SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 11
Downloaden Sie, um offline zu lesen
การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและตลาดสินค้าเกษตร
ในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืน
โดย
เชิญ ไกรนรา
สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1 เมษายน 2556
การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและตลาดสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืน
1.ความสาคัญของภาคเกษตรกรรมต่อระบบเศรษฐกิจภาคกลาง
ภาคกลางคลอบคุลมพื้นที่ 26 จังหวัด (นับรวมกรุงเทพมหานคร ) มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มประกอบด้วย
12 ลุ่มน้้าได้แก่ ลุ่มน้้าเจ้าพระยา ลุ่มน้้าสะแกกรัง ลุ่มน้้าท่าจีน ลุ่มน้้าป่าลัก ลุ่มน้้าเพชรบุรี ลุ่มน้้าปราจีนบุรี
ลุ่มน้้าบางปะกง ลุ่มน้้าโตนเลสาบ ลุ่มน้้าชายฝั่งทะเลตะวันออก ลุ่มน้้าแม่กลอง ลุ่มน้้าเพชรบุรี และลุ่มน้้า
ชายฝั่งทะเลตะวันตก มีพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรจ้านวน 26 ล้านไร่ ซึ่งมีการพัฒนาพื้นที่ชลประทานมาก
ที่สุดในประเทศประมาณ 13.70 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของพื้นที่เกษตรทั้งภาค และยังมีพื้นที่
ศักยภาพเพื่อการพัฒนาชลประทานอีกประมาณ 3.60 ล้านไร่ ในปี 2553 ภาคเกษตรกรรมสร้างรายได้จ้านวน
329,229 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4 ส้าหรับภาคนอกเกษตรกรรมสร้างรายได้จ้านวน 7 ,523,317
ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 96 % โดยสัดส่วนของภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ภาคกลางคิดเป็นประมาณ
ร้อยละ 28 ของรายได้จากภาคเกษตรกรรมทั้งประเทศ โดยกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก มีรายได้จากภาคเกษตร
สูงสุดจ้านวน 125,043 ล้านบาท รองลงมาคือกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 จ้านวน 40,022 ล้านบาท และ
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 จ้านวน 38,571 ล้านบาท ตามล้าดับ
แม้ว่าภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนรายได้ค่อนข้างต่้าเมื่อเปรียบเทียบกับภาคนอกเกษตรกรรม แต่ ภาคเกษตรยังมี
บทบาทส้าคัญในการเป็น แหล่งสร้างงานและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท โดยในปี
2553 ภาคกลางมีครัวเรือนที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องอยู่ในภาคเกษตรกรรมประมาณ 900 ,000 ครัวเรือน
หรือร้อยละ 10.74 ของครัวเรือนเกษตรทั้งประเทศ คิดเป็นประชากรประมาณ 3.26 ล้านคน หรือร้อยละ 15
ของประชากรของทั้งภาคกลาง อย่างไรก็ตามจ้านวนเกษตรกรมีแนวโน้มลดลงตามพลวัตรการพัฒนาภาคกลาง
ส้าหรับสินค้าเกษตรที่โดดเด่นในพื้นที่ภาคกลางและแหล่งผลิต ได้แก่ ข้าว (สุพรรณบุรี ชัยนาท อยุธยา) ผลไม้
(ประจวบคีรีขันธ์ จันทบุรี ชลบุรี เพชรบุรี) ยางพารา (ระยอง จันทบุรี ตราด) พืชผักต่างๆ (ราชบุรี กาญจนบุรี
สุพรรณบุรี) ไก่ (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี) สุกร (ราชบุรี นครปฐม) และ ประมง (สมุทรสาคร
สมุทรปราการ ตราด และระยอง)
2.ปัญหาของห่วงโซ่คุณค่าการผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลาง
ห่วงโซ่การผลิต (Production Chain หรือ Supply Chain) หมายถึงเครือข่ายของความเชื่อมโยงทางธุรกิจที่
เกี่ยวข้องกับการจัดหาสินค้าและบริการที่เป็นความต้องการของผู้บริโภคคนสุดท้าย การจัดการห่วงโซ่การผลิต
ครอบคลุมการเคลื่อนย้ายทั้งหมดและการเก็บรักษาวัตถุดิบ ภารกิจที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดท้าสินค้าคง
คลัง และสินค้าส้าเร็จรูปจากจุด ที่ผลิตไปยังจุดของการบริโภค ส้าหรับการผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลา ง
สามารถประยุกต์ตามแนวคิดห่วงโซ่การผลิตที่ได้กล่าวมาแล้วออกได้เป็น 5 ห่วงโซ่การผลิตคือ โครงสร้างพื้น
ห่วงโซ่การผลิตของสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลาง
ฐานและการขนส่ง ปัจจัยการผลิต ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เกษตรกร กระบวนการผลิตและผลผลิต การแปร
รูป ผู้บริโภค การตลาดและการกระจายสินค้า ซึ่งถือได้ว่า เป็นปัจจัยที่ส้าคัญที่อาจส่งผลให้เกิดความยั่งยืนใน
การพัฒนาการเกษตรของพื้นที่ภาคกลางและระดับประเทศ โดยสภาพปัญหาของแต่ละห่วงโซ่การผลิตสินค้า
เกษตรในพื้นที่ภาคกลางสรุปได้ดังนี้
2.1 ห่วงโซ่โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง
 ระบบโลจิสติกส์ของพืชผลทางการเกษตรมีความยุ่งยากกว่าสินค้าอื่นๆ เนื่องจาก
 ธรรมชาติของผลผลิตทางการเกษตรส่วนมากเป็นผลผลิตที่ออกเป็นฤดูกาล เมื่อผลผลิตออกสู่ตลาด
พร้อมๆ กันเป็นจ้านวนมาก ท้าให้อุปทานล้นตลาด นอกจากนี้ผลผลิตทางการเกษตรเป็นของสด เน่า
เสียง่าย จ้าเป็นต้องอาศัยหรือพึ่งพาระบบโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพสูง ในการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม
และกระจายผลผลิต ตลอดทั้งต้องรักษามาตรฐานด้านความสะอาดของผลผลิต
 เกษตรกรขาดองค์ความรู้ในด้านโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร โดยเฉพาะการจัดการในห่วงโซ่
ของการรักษาความเย็น (Cold Chain Management) ในกระบวนการการกระจายสินค้าซึ่งไม่ถูก
น้าไปใช้ในภาคเกษตรอย่างเป็นระบบ
 ราคาน้้ามันและก๊าซธรรมชาติสูงขึ้นส่งผลให้มีต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้น
2.2 ห่วงโซ่ปัจจัยการผลิต ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
 หนี้สินของเกษตรกร ทั้งในสถาบันการเงินในระบบและหนี้นอกระบบ และราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้น
ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
 เกษตรกรจ้านวนมากไม่มีที่ดินท้ากินเป็นของตนเอง ต้องเช่าที่ดินท้ากิน ส่วนเกษตรกรที่มีทีดินจ้านวน
มากแต่ละปีต้องสูญเสียที่ดินท้ากินให้กับสถาบันการเงิน และพื้นที่เกษตรกรรมในภาคกลางได้ลดลงไป
มากเนื่องจากแปรเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม
 ปัญหาดินเสื่อมโทรมจากการใช้สารเคมีติดต่อกันกันเป็นระยะเวลานาน
โครงสร้าง
พื้นฐานและ
การขนส่ง
ปัจจัยการผลิต
ทรัพยากรและ
สิ่งแวดล้อม
เกษตรกร
กระบวนการ
ผลิตและ
ผลผลิต
การแปร
รูป
ผู้บริโภค
การตลาดและการ
กระจายสินค้า
 การเข้าไม่ถึงทรัพยากรการผลิตโดยเฉพาะน้้า ทะเล ป่าและทรัพยากรพันธุกรรมทั้งหลายที่อยู่ในป่า
ซึ่งเป็นฐานชีวิตของเกษตรกรและชาวประมงขนาดเล็กท้าให้เกษตรกรรายย่อยขาดศักยภาพในการ
เพิ่มผลผลิต
 น้้าเพื่อการเกษตรมีไม่เพียงพอเนื่องจากภาคกลางมีความต้องการน้้าสูงถึงปีละ 44,172 ล้านลูกบาศก์
เมตร สูงกว่าปริมาณน้้าท่า 1.25 เท่าจึงต้องพึ่งพาน้้าท่าจากภาคเหนือ (ส่วนใหญ่จากลุ่มน้้าปิง และลุ่ม
น้้าน่าน ) โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาใหญ่ และมีการการแย่งใช้น้้าระหว่างภาคเกษตรกับ
ภาคอุตสาหกรรม
 ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนท้าให้ การคาดการณ์เกี่ยวกับฤดูกาลและภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยแล้ง
และอุทกภัยท้าได้ยากโดยปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น
2.3 ห่วงโซ่เกษตรกร กระบวนการผลิตและผลผลิต
 เกษตรกรยังเน้นกระบวนการผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตเข้มข้น เช่น ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง โดยยังไม่ให้
ความส้าคัญการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ท้าให้ปริมาณสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังมีน้อย และเกษตรกร
บางส่วนมีปัญหาด้านสุขภาวะเนื่องจากมีการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
 คนรุ่นใหม่ที่ออกไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในสถาบันการศึกษานอกพื้นที่มักเลือกที่จะท้างานใน
กรุงเทพฯ มากกว่าจะสืบทอดกิจการของครอบครัวที่ต่างจังหวัด
 สินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานเชิงการค้าระหว่างประเทศมีน้อย และมีปริมาณ/คุณภาพไม่สม่้าเสมอและ
ไม่ต่อเนื่องตลอดปี
2.4 ห่วงโซ่การแปรรูป
 การแปรรูปสินค้าเกษตรยังมีน้อยและขาดการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อแปรรูปสินค้าเกษตร
2.5 ห่วงโซ่ผู้บริโภค การตลาดและการกระจายสินค้า
 เกษตรกรขาดความรู้และให้ความส้าคัญกับภาคการตลาดน้อย ขาดการรวมกลุ่มในการขายสินค้าท้า
ให้ขาดอ้านาจการต่อรอง และขาดการเชื่อมโยงสินค้าและการตลาดระหว่างเกษตรกรหรือกลุ่มผู้ผลิต
และผู้ซื้ออย่างเป็นระบบ
 เงื่อนไข มาตรฐานและกฎระเบียบระหว่างประเทศต่างๆ ส่งผลต่อปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรของ
พื้นที่ภาคกลาง
 ในระยะยาวปริมาณความต้องการทางอาหารจะเพิ่มขึ้นตามจ้านวนประชากรที่สูงขึ้นส่งผลให้อาหาร
อาจขาดแคลนหรือมีราคาสูงขึ้นได้
 เกษตรกรไม่มีส่วนในการก้าหนดราคาตลาด ราคาผลผลิตเกษตรจึงไม่เป็นธรรม ไม่แน่นอน ผันผวน
ตามอ้านาจซื้อของพ่อค้าคนกลางซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร
 ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังมีน้อยส่งผลให้ผู้บริโภคยังไม่ตื่นตัวในการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์
3.นโยบายรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร
จากปัญหาของภาคเกษตรดังกล่าว รัฐบาลจึงก้าหนดนโยบายให้มีการจัดท้าเขตการใช้ที่ดินทางการเกษตรหรือ
โซนนิ่ง เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตรทั้ง 5 ห่วงโซ่ประกอบด้วย
โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง ปัจจัยการผลิต ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เกษตรกร กระบวนการผลิตและ
ผลผลิต การแปรรูป และผู้บริโภค การตลาดและการกระจายสินค้า โดยก้าหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อให้
เกษตรกรท้าการผลิตตามศักยภาพของพื้นที่ ส่งเสริมให้การเพาะปลูกเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
สูงสุด ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ออกประกาศเรื่อง การก้าหนดเขตความเหมาะสมส้าหรับพืช
เกษตรเศรษฐกิจที่ส้าคัญ 6 ชนิด คือ ข้าว มันส้าปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้้ามัน อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์ เพื่อให้ปริมาณผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการบริโภคทั้งในประเทศและการส่งออก รวมทั้งป้องกันไม่ให้
เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด โดยก้าหนดโซนนิ่งจากระดับที่มีความเหมาะสมมากที่สุดไปจนถึงไม่เหมาะสม ซึ่ง
จะช่วย ให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้มา กผลผลิตที่ได้จึงมีปริมาณและคุณภาพสูงส่งผลให้
เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยเกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม จาก
มาตรการจูงใจ เช่น การให้องค์ความรู้ การให้ทุนโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
และการสนับสนุนด้านการตลาดและโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ส้าหรับเขตที่เหมาะสมกับการปลูกพืช 6 ชนิด
มีรายละเอียดดังนี้
 พื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว ทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด 809 อ้าเภอ 5,880 ต้าบล โดยแบ่ง
ออกเป็นภาคกลาง 19 จังหวัด และ ภาคตะวันออก 7 จังหวัด (ภาคเหนือ 17 จังหวัด ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด)
 พื้นที่เหมาะสมกับการปลูกมันสาปะหลัง ทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 49 จังหวัด 448 อ้าเภอ 2,113 ต้าบล
แบ่งออกเป็นภาคกลาง 9 จังหวัด และ ภาคตะวันออก 6 จังหวัด (ภาคเหนือ 14 จังหวัด และ ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด)
 พื้นที่เหมาะสมกับการปลูกยางพารา ทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 60 จังหวัด 403 อ้าเภอ 1,703 ต้าบล แบ่ง
ออกเป็นภาคกลาง 7 จังหวัด และ ภาคตะวันออก 7 จังหวัด (ภาคเหนือ 14 จังหวัด ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด)
 พื้นที่เหมาะสมกับการปลูกปาล์มน้ามัน ทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 26 จังหวัด 185 อ้าเภอ 856 ต้าบล แบ่ง
ออกเป็นภาคกลาง 5 จังหวัด และภาคตะวันออก 7 จังหวัด (และภาคใต้ 14 จังหวัด)
 พื้นที่เหมาะสมกับการปลูกอ้อยโรงงาน ทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 48 จังหวัด 401 อ้าเภอ 2,105 ต้าบล
แบ่งออกเป็นภาคกลาง 11 จังหวัด และภาคตะวันออก 6 จังหวัด (ภาคเหนือ 11 จังหวัด และภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด)
 พื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 43 จังหวัด 268 อ้าเภอ 1,175
ต้าบล แบ่งออกเป็นภาคกลาง 8 จังหวัด และภาคตะวันออก 6 จังหวัด (ภาคเหนือ 17 จังหวัด และ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด)
4.ตลาดสินค้าเกษตรที่สาคัญในพื้นที่ภาคกลาง ตลาดมีบทบาทส้าคัญยิ่งต่อรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของ
เกษตรกรเนื่องจากเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยตลาดสินค้าเกษตรในพื้นที่
ภาคกลางแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
4.1 ตลาดสินค้าเกษตรระดับชุมชน เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนและจ้าหน่ายสินค้าเกษตรในระดับชุมชนและมี
ปริมาณและมูลค่าการซื้อขายไม่มาก โดยเป็นการซื้อขายระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตกับผู้ซื้อหรือผู้รับซื้อโดยตรง
4.2 ตลาดกลางสินค้าเกษตรระดับจังหวัด ระดับภาคหรือระดับประเทศ เป็นสถานที่นัดพบเพื่อการซื้อขาย
สินค้าที่มีผู้ซื้อและผู้ขายจ้านวนมากเข้ามาท้าการซื้อขายโดยตรง ด้วยวิธีการตกลงราคาหรือประมูลราคากัน
อย่างเปิดเผย ภายใต้ราคาที่เป็นธรรมด้วยการบริการและสิ่งอ้านวยความสะดวก อาทิ คลังเก็บรักษาสินค้า
อุปกรณ์ชั่ง ตวง วัด และคัดเกรดสินค้าที่ได้มาตรฐาน รวมถึงบริการด้านข้อมูลข่าวสารทางการตลาดเพื่อ
ประกอบการซื้อขาย ตลาดกลางสินค้าเกษตรจึงเป็นมิติใหม่ในการส่งเสริมการเกษตรไทยให้มีช่องทางในการซื้อ
ขายสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบและลดปัญหาราคาสินค้าตกต่้าในอนาคต ประเทศไทยมีตลาดกลางสินค้า
เกษตรทั้งสิ้น 88 แห่ง ส้าหรับในพื้นที่ภาคกลางมีจ้านวน 27 แห่ง แบ่งออกเป็นตลาดกลางข้าวและพืชไร่
จ้านวน 19 แห่ง ตลาดกลางผักและผลไม้จ้านวน 6 แห่ง และตลาดกลางสัตว์น้้าจ้านวน 2 แห่ง
5.กรณีศึกษา: ปัญหาห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรรายย่อยในพื้นที่ภาคกกลางและตัวอย่างตลาด
กลางสินค้าเกษตรที่ประสบความสาเร็จ (Best Practice)
5.1 กรณีศึกษาปัญหาห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคกกลาง
ส้านักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลางได้ลงพื้นทีเพื่อส้ารวจสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรราย
ย่อยในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างจ้านวน 5 ชุมชน พบว่าปัญหาห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตรระดับชุมชนในแต่ละ
พื้นที่มีลักษณะไม่แตกต่างกัน โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาที่คล้ายคลึงกันได้แก่ ขาดแคลนแหล่งน้้า
เพื่อการเกษตร ปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น เกษตรกรยังเน้นกระบวนการผลิตที่ใช้สารเคมีจ้านวนมาก
ผลกระทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรต่อสุขภาพของเกษตรกร ขาดการรวมกลุ่มเพื่อแปรรูปผลผลิต
เกษตร ราคาสินค้าเกษตรตกต่้า เมื่อเรียนจบบุตรหลานส่วนใหญ่ท้างานนอกภูมิล้าเนา และบางชุมชน
เกษตรกรบางรายไม่มีที่ดินท้ากินเป็นของตนเองจ้าเป็นต้องเช่าที่ดินเพื่อท้าเกษตรกรรมและอยู่อาศัย เป็นต้น
5.2 กรณีศึกษาตัวอย่างตลาดกลางสินค้าเกษตรที่ประสบความสาเร็จ (Best Practice)
ตัวอย่างตลาดกลางสินค้าเกษตรที่มีการบริหารจัดการประสบความส้าเร็จและเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในพื้นที่ภาค
กลางคือตลาดไท ส้าหรับความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการ การสร้าง
เครือข่ายเกษตรกรตลาดไท ปัจจัยที่สนับสนุนความส้าเร็จของการบริหารจัดการตลาดตลอดทั้งการก้าหนด
ต้าแหน่งทางการตลาดในระยะยาวปรากฏตามรายละเอียดของกรณีศึกษา
ตลาดไท: ตลาดกลางสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจรที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศ
ความเป็นมา ก่อตั้งเป็นทางการเมื่อปี 2540 บริหารจัดการโดย บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จ้ากัด เพื่อให้เป็นตลาด
กลางสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจรที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศไทยรวมทั้งเป็นตลาดสินค้าเกษตรที่
ส้าคัญของภูมิภาคอาเซียน ตั้งอยู่ที่หมู่ 9 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี บนพื้นที่ 450 ไร่ แบ่งตลาดออกเป็น
สัดส่วนชัดเจนตามประเภทของสินค้าที่หลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ และดอกไม้ เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง สามารถรองรับ
ปริมาณการค้าได้ 15,000 ตันต่อวัน มูลค่าการค้าประมาณ 400 – 600 ล้านบาทต่อวัน มีบริการสาธารณูปโภคและสิ่ง
อ้านวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้บริการที่ได้มาตรฐาน
วัตถุประสงค์ของตลาดไท เพื่อลดค่าใช้จ่ายการตลาดของสินค้าเกษตรและให้สินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดอย่างสอดคล้องกับ
ความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของการส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการจัดเกรดคุณภาพมาตรฐานสินค้าและ
การบรรจุหีบห่อและเป็นแหล่งอ้านวยความสะดวกให้แก่ผู้ผลิตอย่างเป็นธรรมและมีระบบเช่น การประมูลการซื้อขาย และ
สนับสนุนเกษตรกรเครือข่ายให้ท้าการผลิตเกษตรปลอดภัย
กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการ ได้แก่ ผู้ค้าทุกรายที่ประสงค์จะเข้ามาประกอบการค้าอย่างจริงจัง เกษตรกรทุกรายที่ประสงค์จะ
น้าผลผลิตเข้ามาสู่ระบบตลาดกลาง ผู้ต้องการลงทุนหรือค้าขายสินค้าอเนกประสงค์อื่น ๆ ผู้ซื้อรายใหญ่ที่ประสงค์เข้ามา
ประมูลผลผลิตทางการเกษตร ผู้ค้าเร่และค้าปลีกสินค้าเกษตร – ผู้ส่งออกสินค้าเกษตร รวมทั้งผู้ซื้อเพื่อการบริโภคทั่วไป
6.ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าและตลาดสินค้าเกษตรของพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืน
เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการพัฒนาเกษตรอย่างยั่งยืนและเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร
ตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับภาคจนถึงระดับประเทศ และการขับเคลื่อนการพัฒนาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์
การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นครัวของโลก โดยมีแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าและตลาดสินค้าเกษตรของ
พื้นที่ภาคกลางดังนี้
6.1 การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตร
 ควรส่งเสริมให้ ใช้องค์ความรู้ทางด้านโลจิสติกส์หรือวิทยาการทางด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยยืดอายุไม่ให้ผลผลิตออกมาล้นตลาดในช่วงเดียวกันมากเกินไป ซึ่งรวมไปถึง
การท้าตลาดซื้อ -ขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าอันจะท้าให้การวางระบบการขนส่งและกระจายสินค้ามี
ประสิทธิภาพมากขึ้น
 ปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทั้งระบบถนน ระบบราง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน
ศุลกากรและโรงเก็บสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบขนส่งปกติที่ สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ได้มาก
เช่น ทางรถไฟและทางน้้า
 การบริหารข้อมูลข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร ควรมีความสะดวกและชัดเจน โดยควรมีระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆ ให้ สูงขึ้น และสร้างเครือข่ายที่เชื่อมต่อทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศอย่างทั่วถึงและเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ตั้งแต่แหล่งผลิตวัตถุดิบ ตลาดรับซื้อ โรงงาน
ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภคให้มีมาตรฐานที่เป็นสากล เพื่อสร้างเครือข่ายการประสานงานการลดต้นทุนสินค้า
 ส่งเสริม ให้เกษตรกรรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์การผลิตและ จ้าหน่าย เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่ม
คุณภาพของผลผลิต รวมไปถึงการต่อรองกับพ่อค้าทั้งภายในประเทศและพ่อค้าส่งออก ตลอดทั้ง
ส่งเสริมการรวมกลุ่มของวิสาหกิจชุมชนเพื่อการแปรรูปสินค้าเกษตรให้มีความเข้มแข็ง
เครือข่ายเกษตรกรตลาดไท มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่ผู้ค้าและเกษตรกร โดยการประสานความ
ร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้รวบรวม ตลาดกลางและหน่วยงานของรัฐ เพื่อผลักดันให้เกิดการผลิตสินค้า
เกษตรที่ปลอดภัยส้าหรับผู้บริโภค สร้างความเชื่อมั่นแก่ระบบตลาดกลางและสร้างความยั่งยืนให้แก่ภาคเกษตรของไทย
กิจกรรมที่ส้าคัญของเครือข่ายฯได้แก่ การบรรยายช่องทางการจ้าหน่ายสินค้าเกษตรในตลาดไทแก่เกษตรกรในพื้นที่ภาค
กลาง การจัดท้าเครือข่ายสัญจรโดยน้าผู้ค้าและเกษตรลูกสวนเครือข่ายเกษตรกรตลาดไทยศึกษาดูงานสหกรณ์การเกษตร
ท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีเพื่อศึกษากระบวนการผลิตกล้วยหอมเพื่อการส่งออกเพื่อเสริมสร้างความรู้สู่การพัฒนาการผลิต
สินค้าเกษตร การจัดอบรมการผลิตพืชตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP)
ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคกลาง เช่น กลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอม จังหวัดปทุมธานี กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกฝรั่ง จังหวัดสมุทรสาคร
และกลุ่มผู้ปลูกฝรั่งและชมพู่ทับทิมจันทร์ จังหวัดนครปฐมและจังหวัดราชบุรี และการจัดท้าป้ายมาตรฐานตลาดไทระดับ
ทองและระดับเงิน เพื่อรับรองคุณภาพเครือข่ายเกษตรกรตลาดไทตามมาตรฐาน GAP ให้แก่แผงค้าในตลาดไท
ปัจจัยที่สนับสนุนความสาเร็จของการบริหารจัดการตลาดไท ได้แก่ มีที่ตั้งอยู่ใกล้ถนนสายหลักและใกล้ตลาดบริโภคขนาด
ใหญ่คือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สามารถกระจายสินค้าไปยังตลาดในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศรวมทั้งประเทศเพื่อน
บ้าน มีการจัดท้าเครือข่ายเกษตรกรตลาดไทและส่งเสริมห่วงโซ่การผลิตภายใต้มาตรฐาน GAP มีสินค้าผัก ผลไม้ ดอกไม้
ปลาน้้าจืดและทะเลที่หลากหลายและมีสินค้าจ้าหน่ายปริมาณมากมากและตลอดปี สิ่งอ้านวยความสะดวกทางการค้าสินค้า
เกษตรที่เพียงพอและมีการบริหารจัดการตลาดที่ทันสมัย มีการจัดท้าป้ายมาตรฐานสินค้า GAP ให้แก่แผงค้า และมีการ
พัฒนาธุรกิจที่ต่อเนื่องโดยให้บริการจัดส่งสินค้าอาหารสดและอาหารแห้งทั่วประเทศภายใต้ตราสินค้า Taladthai Fresh
การกาหนดตาแหน่งทางการตลาดในระยะยาว (Long-term marketing position) ผู้บริหารกิจการก้าหนดเป้าหมายให้
ตลาดไทเป็นแหล่งรวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน GAP
 รัฐบาลควรผลักดันการแปลงนโยบายการก้าหนดโซนนิ่งการเกษตรไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
และต่อเนื่อง และควบคุมการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการบริโภคทั้งภายในประเทศและ
ส่งออก โดยยึดราคาเป็นหลักไม่ปล่อยให้มีการผลิตอย่างไร้ทิศทางและเกิดปัญหาล้นตลาด
 ควรเน้นการพัฒนาคุณภาพของพืชผลทางการเกษตรเนื่องจากมีแรงกดดันด้านค่า จ้างแรงงานที่สูง
และหากต้องการขายในราคาที่สูงจึงควร ก้าหนดกลุ่มเป้าหมายเป็น ตลาดระดับบน (High-end or
niche market) ซึ่งมีความต้องการสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ ปลอดภัยและไร้สารพิษ
 เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงทางการผลิตตลอดห่วงโซ่การผลิตภาครัฐควรให้การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร
ด้านการตลาดทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศส้าหรับธุรกิจทางการเกษตรแก่เกษตรกร และ
กลุ่มเกษตรกรรายย่อยอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
 ส่งเสริมการสร้างตราสินค้าเกษตร (Certified Brand) ที่ได้มาตรฐานเพื่อส่งเสริมการส่งออกตลาด
ต่างประเทศ
 ส่งเสริมให้เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน
GAP และส่งเสริมความเชื่อมโยงทางการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรในรูปแบบพันธสัญญา
(Contract farming) เพื่อสร้างหลักประกันด้านรายได้ของเกษตรกร
6.2 การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร
 สนับสนุนเกษตรกรในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรระดับชุมชน
 ส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลางกับภูมิภาคอื่นๆ และจัดตั้งตลาดสินค้า
เกษตรในจังหวัดชายแดนตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor) เช่น
จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น เพื่อสร้างเครือข่ายการกระจายสินค้าเกษตรทั้ง
ภายในประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
 ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายตลาดสีเขียวและส่งเสริมการสร้างช่องทางตลาดสีเขียว ได้แก่ ร้านค้าพืชผัก
สีเขียว ระบบสมาชิกผักอินทรีย์ การพัฒนาศูนย์เรียนรู้การรับและกระจายผลผลิตสีเขียวใน
กรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ และการส่งเสริมการจัดตลาดนัดสีเขียว
 การกระจายความเสี่ยงผลกระทบของอุทกภัยต่อระบบห่วงโซ่อุปทานของสินค้า โดยการก้าหนดแหล่ง
ที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้าส้ารอง เช่น การใช้ประโยชน์ของตลาดสินค้าเกษตรศรีเมือง จังหวัดราชบุรี
เพื่อช่วยกระจายสินค้าไปยังภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ เป็นต้น
7.สรุป
พื้นที่ภาคกลางเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรและอาหารที่ส้าคัญของประเทศ แม้ว่าภาคเกษตรมีสัดส่วนการ
สร้างรายได้ค่อนข้างน้อยประมาณร้อยละ 4 ของรายได้ทั้งภาคกลาง แต่ยังมีบทบาทส้าคัญในการเป็นแหล่ง
สร้างงานและสร้างรายได้ของประชาชนประมาณ 3.26 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 15 ของประชากรทั้ง
พื้นที่ภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในในชนบท อย่างไรก็ตามจ้านวนประชากรภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงตาม
พลวัตรการพัฒนาพื้นที่ภาคกลาง พืชเศรษฐกิจที่ส้าคัญของภาคกลาง ได้แก่ ข้าว ผลไม้ ยางพารา พืชผักต่างๆ
ไก่ สุกร และประมง โดยปัญหาของห่วงโซ่การผลิตของสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลางส่วนใหญ่มีความ
คล้ายคลึงกับปัญหาภาคเกษตรระดับประเทศซึ่งครอบคลุม 5 ห่วงโซ่หลักคือ โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง
ปัจจัยการผลิต ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เกษตรกร กระบวนการผลิตและผลผลิต การแปรรูป ผู้บริโภค
การตลาดและการกระจายสินค้า จากปัญหาระดับประเทศดังกล่าวรัฐบาลได้ก้าหนดให้มีการจัดท้าเขตการใช้
ที่ดินทางการเกษตรหรือโซนนิ่งเพื่อน้าไปสู่การพิจารณาหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การ
รักษาเสถียรภาพทางด้านราคา เพื่อให้อุปสงค์และอุปทานมีความสมดุลมากขึ้น โดยได้ก้าหนดเขตความ
เหมาะสมส้าหรับพืชเกษตรเศรษฐกิจที่ส้าคัญ 6 ชนิด ส้าหรับพื้นที่ทั้งประเทศรวมทั้งเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง คือ
ข้าว มันส้าปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้้ามัน อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากความก้าวหน้าด้านการผลิต
ทางการเกษตรท้าให้ภาคกลางเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรที่ส้าคัญของประเทศและ
เพื่อการส่งออก ดังนั้นเพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืนจึงมีความจ้าเป็นต้อง
พัฒนาห่วงโซ่คุณค่าและตลาดสินค้าเกษตรอย่างบูรณาการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาความมั่นคงทาง
อาหารตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับภาคและระดับประเทศ ตลอดทั้งเป็นองค์ประกอบส้าคัญในการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นครัวของโลก
เอกสารอ้างอิง
1.กรมชลประทาน 2553 รายงานสรุปโครงการจัดท้าแผนพัฒนาการชลประทานระดับลุ่มน้้าอย่างเป็นระบบ
(กรอบน้้า 60 ล้านไร่)
2. กรมการค้าภายใน 2556 ตลาดกลางสินค้าเกษตร เข้าถึงจาก
http://www.dit.go.th/Service/Pr/file_promote/PDF/middle_market.pdf เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม
2556
3.เฉลิมชัย วงษ์อารี และ ศิริขัย กัลยาณรัตน์ 2555 ผลกระทบของมหาอุทกภัย 2554 ต่อระบบโลจิสติกส์
สินค้าเกษตรของไทยและข้อเสนอแนะ
4.ส้านักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง 2553 วิถีชีวิตชาวนาภาคกลาง โจทย์ใหม่ภายใต้กระแสความ
เปลี่ยนแปลง
5.TDRI-จุฬาฯ ชี้เหตุสินค้าเกษตรดิ่งเหว! ปชป.พบหลักฐานทุจริตเอื้อ ‘เขมร’-เตรียมถล่มยิ่งลักษณ์
ในศึกอภิปราย เข้าถึง http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000105828
เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2556
6.เกษตรฯโซนนิ่งพืช 6 ชนิด สร้างเสถียรภาพด้านราคา ลดต้นทุนการผลิต เข้าถึงจาก
http://km.rubber.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=6882%3A-6----
18022556-&catid=71%3A2011-06-16-09-35-10&Itemid=142 เข้าถึงได้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556
7.ราคาผลผลิตตกต่้า : ปัญหาเรื้อรังของเกษตรกร
เข้าถึงจาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000129284 เข้าถึง
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556
8.รายงานพิเศษ: สภาวะเกษตรกรไทยจ้านวนลด อายุเฉลี่ย 45-51 ปี 80% เป็นหนี้จนตรอก
เข้าถึงจาก http ygp://pr.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=80:---45- 51-
80--&catid=35:2010-06-10-02-35-11&Itemid=53 เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556
9.อัตลักษณ์ SMEs ไทย เข้าถึงจาก http://122.155.9.68/identity/index.php/central-east เข้าถึงเมื่อ
วันที่ 11 มีนาคม 2556
10.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ 2556 มุมมองการแก้ไขปัญหาเกษตรกรทั้งระบบ เข้าถึงได้ที่
http://sathai.org/th/news/interested-article-a-issue/item/187-agriproblemdrpermsak.html
เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2556
11.ความเป็นมาและการบริหารจัดการตลาดไท เข้าถึงได้ที่ http://www.talaadthai.com/main/# เข้าถึง
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556
12.เครือข่ายตลาดสีเขียวชงตั้งศูนย์กระจายสินค้า"ออร์แกนิก"กลางเมือง เข้าถึงได้ที่
http://www.isranews.org เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556
13.ยุทธศาสตร์การจัดระบบตลาดสินค้าเกษตร เข้าถึงจาก
http://www.agriman.doae.go.th/home/agri1/agri1.3/strategics_2554/09_mk.pdf เข้าถึงเมื่อ 19
มีนาคม 2556
การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและตลาดสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืน

Weitere ähnliche Inhalte

Andere mochten auch

Smart Agriculture under Thailand 4.0
Smart Agriculture under Thailand 4.0Smart Agriculture under Thailand 4.0
Smart Agriculture under Thailand 4.0Pisuth paiboonrat
 
Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...
Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...
Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...Sarinee Achavanuntakul
 
เกษตรอิเล็กทรอนิกส์ (e-Agriculture)
เกษตรอิเล็กทรอนิกส์ (e-Agriculture)เกษตรอิเล็กทรอนิกส์ (e-Agriculture)
เกษตรอิเล็กทรอนิกส์ (e-Agriculture)Prachyanun Nilsook
 
การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...
การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...
การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...Dr.Choen Krainara
 
Cc parliament seminar[1]
Cc parliament seminar[1]Cc parliament seminar[1]
Cc parliament seminar[1]numpueng
 
เอกสารวิชาการข้าวหอมมะลิบรรจุถุง โซ่อุปทานและโครงสร้างตลาด
เอกสารวิชาการข้าวหอมมะลิบรรจุถุง โซ่อุปทานและโครงสร้างตลาดเอกสารวิชาการข้าวหอมมะลิบรรจุถุง โซ่อุปทานและโครงสร้างตลาด
เอกสารวิชาการข้าวหอมมะลิบรรจุถุง โซ่อุปทานและโครงสร้างตลาดSomporn Isvilanonda
 
ภาษีอากรที่สหกรณ์และสมาชิกได้รับการยกเว้น
ภาษีอากรที่สหกรณ์และสมาชิกได้รับการยกเว้นภาษีอากรที่สหกรณ์และสมาชิกได้รับการยกเว้น
ภาษีอากรที่สหกรณ์และสมาชิกได้รับการยกเว้นกิตติกร ยาสมุทร
 
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชนบทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชนRungnapa Rungnapa
 
Responsibly Managing Supply Chain Chemical Compliance in the Decade of Regula...
Responsibly Managing Supply Chain Chemical Compliance in the Decade of Regula...Responsibly Managing Supply Chain Chemical Compliance in the Decade of Regula...
Responsibly Managing Supply Chain Chemical Compliance in the Decade of Regula...Baytouch Solutions
 
ECR Europe Forum '08. Future supply chain 2016
ECR Europe Forum '08. Future supply chain 2016ECR Europe Forum '08. Future supply chain 2016
ECR Europe Forum '08. Future supply chain 2016ECR Community
 
Autologous and Allogeneic Cell Therapy Industrialisation – Overcoming Clinica...
Autologous and Allogeneic Cell Therapy Industrialisation – Overcoming Clinica...Autologous and Allogeneic Cell Therapy Industrialisation – Overcoming Clinica...
Autologous and Allogeneic Cell Therapy Industrialisation – Overcoming Clinica...Cell and Gene Therapy Catapult
 
นำเสนอ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด
นำเสนอ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัดนำเสนอ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด
นำเสนอ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัดDrDanai Thienphut
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจบ้านใร่กาแฟ
ตัวอย่างแผนธุรกิจบ้านใร่กาแฟตัวอย่างแผนธุรกิจบ้านใร่กาแฟ
ตัวอย่างแผนธุรกิจบ้านใร่กาแฟNattakorn Sunkdon
 
Presentation ตลาดชาเขียว
Presentation ตลาดชาเขียวPresentation ตลาดชาเขียว
Presentation ตลาดชาเขียวpurithem
 
ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58
ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58
ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58somporn Isvilanonda
 

Andere mochten auch (19)

Smart Agriculture under Thailand 4.0
Smart Agriculture under Thailand 4.0Smart Agriculture under Thailand 4.0
Smart Agriculture under Thailand 4.0
 
Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...
Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...
Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...
 
Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...
Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...
Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...
 
เกษตรอิเล็กทรอนิกส์ (e-Agriculture)
เกษตรอิเล็กทรอนิกส์ (e-Agriculture)เกษตรอิเล็กทรอนิกส์ (e-Agriculture)
เกษตรอิเล็กทรอนิกส์ (e-Agriculture)
 
การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...
การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...
การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...
 
Cc parliament seminar[1]
Cc parliament seminar[1]Cc parliament seminar[1]
Cc parliament seminar[1]
 
เอกสารวิชาการข้าวหอมมะลิบรรจุถุง โซ่อุปทานและโครงสร้างตลาด
เอกสารวิชาการข้าวหอมมะลิบรรจุถุง โซ่อุปทานและโครงสร้างตลาดเอกสารวิชาการข้าวหอมมะลิบรรจุถุง โซ่อุปทานและโครงสร้างตลาด
เอกสารวิชาการข้าวหอมมะลิบรรจุถุง โซ่อุปทานและโครงสร้างตลาด
 
ภาษีอากรที่สหกรณ์และสมาชิกได้รับการยกเว้น
ภาษีอากรที่สหกรณ์และสมาชิกได้รับการยกเว้นภาษีอากรที่สหกรณ์และสมาชิกได้รับการยกเว้น
ภาษีอากรที่สหกรณ์และสมาชิกได้รับการยกเว้น
 
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชนบทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
 
Responsibly Managing Supply Chain Chemical Compliance in the Decade of Regula...
Responsibly Managing Supply Chain Chemical Compliance in the Decade of Regula...Responsibly Managing Supply Chain Chemical Compliance in the Decade of Regula...
Responsibly Managing Supply Chain Chemical Compliance in the Decade of Regula...
 
ECR Europe Forum '08. Future supply chain 2016
ECR Europe Forum '08. Future supply chain 2016ECR Europe Forum '08. Future supply chain 2016
ECR Europe Forum '08. Future supply chain 2016
 
Autologous and Allogeneic Cell Therapy Industrialisation – Overcoming Clinica...
Autologous and Allogeneic Cell Therapy Industrialisation – Overcoming Clinica...Autologous and Allogeneic Cell Therapy Industrialisation – Overcoming Clinica...
Autologous and Allogeneic Cell Therapy Industrialisation – Overcoming Clinica...
 
Smart farm thailand
Smart farm thailandSmart farm thailand
Smart farm thailand
 
นำเสนอ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด
นำเสนอ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัดนำเสนอ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด
นำเสนอ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด
 
Oishi
OishiOishi
Oishi
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจบ้านใร่กาแฟ
ตัวอย่างแผนธุรกิจบ้านใร่กาแฟตัวอย่างแผนธุรกิจบ้านใร่กาแฟ
ตัวอย่างแผนธุรกิจบ้านใร่กาแฟ
 
Supply Chain Megatrends
Supply Chain MegatrendsSupply Chain Megatrends
Supply Chain Megatrends
 
Presentation ตลาดชาเขียว
Presentation ตลาดชาเขียวPresentation ตลาดชาเขียว
Presentation ตลาดชาเขียว
 
ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58
ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58
ประเด็นการพัฒนาชนบทและภาคเกษตรในปัจจุบัน 31 03-58
 

Mehr von Dr.Choen Krainara

Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionCertificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderCertificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementCertificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipCertificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementCertificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsCertificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesCertificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityCertificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionCertificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsCertificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsCertificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsDr.Choen Krainara
 

Mehr von Dr.Choen Krainara (20)

Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionCertificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
 
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderCertificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
 
Certificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementCertificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project Management
 
Certificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipCertificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management Leadership
 
Certificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementCertificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk Management
 
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsCertificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
 
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
 
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
 
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesCertificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
 
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
 
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityCertificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
 
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
 
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionCertificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
 
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsCertificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in Partnerships
 
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
 
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsCertificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
 

การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและตลาดสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืน

  • 2. การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและตลาดสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืน 1.ความสาคัญของภาคเกษตรกรรมต่อระบบเศรษฐกิจภาคกลาง ภาคกลางคลอบคุลมพื้นที่ 26 จังหวัด (นับรวมกรุงเทพมหานคร ) มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มประกอบด้วย 12 ลุ่มน้้าได้แก่ ลุ่มน้้าเจ้าพระยา ลุ่มน้้าสะแกกรัง ลุ่มน้้าท่าจีน ลุ่มน้้าป่าลัก ลุ่มน้้าเพชรบุรี ลุ่มน้้าปราจีนบุรี ลุ่มน้้าบางปะกง ลุ่มน้้าโตนเลสาบ ลุ่มน้้าชายฝั่งทะเลตะวันออก ลุ่มน้้าแม่กลอง ลุ่มน้้าเพชรบุรี และลุ่มน้้า ชายฝั่งทะเลตะวันตก มีพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรจ้านวน 26 ล้านไร่ ซึ่งมีการพัฒนาพื้นที่ชลประทานมาก ที่สุดในประเทศประมาณ 13.70 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของพื้นที่เกษตรทั้งภาค และยังมีพื้นที่ ศักยภาพเพื่อการพัฒนาชลประทานอีกประมาณ 3.60 ล้านไร่ ในปี 2553 ภาคเกษตรกรรมสร้างรายได้จ้านวน 329,229 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4 ส้าหรับภาคนอกเกษตรกรรมสร้างรายได้จ้านวน 7 ,523,317 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 96 % โดยสัดส่วนของภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ภาคกลางคิดเป็นประมาณ ร้อยละ 28 ของรายได้จากภาคเกษตรกรรมทั้งประเทศ โดยกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก มีรายได้จากภาคเกษตร สูงสุดจ้านวน 125,043 ล้านบาท รองลงมาคือกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 จ้านวน 40,022 ล้านบาท และ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 จ้านวน 38,571 ล้านบาท ตามล้าดับ แม้ว่าภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนรายได้ค่อนข้างต่้าเมื่อเปรียบเทียบกับภาคนอกเกษตรกรรม แต่ ภาคเกษตรยังมี บทบาทส้าคัญในการเป็น แหล่งสร้างงานและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท โดยในปี 2553 ภาคกลางมีครัวเรือนที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องอยู่ในภาคเกษตรกรรมประมาณ 900 ,000 ครัวเรือน หรือร้อยละ 10.74 ของครัวเรือนเกษตรทั้งประเทศ คิดเป็นประชากรประมาณ 3.26 ล้านคน หรือร้อยละ 15 ของประชากรของทั้งภาคกลาง อย่างไรก็ตามจ้านวนเกษตรกรมีแนวโน้มลดลงตามพลวัตรการพัฒนาภาคกลาง ส้าหรับสินค้าเกษตรที่โดดเด่นในพื้นที่ภาคกลางและแหล่งผลิต ได้แก่ ข้าว (สุพรรณบุรี ชัยนาท อยุธยา) ผลไม้ (ประจวบคีรีขันธ์ จันทบุรี ชลบุรี เพชรบุรี) ยางพารา (ระยอง จันทบุรี ตราด) พืชผักต่างๆ (ราชบุรี กาญจนบุรี
  • 3. สุพรรณบุรี) ไก่ (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี) สุกร (ราชบุรี นครปฐม) และ ประมง (สมุทรสาคร สมุทรปราการ ตราด และระยอง) 2.ปัญหาของห่วงโซ่คุณค่าการผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลาง ห่วงโซ่การผลิต (Production Chain หรือ Supply Chain) หมายถึงเครือข่ายของความเชื่อมโยงทางธุรกิจที่ เกี่ยวข้องกับการจัดหาสินค้าและบริการที่เป็นความต้องการของผู้บริโภคคนสุดท้าย การจัดการห่วงโซ่การผลิต ครอบคลุมการเคลื่อนย้ายทั้งหมดและการเก็บรักษาวัตถุดิบ ภารกิจที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดท้าสินค้าคง คลัง และสินค้าส้าเร็จรูปจากจุด ที่ผลิตไปยังจุดของการบริโภค ส้าหรับการผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลา ง สามารถประยุกต์ตามแนวคิดห่วงโซ่การผลิตที่ได้กล่าวมาแล้วออกได้เป็น 5 ห่วงโซ่การผลิตคือ โครงสร้างพื้น ห่วงโซ่การผลิตของสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลาง ฐานและการขนส่ง ปัจจัยการผลิต ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เกษตรกร กระบวนการผลิตและผลผลิต การแปร รูป ผู้บริโภค การตลาดและการกระจายสินค้า ซึ่งถือได้ว่า เป็นปัจจัยที่ส้าคัญที่อาจส่งผลให้เกิดความยั่งยืนใน การพัฒนาการเกษตรของพื้นที่ภาคกลางและระดับประเทศ โดยสภาพปัญหาของแต่ละห่วงโซ่การผลิตสินค้า เกษตรในพื้นที่ภาคกลางสรุปได้ดังนี้ 2.1 ห่วงโซ่โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง  ระบบโลจิสติกส์ของพืชผลทางการเกษตรมีความยุ่งยากกว่าสินค้าอื่นๆ เนื่องจาก  ธรรมชาติของผลผลิตทางการเกษตรส่วนมากเป็นผลผลิตที่ออกเป็นฤดูกาล เมื่อผลผลิตออกสู่ตลาด พร้อมๆ กันเป็นจ้านวนมาก ท้าให้อุปทานล้นตลาด นอกจากนี้ผลผลิตทางการเกษตรเป็นของสด เน่า เสียง่าย จ้าเป็นต้องอาศัยหรือพึ่งพาระบบโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพสูง ในการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม และกระจายผลผลิต ตลอดทั้งต้องรักษามาตรฐานด้านความสะอาดของผลผลิต  เกษตรกรขาดองค์ความรู้ในด้านโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร โดยเฉพาะการจัดการในห่วงโซ่ ของการรักษาความเย็น (Cold Chain Management) ในกระบวนการการกระจายสินค้าซึ่งไม่ถูก น้าไปใช้ในภาคเกษตรอย่างเป็นระบบ  ราคาน้้ามันและก๊าซธรรมชาติสูงขึ้นส่งผลให้มีต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้น 2.2 ห่วงโซ่ปัจจัยการผลิต ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  หนี้สินของเกษตรกร ทั้งในสถาบันการเงินในระบบและหนี้นอกระบบ และราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น  เกษตรกรจ้านวนมากไม่มีที่ดินท้ากินเป็นของตนเอง ต้องเช่าที่ดินท้ากิน ส่วนเกษตรกรที่มีทีดินจ้านวน มากแต่ละปีต้องสูญเสียที่ดินท้ากินให้กับสถาบันการเงิน และพื้นที่เกษตรกรรมในภาคกลางได้ลดลงไป มากเนื่องจากแปรเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม  ปัญหาดินเสื่อมโทรมจากการใช้สารเคมีติดต่อกันกันเป็นระยะเวลานาน โครงสร้าง พื้นฐานและ การขนส่ง ปัจจัยการผลิต ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม เกษตรกร กระบวนการ ผลิตและ ผลผลิต การแปร รูป ผู้บริโภค การตลาดและการ กระจายสินค้า
  • 4.  การเข้าไม่ถึงทรัพยากรการผลิตโดยเฉพาะน้้า ทะเล ป่าและทรัพยากรพันธุกรรมทั้งหลายที่อยู่ในป่า ซึ่งเป็นฐานชีวิตของเกษตรกรและชาวประมงขนาดเล็กท้าให้เกษตรกรรายย่อยขาดศักยภาพในการ เพิ่มผลผลิต  น้้าเพื่อการเกษตรมีไม่เพียงพอเนื่องจากภาคกลางมีความต้องการน้้าสูงถึงปีละ 44,172 ล้านลูกบาศก์ เมตร สูงกว่าปริมาณน้้าท่า 1.25 เท่าจึงต้องพึ่งพาน้้าท่าจากภาคเหนือ (ส่วนใหญ่จากลุ่มน้้าปิง และลุ่ม น้้าน่าน ) โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาใหญ่ และมีการการแย่งใช้น้้าระหว่างภาคเกษตรกับ ภาคอุตสาหกรรม  ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนท้าให้ การคาดการณ์เกี่ยวกับฤดูกาลและภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยแล้ง และอุทกภัยท้าได้ยากโดยปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น 2.3 ห่วงโซ่เกษตรกร กระบวนการผลิตและผลผลิต  เกษตรกรยังเน้นกระบวนการผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตเข้มข้น เช่น ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง โดยยังไม่ให้ ความส้าคัญการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ท้าให้ปริมาณสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังมีน้อย และเกษตรกร บางส่วนมีปัญหาด้านสุขภาวะเนื่องจากมีการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน  คนรุ่นใหม่ที่ออกไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในสถาบันการศึกษานอกพื้นที่มักเลือกที่จะท้างานใน กรุงเทพฯ มากกว่าจะสืบทอดกิจการของครอบครัวที่ต่างจังหวัด  สินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานเชิงการค้าระหว่างประเทศมีน้อย และมีปริมาณ/คุณภาพไม่สม่้าเสมอและ ไม่ต่อเนื่องตลอดปี 2.4 ห่วงโซ่การแปรรูป  การแปรรูปสินค้าเกษตรยังมีน้อยและขาดการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อแปรรูปสินค้าเกษตร 2.5 ห่วงโซ่ผู้บริโภค การตลาดและการกระจายสินค้า  เกษตรกรขาดความรู้และให้ความส้าคัญกับภาคการตลาดน้อย ขาดการรวมกลุ่มในการขายสินค้าท้า ให้ขาดอ้านาจการต่อรอง และขาดการเชื่อมโยงสินค้าและการตลาดระหว่างเกษตรกรหรือกลุ่มผู้ผลิต และผู้ซื้ออย่างเป็นระบบ  เงื่อนไข มาตรฐานและกฎระเบียบระหว่างประเทศต่างๆ ส่งผลต่อปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรของ พื้นที่ภาคกลาง  ในระยะยาวปริมาณความต้องการทางอาหารจะเพิ่มขึ้นตามจ้านวนประชากรที่สูงขึ้นส่งผลให้อาหาร อาจขาดแคลนหรือมีราคาสูงขึ้นได้  เกษตรกรไม่มีส่วนในการก้าหนดราคาตลาด ราคาผลผลิตเกษตรจึงไม่เป็นธรรม ไม่แน่นอน ผันผวน ตามอ้านาจซื้อของพ่อค้าคนกลางซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร  ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังมีน้อยส่งผลให้ผู้บริโภคยังไม่ตื่นตัวในการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ 3.นโยบายรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร จากปัญหาของภาคเกษตรดังกล่าว รัฐบาลจึงก้าหนดนโยบายให้มีการจัดท้าเขตการใช้ที่ดินทางการเกษตรหรือ โซนนิ่ง เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตรทั้ง 5 ห่วงโซ่ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง ปัจจัยการผลิต ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เกษตรกร กระบวนการผลิตและ ผลผลิต การแปรรูป และผู้บริโภค การตลาดและการกระจายสินค้า โดยก้าหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อให้ เกษตรกรท้าการผลิตตามศักยภาพของพื้นที่ ส่งเสริมให้การเพาะปลูกเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  • 5. สูงสุด ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ออกประกาศเรื่อง การก้าหนดเขตความเหมาะสมส้าหรับพืช เกษตรเศรษฐกิจที่ส้าคัญ 6 ชนิด คือ ข้าว มันส้าปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้้ามัน อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ เพื่อให้ปริมาณผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการบริโภคทั้งในประเทศและการส่งออก รวมทั้งป้องกันไม่ให้ เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด โดยก้าหนดโซนนิ่งจากระดับที่มีความเหมาะสมมากที่สุดไปจนถึงไม่เหมาะสม ซึ่ง จะช่วย ให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้มา กผลผลิตที่ได้จึงมีปริมาณและคุณภาพสูงส่งผลให้ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยเกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม จาก มาตรการจูงใจ เช่น การให้องค์ความรู้ การให้ทุนโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และการสนับสนุนด้านการตลาดและโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ส้าหรับเขตที่เหมาะสมกับการปลูกพืช 6 ชนิด มีรายละเอียดดังนี้  พื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว ทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด 809 อ้าเภอ 5,880 ต้าบล โดยแบ่ง ออกเป็นภาคกลาง 19 จังหวัด และ ภาคตะวันออก 7 จังหวัด (ภาคเหนือ 17 จังหวัด ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด)  พื้นที่เหมาะสมกับการปลูกมันสาปะหลัง ทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 49 จังหวัด 448 อ้าเภอ 2,113 ต้าบล แบ่งออกเป็นภาคกลาง 9 จังหวัด และ ภาคตะวันออก 6 จังหวัด (ภาคเหนือ 14 จังหวัด และ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด)  พื้นที่เหมาะสมกับการปลูกยางพารา ทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 60 จังหวัด 403 อ้าเภอ 1,703 ต้าบล แบ่ง ออกเป็นภาคกลาง 7 จังหวัด และ ภาคตะวันออก 7 จังหวัด (ภาคเหนือ 14 จังหวัด ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด)  พื้นที่เหมาะสมกับการปลูกปาล์มน้ามัน ทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 26 จังหวัด 185 อ้าเภอ 856 ต้าบล แบ่ง ออกเป็นภาคกลาง 5 จังหวัด และภาคตะวันออก 7 จังหวัด (และภาคใต้ 14 จังหวัด)  พื้นที่เหมาะสมกับการปลูกอ้อยโรงงาน ทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 48 จังหวัด 401 อ้าเภอ 2,105 ต้าบล แบ่งออกเป็นภาคกลาง 11 จังหวัด และภาคตะวันออก 6 จังหวัด (ภาคเหนือ 11 จังหวัด และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด)  พื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 43 จังหวัด 268 อ้าเภอ 1,175 ต้าบล แบ่งออกเป็นภาคกลาง 8 จังหวัด และภาคตะวันออก 6 จังหวัด (ภาคเหนือ 17 จังหวัด และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด) 4.ตลาดสินค้าเกษตรที่สาคัญในพื้นที่ภาคกลาง ตลาดมีบทบาทส้าคัญยิ่งต่อรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของ เกษตรกรเนื่องจากเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยตลาดสินค้าเกษตรในพื้นที่ ภาคกลางแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ 4.1 ตลาดสินค้าเกษตรระดับชุมชน เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนและจ้าหน่ายสินค้าเกษตรในระดับชุมชนและมี ปริมาณและมูลค่าการซื้อขายไม่มาก โดยเป็นการซื้อขายระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตกับผู้ซื้อหรือผู้รับซื้อโดยตรง 4.2 ตลาดกลางสินค้าเกษตรระดับจังหวัด ระดับภาคหรือระดับประเทศ เป็นสถานที่นัดพบเพื่อการซื้อขาย สินค้าที่มีผู้ซื้อและผู้ขายจ้านวนมากเข้ามาท้าการซื้อขายโดยตรง ด้วยวิธีการตกลงราคาหรือประมูลราคากัน อย่างเปิดเผย ภายใต้ราคาที่เป็นธรรมด้วยการบริการและสิ่งอ้านวยความสะดวก อาทิ คลังเก็บรักษาสินค้า อุปกรณ์ชั่ง ตวง วัด และคัดเกรดสินค้าที่ได้มาตรฐาน รวมถึงบริการด้านข้อมูลข่าวสารทางการตลาดเพื่อ ประกอบการซื้อขาย ตลาดกลางสินค้าเกษตรจึงเป็นมิติใหม่ในการส่งเสริมการเกษตรไทยให้มีช่องทางในการซื้อ
  • 6. ขายสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบและลดปัญหาราคาสินค้าตกต่้าในอนาคต ประเทศไทยมีตลาดกลางสินค้า เกษตรทั้งสิ้น 88 แห่ง ส้าหรับในพื้นที่ภาคกลางมีจ้านวน 27 แห่ง แบ่งออกเป็นตลาดกลางข้าวและพืชไร่ จ้านวน 19 แห่ง ตลาดกลางผักและผลไม้จ้านวน 6 แห่ง และตลาดกลางสัตว์น้้าจ้านวน 2 แห่ง 5.กรณีศึกษา: ปัญหาห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรรายย่อยในพื้นที่ภาคกกลางและตัวอย่างตลาด กลางสินค้าเกษตรที่ประสบความสาเร็จ (Best Practice) 5.1 กรณีศึกษาปัญหาห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคกกลาง ส้านักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลางได้ลงพื้นทีเพื่อส้ารวจสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรราย ย่อยในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างจ้านวน 5 ชุมชน พบว่าปัญหาห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตรระดับชุมชนในแต่ละ พื้นที่มีลักษณะไม่แตกต่างกัน โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาที่คล้ายคลึงกันได้แก่ ขาดแคลนแหล่งน้้า เพื่อการเกษตร ปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น เกษตรกรยังเน้นกระบวนการผลิตที่ใช้สารเคมีจ้านวนมาก ผลกระทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรต่อสุขภาพของเกษตรกร ขาดการรวมกลุ่มเพื่อแปรรูปผลผลิต เกษตร ราคาสินค้าเกษตรตกต่้า เมื่อเรียนจบบุตรหลานส่วนใหญ่ท้างานนอกภูมิล้าเนา และบางชุมชน เกษตรกรบางรายไม่มีที่ดินท้ากินเป็นของตนเองจ้าเป็นต้องเช่าที่ดินเพื่อท้าเกษตรกรรมและอยู่อาศัย เป็นต้น 5.2 กรณีศึกษาตัวอย่างตลาดกลางสินค้าเกษตรที่ประสบความสาเร็จ (Best Practice) ตัวอย่างตลาดกลางสินค้าเกษตรที่มีการบริหารจัดการประสบความส้าเร็จและเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในพื้นที่ภาค กลางคือตลาดไท ส้าหรับความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการ การสร้าง เครือข่ายเกษตรกรตลาดไท ปัจจัยที่สนับสนุนความส้าเร็จของการบริหารจัดการตลาดตลอดทั้งการก้าหนด ต้าแหน่งทางการตลาดในระยะยาวปรากฏตามรายละเอียดของกรณีศึกษา ตลาดไท: ตลาดกลางสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจรที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศ ความเป็นมา ก่อตั้งเป็นทางการเมื่อปี 2540 บริหารจัดการโดย บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จ้ากัด เพื่อให้เป็นตลาด กลางสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจรที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศไทยรวมทั้งเป็นตลาดสินค้าเกษตรที่ ส้าคัญของภูมิภาคอาเซียน ตั้งอยู่ที่หมู่ 9 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี บนพื้นที่ 450 ไร่ แบ่งตลาดออกเป็น สัดส่วนชัดเจนตามประเภทของสินค้าที่หลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ และดอกไม้ เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง สามารถรองรับ ปริมาณการค้าได้ 15,000 ตันต่อวัน มูลค่าการค้าประมาณ 400 – 600 ล้านบาทต่อวัน มีบริการสาธารณูปโภคและสิ่ง อ้านวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้บริการที่ได้มาตรฐาน วัตถุประสงค์ของตลาดไท เพื่อลดค่าใช้จ่ายการตลาดของสินค้าเกษตรและให้สินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดอย่างสอดคล้องกับ ความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของการส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการจัดเกรดคุณภาพมาตรฐานสินค้าและ การบรรจุหีบห่อและเป็นแหล่งอ้านวยความสะดวกให้แก่ผู้ผลิตอย่างเป็นธรรมและมีระบบเช่น การประมูลการซื้อขาย และ สนับสนุนเกษตรกรเครือข่ายให้ท้าการผลิตเกษตรปลอดภัย กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการ ได้แก่ ผู้ค้าทุกรายที่ประสงค์จะเข้ามาประกอบการค้าอย่างจริงจัง เกษตรกรทุกรายที่ประสงค์จะ น้าผลผลิตเข้ามาสู่ระบบตลาดกลาง ผู้ต้องการลงทุนหรือค้าขายสินค้าอเนกประสงค์อื่น ๆ ผู้ซื้อรายใหญ่ที่ประสงค์เข้ามา ประมูลผลผลิตทางการเกษตร ผู้ค้าเร่และค้าปลีกสินค้าเกษตร – ผู้ส่งออกสินค้าเกษตร รวมทั้งผู้ซื้อเพื่อการบริโภคทั่วไป
  • 7. 6.ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าและตลาดสินค้าเกษตรของพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการพัฒนาเกษตรอย่างยั่งยืนและเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับภาคจนถึงระดับประเทศ และการขับเคลื่อนการพัฒนาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นครัวของโลก โดยมีแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าและตลาดสินค้าเกษตรของ พื้นที่ภาคกลางดังนี้ 6.1 การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตร  ควรส่งเสริมให้ ใช้องค์ความรู้ทางด้านโลจิสติกส์หรือวิทยาการทางด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยยืดอายุไม่ให้ผลผลิตออกมาล้นตลาดในช่วงเดียวกันมากเกินไป ซึ่งรวมไปถึง การท้าตลาดซื้อ -ขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าอันจะท้าให้การวางระบบการขนส่งและกระจายสินค้ามี ประสิทธิภาพมากขึ้น  ปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทั้งระบบถนน ระบบราง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ศุลกากรและโรงเก็บสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบขนส่งปกติที่ สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ได้มาก เช่น ทางรถไฟและทางน้้า  การบริหารข้อมูลข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร ควรมีความสะดวกและชัดเจน โดยควรมีระบบเทคโนโลยี สารสนเทศที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆ ให้ สูงขึ้น และสร้างเครือข่ายที่เชื่อมต่อทั้งในประเทศและ ต่างประเทศอย่างทั่วถึงและเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ตั้งแต่แหล่งผลิตวัตถุดิบ ตลาดรับซื้อ โรงงาน ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภคให้มีมาตรฐานที่เป็นสากล เพื่อสร้างเครือข่ายการประสานงานการลดต้นทุนสินค้า  ส่งเสริม ให้เกษตรกรรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์การผลิตและ จ้าหน่าย เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่ม คุณภาพของผลผลิต รวมไปถึงการต่อรองกับพ่อค้าทั้งภายในประเทศและพ่อค้าส่งออก ตลอดทั้ง ส่งเสริมการรวมกลุ่มของวิสาหกิจชุมชนเพื่อการแปรรูปสินค้าเกษตรให้มีความเข้มแข็ง เครือข่ายเกษตรกรตลาดไท มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่ผู้ค้าและเกษตรกร โดยการประสานความ ร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้รวบรวม ตลาดกลางและหน่วยงานของรัฐ เพื่อผลักดันให้เกิดการผลิตสินค้า เกษตรที่ปลอดภัยส้าหรับผู้บริโภค สร้างความเชื่อมั่นแก่ระบบตลาดกลางและสร้างความยั่งยืนให้แก่ภาคเกษตรของไทย กิจกรรมที่ส้าคัญของเครือข่ายฯได้แก่ การบรรยายช่องทางการจ้าหน่ายสินค้าเกษตรในตลาดไทแก่เกษตรกรในพื้นที่ภาค กลาง การจัดท้าเครือข่ายสัญจรโดยน้าผู้ค้าและเกษตรลูกสวนเครือข่ายเกษตรกรตลาดไทยศึกษาดูงานสหกรณ์การเกษตร ท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีเพื่อศึกษากระบวนการผลิตกล้วยหอมเพื่อการส่งออกเพื่อเสริมสร้างความรู้สู่การพัฒนาการผลิต สินค้าเกษตร การจัดอบรมการผลิตพืชตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคกลาง เช่น กลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอม จังหวัดปทุมธานี กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกฝรั่ง จังหวัดสมุทรสาคร และกลุ่มผู้ปลูกฝรั่งและชมพู่ทับทิมจันทร์ จังหวัดนครปฐมและจังหวัดราชบุรี และการจัดท้าป้ายมาตรฐานตลาดไทระดับ ทองและระดับเงิน เพื่อรับรองคุณภาพเครือข่ายเกษตรกรตลาดไทตามมาตรฐาน GAP ให้แก่แผงค้าในตลาดไท ปัจจัยที่สนับสนุนความสาเร็จของการบริหารจัดการตลาดไท ได้แก่ มีที่ตั้งอยู่ใกล้ถนนสายหลักและใกล้ตลาดบริโภคขนาด ใหญ่คือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สามารถกระจายสินค้าไปยังตลาดในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศรวมทั้งประเทศเพื่อน บ้าน มีการจัดท้าเครือข่ายเกษตรกรตลาดไทและส่งเสริมห่วงโซ่การผลิตภายใต้มาตรฐาน GAP มีสินค้าผัก ผลไม้ ดอกไม้ ปลาน้้าจืดและทะเลที่หลากหลายและมีสินค้าจ้าหน่ายปริมาณมากมากและตลอดปี สิ่งอ้านวยความสะดวกทางการค้าสินค้า เกษตรที่เพียงพอและมีการบริหารจัดการตลาดที่ทันสมัย มีการจัดท้าป้ายมาตรฐานสินค้า GAP ให้แก่แผงค้า และมีการ พัฒนาธุรกิจที่ต่อเนื่องโดยให้บริการจัดส่งสินค้าอาหารสดและอาหารแห้งทั่วประเทศภายใต้ตราสินค้า Taladthai Fresh การกาหนดตาแหน่งทางการตลาดในระยะยาว (Long-term marketing position) ผู้บริหารกิจการก้าหนดเป้าหมายให้ ตลาดไทเป็นแหล่งรวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน GAP
  • 8.  รัฐบาลควรผลักดันการแปลงนโยบายการก้าหนดโซนนิ่งการเกษตรไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และต่อเนื่อง และควบคุมการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการบริโภคทั้งภายในประเทศและ ส่งออก โดยยึดราคาเป็นหลักไม่ปล่อยให้มีการผลิตอย่างไร้ทิศทางและเกิดปัญหาล้นตลาด  ควรเน้นการพัฒนาคุณภาพของพืชผลทางการเกษตรเนื่องจากมีแรงกดดันด้านค่า จ้างแรงงานที่สูง และหากต้องการขายในราคาที่สูงจึงควร ก้าหนดกลุ่มเป้าหมายเป็น ตลาดระดับบน (High-end or niche market) ซึ่งมีความต้องการสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ ปลอดภัยและไร้สารพิษ  เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงทางการผลิตตลอดห่วงโซ่การผลิตภาครัฐควรให้การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร ด้านการตลาดทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศส้าหรับธุรกิจทางการเกษตรแก่เกษตรกร และ กลุ่มเกษตรกรรายย่อยอย่างกว้างขวางและทั่วถึง  ส่งเสริมการสร้างตราสินค้าเกษตร (Certified Brand) ที่ได้มาตรฐานเพื่อส่งเสริมการส่งออกตลาด ต่างประเทศ  ส่งเสริมให้เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน GAP และส่งเสริมความเชื่อมโยงทางการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรในรูปแบบพันธสัญญา (Contract farming) เพื่อสร้างหลักประกันด้านรายได้ของเกษตรกร 6.2 การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร  สนับสนุนเกษตรกรในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรระดับชุมชน  ส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลางกับภูมิภาคอื่นๆ และจัดตั้งตลาดสินค้า เกษตรในจังหวัดชายแดนตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor) เช่น จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น เพื่อสร้างเครือข่ายการกระจายสินค้าเกษตรทั้ง ภายในประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน  ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายตลาดสีเขียวและส่งเสริมการสร้างช่องทางตลาดสีเขียว ได้แก่ ร้านค้าพืชผัก สีเขียว ระบบสมาชิกผักอินทรีย์ การพัฒนาศูนย์เรียนรู้การรับและกระจายผลผลิตสีเขียวใน กรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ และการส่งเสริมการจัดตลาดนัดสีเขียว  การกระจายความเสี่ยงผลกระทบของอุทกภัยต่อระบบห่วงโซ่อุปทานของสินค้า โดยการก้าหนดแหล่ง ที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้าส้ารอง เช่น การใช้ประโยชน์ของตลาดสินค้าเกษตรศรีเมือง จังหวัดราชบุรี เพื่อช่วยกระจายสินค้าไปยังภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ เป็นต้น 7.สรุป พื้นที่ภาคกลางเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรและอาหารที่ส้าคัญของประเทศ แม้ว่าภาคเกษตรมีสัดส่วนการ สร้างรายได้ค่อนข้างน้อยประมาณร้อยละ 4 ของรายได้ทั้งภาคกลาง แต่ยังมีบทบาทส้าคัญในการเป็นแหล่ง สร้างงานและสร้างรายได้ของประชาชนประมาณ 3.26 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 15 ของประชากรทั้ง พื้นที่ภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในในชนบท อย่างไรก็ตามจ้านวนประชากรภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงตาม พลวัตรการพัฒนาพื้นที่ภาคกลาง พืชเศรษฐกิจที่ส้าคัญของภาคกลาง ได้แก่ ข้าว ผลไม้ ยางพารา พืชผักต่างๆ ไก่ สุกร และประมง โดยปัญหาของห่วงโซ่การผลิตของสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคกลางส่วนใหญ่มีความ คล้ายคลึงกับปัญหาภาคเกษตรระดับประเทศซึ่งครอบคลุม 5 ห่วงโซ่หลักคือ โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง ปัจจัยการผลิต ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เกษตรกร กระบวนการผลิตและผลผลิต การแปรรูป ผู้บริโภค การตลาดและการกระจายสินค้า จากปัญหาระดับประเทศดังกล่าวรัฐบาลได้ก้าหนดให้มีการจัดท้าเขตการใช้ ที่ดินทางการเกษตรหรือโซนนิ่งเพื่อน้าไปสู่การพิจารณาหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การ
  • 9. รักษาเสถียรภาพทางด้านราคา เพื่อให้อุปสงค์และอุปทานมีความสมดุลมากขึ้น โดยได้ก้าหนดเขตความ เหมาะสมส้าหรับพืชเกษตรเศรษฐกิจที่ส้าคัญ 6 ชนิด ส้าหรับพื้นที่ทั้งประเทศรวมทั้งเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง คือ ข้าว มันส้าปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้้ามัน อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากความก้าวหน้าด้านการผลิต ทางการเกษตรท้าให้ภาคกลางเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรที่ส้าคัญของประเทศและ เพื่อการส่งออก ดังนั้นเพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืนจึงมีความจ้าเป็นต้อง พัฒนาห่วงโซ่คุณค่าและตลาดสินค้าเกษตรอย่างบูรณาการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาความมั่นคงทาง อาหารตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับภาคและระดับประเทศ ตลอดทั้งเป็นองค์ประกอบส้าคัญในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นครัวของโลก เอกสารอ้างอิง 1.กรมชลประทาน 2553 รายงานสรุปโครงการจัดท้าแผนพัฒนาการชลประทานระดับลุ่มน้้าอย่างเป็นระบบ (กรอบน้้า 60 ล้านไร่) 2. กรมการค้าภายใน 2556 ตลาดกลางสินค้าเกษตร เข้าถึงจาก http://www.dit.go.th/Service/Pr/file_promote/PDF/middle_market.pdf เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2556 3.เฉลิมชัย วงษ์อารี และ ศิริขัย กัลยาณรัตน์ 2555 ผลกระทบของมหาอุทกภัย 2554 ต่อระบบโลจิสติกส์ สินค้าเกษตรของไทยและข้อเสนอแนะ 4.ส้านักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง 2553 วิถีชีวิตชาวนาภาคกลาง โจทย์ใหม่ภายใต้กระแสความ เปลี่ยนแปลง 5.TDRI-จุฬาฯ ชี้เหตุสินค้าเกษตรดิ่งเหว! ปชป.พบหลักฐานทุจริตเอื้อ ‘เขมร’-เตรียมถล่มยิ่งลักษณ์ ในศึกอภิปราย เข้าถึง http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000105828 เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2556 6.เกษตรฯโซนนิ่งพืช 6 ชนิด สร้างเสถียรภาพด้านราคา ลดต้นทุนการผลิต เข้าถึงจาก http://km.rubber.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=6882%3A-6---- 18022556-&catid=71%3A2011-06-16-09-35-10&Itemid=142 เข้าถึงได้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556 7.ราคาผลผลิตตกต่้า : ปัญหาเรื้อรังของเกษตรกร เข้าถึงจาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000129284 เข้าถึง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556 8.รายงานพิเศษ: สภาวะเกษตรกรไทยจ้านวนลด อายุเฉลี่ย 45-51 ปี 80% เป็นหนี้จนตรอก เข้าถึงจาก http ygp://pr.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=80:---45- 51- 80--&catid=35:2010-06-10-02-35-11&Itemid=53 เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556 9.อัตลักษณ์ SMEs ไทย เข้าถึงจาก http://122.155.9.68/identity/index.php/central-east เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 มีนาคม 2556 10.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ 2556 มุมมองการแก้ไขปัญหาเกษตรกรทั้งระบบ เข้าถึงได้ที่ http://sathai.org/th/news/interested-article-a-issue/item/187-agriproblemdrpermsak.html เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2556 11.ความเป็นมาและการบริหารจัดการตลาดไท เข้าถึงได้ที่ http://www.talaadthai.com/main/# เข้าถึง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556
  • 10. 12.เครือข่ายตลาดสีเขียวชงตั้งศูนย์กระจายสินค้า"ออร์แกนิก"กลางเมือง เข้าถึงได้ที่ http://www.isranews.org เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556 13.ยุทธศาสตร์การจัดระบบตลาดสินค้าเกษตร เข้าถึงจาก http://www.agriman.doae.go.th/home/agri1/agri1.3/strategics_2554/09_mk.pdf เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2556