SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 42
Downloaden Sie, um offline zu lesen
โครงงาน
เรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
เสนอ
คุณครูทรงศักดิ์ โพธิ์เอี่ยม
โดย
1.นายธนวัฒน์ น้อยเกตุ เลขที่ 6
2.นายณัฐกาญจน์ สุขสม เลขที่ 7
3.นาสาวกมลวรรณ สมบูรณ์ศิริ เลขที่ 17
4.นางสาวจุฑามาศ เนียมหอม เลขที่ 18
5.นางสาวธิติอร เบิกไพร เลขที่ 21
6.นางสาวอศัลยา รังษี เลขที่ 23
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา IS2 รหัสวิชา I30202
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์
กาญจนบุรี
คำนำ
โครงงานเรื่องการศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนฉบับนี้ กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาต้นไม้บริเวณสวนพฤก-
ศาสตร์ ได้ศึกษาวิธีการทาโครงงานจากอินเตอร์เน็ต และได้นาชื่อต้นไม้ที่หามาได้มาศึกษาค้นคว้าข้อมูลของ
ต้นไม้ชนิดนั้นๆ แล้วนามาทาโครงงาน
หวังว่าโครงงานนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจที่จะศึกษาต้นไม้โดยที่ไม่ต้องไปเดินไปถามคนอื่น
และ สุดท้ายถ้าข้อมูลเนื้อหาอะไรผิดพลาดไปกลุ่มของข้าพเจ้ากราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทาโครงงาน
ค
สารบัญ
เรื่อง หน้า
กิตติกรรมประกาศ ก
คานา ข
สารบัญ ค
บทที่ 1 บทนา 1
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3
2.1. จังหวัดกาญจนบุรี 3
2.1.1. สภาพภูมิศาสตร์-ที่ตั้งและอาณาเขต 3
2.1.2. ลักษณะภูมิประเทศ 3
2.1.3. ลักษณะภูมิอากาศ 3
2.1.4. ทรัพยากรธรรมชาติ 4
2.1.5. ทรัพยากรดิน 4
2.1.6. ทรัพยากรน้า 4
2.1.7. ทรัพยากรป่าไม้ 5
2.2. ต้นไม้ประจาจังหวัด 5
2.3. ต้นไม้ภายในโรงเรียน 6
บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีรการศึกษา 17
3.1. วัสดุอุปกรณ์ 17
3.2. วิธีดาเนินการศึกษา 17
บทที่ 4 ผลการศึกษา 18
- ต้นปีบ 18
- ต้นราชพฤกษ์ 20
- ต้นพญาสัตบรรณ 24
- ต้นประดู่ 26
- ต้นปาล์มขวด 28
ค
-ต้นชงโค 29
-ต้นประดู่แดง 30
- ต้นตาลฟ้า 31
- ต้นไทรย้อย 32
บทที่ 5 แผนผังต้นไม้ 34
ตารางสรุปการศึกษาต้นไม้ ณ สวน ส.ค.ส. ๒๕๕๐ แด่หลานย่า 35
บรรณานุกรม 38
1
บทที่ 1
บทนา
ที่มาและความสาคัญของโครงงาน
จากการที่ได้สํารวจว่าบริเวณในโรงเรียนนั้นมีต้นไม้นานาชนิดซึ่งก็มีลักษณะและประโยชน์ที่
แตกต่างกัน โดยนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ทราบชื่อและความสําคัญประโยชน์ของต้นไม้ชนิดนั้นๆ ซึ่งผู้จัดทํา
โครงงานได้ให้ความสําคัญของชื่อและประโยชน์ของต้นไม้เพราะผู้จัดทําได้รับประสบการณ์ตรงจากการ
ถูกถามชื่อและประโยชน์ของต้นไม้โดยนักเรียนส่วนใหญ่จะไม่ทราบชื่อหรือประโยชน์ของต้นไม้ชนิด
นั้นๆ และได้สังเกตเห็นว่าต้นไม้แต่ละชนิดนั้นสามารถนําไปอุปโภคและมีสรรพคุณที่สามารถรักษาโรคได้
ดังนั้นผู้จัดทําโครงงานจึงอยากที่จะศึกษาต้นไม้ภายในโรงเรียนแต่ละชนิดว่ามีชื่อ สรรพคุณ และ
ประโยชน์อย่างไรและได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อศึกษาต้นไม้ภายในโรงเรียนมีชนิดอะไรบ้าง
2.เพื่อให้ผู้อื่นทราบระเบียนต้นไม้ภายในโรงเรียน
3.เพื่อศึกษาประโยชน์ต้นไม้ภายในโรงเรียน
ขอบเขตของโครงงาน
สํารวจและศึกษาค้นคว้าต้นไม้ภายในโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี
ณ สวน ส.ค.ส. ๒๕๕๐ แด่หลานย่า
ข้อตกลงเบื้องต้น
ศึกษาเฉพาะบริเวณที่กําหนด
2
สมาชิก
1.นายธนวัฒน์ น้อยเกตุ เลขที่ 6
2.นายณัฐกาญจน์ สุขสม เลขที่ 7
3.นางสาวกมลวรรณ สมบูรณ์ศิริ เลขที่ 17
4.นางสาวจุฑามาศ เนียมหอม เลขที่ 18
5.นางสาวธิติอร เบิกไพร เลขที่ 21
6.นางสาวอศัลยา รังษี เลขที่ 23
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
3
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1.จังหวัดกาญจนบุรี
2.1.1 สภาพภูมิศาสตร์ - ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดกาญจนบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๑๒๙ กิโลเมตร ตามเส้นทางนครปฐม -
บ้านโป่ง - กาญจนบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๙,๔๘๓,๑๔๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๒ ล้านไร่ มีขนาด
พื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของประเทศรองจากจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดเชียงใหม่
2.1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดกาญจนบุรี แบ่งออกได้ ๓ ลักษณะดังนี้
2.1.2.1 เขตภูเขาและที่สูง พื้นที่ทางด้านทิศเหนือของจังหวัด ได้แก่บริเวณอําเภอสังขละบุรี
อําเภอทองผาภูมิ อําเภอศรีสวัสดิ์และอําเภอไทรโยคมีลักษณะเป็นเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนน
ธงชัยถัดไปทางด้านตะวันตกของจังหวัด เทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับประเทศเมียน
มาร์ทอดยาวลงไปทางด้านใต้บริเวณนี้จะเป็นแหล่งกําเนิดต้นนํ้าที่สําคัญของจังหวัด คือแม่นํ้าแควใหญ่ และ
แควน้อย
2.1.2.2. เขตที่ราบลูกฟูก ได้แก่พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบ
เชิงเขาสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่บริเวณอําเภอเลาขวัญ อําเภอบ่อพลอยและบางส่วนของอําเภอพนมทวน
2.1.2.3. เขตที่ราบลุ่มนํ้า ได้แก่พื้นที่ทางด้านใต้ของจังหวัด ลักษณะเป็นที่ราบ ดินมีความ
อุดมสมบูรณ์ อยู่บริเวณอําเภอท่ามะกา อําเภอท่าม่วงและบางส่วนของอําเภอพนมทวน อําเภอเมือง
กาญจนบุรี
*ลักษณะทางภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นป่า ซึ่งจะมีทั้งป่าดงดิบและป่าโปร่ง
2.1.3.ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูกาล
ฤดูร้อน ระหว่าง กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีลมฝ่ายใต้พัดมาปกคลุม ทําให้มี
อากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดอยู่ในเดือนเมษายน
ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน ในระยะนี้เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตก
เฉียงใต้พัดปกคลุม ทําให้มีฝนตกชุก โดยตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน
4
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยในช่วงนี้ ความกดอากาศสูงจาก
ประเทศจีนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทําให้อากาศหนาวเย็นและความแห้งแล้งแผ่ปก
คลุมจังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดกาญจนบุรีมีอุณหภูมิตํ่าสุดโดยเฉลี่ย ๒๓.๗ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด โดยเฉลี่ย ๓๔.๐
องศาเซลเซียส และอุณหภูมิตํ่าที่สุดวัดได้๑๓.๑ องศาเซลเซียส (เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๙ อุณหภูมิสูงสุด
วัดได้๔๐.๙ องศาเซลเซียส ( เมื่อ ๑ เมษายน ๒๕๓๙) ปริมาณนํ้าฝน เฉลี่ย ๑,๔๙๖.๒ มิลลิเมตร/ปี
2.1.4 ทรัพยากรธรรมชาติ
จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ ดิน นํ้า ฯลฯ
อย่างไรก็ตามความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรเหล่านี้ก็ย่อมมีวันหมดไปไม่วันใดก็วันหนึ่งหรือลดจํานวน
ลง หากไม่มีการอนุรักษ์หรือนํามาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า การพัฒนาที่ดีต้องควบคู่ไปกับการดูแลรักษา
การอนุรักษ์ โดยไม่นําทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่นั้นมาสร้างผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มคนหรือนํามาใช้อย่าง
ฟุ่มเฟือย
2.1.5 ทรัพยากรดิน
พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีมีภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ที่เหมาะสําหรับเกษตรกรรมคือ ที่
ราบระหว่างภูเขาซึ่งมีแม่นํ้าและลํานํ้าสายต่างๆ ไหลผ่าน เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหินปูน หินแกรนิต หิน
แกรไนโอออไรท์ หินไนล์ หินดินดาน หินควอทโซฟีลไลท์ เป็นวัตถุต้นกําเนิดดิน ที่ราบระหว่างหุบเขา
และสองฝั่งแม่นํ้าจึงมีลักษณะเป็นตะกอนที่เกิดจากการสลายตัวของหินดังกล่าวแล้วถูกนํ้าพัดพามาทับ
ถม และเนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้มีหินปูนเป็นส่วนใหญ่ ดินจึงมีปฏิกิริยาเป็นกลางหรือเป็นด่าง มีความอุดม
สมบูรณ์ปานกลางถึงดี จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชไร่ที่สําคัญของประเทศเช่น อ้อย ข้าวโพด มันสําปะหลัง
และสับปะรด ส่วนในบริเวณที่ราบตํ่าใช้ปลูกข้าวแต่มีเนื้อที่ไม่มากนัก
2.1.6 ทรัพยากรนํ้า
จังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งนํ้าที่สําคัญ 3 ประเภทคือ
2.1.6.1 นํ้าใต้ดินหรือนํ้าบาดาล ต้นกําเนิดของแหล่งนํ้าบาดาลส่วนใหญ่มาจากนํ้าฝนซึ่ง
ตกสู่ผิวดินลงไปกับเก็บใต้ชั้นดิน พื้นที่ทางตอนบนและทางตะวันตกของจังหวัดซึ่งมีสภาพเป็นที่สูง
ภูเขา รองรับด้วยหินแปรปริมาณนํ้าบาดาลจึงมีน้อยมาก ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกและทางใต้ของจังหวัด
เป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งนํ้าบาดาลสามารถนําขึ้นมาใช้ได้ แต่ยังคงมีปริมาณน้อย
5
2.1.6.2 นํ้าผิวดิน แหล่งนํ้าผิวดินมีต้นนํ้าอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดถึงเขตจังหวัด
อุทัยธานี ลักษณะทางนํ้าเป็นร่องลึกในระหว่างหุบเขา มีธารนํ้าบางสายไหลขึ้นไปทางเหนือสู่ประเทศ
พม่า แต่ลําธารส่วนใหญ่ไหลลงสู่แม่นํ้าแควน้อยและแควใหญ่ ก่อนจะรวมตัวกันเป็นแม่นํ้าแม่กลอง ส่วน
ด้านตะวันออกมีลําตะเพินเป็นธารนํ้าสําคัญของบริเวณนี้ แหล่งนํ้าผิวดินที่สําคัญ ได้แก่ แม่นํ้าแคว
น้อย แม่นํ้าแควใหญ่(ศรีสวัสดิ์) แม่นํ้าแม่กลอง แม่นํ้าลําตะเพิน
2.1.6.3 นํ้าจากการชลประทาน จังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่ตั้งของอ่างเก็บนํ้าขนาดใหญ่หลาย
แห่งเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่สิ่งที่ได้รับผลประโยชน์ตามมาคือการชลประทานที่
สามารถส่งนํ้าให้กับพื้นที่เพาะปลูก เขื่อนที่สําคัญ เช่น เขื่อนศรีนครินทร์ในเขตอําเภอศรีสวัสดิ์ เขื่อนเขา
แหลมในอําเภอทองผาภูมิอําเภอสังขละบุรี และเขื่อนวชิราลงกรณ์ในอําเภอท่าม่วง
2.1.7 ทรัพยากรป่ าไม้
ภาคกลางมีพื้นที่ของป่าไม้น้อยมาก ส่วนใหญ่พบในภาคกลางตอนบนเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดง
ดิบ จังหวัดอุทัยธานีจะมีป่าไม้เหลืออยู่มากที่สุด ประมาณ 2,620 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยาน
แห่งชาติห้วยขาแข้งส่วนจังหวัดอื่น ๆ ไม่มีพื้นที่ป่าไม่เหลืออยู่เลย
2.2.ต้นไม้ประจาจังหวัด
ชื่อพันธุ์ไม้ : ขานาง
ชื่อสามัญ : Moulmein Lancewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia macrohpylla Wall
วงศ์ : Homalium tomentosum Benth.
ชื่ออื่น : ขานาง (ภาคกลาง,เชียงใหม่,มจันทบุรี), ขางนาง คะนาง (ภาคกลาง), ค่านางโคด (ระยอง), ช้างเผือก
หลวง (เชียงใหม่), แซพลู้(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปะหง่าง (ราชบุรี), เปลือย (กาญจนบุรี), เปื๋อยคะนาง เปื๋อ
ยนาง (อุตรดิตถ์), เปื๋อยค่างไห้ (ลําปาง), ลิงง้อ (นครราชสีมา)
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15 – 30 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนมีขนสีนํ้าตาลนุ่ม
ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอก
ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
ขยายพันธุ์ :โดยการเพาะเมล็ด
6
สภาพที่เหมาะสม : ดินที่มีหินปูนปนอยู่มาก นํ้าและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกาเนิด : ป่าเบญจพรรณชื้น พบมากในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี
2.3.ต้นไม้ภายในโรงเรียน
2.3.1. ไม้ยืนต้น
ไม้ยืนต้น หมายถึง ลักษณะของต้นไม้ที่มีลักษณะต้นสูงใหญ่และมีรากแก้วที่ช่วยในการคํ้าจุนไม้ยืน
ต้นมีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ลักษณะของลําต้นเป็นไม้เนื้อแข็งและสมารถที่แผ่กิ่งก้าน สาขาออกไปได้ไกล
และเป็นพุ่ม
2.3.1.1. ต้นประดู่แดง
ชื่อพื้นเมือง: ประดู่แดง วาสุเทพ
ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 -20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน แตกกิ่งก้าน ปลายกิ่งล่างลงดิน
ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ แผ่นใบทั้ง 2 ข้างมีขนาดไม่เท่ากัน
ดอก: ออกดอกเป็นช่อประจุกขนาดใหญ่ตามกิ่ง 3 - 5 ดอก สีแดงอมส้ม ขณะออกดอกใบมักจะร่วงหมด
ผล: ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานและโค้งเล็กน้อย
ด้านภูมิทัศน์: ให้ร่มเงา สวยงาม และเป็นไม้ประจําสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจําบ้านจะทําให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่ ประดู่ คือ
ความพร้อมความร่วมมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดี่ยวกัน นอกจากนี้ดอกประดู่ยังมีลักษณะที่
ระดมกันบานเมต้นดูลายตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจํากองทัพเรือ และส่วนแก่น
ไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สําคัญของคนไทยพื้นเมืองในสมัยโบราณ คือ ใช้ทําเป็นเครื่องเสียงพวก
ระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่งแข็งแรง
2.3.1.2.ต้นชงโค
ต้นชงโค ภาษาอังกฤษ Orchid Tree, Purple Orchid Tree, Butterfly Tree, Purple Bauhinia, Hong
Kong Orchid Tree ชงโค ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia glauca Wall. ex Benth. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว
(Fabaceae หรือ Leguminosae) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์(Caesalpinioideae) เช่นเดียวกันกับมะขาม
แขก ราชพฤกษ์และเสี้ยวดอกขาว โดยมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆอีก เช่น ดอกตีนวัว, เสี้ยวหวาน กะเฮอ
สะเปซี (แม่ฮ่องสอน), เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ), ชงโค เสี้ยวเลื่อย (ภาคใต้) เป็นต้น โดยมีถิ่นกําเนิดทาง
ตอนใต้ของประเทศจีนรวมไปถึงฮ่องกง และทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7
ลักษณะของต้นชงโค ชงโคเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลักษณะของ
ใบชงโคเป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ปลายของใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมนดูคล้ายใบแฝดติดกัน
(คล้ายๆกับใบกาหลง) ส่วนลักษณะของผลจะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่วกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาว
ประมาณ 15-20 เซนติเมตร เมล็ดในฝักค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความของฝัก โดย
เป็นต้นไม้ที่ผลัดใบในช่วงฤดูหนาว (ปลายปี) แล้วจะผลิใบในช่วงเดือนเมษาถึงพฤษภาคม และเป็นต้นไม้ที่
ชอบแสงแดด การเพาะปลูกจึงนิยมปลูกในที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน
ลักษณะของดอกชงโคดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆโดยจะออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งแต่ละช่อมีดอก
ประมาณ 6-10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบ 5 กลีบ โดยกลีบดอกจะมีสีชมพูถึงสีม่วงแดง ลักษณะของดอกจะคล้าย
กับดอกกล้วยไม้เมื่อบานเต็มที่ดอกชงโคจะกว้างประมาณ 7-9 เซนติเมตร ตรงกลางของดอกจะมีเกสรตัวผู้
เป็นเส้นยาว 5 เส้น ยื่นออกไปด้านหน้าโค้งขึ้นด้านบนและมีเกสรตัวเมียอยู่ตรงกลาง 1 เส้นยาวกว่าเกสรตัวผู้
ประวัติต้นชงโค ชื่อของชงโคนั้นมาจากใบชงโคมีลักษณะเป็นใบแฝดติดกัน คล้ายรอยเท้าวัว
สําหรับบ้านเรายังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร สาเหตุอาจมาจากชื่อที่ยังไม่ไพเราะ มีความหมายดีถูกใจคน
ไทยก็เป็นได้แต่ถึงอย่างไรก็ตามต้นชงโคก็จัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง เพราะสําหรับชาวฮินดูแล้วถือว่าต้น
ชงโคเป็นต้นไม้ของสวรรค์ที่อยู่ในเทวโลก และยังนับถือว่าเป็นต้นไม้ของพระลักษณ์มี (พระราชาของพระ
นารายณ์) จึงควรค่าแก้การเคารพบูชาและปลูกไว้ในบริเวณบ้าน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในฐานะต้นไม้
ประดับ นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้ประจํามหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆอีกหลายโรงเรียน เช่น คณะอักษร
ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, โรงเรียนเทพลีลา, โรงเรียนปิยะบุตร์ ฯลฯ
ชงโคฮอลแลนด์ หรือ ชงโคออสเตรเลีย เป็นลูกผสมระหว่าง “ชงโค” กับ “เสี้ยว” เป็นชื่อที่ตั้งมาใช้ในทาง
การค้า เพื่อเพิ่มความน่าสนใจช่วยทําให้ซื้อง่ายขายคล่อง และไม่ได้เป็นพันธุ์ไม้ที่มาจากประเทศฮอลแลนด์
หรือออสเตรเลียหรือมีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด โดยจะมีความแตกต่างกับชงโคทั่วไป โดยจะมีลักษณะ
เด่นตรงที่มีขนาดของดอกที่ใหญ่กว่า กลีบดอกใหญ่กว่า มีสีสันสดใสกว่าเล็กน้อย
ประโยชน์ของชงโค
1.ใบชงโคนําไปต้มช่วยรักษาอาการไอได้ (ใบ)
2.ช่วยแก้พิษไข้ร้อนจากเลือดและนํ้าดี (ดอก)
3.ชงโคสรรพคุณใช้เป็นยาระบาย (ดอก,ราก)
4.ช่วยแก้อาการท้องเสีย (เปลือกต้น)
5.ช่วยแก้อาการท้องร่วง (เปลือกต้น)
8
6.ช่วยแก้บิด (ดอก,แก่น,เปลือกต้น)
7.ช่วยขับลมในกระเพาะ (ราก)
9.ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ)
10.ใบชงโคใช้พอกฝี และแผลได้ (ใบ)
11.ประโยชน์ของชงโค มักปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับบ้านและสวน เพื่อความสวยงาม ให้กลิ่นหอมชื่นใจ
2.3.1.3. ต้นไทร
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus Benjamina L.
ชื่อวงศ์: Moraceae
ชื่อสามัญ: Golden Fig, Weeping Fig
ชื่อพื้นเมือง: จาเรย (เขมร) ไทร (นครศรีธรรมราช) ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์) ไทรย้อย ไทรย้อยใบ
แหลม (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทั่วไป
ต้นไม้สูง 5-10 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมแผ่กว้าง สีนํ้าตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง โตช้า มีราก
อากาศห้อยย้อยสวยงาม
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-11 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม
โคนสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบเกิดภายในฐานรองดอก ทรงกลมคล้ายผลไม่มี
ฝัก/ผล : รูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร เมื่อสุกสีเหลือง
ฤดูกาลออกดอก : กุมภาพันธ์
การปลูก: ปลูกลงดิน และปลูกในกระถาง
การดูแลรักษา: ต้องการแสงแดดจัด นํ้าปานกลาง ชอบดินร่วนซุย
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือ ปักชํา
การใช้ประโยชน์
1. ไม้ประดับ
2. ผล เป็นอาหารของนก
3. สมุนไพร
ถิ่นกําเนิด: ในอินเดียและภูมิภาคมาเลเซีย
9
สรรพคุณทางยา: รากอากาศเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บํารุงนํ้านม
คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นไทรไว้ประจําบ้านจะทําให้เกิดความร่มเย็น เพราะ คนโบราณได้กล่าว
ว่าร่มโพธิ์ ร่มไทร ช่วยทําให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองป้ องกันภัยอันตรายทั้งปวง
เพราะ บางคนเชื่อว่า ต้น ไทร เป็นไม้ที่ ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยคุ้มครองพิทักษ์ปวงชนให้มี
ความอยู่เย็นเป็นสุข
2.3.1.4. ต้นพญาสัตบรรณ
พญาสัตบรรณ ภาษาอังกฤษ Devil Tree, White Cheesewood, Devil Bark, Dita Bark, Black Board
Tree มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alstonia scholaris (L.) R. Br. จัดอยู่ในวงศ์ Apocynaceae ส่วนชื่ออื่นๆ เช่น หัส
บัน สัตบรรณ สัตตบรรณ จะบัน บะซา ปูลา ปูแล ตีนเป็ด ตีนเป็ดขาว ตีนเป็ดไทยต้นตีนเป็ด เป็นต้น มีถิ่น
กําเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย และยังจัดเป็น
ต้นไม้ประจําจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย
ลักษณะของต้นพญาสัตบรรณ
ต้นพญาสัตบรรณ เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลําต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้นๆ (เหมือนฉัตร
บรรณ) มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็กๆ สีขาวปนนํ้าตาลเมื่อกรีด
จะมียางสีขาว และขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และการปักชําใบพญาสัตบรรณ ออกเป็นกลุ่มที่บริเวณปลาย
กิ่ง โดยหนึ่งช่อจะมีใบประมาณ 5-7 ใบ ใบมีสีเขียวเข้ม ใบยาวรี ปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดของใบยาว
ประมาณ 10-12 เซนติเมตร ก้านใบสั้นเมื่อเด็ดออกจะมีนํ้ายาวสีขาว
ดอกพญาสัตบรรณ ออกดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม ออกดอกที่ปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลําต้น หนึ่ง
ช่อจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่มดอกมีขาวอมเหลืองหรือเขียว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผลพญาสัตบรรณ ผลออกเป็นฝัก ลักษณะฝักยาว เป็นฝักคู่หรือฝักเดี่ยว ลักษณะเป็นส้นๆ กลมเรียว
มีความประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก มีขุยสีขาวสามารถปลิวไปตามลมได้ส่วนในฝัก
จะมีเมล็ดเล็กๆ จํานวนมากลักษณะเป็นรูปขนานแบนๆ ติดอยู่กับขุย
ต้นพญาสัตบรรณ กับความเชื่อ ต้นพญาสัตบรรณจัดเป็นไม้มงคลนาม ปลูกเพื่อความเป็นสิริมงคล
เพราะคนไทยโบราณเชื่อว่าการปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ประจําบ้านจะทําให้มีเกียรติยศ จะทําให้ได้รับการ
ยกย่องและการนับถือจากบุคคลทั่วไป ซึ่งความหมายของต้นก็มาจากคําว่าพญา ซึ่งมีความหมายว่า ผู้เป็น
ใหญ่ที่ควรยกย่องและเคารพนับถือ ส่วนคําว่า สัต ก็มีความหมายว่า สิ่งที่ดีงาม ความมีคุณธรรมนั่นเอง และ
ตามความเชื่อจะนิยมปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ทางทิศเหนือและผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ แต่ถ้าอยากให้
เป็นมงคลยิ่งขึ้นไปอีกผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือหรือเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็น
10
สิริมงคงมากยิ่งขึ้น
สรรพคุณของต้นพญาสัตบรรณ
1. เปลือกต้นมีรสขม ใช้เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น)
2. เปลือกต้นสัตยาบรรณ สรรพคุณช่วยลดระดับนํ้าตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน (เปลือกต้น)
3. นํ้ายางจากต้นใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้ (ยาง)
4. นํ้ายางจากต้นใช้อุดฟัน เพื่อแก้อาการปวดฟันได้ (ยาง)
5. ใบอ่อนใช้ชงดื่มช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน หรือโรคลักปิดลักเปิดได้ (ใบ)
6. เปลือกต้นใช้แก้หวัด แก้อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ (เปลือกต้น)
7. ช่วยแก้ไข้(เปลือกต้น,ใบ)
8. ดอกช่วยแก้ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน (ดอก)
9. เปลือกต้นต้มนํ้าดื่ม สรรพคุณช่วยรักษาโรคมาลาเรีย (เปลือกต้น)
10. ช่วยแก้โลหิตพิการ (ดอก)
11. ใบพญาสัตบรรณ สรรพคุณช่วยรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังได้ (ใบ)
12. เปลือกต้นพญาสัตบรรณช่วยรักษาโรคบิดท้องร่วง ท้องเดินเรื้อรังโรคลําไส้และลําไส้ติดเชื้อ (เปลือกต้น)
13. เปลือกต้นใช้เป็นยาสมานลําไส้ได้ (เปลือกต้น)
14. ช่วยบํารุงกระเพาะ (ยาง)
15. กระพี้ สรรพคุณช่วยขับผายลม (กระพี้)
16. ช่วยขับพยาธิไส้เดือน (เปลือกต้น)
17. ช่วยขับนํ้าเหลืองเสีย (เปลือกต้น)
18. ช่วยขับระดูของสตรี (เปลือกต้น)
19. ช่วยขับนํ้านม (เปลือกต้น)
20. ใบใช้พอกเพื่อดับพิษต่างได้ (ใบ)
21.ในประเทศอินเดียมีการใช้ใบและยางสีขาวในการนํามาใช้รักษาแผลแผลเปื่อยและอาการปวดข้อ(ใบ,ยาง)
22. ยาง ใช้แผลที่เป็นตุ่มหนอง ช่วยทําให้แผลแห้งเร็ว (ยาง)
23. เปลือกต้นใช้ต้มนํ้าอาบช่วยรักษาผดผื่นคัน (เปลือกต้น)
11
ประโยชน์ของต้นพญาสัตบรรณ
1.พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที (Allelopathy) สารสกัดจากใบพญาสัตบรรณสามารถช่วย
ยับยั้งการเจริญเติบโตของต้นคะน้า ส่วนสารสกัดจากเปลือกของลําต้นก็จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ
ข้าวโพด ข้าว ถั่วเชียวผิวดํา ถั่วเขียวผิวมัน และคะน้าได้
2.เนื้อไม้สามารถนําไปทําทุ่นของแหและอวนได้ (ในบอร์เนียว)
3.เนื้อไม้หยาบ อ่อนแต่เหนียวสามารถใช้ทําหีบใส่ของ หีบศพ ทําโต๊ะ เก้าอี้ ฝักมีดของเล่นสําหรับเด็ก
รองเท้าไม้หรือไม้จิ้มฟันได้
4.เนื้อไม้ใช้ทําฟืน หรือนําใช้ทําโครงสร้างส่วนต่างๆของบ้าน เช่น เสาบ้าน เป็นต้น
5.สารสกัดจากนํ้ามันหอมระเหยของดอกพญาสัตบรรณ สามารถใช้ไล่ยุงได้
6.ต้นพญาสัตบรรณนอกจากจะปลูกไว้เพื่อให้ร่มเงา และยังเป็นไม้มงคลนาม ที่นิยมปลูกไว้ประจําบ้านเพื่อ
ความเป็นสิริมงคลอีกด้วย
2.3.1.5. สัก
สัก (อังกฤษ: Teak) ไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลําต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็น
ร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนตํ่าๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทาเรียบหรือแตกเป็น
ร่องตื้นตามความยาวลําต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาค
ตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สักมักจะได้รับความเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นไม้เนื้อแข็ง
เนื่องจากว่ามันมีลักษณะพิเศษที่เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานกว่าไม้เนื้อแข็งหลายๆชนิด
ชื่อสามัญอื่นอื่น:เซบ่ายี้,ปีฮือ,ปายี้,เป้ อยี
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ลาต้น : เป็นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนตํ่า ๆ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวใหญ่มาก ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายใบแหลมโคนมน ยาว 25 - 30 เซนติเมตร กว้างเกือบ
เท่ายาว ใบของต้นอ่อนจะใหญ่กว่า นี้มาก ผิวใบขนสากคายสีเขียวเข้ม ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด
ดอก : มีขนาดเล็ก สีขาวนวลออกเป็นช่อตาม ปลายกิ่ง ออกดอกและเป็นผลเดือน มิถุนายน – ตุลาคม
ผล : เป็นผลแห้งค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายในมี 1 - 3 เมล็ด
การเพาะเมล็ด นําเมล็ดแช่นํ้า 2 วัน สลับผึ่งแดด 1 วัน รวม 15 วัน แล้วหว่านในแปลงเพาะให้กระจัดกระจาย
ทั่วกัน กลบด้วยวัสดุเพาะชํา สูงประมาณ 3-5 มิลลิเมตร หรืออาจทําร่องแล้วหว่านลงในร่องจะสะดวกใน
การกลบ และเมล็ดจะงอกอย่างเป็นระเบียบ แปลงเพาะควรอยู่กลางแจ้ง เมล็ดสักจะงอกไม่พร้อมกัน บาง
เมล็ดงอกภายใน 3 สัปดาห์ บางเมล็ด 2 ปีจึงงอก
12
การปักชา
เลือกไม้สายพันธุ์ดีที่ต้องการขยายพันธุ์ (ต้นแม่พันธุ์) เลือกตัดชิ้นส่วนของไม้ที่พัฒนาเป็นกล้าไม้ได้
ง่าย นําไปกระตุ้นการออกรากและลําต้นด้วยสารเคมี (สารเคมีมีขายตามท้องตลาด)นําส่วนของพืชที่ได้รับ
การกระตุ้นแล้วไปไว้ในโรงเรือนที่สามารถควบคุมความชื้นและอุณหภูมิได้และดูแลจนกว่าส่วนของพืชที่
นํามาปักชําจะสร้างรากและลําต้น นํากล้าไม้ที่ออกรากและลําต้นไปอนุบาลจนกล้าไม้เริ่มแข็งแรง นํากล้าไม้
ออกไปกลางแจ้งเพื่อให้กล้าไม้ปรับตัวและแข็งแรงพอที่จะนําไปปลูกได้
ประโยชน์
ไม้สัก เนื้อไม้มีลายสวยงามแข็งแรงทนทาน เลื่อย ผ่า ไสกบตบแต่ง และชักเงาได้ง่าย ใช้ทําเครื่อง
เรือนและในการก่อสร้างบ้านเรือน ปลวก มอด ไม่ชอบทําลายเพระมีสารพวกเทคโทควิโนน (Tectoquinone)
2.3.1.6. ปีบ
ชื่อพื้นเมือง: กาซะลอง กาดซะลอง เต็กตองโพ่
ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก กิ่งก้านมักจะ
ย้อยลง เปลือกสีนําตาล
ดอก: ดอกสีขาวหรือชมพู มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกระจุกซ้อนตามปลายกิ่ง ดอก ออก ก.ย - พ.ย
ผล: ผลแห้งแบบเป็นฝักแบนและตรงสีนําตาลหัวท้ายแหลม เมล็ดแบนมีปีกบางจํานวนมาก ผลออก ต.ค-ก.พ
ด้านภูมิทัศน์: นิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาในบ้านมาก เนื่องจากดอกหอม ทรงพุ่มละเอียดสวยงาม
ประโยชน์: รากทํายาบํารุงปอดรักษาวัณโรค ดอกสูบแก้ริดสีดวงจมูก เปลือกทําจุกก๊อกขนาดเล็ก
คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นปีบไว้ประจําบ้านจะทําให้เก็บเงินเก็บทองไดมาก เพราะ ปีบ หรือ ปีบ
คือ ภาชนะที่ใช้ในการ บรรจุของ ดังนั้นคนไทยโบราณเรียกภาชนะใส่ของที่มีค่อ นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่า
สามารถทําให้มีชื่อเสียง โด่งดัง เพราะปีบมีลักษณะแข็ง และ โปร่ง เวลาเคาะ หรือ ตีจะเกิดเสียงดังไปไกล
2.3.1.7. ราชพฤกษ์
ชื้อพื้นเมือง: กุเพยะ คูน บือยูปูโย ลมแล้ง
ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 - 15 เมตรผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่ม เปลือกเรียบเกลี้ยงสีเทาอ่อน สีเทาอมนําตาล
ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ ช่อใบติดเรียงสลับ
ดอก: สีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะยาวตามซอกใบห้อยย้อยลง ดอก ออก มี.ค - เม.ย
13
ผล: ผลเป็นฝักแห้งรูปทรงกระบอก ผิวเกลี้ยงสีดํา ผล ออก มี.ย - ก.ค
ด้านภูมิทัศน์: นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาทั่วไป เพราะดอกสีสวย
ประโยชน์: ดอก แก้ไข้เป็น ยาระบาย ใบ ต้มกินเป็นยาระบายขับพยาธิ ราก และ แกน ขับพยาธิ
คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจําบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรีเพราะคนไทยส่วน
ใหญ่ยอบรับว่า ต้นราชพฤกษ์เป็นไม้ที่มีคุณค่าสูง และ ยังเป็นสัญลักษณ์ประจําชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้
คนไทยโบราณเชื่ออีกว่าใบของต้นราชพฤกษ์ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ ใช้ใบในการทํา
นําพุทธมนสะเดาะเคราะห์ ได้ผลดี ดังนั้นจึงถือว่า ต้นราชพฤกษ์ เป็นไม้มงคล
2.3.1.8.มะฮอกกานี
ชื่อไทย: มะฮอกกานี
ชื่อสามัญ: Broad Leaf Mahogany , False Mahogany
ชื่อวิทยาศาสตร์: Swietenia macrophylla King
วงศ์: MELIACEAE
นิเวศวิทยา: ถิ่นกําเนิด ประเทศฮอนดูรัส อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ประเทศ
ไทยพบได้ทุกภาค นําเข้ามาปลูกครั้งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี
การขยายพันธุ์: เมล็ด
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือ
ทรงกระบอก ทรงพุ่มทึบ ลําต้นเปลาตรง เนื้อไม้สีนํ้าตาลอมเหลืองหรือแดงเข้ม เนื้อละเอียด เหนียว
ลวดลายสวยงาม เมื่อแห้งจะมีแถบแววสีทองขวางเส้นไม้ เนื้อไม้แข็ง มีคุณภาพดี สามารถใสกบและ
ตกแต่งได้ง่าย ยึดตะปูได้ดี คุณภาพใกล้เคียงกับไม้สัก ทนทานต่อการเข้าทําลายของปลวก เมล็ดรสขมมาก
เปลือกสีนํ้าตาลอมเทา หนาขรุขระ แตกเป็นร่องตามทางยาวของลําต้น และหลุดลอกออกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 3 - 4 คู่ ออกตรงกันข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย รูป
ไข่หรือรูปรี กว้าง 5 - 6 เซนติเมตร ยาว 11 - 17 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเบี้ยว ขอบใบ
เรียบแผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบย่อยยาว 0.3 - 0.5 เซนติเมตร
ดอก : สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลาย
กิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เมื่อบานเต็มที่กว้าง 0.5 - 1.0 เซนติเมตรมีเกสรเพศผู้10
อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นรูปแจกัน สีแดง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียแผ่แบนคล้ายร่ม
14
ผล ผลเดี่ยวขนาดใหญ่ กลม รูปไข่ ปลายมนเป็นพูตื้น ๆ สีนํ้าตาล เปลือกหนาและแข็ง กว้าง 7 - 12
เซนติเมตร ยาว 10 - 16 เซนติเมตร ก้านผลแข็ง เมื่อแก่แตกออกเป็น5 พู ภายในมีเมล็ดจํานวนมากเมล็ด
แห้งสีนํ้าตาล แบนบาง มีปีกบาง ๆ กว้าง 1.0-1.2 เซนติเมตร ยาว 5.0-5.5 เซนติเมตร ปลิวไปตามลมได้
ประโยชน์ : เนื้อไม้ทําเครื่องเรือน เครื่องดนตรี และเครื่องใช้อื่นๆ เปลือกต้นต้มเป็นยาเจริญอาหาร มีแทน
นินมาก รสฝาด ใช้เป็นยาสมานแผล ยาแก้ไข้ เนื้อในฝักเป็นยาระบาย เนื้อในเมล็ดมีรสขมมาก ใช้เป็นยา
แก้ไข้จับสั่น ไข้พิษ และปวดศีรษะ ใบอ่อนและดอกรับประทานได้
มะฮอกกานี เป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้นําเข้าจาก
ต่างประเทศในคราวเสด็จประพาสยุโรป และนําไปปลูกครั้งแรกเมื่อ รศ.129 ที่ถนนราชดําเนิน ถนนดํารง
รักษ์ ถนนราชดําริ และถนนบริพัตร จังหวัดเพชรบุรี
2.3.1.9. ตาลฟ้ า
ชื่อวิทยาศาสตร์: Bismarckia Nobilis Hildebr. & H. Wendl
ชื่อวงศ์: Palmae
ชื่อพื้นเมือง: ปาล์มมาดากัสการ์
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ขนาด 40-50 เซนติเมตรเมื่อแก่มีสีนํ้าตาล สูง 20-25 เมตร
ใบ : ลักษณะคล้ายรูปพัดแกนโค้ง ก้านใบยาว 2 เมตร และมีนวลสีขาวปกคลุม แผ่นใบกว้าง 2-3 เมตร เรียง
สลับสีเขียวอมฟ้า ทรงพุ่มสวย ขอบใบจักลึกถึงครึ่งตัวใบ
ดอก : ออกช่อดอกระหว่างกาบใบแยกเพศเป็นต้นตัวผู้ตัวเมีย
ฝัก/ผล : ผลกลมรี ยาว 4 เซนติเมตร
การดูแลรักษา : ชอบดินร่วนปนทรายมีอินทรียวัตถุเยอะๆ แดดจัด
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
1. ไม้ประดับ
2. ใบใช้มุงหลังคา ฝาบ้านหรือสานเป็นตะกร้า
3. แกนกลางลําต้นรับประทานได้
ถิ่นกาเนิด: มาดากัสการ์
15
2.3.1.10. ต้นประดู่ส้ม
วงศ์ : Phyllanthaceae (Euphorbiaceae)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bischofia javanica Blume (Syn. Bischofia javensis Blume)
ชื่อไทย:เติม, ประดู่ส้ม, ไม้เติม
ชื่อท้องถิ่น :ด่งเก้า (ม้ง), เดี๋ยงซุย(เมี่ยน), ไม้เติม, ลําผาด(ลั้วะ), ด่งเก้า(ม้ง), ไม้เติม(คนเมือง), ละล่ะทึม(ขมุ),
ซาเตอ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ด่อกะเติ้ม(ปะหล่อง), ลําป้วย(ลั้วะ), ซะเต่ย(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ชอชวา
เหมาะ(กะเหรี่ยงแดง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :ไม้ยืนต้นกึ่งผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 35 เมตร ลําต้นมีเนื้อไม้สีนํ้าตาลอม
เหลืองมีกลิ่นหอม เปลือกสีนํ้าตาลอ่อนหรือนํ้าตาลอมแดง และสีนํ้าตาลเข้มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เหลือกชั้นใน
สีนํ้าตาลอมแดง มียางสีแดง
ใบ : เป็นแบบใบประกอบ 3 ใบย่อย เรียงตัวแบบสลับ ก้านใบย่อยใบข้างยาวประมาณ 1 ชม. ก้านใบปลาย 2-
4 ซม. ก้านใบร่วง 7-18 ซม. แผ่นใบรูปไข่ยาว กว้าง 12-16 ซม. ยาว 32-80 ซม. ผิวใบเรียบ เกลี้ยง เมื่อแก่จัดสี
แดงสด
ดอก : ออกเป็นช่อยาว 7-30 ซม. เกิดบริเวณซอกใบดอกย่อยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้มีกาบรูป
หอกยาว 1.0-3.5 ซม. ร่วงเร็ว ก้านดอก 2-3 มม. มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกัน มีขนละเอียดปกคลุมกลีบดอก
5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวถึงสีเหลืองอมขาวเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ตรงกันข้าม ดอกเพศเมียมีก้านดอกยาว 4-6
มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันมีขนละเอียดปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวหรือขาวอมเหลือง
ก้านเกสรสั้น ปลายแยก 3 แฉก โค้งกลับ
ผล : รูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.7 ซม. ออกเป็นช่อ เมื่ออ่อนสีเขียวเข้ม สุกสีเหลืองอมนํ้าตาล เมล็ด
เป็นมัน 2-4 เมล็ด มีเนื้อหุ้ม
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์
1. ยอดอ่อนลนไฟ ใช้ประกอบอาหารเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว เช่น แกงส้มปลา(เมี่ยน,กะเหรี่ยงแดง)
2. ยอดอ่อนและดอก นําไปประกอบอาหาร เช่น ยํา หรือนําไปลวกและรับประทานสดจิ้มนํ้าพริก(คนเมือง)
3. ใบ รับประทานสดหรือนําไปหมกกับเกลือกินแบบเมี่ยง(ลั้วะ)
4. ผล รับประทานได้(ลั้วะ,กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
5. ใบอ่อน สับให้ละเอียดเป็นส่วนผสมในการทําลาบ, ผล รับประทานได้มีรสหวานฝาด(ปะหล่อง)
6.ใบอ่อน นําไปต้มแล้วใช้ห่อเกลือกินแบบเมี่ยง(ขมุ)
16
7. ยอดอ่อนและดอกอ่อน ยําใส่ปลากระป๋ อง มีรสเปรี้ยวและฝาด(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
8. ผลสุก รับประทานได้(ม้ง)
9. เปลือกต้นหรือยอดอ่อน นํามาต้มนํ้าดื่มแก้อาการท้องเสีย(ม้ง)
10. ใบ เชื่อว่ามีสรรพคุณแก้ท้องร่วงด้วย อาจใช้ต้มให้หมูที่มีอาการท้องร่วงกินเป็นยาก็ได้(เมี่ยน)
11. ชาวเขาโดยทั่วไปกินผลสุก เผ่าม้งและลีซอใช้เนื้อไม้เปลือก ลําต้น และใบต้มนํ้าดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ
เสียงแห้ง และใช้แก้โรคบิค ท้องเดิน
12. ไม้เนื้อแข็ง ใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง ทําสะพาน เครื่องฟอร์นิเจอร์ เปลือกใช้ย้อมภาชนะใช้สอย
ประเภทกระบุง ตะกร้าหรือเครื่องเรือนที่ทําด้วยหวายหรือไม้ไผ่
13. การใช้ประโยชน์เป็นยาพื้นบ้าน เปลือกลําต้นดําผสมอาหารรสจัดแก้ท้องเสีย เนื้อไม้ต้มนํ้าดื่มแก้เลือด
กําเดาและบํารุงโลหิต ดอกแก้เสมหะ ลมจุกเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ
14. เนื้อไม้รสฝาดขม บํารุงโลหิต แก้ไข้เพื่อโลหิตและกําเดา
15. ดอก รสร้อนหอม แก้จุกเสียด แก้ท้องขึ้น แก้เสมหะและลม
17
บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา
3.1.วัสดุอุปกรณ์
1. สมุด
2. ปากกาและดินสอ
3. กล้องดิจิตอล
4. ไม้บรรทัด
5. แบบบันทึกตารางการศึกษาต้นไม้ณ สวน ส.ค.ส. ๒๕๕๐ แด่หลานย่า
3.2.วิธีดาเนินการศึกษา
1. สํารวจต้นไม้ที่พบภายในบริเวณสวน ส.ค.ส. ๒๕๕๐ แด่หลานย่า ในโรงเรียนให้รายละเอียด ด้วยการนับ
จํานวนตันไม้และถ่ายรูปต้นไม้แต่ละชนิดไว้
2. บันทึกในแบบบันทึกตารางการศึกษาต้นไม้ณ สวน ส.ค.ส. ๒๕๕๐ แด่หลานย่า
3.นําข้อมูลที่สํารวจมาทําระเบียนต้นไม้
4.สรุปผลจากการสํารวจ
18
บทที่ 4
ผลการศึกษา
จากการสํารวจต้นไม้ที่พบภายในบริเวณสวนพฤษศาสตร์ พบต้นไม้ทั้งหมด 13 ชนิด แต่ละชนิดมี
ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ การดูแลรักษา และความเชื่อที่แตกต่างกัน ดังนี้
1.ต้นปีบ
รูปที่ 4.1. ต้นปีบ
พันธุ์ไม้ประจําจังหวัด พิษณุโลก
ชื่อพันธุ์ไม้ปีบ
ชื่อสามัญ Cork Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis Linn. F
วงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น กาซะลอง กาดสะลอง ( ภาคเหนือ) , เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) , ปีบ (ภาคกลาง)ไม้ยืนต้น
ขนาดกลาง สูง 5- 20 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่แกมใบ
หอกกว้าง 1.5- 2.5 ซม. ยาว 3- 5 ซม. ขอบใบหยักห่างๆ ดอก (Flower) เป็นดอกช่อ( inflorescence flower)
แบบ panicle สีขาว กลิ่นหอม ออกรวมกันเป็น ช่อโตๆตามปลายกิ่ง แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง แต่ละดอกมีรูปร่าง
เป็นหลอดรูปแตรเรียวยาวถึง 6 ซ.ม. ปลายหลอดจะ แยกบานเป็น 5 แฉก แต่ละดอกจะมีเกสรผู้4 อันกับ
หลอดท่อเกสรตัวเมีย 1 หลอด ยาวพ้นปากหลอดออก มาเล็กน้อย ตัวดอกห้อยลง ดอกจะบานในตอน
19
กลางคืน พอเช้าดอกจะร่วงเกลื่อนใต้โคนต้น ฤดูดอก คือ ช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. ผล ( fruit) เป็นผลเดี่ยว(
simple fruit) ประเภท ผลแห้ง( dry fruit) แบบ legume เป็นฝักแบน ตรง หัวแหลม ท้ายแหลม ขนาด กว้าง 2
ซ.ม.ยาว 30 ซม. เป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ด( Seed) รูปร่างแบนๆบาง ๆ สีขาวและมี ครีบเป็น
ปีก เพื่อประโยชน์ในการปลิวไปตามลมได้ไกลๆ ขนาดรวมทั้งปีกประมาณ 1.3 x 2.5 ซม.เมล็ดมีปีก ก็จะบิน
ไปร่วงหล่นที่อื่น เพื่องอกเป็นต้นใหม่ต่อไป
1.1.ประโยชน์ใช้สอย
ปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีใบ และดอกสวย โดยนิยม ปลูกไว้ตามทางเข้าบ้าน หรือตามมุมบ้าน
ดอกให้กลิ่นหอม ชื่นใจดี คนสมัยโบราณนิยมเก็บดอกปีบมามวนผสมบุหรี่ นัยว่า ให้รสชาติหอมชื่นใจ แต่
ตามตําราสมุนไพร พื้นบ้านบอกว่า ดอกปีบมีฤทธิ์รักษาโรคหอบ หืด โดยให้มวนเป็นบุหรี่สูบ ใครที่เป็นโรค
ภูมิแพ้อยู่ ลองเก็บ ดอกปีบ มาใส่ขวดเล็กๆ (ขวดซุปไก่สกัดกําลังพอดี) วางประดับตามบ้าน เพราะจากการ
วิจัยพบว่า สารระเหยในดอกปีบมีฤทธิ์ขยายหลอดลมได้และดีกว่าตัวยาที่ใช้ในยาแผนปัจจุบันบางตัวเสียอีก
ลักษณะทางกายวิภาค( Wood anatomy)
พอร์เป็นแบบเดียว ( solitary pore) และพอร์แฝด ( multiple pore) การเรียงตัวเป็นแบบพอร์กลุ่ม ( cluster)
และพอร์เฉียง ( pore oblique) การกระจายเป็นแบบกระ จัดกระจาย ( diffuse porous) ถึงพอร์กึ่งวง ( semi-
ring porous) พอร์เล็ก เส้นเรย์เห็นชัด พาเรงคิมาเป็นแบบ พาเรงคิมาแบบปีก ( aliform parenchyma) และ
พาเรงคิมา แบบปีกต่อ ( conmfluent parenchyma)
1.2.การดูแล
ปีบปลูกได้ทั้งในที่รําไร และแดดจัด ถ้าปลูกในที่แดดจัดและค่อนข้างชื้น ต้นจะโตเร็วมาก ถ้าไม่
อยากให้สูงเกินไป ควรหมั่นเล็มกิ่งก้าน ให้แตกกิ่งออกทางด้านข้างแทน ถ้าปลูกในที่รําไร หรือที่ดินชื้น ต้น
จะไม่สูงมาก แต่รากจะยืดยาว และแตกหน่อใหม่ตามรากเป็นจํานวนมากการขยายพันธุ์ การกระจายพันธ์
ตามธรรมชาติ( natural distribution) ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ห่าง ๆ กันตามป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแห้งแล้ง
ทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การขยายพันธ์( reproduction) ปกติใช้การ
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือนํารากมาตัดเป็นท่อนๆแล้วนํามาชําในกระบะทรายที่ผสมขี้เถ้าแกลบ การออกดอก
และการติดผล( Flowering and fruiting habit) จะออกดอกและติดผลในระหว่างเดือนธันวาคม- มีนาคมแยก
หน่อใหม่ตามรากไปปลูก เพาะเมล็ด
20
2.ต้นราชพฤกษ์
รูป 4.2. ต้นราชพฤกษ์
ราชพฤกษ์ หรือ คูน (อังกฤษ: Golden shower; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula) เป็นไม้ดอกใน
ตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และ
ศรีลังกา ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจําชาติไทย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน
เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อ
ความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้
2.1.ลักษณะ ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร
แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62
เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจํานวนมากเกี่ยวกับชื่อ ชื่อของราช
พฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจํา
ง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทางภาคเหนือเรียกว่า ลมแล้ง ทางภาคใต้เรียกว่า ราชพฤกษ์ ลักเกลือ
หรือ ลักเคย ชาวกะเหรี่ยงและในกาญจนบุรีเรียกว่า กุเพยะการปลูกและการดูแลรักษาการปลูกในช่วงแรกๆ
ต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตได้ช้าในระยะเวลาประมาณ 1-3 ปีแรก หลังจากนั้นต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโต
เร็วขึ้น เปลือกจะเป็นสีนํ้าตาลเรียบ มีรากแก้วยาวสีเหลือง และ มีรากแขนงเป็นจํานวนมาก เมื่อต้นราพฤกษ์
มีอายุ 4-5 ปี จึงออกดอกและเมล็ด
21
2.2.การดูแลรักษา
แสง ต้นราชพฤกษ์ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
นํ้า ต้นราชพฤกษ์ต้องการปริมาณนํ้าน้อย ควรให้นํ้า 7-10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 4 ปี สามารถทนต่อ
สภาพธรรมชาติได้
ดิน ต้นราชพฤกษ์เจริยเติบโตได้ดีดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว
ปุ๋ ย ต้นราชพฤกษ์นิยมใช้ปุ๋ ยคอกหรือปุ๋ ยหมักในการบํารุงรักษา อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ
3-4 ครั้ง
การขยายพันธุ์ ต้นราชพฤกษ์นิยมขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ
การเพาะเมล็ด
โรค ต้นราชพฤกษ์ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร
ศัตรู ต้นราชพฤกษ์มีศัตรูหนอนเจาะลําต้น (Stem boring caterpillars) จะมีอาการ ลําต้นหรือยอด
เป็นรู เป็นรอยเจาะทําให้กิ่งหักงอ
การป้ องกัน ต้นราชพฤกษ์ควรปลูกโดยรักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก หรือกําจัดแมลงพาหะ
ใช้ยาเช่นเดียวกับการกําจัด
การกําจัด ต้นราชพฤกษ์นิยมใช้ยาไดเมทโธเอท หรือ เมโธมิล อัตราและคําแนะนําระบุไว้ตามฉลาก
2.3.สรรพคุณ
ส่วนต่างๆ ของต้นราชพฤกษ์มีประโยชน์ดังนี้
ฝักแก่ เนื้อสีนํ้าตาลดําและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้โดยนําฝักมาต้มกับ
นํ้า และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่
ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง เมื่อนําฝักมาบดผสมนํ้าแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลาย
ที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกําจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้[2]
ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม
ด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากนํ้าตาลใน
การทําหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย
ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้
ใบ สามารถนํามาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้
ดอก ช่วยแก้แผลเรื้อรัง ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลําไส้ รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะ
อาหาร
22
2.4.ความเชื่อ
ต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้มงคลนิยมใช้ประกอบพีธีที่สําคัญ เช่น พีธีเสาไม้หลักเมืองเป็นส่วน
ประกอบในการทําคฑาจอมพล และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ฯลฯคนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า
ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความ
เจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้
ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทําให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นคนไทยในสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าบ้านใด
ปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจําบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์
เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจําชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราช
พฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทํานํ้าพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือ
ว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนาม
2.5.สัญลักษณ์ต้นราชพฤกษ์
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนมัธยมสาธิตพัทยา (เมืองพัทยา 11)
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตําหนักสวนกุหลาบ
มัธยม)
ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนสตรีนครสวรรค์
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, มหาวิทยาลัยเวส
เทิร์น และ วิทยาลัยทองสุข
ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช,คณะ
สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ
ทหารลาดกระบัง
ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนสตรีอ่างทอง
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนสาธิต “พิบูลบําเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัด นนทบุรี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2450 รวมแล้ว
กว่า 100 ปี)
23
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ นวมินทราชูทิศ ได้แก่ โรงเรียนนวมินท
ราชูทิศ กรุงเทพมหานคร โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ โรง
เรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง
นนทบุรี
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนวัดพุทธบูชา
ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดนครศรีธรรมราช
ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก
ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์
ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนสุคนธีรวิทย์
ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนบ้านโคกอิโด่ย
24
3.ต้นพญาสัตบรรณ
รูป 4.3. ต้นสัตบรรณ
ชื่อสามัญ Devil Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris
ตระกูล APOCYNACEAE
ชื่ออื่น ตีนเป็ดไทย
3.1.ลักษณะทั่วไป
พญาสัตบรรณเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตรผิวลําต้นมีสะเก็ดเล็กๆ
สีขาวปนนํ้าตาลกรีดดูจะมียางสีขาว ลําต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้น ๆ ใบออกเป็นกลุ่ม
บริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น ใบสีเขียวถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาวลักษณะใบยาว
รีปลายใบมนโคนใบแหลมขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือส่วน
ยอดของลําต้นดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็ม ช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่มดอกมีสีขาวอมเหลืองผล
เป็นฝักยาว ลักษณะเป็นเส้นๆ มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้นการ
เป็นมงคลคนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นสัตบรรณไว้ประจําบ้านจะทําให้มีเกียรติเพราะพญาสัตบรรณ
หรือฉัตรบรรณคือเครื่องสูงที่ใช้ในขบวนแห่เป็ นเกียรติยศ และ พญา ก็คือ ผู้เป็นใหญ่ที่ควรยกย่อง เคารพนับ
ถือ ดังนั้นพญาสัตบรรณจึงเป็นไม้มงคลนาม นอกจากนี้การเจริญเติบโตของทรงพุ่มมีลักษณะคล้ายกับฉัตร
คือเป็นชั้นๆ และยังมีความเชื่ออีกว่าบ้านใดปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ประจําบ้านจะได้รับการยกย่องและนับ
ถือจากบุคคลทั่วไปเพราะสัตคือสิ่งที่ดีงามมีคุณธรรมดังนั้นจึงเป็นที่เคารพนับถือและยกย่องของคนทั่วไป
ตําแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ทางทิศเหนือผู้
ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าให้เป็นมงคล
ยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก
25
3.2.การปลูก
นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ควรห่างจากบ้านพอสมควรเพราะเมื่อมีอายุ
มาก ขนาดทรงพุ่มจะสูงใหญ่ ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50เซนติเมตร ใช้ปุ๋ ยคอกหรือปุ๋ ยหมัก : ดินร่วน
อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก
3.3. การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
นํ้า ต้องการปริมาณนํ้าปานกลาง ควรให้นํ้า 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย
ปุ๋ ย ใช้ปุ๋ ยคอกหรือปุ๋ ยหมัก อัตรา 2: 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด และการปักชํา
โรคและศัตรู ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
ssuser858855
 
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บทตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
chaipalat
 
ชอล์กกำจัดมดจากเปลือกไข่
ชอล์กกำจัดมดจากเปลือกไข่ชอล์กกำจัดมดจากเปลือกไข่
ชอล์กกำจัดมดจากเปลือกไข่
pink2543
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
Kittichai Pinlert
 
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติกโครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
พัน พัน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพดโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
พัน พัน
 
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา   พาสะอาดโครงงานจิตอาสา   พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
Gob Chantaramanee
 
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลกโครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
พัน พัน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนมโครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
Chok Ke
 
ตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อ
sukanya5729
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
kessara61977
 

Was ist angesagt? (20)

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์
 
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
 
โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บทตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
 
ชอล์กกำจัดมดจากเปลือกไข่
ชอล์กกำจัดมดจากเปลือกไข่ชอล์กกำจัดมดจากเปลือกไข่
ชอล์กกำจัดมดจากเปลือกไข่
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติกโครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพดโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
 
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
 
ปัญหาน้ำเน่าเสีย
ปัญหาน้ำเน่าเสียปัญหาน้ำเน่าเสีย
ปัญหาน้ำเน่าเสีย
 
โครงงาน Hydroponic
โครงงาน Hydroponicโครงงาน Hydroponic
โครงงาน Hydroponic
 
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา   พาสะอาดโครงงานจิตอาสา   พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
 
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลกโครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนมโครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
 
โครงงานคัดแยกขยะ
โครงงานคัดแยกขยะโครงงานคัดแยกขยะ
โครงงานคัดแยกขยะ
 
ตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อ
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
 

Andere mochten auch

รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
อาภัสรา ยิ่งคำแหง
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
Aekapoj Poosathan
 
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
อาภัสรา ยิ่งคำแหง
 
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้านโครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
Chok Ke
 
โครงงานประเภททฤษฏี
โครงงานประเภททฤษฏีโครงงานประเภททฤษฏี
โครงงานประเภททฤษฏี
Nuchy Geez
 
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีPowerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
อาภัสรา ยิ่งคำแหง
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
Bunnaruenee
 
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนโครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
Suwanan Thipphimwong
 
โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...
โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...
โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...
oryornoi
 

Andere mochten auch (20)

นักสืบสายลม
นักสืบสายลมนักสืบสายลม
นักสืบสายลม
 
Lichen
LichenLichen
Lichen
 
Airdetectiveshandbook
AirdetectiveshandbookAirdetectiveshandbook
Airdetectiveshandbook
 
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
 
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
 
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้านโครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
 
โครงงานประเภททฤษฏี
โครงงานประเภททฤษฏีโครงงานประเภททฤษฏี
โครงงานประเภททฤษฏี
 
Isการสำรวจปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบัน
IsการสำรวจปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบันIsการสำรวจปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบัน
Isการสำรวจปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบัน
 
โครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงโครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผง
 
การทำโปรเจค
การทำโปรเจคการทำโปรเจค
การทำโปรเจค
 
3 สเต็ปง่ายๆ กับวิธีคิดโปรเจค
3 สเต็ปง่ายๆ กับวิธีคิดโปรเจค3 สเต็ปง่ายๆ กับวิธีคิดโปรเจค
3 สเต็ปง่ายๆ กับวิธีคิดโปรเจค
 
โครงงานโปรเจ็คเวิร์ค
โครงงานโปรเจ็คเวิร์คโครงงานโปรเจ็คเวิร์ค
โครงงานโปรเจ็คเวิร์ค
 
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีPowerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
 
Intro sciproject
Intro sciprojectIntro sciproject
Intro sciproject
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
 
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนโครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
 
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 
Social
SocialSocial
Social
 
โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...
โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...
โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...
 

Ähnlich wie โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน

โรงเรียนปรินส์รอยแยลล์วิทยาลัย1
โรงเรียนปรินส์รอยแยลล์วิทยาลัย1โรงเรียนปรินส์รอยแยลล์วิทยาลัย1
โรงเรียนปรินส์รอยแยลล์วิทยาลัย1
PN17
 
khuankalong wittayakom
khuankalong wittayakomkhuankalong wittayakom
khuankalong wittayakom
wimon1960
 
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
Kobwit Piriyawat
 
20080901banana_ntun
20080901banana_ntun20080901banana_ntun
20080901banana_ntun
molvyakob
 
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
Wareerut Hunter
 
วารสารโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ปี 2555
วารสารโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ปี 2555วารสารโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ปี 2555
วารสารโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ปี 2555
waranyuati
 
โครงการพระราชดำริ
โครงการพระราชดำริโครงการพระราชดำริ
โครงการพระราชดำริ
tipfylovely
 
โครงการพระราชดำร
โครงการพระราชดำร โครงการพระราชดำร
โครงการพระราชดำร
pang_patpp
 
การวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
การวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงการวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
การวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
savokclash
 
การปลูกป่าชายเลน
การปลูกป่าชายเลนการปลูกป่าชายเลน
การปลูกป่าชายเลน
pangminpm
 
เศรษฐกิจพอเพียง1
เศรษฐกิจพอเพียง1เศรษฐกิจพอเพียง1
เศรษฐกิจพอเพียง1
mingpimon
 
โครงการปลูกหญ้าแฝก
โครงการปลูกหญ้าแฝกโครงการปลูกหญ้าแฝก
โครงการปลูกหญ้าแฝก
bee-28078
 
โครงการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว
โครงการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวโครงการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว
โครงการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว
nam--nam-thanaporn
 
โครงการปลูกหญ้าแฝก1
โครงการปลูกหญ้าแฝก1โครงการปลูกหญ้าแฝก1
โครงการปลูกหญ้าแฝก1
Nuttayaporn2138
 

Ähnlich wie โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน (20)

โรงเรียนปรินส์รอยแยลล์วิทยาลัย1
โรงเรียนปรินส์รอยแยลล์วิทยาลัย1โรงเรียนปรินส์รอยแยลล์วิทยาลัย1
โรงเรียนปรินส์รอยแยลล์วิทยาลัย1
 
khuankalong wittayakom
khuankalong wittayakomkhuankalong wittayakom
khuankalong wittayakom
 
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
 
krongkan
krongkankrongkan
krongkan
 
20080901banana_ntun
20080901banana_ntun20080901banana_ntun
20080901banana_ntun
 
Is 3 (1)
Is 3 (1)Is 3 (1)
Is 3 (1)
 
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
 
ปกใน
ปกในปกใน
ปกใน
 
วารสารโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ปี 2555
วารสารโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ปี 2555วารสารโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ปี 2555
วารสารโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ปี 2555
 
โครงการพระราชดำริ
โครงการพระราชดำริโครงการพระราชดำริ
โครงการพระราชดำริ
 
โครงการพระราชดำร
โครงการพระราชดำร โครงการพระราชดำร
โครงการพระราชดำร
 
at 1
at 1at 1
at 1
 
การวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
การวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงการวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
การวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
 
การปลูกป่าชายเลน
การปลูกป่าชายเลนการปลูกป่าชายเลน
การปลูกป่าชายเลน
 
เศรษฐกิจพอเพียง1
เศรษฐกิจพอเพียง1เศรษฐกิจพอเพียง1
เศรษฐกิจพอเพียง1
 
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริรัลกาลที่9
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริรัลกาลที่9โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริรัลกาลที่9
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริรัลกาลที่9
 
โครงการปลูกหญ้าแฝก
โครงการปลูกหญ้าแฝกโครงการปลูกหญ้าแฝก
โครงการปลูกหญ้าแฝก
 
โครงการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว
โครงการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวโครงการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว
โครงการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว
 
โครงการปลูกหญ้าแฝก1
โครงการปลูกหญ้าแฝก1โครงการปลูกหญ้าแฝก1
โครงการปลูกหญ้าแฝก1
 

Mehr von พัน พัน

Mehr von พัน พัน (20)

เรื่องระบบปฏิบัติการ
เรื่องระบบปฏิบัติการเรื่องระบบปฏิบัติการ
เรื่องระบบปฏิบัติการ
 
เรื่องภาษาซี
เรื่องภาษาซีเรื่องภาษาซี
เรื่องภาษาซี
 
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
 
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษร
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษรการเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษร
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษร
 
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
 
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
 
การทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
การทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์การทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
การทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
 
การทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์การทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์
 
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัย
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัยระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัย
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัย
 
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
เรื่องด้านคอมพิวเตอร์
เรื่องด้านคอมพิวเตอร์เรื่องด้านคอมพิวเตอร์
เรื่องด้านคอมพิวเตอร์
 
เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
การปริ้น
การปริ้นการปริ้น
การปริ้น
 
Office
OfficeOffice
Office
 
ปัญหาทรัพยากรป่าไม้
ปัญหาทรัพยากรป่าไม้ปัญหาทรัพยากรป่าไม้
ปัญหาทรัพยากรป่าไม้
 
ยาเสพติด
ยาเสพติดยาเสพติด
ยาเสพติด
 

โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน

  • 1. โครงงาน เรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน เสนอ คุณครูทรงศักดิ์ โพธิ์เอี่ยม โดย 1.นายธนวัฒน์ น้อยเกตุ เลขที่ 6 2.นายณัฐกาญจน์ สุขสม เลขที่ 7 3.นาสาวกมลวรรณ สมบูรณ์ศิริ เลขที่ 17 4.นางสาวจุฑามาศ เนียมหอม เลขที่ 18 5.นางสาวธิติอร เบิกไพร เลขที่ 21 6.นางสาวอศัลยา รังษี เลขที่ 23 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา IS2 รหัสวิชา I30202 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี
  • 2. คำนำ โครงงานเรื่องการศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนฉบับนี้ กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาต้นไม้บริเวณสวนพฤก- ศาสตร์ ได้ศึกษาวิธีการทาโครงงานจากอินเตอร์เน็ต และได้นาชื่อต้นไม้ที่หามาได้มาศึกษาค้นคว้าข้อมูลของ ต้นไม้ชนิดนั้นๆ แล้วนามาทาโครงงาน หวังว่าโครงงานนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจที่จะศึกษาต้นไม้โดยที่ไม่ต้องไปเดินไปถามคนอื่น และ สุดท้ายถ้าข้อมูลเนื้อหาอะไรผิดพลาดไปกลุ่มของข้าพเจ้ากราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทาโครงงาน
  • 3. ค สารบัญ เรื่อง หน้า กิตติกรรมประกาศ ก คานา ข สารบัญ ค บทที่ 1 บทนา 1 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3 2.1. จังหวัดกาญจนบุรี 3 2.1.1. สภาพภูมิศาสตร์-ที่ตั้งและอาณาเขต 3 2.1.2. ลักษณะภูมิประเทศ 3 2.1.3. ลักษณะภูมิอากาศ 3 2.1.4. ทรัพยากรธรรมชาติ 4 2.1.5. ทรัพยากรดิน 4 2.1.6. ทรัพยากรน้า 4 2.1.7. ทรัพยากรป่าไม้ 5 2.2. ต้นไม้ประจาจังหวัด 5 2.3. ต้นไม้ภายในโรงเรียน 6 บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีรการศึกษา 17 3.1. วัสดุอุปกรณ์ 17 3.2. วิธีดาเนินการศึกษา 17 บทที่ 4 ผลการศึกษา 18 - ต้นปีบ 18 - ต้นราชพฤกษ์ 20 - ต้นพญาสัตบรรณ 24 - ต้นประดู่ 26 - ต้นปาล์มขวด 28
  • 4. ค -ต้นชงโค 29 -ต้นประดู่แดง 30 - ต้นตาลฟ้า 31 - ต้นไทรย้อย 32 บทที่ 5 แผนผังต้นไม้ 34 ตารางสรุปการศึกษาต้นไม้ ณ สวน ส.ค.ส. ๒๕๕๐ แด่หลานย่า 35 บรรณานุกรม 38
  • 5. 1 บทที่ 1 บทนา ที่มาและความสาคัญของโครงงาน จากการที่ได้สํารวจว่าบริเวณในโรงเรียนนั้นมีต้นไม้นานาชนิดซึ่งก็มีลักษณะและประโยชน์ที่ แตกต่างกัน โดยนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ทราบชื่อและความสําคัญประโยชน์ของต้นไม้ชนิดนั้นๆ ซึ่งผู้จัดทํา โครงงานได้ให้ความสําคัญของชื่อและประโยชน์ของต้นไม้เพราะผู้จัดทําได้รับประสบการณ์ตรงจากการ ถูกถามชื่อและประโยชน์ของต้นไม้โดยนักเรียนส่วนใหญ่จะไม่ทราบชื่อหรือประโยชน์ของต้นไม้ชนิด นั้นๆ และได้สังเกตเห็นว่าต้นไม้แต่ละชนิดนั้นสามารถนําไปอุปโภคและมีสรรพคุณที่สามารถรักษาโรคได้ ดังนั้นผู้จัดทําโครงงานจึงอยากที่จะศึกษาต้นไม้ภายในโรงเรียนแต่ละชนิดว่ามีชื่อ สรรพคุณ และ ประโยชน์อย่างไรและได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1.เพื่อศึกษาต้นไม้ภายในโรงเรียนมีชนิดอะไรบ้าง 2.เพื่อให้ผู้อื่นทราบระเบียนต้นไม้ภายในโรงเรียน 3.เพื่อศึกษาประโยชน์ต้นไม้ภายในโรงเรียน ขอบเขตของโครงงาน สํารวจและศึกษาค้นคว้าต้นไม้ภายในโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ณ สวน ส.ค.ส. ๒๕๕๐ แด่หลานย่า ข้อตกลงเบื้องต้น ศึกษาเฉพาะบริเวณที่กําหนด
  • 6. 2 สมาชิก 1.นายธนวัฒน์ น้อยเกตุ เลขที่ 6 2.นายณัฐกาญจน์ สุขสม เลขที่ 7 3.นางสาวกมลวรรณ สมบูรณ์ศิริ เลขที่ 17 4.นางสาวจุฑามาศ เนียมหอม เลขที่ 18 5.นางสาวธิติอร เบิกไพร เลขที่ 21 6.นางสาวอศัลยา รังษี เลขที่ 23 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
  • 7. 3 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1.จังหวัดกาญจนบุรี 2.1.1 สภาพภูมิศาสตร์ - ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดกาญจนบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๑๒๙ กิโลเมตร ตามเส้นทางนครปฐม - บ้านโป่ง - กาญจนบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๙,๔๘๓,๑๔๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๒ ล้านไร่ มีขนาด พื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของประเทศรองจากจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดเชียงใหม่ 2.1.2 ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดกาญจนบุรี แบ่งออกได้ ๓ ลักษณะดังนี้ 2.1.2.1 เขตภูเขาและที่สูง พื้นที่ทางด้านทิศเหนือของจังหวัด ได้แก่บริเวณอําเภอสังขละบุรี อําเภอทองผาภูมิ อําเภอศรีสวัสดิ์และอําเภอไทรโยคมีลักษณะเป็นเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนน ธงชัยถัดไปทางด้านตะวันตกของจังหวัด เทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับประเทศเมียน มาร์ทอดยาวลงไปทางด้านใต้บริเวณนี้จะเป็นแหล่งกําเนิดต้นนํ้าที่สําคัญของจังหวัด คือแม่นํ้าแควใหญ่ และ แควน้อย 2.1.2.2. เขตที่ราบลูกฟูก ได้แก่พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบ เชิงเขาสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่บริเวณอําเภอเลาขวัญ อําเภอบ่อพลอยและบางส่วนของอําเภอพนมทวน 2.1.2.3. เขตที่ราบลุ่มนํ้า ได้แก่พื้นที่ทางด้านใต้ของจังหวัด ลักษณะเป็นที่ราบ ดินมีความ อุดมสมบูรณ์ อยู่บริเวณอําเภอท่ามะกา อําเภอท่าม่วงและบางส่วนของอําเภอพนมทวน อําเภอเมือง กาญจนบุรี *ลักษณะทางภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นป่า ซึ่งจะมีทั้งป่าดงดิบและป่าโปร่ง 2.1.3.ลักษณะภูมิอากาศ ฤดูกาล ฤดูร้อน ระหว่าง กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีลมฝ่ายใต้พัดมาปกคลุม ทําให้มี อากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดอยู่ในเดือนเมษายน ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน ในระยะนี้เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตก เฉียงใต้พัดปกคลุม ทําให้มีฝนตกชุก โดยตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน
  • 8. 4 ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยในช่วงนี้ ความกดอากาศสูงจาก ประเทศจีนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทําให้อากาศหนาวเย็นและความแห้งแล้งแผ่ปก คลุมจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรีมีอุณหภูมิตํ่าสุดโดยเฉลี่ย ๒๓.๗ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด โดยเฉลี่ย ๓๔.๐ องศาเซลเซียส และอุณหภูมิตํ่าที่สุดวัดได้๑๓.๑ องศาเซลเซียส (เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๙ อุณหภูมิสูงสุด วัดได้๔๐.๙ องศาเซลเซียส ( เมื่อ ๑ เมษายน ๒๕๓๙) ปริมาณนํ้าฝน เฉลี่ย ๑,๔๙๖.๒ มิลลิเมตร/ปี 2.1.4 ทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ ดิน นํ้า ฯลฯ อย่างไรก็ตามความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรเหล่านี้ก็ย่อมมีวันหมดไปไม่วันใดก็วันหนึ่งหรือลดจํานวน ลง หากไม่มีการอนุรักษ์หรือนํามาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า การพัฒนาที่ดีต้องควบคู่ไปกับการดูแลรักษา การอนุรักษ์ โดยไม่นําทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่นั้นมาสร้างผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มคนหรือนํามาใช้อย่าง ฟุ่มเฟือย 2.1.5 ทรัพยากรดิน พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีมีภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ที่เหมาะสําหรับเกษตรกรรมคือ ที่ ราบระหว่างภูเขาซึ่งมีแม่นํ้าและลํานํ้าสายต่างๆ ไหลผ่าน เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหินปูน หินแกรนิต หิน แกรไนโอออไรท์ หินไนล์ หินดินดาน หินควอทโซฟีลไลท์ เป็นวัตถุต้นกําเนิดดิน ที่ราบระหว่างหุบเขา และสองฝั่งแม่นํ้าจึงมีลักษณะเป็นตะกอนที่เกิดจากการสลายตัวของหินดังกล่าวแล้วถูกนํ้าพัดพามาทับ ถม และเนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้มีหินปูนเป็นส่วนใหญ่ ดินจึงมีปฏิกิริยาเป็นกลางหรือเป็นด่าง มีความอุดม สมบูรณ์ปานกลางถึงดี จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชไร่ที่สําคัญของประเทศเช่น อ้อย ข้าวโพด มันสําปะหลัง และสับปะรด ส่วนในบริเวณที่ราบตํ่าใช้ปลูกข้าวแต่มีเนื้อที่ไม่มากนัก 2.1.6 ทรัพยากรนํ้า จังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งนํ้าที่สําคัญ 3 ประเภทคือ 2.1.6.1 นํ้าใต้ดินหรือนํ้าบาดาล ต้นกําเนิดของแหล่งนํ้าบาดาลส่วนใหญ่มาจากนํ้าฝนซึ่ง ตกสู่ผิวดินลงไปกับเก็บใต้ชั้นดิน พื้นที่ทางตอนบนและทางตะวันตกของจังหวัดซึ่งมีสภาพเป็นที่สูง ภูเขา รองรับด้วยหินแปรปริมาณนํ้าบาดาลจึงมีน้อยมาก ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกและทางใต้ของจังหวัด เป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งนํ้าบาดาลสามารถนําขึ้นมาใช้ได้ แต่ยังคงมีปริมาณน้อย
  • 9. 5 2.1.6.2 นํ้าผิวดิน แหล่งนํ้าผิวดินมีต้นนํ้าอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดถึงเขตจังหวัด อุทัยธานี ลักษณะทางนํ้าเป็นร่องลึกในระหว่างหุบเขา มีธารนํ้าบางสายไหลขึ้นไปทางเหนือสู่ประเทศ พม่า แต่ลําธารส่วนใหญ่ไหลลงสู่แม่นํ้าแควน้อยและแควใหญ่ ก่อนจะรวมตัวกันเป็นแม่นํ้าแม่กลอง ส่วน ด้านตะวันออกมีลําตะเพินเป็นธารนํ้าสําคัญของบริเวณนี้ แหล่งนํ้าผิวดินที่สําคัญ ได้แก่ แม่นํ้าแคว น้อย แม่นํ้าแควใหญ่(ศรีสวัสดิ์) แม่นํ้าแม่กลอง แม่นํ้าลําตะเพิน 2.1.6.3 นํ้าจากการชลประทาน จังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่ตั้งของอ่างเก็บนํ้าขนาดใหญ่หลาย แห่งเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่สิ่งที่ได้รับผลประโยชน์ตามมาคือการชลประทานที่ สามารถส่งนํ้าให้กับพื้นที่เพาะปลูก เขื่อนที่สําคัญ เช่น เขื่อนศรีนครินทร์ในเขตอําเภอศรีสวัสดิ์ เขื่อนเขา แหลมในอําเภอทองผาภูมิอําเภอสังขละบุรี และเขื่อนวชิราลงกรณ์ในอําเภอท่าม่วง 2.1.7 ทรัพยากรป่ าไม้ ภาคกลางมีพื้นที่ของป่าไม้น้อยมาก ส่วนใหญ่พบในภาคกลางตอนบนเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดง ดิบ จังหวัดอุทัยธานีจะมีป่าไม้เหลืออยู่มากที่สุด ประมาณ 2,620 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยาน แห่งชาติห้วยขาแข้งส่วนจังหวัดอื่น ๆ ไม่มีพื้นที่ป่าไม่เหลืออยู่เลย 2.2.ต้นไม้ประจาจังหวัด ชื่อพันธุ์ไม้ : ขานาง ชื่อสามัญ : Moulmein Lancewood ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia macrohpylla Wall วงศ์ : Homalium tomentosum Benth. ชื่ออื่น : ขานาง (ภาคกลาง,เชียงใหม่,มจันทบุรี), ขางนาง คะนาง (ภาคกลาง), ค่านางโคด (ระยอง), ช้างเผือก หลวง (เชียงใหม่), แซพลู้(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปะหง่าง (ราชบุรี), เปลือย (กาญจนบุรี), เปื๋อยคะนาง เปื๋อ ยนาง (อุตรดิตถ์), เปื๋อยค่างไห้ (ลําปาง), ลิงง้อ (นครราชสีมา) ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15 – 30 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนมีขนสีนํ้าตาลนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอก ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ขยายพันธุ์ :โดยการเพาะเมล็ด
  • 10. 6 สภาพที่เหมาะสม : ดินที่มีหินปูนปนอยู่มาก นํ้าและความชื้นปานกลาง ถิ่นกาเนิด : ป่าเบญจพรรณชื้น พบมากในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี 2.3.ต้นไม้ภายในโรงเรียน 2.3.1. ไม้ยืนต้น ไม้ยืนต้น หมายถึง ลักษณะของต้นไม้ที่มีลักษณะต้นสูงใหญ่และมีรากแก้วที่ช่วยในการคํ้าจุนไม้ยืน ต้นมีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ลักษณะของลําต้นเป็นไม้เนื้อแข็งและสมารถที่แผ่กิ่งก้าน สาขาออกไปได้ไกล และเป็นพุ่ม 2.3.1.1. ต้นประดู่แดง ชื่อพื้นเมือง: ประดู่แดง วาสุเทพ ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 -20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน แตกกิ่งก้าน ปลายกิ่งล่างลงดิน ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ แผ่นใบทั้ง 2 ข้างมีขนาดไม่เท่ากัน ดอก: ออกดอกเป็นช่อประจุกขนาดใหญ่ตามกิ่ง 3 - 5 ดอก สีแดงอมส้ม ขณะออกดอกใบมักจะร่วงหมด ผล: ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานและโค้งเล็กน้อย ด้านภูมิทัศน์: ให้ร่มเงา สวยงาม และเป็นไม้ประจําสํานักงานตํารวจแห่งชาติ คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจําบ้านจะทําให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่ ประดู่ คือ ความพร้อมความร่วมมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดี่ยวกัน นอกจากนี้ดอกประดู่ยังมีลักษณะที่ ระดมกันบานเมต้นดูลายตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจํากองทัพเรือ และส่วนแก่น ไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สําคัญของคนไทยพื้นเมืองในสมัยโบราณ คือ ใช้ทําเป็นเครื่องเสียงพวก ระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่งแข็งแรง 2.3.1.2.ต้นชงโค ต้นชงโค ภาษาอังกฤษ Orchid Tree, Purple Orchid Tree, Butterfly Tree, Purple Bauhinia, Hong Kong Orchid Tree ชงโค ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia glauca Wall. ex Benth. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์(Caesalpinioideae) เช่นเดียวกันกับมะขาม แขก ราชพฤกษ์และเสี้ยวดอกขาว โดยมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆอีก เช่น ดอกตีนวัว, เสี้ยวหวาน กะเฮอ สะเปซี (แม่ฮ่องสอน), เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ), ชงโค เสี้ยวเลื่อย (ภาคใต้) เป็นต้น โดยมีถิ่นกําเนิดทาง ตอนใต้ของประเทศจีนรวมไปถึงฮ่องกง และทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • 11. 7 ลักษณะของต้นชงโค ชงโคเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลักษณะของ ใบชงโคเป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ปลายของใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมนดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้ายๆกับใบกาหลง) ส่วนลักษณะของผลจะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่วกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาว ประมาณ 15-20 เซนติเมตร เมล็ดในฝักค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความของฝัก โดย เป็นต้นไม้ที่ผลัดใบในช่วงฤดูหนาว (ปลายปี) แล้วจะผลิใบในช่วงเดือนเมษาถึงพฤษภาคม และเป็นต้นไม้ที่ ชอบแสงแดด การเพาะปลูกจึงนิยมปลูกในที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน ลักษณะของดอกชงโคดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆโดยจะออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งแต่ละช่อมีดอก ประมาณ 6-10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบ 5 กลีบ โดยกลีบดอกจะมีสีชมพูถึงสีม่วงแดง ลักษณะของดอกจะคล้าย กับดอกกล้วยไม้เมื่อบานเต็มที่ดอกชงโคจะกว้างประมาณ 7-9 เซนติเมตร ตรงกลางของดอกจะมีเกสรตัวผู้ เป็นเส้นยาว 5 เส้น ยื่นออกไปด้านหน้าโค้งขึ้นด้านบนและมีเกสรตัวเมียอยู่ตรงกลาง 1 เส้นยาวกว่าเกสรตัวผู้ ประวัติต้นชงโค ชื่อของชงโคนั้นมาจากใบชงโคมีลักษณะเป็นใบแฝดติดกัน คล้ายรอยเท้าวัว สําหรับบ้านเรายังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร สาเหตุอาจมาจากชื่อที่ยังไม่ไพเราะ มีความหมายดีถูกใจคน ไทยก็เป็นได้แต่ถึงอย่างไรก็ตามต้นชงโคก็จัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง เพราะสําหรับชาวฮินดูแล้วถือว่าต้น ชงโคเป็นต้นไม้ของสวรรค์ที่อยู่ในเทวโลก และยังนับถือว่าเป็นต้นไม้ของพระลักษณ์มี (พระราชาของพระ นารายณ์) จึงควรค่าแก้การเคารพบูชาและปลูกไว้ในบริเวณบ้าน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในฐานะต้นไม้ ประดับ นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้ประจํามหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆอีกหลายโรงเรียน เช่น คณะอักษร ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, โรงเรียนเทพลีลา, โรงเรียนปิยะบุตร์ ฯลฯ ชงโคฮอลแลนด์ หรือ ชงโคออสเตรเลีย เป็นลูกผสมระหว่าง “ชงโค” กับ “เสี้ยว” เป็นชื่อที่ตั้งมาใช้ในทาง การค้า เพื่อเพิ่มความน่าสนใจช่วยทําให้ซื้อง่ายขายคล่อง และไม่ได้เป็นพันธุ์ไม้ที่มาจากประเทศฮอลแลนด์ หรือออสเตรเลียหรือมีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด โดยจะมีความแตกต่างกับชงโคทั่วไป โดยจะมีลักษณะ เด่นตรงที่มีขนาดของดอกที่ใหญ่กว่า กลีบดอกใหญ่กว่า มีสีสันสดใสกว่าเล็กน้อย ประโยชน์ของชงโค 1.ใบชงโคนําไปต้มช่วยรักษาอาการไอได้ (ใบ) 2.ช่วยแก้พิษไข้ร้อนจากเลือดและนํ้าดี (ดอก) 3.ชงโคสรรพคุณใช้เป็นยาระบาย (ดอก,ราก) 4.ช่วยแก้อาการท้องเสีย (เปลือกต้น) 5.ช่วยแก้อาการท้องร่วง (เปลือกต้น)
  • 12. 8 6.ช่วยแก้บิด (ดอก,แก่น,เปลือกต้น) 7.ช่วยขับลมในกระเพาะ (ราก) 9.ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ) 10.ใบชงโคใช้พอกฝี และแผลได้ (ใบ) 11.ประโยชน์ของชงโค มักปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับบ้านและสวน เพื่อความสวยงาม ให้กลิ่นหอมชื่นใจ 2.3.1.3. ต้นไทร ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus Benjamina L. ชื่อวงศ์: Moraceae ชื่อสามัญ: Golden Fig, Weeping Fig ชื่อพื้นเมือง: จาเรย (เขมร) ไทร (นครศรีธรรมราช) ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์) ไทรย้อย ไทรย้อยใบ แหลม (กรุงเทพฯ) ลักษณะทั่วไป ต้นไม้สูง 5-10 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมแผ่กว้าง สีนํ้าตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง โตช้า มีราก อากาศห้อยย้อยสวยงาม ใบ : ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-11 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบเกิดภายในฐานรองดอก ทรงกลมคล้ายผลไม่มี ฝัก/ผล : รูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร เมื่อสุกสีเหลือง ฤดูกาลออกดอก : กุมภาพันธ์ การปลูก: ปลูกลงดิน และปลูกในกระถาง การดูแลรักษา: ต้องการแสงแดดจัด นํ้าปานกลาง ชอบดินร่วนซุย การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือ ปักชํา การใช้ประโยชน์ 1. ไม้ประดับ 2. ผล เป็นอาหารของนก 3. สมุนไพร ถิ่นกําเนิด: ในอินเดียและภูมิภาคมาเลเซีย
  • 13. 9 สรรพคุณทางยา: รากอากาศเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บํารุงนํ้านม คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นไทรไว้ประจําบ้านจะทําให้เกิดความร่มเย็น เพราะ คนโบราณได้กล่าว ว่าร่มโพธิ์ ร่มไทร ช่วยทําให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองป้ องกันภัยอันตรายทั้งปวง เพราะ บางคนเชื่อว่า ต้น ไทร เป็นไม้ที่ ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยคุ้มครองพิทักษ์ปวงชนให้มี ความอยู่เย็นเป็นสุข 2.3.1.4. ต้นพญาสัตบรรณ พญาสัตบรรณ ภาษาอังกฤษ Devil Tree, White Cheesewood, Devil Bark, Dita Bark, Black Board Tree มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alstonia scholaris (L.) R. Br. จัดอยู่ในวงศ์ Apocynaceae ส่วนชื่ออื่นๆ เช่น หัส บัน สัตบรรณ สัตตบรรณ จะบัน บะซา ปูลา ปูแล ตีนเป็ด ตีนเป็ดขาว ตีนเป็ดไทยต้นตีนเป็ด เป็นต้น มีถิ่น กําเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย และยังจัดเป็น ต้นไม้ประจําจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย ลักษณะของต้นพญาสัตบรรณ ต้นพญาสัตบรรณ เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลําต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้นๆ (เหมือนฉัตร บรรณ) มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็กๆ สีขาวปนนํ้าตาลเมื่อกรีด จะมียางสีขาว และขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และการปักชําใบพญาสัตบรรณ ออกเป็นกลุ่มที่บริเวณปลาย กิ่ง โดยหนึ่งช่อจะมีใบประมาณ 5-7 ใบ ใบมีสีเขียวเข้ม ใบยาวรี ปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดของใบยาว ประมาณ 10-12 เซนติเมตร ก้านใบสั้นเมื่อเด็ดออกจะมีนํ้ายาวสีขาว ดอกพญาสัตบรรณ ออกดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม ออกดอกที่ปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลําต้น หนึ่ง ช่อจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่มดอกมีขาวอมเหลืองหรือเขียว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลพญาสัตบรรณ ผลออกเป็นฝัก ลักษณะฝักยาว เป็นฝักคู่หรือฝักเดี่ยว ลักษณะเป็นส้นๆ กลมเรียว มีความประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก มีขุยสีขาวสามารถปลิวไปตามลมได้ส่วนในฝัก จะมีเมล็ดเล็กๆ จํานวนมากลักษณะเป็นรูปขนานแบนๆ ติดอยู่กับขุย ต้นพญาสัตบรรณ กับความเชื่อ ต้นพญาสัตบรรณจัดเป็นไม้มงคลนาม ปลูกเพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะคนไทยโบราณเชื่อว่าการปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ประจําบ้านจะทําให้มีเกียรติยศ จะทําให้ได้รับการ ยกย่องและการนับถือจากบุคคลทั่วไป ซึ่งความหมายของต้นก็มาจากคําว่าพญา ซึ่งมีความหมายว่า ผู้เป็น ใหญ่ที่ควรยกย่องและเคารพนับถือ ส่วนคําว่า สัต ก็มีความหมายว่า สิ่งที่ดีงาม ความมีคุณธรรมนั่นเอง และ ตามความเชื่อจะนิยมปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ทางทิศเหนือและผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ แต่ถ้าอยากให้ เป็นมงคลยิ่งขึ้นไปอีกผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือหรือเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็น
  • 14. 10 สิริมงคงมากยิ่งขึ้น สรรพคุณของต้นพญาสัตบรรณ 1. เปลือกต้นมีรสขม ใช้เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น) 2. เปลือกต้นสัตยาบรรณ สรรพคุณช่วยลดระดับนํ้าตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน (เปลือกต้น) 3. นํ้ายางจากต้นใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้ (ยาง) 4. นํ้ายางจากต้นใช้อุดฟัน เพื่อแก้อาการปวดฟันได้ (ยาง) 5. ใบอ่อนใช้ชงดื่มช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน หรือโรคลักปิดลักเปิดได้ (ใบ) 6. เปลือกต้นใช้แก้หวัด แก้อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ (เปลือกต้น) 7. ช่วยแก้ไข้(เปลือกต้น,ใบ) 8. ดอกช่วยแก้ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน (ดอก) 9. เปลือกต้นต้มนํ้าดื่ม สรรพคุณช่วยรักษาโรคมาลาเรีย (เปลือกต้น) 10. ช่วยแก้โลหิตพิการ (ดอก) 11. ใบพญาสัตบรรณ สรรพคุณช่วยรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังได้ (ใบ) 12. เปลือกต้นพญาสัตบรรณช่วยรักษาโรคบิดท้องร่วง ท้องเดินเรื้อรังโรคลําไส้และลําไส้ติดเชื้อ (เปลือกต้น) 13. เปลือกต้นใช้เป็นยาสมานลําไส้ได้ (เปลือกต้น) 14. ช่วยบํารุงกระเพาะ (ยาง) 15. กระพี้ สรรพคุณช่วยขับผายลม (กระพี้) 16. ช่วยขับพยาธิไส้เดือน (เปลือกต้น) 17. ช่วยขับนํ้าเหลืองเสีย (เปลือกต้น) 18. ช่วยขับระดูของสตรี (เปลือกต้น) 19. ช่วยขับนํ้านม (เปลือกต้น) 20. ใบใช้พอกเพื่อดับพิษต่างได้ (ใบ) 21.ในประเทศอินเดียมีการใช้ใบและยางสีขาวในการนํามาใช้รักษาแผลแผลเปื่อยและอาการปวดข้อ(ใบ,ยาง) 22. ยาง ใช้แผลที่เป็นตุ่มหนอง ช่วยทําให้แผลแห้งเร็ว (ยาง) 23. เปลือกต้นใช้ต้มนํ้าอาบช่วยรักษาผดผื่นคัน (เปลือกต้น)
  • 15. 11 ประโยชน์ของต้นพญาสัตบรรณ 1.พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที (Allelopathy) สารสกัดจากใบพญาสัตบรรณสามารถช่วย ยับยั้งการเจริญเติบโตของต้นคะน้า ส่วนสารสกัดจากเปลือกของลําต้นก็จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ ข้าวโพด ข้าว ถั่วเชียวผิวดํา ถั่วเขียวผิวมัน และคะน้าได้ 2.เนื้อไม้สามารถนําไปทําทุ่นของแหและอวนได้ (ในบอร์เนียว) 3.เนื้อไม้หยาบ อ่อนแต่เหนียวสามารถใช้ทําหีบใส่ของ หีบศพ ทําโต๊ะ เก้าอี้ ฝักมีดของเล่นสําหรับเด็ก รองเท้าไม้หรือไม้จิ้มฟันได้ 4.เนื้อไม้ใช้ทําฟืน หรือนําใช้ทําโครงสร้างส่วนต่างๆของบ้าน เช่น เสาบ้าน เป็นต้น 5.สารสกัดจากนํ้ามันหอมระเหยของดอกพญาสัตบรรณ สามารถใช้ไล่ยุงได้ 6.ต้นพญาสัตบรรณนอกจากจะปลูกไว้เพื่อให้ร่มเงา และยังเป็นไม้มงคลนาม ที่นิยมปลูกไว้ประจําบ้านเพื่อ ความเป็นสิริมงคลอีกด้วย 2.3.1.5. สัก สัก (อังกฤษ: Teak) ไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลําต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็น ร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนตํ่าๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทาเรียบหรือแตกเป็น ร่องตื้นตามความยาวลําต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาค ตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สักมักจะได้รับความเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื่องจากว่ามันมีลักษณะพิเศษที่เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานกว่าไม้เนื้อแข็งหลายๆชนิด ชื่อสามัญอื่นอื่น:เซบ่ายี้,ปีฮือ,ปายี้,เป้ อยี ลักษณะทางพฤษศาสตร์ ลาต้น : เป็นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนตํ่า ๆ ใบ : เป็นใบเดี่ยวใหญ่มาก ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายใบแหลมโคนมน ยาว 25 - 30 เซนติเมตร กว้างเกือบ เท่ายาว ใบของต้นอ่อนจะใหญ่กว่า นี้มาก ผิวใบขนสากคายสีเขียวเข้ม ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด ดอก : มีขนาดเล็ก สีขาวนวลออกเป็นช่อตาม ปลายกิ่ง ออกดอกและเป็นผลเดือน มิถุนายน – ตุลาคม ผล : เป็นผลแห้งค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายในมี 1 - 3 เมล็ด การเพาะเมล็ด นําเมล็ดแช่นํ้า 2 วัน สลับผึ่งแดด 1 วัน รวม 15 วัน แล้วหว่านในแปลงเพาะให้กระจัดกระจาย ทั่วกัน กลบด้วยวัสดุเพาะชํา สูงประมาณ 3-5 มิลลิเมตร หรืออาจทําร่องแล้วหว่านลงในร่องจะสะดวกใน การกลบ และเมล็ดจะงอกอย่างเป็นระเบียบ แปลงเพาะควรอยู่กลางแจ้ง เมล็ดสักจะงอกไม่พร้อมกัน บาง เมล็ดงอกภายใน 3 สัปดาห์ บางเมล็ด 2 ปีจึงงอก
  • 16. 12 การปักชา เลือกไม้สายพันธุ์ดีที่ต้องการขยายพันธุ์ (ต้นแม่พันธุ์) เลือกตัดชิ้นส่วนของไม้ที่พัฒนาเป็นกล้าไม้ได้ ง่าย นําไปกระตุ้นการออกรากและลําต้นด้วยสารเคมี (สารเคมีมีขายตามท้องตลาด)นําส่วนของพืชที่ได้รับ การกระตุ้นแล้วไปไว้ในโรงเรือนที่สามารถควบคุมความชื้นและอุณหภูมิได้และดูแลจนกว่าส่วนของพืชที่ นํามาปักชําจะสร้างรากและลําต้น นํากล้าไม้ที่ออกรากและลําต้นไปอนุบาลจนกล้าไม้เริ่มแข็งแรง นํากล้าไม้ ออกไปกลางแจ้งเพื่อให้กล้าไม้ปรับตัวและแข็งแรงพอที่จะนําไปปลูกได้ ประโยชน์ ไม้สัก เนื้อไม้มีลายสวยงามแข็งแรงทนทาน เลื่อย ผ่า ไสกบตบแต่ง และชักเงาได้ง่าย ใช้ทําเครื่อง เรือนและในการก่อสร้างบ้านเรือน ปลวก มอด ไม่ชอบทําลายเพระมีสารพวกเทคโทควิโนน (Tectoquinone) 2.3.1.6. ปีบ ชื่อพื้นเมือง: กาซะลอง กาดซะลอง เต็กตองโพ่ ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก กิ่งก้านมักจะ ย้อยลง เปลือกสีนําตาล ดอก: ดอกสีขาวหรือชมพู มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกระจุกซ้อนตามปลายกิ่ง ดอก ออก ก.ย - พ.ย ผล: ผลแห้งแบบเป็นฝักแบนและตรงสีนําตาลหัวท้ายแหลม เมล็ดแบนมีปีกบางจํานวนมาก ผลออก ต.ค-ก.พ ด้านภูมิทัศน์: นิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาในบ้านมาก เนื่องจากดอกหอม ทรงพุ่มละเอียดสวยงาม ประโยชน์: รากทํายาบํารุงปอดรักษาวัณโรค ดอกสูบแก้ริดสีดวงจมูก เปลือกทําจุกก๊อกขนาดเล็ก คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นปีบไว้ประจําบ้านจะทําให้เก็บเงินเก็บทองไดมาก เพราะ ปีบ หรือ ปีบ คือ ภาชนะที่ใช้ในการ บรรจุของ ดังนั้นคนไทยโบราณเรียกภาชนะใส่ของที่มีค่อ นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่า สามารถทําให้มีชื่อเสียง โด่งดัง เพราะปีบมีลักษณะแข็ง และ โปร่ง เวลาเคาะ หรือ ตีจะเกิดเสียงดังไปไกล 2.3.1.7. ราชพฤกษ์ ชื้อพื้นเมือง: กุเพยะ คูน บือยูปูโย ลมแล้ง ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 - 15 เมตรผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่ม เปลือกเรียบเกลี้ยงสีเทาอ่อน สีเทาอมนําตาล ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ ช่อใบติดเรียงสลับ ดอก: สีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะยาวตามซอกใบห้อยย้อยลง ดอก ออก มี.ค - เม.ย
  • 17. 13 ผล: ผลเป็นฝักแห้งรูปทรงกระบอก ผิวเกลี้ยงสีดํา ผล ออก มี.ย - ก.ค ด้านภูมิทัศน์: นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาทั่วไป เพราะดอกสีสวย ประโยชน์: ดอก แก้ไข้เป็น ยาระบาย ใบ ต้มกินเป็นยาระบายขับพยาธิ ราก และ แกน ขับพยาธิ คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจําบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรีเพราะคนไทยส่วน ใหญ่ยอบรับว่า ต้นราชพฤกษ์เป็นไม้ที่มีคุณค่าสูง และ ยังเป็นสัญลักษณ์ประจําชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้ คนไทยโบราณเชื่ออีกว่าใบของต้นราชพฤกษ์ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ ใช้ใบในการทํา นําพุทธมนสะเดาะเคราะห์ ได้ผลดี ดังนั้นจึงถือว่า ต้นราชพฤกษ์ เป็นไม้มงคล 2.3.1.8.มะฮอกกานี ชื่อไทย: มะฮอกกานี ชื่อสามัญ: Broad Leaf Mahogany , False Mahogany ชื่อวิทยาศาสตร์: Swietenia macrophylla King วงศ์: MELIACEAE นิเวศวิทยา: ถิ่นกําเนิด ประเทศฮอนดูรัส อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ประเทศ ไทยพบได้ทุกภาค นําเข้ามาปลูกครั้งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี การขยายพันธุ์: เมล็ด ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือ ทรงกระบอก ทรงพุ่มทึบ ลําต้นเปลาตรง เนื้อไม้สีนํ้าตาลอมเหลืองหรือแดงเข้ม เนื้อละเอียด เหนียว ลวดลายสวยงาม เมื่อแห้งจะมีแถบแววสีทองขวางเส้นไม้ เนื้อไม้แข็ง มีคุณภาพดี สามารถใสกบและ ตกแต่งได้ง่าย ยึดตะปูได้ดี คุณภาพใกล้เคียงกับไม้สัก ทนทานต่อการเข้าทําลายของปลวก เมล็ดรสขมมาก เปลือกสีนํ้าตาลอมเทา หนาขรุขระ แตกเป็นร่องตามทางยาวของลําต้น และหลุดลอกออกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 3 - 4 คู่ ออกตรงกันข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย รูป ไข่หรือรูปรี กว้าง 5 - 6 เซนติเมตร ยาว 11 - 17 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเบี้ยว ขอบใบ เรียบแผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบย่อยยาว 0.3 - 0.5 เซนติเมตร ดอก : สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลาย กิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เมื่อบานเต็มที่กว้าง 0.5 - 1.0 เซนติเมตรมีเกสรเพศผู้10 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นรูปแจกัน สีแดง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียแผ่แบนคล้ายร่ม
  • 18. 14 ผล ผลเดี่ยวขนาดใหญ่ กลม รูปไข่ ปลายมนเป็นพูตื้น ๆ สีนํ้าตาล เปลือกหนาและแข็ง กว้าง 7 - 12 เซนติเมตร ยาว 10 - 16 เซนติเมตร ก้านผลแข็ง เมื่อแก่แตกออกเป็น5 พู ภายในมีเมล็ดจํานวนมากเมล็ด แห้งสีนํ้าตาล แบนบาง มีปีกบาง ๆ กว้าง 1.0-1.2 เซนติเมตร ยาว 5.0-5.5 เซนติเมตร ปลิวไปตามลมได้ ประโยชน์ : เนื้อไม้ทําเครื่องเรือน เครื่องดนตรี และเครื่องใช้อื่นๆ เปลือกต้นต้มเป็นยาเจริญอาหาร มีแทน นินมาก รสฝาด ใช้เป็นยาสมานแผล ยาแก้ไข้ เนื้อในฝักเป็นยาระบาย เนื้อในเมล็ดมีรสขมมาก ใช้เป็นยา แก้ไข้จับสั่น ไข้พิษ และปวดศีรษะ ใบอ่อนและดอกรับประทานได้ มะฮอกกานี เป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้นําเข้าจาก ต่างประเทศในคราวเสด็จประพาสยุโรป และนําไปปลูกครั้งแรกเมื่อ รศ.129 ที่ถนนราชดําเนิน ถนนดํารง รักษ์ ถนนราชดําริ และถนนบริพัตร จังหวัดเพชรบุรี 2.3.1.9. ตาลฟ้ า ชื่อวิทยาศาสตร์: Bismarckia Nobilis Hildebr. & H. Wendl ชื่อวงศ์: Palmae ชื่อพื้นเมือง: ปาล์มมาดากัสการ์ ลักษณะทั่วไป ต้น : เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ขนาด 40-50 เซนติเมตรเมื่อแก่มีสีนํ้าตาล สูง 20-25 เมตร ใบ : ลักษณะคล้ายรูปพัดแกนโค้ง ก้านใบยาว 2 เมตร และมีนวลสีขาวปกคลุม แผ่นใบกว้าง 2-3 เมตร เรียง สลับสีเขียวอมฟ้า ทรงพุ่มสวย ขอบใบจักลึกถึงครึ่งตัวใบ ดอก : ออกช่อดอกระหว่างกาบใบแยกเพศเป็นต้นตัวผู้ตัวเมีย ฝัก/ผล : ผลกลมรี ยาว 4 เซนติเมตร การดูแลรักษา : ชอบดินร่วนปนทรายมีอินทรียวัตถุเยอะๆ แดดจัด การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด การใช้ประโยชน์: 1. ไม้ประดับ 2. ใบใช้มุงหลังคา ฝาบ้านหรือสานเป็นตะกร้า 3. แกนกลางลําต้นรับประทานได้ ถิ่นกาเนิด: มาดากัสการ์
  • 19. 15 2.3.1.10. ต้นประดู่ส้ม วงศ์ : Phyllanthaceae (Euphorbiaceae) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bischofia javanica Blume (Syn. Bischofia javensis Blume) ชื่อไทย:เติม, ประดู่ส้ม, ไม้เติม ชื่อท้องถิ่น :ด่งเก้า (ม้ง), เดี๋ยงซุย(เมี่ยน), ไม้เติม, ลําผาด(ลั้วะ), ด่งเก้า(ม้ง), ไม้เติม(คนเมือง), ละล่ะทึม(ขมุ), ซาเตอ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ด่อกะเติ้ม(ปะหล่อง), ลําป้วย(ลั้วะ), ซะเต่ย(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ชอชวา เหมาะ(กะเหรี่ยงแดง) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :ไม้ยืนต้นกึ่งผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 35 เมตร ลําต้นมีเนื้อไม้สีนํ้าตาลอม เหลืองมีกลิ่นหอม เปลือกสีนํ้าตาลอ่อนหรือนํ้าตาลอมแดง และสีนํ้าตาลเข้มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เหลือกชั้นใน สีนํ้าตาลอมแดง มียางสีแดง ใบ : เป็นแบบใบประกอบ 3 ใบย่อย เรียงตัวแบบสลับ ก้านใบย่อยใบข้างยาวประมาณ 1 ชม. ก้านใบปลาย 2- 4 ซม. ก้านใบร่วง 7-18 ซม. แผ่นใบรูปไข่ยาว กว้าง 12-16 ซม. ยาว 32-80 ซม. ผิวใบเรียบ เกลี้ยง เมื่อแก่จัดสี แดงสด ดอก : ออกเป็นช่อยาว 7-30 ซม. เกิดบริเวณซอกใบดอกย่อยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้มีกาบรูป หอกยาว 1.0-3.5 ซม. ร่วงเร็ว ก้านดอก 2-3 มม. มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกัน มีขนละเอียดปกคลุมกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวถึงสีเหลืองอมขาวเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ตรงกันข้าม ดอกเพศเมียมีก้านดอกยาว 4-6 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันมีขนละเอียดปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวหรือขาวอมเหลือง ก้านเกสรสั้น ปลายแยก 3 แฉก โค้งกลับ ผล : รูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.7 ซม. ออกเป็นช่อ เมื่ออ่อนสีเขียวเข้ม สุกสีเหลืองอมนํ้าตาล เมล็ด เป็นมัน 2-4 เมล็ด มีเนื้อหุ้ม สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ 1. ยอดอ่อนลนไฟ ใช้ประกอบอาหารเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว เช่น แกงส้มปลา(เมี่ยน,กะเหรี่ยงแดง) 2. ยอดอ่อนและดอก นําไปประกอบอาหาร เช่น ยํา หรือนําไปลวกและรับประทานสดจิ้มนํ้าพริก(คนเมือง) 3. ใบ รับประทานสดหรือนําไปหมกกับเกลือกินแบบเมี่ยง(ลั้วะ) 4. ผล รับประทานได้(ลั้วะ,กะเหรี่ยงเชียงใหม่) 5. ใบอ่อน สับให้ละเอียดเป็นส่วนผสมในการทําลาบ, ผล รับประทานได้มีรสหวานฝาด(ปะหล่อง) 6.ใบอ่อน นําไปต้มแล้วใช้ห่อเกลือกินแบบเมี่ยง(ขมุ)
  • 20. 16 7. ยอดอ่อนและดอกอ่อน ยําใส่ปลากระป๋ อง มีรสเปรี้ยวและฝาด(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) 8. ผลสุก รับประทานได้(ม้ง) 9. เปลือกต้นหรือยอดอ่อน นํามาต้มนํ้าดื่มแก้อาการท้องเสีย(ม้ง) 10. ใบ เชื่อว่ามีสรรพคุณแก้ท้องร่วงด้วย อาจใช้ต้มให้หมูที่มีอาการท้องร่วงกินเป็นยาก็ได้(เมี่ยน) 11. ชาวเขาโดยทั่วไปกินผลสุก เผ่าม้งและลีซอใช้เนื้อไม้เปลือก ลําต้น และใบต้มนํ้าดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ เสียงแห้ง และใช้แก้โรคบิค ท้องเดิน 12. ไม้เนื้อแข็ง ใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง ทําสะพาน เครื่องฟอร์นิเจอร์ เปลือกใช้ย้อมภาชนะใช้สอย ประเภทกระบุง ตะกร้าหรือเครื่องเรือนที่ทําด้วยหวายหรือไม้ไผ่ 13. การใช้ประโยชน์เป็นยาพื้นบ้าน เปลือกลําต้นดําผสมอาหารรสจัดแก้ท้องเสีย เนื้อไม้ต้มนํ้าดื่มแก้เลือด กําเดาและบํารุงโลหิต ดอกแก้เสมหะ ลมจุกเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ 14. เนื้อไม้รสฝาดขม บํารุงโลหิต แก้ไข้เพื่อโลหิตและกําเดา 15. ดอก รสร้อนหอม แก้จุกเสียด แก้ท้องขึ้น แก้เสมหะและลม
  • 21. 17 บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา 3.1.วัสดุอุปกรณ์ 1. สมุด 2. ปากกาและดินสอ 3. กล้องดิจิตอล 4. ไม้บรรทัด 5. แบบบันทึกตารางการศึกษาต้นไม้ณ สวน ส.ค.ส. ๒๕๕๐ แด่หลานย่า 3.2.วิธีดาเนินการศึกษา 1. สํารวจต้นไม้ที่พบภายในบริเวณสวน ส.ค.ส. ๒๕๕๐ แด่หลานย่า ในโรงเรียนให้รายละเอียด ด้วยการนับ จํานวนตันไม้และถ่ายรูปต้นไม้แต่ละชนิดไว้ 2. บันทึกในแบบบันทึกตารางการศึกษาต้นไม้ณ สวน ส.ค.ส. ๒๕๕๐ แด่หลานย่า 3.นําข้อมูลที่สํารวจมาทําระเบียนต้นไม้ 4.สรุปผลจากการสํารวจ
  • 22. 18 บทที่ 4 ผลการศึกษา จากการสํารวจต้นไม้ที่พบภายในบริเวณสวนพฤษศาสตร์ พบต้นไม้ทั้งหมด 13 ชนิด แต่ละชนิดมี ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ การดูแลรักษา และความเชื่อที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1.ต้นปีบ รูปที่ 4.1. ต้นปีบ พันธุ์ไม้ประจําจังหวัด พิษณุโลก ชื่อพันธุ์ไม้ปีบ ชื่อสามัญ Cork Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis Linn. F วงศ์ BIGNONIACEAE ชื่ออื่น กาซะลอง กาดสะลอง ( ภาคเหนือ) , เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) , ปีบ (ภาคกลาง)ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูง 5- 20 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่แกมใบ หอกกว้าง 1.5- 2.5 ซม. ยาว 3- 5 ซม. ขอบใบหยักห่างๆ ดอก (Flower) เป็นดอกช่อ( inflorescence flower) แบบ panicle สีขาว กลิ่นหอม ออกรวมกันเป็น ช่อโตๆตามปลายกิ่ง แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง แต่ละดอกมีรูปร่าง เป็นหลอดรูปแตรเรียวยาวถึง 6 ซ.ม. ปลายหลอดจะ แยกบานเป็น 5 แฉก แต่ละดอกจะมีเกสรผู้4 อันกับ หลอดท่อเกสรตัวเมีย 1 หลอด ยาวพ้นปากหลอดออก มาเล็กน้อย ตัวดอกห้อยลง ดอกจะบานในตอน
  • 23. 19 กลางคืน พอเช้าดอกจะร่วงเกลื่อนใต้โคนต้น ฤดูดอก คือ ช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. ผล ( fruit) เป็นผลเดี่ยว( simple fruit) ประเภท ผลแห้ง( dry fruit) แบบ legume เป็นฝักแบน ตรง หัวแหลม ท้ายแหลม ขนาด กว้าง 2 ซ.ม.ยาว 30 ซม. เป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ด( Seed) รูปร่างแบนๆบาง ๆ สีขาวและมี ครีบเป็น ปีก เพื่อประโยชน์ในการปลิวไปตามลมได้ไกลๆ ขนาดรวมทั้งปีกประมาณ 1.3 x 2.5 ซม.เมล็ดมีปีก ก็จะบิน ไปร่วงหล่นที่อื่น เพื่องอกเป็นต้นใหม่ต่อไป 1.1.ประโยชน์ใช้สอย ปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีใบ และดอกสวย โดยนิยม ปลูกไว้ตามทางเข้าบ้าน หรือตามมุมบ้าน ดอกให้กลิ่นหอม ชื่นใจดี คนสมัยโบราณนิยมเก็บดอกปีบมามวนผสมบุหรี่ นัยว่า ให้รสชาติหอมชื่นใจ แต่ ตามตําราสมุนไพร พื้นบ้านบอกว่า ดอกปีบมีฤทธิ์รักษาโรคหอบ หืด โดยให้มวนเป็นบุหรี่สูบ ใครที่เป็นโรค ภูมิแพ้อยู่ ลองเก็บ ดอกปีบ มาใส่ขวดเล็กๆ (ขวดซุปไก่สกัดกําลังพอดี) วางประดับตามบ้าน เพราะจากการ วิจัยพบว่า สารระเหยในดอกปีบมีฤทธิ์ขยายหลอดลมได้และดีกว่าตัวยาที่ใช้ในยาแผนปัจจุบันบางตัวเสียอีก ลักษณะทางกายวิภาค( Wood anatomy) พอร์เป็นแบบเดียว ( solitary pore) และพอร์แฝด ( multiple pore) การเรียงตัวเป็นแบบพอร์กลุ่ม ( cluster) และพอร์เฉียง ( pore oblique) การกระจายเป็นแบบกระ จัดกระจาย ( diffuse porous) ถึงพอร์กึ่งวง ( semi- ring porous) พอร์เล็ก เส้นเรย์เห็นชัด พาเรงคิมาเป็นแบบ พาเรงคิมาแบบปีก ( aliform parenchyma) และ พาเรงคิมา แบบปีกต่อ ( conmfluent parenchyma) 1.2.การดูแล ปีบปลูกได้ทั้งในที่รําไร และแดดจัด ถ้าปลูกในที่แดดจัดและค่อนข้างชื้น ต้นจะโตเร็วมาก ถ้าไม่ อยากให้สูงเกินไป ควรหมั่นเล็มกิ่งก้าน ให้แตกกิ่งออกทางด้านข้างแทน ถ้าปลูกในที่รําไร หรือที่ดินชื้น ต้น จะไม่สูงมาก แต่รากจะยืดยาว และแตกหน่อใหม่ตามรากเป็นจํานวนมากการขยายพันธุ์ การกระจายพันธ์ ตามธรรมชาติ( natural distribution) ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ห่าง ๆ กันตามป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การขยายพันธ์( reproduction) ปกติใช้การ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือนํารากมาตัดเป็นท่อนๆแล้วนํามาชําในกระบะทรายที่ผสมขี้เถ้าแกลบ การออกดอก และการติดผล( Flowering and fruiting habit) จะออกดอกและติดผลในระหว่างเดือนธันวาคม- มีนาคมแยก หน่อใหม่ตามรากไปปลูก เพาะเมล็ด
  • 24. 20 2.ต้นราชพฤกษ์ รูป 4.2. ต้นราชพฤกษ์ ราชพฤกษ์ หรือ คูน (อังกฤษ: Golden shower; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula) เป็นไม้ดอกใน ตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และ ศรีลังกา ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจําชาติไทย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อ ความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้ 2.1.ลักษณะ ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจํานวนมากเกี่ยวกับชื่อ ชื่อของราช พฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจํา ง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทางภาคเหนือเรียกว่า ลมแล้ง ทางภาคใต้เรียกว่า ราชพฤกษ์ ลักเกลือ หรือ ลักเคย ชาวกะเหรี่ยงและในกาญจนบุรีเรียกว่า กุเพยะการปลูกและการดูแลรักษาการปลูกในช่วงแรกๆ ต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตได้ช้าในระยะเวลาประมาณ 1-3 ปีแรก หลังจากนั้นต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโต เร็วขึ้น เปลือกจะเป็นสีนํ้าตาลเรียบ มีรากแก้วยาวสีเหลือง และ มีรากแขนงเป็นจํานวนมาก เมื่อต้นราพฤกษ์ มีอายุ 4-5 ปี จึงออกดอกและเมล็ด
  • 25. 21 2.2.การดูแลรักษา แสง ต้นราชพฤกษ์ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง นํ้า ต้นราชพฤกษ์ต้องการปริมาณนํ้าน้อย ควรให้นํ้า 7-10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 4 ปี สามารถทนต่อ สภาพธรรมชาติได้ ดิน ต้นราชพฤกษ์เจริยเติบโตได้ดีดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ปุ๋ ย ต้นราชพฤกษ์นิยมใช้ปุ๋ ยคอกหรือปุ๋ ยหมักในการบํารุงรักษา อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง การขยายพันธุ์ ต้นราชพฤกษ์นิยมขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด โรค ต้นราชพฤกษ์ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร ศัตรู ต้นราชพฤกษ์มีศัตรูหนอนเจาะลําต้น (Stem boring caterpillars) จะมีอาการ ลําต้นหรือยอด เป็นรู เป็นรอยเจาะทําให้กิ่งหักงอ การป้ องกัน ต้นราชพฤกษ์ควรปลูกโดยรักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก หรือกําจัดแมลงพาหะ ใช้ยาเช่นเดียวกับการกําจัด การกําจัด ต้นราชพฤกษ์นิยมใช้ยาไดเมทโธเอท หรือ เมโธมิล อัตราและคําแนะนําระบุไว้ตามฉลาก 2.3.สรรพคุณ ส่วนต่างๆ ของต้นราชพฤกษ์มีประโยชน์ดังนี้ ฝักแก่ เนื้อสีนํ้าตาลดําและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้โดยนําฝักมาต้มกับ นํ้า และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง เมื่อนําฝักมาบดผสมนํ้าแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลาย ที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกําจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้[2] ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม ด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากนํ้าตาลใน การทําหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้ ใบ สามารถนํามาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้ ดอก ช่วยแก้แผลเรื้อรัง ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลําไส้ รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะ อาหาร
  • 26. 22 2.4.ความเชื่อ ต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้มงคลนิยมใช้ประกอบพีธีที่สําคัญ เช่น พีธีเสาไม้หลักเมืองเป็นส่วน ประกอบในการทําคฑาจอมพล และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ฯลฯคนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความ เจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้ ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทําให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นคนไทยในสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าบ้านใด ปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจําบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์ เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจําชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราช พฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทํานํ้าพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือ ว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนาม 2.5.สัญลักษณ์ต้นราชพฤกษ์ ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนมัธยมสาธิตพัทยา (เมืองพัทยา 11) ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตําหนักสวนกุหลาบ มัธยม) ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ , มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ , มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, มหาวิทยาลัยเวส เทิร์น และ วิทยาลัยทองสุข ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช,คณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนสตรีอ่างทอง ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนสาธิต “พิบูลบําเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัด นนทบุรี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2450 รวมแล้ว กว่า 100 ปี)
  • 27. 23 ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ นวมินทราชูทิศ ได้แก่ โรงเรียนนวมินท ราชูทิศ กรุงเทพมหานคร โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ โรง เรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจํา โรงเรียนวัดพุทธบูชา ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดนครศรีธรรมราช ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์ ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนสุคนธีรวิทย์ ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจํา โรงเรียนบ้านโคกอิโด่ย
  • 28. 24 3.ต้นพญาสัตบรรณ รูป 4.3. ต้นสัตบรรณ ชื่อสามัญ Devil Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris ตระกูล APOCYNACEAE ชื่ออื่น ตีนเป็ดไทย 3.1.ลักษณะทั่วไป พญาสัตบรรณเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตรผิวลําต้นมีสะเก็ดเล็กๆ สีขาวปนนํ้าตาลกรีดดูจะมียางสีขาว ลําต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้น ๆ ใบออกเป็นกลุ่ม บริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น ใบสีเขียวถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาวลักษณะใบยาว รีปลายใบมนโคนใบแหลมขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือส่วน ยอดของลําต้นดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็ม ช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่มดอกมีสีขาวอมเหลืองผล เป็นฝักยาว ลักษณะเป็นเส้นๆ มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้นการ เป็นมงคลคนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นสัตบรรณไว้ประจําบ้านจะทําให้มีเกียรติเพราะพญาสัตบรรณ หรือฉัตรบรรณคือเครื่องสูงที่ใช้ในขบวนแห่เป็ นเกียรติยศ และ พญา ก็คือ ผู้เป็นใหญ่ที่ควรยกย่อง เคารพนับ ถือ ดังนั้นพญาสัตบรรณจึงเป็นไม้มงคลนาม นอกจากนี้การเจริญเติบโตของทรงพุ่มมีลักษณะคล้ายกับฉัตร คือเป็นชั้นๆ และยังมีความเชื่ออีกว่าบ้านใดปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ประจําบ้านจะได้รับการยกย่องและนับ ถือจากบุคคลทั่วไปเพราะสัตคือสิ่งที่ดีงามมีคุณธรรมดังนั้นจึงเป็นที่เคารพนับถือและยกย่องของคนทั่วไป ตําแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ทางทิศเหนือผู้ ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าให้เป็นมงคล ยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก
  • 29. 25 3.2.การปลูก นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ควรห่างจากบ้านพอสมควรเพราะเมื่อมีอายุ มาก ขนาดทรงพุ่มจะสูงใหญ่ ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50เซนติเมตร ใช้ปุ๋ ยคอกหรือปุ๋ ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก 3.3. การดูแลรักษา แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง นํ้า ต้องการปริมาณนํ้าปานกลาง ควรให้นํ้า 5-7 วัน/ครั้ง ดิน ชอบดินร่วนซุย ปุ๋ ย ใช้ปุ๋ ยคอกหรือปุ๋ ยหมัก อัตรา 2: 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด และการปักชํา โรคและศัตรู ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้