SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 6
การสมรส
ความหมาย
การสมรส หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่า “แต่งงาน” นั้นก็คือการที่ชาย
หญิง ๒ คน ตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ซึ่งตาม
กฎหมายปัจจุบันนันกำาหนดว่า การสมรสต้องมีการจดทะเบียนสมรสจึงจะมี
                  ้
ผลตามกฎหมาย ดังนั้น ถ้าไม่มีการจดทะเบียนสมรส แม้จะมีการจัดงานพิธี
มงคลสมรสใหญ่โตเพียงใด กฎหมายก็ไม่ถือว่าชายหญิงคู่นั้นได้ทำาการ
สมรสกันเลย
      การจดทะเบียนสมรสนั้นให้ไปจดกับนายทะเบียน ณ ทีว่าการอำาเภอ
                                                            ่
หรือกิ่งอำาเภอ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ เลย และต้องมีการแสดง
ถึงความยินยอมของทั้ง ๒ ฝ่ายว่า ต้องการที่จะทำาการสมรสกันต่อหน้านาย
ทะเบียนด้วย แล้วให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้
      ปกติแล้วการสมรสจะมีผลตามกฎหมายเมื่อได้มีการจดทะเบียนแล้ว
แต่ในกรณีพิเศษ เช่น ถ้ามีสงครามเกิดขึ้น ทำาให้ชายหญิงไม่สามารถไป
จดทะเบียนที่อำาเภอได้ ในกรณีนี้ ชายหญิงคู่นั้นอาจตกลงที่จะสมรสกันต่อ
หน้าบุคคลทีบรรลุนิติภาวะ (มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์) ที่อยูในที่นั้น และต่อมา
              ่                                       ่
เมื่อสงครามสงบ ชายหญิงคู่นั้นก็ต้องไปทำาการจดทะเบียนสมรสภายใน
๙๐ วัน ซึงกรณีนี้ กฎหมายถือว่าชายหญิงคู่นี้ ได้ทำาการสมรสกันมาตั้งแต่
           ่
วันแรกที่ได้ตกลงสมรสกัน
ประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรส
      การจดทะเบียนสมรสนั้นนอกจากกฎหมายจะถือว่า ชายหญิงคู่นั้นได้
เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายแล้วยังมีผลที่ตามมาอีกหลายประการ เช่น
      (๑) เป็นหลักประกันความมั่นคงได้วา ถ้าได้มีการจดทะเบียนแล้วคู่
                                        ่
สมรสอีกฝ่ายจะไปจดทะเบียนสมรสอีกไม่ได้ ถ้าฝ่าฝืนไปทำาการจด
ทะเบียนเข้า ผลคือ การจดทะเบียนสมรสครั้งหลังนี้ กฎหมายถือว่าเป็น
โมฆะ (ใช้ไม่ได้) ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะแจ้งให้นายทะเบียนเพิก
ถอน หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาก็ได้ นอกจากนี้คู่สมรสฝ่ายที่ไปจด
ทะเบียนซ้อน ก็อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย
      (๒) ได้รบลดหย่อนค่าภาษีเงินได้
                ั
      (๓) ในกรณีที่เป็นความผิดที่กระทำาระหว่างสามีภรรยา เช่น สามีหรือ
ภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลักทรัพย์ของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือในความผิดฐานอื่น
เช่น ฉ้อโกง ยักยอก ทำาให้เสียทรัพย์ หรือบุกรุก ซึ่งมีผลคือสามีหรือภริยา
นั้นไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
      (๔) ในเรื่องอำานาจในการฟ้องคดีอาญา ถ้าสามีภริยาถูกทำาร้ายถึง
ตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถฟ้องคดีได้เอง ภริยาหรือสามีที่ยังมีชีวิตอยู่
(ทีได้จดทะเบียนตามกฎหมาย) สามารถร้องทุกข์ (แจ้งความ) ต่อตำารวจ
    ่
หรือฟ้องศาลแทนได้ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องเป็นกรณีที่ผู้ตายหรือผู้บาดเจ็บ
ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำาความผิดด้วยนอกจากนี้ในคดีหมิ่นประมาทที่
กระทำาต่อสามีหรือภริยา ถ้าต่อมาสามีหรือภริยานั้นได้ทำาร้ายก่อนร้องทุกข์
(แจ้งความ) ภริยาหรือสามีที่ยงมีชีวิตอยู่ก็ฟ้องคดีหมิ่นประมาทได้เองด้วย
                                ั
(๕) ถ้าคู่สมรสเป็นผู้เยาว์ที่มีอายุ ๑๗ ปีขึ้นไป เมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้ว
กฎหมายถือว่า ผู้นั้นได้เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว และสามารถทำากิจการงาน
ต่าง ๆ ได้เองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
และแม้จะหย่ากันก่อนอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ก็ยังคงเป็นผู้บรรลุนิติภาวะอยู่
เงื่อนไขของการสมรส
        การที่จะสมรสกันได้นั้น กฎหมายยังได้กำาหนดเงื่อนไขไว้ดังต่อไปนี้
        (๑) เรื่องอายุของชายหญิง ที่จะทำาการสมรสกัน กฎหมายกำาหนดว่า
ต้องมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์เหตุผลที่กฎหมายกำาหนดไว้เช่นนี้ก็เพราะการ
สมรสนั้นทำาให้เกิดมีความสัมพันธ์กันตามกฎหมายและเกิดสิทธิหน้าที่
ความรับผิดชอบในครอบครัวมาก การที่จะให้เด็กทำาการสมรสกัน ก็จะ
ทำาให้เกิดปัญหาในครอบครัวได้ กฎหมายจึงกำาหนดอายุของคู่สมรสเอาไว้
โดยเอาเกณฑ์ที่พอจะเข้าใจถึงการกระทำาของตนเองได้
        (๒) เรื่องความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ในกรณีที่คู่
สมรสเป็นผู้เยาว์ เหตุผลที่กฎหมายกำาหนดเงื่อนไขนี้ก็เพราะว่า เพื่อที่จะ
ให้ผู้ใหญ่เข้ามาช่วยตัดสินใจเลือกแนวทางชีวิตครอบครัวของผู้เยาว์ ความ
ยินยอมนี้อาจทำาเป็นหนังสือ ระบุชื่อคู่สมรสของทั้ง ๒ ฝ่าย และลงลายมือ
ชื่อผู้ให้ความยินยอมหรืออาจทำาโดยวิธีอื่น เช่น ให้ความยินยอมด้วยวาจา
        (๓) กฎหมายห้ามชายหญิงที่มีคู่สมรสอยู่แล้วไปทำาการสมรสกันคน
อื่นอีก ซึ่งเรียกกันว่าการสมรสซ้อน เหตุผลก็คือ เพื่อป้องกันมิให้เกิด
ปัญหาขึ้นภายในครอบครัว เพราะกฎหมายในปัจจุบันรับรองความสัมพันธ์
ระหว่างสามีภริยาแบบผัวเดียวเมียเดียวเท่านั้น
        (๔) ในกรณีที่หญิงที่มีสามีเดิมตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วย
ประการอื่น เช่น หย่าขาดจากกันจะทำาการสมรสครั้งใหม่ได้ต้องกระทำาหลัง
จากที่การสมรสเดิมสิ้นสุดไปแล้ว ๓๑๐ วัน เหตุผลที่กฎหมายห้ามก็เพื่อ
ป้องกันปัญหาเกี่ยวกับบุตรที่เกิดมาว่าจะถือเป็นบุตรของใคร (สามีใหม่หรือ
สามีเก่า)
        (๕) กฎหมายห้ามคนวิกลจริต หรือ ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความ
สามารถทำาการสมรส เหตุผลก็เพื่อให้ครอบครัวมีชีวิตที่สงบสุข ถ้าให้
แต่งงานกับคนบ้าแล้วก็อาจเกิดปัญหาได้
        (๖) กฎหมายห้ามชายหญิงที่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป
หรือโดยตรงลงมาทำาการสมรสกัน เช่น พ่อสมรสกับลูก และรวมถึงเป็นพี่
น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
ด้วยเหตุผลก็เพราะในทางการแพทย์นั้น เขาพิสูจน์ได้ว่าถ้าคนทีมีสาย ่
เลือดเดียวกันสมรสกัน บุตรที่เกิดมาจะรับเอาส่วนที่ไม่ดีของทัง ๒ ฝ่ายมา
                                                             ้
ทำาให้เด็กที่เกิดมาเป็นเด็ก
ที่ผิดปกติ นอกจากนี้ก็ยังมีเหตุผลทางสังคมด้วย คือสภาพสังคมไทยเราก็
ไม่ยอมรับการสมรสแบบนี้ด้วย
       (๗) กฎหมายห้ามผู้รบบุตรบุญธรรมทำาการสมรสกัน เหตุผลที่
                            ั
กฎหมายห้ามก็เพื่อ มิให้เกิดความสับสนของสถานะของแต่ละฝ่ายว่า จะ
เป็นบุตรบุญธรรมหรือสามีภริยานั่นเอง
ผลของการฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรส
       ถ้ามีการจดทะเบียนสมรสไปโดยฝ่าฝืนเงื่อนไขต่าง ๆ นี้ จะมีผลต่อ
การสมรส ดังนี้
       (๑) ถ้าฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อ ๑,๒ การสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะ (สมบูรณ์
จนกว่าจะถูกเพิกถอน)
       (๒) ถ้าฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อ ๓,๕,๖ การสมรสนั้นตกเป็นโมฆะ
       (๓) ถ้าฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อ ๔,๗ การสมรสนั้นยังมีผลสมบูรณ์ทุก
ประการแต่จะมีผลทางกฎหมายอย่างอื่น คือ
              ๓.๑ ถ้าเป็นการฝ่าฝืนในเงื่อนไขข้อ ๔ การสมรสสมบูรณ์และ
กฎหมายก็สันนิษฐานว่า เด็กที่เกิดมานั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
              ๓.๒ ถ้าเป็นการฝ่าฝืนในเงื่อนไขข้อ ๗ จะมีผล คือทำาให้การ
เป็นบุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรมนั้นสิ้นสุดลงทันที โดยไม่ต้องไปจด
ทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมอีก
ถ้าการสมรสได้ทำาถูกต้องตามกฎหมายทุกประการแล้วผลคือชายหญิงคู่
นั้นก็เป็นสามีภริยากันตามกฎหมายทำาให้เกิดความผูกพันทางครอบครัว
หลายประการ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
การสมรสที่เป็นโมฆียะ
       คำาว่า “โมฆียะ” หมายถึง การกระทำานั้นยังคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะถูก
เพิกถอน ดังนั้นการสมรสที่เป็นโมฆียะ จึงเป็นการสมรสทียังคงมีผลอยู่ตาม
                                                       ่
กฎหมายจนกว่าจะมีการเพิกถอน
       ๑. เหตุททำาให้การสมรสตกเป็นโมฆียะ
                 ี่
เหตุที่ทำาให้การสมรสตกเป็นโมฆียะ ก็ได้กล่าวมาบ้างแล้ว คือ การสมรสที่
ฝ่าฝืนเงื่อนไขในเรื่องอายุของคู่สมรส และเงื่อนไขในเรื่องความยินยอม
ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังมีเหตุอื่นอีกที่ทำาให้การสมรส
เป็นโมฆียะ คือ
       - การสมรสโดยถูกกลฉ้อฉล หมายถึง การสมรสนั้นทำาไปเพราะถูกคู่
สมรสอีกฝ่ายหนึ่งใช้อุบายหลอกลวงให้ทำาการสมรส เช่น หลอกว่าตนเป็น
คนมีฐานะดี แต่แท้จริงแล้วเป็นคนยากจน ดังนี้เป็นต้น แต่การใช้กลฉ้อฉล
นี้จะต้องถึงขนาด คือถ้ามิได้มีการหลอกลวงแล้ว คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะไม่
ทำาการสมรสด้วย แต่ถ้ากลฉ้อฉลนั้นไม่ถึงขนาดการสมรสก็ไม่ตกเป็น
โมฆียะแต่ถากลฉ้อฉลเกิดเพราะบุคคลที่ ๓ การสมรสจะตกเป็นโมฆียะเมื่อ
              ้
คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้หรือควรจะรู้ถึงกลฉ้อฉลนั้นอยูแล้วในขณะทีทำาการ
                                                      ่              ่
สมรส
       - การสมรสได้ทำาไปโดยถูกข่มขู่ การข่มขู่ หมายถึง การกระทำาที่ใน
ลักษณะบีบบังคับให้เกิดความกลัวภัยจนทำาให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมทำาการ
สมรสด้วย เช่น ขู่ว่าจะทำาร้ายถ้าไม่ยอมไปจดทะเบียนด้วย เป็นต้น การ
ข่มขู่นั้นจะต้องถึงขนาดด้วย กล่าวคือถ้าไม่มีการข่มขู่แล้วจะไม่มีการสมรส
นั่นเอง และนอกนี้การข่มขู่ไม่ว่าคู่สมรสหรือบุคคลภายนอกเป็นผู้ข่มขู่ ถ้า
ถึงขนาดแล้วการสมรสย่อมเป็นโมฆียะทังนั้น  ้
       - การสมรสที่ได้กระทำาไปโดยสำาคัญผิดตัว กรณีนี้หมายความว่า
ตั้งใจจะสมรสกับคนคนหนึ่ง แต่ไปทำาการสมรสกับคนอีกคนหนึ่ง โดย
เข้าใจผิด เช่น กรณีฝาแฝด
       ๒. ผลของการสมรสที่เป็นโมฆียะ
ดังที่กล่าวมาแล้วคือตราบใดที่ยงไม่มีการเพิกถอน การสมรสนั้นก็ยังมีผล
                                  ั
ตามกฎหมายทุกประการแล้ะถ้าต่อมามีการเพิกถอนการสมรสแล้ว การ
สมรสนั้นก็สิ้นสุดลงนับแต่เวลาที่เพิกถอนเป็นต้นไป
       ๓. ใครเป็นคนเพิกถอน
ตามกฎหมายปัจจุบนกำาหนดให้ศาลเท่านั้นที่จะเพิกถอนการสมรสได้โดยมี
                       ั
เหตุผลว่า เรื่องครอบครัวเป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานะของบุคคลทีมีผลกระทบ
                                                              ่
ต่อสังคมมาก การที่จะปล่อยให้คนทัวไปเพิกถอน การสมรสได้เองแล้ว
                                      ่
ย่อมจะเกิดปัญหาแน่ ๆ กฎหมายจึงให้องค์กรศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่า การ
สมรส กรณีใดบ้างที่จะต้องถูกเพิกถอนแต่อย่างไรก็ดี การที่ศาลจะ
พิพากษาเพิกถอนได้ก็ต้องมีผู้ร้องขอต่อศาลก่อน ศาลจะยกคดีขึ้นวินิจฉัย
เองไม่ได้ ซึ่งผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนนั้นกฎหมายก็ได้กำาหนดตัว
บุคคลไว้ ซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป
       ๔. ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้ แยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้
             ๔.๑ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะฝ่าฝืนเงื่อนไขในเรื่องอายุ
ของคู่สมรส ผู้มีสทธิร้องขอให้ เพิกถอนได้ก็มี ผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งมีความ
                    ิ
หมายรวมถึงบิดามารดาหรือผู้ปกครองของชายหญิงคู่สมรสและยังรวมถึงผู้
มีสิทธิได้รับมรดกของคู่สมรสด้วย เพราะถ้าการสมรสมีผลอยู่ตนจะได้รับ
มรดกน้อยลง แต่ในกรณีบิดามารดานั้นถ้าหากเป็นผู้ให้ความยินยอมเอง
ด้วยแล้ว กฎหมายก็ห้ามร้องขอต่อศาล
             ๔.๒ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะขาดความยินยอมของบิดา
มารดาหรือผู้ปกครองแล้ว ผู้มีสิทธิร้องขอก็คือบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
เท่านั้น
             ๔.๓ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะกลฉ้อฉล ผู้มีสิทธิร้องขอคือ
คู่สมรสฝ่ายทีถูกหลอกเท่านั้น
                ่
๔.๔ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะการข่มขู่ ผู้มีสทธิร้องขอก็
                                                              ิ
คือคู่สมรสฝ่ายที่ถูกข่มขู่เท่านั้น
               ๔.๕ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะสำาคัญผิดตัว ผู้มีสิทธิร้องขอ
ก็คือคู่สมรสฝ่ายที่สำาคัญผิดเท่านั้น
        ๕. ระยะเวลาขอให้ศาลเพิกถอน
               ๕.๑ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะฝ่าฝืนเงื่อนไขในเรื่องอายุ
ต้องร้องขอให้ศาลเพิกถอน ก่อนที่ชายหญิงจะมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์
หรือก่อนที่หญิงมีครรภ์ ถ้าไม่ร้องขอภายในเวลาดังกล่าวการสมรสย่อม
สมบูรณ์มาตลอด และไม่อาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้ต่อไป
               ๕.๒ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะฝ่าฝืนเงื่อนไขในเรื่องความ
ยินยอม ต้องร้องขอให้ศาลเพิกถอนก่อนที่ชายหญิงจะมีอายุครบ ๒๐ ปีบริ
บูรณ์ หรือก่อนที่หญิงมีครรภ์ นอกจากนี้ในเรื่องนี้กฎหมายยังกำาหนดอายุ
ความไว้อีกด้วยคือ ต้องใช้สิทธิในอายุความ ๑ ปี นับแต่วันทีรู้ถึงการสมรส
                                                            ่
นั้น (อายุความ คือ ระยะเวลาที่จะต้องใช้สิทธิถ้าไม่ใช้ภายในกำาหนดก็ใช้
ไม่ได้อีกแล้ว)
               ๕.๓ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะกลฉ้อฉล ระยะเวลาการขอ
ให้ศาลเพิกถอน คือ ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงกลฉ้อฉล
แต่ต้องไม่เกิน ๑ ปี นับแต่วันทำาการสมรส
               ๕.๔ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะ เพราะถูกข่มขู่ ระยะเวลาขอให้
ศาลเพิกถอนคือ ภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่พ้นจากการถูกข่มขู่
               ๕.๕ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะการสำาคัญผิดในตัวคู่สมรส
อีกฝ่ายหนึ่ง ระยะเวลา ขอให้ศาลเพิกถอน คือ ภายใน ๙๐ วันนับแต่วัน
ทำาการสมรส
        ๖. ผลของการที่ศาลมีคำาพิพากษาเพิกถอน
ถือว่าการสมรสสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ศาลมีคำาพิพากษาถึงให้สุดให้เพิกถอน
ดังนั้น ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างสามีภริยาก็เป็นอันสิ้นสุดลงนับตั้งแต่วัน
ที่ศาลพิพากษาเพิกถอนเป็นต้นไป และถ้าคู่สมรสฝ่ายที่ถูกฟ้องเพิกถอน
นั้นรูถึงเหตุแห่งโมฆียะ ก็ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนแก่อีกฝ่ายหนึ่งในความ
      ้
เสียหายที่ได้รับด้วย นอกจากนีถ้าการเพิกถอนเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
                                  ้
ยากจนลงไม่มทรัพย์สินพอเลี้ยงชีพ คู่สมรสฝ่ายที่ถูกฟ้องก็ต้องจ่ายค่า
                 ี
เลี้ยงชีพให้แก่อีกฝ่ายด้วย
การสมรสที่เป็นโมฆะ
        คำาว่า “โมฆะ” นี้หมายความว่า เสียเปล่า ไม่มีผลใด ๆ ทางกฎหมาย
เลย ดังนั้น การสมรสที่เป็นโมฆะจึงไม่มีผลใด ๆ ตามกฎหมายเลย แต่
เนื่องจากกฎหมายครอบครัวเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานะของบุคคล
และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนกฎหมายจึง
กำาหนดว่าการสมรสที่เป็นโมฆะนันโดยทัวไปแล้ว บุคคลใดจะนำาขึ้นมากล่า
                                    ้     ่
วอ้างไม่ได้ เว้นแต่ ศาลจะได้แสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะเสียก่อน ยกเว้น
กรณีการสมรสซ้อนกฎหมายกำาหนดให้ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าว
อ้างขึ้นหรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ ในกรณีที่
กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิในการกล่าวอ้างและศาลยังไม่พิพากษา แสดงความ
เป็นโมฆะของการสมรสชายหญิงคู่นั้นก็ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ตามปกติ
       ๑. เหตุททำาให้การสมรสเป็นโมฆะ
                  ี่
              ๑.๑ การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขเรื่องการห้ามสมรสซ้อน
              ๑.๒ การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไข เรื่องการห้ามสมรสกับบุคคล
วิกลจริต
              ๑.๓ การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไข เรื่องการสมรสระหว่างญาติสนิท
              ๑.๔ การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไข เรื่องความยินยอมของคู่สมรส
เอง
       ๒. ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ
       กฎหมายให้สิทธิแก่ “ผู้มีส่วนได้เสีย” หรือ “อัยการ” ก็ได้ คำาว่า “ผู้มี
ส่วนได้เสีย” หมายถึง ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ถ้าหากการสมรสนั้นยังไม่
ถูกศาลสั่งแสดงความเป็นโมฆะ เช่น ตัวคู่สมรสเอง หรือภริยาเอง กรณีจด
ทะเบียนซ้อน
       ๓. ผลเมื่อศาลได้แสดงความเป็นโมฆะแล้ว
เมื่อศาลได้แสดงความเป็นโมฆะของการสมรสแล้ว คำาพิพากษามีผลดังนี้
              ๓.๑ ในเรื่องทรัพย์สิน ถือว่าไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ทาง
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตั้งแต่สมรส
              ๓.๒ ในเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสามีภริยา กฎหมาย
เห็นว่าไม่มีทางที่จะให้กลับสู่สภาพเดิมได้คือจะถือว่าไม่มีความสัมพันธ์ต่อ
กันเลยตั้งแต่แรกไม่ได้ ดังนั้นจึงให้มีผลนับแต่วันที่ศาล ได้แสดงความเป็น
โมฆะแต่อย่างไรก็ตาม หากคู่สมรสฝ่ายที่สุจริตได้สิทธิใดๆ มาจากการ
สมรสก่อนที่ศาลจะมีคำาพิพากษาก็ไม่เสียสิทธินั้นไป ยกเว้น สิทธิในการรับ
มรดกของสามีที่เกิดจากการสมรสที่เป็นโมฆะ หากตนสมรสโดยสุจริต
       นอกจากนี้ถ้าหากชายหรือหญิงฝ่ายเดียวเป็นฝ่ายสมรสโดยสุจริต
ฝ่ายนันก็ยังมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากฝ่ายทีไม่สุจริตได้ เช่น ชายมา
       ้                                       ่
หลอกหญิงว่าตนไม่เคยมีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายมาก่อน กรณีนี้เมื่อ
ศาลแสดงความเป็นโมฆะแล้ว หญิงสามารถเรียกค่าทดแทนจากชายได้
และถ้าฝ่ายที่สุจริตนั้นยากจนลง ไม่มรายได้จากทรัพย์สินหรือจากงานที่
                                       ี
เคยทำาก่อนมีคำาพิพากษาของศาลคู่สมรสฝ่ายนั้นก็ยังมีสทธิเรียกค่าเลี้ยง
                                                         ิ
ชีพได้อีกด้วย
              ๓.๓ ผลต่อบุตร เด็กที่เกิดระหว่างการสมรสที่เป็นโมฆะหรือ
เกิดภายใน ๓๑๐ วันนับแต่วันที่ศาลสั่งแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ
กฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นลูกของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

กฎหมายครอบครัว
กฎหมายครอบครัวกฎหมายครอบครัว
กฎหมายครอบครัวYosiri
 
บุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
บุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วบุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
บุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วอ.เป้ สิททิกรณ์ สมาร์ทลอว์ติวเตอร์
 
กฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้ว
กฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้วกฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้ว
กฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้วYosiri
 
กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกYosiri
 
กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกYosiri
 
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาbilly ratchadamri
 
บุคคล 17
บุคคล 17บุคคล 17
บุคคล 17Yosiri
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันEyezz Alazy
 
ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...
ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...
ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...อ.เป้ สิททิกรณ์ สมาร์ทลอว์ติวเตอร์
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวัน0895043723
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
แนวข้อสอบตรงนิติศาสตร์
แนวข้อสอบตรงนิติศาสตร์แนวข้อสอบตรงนิติศาสตร์
แนวข้อสอบตรงนิติศาสตร์Supisara Jaibaan
 

Was ist angesagt? (19)

กฎหมายครอบครัว
กฎหมายครอบครัวกฎหมายครอบครัว
กฎหมายครอบครัว
 
บุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
บุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วบุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
บุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
 
กฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้ว
กฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้วกฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้ว
กฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้ว
 
ผู้เสียหายในคดีอาญาถึงแก่ความตาย
ผู้เสียหายในคดีอาญาถึงแก่ความตายผู้เสียหายในคดีอาญาถึงแก่ความตาย
ผู้เสียหายในคดีอาญาถึงแก่ความตาย
 
มรดก
มรดกมรดก
มรดก
 
กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดก
 
กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดก
 
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
 
การดำเนินคดีอาญาของผู้เยาว์
การดำเนินคดีอาญาของผู้เยาว์การดำเนินคดีอาญาของผู้เยาว์
การดำเนินคดีอาญาของผู้เยาว์
 
บุคคล 17
บุคคล 17บุคคล 17
บุคคล 17
 
มรดก 1
มรดก 1มรดก 1
มรดก 1
 
หลักกฎหมายอาญาทั่วไป
หลักกฎหมายอาญาทั่วไปหลักกฎหมายอาญาทั่วไป
หลักกฎหมายอาญาทั่วไป
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
 
ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...
ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...
ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
แนวข้อสอบตรงนิติศาสตร์
แนวข้อสอบตรงนิติศาสตร์แนวข้อสอบตรงนิติศาสตร์
แนวข้อสอบตรงนิติศาสตร์
 
แนวข้อสอบตั๋วปี ครั้งที่ 1 ปี 54
แนวข้อสอบตั๋วปี ครั้งที่ 1 ปี 54แนวข้อสอบตั๋วปี ครั้งที่ 1 ปี 54
แนวข้อสอบตั๋วปี ครั้งที่ 1 ปี 54
 
กฎหมาย
กฎหมายกฎหมาย
กฎหมาย
 

Mehr von billy ratchadamri

ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาbilly ratchadamri
 
ความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายbilly ratchadamri
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมbilly ratchadamri
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมbilly ratchadamri
 
คำมั่นจะให้เช่า
คำมั่นจะให้เช่าคำมั่นจะให้เช่า
คำมั่นจะให้เช่าbilly ratchadamri
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003billy ratchadamri
 

Mehr von billy ratchadamri (7)

ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
 
การสมรส
การสมรสการสมรส
การสมรส
 
ความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมาย
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
 
คำมั่นจะให้เช่า
คำมั่นจะให้เช่าคำมั่นจะให้เช่า
คำมั่นจะให้เช่า
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003
 

การสมรส

  • 1. การสมรส ความหมาย การสมรส หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่า “แต่งงาน” นั้นก็คือการที่ชาย หญิง ๒ คน ตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ซึ่งตาม กฎหมายปัจจุบันนันกำาหนดว่า การสมรสต้องมีการจดทะเบียนสมรสจึงจะมี ้ ผลตามกฎหมาย ดังนั้น ถ้าไม่มีการจดทะเบียนสมรส แม้จะมีการจัดงานพิธี มงคลสมรสใหญ่โตเพียงใด กฎหมายก็ไม่ถือว่าชายหญิงคู่นั้นได้ทำาการ สมรสกันเลย การจดทะเบียนสมรสนั้นให้ไปจดกับนายทะเบียน ณ ทีว่าการอำาเภอ ่ หรือกิ่งอำาเภอ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ เลย และต้องมีการแสดง ถึงความยินยอมของทั้ง ๒ ฝ่ายว่า ต้องการที่จะทำาการสมรสกันต่อหน้านาย ทะเบียนด้วย แล้วให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ ปกติแล้วการสมรสจะมีผลตามกฎหมายเมื่อได้มีการจดทะเบียนแล้ว แต่ในกรณีพิเศษ เช่น ถ้ามีสงครามเกิดขึ้น ทำาให้ชายหญิงไม่สามารถไป จดทะเบียนที่อำาเภอได้ ในกรณีนี้ ชายหญิงคู่นั้นอาจตกลงที่จะสมรสกันต่อ หน้าบุคคลทีบรรลุนิติภาวะ (มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์) ที่อยูในที่นั้น และต่อมา ่ ่ เมื่อสงครามสงบ ชายหญิงคู่นั้นก็ต้องไปทำาการจดทะเบียนสมรสภายใน ๙๐ วัน ซึงกรณีนี้ กฎหมายถือว่าชายหญิงคู่นี้ ได้ทำาการสมรสกันมาตั้งแต่ ่ วันแรกที่ได้ตกลงสมรสกัน ประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนสมรสนั้นนอกจากกฎหมายจะถือว่า ชายหญิงคู่นั้นได้ เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายแล้วยังมีผลที่ตามมาอีกหลายประการ เช่น (๑) เป็นหลักประกันความมั่นคงได้วา ถ้าได้มีการจดทะเบียนแล้วคู่ ่ สมรสอีกฝ่ายจะไปจดทะเบียนสมรสอีกไม่ได้ ถ้าฝ่าฝืนไปทำาการจด ทะเบียนเข้า ผลคือ การจดทะเบียนสมรสครั้งหลังนี้ กฎหมายถือว่าเป็น โมฆะ (ใช้ไม่ได้) ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะแจ้งให้นายทะเบียนเพิก ถอน หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาก็ได้ นอกจากนี้คู่สมรสฝ่ายที่ไปจด ทะเบียนซ้อน ก็อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย (๒) ได้รบลดหย่อนค่าภาษีเงินได้ ั (๓) ในกรณีที่เป็นความผิดที่กระทำาระหว่างสามีภรรยา เช่น สามีหรือ ภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลักทรัพย์ของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือในความผิดฐานอื่น เช่น ฉ้อโกง ยักยอก ทำาให้เสียทรัพย์ หรือบุกรุก ซึ่งมีผลคือสามีหรือภริยา นั้นไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย (๔) ในเรื่องอำานาจในการฟ้องคดีอาญา ถ้าสามีภริยาถูกทำาร้ายถึง ตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถฟ้องคดีได้เอง ภริยาหรือสามีที่ยังมีชีวิตอยู่ (ทีได้จดทะเบียนตามกฎหมาย) สามารถร้องทุกข์ (แจ้งความ) ต่อตำารวจ ่ หรือฟ้องศาลแทนได้ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องเป็นกรณีที่ผู้ตายหรือผู้บาดเจ็บ
  • 2. ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำาความผิดด้วยนอกจากนี้ในคดีหมิ่นประมาทที่ กระทำาต่อสามีหรือภริยา ถ้าต่อมาสามีหรือภริยานั้นได้ทำาร้ายก่อนร้องทุกข์ (แจ้งความ) ภริยาหรือสามีที่ยงมีชีวิตอยู่ก็ฟ้องคดีหมิ่นประมาทได้เองด้วย ั (๕) ถ้าคู่สมรสเป็นผู้เยาว์ที่มีอายุ ๑๗ ปีขึ้นไป เมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้ว กฎหมายถือว่า ผู้นั้นได้เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว และสามารถทำากิจการงาน ต่าง ๆ ได้เองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง และแม้จะหย่ากันก่อนอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ก็ยังคงเป็นผู้บรรลุนิติภาวะอยู่ เงื่อนไขของการสมรส การที่จะสมรสกันได้นั้น กฎหมายยังได้กำาหนดเงื่อนไขไว้ดังต่อไปนี้ (๑) เรื่องอายุของชายหญิง ที่จะทำาการสมรสกัน กฎหมายกำาหนดว่า ต้องมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์เหตุผลที่กฎหมายกำาหนดไว้เช่นนี้ก็เพราะการ สมรสนั้นทำาให้เกิดมีความสัมพันธ์กันตามกฎหมายและเกิดสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบในครอบครัวมาก การที่จะให้เด็กทำาการสมรสกัน ก็จะ ทำาให้เกิดปัญหาในครอบครัวได้ กฎหมายจึงกำาหนดอายุของคู่สมรสเอาไว้ โดยเอาเกณฑ์ที่พอจะเข้าใจถึงการกระทำาของตนเองได้ (๒) เรื่องความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ในกรณีที่คู่ สมรสเป็นผู้เยาว์ เหตุผลที่กฎหมายกำาหนดเงื่อนไขนี้ก็เพราะว่า เพื่อที่จะ ให้ผู้ใหญ่เข้ามาช่วยตัดสินใจเลือกแนวทางชีวิตครอบครัวของผู้เยาว์ ความ ยินยอมนี้อาจทำาเป็นหนังสือ ระบุชื่อคู่สมรสของทั้ง ๒ ฝ่าย และลงลายมือ ชื่อผู้ให้ความยินยอมหรืออาจทำาโดยวิธีอื่น เช่น ให้ความยินยอมด้วยวาจา (๓) กฎหมายห้ามชายหญิงที่มีคู่สมรสอยู่แล้วไปทำาการสมรสกันคน อื่นอีก ซึ่งเรียกกันว่าการสมรสซ้อน เหตุผลก็คือ เพื่อป้องกันมิให้เกิด ปัญหาขึ้นภายในครอบครัว เพราะกฎหมายในปัจจุบันรับรองความสัมพันธ์ ระหว่างสามีภริยาแบบผัวเดียวเมียเดียวเท่านั้น (๔) ในกรณีที่หญิงที่มีสามีเดิมตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วย ประการอื่น เช่น หย่าขาดจากกันจะทำาการสมรสครั้งใหม่ได้ต้องกระทำาหลัง จากที่การสมรสเดิมสิ้นสุดไปแล้ว ๓๑๐ วัน เหตุผลที่กฎหมายห้ามก็เพื่อ ป้องกันปัญหาเกี่ยวกับบุตรที่เกิดมาว่าจะถือเป็นบุตรของใคร (สามีใหม่หรือ สามีเก่า) (๕) กฎหมายห้ามคนวิกลจริต หรือ ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความ สามารถทำาการสมรส เหตุผลก็เพื่อให้ครอบครัวมีชีวิตที่สงบสุข ถ้าให้ แต่งงานกับคนบ้าแล้วก็อาจเกิดปัญหาได้ (๖) กฎหมายห้ามชายหญิงที่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป หรือโดยตรงลงมาทำาการสมรสกัน เช่น พ่อสมรสกับลูก และรวมถึงเป็นพี่ น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ด้วยเหตุผลก็เพราะในทางการแพทย์นั้น เขาพิสูจน์ได้ว่าถ้าคนทีมีสาย ่
  • 3. เลือดเดียวกันสมรสกัน บุตรที่เกิดมาจะรับเอาส่วนที่ไม่ดีของทัง ๒ ฝ่ายมา ้ ทำาให้เด็กที่เกิดมาเป็นเด็ก ที่ผิดปกติ นอกจากนี้ก็ยังมีเหตุผลทางสังคมด้วย คือสภาพสังคมไทยเราก็ ไม่ยอมรับการสมรสแบบนี้ด้วย (๗) กฎหมายห้ามผู้รบบุตรบุญธรรมทำาการสมรสกัน เหตุผลที่ ั กฎหมายห้ามก็เพื่อ มิให้เกิดความสับสนของสถานะของแต่ละฝ่ายว่า จะ เป็นบุตรบุญธรรมหรือสามีภริยานั่นเอง ผลของการฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรส ถ้ามีการจดทะเบียนสมรสไปโดยฝ่าฝืนเงื่อนไขต่าง ๆ นี้ จะมีผลต่อ การสมรส ดังนี้ (๑) ถ้าฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อ ๑,๒ การสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะ (สมบูรณ์ จนกว่าจะถูกเพิกถอน) (๒) ถ้าฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อ ๓,๕,๖ การสมรสนั้นตกเป็นโมฆะ (๓) ถ้าฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อ ๔,๗ การสมรสนั้นยังมีผลสมบูรณ์ทุก ประการแต่จะมีผลทางกฎหมายอย่างอื่น คือ ๓.๑ ถ้าเป็นการฝ่าฝืนในเงื่อนไขข้อ ๔ การสมรสสมบูรณ์และ กฎหมายก็สันนิษฐานว่า เด็กที่เกิดมานั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ๓.๒ ถ้าเป็นการฝ่าฝืนในเงื่อนไขข้อ ๗ จะมีผล คือทำาให้การ เป็นบุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรมนั้นสิ้นสุดลงทันที โดยไม่ต้องไปจด ทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมอีก ถ้าการสมรสได้ทำาถูกต้องตามกฎหมายทุกประการแล้วผลคือชายหญิงคู่ นั้นก็เป็นสามีภริยากันตามกฎหมายทำาให้เกิดความผูกพันทางครอบครัว หลายประการ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป การสมรสที่เป็นโมฆียะ คำาว่า “โมฆียะ” หมายถึง การกระทำานั้นยังคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะถูก เพิกถอน ดังนั้นการสมรสที่เป็นโมฆียะ จึงเป็นการสมรสทียังคงมีผลอยู่ตาม ่ กฎหมายจนกว่าจะมีการเพิกถอน ๑. เหตุททำาให้การสมรสตกเป็นโมฆียะ ี่ เหตุที่ทำาให้การสมรสตกเป็นโมฆียะ ก็ได้กล่าวมาบ้างแล้ว คือ การสมรสที่ ฝ่าฝืนเงื่อนไขในเรื่องอายุของคู่สมรส และเงื่อนไขในเรื่องความยินยอม ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังมีเหตุอื่นอีกที่ทำาให้การสมรส เป็นโมฆียะ คือ - การสมรสโดยถูกกลฉ้อฉล หมายถึง การสมรสนั้นทำาไปเพราะถูกคู่ สมรสอีกฝ่ายหนึ่งใช้อุบายหลอกลวงให้ทำาการสมรส เช่น หลอกว่าตนเป็น คนมีฐานะดี แต่แท้จริงแล้วเป็นคนยากจน ดังนี้เป็นต้น แต่การใช้กลฉ้อฉล นี้จะต้องถึงขนาด คือถ้ามิได้มีการหลอกลวงแล้ว คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะไม่ ทำาการสมรสด้วย แต่ถ้ากลฉ้อฉลนั้นไม่ถึงขนาดการสมรสก็ไม่ตกเป็น
  • 4. โมฆียะแต่ถากลฉ้อฉลเกิดเพราะบุคคลที่ ๓ การสมรสจะตกเป็นโมฆียะเมื่อ ้ คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้หรือควรจะรู้ถึงกลฉ้อฉลนั้นอยูแล้วในขณะทีทำาการ ่ ่ สมรส - การสมรสได้ทำาไปโดยถูกข่มขู่ การข่มขู่ หมายถึง การกระทำาที่ใน ลักษณะบีบบังคับให้เกิดความกลัวภัยจนทำาให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมทำาการ สมรสด้วย เช่น ขู่ว่าจะทำาร้ายถ้าไม่ยอมไปจดทะเบียนด้วย เป็นต้น การ ข่มขู่นั้นจะต้องถึงขนาดด้วย กล่าวคือถ้าไม่มีการข่มขู่แล้วจะไม่มีการสมรส นั่นเอง และนอกนี้การข่มขู่ไม่ว่าคู่สมรสหรือบุคคลภายนอกเป็นผู้ข่มขู่ ถ้า ถึงขนาดแล้วการสมรสย่อมเป็นโมฆียะทังนั้น ้ - การสมรสที่ได้กระทำาไปโดยสำาคัญผิดตัว กรณีนี้หมายความว่า ตั้งใจจะสมรสกับคนคนหนึ่ง แต่ไปทำาการสมรสกับคนอีกคนหนึ่ง โดย เข้าใจผิด เช่น กรณีฝาแฝด ๒. ผลของการสมรสที่เป็นโมฆียะ ดังที่กล่าวมาแล้วคือตราบใดที่ยงไม่มีการเพิกถอน การสมรสนั้นก็ยังมีผล ั ตามกฎหมายทุกประการแล้ะถ้าต่อมามีการเพิกถอนการสมรสแล้ว การ สมรสนั้นก็สิ้นสุดลงนับแต่เวลาที่เพิกถอนเป็นต้นไป ๓. ใครเป็นคนเพิกถอน ตามกฎหมายปัจจุบนกำาหนดให้ศาลเท่านั้นที่จะเพิกถอนการสมรสได้โดยมี ั เหตุผลว่า เรื่องครอบครัวเป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานะของบุคคลทีมีผลกระทบ ่ ต่อสังคมมาก การที่จะปล่อยให้คนทัวไปเพิกถอน การสมรสได้เองแล้ว ่ ย่อมจะเกิดปัญหาแน่ ๆ กฎหมายจึงให้องค์กรศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่า การ สมรส กรณีใดบ้างที่จะต้องถูกเพิกถอนแต่อย่างไรก็ดี การที่ศาลจะ พิพากษาเพิกถอนได้ก็ต้องมีผู้ร้องขอต่อศาลก่อน ศาลจะยกคดีขึ้นวินิจฉัย เองไม่ได้ ซึ่งผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนนั้นกฎหมายก็ได้กำาหนดตัว บุคคลไว้ ซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป ๔. ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้ แยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้ ๔.๑ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะฝ่าฝืนเงื่อนไขในเรื่องอายุ ของคู่สมรส ผู้มีสทธิร้องขอให้ เพิกถอนได้ก็มี ผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งมีความ ิ หมายรวมถึงบิดามารดาหรือผู้ปกครองของชายหญิงคู่สมรสและยังรวมถึงผู้ มีสิทธิได้รับมรดกของคู่สมรสด้วย เพราะถ้าการสมรสมีผลอยู่ตนจะได้รับ มรดกน้อยลง แต่ในกรณีบิดามารดานั้นถ้าหากเป็นผู้ให้ความยินยอมเอง ด้วยแล้ว กฎหมายก็ห้ามร้องขอต่อศาล ๔.๒ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะขาดความยินยอมของบิดา มารดาหรือผู้ปกครองแล้ว ผู้มีสิทธิร้องขอก็คือบิดามารดาหรือผู้ปกครอง เท่านั้น ๔.๓ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะกลฉ้อฉล ผู้มีสิทธิร้องขอคือ คู่สมรสฝ่ายทีถูกหลอกเท่านั้น ่
  • 5. ๔.๔ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะการข่มขู่ ผู้มีสทธิร้องขอก็ ิ คือคู่สมรสฝ่ายที่ถูกข่มขู่เท่านั้น ๔.๕ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะสำาคัญผิดตัว ผู้มีสิทธิร้องขอ ก็คือคู่สมรสฝ่ายที่สำาคัญผิดเท่านั้น ๕. ระยะเวลาขอให้ศาลเพิกถอน ๕.๑ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะฝ่าฝืนเงื่อนไขในเรื่องอายุ ต้องร้องขอให้ศาลเพิกถอน ก่อนที่ชายหญิงจะมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือก่อนที่หญิงมีครรภ์ ถ้าไม่ร้องขอภายในเวลาดังกล่าวการสมรสย่อม สมบูรณ์มาตลอด และไม่อาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้ต่อไป ๕.๒ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะฝ่าฝืนเงื่อนไขในเรื่องความ ยินยอม ต้องร้องขอให้ศาลเพิกถอนก่อนที่ชายหญิงจะมีอายุครบ ๒๐ ปีบริ บูรณ์ หรือก่อนที่หญิงมีครรภ์ นอกจากนี้ในเรื่องนี้กฎหมายยังกำาหนดอายุ ความไว้อีกด้วยคือ ต้องใช้สิทธิในอายุความ ๑ ปี นับแต่วันทีรู้ถึงการสมรส ่ นั้น (อายุความ คือ ระยะเวลาที่จะต้องใช้สิทธิถ้าไม่ใช้ภายในกำาหนดก็ใช้ ไม่ได้อีกแล้ว) ๕.๓ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะกลฉ้อฉล ระยะเวลาการขอ ให้ศาลเพิกถอน คือ ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงกลฉ้อฉล แต่ต้องไม่เกิน ๑ ปี นับแต่วันทำาการสมรส ๕.๔ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะ เพราะถูกข่มขู่ ระยะเวลาขอให้ ศาลเพิกถอนคือ ภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่พ้นจากการถูกข่มขู่ ๕.๕ ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะการสำาคัญผิดในตัวคู่สมรส อีกฝ่ายหนึ่ง ระยะเวลา ขอให้ศาลเพิกถอน คือ ภายใน ๙๐ วันนับแต่วัน ทำาการสมรส ๖. ผลของการที่ศาลมีคำาพิพากษาเพิกถอน ถือว่าการสมรสสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ศาลมีคำาพิพากษาถึงให้สุดให้เพิกถอน ดังนั้น ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างสามีภริยาก็เป็นอันสิ้นสุดลงนับตั้งแต่วัน ที่ศาลพิพากษาเพิกถอนเป็นต้นไป และถ้าคู่สมรสฝ่ายที่ถูกฟ้องเพิกถอน นั้นรูถึงเหตุแห่งโมฆียะ ก็ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนแก่อีกฝ่ายหนึ่งในความ ้ เสียหายที่ได้รับด้วย นอกจากนีถ้าการเพิกถอนเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง ้ ยากจนลงไม่มทรัพย์สินพอเลี้ยงชีพ คู่สมรสฝ่ายที่ถูกฟ้องก็ต้องจ่ายค่า ี เลี้ยงชีพให้แก่อีกฝ่ายด้วย การสมรสที่เป็นโมฆะ คำาว่า “โมฆะ” นี้หมายความว่า เสียเปล่า ไม่มีผลใด ๆ ทางกฎหมาย เลย ดังนั้น การสมรสที่เป็นโมฆะจึงไม่มีผลใด ๆ ตามกฎหมายเลย แต่ เนื่องจากกฎหมายครอบครัวเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานะของบุคคล และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนกฎหมายจึง กำาหนดว่าการสมรสที่เป็นโมฆะนันโดยทัวไปแล้ว บุคคลใดจะนำาขึ้นมากล่า ้ ่
  • 6. วอ้างไม่ได้ เว้นแต่ ศาลจะได้แสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะเสียก่อน ยกเว้น กรณีการสมรสซ้อนกฎหมายกำาหนดให้ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าว อ้างขึ้นหรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ ในกรณีที่ กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิในการกล่าวอ้างและศาลยังไม่พิพากษา แสดงความ เป็นโมฆะของการสมรสชายหญิงคู่นั้นก็ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ตามปกติ ๑. เหตุททำาให้การสมรสเป็นโมฆะ ี่ ๑.๑ การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขเรื่องการห้ามสมรสซ้อน ๑.๒ การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไข เรื่องการห้ามสมรสกับบุคคล วิกลจริต ๑.๓ การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไข เรื่องการสมรสระหว่างญาติสนิท ๑.๔ การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไข เรื่องความยินยอมของคู่สมรส เอง ๒. ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ กฎหมายให้สิทธิแก่ “ผู้มีส่วนได้เสีย” หรือ “อัยการ” ก็ได้ คำาว่า “ผู้มี ส่วนได้เสีย” หมายถึง ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ถ้าหากการสมรสนั้นยังไม่ ถูกศาลสั่งแสดงความเป็นโมฆะ เช่น ตัวคู่สมรสเอง หรือภริยาเอง กรณีจด ทะเบียนซ้อน ๓. ผลเมื่อศาลได้แสดงความเป็นโมฆะแล้ว เมื่อศาลได้แสดงความเป็นโมฆะของการสมรสแล้ว คำาพิพากษามีผลดังนี้ ๓.๑ ในเรื่องทรัพย์สิน ถือว่าไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ทาง ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตั้งแต่สมรส ๓.๒ ในเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสามีภริยา กฎหมาย เห็นว่าไม่มีทางที่จะให้กลับสู่สภาพเดิมได้คือจะถือว่าไม่มีความสัมพันธ์ต่อ กันเลยตั้งแต่แรกไม่ได้ ดังนั้นจึงให้มีผลนับแต่วันที่ศาล ได้แสดงความเป็น โมฆะแต่อย่างไรก็ตาม หากคู่สมรสฝ่ายที่สุจริตได้สิทธิใดๆ มาจากการ สมรสก่อนที่ศาลจะมีคำาพิพากษาก็ไม่เสียสิทธินั้นไป ยกเว้น สิทธิในการรับ มรดกของสามีที่เกิดจากการสมรสที่เป็นโมฆะ หากตนสมรสโดยสุจริต นอกจากนี้ถ้าหากชายหรือหญิงฝ่ายเดียวเป็นฝ่ายสมรสโดยสุจริต ฝ่ายนันก็ยังมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากฝ่ายทีไม่สุจริตได้ เช่น ชายมา ้ ่ หลอกหญิงว่าตนไม่เคยมีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายมาก่อน กรณีนี้เมื่อ ศาลแสดงความเป็นโมฆะแล้ว หญิงสามารถเรียกค่าทดแทนจากชายได้ และถ้าฝ่ายที่สุจริตนั้นยากจนลง ไม่มรายได้จากทรัพย์สินหรือจากงานที่ ี เคยทำาก่อนมีคำาพิพากษาของศาลคู่สมรสฝ่ายนั้นก็ยังมีสทธิเรียกค่าเลี้ยง ิ ชีพได้อีกด้วย ๓.๓ ผลต่อบุตร เด็กที่เกิดระหว่างการสมรสที่เป็นโมฆะหรือ เกิดภายใน ๓๑๐ วันนับแต่วันที่ศาลสั่งแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ กฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นลูกของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี