันโลหิตต่อผนังหลอด เลือดแดง ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะเบี่ยงเบนของค่าระดับความดันจากปกติ ซึ่งได้กําหนดเกณฑ์ใน การวินิจฉัยความดันโลหิตสูงจากระดับความสัมพันธ์โดยตรงกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือด ค่าความดันตัวบน (systolic) สูงกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอท และ หรือ ค่า ความดันตัวล่าง (diastolic) สูงกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท คือภาวะโรคความดันโลหิตสูง (Chobanian AV. et al., 2003) ภาวะความดันโลหิตสูงจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุ ผิวชั้นในทั้งในเชิงกายภาพ และชีวเคมี เช่น ทําให้เซลล์เยื่อบุเพิ่มจํานวนมากขึ้น มีขนาด รูปร่าง และส่วนประกอบภายในเซลล์เปลี่ยนไป ส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโมโนไซต์ (monocyte) เข้ามา เกาะติดกับผนังหลอดเลือดง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังพบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบโดยมี ขนาดใหญ่ขึ้น (hypertrophy) และมีการตอบสนองต่อการควบคุมการหดตัวผิดปกติลดลง ทําให้ หลอดเลือดขยายตัวได้ไม่ค่อยดี จาการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ของความดันโลหิตสูงกับโรคหลอด เลือดสมองเป็นแบบต่อเนื่อง หมายความว่า ทุกค่าของระดับความดันโลหิตต่างมีความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อเทียบกับค่าอื่นทั้งสิ้น เช่น คนที่มีระดับความดันไดแอสโตลิก 90 มิลลิเมตรปรอท จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนที่มีค่าความดันไดแอสโต ลิก 80 มิลลิเมตรปรอท แต่คนที่มีค่าความดันไดแอสโตลิก 80 มิลลิเมตรปรอท ก็มีค่าความเสี่ยง มากกว่าคนที่มีค่าความดันไดแอสโตลิก 70 มิลลิเมตรปรอท เช่นเดียวกับที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่มี ค่าความดันไดแอสโตลิก 60 มิลลิเมตรปรอท เป็นต้น (ฆนัท ครุฑกูล และคณะ, 2549) ภาวะน้ําหนักเกิน การปล่อยให้น้ําหนักตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หมายถึง การเพิ่มปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากภาวะน้ําหนักเกินเป็นสาเหตุ ของการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญให้หลอดเลือดแดงแข็ง และถ้าภาวะอ้วนหรือน้ําหนัก เกินเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก โอกาสที่เด็กอ้วนจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนวัย (อายุ 65 ปี) เพิ่มมากขึ้น 3-5 เท่า ภาวะน้ําหนักเกิน มีแนวโน้มนําไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมอง โดย National Heart Lung blood Institute (NHIBL) และ American Heart Association(AHA) (Grundy, Cleeman, Daniels, & et al., 2005) รายงานว่า โรคอ้วน (obesity) ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง คลอเรสเทอรอลสูง เอชดีแอล คลอเรสเทอรอลต่ํา ระดับ น้ําตาลในเลือดสูง และสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardio
  • 18. 10 Vascular risk) ภาวะอ้วนลงพุงและค่าดัชนีมวลกาย สามารถประเมินด้วยตนเองอย่างง่ายๆ ได้ดังนี้ ภาวะอ้วนลงพุง ประเมินจากการวัดเส้นรอบเอว (Waist circumference) เป็นค่าที่ได้จากการวัดรอบ เอวด้วยสายวัดมาตรฐาน โดยวัดรอบเอวระดับตําแหน่งกึ่งกลางของข้างเอวระหว่างขอบล่างของ ซี่โครงล่างกับขอบบนที่อยู่ใกล้กับกระดูกเชิงกรานชิ้นบนสุด (iliac crest) ให้สายรอบเอวแนบรอบเอว และอยู่ในแนวขนานกับพื้น ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง หมายถึง ผู้หญิงที่มีเส้นรอบเอว มากกว่าหรือเท่า 80 เซนติเมตร หรือ ผู้ชายที่มีเส้นรอบเอว มากกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร ส่วนค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สามารถคิดคํานวณได้โดยเอาค่าน้ําหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยค่าส่วนสูงเป็นเมตรยกกําลังสอง ดังนี้ น้ําหนัก (กิโลกรัม)/ส่วนสูง (เมตร)2 จากนั้นนําค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับตารางแสดงความสัมพันธ์ของ น้ําหนักและรูปร่างในเกณฑ์มาตรฐาน ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index BMI) ปกติมีค่าเท่ากับ 18.5 - 22.99 กิโลกรัม/เมตร2 น้ําหนักต่ํากว่าปกติ มีค่าน้อยกว่า 18.5 กิโลกรัม/เมตร2 น้ําหนักเกินมี ค่ามากกว่า 23 กิโลกรัม/เมตร2 (สํานักงานสํารวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข,2551) ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันอาจมีปัจจัยเสี่ยงเดียว หรือมีหลายปัจจัยก็ได้ ตั้งแต่ ภาวะอ้วนลงพุงหรือน้ําหนักเกิน ภาวะความดันโลหิตสูง ความเครียด ภาวะน้ําตาลในเลือดสูงและโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ การไม่ออกกําลังกาย และการ สูบบุหรี่ จากรายงานการสํารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551- 2552 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงร่วมหลายปัจจัย (Multiple risk factors) ของโรคหัวใจและหลอด เลือดในด้านภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ําตาลในเลือดสูงและโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือด ผิดปกติ และการสูบบุหรี่ พบว่า ประชากรชายและหญิงไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยง 1 ปัจจัยเท่ากับร้อยละ 41.1 และ 34.1 ตามลําดับ รองลงมามี 2 ปัจจัย เท่ากับ ร้อยละ 9.5และ 7.4 ใน เพศชาย และเพศหญิง นอกนั้น จะมีปัจจัยเสี่ยง 3 ปัจจัยขึ้นไป ความชุกของการมี 2 ปัจจัยเสี่ยงขึ้นไป เพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น และสูงสุดในกลุ่มอายุ 60-69 ปี รองลงมาในกลุ่มอายุ70-79 ปี แนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกเสนอแนวทางในการป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือดแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive cardiovascular risk management) เพื่อมุ่งแก้ไขสหปัจจัยทั้งหมดไปพร้อม ๆ กัน ไม่มุ่งรักษาเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ดังนั้นการ พิจารณาความเสี่ยงในระดับบุคคลจําเป็นต้องใช้ปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกันเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการพยากรณ์การเกิดโรคได้อย่างแม่นยํา ซึ่งเรียกการประเมินแบบนี้ว่า การประเมิน ความเสี่ยงรวม (Global risk assessment) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทั้งต่างประเทศและในประเทศ ไทยมีแนวทางการประเมินความเสี่ยงรวมต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจและ หลอดมาก่อนหลายวิธี ซึ่งมีคุณลักษณะแบบประเมินที่แตกต่างกันไปทั้งลักษณะของตัวแปร ผลลัพธ์ที่ ได้จากการศึกษาและกลุ่มที่ทดลองใช้ เช่น Framingham heart score ในแถบอเมริกาเหนือ Score ในแถบยุโรป Chinese multi-provincial cohort study (CMCS) ในประเทศจีน เป็น
  • 19. 11 ต้น วิธีการประเมินดังกล่าวขึ้นอยู่กับข้อมูลระบาดวิทยาในต่างประเทศและได้พบปัญหาในการ นําไปใช้ในประเทศอื่น ๆ โดยประเมินความเสี่ยงเกินความเป็นจริงไปมาก ซึ่งอาจไม่เหมาะกับคนไทย ดังนั้น นพ.สุกิจ แย้มวงษ์ (2548) จึงได้พัฒนาวิธีการคํานวณความเสี่ยงรวมโดยได้เพิ่มปัจจัยเสี่ยงใหม่ เช่น ภาวะอ้วนลงพุง โดยประเมินจากเส้นรอบเอว เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นจาก ข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากคนไทยโดยคณะนักวิจัยไทยที่โรงพยาบาลรามาธิบดีได้รวบรวมไว้ จึงสามารถ นํามาใช้กับประชากรไทยได้ดี โดยเฉพาะในเพศหญิง เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงเพื่อคัดกรองได้แม่นยํา และเชื่อถือได้สําหรับการใช้ในหมู่คนไทย (พัฒนาพร สุปินะ, กิติพงษ์ หาญเจริญ, สุคนธา ศิริ และอดิ ศักดิ์ มณีไสย, 2552) แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT heart score มี 3 แบบ ได้แก่ (นพ.สุกิจ แย้มวงษ์, 2548) 1. แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ไม่ใช้ผลเลือด) เป็นการประเมินปัจจัยเสี่ยงเพื่อควบคุม ป้องกันตนเองต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สําหรับ ประชาชนอย่างง่ายๆ เพื่อการดูแลตนเองอย่างมีทิศทาง รู้จักปัจจัยเสี่ยงของตนเอง และหาวิธีการ จัดการปัญหาด้วยตนเอง สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะใช้วิธีการอย่างไร มีเป้าหมายให้ภาวะสุขภาพ ของตนเองอยู่ในระดับใด รับรู้ว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงใดบ้าง และปัจจัยเสี่ยงใดรุนแรงที่สุดต้องจัดการ กับปัจจัยเสี่ยงในเบื้องต้นและลําดับต่อไป แบบประเมินความเสี่ยงฉบับนี้ใช้คะแนนความเสี่ยงของ 5 ปัจจัย คือ อายุ เพศ ประวัติการสูบบุหรี่ การเป็นความดันโลหิตสูง และค่าเส้นรอบเอว 2. แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ใช้ผลเลือด) จะ เป็นประโยชน์อย่างมากในการสร้างความตระหนักทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ชุมชน และสังคมโดย ส่วนรวม จะนําไปสู่คุณภาพการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และการสร้างเสริมสุขภาพด้วย ตนเองของประชาชน ด้วยวิธีการรับรู้ปัญหาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยอ้างอิงผลการ ตรวจร่างกาย อีกทั้งยังสามารถรับรู้ผลรวมของปัจจัยเสี่ยงและเปรียบเทียบโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้ ซึ่งจะนําไปสู่การเลือกวิธีการที่จะจัดการกับตนเองได้ดีขึ้นเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสามารถนําไปสู่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อการป้องกัน ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด แบบประเมินความเสี่ยงฉบับนี้ใช้คะแนนความเสี่ยงของ 7 ปัจจัย คือ อายุ เพศ ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด ประวัติการสูบบุหรี่ การเป็นเบาหวาน การเป็นความดันโลหิตสูง และค่าเส้นรอบเอว 3. แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยบุคลากรสาธารณสุข (อ้างอิง ผลการตรวจร่างกายและผลเลือด) เป็นเครื่องมือสําหรับบุคลากรสาธารณสุข โดยการพัฒนาวิธีการ คํานวณความเสี่ยงรวมที่อยู่บนพื้นฐานข้อมูลการศึกษาทางระบาดวิทยาโรคหัวใจและหลอดเลือดของ คนไทย เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ในการประเมินความเสี่ยงรวมที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกัน และลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนการเกิดโรคในอนาคต ทั้งยังเป็น ประโยชน์ต่อการให้ข้อมูลของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อสร้างความตระหนักในการรับรู้ภาวะสุขภาพ ของประชาชนเพื่อนําไปสู่คุณภาพการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคด้วยตนเอง แบบประเมิน ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดฉบับนี้ใช้คะแนนความเสี่ยงของ 8 ปัจจัย คือ อายุ ระดับ