SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 30
การสัมมนาส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ CIO ภาครัฐ 
6 พฤศจิกายน 2557
• ICT กลไกสา คัญของการพัฒนาประชาคมอาเซียน 
• แนวนโยบาย ICT ของไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 
• บทบาทด้าน ICT ของไทยในประชาคมอาเซียน 
• อนาคต ICT ของไทยภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ประชาคมการเมือง และ 
ความมัน่คง 
APSC 
รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน 
รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน 
รัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ 
รัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย 
ประชาคมเศรษฐกิจ 
AEC 
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน 
คณะกรรมการเขตการค้าเสรีอาเซียน 
คณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียน 
รัฐมนตรีด้านการคลังอาเซียน 
รัฐมนตรีด้านการเกษตร และป่าไม้อาเซียน 
รัฐมนตรีด้านพลังงานอาเซียน 
รัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 
รัฐมนตรีอาเซียนด้าน ICT 
รัฐมนตรีด้านการขนส่งอาเซียน 
รัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวอาเซียน 
ประชาคมสังคม และ 
วัฒนธรรม 
ASCC 
รัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน 
รัฐมนตรีอาเซียนด้านวัฒนธรรมและศิลปะ 
รัฐมนตรีอาเซียนด้านการศึกษา 
รัฐมนตรีด้านภัยพิบัติอาเซียน 
รัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม 
รัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน
ASEAN Political – Security Community Blueprint (APSC Blueprint) 
B4: Non-Traditional Security Issues 
ประเด็นความมัน่คงรูปแบบใหม่ เพื่อการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีโดย 
สอดคล้องกับหลักการด้านความมัน่คงที่ครอบคลุมทุกมิติ จากภัยคุกคามในทุกรูป แบบ 
อาชญากรรมข้ามชาติ และความท้าทายข้ามแดน ทัง้นี้ ประเด็นความมัน่คงรูปแบบใหม่จะรวมถึง 
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber Crime)
ASEAN Economic Community Blueprint (AEC Blueprint) 
A2: Free flow of services 
ลดข้อจากัดต่อการค้าบริการสาขาคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง และบริการ 
โทรคมนาคม โดยไม่มีข้อจา กัด สา หรับการค้าบริการข้ามพรมแดน และการบริโภคข้ามพรมแดน 
อนุญาตการถือหุ้นของคนสัญชาติอาเซียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 51 ในปี 2008 และร้อยละ 70 
ในปี 2010 
B4: Infrastructure Development ในประเด็น Information Infrastructure 
อานวยความสะดวกให้เกิดการเชื่อมต่อความเร็วสูงระหว่างโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ 
แห่งชาติ ภายในปี 2010 เสริมสร้างขีดความสามารถและการฝึกอบรมสาหรับศูนย์ประสานงาน 
ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อเพมิ่ศักยภาพด้านความมัน่คงปลอดภัยบนโครงข่าย 
(cyber-security network) และขยายการดาเนินการทดสอบการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินต่อ 
ความมัน่คงบนเครือข่ายและสารสนเทศ (ASEAN CERT Incident Drills) ให้ครอบคลุมประเทศ 
คู่เจรจาของอาเซียนภายในปี 2007
ASEAN Economic Community Blueprint (AEC Blueprint) 
B4: Infrastructure Development ในประเด็น Information Infrastructure (ต่อ) 
ส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง (ประชาชน ชุมชน ธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ) มีส่วนร่วมในการ 
พัฒนาและนาเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการมาใช้งานบนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของ 
ภูมิภาค สนับสนุนสาขาที่เป็นกลุ่มเป้าหมายให้นาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่ม 
ประสิทธิภาพ เช่น ศุลกากร โลจิสติกส์ขนส่ง 
เพิ่มจานวนประเทศสมาชิกในการตกลงยอมรับร่วมกันของอาเซียนสาหรับอุปกรณ์ด้าน 
โทรคมนาคม พัฒนากรอบนโยบายด้านการกากับดูแลในเชิงลึกเพื่อรองรับโอกาสและความท้า 
ทายทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงข่ายยุคหน้า
ASEAN Economic Community Blueprint (AEC Blueprint) 
B6: E-Commerce 
การยอมรับแนวปฏิบัติที่ดีมาใช้ดา เนินนโยบายการแข่งขันด้านโทรคมนาคมและเตรียมความ 
พร้อมของกฎระเบียบ/กฎหมาย ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ ทาให้เกิดความ 
สอดคล้องด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการทาสัญญาทาง 
อิเล็กทรอนิกส์และการระงับข้อพิพาท 
พัฒนาและดาเนินการเพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีด้านการทา สัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ หลักการ 
สาหรับการระงับข้อพิพาทและกรอบการยอมรับร่วมกันของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาค 
อาเซียน อานวยความสะดวกเรื่องการยอมรับร่วมกันของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาค 
อาเซียน ศึกษาและสนับสนุนการยอมรับแนวปฏิบัติที่ดีและแนวทางของกฎระเบียบ และ/หรือ 
มาตรฐานที่มีอยู่บนพื้นฐานของกรอบความตกลงร่วม และ จัดตั้งเครือข่ายระหว่างภาคธุรกิจใน 
ภูมิภาคอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา เพื่อเป็นเวทีสา หรับส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุน
ASEAN Socio – Cultural Community Blueprint (ASCC Blueprint) 
A4: Promoting Information and Communication Technology 
เพมิ่พูนความรู้ด้านไอซีทีในอาเซียนโดยเฉพาะในกลุ่มสตรี เด็ก ผู้สูงวัย และผู้พิการ ส่งเสริม 
การใช้ไอซีทีในเชิงบวก โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ต สนับสนุนการใช้ไอซีทีในทุกระดับ 
การศึกษา ริเรมิ่การเรมิ่ใช้ไอซีทีในโรงเรียนประถมให้เร็วขึ้น ส่งเสริมการใช้ไอซีทีเพื่อสนับสนุน 
การเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ต พัฒนาผู้ใช้แรงงานและกาลังคนเพื่อการมีวิชาชีพและความชานาญ 
ทางด้านไอซีที 
B7: Building Disaster Resilient National and Safer Communities 
เสริมสร้างกลไกให้มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันและลดการสูญเสียชีวิต และทรพัย์สิน 
ทางสังคม เศรษฐกิจและสงิ่แวดล้อมของรัฐสมาชิกอาเซียนอันเกิดจากการภัยพิบัติ และร่วมมือกัน 
จัดการกับภัยพิบัติฉุกเฉินโดยใช้ความพยายามของรัฐบาล และความร่วมมือในระดับภูมิภาคและ 
ระหว่างประเทศ
Vision 
“Towards an Empowering and Transformational ICT: 
Creating an Inclusive, Vibrant and Integrated ASEAN” 
“สู่เทคโนโลยีไอซีทีเพือ่การสร้างศักยภาพประชาชน 
และการเปลีย่นแปลงเศรษฐกิจและสังคม ก่อให้เกิด 
อาเซียนที่มีความเท่าเทียม มีความเจริญมัง่คัง่ 
และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 
พ.ศ. 2558 
กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT 2020 
พ.ศ. 2554 - 2563 
2553 
แผนแม่บท ICT แห่งชาติ 
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 - 2556 
2563 
แผนแม่บท ICT แห่งชาติ(ฉบับที่ 3) 
กรอบนโยบาย IT2010 
2558 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) 
นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ 
นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)
“ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้เริ่ม 
ขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง ซึ่งจะทา ให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลก 
และสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ซึ่งหมายรวมถึงการผลิต และการค้า 
ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลโดยตรง และการใช้ดิจิทัล รองรับการให้บริการของ 
ภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคสื่อสาร 
และบันเทิง ตลอดจนการใช้ดิจิทัลรองรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และ 
การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์” 
ทีม่า: คา แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยทุธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 
วันศุกร์ที่18 กันยายน 2557
เศรษฐกิจและสังคมที่ใช้ ICT เป็นกลไกสา คัญ ในการขับเคลื่อนการปฏิรูป 
กระบวนการผลิต การดาเนินธุรกิจ การค้า การบริการ การศึกษา การ 
สาธารณสุข การบริหาราชการแผ่นดิน รวมทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และ 
สังคมอื่นๆ ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของ 
คนในสังคม และการจ้างงานที่เพิ่มมากขึ้น
“เร่งส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ในภูมิภาคอาเซียน และ 
ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ประโยชน์จากโครงข่าย 
คมนาคมขนส่ง และโทรคมนาคมที่เชื่อมโยงระหว่างกันของอาเซียน ระบบการออก 
ใบรับรอง/ใบอนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การทา ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันใน 
อาเซียน” 
“พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยทุกระดับ โดยสอดคล้องกับ 
ข้อตกลงในการเคลื่อนย้ายในด้านสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และปัจจัยการ 
ผลิตต่างๆ ที่เปิดเสรีมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย 
ให้สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งสามารถดา เนินธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการในประเทศ 
สมาชิกอาเซียน เพื่อนาไปสู่ความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานตลาดโลกได้”
“พัฒนาแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทัง้แรงงาน 
วิชาชีพ แรงงานมีทักษะ และแรงงานไม่มีทักษะ โดยการเร่งรัดและขยายผลการใช้ระบบ 
คุณวุฒิวิชาชีพให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยคานึงถึงความเป็นเอกภาพกับระบบ 
มาตรฐานฝีมือแรงงาน และมาตรฐานวิชาชีพ” 
ทีม่า: คา แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 
วันศุกร์ที่18 กันยายน 2557
พัฒนาโครงสร้างพ้นืฐาน ICT ที่เป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างทัว่ถึง 
พัฒนาทุนมนุษย์ด้าน ICT ให้มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอ 
ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT 
ใช้ ICT สร้างนวัตกรรมการบริการของภาครัฐ 
พัฒนาและประยุกต์ ICT เพื่อภาคการผลิต 
พัฒนาและประยุกต์ ICT เพื่อลดความเหลื่อมล้า ทางเศรษฐกิจและสังคม 
พัฒนาและประยุกต์ ICT เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ 
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การมีส่วนร่วมของประชาชน และการสร้างศักยภาพให้แก่ประชาชน 
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างนวัตกรรม 
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาทุนมนุษย์ 
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การลดช่องว่างทางด้านดิจิทัล
• Software Development 
• ICT Project Management 
• Enterprise Architecture Design 
• Network and System Administration 
• Information System and Network 
Security 
• Cloud Computing 
• Mobile Computing
วิสัยทัศน์ 
e-Government เป็นปัจ 
จัยหลักในการส่งเสริมการอา นวยความสะดวกด้านการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน 
และการเพมิ่ขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างยัง่ยืน 
เพื่อรองรับการเติบโต และการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน 
ยุทธศาสตร์การพัฒนา 
กาหนดแผนการ 
พัฒนา 
e-Government 
พัฒนาองค์ประกอบ 
บริการออนไลน์ 
การสร้างโครงสร้าง 
พื้นฐาน ICT 
ให้เข็มแข็ง 
ข้อเสนอแนะการพัฒนา 
ส่งเสริมกฎหมาย 
และกฎระเบียบเพื่อ 
สนับสนุนการพัฒนา 
e-Government 
การพัฒนาทุนมนุษย์ 
ด้าน ICT
http://www.asean-eclass.org/
http://www.asean4all.org/
“เปลีย่นจุดเน้นการพัฒนาจากการเตรียมความพร้อมประเทศ 
ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 
ไปสู่การพัฒนาโดยใช้โอกาสจากประชาคมอาเซียน 
ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย” 
มุ่งเน้น 3 ประเด็นยุทธศาสตร์หลัก 
• การพัฒนา ICT ในภาพรวมของประเทศ ทัง้ในมิติด้านทุนมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน และการส่งเสริม 
ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และผู้ประกอบด้าน ICT 
• การพัฒนา ICT ที่สนับสนุน และเอื้ออา นวยต่อการดา เนินงานพัฒนา (ICT – enabled) และการสร้าง 
ศักยภาพของประเทศในธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การศึกษา การแพทย์ การค้าการลงทุน 
การท่องเที่ยว ฯลฯ 
• การส่งเสริม และประสานความร่วมมือด้าน ICT ในประชาคมอาเซียน
Ict asean presentation

Weitere ähnliche Inhalte

Ähnlich wie Ict asean presentation

Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554TISA
 
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFIT
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFITข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFIT
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFITIMC Institute
 
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4Nopporn Thepsithar
 
ศูนย์กายภาพบำบัด
ศูนย์กายภาพบำบัดศูนย์กายภาพบำบัด
ศูนย์กายภาพบำบัดgel2onimal
 
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์Preaw Adisaun
 
การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806
การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806
การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806Kant Weerakant Drive Thailand
 
01 การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน รศ ดร สมเจตน์ ทิณพงษ์ สนช
01 การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน รศ ดร สมเจตน์ ทิณพงษ์ สนช01 การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน รศ ดร สมเจตน์ ทิณพงษ์ สนช
01 การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน รศ ดร สมเจตน์ ทิณพงษ์ สนชKant Weerakant Drive Thailand
 
เตรียมลูกรับมือกับอาเซียน Compress
เตรียมลูกรับมือกับอาเซียน Compressเตรียมลูกรับมือกับอาเซียน Compress
เตรียมลูกรับมือกับอาเซียน CompressOrange Wongwaiwit
 
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016คุณโจ kompat
 
ข้อเสนอเพ่อื การพัฒนานโยบาย Digital Economy โดยสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ...
ข้อเสนอเพ่อื การพัฒนานโยบาย Digital Economy โดยสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ...ข้อเสนอเพ่อื การพัฒนานโยบาย Digital Economy โดยสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ...
ข้อเสนอเพ่อื การพัฒนานโยบาย Digital Economy โดยสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ...IMC Institute
 

Ähnlich wie Ict asean presentation (20)

Asean...pongsak
Asean...pongsakAsean...pongsak
Asean...pongsak
 
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
 
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFIT
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFITข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFIT
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFIT
 
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
 
e-Government Thailand
e-Government Thailande-Government Thailand
e-Government Thailand
 
แบบฟอร์ม+Storytellingครั้งที่ 1รอบ2 56
แบบฟอร์ม+Storytellingครั้งที่ 1รอบ2 56แบบฟอร์ม+Storytellingครั้งที่ 1รอบ2 56
แบบฟอร์ม+Storytellingครั้งที่ 1รอบ2 56
 
ศูนย์กายภาพบำบัด
ศูนย์กายภาพบำบัดศูนย์กายภาพบำบัด
ศูนย์กายภาพบำบัด
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559
 
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
 
200809026 Thai E Commerce Government
200809026 Thai E Commerce Government200809026 Thai E Commerce Government
200809026 Thai E Commerce Government
 
การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806
การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806
การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน 20150806
 
01 การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน รศ ดร สมเจตน์ ทิณพงษ์ สนช
01 การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน รศ ดร สมเจตน์ ทิณพงษ์ สนช01 การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน รศ ดร สมเจตน์ ทิณพงษ์ สนช
01 การรังสรรค์ระบบนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน รศ ดร สมเจตน์ ทิณพงษ์ สนช
 
เตรียมลูกรับมือกับอาเซียน Compress
เตรียมลูกรับมือกับอาเซียน Compressเตรียมลูกรับมือกับอาเซียน Compress
เตรียมลูกรับมือกับอาเซียน Compress
 
Fact sheet TSPA & Members
Fact sheet TSPA & MembersFact sheet TSPA & Members
Fact sheet TSPA & Members
 
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
 
Foresight for thorkorsor
Foresight for thorkorsorForesight for thorkorsor
Foresight for thorkorsor
 
ข้อเสนอเพ่อื การพัฒนานโยบาย Digital Economy โดยสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ...
ข้อเสนอเพ่อื การพัฒนานโยบาย Digital Economy โดยสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ...ข้อเสนอเพ่อื การพัฒนานโยบาย Digital Economy โดยสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ...
ข้อเสนอเพ่อื การพัฒนานโยบาย Digital Economy โดยสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ...
 
Aseanict masterplan2015
Aseanict masterplan2015Aseanict masterplan2015
Aseanict masterplan2015
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2560
 

Ict asean presentation

  • 2. • ICT กลไกสา คัญของการพัฒนาประชาคมอาเซียน • แนวนโยบาย ICT ของไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน • บทบาทด้าน ICT ของไทยในประชาคมอาเซียน • อนาคต ICT ของไทยภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
  • 3.
  • 4. ประชาคมการเมือง และ ความมัน่คง APSC รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน รัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ รัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย ประชาคมเศรษฐกิจ AEC รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน คณะกรรมการเขตการค้าเสรีอาเซียน คณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียน รัฐมนตรีด้านการคลังอาเซียน รัฐมนตรีด้านการเกษตร และป่าไม้อาเซียน รัฐมนตรีด้านพลังงานอาเซียน รัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รัฐมนตรีอาเซียนด้าน ICT รัฐมนตรีด้านการขนส่งอาเซียน รัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ประชาคมสังคม และ วัฒนธรรม ASCC รัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน รัฐมนตรีอาเซียนด้านวัฒนธรรมและศิลปะ รัฐมนตรีอาเซียนด้านการศึกษา รัฐมนตรีด้านภัยพิบัติอาเซียน รัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน
  • 5.
  • 6. ASEAN Political – Security Community Blueprint (APSC Blueprint) B4: Non-Traditional Security Issues ประเด็นความมัน่คงรูปแบบใหม่ เพื่อการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีโดย สอดคล้องกับหลักการด้านความมัน่คงที่ครอบคลุมทุกมิติ จากภัยคุกคามในทุกรูป แบบ อาชญากรรมข้ามชาติ และความท้าทายข้ามแดน ทัง้นี้ ประเด็นความมัน่คงรูปแบบใหม่จะรวมถึง อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber Crime)
  • 7. ASEAN Economic Community Blueprint (AEC Blueprint) A2: Free flow of services ลดข้อจากัดต่อการค้าบริการสาขาคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง และบริการ โทรคมนาคม โดยไม่มีข้อจา กัด สา หรับการค้าบริการข้ามพรมแดน และการบริโภคข้ามพรมแดน อนุญาตการถือหุ้นของคนสัญชาติอาเซียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 51 ในปี 2008 และร้อยละ 70 ในปี 2010 B4: Infrastructure Development ในประเด็น Information Infrastructure อานวยความสะดวกให้เกิดการเชื่อมต่อความเร็วสูงระหว่างโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ แห่งชาติ ภายในปี 2010 เสริมสร้างขีดความสามารถและการฝึกอบรมสาหรับศูนย์ประสานงาน ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อเพมิ่ศักยภาพด้านความมัน่คงปลอดภัยบนโครงข่าย (cyber-security network) และขยายการดาเนินการทดสอบการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินต่อ ความมัน่คงบนเครือข่ายและสารสนเทศ (ASEAN CERT Incident Drills) ให้ครอบคลุมประเทศ คู่เจรจาของอาเซียนภายในปี 2007
  • 8. ASEAN Economic Community Blueprint (AEC Blueprint) B4: Infrastructure Development ในประเด็น Information Infrastructure (ต่อ) ส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง (ประชาชน ชุมชน ธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ) มีส่วนร่วมในการ พัฒนาและนาเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการมาใช้งานบนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของ ภูมิภาค สนับสนุนสาขาที่เป็นกลุ่มเป้าหมายให้นาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพ เช่น ศุลกากร โลจิสติกส์ขนส่ง เพิ่มจานวนประเทศสมาชิกในการตกลงยอมรับร่วมกันของอาเซียนสาหรับอุปกรณ์ด้าน โทรคมนาคม พัฒนากรอบนโยบายด้านการกากับดูแลในเชิงลึกเพื่อรองรับโอกาสและความท้า ทายทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงข่ายยุคหน้า
  • 9. ASEAN Economic Community Blueprint (AEC Blueprint) B6: E-Commerce การยอมรับแนวปฏิบัติที่ดีมาใช้ดา เนินนโยบายการแข่งขันด้านโทรคมนาคมและเตรียมความ พร้อมของกฎระเบียบ/กฎหมาย ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ ทาให้เกิดความ สอดคล้องด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการทาสัญญาทาง อิเล็กทรอนิกส์และการระงับข้อพิพาท พัฒนาและดาเนินการเพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีด้านการทา สัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ หลักการ สาหรับการระงับข้อพิพาทและกรอบการยอมรับร่วมกันของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาค อาเซียน อานวยความสะดวกเรื่องการยอมรับร่วมกันของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาค อาเซียน ศึกษาและสนับสนุนการยอมรับแนวปฏิบัติที่ดีและแนวทางของกฎระเบียบ และ/หรือ มาตรฐานที่มีอยู่บนพื้นฐานของกรอบความตกลงร่วม และ จัดตั้งเครือข่ายระหว่างภาคธุรกิจใน ภูมิภาคอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา เพื่อเป็นเวทีสา หรับส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุน
  • 10. ASEAN Socio – Cultural Community Blueprint (ASCC Blueprint) A4: Promoting Information and Communication Technology เพมิ่พูนความรู้ด้านไอซีทีในอาเซียนโดยเฉพาะในกลุ่มสตรี เด็ก ผู้สูงวัย และผู้พิการ ส่งเสริม การใช้ไอซีทีในเชิงบวก โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ต สนับสนุนการใช้ไอซีทีในทุกระดับ การศึกษา ริเรมิ่การเรมิ่ใช้ไอซีทีในโรงเรียนประถมให้เร็วขึ้น ส่งเสริมการใช้ไอซีทีเพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ต พัฒนาผู้ใช้แรงงานและกาลังคนเพื่อการมีวิชาชีพและความชานาญ ทางด้านไอซีที B7: Building Disaster Resilient National and Safer Communities เสริมสร้างกลไกให้มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันและลดการสูญเสียชีวิต และทรพัย์สิน ทางสังคม เศรษฐกิจและสงิ่แวดล้อมของรัฐสมาชิกอาเซียนอันเกิดจากการภัยพิบัติ และร่วมมือกัน จัดการกับภัยพิบัติฉุกเฉินโดยใช้ความพยายามของรัฐบาล และความร่วมมือในระดับภูมิภาคและ ระหว่างประเทศ
  • 11.
  • 12. Vision “Towards an Empowering and Transformational ICT: Creating an Inclusive, Vibrant and Integrated ASEAN” “สู่เทคโนโลยีไอซีทีเพือ่การสร้างศักยภาพประชาชน และการเปลีย่นแปลงเศรษฐกิจและสังคม ก่อให้เกิด อาเซียนที่มีความเท่าเทียม มีความเจริญมัง่คัง่ และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”
  • 13.
  • 14.
  • 15. การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2558 กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT 2020 พ.ศ. 2554 - 2563 2553 แผนแม่บท ICT แห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 - 2556 2563 แผนแม่บท ICT แห่งชาติ(ฉบับที่ 3) กรอบนโยบาย IT2010 2558 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)
  • 16. “ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้เริ่ม ขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง ซึ่งจะทา ให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลก และสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ซึ่งหมายรวมถึงการผลิต และการค้า ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลโดยตรง และการใช้ดิจิทัล รองรับการให้บริการของ ภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคสื่อสาร และบันเทิง ตลอดจนการใช้ดิจิทัลรองรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และ การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ทีม่า: คา แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยทุธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันศุกร์ที่18 กันยายน 2557
  • 17. เศรษฐกิจและสังคมที่ใช้ ICT เป็นกลไกสา คัญ ในการขับเคลื่อนการปฏิรูป กระบวนการผลิต การดาเนินธุรกิจ การค้า การบริการ การศึกษา การ สาธารณสุข การบริหาราชการแผ่นดิน รวมทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และ สังคมอื่นๆ ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของ คนในสังคม และการจ้างงานที่เพิ่มมากขึ้น
  • 18. “เร่งส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ในภูมิภาคอาเซียน และ ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ประโยชน์จากโครงข่าย คมนาคมขนส่ง และโทรคมนาคมที่เชื่อมโยงระหว่างกันของอาเซียน ระบบการออก ใบรับรอง/ใบอนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การทา ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันใน อาเซียน” “พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยทุกระดับ โดยสอดคล้องกับ ข้อตกลงในการเคลื่อนย้ายในด้านสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และปัจจัยการ ผลิตต่างๆ ที่เปิดเสรีมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย ให้สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งสามารถดา เนินธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการในประเทศ สมาชิกอาเซียน เพื่อนาไปสู่ความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานตลาดโลกได้”
  • 19. “พัฒนาแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทัง้แรงงาน วิชาชีพ แรงงานมีทักษะ และแรงงานไม่มีทักษะ โดยการเร่งรัดและขยายผลการใช้ระบบ คุณวุฒิวิชาชีพให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยคานึงถึงความเป็นเอกภาพกับระบบ มาตรฐานฝีมือแรงงาน และมาตรฐานวิชาชีพ” ทีม่า: คา แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันศุกร์ที่18 กันยายน 2557
  • 20. พัฒนาโครงสร้างพ้นืฐาน ICT ที่เป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างทัว่ถึง พัฒนาทุนมนุษย์ด้าน ICT ให้มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอ ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT ใช้ ICT สร้างนวัตกรรมการบริการของภาครัฐ พัฒนาและประยุกต์ ICT เพื่อภาคการผลิต พัฒนาและประยุกต์ ICT เพื่อลดความเหลื่อมล้า ทางเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาและประยุกต์ ICT เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • 21. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การมีส่วนร่วมของประชาชน และการสร้างศักยภาพให้แก่ประชาชน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาทุนมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การลดช่องว่างทางด้านดิจิทัล
  • 22.
  • 23. • Software Development • ICT Project Management • Enterprise Architecture Design • Network and System Administration • Information System and Network Security • Cloud Computing • Mobile Computing
  • 24. วิสัยทัศน์ e-Government เป็นปัจ จัยหลักในการส่งเสริมการอา นวยความสะดวกด้านการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน และการเพมิ่ขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างยัง่ยืน เพื่อรองรับการเติบโต และการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์การพัฒนา กาหนดแผนการ พัฒนา e-Government พัฒนาองค์ประกอบ บริการออนไลน์ การสร้างโครงสร้าง พื้นฐาน ICT ให้เข็มแข็ง ข้อเสนอแนะการพัฒนา ส่งเสริมกฎหมาย และกฎระเบียบเพื่อ สนับสนุนการพัฒนา e-Government การพัฒนาทุนมนุษย์ ด้าน ICT
  • 27.
  • 28.
  • 29. “เปลีย่นจุดเน้นการพัฒนาจากการเตรียมความพร้อมประเทศ ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ไปสู่การพัฒนาโดยใช้โอกาสจากประชาคมอาเซียน ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย” มุ่งเน้น 3 ประเด็นยุทธศาสตร์หลัก • การพัฒนา ICT ในภาพรวมของประเทศ ทัง้ในมิติด้านทุนมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน และการส่งเสริม ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และผู้ประกอบด้าน ICT • การพัฒนา ICT ที่สนับสนุน และเอื้ออา นวยต่อการดา เนินงานพัฒนา (ICT – enabled) และการสร้าง ศักยภาพของประเทศในธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การศึกษา การแพทย์ การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว ฯลฯ • การส่งเสริม และประสานความร่วมมือด้าน ICT ในประชาคมอาเซียน

Hinweis der Redaktion

  1. หนี่งในกลไกสำคัญในการพัฒนาประชาคมอาเซียนคือ ICT ซึ่งภายใต้กฎบัตรอาเซียน ได้จัดแบ่งสาขาความร่วมมือต่างๆ ในประชาคมอาเซียนให้อยู่ในแต่ละเสาหลัก โดย ความร่วมมือด้านไอซีทีถูกจัดให้อยู่ในเสาเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ภารกิจงานด้าง ICT จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเสาอื่นๆ ด้วย โดยมีการระบุไว้ใน ASEAN ICT Blueprint ของทั้ง 3 เสาหลัก
  2. อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ในแต่ละเสาหลัก เพื่อเป็นแผนบูรณาการในการดำเนินงานจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน หรือ APSC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC และประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน หรือ ASCC โดย Blueprint ของแต่ละเสาหลักมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับด้าน ICT ดังนี้
  3. เสาประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ICT ในเรื่องความมั่นคงรูปแบบใหม่ เพื่อการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที จากภัยคุกคามต่างๆ รวมทั้งประเด็นด้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
  4. AEC Blueprint มีประเด็นที่สำคัญด้าน ICT ในประเด็นการเปิดเสรีการค้าบริการ (Free flow of services) ในการลดข้อจำกัดต่อการค้าบริการสาขาคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง และบริการโทรคมนาคม โดยไม่มีข้อจำกัด สำหรับการค้าบริการข้ามพรมแดน และการบริโภคข้ามพรมแดน นอกจากนี้ในด้าน Infrastructure Development ในประเด็นโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล (Information Infrastructure) โดยอำนวยความสะดวกให้เกิดการเชื่อมต่อความเร็วสูงระหว่างโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติ ภายในปี 2010 เสริมสร้างขีดความสามารถและการฝึกอบรมสำหรับศูนย์ประสานงานความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยบนโครงข่าย (cyber-security network) และขยายการดำเนินการทดสอบการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินต่อความมั่นคงบนเครือข่ายและสารสนเทศ (ASEAN CERT Incident Drills)
  5. ตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการมาใช้งานบนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของภูมิภาค สนับสนุนสาขาที่เป็นกลุ่มเป้าหมายให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ศุลกากร โลจิสติกส์ ขนส่ง เพิ่มจำนวนประเทศสมาชิกในการตกลงยอมรับร่วมกันของอาเซียนสำหรับอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคม พัฒนากรอบนโยบายด้านการกำกับดูแลในเชิงลึกเพื่อรองรับโอกาสและความท้าทายทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงข่ายยุคหน้า
  6. ในประเด็นเรื่อง e-Commerce AEC Blueprint กล่าวถึงการยอมรับแนวปฏิบัติที่ดีมาใช้ดำเนินนโยบายการแข่งขันด้านโทรคมนาคมและเตรียมความพร้อมของกฎระเบียบ/กฎหมาย ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ ทำให้เกิดความสอดคล้องด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการทำสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์และการระงับข้อพิพาท พัฒนาและดำเนินการเพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีด้านการทำสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ หลักการสำหรับการระงับข้อพิพาทและกรอบการยอมรับร่วมกันของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคอาเซียน อำนวยความสะดวกเรื่องการยอมรับร่วมกันของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคอาเซียน ศึกษาและสนับสนุนการยอมรับแนวปฏิบัติที่ดีและแนวทางของกฎระเบียบ และ/หรือ มาตรฐานที่มีอยู่บนพื้นฐานของกรอบความตกลงร่วม และ จัดตั้งเครือข่ายระหว่างภาคธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา เพื่อเป็นเวทีสำหรับส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุน
  7. ในส่วนของเสาประชาคมสังคมและวัฒนธรรมนั้น ภายใต้ ASCC Blueprint ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการส่งเสริมการใช้ ICTเพิ่มพูนความรู้ด้านไอซีทีในอาเซียนโดยเฉพาะในกลุ่มสตรี เด็ก ผู้สูงวัย และผู้พิการ ส่งเสริมการใช้ไอซีทีในเชิงบวก โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ต สนับสนุนการใช้ไอซีทีในทุกระดับการศึกษา ริเริ่มการเริ่มใช้ไอซีทีในโรงเรียนประถมให้เร็วขึ้น ส่งเสริมการใช้ไอซีทีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ต พัฒนาผู้ใช้แรงงานและกำลังคนเพื่อการมีวิชาชีพและความชำนาญทางด้านไอซีที นอกจากนี้ได้ให้ควาสำคัญกับการเสริมสร้างกลไกให้มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันและลดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของรัฐสมาชิกอาเซียนอันเกิดจากการภัยพิบัติ และร่วมมือกันจัดการกับภัยพิบัติฉุกเฉินโดยใช้ความพยายามของรัฐบาล และความร่วมมือในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
  8. นอกจากในส่วนของ พิมพ์เขียวเพื่อการจัดตั้งประชาคมอาเซียนแล้ว อาเซียนยังมีการจัดทำแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน โดยแผนแม่บทนี้มีเจตนารมณ์ที่จะเร่งรัดการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกอาเซียนให้เกิดการเชื่อมโยงประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน หมายถึง การเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบ และประชาชน ซึ่งรวมกันขึ้นเป็นฐานรากที่เอื้อต่อการบรรลุผลในสามเสาหลักของประชาคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม ที่จะนำไปสู่วิสัยทัศน์ของการเป็นประชาคมอาเซียนที่รวมตัวกัน โดยองค์ประกอบหลักของความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ได้แก่ ความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ ด้านประชาชน สำหรับ ICT นั้นเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการเชื่อมโยงทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ที่ดี จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการค้า การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างนวัตกรรมในอาเซียน อีกทั้งยังจะมีส่วนสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศ เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาภายในภูมิภาคอาเซียนด้วย
  9. เมื่อมามองเฉพาะในส่วนของความร่วมมือด้าน ICT ภายใต้เสาหลักเศรษฐกิจแล้วนั้น อาเซียนมีการจัดทำแผนแม่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาเซียน ฉบับแรก ระยะ 5 ปี (2010 – 2015) เพื่อเป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานพัฒนาด้าน ICT ในประชาคมอาเซียน ภายใต้วิสัยทัศน์ สู่เทคโนโลยีไอซีทีเพื่อการสร้างศักยภาพประชาชน และการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคม ก่อให้เกิดอาเซียนที่มีความเท่าเทียม มีความเจริญมั่งคั่ง และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
  10. ภายใต้แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาเซียน ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานหลักในการพัฒนา ICT 3 ยุทธศาสตร์ คือ เรื่อง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทุนมนุษย์ การลดความเหลื่อมล้ำในการในการเข้าถึงสารสนเทศ และกำหนดยุทธศาสตร์สนับสนุน 3 ด้าน คือ การปฏิรูปเศรษฐกิจ การเสริมสร้างศักยภาพให้ประชาชน และการสร้างนวัตกรรม จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในส่วนนี้แสดงให้เห็นว่า ICT เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญ ที่อาเซียนให้ความสำคัญ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาของประชาคมอาเซียน
  11. ภาพรวมนโยบาย ICT ของประเทศ ประเทศไทยมีการกำหนดกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนา ICT ของประเทศในระยะ 10 ปี โดยขณะนี้อยู่ในช่วงระยะเวลาของกรอบนโยบาย ICT 2020 (พ.ศ. 2554 – 2563) ซึ่ง กรอบนโยบาย ICT2020 สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และทิศทางการพัฒนาของอาเซียนในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 สำหรับการผลักดันการนำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไปสู่การปฏิบัตินั้น ประเทศไทยได้มีการจัดทำแผนแม่บท ICT แห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับแผนแม่บท ICT ฉบับปัจจุบันนั้น ในขณะนี้กระทรวงฯ อยู่ในระหว่างการพิจารณาปรับให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ในการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัล และวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งนโยบายที่สำคัญ ที่เป็นการดำเนินการตามกรอบนโยบาย ICT2020 คือ นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ อันเป็นส่วนสำคัญในการสร้างศักยภาพการพัฒนาของประเทศทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ และสังคม
  12. นโยบายของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2557 ในส่วนของนโยบายในการสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ได้กำหนดให้เศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy เป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ โดยรัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้มีการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัล และวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ซึ่งรวมถึงการผลิต และการค้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลโดยตรง และการใช้ดิจิทัล รองรับการให้บริการของภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคสื่อสาร และบันเทิง ตลอดจนการใช้ดิจิทัลรองรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งนี้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างจุดแข็งของประเทศภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
  13. หลายๆ ท่านอาจจะมีคำถามว่า เศรษฐกิจดิจิทัล หมายถึงอะไร จากการประมวลข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ พอจะสรุปได้ว่า เศรษฐกิจดิจิทัล คือ เศรษฐกิจและสังคมที่ใช้ ICT เป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกิจ การค้า การบริการ การศึกษา การสาธารณสุข การบริหาราชการแผ่นดิน รวมทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสังคมอื่นๆ ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และการจ้างงานที่เพิ่มมากขึ้น
  14. นอกจากนี้ในนโยบายของรัฐบาลยังได้มีการกล่าวถึง การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน โดยระบุให้ เร่งส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ในภูมิภาคอาเซียน และขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ประโยชน์จากโครงข่ายคมนาคมขนส่ง และโทรคมนาคมที่เชื่อมโยงระหว่างกันของอาเซียน ระบบการออกใบรับรอง/ใบอนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในอาเซียน ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยทุกระดับ โดยสอดคล้องกับข้อตกลงในการเคลื่อนย้ายในด้านสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่เปิดเสรีมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยให้สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งสามารถดำเนินธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อนำไปสู่ความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานตลาดโลกได้
  15. รวมทั้งการพัฒนาแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทั้งแรงงานวิชาชีพ แรงงานมีทักษะ และแรงงานไม่มีทักษะ โดยการเร่งรัดและขยายผลการใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยคำนึงถึงความเป็นเอกภาพกับระบบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และมาตรฐานวิชาชีพ
  16. กรอบนโยบาย ICT 2020 ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ 7 ยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย 1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT ที่เป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างทั่วถึง 2. พัฒนาทุนมนุษย์ด้าน ICT ให้มีคุณภาพ และมีปริมาณเพียงพอ 3. ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT 4. ใช้ ICT สร้างนวัตกรรมการบริการของภาครัฐ 5. พัฒนาและประยุกต์ ICT เพื่อภาคการผลิต 6. พัฒนาและประยุกต์ ICT เพื่อลดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจและสังคม 7. พัฒนาและประยุกต์ ICT เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ 3 นั้น ได้กำหนดให้ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และนำรายได้เข้าประเทศ โดยใช้โอกาสจากการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ การเปิดการค้าเสรี และประชาคมอาเซียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้อุตสาหกรรม ICT เติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถแข่งขันได้ในเวทีอาเซียนและในเวทีโลก
  17. นอกจากนี้ในส่วนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีการจัดทำแผนดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (พ.ศ. 2555 – 2558) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งได้จัดทำขึ้นครั้งแรกในเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ โดยได้พิจารณามาตรการและกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนดไว้ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint), แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) และแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) เนื่องจากภารกิจของความร่วมมืออาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรับผิดชอบ เกี่ยวข้องกับทั้ง ๓ เสาหลักของประชาคมอาเซียน รวมทั้งได้พิจารณาแผนงานต่างๆ ของอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับด้านไอซีที ได้แก่ แผนแม่บทไอซีทีของอาเซียน ค.ศ. ๒๐๑๕ (ASEAN ICT Masterplan 2015) และแผนแม่บทความเชื่อมโยงในอาเซียน
  18. ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากอาเซียนให้เป็นผู้ผลักดันการกำหนดมาตรฐานทักษะ และการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ด้าน ICTเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานในประชาคมอาเซียน โดยได้ดำเนินการกำหนดนิยามความรู้ด้านต่างๆ และระดับความสามารถของแต่ละวิชาชีพ รวมทั้งแนวทางการรับรองมาตรฐานวิชาชีพด้าน ICT ที่เกี่ยวข้องกับ 5 วิชาชีพด้าน ICT ได้แก่ ด้าน Software Development, ICT Project Management, Enterprise Architecture Design, Network and System Administration และ Information System and Network Security ไปแล้ว และอยู่ในระหว่างดำเนินการเพิ่มอีก 2 วิชาชีพ คือ Cloud Computing และ Mobile Computing เป้าหมายของการดำเนินการในส่วนนี้เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานด้าน ICT ในประชาคมอาเซียนในอนาคต
  19. อีกงานหนึ่งคือ ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้าน e-Government ของอาเซียน อันจะเป็นกรอบการดำเนินงานพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศสมาชิกอาเซียน ในการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและเคลื่อนย้ายบุคคล เพื่อเตรียมการรองรับการพัฒนาและเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบบริการของแต่ละประเทศในอาเซียนเข้าด้วยกัน อันจะเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนต่อไป กรอบการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนา และ 2 ข้อเสนอแนะการพัฒนา ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย การกำหนดแผนการพัฒนา e-Government โดยการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกิจกรรมสำคัญ เพื่อเป็นแนวทางและแผนการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานของรัฐในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนสำหรับใช้พัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาองค์ประกอบของการบริการออนไลน์ โดยการกำหนดแอพพลิเคชั่นบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) ที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า และเคลื่อนย้ายบุคคลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ควรดำเนินการจำนวน 15 บริการ แบ่งเป็นบริการด้านการทะเบียน บริการด้านการขออนุญาตและใบรับรอง บริการด้านภาษีอากร และบริการตอบแทนสังคม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ทั้งในด้านคุณภาพของโครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีการสื่อสารที่ใช้ ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต การรักษาความมั่นคงปลอดภัย และกิจกรรมสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ข้อเสนอแนะการพัฒนาประกอบด้วย การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริการ e-Government และการดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า และเคลื่อนย้ายบุคคลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และ การพัฒนาทุนมนุษย์ด้านไอซีที ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ระดับการเรียนรู้ด้านไอซีที ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพที่จะยอมรับร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน
  20. นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งห้องเรียนชุมชนออนไลน์ (Community e-Classroom) สำหรับอาเซียนขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมเนื้อหาบทเรียน ความรู้ องค์ความรู้ในรูปแบบของห้องเรียนออนไลน์ และพัฒนาศูนย์รวมในการเรียนการสอนให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้สามารถขยายวงกว้างเพื่อขยายโอกาสไปยังเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในการผลิตหลักสูตรและการใช้ประโยชน์จากห้องเรียนชุมชนออนไลน์ สำหรับจัดกิจกรรมการสอนของครู นักเรียน ผู้นำชุมชน คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส
  21. รวมทั้งจัดกิจกรรมอบรมด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมแก่ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสในสังคมด้วย ICT สำหรับอาเซียน เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหารือแนวทางในการส่งเสริมความเท่าเทียมแก่ผู้สูงอายุคนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคมด้วย ICT สำหรับอาเซียน รวมทั้งเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเพื่อส่งเสริมการมีการใช้ ICT และผลักดันให้เกิดความร่วมมือและการพัฒนาด้าน ICT และเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลภายในอาเซียน อีกด้วย
  22. นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นผู้สนับสนุนภาคเอกชน โดยการนำของสมาคม CIO16 ในการจัดตั้งสมาคม CIO อาเซียน (ASEAN CIO Association) หรือ ACIOA โดยประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN CIO Forum ครั้งแรกเมื่อปี 2555 อันเป็นที่มาของการจัดตั้งสมาคม CIO ในปี 2557 สมาคม CIO มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสําคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็นของ CIO ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีการพัฒนาขีดความสามารถทางด้าน ICT ควบคู่กันไปกับการปรับตัวให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เพื่อเตรียมการรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน ในปี 2558 เพื่อร่วมมือกันพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ให้เจริญรุดหน้าและเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย
  23. เพื่อเป็นการเตรียมการรองรับภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ขณะนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้าน ICT ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายหลังปี 2558 โดยแผนดังกล่าวจะเปลี่ยนจุดเน้นการพัฒนาจากการเตรียมความพร้อมประเทศ ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ไปสู่การพัฒนาโดยใช้โอกาสจากประชาคมอาเซียน ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย และมุ่งเน้นการดำเนินการใน 3 ส่วนหลัก คือ มุ่งพัฒนา ICT ในภาครวมของประเทศ มุ่งพัฒนา ICT เพื่อสนับสนุน และเอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานพัฒนา (ICT – enabled) และมุ่งเน้นการส่งเสริม และประสานความร่วมมือด้าน ICT ในประชาคมอาเซียน