SlideShare a Scribd company logo
1 of 72
หน่วยที่  4  การจัดทำสาระหลักสูครสถานศึกษา 1.  ที่มาของหลักสูตรสถานศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  มาตรา  27  กล่าวว่า  ให้คณะกรรมการการศึกษา  ขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ  การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่ทำสาระหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรค  หนึ่งส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม  ภูมิปัญญาท้องถิ่นคุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว  สังคม  และประเทศชาติ  จากมาตรา  27  ดังกล่าวข้างต้นผู้รับผิดชอบในการจัดหลักสูตรจึงมี  2  ระดับได้แก่  ระดับชาติให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางส่วนระดับท้องถิ่นให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำสาระหลักสูตรที่เกี่ยวกับท้องถิ่นสถานศึกษาทุกแห่งจึงต้องจัดทำหลักสูตรที่เหมาะสมกับท้องถิ่น  ซึ่งเรียกว่า  “หลักสูตรสถานศึกษา”  ดังแผนภูมิที่  19 เนื้อหา  4.1  ความหมายและความสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา
 
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
สถานศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน  ท้องถิ่น  วัดหน่วย งานและสถานศึกษา  ทั้งภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น  เพื่อให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตรสองประการ  ซึ่งจุดมุ่งหมายทั้งสองประการนี้ให้แนวทางที่สำคัญซึ่ง สถานศึกษาต้องพัฒนาหลักสูตรภายในบริบทและแนวทางนั้น  ๆ  ดังนี้ 1.  หลักสูตรสถานศึกษาควรพัฒนาให้เด็กเกิดความสนุกสนานและความ เพลิดเพลินในการเรียนรู้เปรียบเสมือนเป็นวิธีสร้างกำลังใจและเร้าใจให้เกิดความ ก้าวหน้าแก่ผู้เรียนให้ได้มากที่สุด  มีความรู้สูงสุด  สำหรับผู้เรียนทุกคน  ควรสร้าง ความเข้มแข็ง  ความสนใจ  และประสบการณ์ให้ผู้เรียนและพัฒนาความมั่นใจ  ให้ เรียนและทำงานอย่างเป็นอิสระและร่วมใจกัน  ควรให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ สำคัญ  ๆ  ในการอ่านออกเขียนได้  คิดเลขเป็น  ได้ข้อมูลสารสนเทศ  และ เทคโนโลยีสื่อสาร  ส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้  อยากเห็น  และมีกระบวนการคิดอย่างมี เหตุผล
2.  หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ  จริยธรรม  สังคม วัฒนธรรม และโดยเฉพาะพัฒนาหลักการในการจำแนกระหว่างถูกและผิด  เข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน  ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  มีอิทธิพลต่อตัวบุคคลและสังคม  หลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนา หลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียนและช่วยให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ  สามารถช่วยพัฒนา สังคมให้เป็นธรรมขึ้น  มีความเสมอภาค  ควรพัฒนาความตระหนัก  เข้าใจ  และยอมรับสภาพแวดล้อม ที่ตนดำรงชีวิตอยู่  ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับส่วนตน  ระดับท้องถิ่น  ระดับชาติ  และระดับโลก  หลักสูตรสถานศึกษาควรสร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ ตัดสินใจแบบมีข้อมูลและเป็นอิสระและเข้าใจในความรับผิดชอบ สำหรับกระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษานั้น  แบ่งออกได้  หลายขั้นตอนแต่ใน เอกสารนี้ จะขอกล่าวถึงขั้นตอนของการจัดทำสาระหลักสูตรสถานศึกษาเท่านั้นดังต่อไปนี้   1.  การศึกษาข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา 2.  กำหนดวิสัยทัศน์  ภารกิจ  เป้าหมาย  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3.  กำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 4.  กำหนดสาระการเรียนรู้  และผลการเรียนรู้ที่ความหวังรายปี  หรือรายภาค 5.  กำหนดคำอธิบายรายวิชา 6.  กำหนดหน่วยการเรียนรู้
เนื้อหา  4.2  การศึกษาข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา  จะเป็นข้อมูลที่ทำให้มองเห็นสภาพปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาได้แก่  ชุมชน  ท้องถิ่น  ตลอดจนบุคลากรต่าง  ๆ  ใน ด้านต่าง  ๆ วัฒนาพร  ระงับทุกข์  (2545  :  29 )  กล่าวว่าสถานศึกษาควรดำเนินการตั้งคณะ ทำงานศึกษาสภาพของสถานศึกษา  แล้วดำเนินตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1.  วางแผนเก็บรวบรวมข้อมูล 2.  เก็บรวบรวมข้อมูล  จากแหล่งที่มีอยู่แล้ว  เช่น  เอกสารหลักฐาน ที่ปรากฏ  สภาพบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นที่ศึกษา 3.  ประมวลข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่าง  ๆ  แล้วเรียบเรียงตามประเด็น ที่ศึกษา 4.  ตรวจสอบความถูกต้อง  ครอบคลุม  เพียงพอ  ให้รวบรวมเพิ่มเติม หรือปรับปรุงแก้ไข
5.  เสนอผลการศึกษาต่อผู้เกี่ยวข้อง  เพื่อทำความเข้าใจและ ยอมรับร่วมกันหากมีประเด็นเสนอแนะเพิ่มเติม  ให้ทบทวน  ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม  นอกจากนี้ยังเสนอแนะข้อมูลที่ควรได้ดำเนินการศึกษาและรวบรวมดังนี้ ( วัฒนาพร  ระงับทุกข์ ,  2545  :  76 – 77 ) 1.  ข้อมูลทั่วไปและสภาพแวดล้อมของโรงเรียน  เป็นข้อมูล เกี่ยวกับความเป็นมาของโรงเรียน  พัฒนาการ  การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ  เกียรติ ประวัติ  ความสำเร็จในการจัดการศึกษา  สัญลักษณ์  ค่านิยม  ปรัชญา  ที่ตั้ง โรงเรียน 2.  ข้อมูลด้านการบริหารจัดการของโรงเรียน  เป็นข้อมูล เกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการ  อาคารเรียน  สิ่งอำนวยความสะดวก  ห้องเรียน ห้องพิเศษ  ห้องบริการ  ห้องสมุด  สื่อ  วัสดุอุปกรณ์  เทคโนโลยี  และแหล่งการ เรียนรู้  ทั้งในและนอกโรงเรียน
3.  ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน  เป็นข้อมูลจำนวนนักเรียน  สภาพตัวป้อน ในเขตพื้นที่บริการ  อัตราการเข้าเรียนย้อนหลัง  3  ปี  อัตราการจบการศึกษา  อัตรา การเรียนต่อประกอบอาชีพของนักเรียนที่จบ  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนย้อนหลัง  3  ปี จำแนกเป็นระดับชั้น  รายวิชา  และภาพรวมของโรงเรียน  ผลการประเมินคุณภาพของ นักเรียนตามมาตรฐาน  คุณภาพการศึกษาและตัวชี้วัด  ความถนัด  และความสนใจทาง การเรียนของนักเรียน  ความต้องการ  และความคาดหวังของนักเรียนที่มีต่อการจัด หลักสูตร  และการเรียนการสอนของโรงเรียน 4.  ข้อมูล  เกี่ยวกับครู  อาจารย์  บุคลากร  เป็นข้อมูลด้านอัตรากำลัง วุฒิการศึกษา  ประสบการณ์  อายุเฉลี่ย  อัตราครูต่อนักเรียนความสามารถพิเศษ  และ ศักยภาพที่เป็นจุดเด่น  การได้รับการอบรมในด้านต่าง  ๆ  ในรอบ  2  ปี  ที่ผ่านมา  ความ คาดหวังของครูอาจารย์  และบุคลากรที่มีต่อนักเรียน  และการจัดการศึกษาของโรงเรียน 5.  ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน  ผู้ปกครอง  กรรมการสถานศึกษาศิษย์เก่า สภาพสังคมในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่  ( ประชากร  ครอบครัว  วัฒนธรรม  ประเพณี  ค่านิยม  อาชีพ  สุขภาพอนามัย  เพศศึกษา  การเมือง )  สภาพเศรษฐกิจ  ( รายได้  การ กระจายรายได้  การมีงานทำ )  ลักษณะของความร่วมมือหรือการสนับสนุนของ
กลุ่มบุคคลที่มีผลต่อการดำเนินงานของโรงเรียน  เช่น  กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของ โรงเรียน  บุคคลหรือองค์กรผู้สนับสนุน  ความต้องการและความคาดหวังของผู้ปกครอง กรรมการ  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ศิษย์เก่าและชุมชนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน ข้อมูลสารสนเทศที่เก็บรวบรวมได้ดังกล่าวเมื่อนำมาวิเคราะห์สถานศึกษา  จะ ทราบถึง  จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ  จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบโอกาสที่จะดำเนินการได้และ อุปสรรคหรือปัจจัยคุกคามการดำเนินงาน  สถานศึกษา  สามารถนำผลวิเคราะห์นี้มากำหนด รายละเอียดตามขั้นตอน  การกำหนด  สาระหลักสูตรสถานศึกษา  เช่น  วิสัยทัศน์  ภารกิจ เป้าหมาย  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  โครงสร้างหลักสูตร  เวลาเรียน  สาระการเรียนรู้  และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของสถานศึกษาต่อไป
สถานศึกษาจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อมองอนาคตว่า  โลกและสังคม รอบ  ๆ  จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร  และสถานศึกษาจะต้องปรับคัว  ปรับหลักสูตร อย่างไร  จึงจะพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับยุคสมัย  ในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์  ซึ่งทำได้โดยอาศัยความร่วมมือของชุมชน  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  ครูอาจารย์  ผู้เรียน  ภาคธุรกิจ  ภาครัฐในชุมชน  ร่วมกันกับคณะกรรมการสถานศึกษา  แสดงความประสงค์อันสูงส่งหรือวิสัยทัศน์ที่ปรารถนาให้สถานศึกษาเป็นสถาบันพัฒนา  ผู้เรียนที่มีพันธกิจหรือภาระหน้าที่ร่วมกันในการกำหนดงานหลักที่สำคัญ  ๆ  ของสถานศึกษา  พร้อมด้วยเป้าหมาย  แผนปฏิบัติการและการติดตามผล  ตลอดจนจัดทำรายงาน  แจ้งสาธารณชน  และส่งผลย้อนกลับให้สถานศึกษา  เพื่อการปฏิบัติงานที่เหมาะสมตามหลักสูตรของสถานศึกษา  และจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติที่กำหนดไว้ เนื้อหา  4.3  การกำหนดวิสัยทัศน์  ภารกิจ  เป้าหมาย  และคุณลักษณะ  อันพึงประสงค์
กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์  โดยอาศัยบุคคลต่าง  ๆ  เข้าไปมีส่วนร่วมนี้ เป็นกระบวนการที่มีพลังผลักดันให้แผนกลยุทธ์ที่สถานศึกษาสร้างขึ้นดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีทิศทางก่อให้เกิดเจตคติในทางสังคมที่สร้างสรรค์ดีงามแก่สังคมของสถานศึกษา  มีระบบและหน่วยสนับสนุนในการปฏิบัติงานเกิดขึ้นอย่างเป็นเครือขายเพียบพร้อมเช่น  ระบบคุณภาพระบบหลักสูตร  สาระการเรียนรู้  การเรียนการสอน  สื่อการเรียนรู้  การวัดประเมินผล  การติดตาม  การรายงานฐานข้อมูลการเรียนรู้  การวิจัยแบบมีส่วนร่วม  มีระบบสนับสนุนครูอาจารย์  เป็นต้น  กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์ด้วยวิธี  ดังกล่าวนี้จะนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร  การกำหนดสาระการเรียนรู้หรือตัวข้อเรื่องในท้องถิ่นสนองตอบความต้องการของชุมชน วิสัยทัศน์ -  เป็นเจตนารมณ์  อุดมการณ์  หลักการ  ความเชื่อ  อนาคตที่พึงประสงค์  เป็นการคิดไปข้างหน้า  มีเอกลักษณ์ -  สามารถสร้างศรัทธา  และจุดประกายความคิดในสภาพการพัฒนาสูงสุด
ภารกิจ แสดงวิธีดำเนินการของสถานศึกษาเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และนำไปสู่การ วางแผนปฏิบัติต่อไป เป้าหมาย กำหนดเป็นความคาดหวังด้านคุณภาพที่เกิดกับผู้เรียน  ซึ่งสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์  ที่สถานศึกษากำหนดและสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน  สถานศึกษาต้องร่วมกับชุมชน  กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อเป็น เป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยม
คุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่สถานศึกษาจะกำหนดในคุณลักษณะอันพึง ประสงค์  นั้น  สามารถกำหนดขึ้นได้ตามความต้องการ  โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา  และความจำเป็นที่จะต้องมีการปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมดังกล่าวให้แก่ ผู้เรียน  เพิ่มจากที่กำหนดไว้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง  ๆ ในแต่ละภาคเรียนหรือปีการศึกษา  ครูผู้สอนต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผล ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของของผู้เรียน  โดยเป็นการประเมินเชิงวินิจฉัยเพื่อการ ปรับปรุงพัฒนาและการส่งต่อ  ทั้งนี้  ควรประสานสัมพันธ์กับนักเรียน  ผู้ปกครอง  และ ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รายปี  หรือรายภาค
ตัวอย่าง  วิสัยทัศน์  ภารกิจ  เป้าหมาย  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ วิสัยทัศน์ ภารกิจ วิสัยทัศน์ ภารกิจ 1.  จัดหลักสูตรสถานศึกษา  ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร  แกนกลาง  และเสริมสาระการเรียนรู้ที่มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ  เช่น  ด้าน  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษาอังกฤษ  และคอมพิวเตอร์  เป็นต้น โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา “ เป็นสถานศึกษาที่ชุมชนและรัฐร่วมใจกันจัดหลักสูตร  เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันอบายมุขด้วยกิจกรรม  เชิงสร้างสรรค์  นักเรียนมีจริยธรรม  ค่านิยมที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  มีความรู้  ความคิด  ทักษะ  ความสามารถ  พื้นฐานทางวิชาการ  และอาชีพ  เพียงพอที่จะดำรงชีวิตแบบพอเพียง” 1.  จัดหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้  ของหลักสูตรแกนกลางและบูรณาการสาระการเรียนรู้ที่สนองการแก้ปัญหาความต้องการชุมชนและผู้เรียน “ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยามุ่งความเป็นเลิศ  ทางวิชาการคู่คุณธรรมและความเป็นไทย  พร้อมสนอง  ความถนัดความสนใจ  ผู้เรียนแต่ละบุคคลเต็มตามศักยภาพ  มีการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้  ในโรงเรียนระบบการพัฒนาบุคลากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการและเทคโนโลยี  เพื่อเอื้ออำนวยให้ผู้เรียน  ใฝ่รู้ใฝ่เรียน  คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น  มีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข”
โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา 2.  จัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยเน้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยรีบด่วนเป็นลำดับต้น 3.  จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเน้นกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และตามความถนัด  ความสนใจอย่างหลากหลาย  โดยความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่าย ทั้งภายในและนอกสถานศึกษา 4.  ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตทั้งโดยสอดแทรกในกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 5.  ส่งเสริมจริยธรรม  คุณธรรม  ค่านิยม  ที่พึงประสงค์ด้วยวิธีการเชิงบวกและสร้างสรรค์ในหลายรูปแบบเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 2.  จัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ด้วยระบบการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยและผ่านการศึกษาวิจัยมาดีแล้ว 3.  จัดสร้างและพัฒนาห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยเหมาะสมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง  ๆ  เพื่ออำนวยแก่ผู้เรียนและผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.  จัดโครงสร้างของหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนาความถนัด  ความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนในการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนสนใจและส่งเสริมด้านกิจกรรมผู้เรียน 5.  ส่งเสริมจริยธรรม  คุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม  ที่พึงประสงค์ด้วยกิจกรรมหลายรูปแบบเพื่อการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข
โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา 6.  จัดการเรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียนทั้งวิชาการและอาชีพตามสภาพผู้เรียนและชุมชนโดยเน้นเศรษฐกิจพอเพียง 7.  จัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมเสริมเพื่อสร้างสุขภาพกายและจิตให้สมบูรณ์ 8.  พัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาให้ทำงานในหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ 9.  ประสานความร่วมมือกับบุคลากรและองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา 10.  จัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของสถานศึกษา  เช่น  อาคาร  ห้องเรียน  สิ่งแวดล้อมของโรงเรียน  เป็นต้น  ให้มีบรรยากาศน่าอยู่  น่าเรียน 6.  จัดกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นไทย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 7.  จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางกายและทางจิตดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 8.  จัดระบบการพัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 9.  ร่วมมือกับชุมชน  องค์กรภายนอกสถานศึกษาในการพัฒนากิจการของสถานศึกษา 10.  จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในสถานศึกษาให้เป็นที่ประทับใจของนักเรียน  ครูและบุคคลทั่วไป
เป้าหมาย เป้าหมาย โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 1.  เห็นคุณค่าของตนเอง  มีวินัยในตนเอง  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่ดีงาม  สามารถเป็นภูมิคุ้มกันตนเองจากอบายมุขได้  ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ 2.  ใฝ่รู้มีทักษะและกระบวนการในการเรียนรู้  แก้ปัญหา  เผชิญสถานการณ์และทักษะในการดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข 3.  มีความรู้ความสามารถและศักยภาพสูงสุด  ตามวัย  ทั้งด้านวิชาการและอาชีพ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ  ดังต่อไปนี้ 1.  เห็นคุณค่าของตนเอง  มีวินัยในตนเอง  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่ดีงาม  ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ 2.  มีความคิดสร้างสรรค์ใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  รักการอ่าน  การเขียน  รักการค้นคว้า  มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการแสวงหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ดี 3.  มีความรู้อันเป็นสากล  โดยเฉพาะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ  มีทักษะเฉพาะด้านความถนัด  ความสนใจ  เต็มศักยภาพ
โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา 4.  มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค  มีค่านิยมในการผลิตมากกว่าการบริโภคเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอ 5.  มีค่านิยมที่ดีต่อการรักษาสุขภาพกายและจิต  ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี 6.  ภูมิใจในความเป็นไทย  รักชุมชน  มุ่งพัฒนาสิ่งที่ดีงามแก่ชุมชน  เป็นพลเมืองดี  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 7.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์  ภาษา  ประเพณี  ศิลปวัฒนธรรม  ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม 4.  มีทักษะชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข 5.  มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค  มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค 6.  ภูมิใจในความเป็นไทย  รักชุมชน  เป็นพลเมืองดี  ยึดมั่น  ในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 7.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษา  ประเพณี  ศิลปวัฒนธรรม  ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม 8.  รักประเทศชาติและท้องถิ่น  มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้แก่สังคม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา ซื่อสัตย์  ขยันหมั่นเพียร  มีวินัย  เสียสละ  สามัคคี  และมีความรับผิดชอบ 1.  ใฝ่รู้  สู้งาน 2.  มีระเบียบวินัย  มีความเสียสละและสามัคคี 3.  มีความซื่อสัตย์  ขยัน  อดทน  และรับผิดชอบ
เนื้อหา  4.4  การกำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา หลังจากการกำหนดวิสัยทัศน์  ภารกิจ  เป้าหมาย  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แล้ว  สถานศึกษาจะต้องกำหนดโครงสร้างหลักสูตร  ซึ่งเป็นการกำหนดเวลาเรียนของ ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างชัดเจน  เพื่อจะได้นำไปสู่การกำหนดเวลาเรียนของ แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้แต่ละชั้นปี โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา  ประกอบด้วย 1.  จำนวนชั่วโมงหรือหน่วยกิตของกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐานแต่ละชั้นปี 2.  จำนวนชั่วโมงหรือหน่วยกิตของกลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมแต่ละชั้นปี 3.  จำนวนชั่วโมงของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปี วัฒนาพร  ระงับทุกข์  (2545  :  80  - 92 )  กล่าวว่า  การกำหนดโครงสร้างหลักสูตร สถานศึกษาเป็นการนำแนวการจัดหลักสูตรและเวลาเรียนของแต่ละช่วงชั้นที่หลักสูตร แกนกลางกำหนดไว้  มาพิจารณาเพื่อจัดโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความ ครบถ้วน  ครอบคลุมทุกมาตรฐานการเรียนรู้  สนองจุดเน้นตามวิสัยทัศน์  ภารกิจ
และเป้าหมาย ของสถานศึกษา  และสอดคล้องกับข้อมูลสารสนเทศและชุมชนท้องถิ่น จำแนกเป็นขั้นตอนในการจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาได้ดังนี้ 1.  กำหนดเวลาเรียนของช่วงชั้นที่รับผิดชอบ  โดยพิจารณากรอบเวลาเรียนของ หลักสูตรแกนกลาง  ซึ่งกำหนดขอบเขตเวลา  โดยประมาณ  เช่น  ป .1 – 3  และ  ป .4 – 6  เวลาเรียนกำหนดไว้  800 – 1,000  ชั่วโมงต่อปี  โรงเรียนจะกำหนดเท่าใดต้องพิจารณา ปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการกำหนดเวลาเรียนด้วย  ได้แก่  วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา  เวลาที่ ต้องใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุมาตรฐานของสาระการเรียนรู้พื้นฐานความรู้ ความสามารถของผู้เรียน  ศักยภาพของโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้  เป็นต้น  โดย พิจารณาแล้วอาจกำหนดว่า  ชั้น  ป .1- 3  จะใช้เวลาเรียนประมาณ  800  ชั่วโมง  ป .4 – 6 1,000  ชั่วโมง  เนื่องจากผู้เรียนต้องการเลือกเรียนเพิ่มเติมในบางรายวิชาที่สนใจ  เป็นต้น 2.  กำหนดสัดส่วนการจัดเวลาเรียนระหว่างสาระการเรียนรู้  8  กลุ่มกับกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน  ขั้นตอนในการพิจารณาว่า  8  กลุ่มสาระการเรียนรู้จะเรียนร้อยละเท่าใด  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนร้อยละเท่าใด  เช่น  ป .4 – 6  กำหนดเวลาเรียน  1,000  ชั่วโมง  สัดส่วนระหว่างสาระการเรียนรู้  8  กลุ่ม  กับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็น  80  :  20  ดังนั้น จึงกำหนดให้เรียน  8  กลุ่มสาระการเรียนรู้  800  ชั่วโมง  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  200  ชั่วโมง  เป็นต้น
3.  กำหนดสัดส่วนการจัดการเรียนระหว่างสาระการเรียนรู้พื้นฐานกับสาระการ เรียนรู้เพิ่มเติม  การพิจารณาสัดส่วนนี้ก็เช่นเดียวกับ  ข้อ  2  และ  ข้อ  1  ที่นำปัจจัยที่มี ผลในการกำหนดเวลาเรียนตามที่กล่าวในข้อ  1  มาพิจารณา  เช่น  ชั้น  ป .4 – 6  ให้เวลา เรียน  8  กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  เป็น  80  :  20  หรือ  800  ชั่วโมง  ต่อ  200  ชั่วโมง  เมื่อมาพิจารณาสัดส่วนของกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐานต่อสาระการ เรียนรู้เพิ่มเติม  เป็น  80  :  20  เวลาเรียน  8  กลุ่มสาระการเรียนรู้  800  ชั่วโมง  จึงเป็น เวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐานเป็น  640  ชั่วโมง  กลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เป็น  160  ชั่วโมง 4.  กำหนดเวลาเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้พื้นฐานซึ่ง ต้องคำนึงถึงข้อเสนอในหลักสูตรแกนกลางที่ได้กำหนดสัดส่วนเวลาของแต่ละกลุ่ม สาระการเรียนรู้ด้วยประกอบกับ  ปัจจัยต่าง  ๆ  ในข้อ  1 5.  กำหนดการเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้และสาระที่ควรจัดเพิ่มเติมให้กับผู้เรียนตามระดับ ความยากง่าย  ความเข้มของสาระที่จัดเพิ่มเติม
[object Object],[object Object],กลุ่มสาระ เวลาเรียน  ( ชั่วโมง ) ป .1 ป .2 ป .3 1)  สาระการเรียนรู้พื้นฐาน 1.  ภาษาไทย 200 200 200 2.  คณิตศาสตร์ 200 200 200 3.  วิทยาศาสตร์ 80  80 80 4.  สังคม  ศาสนา  และวัฒนธรรม 80 80 80 5.  สุขศึกษาและพลศึกษา 80 80 80 6.  ศิลปะ 60 60 60 7.  การงานอาชีพและเทคโนโลยี 60 60 60 8.  ภาษาต่างประเทศ 40 40 40 รวม  8  กลุ่มสาระ 800 800 800 2)  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 200 200 200 รวม 1,000 1,000 1,000
[object Object],กลุ่มสาระ เวลาเรียน  ( ชั่วโมง ) ป .4 ป .5 ป .6 1)  สาระการเรียนรู้พื้นฐาน 1.  ภาษาไทย 120 120 120 2.  คณิตศาสตร์ 120 120 120 3.  วิทยาศาสตร์ 80  80 80 4.  สังคม  ศาสนา  และวัฒนธรรม 80 80 80 5.  สุขศึกษาและพลศึกษา 80 80 80 6.  ศิลปะ 40 40 40 7.  การงานอาชีพและเทคโนโลยี 80 80 80 8.  ภาษาต่างประเทศ 40 40 40 รวม  8  กลุ่มสาระ 640 640 640 2)  สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม 160 160 160 3)  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 200 200 200 รวม 1,000 1,000 1,000
[object Object],กลุ่มสาระ เวลาเรียน  ( ชั่วโมง ) ม .1 ม .2 ม .3 1)  สาระการเรียนรู้พื้นฐาน 1.  ภาษาไทย 80 80 80 2.  คณิตศาสตร์ 120 120 120 3.  วิทยาศาสตร์ 120 120 120 4.  สังคม  ศาสนา  และวัฒนธรรม 120 120 120 5.  สุขศึกษาและพลศึกษา 80 80 80 6.  ศิลปะ 40 40 40 7.  การงานอาชีพและเทคโนโลยี 40 40 40 8.  ภาษาต่างประเทศ 120 120 120 รวม  8  กลุ่มสาระ 720 720 640 2)  สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม 280 280 360 3)  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 200 200 200 รวม 1,200 1,200 1,200
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาคเรียนที่  1 ภาคเรียนที่  2 สาระการเรียนรู้ / จำนวนหน่วยกิต กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ( ชม .) สาระการเรียนรู้ / จำนวนหน่วยกิต กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ( ชม .) พื้นฐาน  ( นก .) พื้นฐาน  ( นก .) พื้นฐาน  ( นก .) พื้นฐาน  ( นก .) 1.  ภาษาไทย 1 - 3  ช . ม ./ สัปดาห์ 1 - 3  ช . ม ./ สัปดาห์ 2.  คณิตศาสตร์ 1.5 1.5 ,[object Object],1.5 1.5 -  แนะแนว 3.  วิทยาศาสตร์ 2.5 1 - ลูกเสือเนตรนารี 2.5 1 - ลูกเสือเนตรนารี 4.  สังคม  ศาสนา  และวัฒนธรรม 1 1 - ชมรม 1 1 - ชมรม 5.  สุขศึกษาและพลศึกษา 0.5 - 0.5 - 6.  ศิลปะ 1 - 1 - 7.  การงานอาชีพและเทคโนโลยี 1 0.5 1 0.5 8.  ภาษาต่างประเทศ 1.5 0.5 1.5 0.5 รวม 10 4.5 10 4.5 14.5  นก .  =  580  ชม . 60  ชม . 14.5  นก .  =  580  ชม . 60  ชม .
เนื้อหา  4.5  การกำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้  ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค การกำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคจากหลักสูตรแกนกลางมีขั้นตอน  ดังนี้ 1.  การกำหนดสาระการเรียนรู้ช่วงชั้นจากมาตรฐานการเรียนรู้  ช่วงชั้นเป็นการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จากหลักสูตรแกนกลางว่าใน  3  ชั้น  นั้น  มีสาระการเรียนรู้ใดบ้างที่ควรจะจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนแต่ละชั้นอย่างเหมาะสม  ดังตัวอย่างต่อไปนี้ กำหนดสาระการเรียนรู้ช่วงชั้นจากมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สาระที่  1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต มาตรฐาน  ว  1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง  ๆ  ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน  มีกระบวนการสืบเสาะความรู้  แนะนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต ตาราง
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  ป .4 - 6 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  ป .4 - 6 1.  สำรวจ  ตรวจสอบ  สืบค้นข้อมูล  อภิปราย  และอธิบายโครงสร้างและหน้าที่ของพืช  วัฎจักรชีวิต  การสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์พืช  ปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต  และสังเคราะห์ด้วยแสง  การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ -  การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับหน้าที่ของราก  ลำต้น  ใบ -  การสำรวจ  การสังเกต  ส่วนประกอบของดอกและการสืบค้นข้อมูลหน้าที่ของดอก -  การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช -  การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช -  การสำรวจ  การสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพืชดอก  ตั้งแต่ต้นอ่อนจนมีดอก  มีผล  และการดูแลรักษาพืช -  การทดลองเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า  เช่น  แสง  เสียง  สัมผัส  ฯลฯ
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  ป .4 - 6 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  ป .4 - 6 2.  สำรวจตรวจสอบสืบค้นข้อมูลอภิปรายและอธิบายการทำงานที่สัมพันธ์กันของอวัยวะต่าง  ๆ  ของสัตว์  ปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต  วัฎจักรชีวิต  การสืบพันธุ์  พฤติกรรมของสัตว์  และการนำความรู้ไปใช้ 3.  ....................................................... -  การสืบค้นข้อมูลและการอภิปรายเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของพืชดอก -  การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีต่าง  ๆ  เช่น  ปักชำ  ตอนกิ่ง  ติดตา  ทาบกิ่ง  -  การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ -  การสำรวจชีวิตสัตว์ในท้องถิ่น  และการสังเกต  การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในขณะเจริญเติบโต -  การสืบค้นข้อมูลและการอภิปรายเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของสัตว์และนำความรู้ไปใช้ในการขยายพันธุ์สัตว์  และดูแลสัตว์ในท้องถิ่น -  การสำรวจและสืบค้นข้อมูล  เกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม ................................................................................
2.  กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค  จากสาระการเรียนรู้ช่วงชั้น  เป็นการนำสาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่วิเคราะห์จากข้อ  1  มาจำแนกเป็นสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค  ดังตัวอย่างในข้อ  1  ก็นำมาจำแนกเป็นสาระการเรียนรู้ของชั้น  ป .4  ป .5  และ  ป .6  ดังตัวอย่างต่อไปนี้ กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคจากสาระการเรียนรู้ช่วงชั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สาระที่  1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต มาตรฐาน  ว  1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ของ โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง  ๆ  ของสิ่งมีชีวิตที่ ทำงานสัมพันธ์กันมีกระบวนการสืบเสาะความรู้  แนะนำ ความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต ตาราง
สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น  ป .4 - 6 สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ชั้น  ป .4 ชั้น  ป .5 ชั้น  ป .6 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ  1 -  การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับหน้าที่ของ ราก  ลำต้น  ใบ -  การสำรวจ  การสังเกต  ส่วนประกอบของ ดอก  และการสืบค้นข้อมูล  หน้าที่ของดอก -  การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการ เจริญเติบโตของพืช -  การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับหน้าที่ของราก  ลำต้น  ใบ -  การสำรวจ  การสังเกตส่วนประกอบของดอก  และการสืบค้นข้อมูล  หน้าที่ของดอก -  การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช -  การสำรวจ  การสังเกตและ  การอภิปรายพืชในท้องถิ่นที่ไม่มีดอกใบเลี้ยงเดี่ยวใบ  เลี้ยงคู่
สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น  ป .4 - 6 สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ชั้น  ป .4 ชั้น  ป .5 ชั้น  ป .6 -  การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการ สังเคราะห์ด้วยแสงของพืช -  การสำรวจ  การสังเกตเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงของพืชดอก  ตั้งแต่ต้นอ่อนจนมี ผล  และการดูแลรักษาพืช -  การทดลองเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อ สิ่งเร้า  เช่น  แสง  เสียง  สัมผัส  ฯลฯ -  การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช -  การสำรวจการสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพืชดอก  ตั้งแต่ต้นอ่อนจนมีผลและการดูแลรักษาพืช -  การทดลองเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า  เช่น  แสง  เสียง  สัมผัส  ฯลฯ
สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น  ป .4 - 6 สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ชั้น  ป .4 ชั้น  ป .5 ชั้น  ป .6 -  การสืบค้นและการอภิปรายเกี่ยวกับการ สืบพันธุ์ของพืชดอก -  การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับการ ขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการต่าง  ๆ  เช่น  ปักชำ  ตอนกิ่ง  ติดตา  ทาบกิ่ง -  การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ -  การสืบค้นและการอภิปรายเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของพืชดอกและการนำไปใช้ประโยชน์ -  การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการต่าง  ๆ  เช่น  ปักชำ  ตอนกิ่ง  ติดตา  ทาบกิ่ง  และการนำไปใช้ประโยชน์
สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น  ป .4 - 6 สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ชั้น  ป .4 ชั้น  ป .5 ชั้น  ป .6 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ  2 -  การสำรวจชีวิตสัตว์ในท้องถิ่นและ การสังเกตการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงรูปร่างในขณะเจริญเติบโต -  การสำรวจชีวิตสัตว์ในท้องถิ่นและการสังเกตการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในขณะเจริญเติบโต -  การสืบค้นข้อมูลการสำรวจและ  การสังเกตสัตว์ในท้องถิ่นที่ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูก  สันหลัง -  การสำรวจและการสังเกตลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมของคนในครอบครัวและพืช  สัตว์  ใกล้ตัว -  การสำรวจและการอภิปรายเกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะต่าง  ๆ  ของสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับการหายใจและการเคลื่อนที่
สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น  ป .4 - 6 สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ชั้น  ป .4 ชั้น  ป .5 ชั้น  ป .6 -  การสืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับการ สืบพันธุ์ของสัตว์และการนำความรู้ไปใช้ ในการขยายพันธุ์สัตว์และดูแลสัตว์ใน ท้องถิ่น -  การสำรวจและการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อ สิ่งแวดล้อม -  การสืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของสัตว์และการนำความรู้ไปใช้ในการขยายพันธุ์สัตว์และดูแลสัตว์ในท้องถิ่น -  การสำรวจและการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ  3  ...................................................................... ................................ ................................. ................................
3.  กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคจากมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  เป็นการจำแนกมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นออกเป็นผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของชั้น  ป .4  ป .5  และ  ป .6  ดังตัวอย่างต่อไปนี้ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคจากมาตรฐาน การเรียนรู้ช่วงชั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สาระที่  1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต มาตรฐาน  ว  1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ของ โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง  ๆ  ของสิ่งมีชีวิตที่ ทำงานสัมพันธ์กันมีกระบวนการสืบเสาะความรู้  แนะนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและ ดูแลสิ่งมีชีวิต ตาราง
สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น  ป .4 - 6 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ชั้น  ป .4 ชั้น  ป .5 ชั้น  ป .6 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ  1 -  สำรวจตรวจสอบ  สืบค้นข้อมูล  อภิปราย และอธิบายโครงสร้างและหน้าที่ต่าง  ๆ  ของ พืช  วัฎจักรชีวิตการสืบพันธุ์และการ ขยายพันธุ์ปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการ เจริญเติบโต  การสังเคราะห์ด้วยแสง  การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมและนำ ความรู้ไปใช้ประโยชน์ -  ทดลองและอธิบายหน้าที่ของราก  ลำต้น  ใบ -  เขียนภาพแสดงส่วนประกอบของดอกและอธิบายหน้าที่ของดอก -  ทดลองหาปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช -  ระบุพืชในท้องถิ่นที่มีดอก  ไม่มีดอก  ใบเลี้ยงเดี่ยว  ใบเลี้ยงคู่ -  อธิบายการสืบพันธุ์ของดอกและยกตัวอย่างการนำไปใช้
สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น  ป .4 - 6 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ชั้น  ป .4 ชั้น  ป .5 ชั้น  ป .6 -  ทดลองหาปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช -  อธิบายการเปลี่ยนแปลงของพืชดอก  ตั้งแต่ต้นอ่อนจนมีผล  และ -  การดูแลรักษาพืชที่ตนรับผิดชอบตั้งแต่ต้นอ่อนจนมีดอกมีผลพร้อมทั้งเขียนแผนภาพแสดงวัฎจักร  ของพืช -  ทดลองแสดงการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า  เช่น  แสง  เสียง  สัมผัส -  แสดงการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการต่าง  ๆ  เช่น  ปัก  ชำ  ตอนกิ่ง  ติดตา  ทาบกิ่ง
สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น  ป .4 - 6 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ชั้น  ป .4 ชั้น  ป .5 ชั้น  ป .6 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ  2 -  สำรวจตรวจสอบ  สืบค้นข้อมูล  อภิปราย และอธิบายการทำงานที่สัมพันธ์กันของ อวัยวะต่าง  ๆ  ของสัตว์  ปัจจัยบางประการ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตวัฎจักรชีวิต  การสืบพันธุ์พฤติกรรมของสัตว์  และ การนำความรู้ไปใช้ -  ระบุชื่อ  และชนิดของสัตว์ที่พบในท้องถิ่น  อธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในขณะเจริญเติบโต  รวมทั้งเขียนแผนภาพแสดง  วัฎจักรของสัตว์  เสนอแนะแนวทางอนุรักษ์สัตว์ในท้องถิ่น -  ระบุสัตว์ในท้องถิ่นที่ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลังและเสนอแนะแนวทางอนุรักษ์และแสดงความเมตตา  ต่อสัตว์ -  อธิบายและระบุลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมของคนในครอบครัวและ  พืช – สัตว์  ใกล้ตัว -  อธิบายการทำงานของอวัยวะต่าง  ๆ  ของสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับการหายใจและการเคลื่อนที่พร้อมทั้งเขียนแผนภาพประกอบ
สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น  ป .4 - 6 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ชั้น  ป .4 ชั้น  ป .5 ชั้น  ป .6 -  อธิบายการสืบพันธุ์ของสัตว์ยกตัวอย่างการนำความรู้ไปใช้ในการขยายพันธุ์สัตว์และดูแลสัตว์ในท้องถิ่น -  อธิบายพฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ  3 ...................................................................... ........................................ ..................................... .........................
4.  กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี  หรือรายภาค  เป็นการนำผลการกำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังมาสัมพันธ์กันเป็นรายปีหรือรายภาค  ดังตัวอย่างต่อไปนี้ กำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สาระที่  1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต มาตรฐาน  ว  1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ของ โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง  ๆ  ของสิ่งมีชีวิต ที่ทำงานสัมพันธ์กันมีกระบวนการสืบเสาะความรู้  แนะนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและ ดูแลสิ่งมีชีวิต ตาราง
สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค  ชั้น  ป .4  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค  ชั้น  ป .4 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ  1 1.  การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับหน้าที่ ของราก  ลำต้น  ใบ 2.  สำรวจ  การสังเกตส่วนประกอบของดอก และการสืบค้นข้อมูลหน้าที่ของดอก 3.  การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อ การเจริญเติบโตของพืช 4.  การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อ การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 1.  ทดลองและอธิบายหน้าที่ของราก  ลำต้น  ใบ 2.  เขียนภาพแสดงส่วนประกอบของดอกและอธิบายหน้าที่ของดอก 3.  ทดลองหาปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช 4.  ทดลองหาปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค  ชั้น  ป .4  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค  ชั้น  ป .4 5.  การสำรวจการสังเกตเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงของพืชดอกตั้งแต่ต้นอ่อนจนมีดอก  มีผล  และการดูแลรักษาพืช 6.  การทดลองเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อ สิ่งเร้า  เช่น  แสง  เสียง  สัมผัส 5.1  อธิบายการเปลี่ยนแปลงของพืชดอกตั้งแต่ต้นอ่อนจน มีดอกผล 5.2  ดูแลรักษาพืชที่ตนรับผิดชอบตั้งแต่ต้นอ่อนจนมีผลพร้อมทั้งเขียนแผนภาพแสดงวัฎจักรของพืช 6.  ทดลองแสดงการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า  เช่น  แสง  เสียง  สัมผัส มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ  2 1.  การสำรวจชีวิตของสัตว์ในท้องถิ่นและการสังเกต  การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ในขณะเจริญเติบโต 1.  ระบุชื่อและชนิดของสัตว์ที่พบในท้องถิ่น  การเปลี่ยนแปลงรูปร่างในขณะเจริญเติบโต  รวมทั้งเขียนแผนภาพแสดงวัฎจักรของสัตว์  เสนอแนะแนวทางอนุรักษ์สัตว์ในท้องถิ่น มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ  3 ................................................................................... .....................................................................................
เนื้อหา  4.6  การจัดทำคำอธิบายรายวิชา การจัดทำคำอธิบายรายวิชา  กระทำโดยการนำเอาผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือ รายภาค  สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค  รวมทั้งเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดใน เนื้อหา  5.4  และ  5.5  มาเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา  โดยให้ประกอบด้วย ชื่อรายวิชา  จำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิต  ผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ของรายวิชานั้น  ๆ   ซึ่ง สามารถเขียนคำอธิบายรายวิชาได้หลายรูปแบบ  เช่น รูปแบบที่  1   เขียนเป็นความเรียงเสนอภาพรวมของผลการเรียนรู้และสาระ  การเรียนรู้ทั้ง  3  ด้าน รูปแบบที่  2   เขียนแยกเป็น  2  ส่วน  ประกอบด้วย -  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  :  เขียนเป็นความเรียง  สรุปภาพรวมของผลการ   เรียนรู้ทั้ง  3  ด้าน -  สาระการเรียนรู้  :  เขียนเป็นความเรียงของขอบข่ายเนื้อหา รูปแบบที่  3   เขียนเป็นความเรียงประกอบด้วย  3  ส่วน  คือ -  ขอบข่ายกิจกรรมที่กำหนดกว้าง  ๆ สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ของรายวิชา -  ขอบข่ายเนื้อหาที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของรายวิชา
-  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างกว้าง  ๆ รูปแบบที่  4   เขียนเป็นความเรียงประกอบด้วย  4  ส่วน  คือ -  จุดประสงค์รายวิชาที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้รายวิชา -  ขอบข่ายสาระการเรียนรู้ -  กิจกรรมการเรียนรู้ -  วิธีการวัดและประเมินผล รูปแบบที่  5   เขียนแยกเป็น  2  ส่วน  ประกอบด้วย -  ผลการเรียนรู้  :  เขียนให้ครอบคลุมทั้ง  3  ด้าน  เป็นข้อ  ๆ  โดยไม่แยกด้าน -  สาระการเรียนรู้  เขียนเป็นข้อ  ๆ สำหรับคำอธิบายรายวิชามีแนวทางการกำหนดดังนี้  ชื่อรายวิชาของสาระการเรียนรู้ ให้ใช้ตามชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้  ส่วนชื่อรายวิชาที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มเติมสามารถ กำหนดตามความเหมาะสม  ทั้งนี้ต้องสื่อความหมายให้ชัดเจนมีความสอดคล้องกับสาระ การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชานั้น  ๆ
ตัวอย่าง   รายวิชาและคำอธิบายรายวิชาวิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 รายวิชา วิทยาศาสตร์  4 เวลา  120  ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา ศึกษาวิเคราะห์หน้าที่และส่วนประกอบของราก  ลำต้น  ใบ  ดอก  ปัจจัยบาง ประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช  การสังเคราะห์ด้วยแสง  การตอบสนอง ต่อสภาพแวดล้อมของพืช  พืช – สัตว์ในท้องถิ่น  การเจริญเติบโตและวัฎจักรชีวิตของ พืช – สัตว์  .................................................................................................................... โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจ  ตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย  เพื่อให้เกิดความรู้ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจ  นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  มีวิชาวิทยาศาสตร์  จริยธรรม  คุณธรรม  และค่านิยมที่เหมาะสม หมายเหตุ เนื่องจากการวิเคราะห์และกำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่ คาดหวังรายปีหรือรายภาคในเอกสารนี้ไม่ครบสมบูรณ์ทุกมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  ป .4 – 6  ดังนั้นคำอธิบายรายวิชาข้างต้นจึงมีสาระการเรียนไม่สมบูรณ์เพียงให้เห็น แนวทางเท่านั้น
เนื้อหา  4.7  การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้  โดยการนำเอาสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคที่ กำหนดไว้ไปบูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อย  ๆ  เพื่อความสะดวกในการจัดการ เรียนรู้และผู้เรียนได้เรียนในลักษณะองค์รวม  หน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยประกอบด้วย ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  สาระการเรียนรู้และจำนวนเวลาสำหรับการจัดการเรียนรู้  ซึ่ง เมื่อเรียนครบทุกหน่วยย่อยแล้ว  ผู้เรียนสามารถบรรลุผลตามการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี หรือรายภาคของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้  อาจบูรณาการทั้งภายในและระหว่างกลุ่มสาระการ เรียนรู้หรือเป็นการบูรณาการเฉพาะเรื่องตามลักษณะการเรียนรู้หรือเป็นการบูรณาการที่ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน  โดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้ที่มีความเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กับการเรียนรู้สำหรับหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น  สถานศึกษาต้องจัดการ ให้ผู้เรียนได้เรียนโดยการปฏิบัติโครงงานอย่างน้อย  1  โครงงาน
ตัวอย่าง หน่วยการเรียนรู้ วิชา  วิทยาศาสตร์  4 ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 หน่วยการเรียนรู้  4  หน่วย เวลา  120  ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ที่  ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เวลา  ( ชั่วโมง ) 1 2 การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต -  หน้าที่และส่วนประกอบของราก  ลำต้น  ใบ  ดอก -  ปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช -  การสังเคราะห์ด้วยแสง -  การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของพืช -  พืช – สัตว์ในท้องถิ่น -  การเจริญเติบโตและวัฎจักรชีวิตของ  พืช – สัตว์ ....................................................................................... 40
สรุปแนวความคิดต่อเนื่องประจำหน่วย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช  2542  มาตรา  27  กำหนดให้มี หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศเป็นหลักการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศ เป็นหลักสูตรแกนกลาง  สถานศึกษาต้องไปจัดทำหลักสูตรที่บูรณาการหลักสูตรแกน กลางกับสภาพท้องถิ่นของสถานศึกษาจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรสถานศึกษาจึงเป็นหลักสูตรที่เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นและ สนองความถนัด  ความสนใจของผู้เรียน ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีหลายขั้นตอน  ขั้นตอนที่สำคัญ  คือการจัด ทำสาระหลักสูตรสถานศึกษา ขั้นตอนแรกของการจัดทำสาระหลักสูตรสถานศึกษา  ได้แก่  การศึกษาข้อมูล สารสนเทศของสถานศึกษา  รวมทั้งข้อมูลสนเทศของชุมชน  ท้องถิ่นที่สถานศึกษาอยู่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดรายละเอียดของขั้นตอนต่อ  ๆ  ไป
หลังจากรวบรวมสารสนเทศของสถานศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะเด่นที่แสดงจุดแข็ง จุดอ่อน  โอกาสและอุปสรรคจากข้อมูลที่ได้แล้ว  คณะกรรมการสถานศึกษาที่รับผิดชอบ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาจะกำหนดวิสัยทัศน์  ภารกิจ  เป้าหมาย  คุณลักษณะที่พึง ประสงค์ จากนั้นจะวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นเอาหลักสูตรแกนกลางออกมาเป็น สาระการเรียนรู้ช่วงชั้น  ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ที่กำหนดในขั้นนี้เป็นสาระการรู้  3  ชั้นเรียน  จึงวิเคราะห์ต่อไป  โดย จำแนกเป็นสาระการเรียนรู้แต่ละชั้นปี  ซึ่งทำให้เริ่มมองออกแล้วว่าแต่ละปีควรสอนสาระ การเรียนรู้ใดบ้าง หลังจากนั้นย้อนกลับมาวิเคราะห์แต่ละมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  (3  ปี )  อีกครั้ง โดยจำแนกออกเป็นผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคได้เป็นแต่ละปี
จากที่ได้ดำเนินการมาแล้วจะสามารถจับคู่ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า

More Related Content

What's hot

1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)Tophit Sampootong
 
คู่มือการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน ปี 2561
คู่มือการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน ปี 2561คู่มือการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน ปี 2561
คู่มือการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน ปี 2561สภานักเรียน ส.ป. samutprakanstudentcouncil
 
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพปกรณ์กฤช ออนไลน์
 
5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok
5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok
5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพokTophit Sampootong
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8kanwan0429
 
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นLathika Phapchai
 
Qa education
Qa educationQa education
Qa educationpratanago
 

What's hot (15)

1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)
 
คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักศิลปะและัวัฒนธรรม ปีการศึกษา 2556
คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักศิลปะและัวัฒนธรรม ปีการศึกษา 2556คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักศิลปะและัวัฒนธรรม ปีการศึกษา 2556
คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักศิลปะและัวัฒนธรรม ปีการศึกษา 2556
 
บทที่ 2
บทที่ 2 บทที่ 2
บทที่ 2
 
Plan 4
Plan 4Plan 4
Plan 4
 
คู่มือการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน ปี 2561
คู่มือการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน ปี 2561คู่มือการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน ปี 2561
คู่มือการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน ปี 2561
 
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
 
5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok
5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok
5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
ก.ค.ศ.3
ก.ค.ศ.3ก.ค.ศ.3
ก.ค.ศ.3
 
จุดเน้นที่ 2
จุดเน้นที่  2จุดเน้นที่  2
จุดเน้นที่ 2
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
 
Qa education
Qa educationQa education
Qa education
 
แผนพัฒนา 61 ส่วนที่ 1บทนำ
แผนพัฒนา 61 ส่วนที่ 1บทนำแผนพัฒนา 61 ส่วนที่ 1บทนำ
แผนพัฒนา 61 ส่วนที่ 1บทนำ
 

Similar to การกินอย่างมีคุณค่า

บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8nattawad147
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8benty2443
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8wanneemayss
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1khuwawa
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7kanwan0429
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7kanwan0429
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8kanwan0429
 
หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑rampasri
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมAiphie Sonia Haji
 
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55Montree Jareeyanuwat
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7benty2443
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7nattawad147
 

Similar to การกินอย่างมีคุณค่า (20)

บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
 
4 ตอน4 sar55
4 ตอน4 sar554 ตอน4 sar55
4 ตอน4 sar55
 
4 ตอน4 sar57
4 ตอน4 sar574 ตอน4 sar57
4 ตอน4 sar57
 
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 

การกินอย่างมีคุณค่า

  • 1. หน่วยที่ 4 การจัดทำสาระหลักสูครสถานศึกษา 1. ที่มาของหลักสูตรสถานศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 27 กล่าวว่า ให้คณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่ทำสาระหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรค หนึ่งส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ จากมาตรา 27 ดังกล่าวข้างต้นผู้รับผิดชอบในการจัดหลักสูตรจึงมี 2 ระดับได้แก่ ระดับชาติให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางส่วนระดับท้องถิ่นให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำสาระหลักสูตรที่เกี่ยวกับท้องถิ่นสถานศึกษาทุกแห่งจึงต้องจัดทำหลักสูตรที่เหมาะสมกับท้องถิ่น ซึ่งเรียกว่า “หลักสูตรสถานศึกษา” ดังแผนภูมิที่ 19 เนื้อหา 4.1 ความหมายและความสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา
  • 2.  
  • 3.
  • 4. สถานศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน ท้องถิ่น วัดหน่วย งานและสถานศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตรสองประการ ซึ่งจุดมุ่งหมายทั้งสองประการนี้ให้แนวทางที่สำคัญซึ่ง สถานศึกษาต้องพัฒนาหลักสูตรภายในบริบทและแนวทางนั้น ๆ ดังนี้ 1. หลักสูตรสถานศึกษาควรพัฒนาให้เด็กเกิดความสนุกสนานและความ เพลิดเพลินในการเรียนรู้เปรียบเสมือนเป็นวิธีสร้างกำลังใจและเร้าใจให้เกิดความ ก้าวหน้าแก่ผู้เรียนให้ได้มากที่สุด มีความรู้สูงสุด สำหรับผู้เรียนทุกคน ควรสร้าง ความเข้มแข็ง ความสนใจ และประสบการณ์ให้ผู้เรียนและพัฒนาความมั่นใจ ให้ เรียนและทำงานอย่างเป็นอิสระและร่วมใจกัน ควรให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ สำคัญ ๆ ในการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น ได้ข้อมูลสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสื่อสาร ส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้ อยากเห็น และมีกระบวนการคิดอย่างมี เหตุผล
  • 5. 2. หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม สังคม วัฒนธรรม และโดยเฉพาะพัฒนาหลักการในการจำแนกระหว่างถูกและผิด เข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อตัวบุคคลและสังคม หลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนา หลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียนและช่วยให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สามารถช่วยพัฒนา สังคมให้เป็นธรรมขึ้น มีความเสมอภาค ควรพัฒนาความตระหนัก เข้าใจ และยอมรับสภาพแวดล้อม ที่ตนดำรงชีวิตอยู่ ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับส่วนตน ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก หลักสูตรสถานศึกษาควรสร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ ตัดสินใจแบบมีข้อมูลและเป็นอิสระและเข้าใจในความรับผิดชอบ สำหรับกระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษานั้น แบ่งออกได้ หลายขั้นตอนแต่ใน เอกสารนี้ จะขอกล่าวถึงขั้นตอนของการจัดทำสาระหลักสูตรสถานศึกษาเท่านั้นดังต่อไปนี้ 1. การศึกษาข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา 2. กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3. กำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 4. กำหนดสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ความหวังรายปี หรือรายภาค 5. กำหนดคำอธิบายรายวิชา 6. กำหนดหน่วยการเรียนรู้
  • 6. เนื้อหา 4.2 การศึกษาข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา จะเป็นข้อมูลที่ทำให้มองเห็นสภาพปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาได้แก่ ชุมชน ท้องถิ่น ตลอดจนบุคลากรต่าง ๆ ใน ด้านต่าง ๆ วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2545 : 29 ) กล่าวว่าสถานศึกษาควรดำเนินการตั้งคณะ ทำงานศึกษาสภาพของสถานศึกษา แล้วดำเนินตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. วางแผนเก็บรวบรวมข้อมูล 2. เก็บรวบรวมข้อมูล จากแหล่งที่มีอยู่แล้ว เช่น เอกสารหลักฐาน ที่ปรากฏ สภาพบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นที่ศึกษา 3. ประมวลข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ แล้วเรียบเรียงตามประเด็น ที่ศึกษา 4. ตรวจสอบความถูกต้อง ครอบคลุม เพียงพอ ให้รวบรวมเพิ่มเติม หรือปรับปรุงแก้ไข
  • 7. 5. เสนอผลการศึกษาต่อผู้เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจและ ยอมรับร่วมกันหากมีประเด็นเสนอแนะเพิ่มเติม ให้ทบทวน ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม นอกจากนี้ยังเสนอแนะข้อมูลที่ควรได้ดำเนินการศึกษาและรวบรวมดังนี้ ( วัฒนาพร ระงับทุกข์ , 2545 : 76 – 77 ) 1. ข้อมูลทั่วไปและสภาพแวดล้อมของโรงเรียน เป็นข้อมูล เกี่ยวกับความเป็นมาของโรงเรียน พัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เกียรติ ประวัติ ความสำเร็จในการจัดการศึกษา สัญลักษณ์ ค่านิยม ปรัชญา ที่ตั้ง โรงเรียน 2. ข้อมูลด้านการบริหารจัดการของโรงเรียน เป็นข้อมูล เกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการ อาคารเรียน สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องเรียน ห้องพิเศษ ห้องบริการ ห้องสมุด สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี และแหล่งการ เรียนรู้ ทั้งในและนอกโรงเรียน
  • 8. 3. ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน เป็นข้อมูลจำนวนนักเรียน สภาพตัวป้อน ในเขตพื้นที่บริการ อัตราการเข้าเรียนย้อนหลัง 3 ปี อัตราการจบการศึกษา อัตรา การเรียนต่อประกอบอาชีพของนักเรียนที่จบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนย้อนหลัง 3 ปี จำแนกเป็นระดับชั้น รายวิชา และภาพรวมของโรงเรียน ผลการประเมินคุณภาพของ นักเรียนตามมาตรฐาน คุณภาพการศึกษาและตัวชี้วัด ความถนัด และความสนใจทาง การเรียนของนักเรียน ความต้องการ และความคาดหวังของนักเรียนที่มีต่อการจัด หลักสูตร และการเรียนการสอนของโรงเรียน 4. ข้อมูล เกี่ยวกับครู อาจารย์ บุคลากร เป็นข้อมูลด้านอัตรากำลัง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ อายุเฉลี่ย อัตราครูต่อนักเรียนความสามารถพิเศษ และ ศักยภาพที่เป็นจุดเด่น การได้รับการอบรมในด้านต่าง ๆ ในรอบ 2 ปี ที่ผ่านมา ความ คาดหวังของครูอาจารย์ และบุคลากรที่มีต่อนักเรียน และการจัดการศึกษาของโรงเรียน 5. ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาศิษย์เก่า สภาพสังคมในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ( ประชากร ครอบครัว วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม อาชีพ สุขภาพอนามัย เพศศึกษา การเมือง ) สภาพเศรษฐกิจ ( รายได้ การ กระจายรายได้ การมีงานทำ ) ลักษณะของความร่วมมือหรือการสนับสนุนของ
  • 9. กลุ่มบุคคลที่มีผลต่อการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของ โรงเรียน บุคคลหรือองค์กรผู้สนับสนุน ความต้องการและความคาดหวังของผู้ปกครอง กรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศิษย์เก่าและชุมชนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน ข้อมูลสารสนเทศที่เก็บรวบรวมได้ดังกล่าวเมื่อนำมาวิเคราะห์สถานศึกษา จะ ทราบถึง จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบโอกาสที่จะดำเนินการได้และ อุปสรรคหรือปัจจัยคุกคามการดำเนินงาน สถานศึกษา สามารถนำผลวิเคราะห์นี้มากำหนด รายละเอียดตามขั้นตอน การกำหนด สาระหลักสูตรสถานศึกษา เช่น วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โครงสร้างหลักสูตร เวลาเรียน สาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของสถานศึกษาต่อไป
  • 10. สถานศึกษาจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อมองอนาคตว่า โลกและสังคม รอบ ๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และสถานศึกษาจะต้องปรับคัว ปรับหลักสูตร อย่างไร จึงจะพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับยุคสมัย ในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์ ซึ่งทำได้โดยอาศัยความร่วมมือของชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ผู้เรียน ภาคธุรกิจ ภาครัฐในชุมชน ร่วมกันกับคณะกรรมการสถานศึกษา แสดงความประสงค์อันสูงส่งหรือวิสัยทัศน์ที่ปรารถนาให้สถานศึกษาเป็นสถาบันพัฒนา ผู้เรียนที่มีพันธกิจหรือภาระหน้าที่ร่วมกันในการกำหนดงานหลักที่สำคัญ ๆ ของสถานศึกษา พร้อมด้วยเป้าหมาย แผนปฏิบัติการและการติดตามผล ตลอดจนจัดทำรายงาน แจ้งสาธารณชน และส่งผลย้อนกลับให้สถานศึกษา เพื่อการปฏิบัติงานที่เหมาะสมตามหลักสูตรของสถานศึกษา และจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติที่กำหนดไว้ เนื้อหา 4.3 การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์
  • 11. กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์ โดยอาศัยบุคคลต่าง ๆ เข้าไปมีส่วนร่วมนี้ เป็นกระบวนการที่มีพลังผลักดันให้แผนกลยุทธ์ที่สถานศึกษาสร้างขึ้นดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีทิศทางก่อให้เกิดเจตคติในทางสังคมที่สร้างสรรค์ดีงามแก่สังคมของสถานศึกษา มีระบบและหน่วยสนับสนุนในการปฏิบัติงานเกิดขึ้นอย่างเป็นเครือขายเพียบพร้อมเช่น ระบบคุณภาพระบบหลักสูตร สาระการเรียนรู้ การเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ การวัดประเมินผล การติดตาม การรายงานฐานข้อมูลการเรียนรู้ การวิจัยแบบมีส่วนร่วม มีระบบสนับสนุนครูอาจารย์ เป็นต้น กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์ด้วยวิธี ดังกล่าวนี้จะนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การกำหนดสาระการเรียนรู้หรือตัวข้อเรื่องในท้องถิ่นสนองตอบความต้องการของชุมชน วิสัยทัศน์ - เป็นเจตนารมณ์ อุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ อนาคตที่พึงประสงค์ เป็นการคิดไปข้างหน้า มีเอกลักษณ์ - สามารถสร้างศรัทธา และจุดประกายความคิดในสภาพการพัฒนาสูงสุด
  • 12. ภารกิจ แสดงวิธีดำเนินการของสถานศึกษาเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และนำไปสู่การ วางแผนปฏิบัติต่อไป เป้าหมาย กำหนดเป็นความคาดหวังด้านคุณภาพที่เกิดกับผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ ที่สถานศึกษากำหนดและสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาต้องร่วมกับชุมชน กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็น เป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
  • 13. คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่สถานศึกษาจะกำหนดในคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ นั้น สามารถกำหนดขึ้นได้ตามความต้องการ โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความจำเป็นที่จะต้องมีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมดังกล่าวให้แก่ ผู้เรียน เพิ่มจากที่กำหนดไว้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ในแต่ละภาคเรียนหรือปีการศึกษา ครูผู้สอนต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผล ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของของผู้เรียน โดยเป็นการประเมินเชิงวินิจฉัยเพื่อการ ปรับปรุงพัฒนาและการส่งต่อ ทั้งนี้ ควรประสานสัมพันธ์กับนักเรียน ผู้ปกครอง และ ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รายปี หรือรายภาค
  • 14. ตัวอย่าง วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ วิสัยทัศน์ ภารกิจ วิสัยทัศน์ ภารกิจ 1. จัดหลักสูตรสถานศึกษา ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร แกนกลาง และเสริมสาระการเรียนรู้ที่มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ เช่น ด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา “ เป็นสถานศึกษาที่ชุมชนและรัฐร่วมใจกันจัดหลักสูตร เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันอบายมุขด้วยกิจกรรม เชิงสร้างสรรค์ นักเรียนมีจริยธรรม ค่านิยมที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความรู้ ความคิด ทักษะ ความสามารถ พื้นฐานทางวิชาการ และอาชีพ เพียงพอที่จะดำรงชีวิตแบบพอเพียง” 1. จัดหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ ของหลักสูตรแกนกลางและบูรณาการสาระการเรียนรู้ที่สนองการแก้ปัญหาความต้องการชุมชนและผู้เรียน “ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยามุ่งความเป็นเลิศ ทางวิชาการคู่คุณธรรมและความเป็นไทย พร้อมสนอง ความถนัดความสนใจ ผู้เรียนแต่ละบุคคลเต็มตามศักยภาพ มีการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ในโรงเรียนระบบการพัฒนาบุคลากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อเอื้ออำนวยให้ผู้เรียน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น มีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข”
  • 15. โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา 2. จัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเน้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยรีบด่วนเป็นลำดับต้น 3. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเน้นกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และตามความถนัด ความสนใจอย่างหลากหลาย โดยความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่าย ทั้งภายในและนอกสถานศึกษา 4. ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตทั้งโดยสอดแทรกในกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 5. ส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรม ค่านิยม ที่พึงประสงค์ด้วยวิธีการเชิงบวกและสร้างสรรค์ในหลายรูปแบบเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 2. จัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยระบบการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยและผ่านการศึกษาวิจัยมาดีแล้ว 3. จัดสร้างและพัฒนาห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยเหมาะสมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยแก่ผู้เรียนและผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. จัดโครงสร้างของหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนาความถนัด ความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนในการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนสนใจและส่งเสริมด้านกิจกรรมผู้เรียน 5. ส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ที่พึงประสงค์ด้วยกิจกรรมหลายรูปแบบเพื่อการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข
  • 16. โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา 6. จัดการเรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียนทั้งวิชาการและอาชีพตามสภาพผู้เรียนและชุมชนโดยเน้นเศรษฐกิจพอเพียง 7. จัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมเสริมเพื่อสร้างสุขภาพกายและจิตให้สมบูรณ์ 8. พัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาให้ทำงานในหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ 9. ประสานความร่วมมือกับบุคลากรและองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา 10. จัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของสถานศึกษา เช่น อาคาร ห้องเรียน สิ่งแวดล้อมของโรงเรียน เป็นต้น ให้มีบรรยากาศน่าอยู่ น่าเรียน 6. จัดกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นไทย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 7. จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางกายและทางจิตดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 8. จัดระบบการพัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 9. ร่วมมือกับชุมชน องค์กรภายนอกสถานศึกษาในการพัฒนากิจการของสถานศึกษา 10. จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในสถานศึกษาให้เป็นที่ประทับใจของนักเรียน ครูและบุคคลทั่วไป
  • 17. เป้าหมาย เป้าหมาย โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 1. เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม สามารถเป็นภูมิคุ้มกันตนเองจากอบายมุขได้ ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ 2. ใฝ่รู้มีทักษะและกระบวนการในการเรียนรู้ แก้ปัญหา เผชิญสถานการณ์และทักษะในการดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข 3. มีความรู้ความสามารถและศักยภาพสูงสุด ตามวัย ทั้งด้านวิชาการและอาชีพ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1. เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ 2. มีความคิดสร้างสรรค์ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน การเขียน รักการค้นคว้า มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการแสวงหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ดี 3. มีความรู้อันเป็นสากล โดยเฉพาะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ มีทักษะเฉพาะด้านความถนัด ความสนใจ เต็มศักยภาพ
  • 18. โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา 4. มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยมในการผลิตมากกว่าการบริโภคเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอ 5. มีค่านิยมที่ดีต่อการรักษาสุขภาพกายและจิต ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี 6. ภูมิใจในความเป็นไทย รักชุมชน มุ่งพัฒนาสิ่งที่ดีงามแก่ชุมชน เป็นพลเมืองดี ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 7. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ภาษา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม 4. มีทักษะชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข 5. มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค 6. ภูมิใจในความเป็นไทย รักชุมชน เป็นพลเมืองดี ยึดมั่น ในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 7. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม 8. รักประเทศชาติและท้องถิ่น มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้แก่สังคม
  • 19. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โรงเรียนชุมชนแออัดรัฐร่วมใจ โรงเรียนธนล้ำเลิศวิทยา ซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร มีวินัย เสียสละ สามัคคี และมีความรับผิดชอบ 1. ใฝ่รู้ สู้งาน 2. มีระเบียบวินัย มีความเสียสละและสามัคคี 3. มีความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน และรับผิดชอบ
  • 20. เนื้อหา 4.4 การกำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา หลังจากการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แล้ว สถานศึกษาจะต้องกำหนดโครงสร้างหลักสูตร ซึ่งเป็นการกำหนดเวลาเรียนของ ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างชัดเจน เพื่อจะได้นำไปสู่การกำหนดเวลาเรียนของ แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้แต่ละชั้นปี โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย 1. จำนวนชั่วโมงหรือหน่วยกิตของกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐานแต่ละชั้นปี 2. จำนวนชั่วโมงหรือหน่วยกิตของกลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมแต่ละชั้นปี 3. จำนวนชั่วโมงของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปี วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2545 : 80 - 92 ) กล่าวว่า การกำหนดโครงสร้างหลักสูตร สถานศึกษาเป็นการนำแนวการจัดหลักสูตรและเวลาเรียนของแต่ละช่วงชั้นที่หลักสูตร แกนกลางกำหนดไว้ มาพิจารณาเพื่อจัดโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความ ครบถ้วน ครอบคลุมทุกมาตรฐานการเรียนรู้ สนองจุดเน้นตามวิสัยทัศน์ ภารกิจ
  • 21. และเป้าหมาย ของสถานศึกษา และสอดคล้องกับข้อมูลสารสนเทศและชุมชนท้องถิ่น จำแนกเป็นขั้นตอนในการจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาได้ดังนี้ 1. กำหนดเวลาเรียนของช่วงชั้นที่รับผิดชอบ โดยพิจารณากรอบเวลาเรียนของ หลักสูตรแกนกลาง ซึ่งกำหนดขอบเขตเวลา โดยประมาณ เช่น ป .1 – 3 และ ป .4 – 6 เวลาเรียนกำหนดไว้ 800 – 1,000 ชั่วโมงต่อปี โรงเรียนจะกำหนดเท่าใดต้องพิจารณา ปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการกำหนดเวลาเรียนด้วย ได้แก่ วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา เวลาที่ ต้องใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุมาตรฐานของสาระการเรียนรู้พื้นฐานความรู้ ความสามารถของผู้เรียน ศักยภาพของโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น โดย พิจารณาแล้วอาจกำหนดว่า ชั้น ป .1- 3 จะใช้เวลาเรียนประมาณ 800 ชั่วโมง ป .4 – 6 1,000 ชั่วโมง เนื่องจากผู้เรียนต้องการเลือกเรียนเพิ่มเติมในบางรายวิชาที่สนใจ เป็นต้น 2. กำหนดสัดส่วนการจัดเวลาเรียนระหว่างสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มกับกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน ขั้นตอนในการพิจารณาว่า 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้จะเรียนร้อยละเท่าใด กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนร้อยละเท่าใด เช่น ป .4 – 6 กำหนดเวลาเรียน 1,000 ชั่วโมง สัดส่วนระหว่างสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม กับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็น 80 : 20 ดังนั้น จึงกำหนดให้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 800 ชั่วโมง กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 200 ชั่วโมง เป็นต้น
  • 22. 3. กำหนดสัดส่วนการจัดการเรียนระหว่างสาระการเรียนรู้พื้นฐานกับสาระการ เรียนรู้เพิ่มเติม การพิจารณาสัดส่วนนี้ก็เช่นเดียวกับ ข้อ 2 และ ข้อ 1 ที่นำปัจจัยที่มี ผลในการกำหนดเวลาเรียนตามที่กล่าวในข้อ 1 มาพิจารณา เช่น ชั้น ป .4 – 6 ให้เวลา เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็น 80 : 20 หรือ 800 ชั่วโมง ต่อ 200 ชั่วโมง เมื่อมาพิจารณาสัดส่วนของกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐานต่อสาระการ เรียนรู้เพิ่มเติม เป็น 80 : 20 เวลาเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 800 ชั่วโมง จึงเป็น เวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐานเป็น 640 ชั่วโมง กลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เป็น 160 ชั่วโมง 4. กำหนดเวลาเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้พื้นฐานซึ่ง ต้องคำนึงถึงข้อเสนอในหลักสูตรแกนกลางที่ได้กำหนดสัดส่วนเวลาของแต่ละกลุ่ม สาระการเรียนรู้ด้วยประกอบกับ ปัจจัยต่าง ๆ ในข้อ 1 5. กำหนดการเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้และสาระที่ควรจัดเพิ่มเติมให้กับผู้เรียนตามระดับ ความยากง่าย ความเข้มของสาระที่จัดเพิ่มเติม
  • 23.
  • 24.
  • 25.
  • 26.
  • 27. เนื้อหา 4.5 การกำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค การกำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคจากหลักสูตรแกนกลางมีขั้นตอน ดังนี้ 1. การกำหนดสาระการเรียนรู้ช่วงชั้นจากมาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นเป็นการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จากหลักสูตรแกนกลางว่าใน 3 ชั้น นั้น มีสาระการเรียนรู้ใดบ้างที่ควรจะจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนแต่ละชั้นอย่างเหมาะสม ดังตัวอย่างต่อไปนี้ กำหนดสาระการเรียนรู้ช่วงชั้นจากมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะความรู้ แนะนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต ตาราง
  • 28. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ป .4 - 6 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ป .4 - 6 1. สำรวจ ตรวจสอบ สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายโครงสร้างและหน้าที่ของพืช วัฎจักรชีวิต การสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์พืช ปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และสังเคราะห์ด้วยแสง การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ - การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ - การสำรวจ การสังเกต ส่วนประกอบของดอกและการสืบค้นข้อมูลหน้าที่ของดอก - การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช - การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช - การสำรวจ การสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพืชดอก ตั้งแต่ต้นอ่อนจนมีดอก มีผล และการดูแลรักษาพืช - การทดลองเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง สัมผัส ฯลฯ
  • 29. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ป .4 - 6 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ป .4 - 6 2. สำรวจตรวจสอบสืบค้นข้อมูลอภิปรายและอธิบายการทำงานที่สัมพันธ์กันของอวัยวะต่าง ๆ ของสัตว์ ปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต วัฎจักรชีวิต การสืบพันธุ์ พฤติกรรมของสัตว์ และการนำความรู้ไปใช้ 3. ....................................................... - การสืบค้นข้อมูลและการอภิปรายเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของพืชดอก - การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ปักชำ ตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง - การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ - การสำรวจชีวิตสัตว์ในท้องถิ่น และการสังเกต การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในขณะเจริญเติบโต - การสืบค้นข้อมูลและการอภิปรายเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของสัตว์และนำความรู้ไปใช้ในการขยายพันธุ์สัตว์ และดูแลสัตว์ในท้องถิ่น - การสำรวจและสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม ................................................................................
  • 30. 2. กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค จากสาระการเรียนรู้ช่วงชั้น เป็นการนำสาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่วิเคราะห์จากข้อ 1 มาจำแนกเป็นสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ดังตัวอย่างในข้อ 1 ก็นำมาจำแนกเป็นสาระการเรียนรู้ของชั้น ป .4 ป .5 และ ป .6 ดังตัวอย่างต่อไปนี้ กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคจากสาระการเรียนรู้ช่วงชั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของ โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ ทำงานสัมพันธ์กันมีกระบวนการสืบเสาะความรู้ แนะนำ ความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต ตาราง
  • 31. สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น ป .4 - 6 สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ชั้น ป .4 ชั้น ป .5 ชั้น ป .6 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ 1 - การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับหน้าที่ของ ราก ลำต้น ใบ - การสำรวจ การสังเกต ส่วนประกอบของ ดอก และการสืบค้นข้อมูล หน้าที่ของดอก - การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการ เจริญเติบโตของพืช - การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ - การสำรวจ การสังเกตส่วนประกอบของดอก และการสืบค้นข้อมูล หน้าที่ของดอก - การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช - การสำรวจ การสังเกตและ การอภิปรายพืชในท้องถิ่นที่ไม่มีดอกใบเลี้ยงเดี่ยวใบ เลี้ยงคู่
  • 32. สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น ป .4 - 6 สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ชั้น ป .4 ชั้น ป .5 ชั้น ป .6 - การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการ สังเคราะห์ด้วยแสงของพืช - การสำรวจ การสังเกตเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงของพืชดอก ตั้งแต่ต้นอ่อนจนมี ผล และการดูแลรักษาพืช - การทดลองเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อ สิ่งเร้า เช่น แสง เสียง สัมผัส ฯลฯ - การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช - การสำรวจการสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพืชดอก ตั้งแต่ต้นอ่อนจนมีผลและการดูแลรักษาพืช - การทดลองเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง สัมผัส ฯลฯ
  • 33. สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น ป .4 - 6 สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ชั้น ป .4 ชั้น ป .5 ชั้น ป .6 - การสืบค้นและการอภิปรายเกี่ยวกับการ สืบพันธุ์ของพืชดอก - การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับการ ขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ปักชำ ตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง - การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ - การสืบค้นและการอภิปรายเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของพืชดอกและการนำไปใช้ประโยชน์ - การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ปักชำ ตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง และการนำไปใช้ประโยชน์
  • 34. สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น ป .4 - 6 สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ชั้น ป .4 ชั้น ป .5 ชั้น ป .6 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ 2 - การสำรวจชีวิตสัตว์ในท้องถิ่นและ การสังเกตการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงรูปร่างในขณะเจริญเติบโต - การสำรวจชีวิตสัตว์ในท้องถิ่นและการสังเกตการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในขณะเจริญเติบโต - การสืบค้นข้อมูลการสำรวจและ การสังเกตสัตว์ในท้องถิ่นที่ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูก สันหลัง - การสำรวจและการสังเกตลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมของคนในครอบครัวและพืช สัตว์ ใกล้ตัว - การสำรวจและการอภิปรายเกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับการหายใจและการเคลื่อนที่
  • 35. สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น ป .4 - 6 สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ชั้น ป .4 ชั้น ป .5 ชั้น ป .6 - การสืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับการ สืบพันธุ์ของสัตว์และการนำความรู้ไปใช้ ในการขยายพันธุ์สัตว์และดูแลสัตว์ใน ท้องถิ่น - การสำรวจและการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อ สิ่งแวดล้อม - การสืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของสัตว์และการนำความรู้ไปใช้ในการขยายพันธุ์สัตว์และดูแลสัตว์ในท้องถิ่น - การสำรวจและการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ 3 ...................................................................... ................................ ................................. ................................
  • 36. 3. กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคจากมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น เป็นการจำแนกมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นออกเป็นผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของชั้น ป .4 ป .5 และ ป .6 ดังตัวอย่างต่อไปนี้ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคจากมาตรฐาน การเรียนรู้ช่วงชั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของ โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ ทำงานสัมพันธ์กันมีกระบวนการสืบเสาะความรู้ แนะนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและ ดูแลสิ่งมีชีวิต ตาราง
  • 37. สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น ป .4 - 6 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ชั้น ป .4 ชั้น ป .5 ชั้น ป .6 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ 1 - สำรวจตรวจสอบ สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายโครงสร้างและหน้าที่ต่าง ๆ ของ พืช วัฎจักรชีวิตการสืบพันธุ์และการ ขยายพันธุ์ปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการ เจริญเติบโต การสังเคราะห์ด้วยแสง การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมและนำ ความรู้ไปใช้ประโยชน์ - ทดลองและอธิบายหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ - เขียนภาพแสดงส่วนประกอบของดอกและอธิบายหน้าที่ของดอก - ทดลองหาปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช - ระบุพืชในท้องถิ่นที่มีดอก ไม่มีดอก ใบเลี้ยงเดี่ยว ใบเลี้ยงคู่ - อธิบายการสืบพันธุ์ของดอกและยกตัวอย่างการนำไปใช้
  • 38. สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น ป .4 - 6 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ชั้น ป .4 ชั้น ป .5 ชั้น ป .6 - ทดลองหาปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช - อธิบายการเปลี่ยนแปลงของพืชดอก ตั้งแต่ต้นอ่อนจนมีผล และ - การดูแลรักษาพืชที่ตนรับผิดชอบตั้งแต่ต้นอ่อนจนมีดอกมีผลพร้อมทั้งเขียนแผนภาพแสดงวัฎจักร ของพืช - ทดลองแสดงการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง สัมผัส - แสดงการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ปัก ชำ ตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง
  • 39. สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น ป .4 - 6 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ชั้น ป .4 ชั้น ป .5 ชั้น ป .6 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ 2 - สำรวจตรวจสอบ สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายการทำงานที่สัมพันธ์กันของ อวัยวะต่าง ๆ ของสัตว์ ปัจจัยบางประการ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตวัฎจักรชีวิต การสืบพันธุ์พฤติกรรมของสัตว์ และ การนำความรู้ไปใช้ - ระบุชื่อ และชนิดของสัตว์ที่พบในท้องถิ่น อธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในขณะเจริญเติบโต รวมทั้งเขียนแผนภาพแสดง วัฎจักรของสัตว์ เสนอแนะแนวทางอนุรักษ์สัตว์ในท้องถิ่น - ระบุสัตว์ในท้องถิ่นที่ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลังและเสนอแนะแนวทางอนุรักษ์และแสดงความเมตตา ต่อสัตว์ - อธิบายและระบุลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมของคนในครอบครัวและ พืช – สัตว์ ใกล้ตัว - อธิบายการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับการหายใจและการเคลื่อนที่พร้อมทั้งเขียนแผนภาพประกอบ
  • 40. สาระการเรียนรู้ ช่วงชั้น ป .4 - 6 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ชั้น ป .4 ชั้น ป .5 ชั้น ป .6 - อธิบายการสืบพันธุ์ของสัตว์ยกตัวอย่างการนำความรู้ไปใช้ในการขยายพันธุ์สัตว์และดูแลสัตว์ในท้องถิ่น - อธิบายพฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ 3 ...................................................................... ........................................ ..................................... .........................
  • 41. 4. กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี หรือรายภาค เป็นการนำผลการกำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังมาสัมพันธ์กันเป็นรายปีหรือรายภาค ดังตัวอย่างต่อไปนี้ กำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของ โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต ที่ทำงานสัมพันธ์กันมีกระบวนการสืบเสาะความรู้ แนะนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและ ดูแลสิ่งมีชีวิต ตาราง
  • 42. สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ชั้น ป .4 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ชั้น ป .4 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ 1 1. การทดลองและการสังเกตเกี่ยวกับหน้าที่ ของราก ลำต้น ใบ 2. สำรวจ การสังเกตส่วนประกอบของดอก และการสืบค้นข้อมูลหน้าที่ของดอก 3. การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อ การเจริญเติบโตของพืช 4. การทดลองปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อ การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 1. ทดลองและอธิบายหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ 2. เขียนภาพแสดงส่วนประกอบของดอกและอธิบายหน้าที่ของดอก 3. ทดลองหาปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช 4. ทดลองหาปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
  • 43. สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ชั้น ป .4 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ชั้น ป .4 5. การสำรวจการสังเกตเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงของพืชดอกตั้งแต่ต้นอ่อนจนมีดอก มีผล และการดูแลรักษาพืช 6. การทดลองเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อ สิ่งเร้า เช่น แสง เสียง สัมผัส 5.1 อธิบายการเปลี่ยนแปลงของพืชดอกตั้งแต่ต้นอ่อนจน มีดอกผล 5.2 ดูแลรักษาพืชที่ตนรับผิดชอบตั้งแต่ต้นอ่อนจนมีผลพร้อมทั้งเขียนแผนภาพแสดงวัฎจักรของพืช 6. ทดลองแสดงการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง สัมผัส มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ 2 1. การสำรวจชีวิตของสัตว์ในท้องถิ่นและการสังเกต การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ในขณะเจริญเติบโต 1. ระบุชื่อและชนิดของสัตว์ที่พบในท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงรูปร่างในขณะเจริญเติบโต รวมทั้งเขียนแผนภาพแสดงวัฎจักรของสัตว์ เสนอแนะแนวทางอนุรักษ์สัตว์ในท้องถิ่น มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อ 3 ................................................................................... .....................................................................................
  • 44. เนื้อหา 4.6 การจัดทำคำอธิบายรายวิชา การจัดทำคำอธิบายรายวิชา กระทำโดยการนำเอาผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือ รายภาค สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค รวมทั้งเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดใน เนื้อหา 5.4 และ 5.5 มาเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยให้ประกอบด้วย ชื่อรายวิชา จำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิต ผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ของรายวิชานั้น ๆ ซึ่ง สามารถเขียนคำอธิบายรายวิชาได้หลายรูปแบบ เช่น รูปแบบที่ 1 เขียนเป็นความเรียงเสนอภาพรวมของผลการเรียนรู้และสาระ การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน รูปแบบที่ 2 เขียนแยกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย - ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง : เขียนเป็นความเรียง สรุปภาพรวมของผลการ เรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน - สาระการเรียนรู้ : เขียนเป็นความเรียงของขอบข่ายเนื้อหา รูปแบบที่ 3 เขียนเป็นความเรียงประกอบด้วย 3 ส่วน คือ - ขอบข่ายกิจกรรมที่กำหนดกว้าง ๆ สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ของรายวิชา - ขอบข่ายเนื้อหาที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของรายวิชา
  • 45. - ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างกว้าง ๆ รูปแบบที่ 4 เขียนเป็นความเรียงประกอบด้วย 4 ส่วน คือ - จุดประสงค์รายวิชาที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้รายวิชา - ขอบข่ายสาระการเรียนรู้ - กิจกรรมการเรียนรู้ - วิธีการวัดและประเมินผล รูปแบบที่ 5 เขียนแยกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย - ผลการเรียนรู้ : เขียนให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน เป็นข้อ ๆ โดยไม่แยกด้าน - สาระการเรียนรู้ เขียนเป็นข้อ ๆ สำหรับคำอธิบายรายวิชามีแนวทางการกำหนดดังนี้ ชื่อรายวิชาของสาระการเรียนรู้ ให้ใช้ตามชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนชื่อรายวิชาที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มเติมสามารถ กำหนดตามความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องสื่อความหมายให้ชัดเจนมีความสอดคล้องกับสาระ การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชานั้น ๆ
  • 46. ตัวอย่าง รายวิชาและคำอธิบายรายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 รายวิชา วิทยาศาสตร์ 4 เวลา 120 ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา ศึกษาวิเคราะห์หน้าที่และส่วนประกอบของราก ลำต้น ใบ ดอก ปัจจัยบาง ประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช การสังเคราะห์ด้วยแสง การตอบสนอง ต่อสภาพแวดล้อมของพืช พืช – สัตว์ในท้องถิ่น การเจริญเติบโตและวัฎจักรชีวิตของ พืช – สัตว์ .................................................................................................................... โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจ ตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ความคิด ความเข้าใจ สามารถ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีวิชาวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม หมายเหตุ เนื่องจากการวิเคราะห์และกำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่ คาดหวังรายปีหรือรายภาคในเอกสารนี้ไม่ครบสมบูรณ์ทุกมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ป .4 – 6 ดังนั้นคำอธิบายรายวิชาข้างต้นจึงมีสาระการเรียนไม่สมบูรณ์เพียงให้เห็น แนวทางเท่านั้น
  • 47. เนื้อหา 4.7 การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ โดยการนำเอาสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคที่ กำหนดไว้ไปบูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อย ๆ เพื่อความสะดวกในการจัดการ เรียนรู้และผู้เรียนได้เรียนในลักษณะองค์รวม หน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยประกอบด้วย ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้และจำนวนเวลาสำหรับการจัดการเรียนรู้ ซึ่ง เมื่อเรียนครบทุกหน่วยย่อยแล้ว ผู้เรียนสามารถบรรลุผลตามการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี หรือรายภาคของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ อาจบูรณาการทั้งภายในและระหว่างกลุ่มสาระการ เรียนรู้หรือเป็นการบูรณาการเฉพาะเรื่องตามลักษณะการเรียนรู้หรือเป็นการบูรณาการที่ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน โดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้ที่มีความเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กับการเรียนรู้สำหรับหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น สถานศึกษาต้องจัดการ ให้ผู้เรียนได้เรียนโดยการปฏิบัติโครงงานอย่างน้อย 1 โครงงาน
  • 48. ตัวอย่าง หน่วยการเรียนรู้ วิชา วิทยาศาสตร์ 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ 4 หน่วย เวลา 120 ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เวลา ( ชั่วโมง ) 1 2 การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต - หน้าที่และส่วนประกอบของราก ลำต้น ใบ ดอก - ปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช - การสังเคราะห์ด้วยแสง - การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของพืช - พืช – สัตว์ในท้องถิ่น - การเจริญเติบโตและวัฎจักรชีวิตของ พืช – สัตว์ ....................................................................................... 40
  • 49. สรุปแนวความคิดต่อเนื่องประจำหน่วย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 มาตรา 27 กำหนดให้มี หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศเป็นหลักการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศ เป็นหลักสูตรแกนกลาง สถานศึกษาต้องไปจัดทำหลักสูตรที่บูรณาการหลักสูตรแกน กลางกับสภาพท้องถิ่นของสถานศึกษาจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรสถานศึกษาจึงเป็นหลักสูตรที่เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นและ สนองความถนัด ความสนใจของผู้เรียน ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีหลายขั้นตอน ขั้นตอนที่สำคัญ คือการจัด ทำสาระหลักสูตรสถานศึกษา ขั้นตอนแรกของการจัดทำสาระหลักสูตรสถานศึกษา ได้แก่ การศึกษาข้อมูล สารสนเทศของสถานศึกษา รวมทั้งข้อมูลสนเทศของชุมชน ท้องถิ่นที่สถานศึกษาอยู่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดรายละเอียดของขั้นตอนต่อ ๆ ไป
  • 50. หลังจากรวบรวมสารสนเทศของสถานศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะเด่นที่แสดงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคจากข้อมูลที่ได้แล้ว คณะกรรมการสถานศึกษาที่รับผิดชอบ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาจะกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะที่พึง ประสงค์ จากนั้นจะวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นเอาหลักสูตรแกนกลางออกมาเป็น สาระการเรียนรู้ช่วงชั้น ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ที่กำหนดในขั้นนี้เป็นสาระการรู้ 3 ชั้นเรียน จึงวิเคราะห์ต่อไป โดย จำแนกเป็นสาระการเรียนรู้แต่ละชั้นปี ซึ่งทำให้เริ่มมองออกแล้วว่าแต่ละปีควรสอนสาระ การเรียนรู้ใดบ้าง หลังจากนั้นย้อนกลับมาวิเคราะห์แต่ละมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น (3 ปี ) อีกครั้ง โดยจำแนกออกเป็นผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคได้เป็นแต่ละปี