SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 29
การสำรวจความคิดเห็น<br />บทความทั่วไป<br />ความเป็นมา<br />การสำรวจความคิดเห็นหรือโพล  (poll)  เป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการติดต่อโดยตรงกับผู้ให้ข้อมูลหรือผู้ตอบ  จากการศึกษาประวัติความเป็นมาพบว่า มนุษย์ชาติได้ใช้การสำรวจความคิดเห็นมาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยโรมและอียิปต์  โดยพบหลักฐานมีการทำสำมะโนประชากร  ซึ่งเป็นการทำสำมะโนประชากรทั้งหมด  เพื่อจะนำข้อมูล/ข่าวสารที่ได้ไปใช้ในการเก็บภาษี  เกณฑ์ทหาร  และใช้ในวัตถุประสงค์ทางด้านการบริหารอื่นๆ  แต่การสำรวจขนาดใหญ่และอย่างเป็นระบบระเบียบ  ได้เริ่มต้นในศตวรรษที่ 18   โดยนักปฏิรูปทางสังคมชาวอังกฤษ ชื่อ John Howard ได้ทำการศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของผู้ถูกคุมขัง ซึ่งมีผลต่อสุขภาพอนามัยของนักโทษ  ในขณะที่  Frederic Le Play นักเศรษฐศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะนำผลของการสำรวจไปใช้ในการวางแผน ส่วนผู้ที่ถือได้ว่า  เป็นผู้ทำการสำรวจอย่างกว้างขวางและถือว่าเป็นที่มา ของการวิจัยในปัจจุบัน ได้แก่  นักสถิติชาวอังกฤษ  ชื่อ Charles Booth ใน  ค.ศ. 1886 โดยได้ทำการศึกษา เรื่อง “ความยากจน” และได้ทำรายงานถึง 17 เล่ม  ความก้าวหน้าของการวิจัยแบบสำรวจในศตวรรษที่ 20  นี้เป็นผลมาจากการเน้นถึงคุณค่าของความรู้และการใช้เหตุผล และผลพลอยได้จากการค้นพบวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling)   จากการวิจัยทางด้านการเกษตร   โดยศาสตราจารย์  Paul F. Lazarsfeld   แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ได้เป็นผู้เปลี่ยนลักษณะของการวิจัยจากการพรรณนา (description) ไปเป็นการวิจัยแบบหาเหตุและผล (causal explanation) มีการทดสอบสมมุติฐาน ซึ่งเป็นแบบฉบับของการวิจัยในปัจจุบัน            ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้มีสาระการเรียนรู้ เรื่อง  การสำรวจ ความคิดเห็นอย่างง่าย ไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์   ลักษณะสำคัญของการสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่าง    คือ  การใช้แบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์ ซึ่งอาจกระทำได้หลายวิธี เช่น ให้ผู้ตอบกรอกข้อมูลเอง หรือตอบการสัมภาษณ์ เป็นต้น ดังนั้น การสำรวจการสำรวจจึงเหมาะสำหรับรวบรวมข้อมูลจากหน่วยวิเคราะห์ที่เป็นบุคคล <br />คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับเหตุการณ์ปี 2012 ………………………19050225425<br />ความสำคัญของการสำรวจความคิดเห็น<br />การสำรวจสามารถใช้ได้ทั้งในการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อค้นหาความรู้ใหม่ๆ และเพื่อการอธิบาย การสำรวจ จึงเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดี  และใช้กันอย่างกว้างขวาง  ตั้งแต่ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของบุคคล   เช่น  อายุ การศึกษา  เพศ  อาชีพ  เป็นต้น  เกี่ยวกับพฤติกรรม  เช่น  การลงคะแนนเลือกตั้ง  ด้านทัศนคติ  เช่น ทัศนคติต่อการทำงาน ทัศนคติต่อครอบครัว เป็นต้น การสำรวจจึงเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางในทางสังคม การสำรวจความคิดเห็น มีขั้นตอนและวิธีการที่สำคัญดังนี้                1. การกำหนดขอบเขตของการสำรวจ                2. วิธีเลือกตัวอย่าง                3. การสร้างแบบสำรวจความคิดเห็น                4. การประมวลผลและวิเคราะห์ความคิดเห็น           รายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของการสำรวจความคิดเห็น มีดังต่อไปนี้ 1. การกำหนดขอบเขตของการสำรวจความคิดเห็น                  ในการสำรวจความคิดเห็นต้องมีการกำหนดขอบเขตของการสำรวจอย่างชัดเจนก่อน ซึ่งการกำหนดขอบเขตของการสำรวจความคิดเห็นสามารถกำหนดได้หลายแบบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้                 1.1 กำหนดด้วยพื้นที่ เช่น พื้นที่ภาคกลาง พื้นที่กรุงเทพมหานคร พื้นที่จังหวัดยโสธร พื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ พื้นที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นต้น                  1.2 กำหนดด้วยลักษณะส่วนตัวของผู้ตอบ เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพ ระดับชั้นที่เรียน ภูมิลำเนา เป็นต้น                  1.3 กำหนดด้วยการมีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องที่จะทำการสำรวจความคิดเห็น เช่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการตัดถนนผ่านเขตเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการสร้างเตาเผาขยะของเทศบาลเมืองยโสธร เป็นต้น <br />3) การนำผลจากการสำรวจความคิดเห็นไปใช้ประโยชน์<br />1. นำผลจากการสำรวจความคิดเห็นไปใช้ในการคาดการณ์ได้<br />2. มีคามเข้าใจในเนื้อหาและสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ<br />3. รู้จักการสำรวจความคิดเห็นอย่างง่าย<br />4. ใช้ในการตัดสินใจในการกำหนดรูปแบการจัดกิจกรรมหรือวางแผนงานต่าง ๆ ได้<br />5. นำไปใช้เป็นแนวทางในการติดตามประเมินผลและปรับปรุงโครงการฯต่าง  ๆ ต่อไป<br />วิธีการสำรวจความคิดเห็น<br />1) การคิดและการเลือกหัวเรื่อง <br /> ผู้เรียนจะต้องคิด และเลือกหัวเรื่องของโครงงานด้วยตนเองว่าอยากจะศึกษาอะไร ทำไมจึงอยากศึกษา หัวเรื่องของโครงงานมักจะได้มาจากปัญหา คำถามหรือความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของผู้เรียนเอง หัวเรื่องของโครงงานควรเฉพาะเจาะจงและชัดเจน เมื่อใครได้อ่านชื่อเรื่องแล้วควรเข้าใจและรู้เรื่องว่าโครงงานนี้ทำจากอะไร การกำหนดหัวเรื่องของโครงงานนั้นมีแหล่งช่วยกระตุ้นให้เกิดวามคิดและความสนใจหลายแหล่งด้วยกัน เช่น จากการอ่านหนังสือ เอกสาร บทความ การเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ การฟังบรรยายทางวิชาการ การเข้าชมนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานทางวิทยาศาสตร์ การสนทนากับบุคคลต่างๆ หรือจาการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว เป็นต้น นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้             - ความเหมาะสมของระดับความรู้ ความสามารถของผู้เรียน             - วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้             - งบประมาณ             - ระยะเวลา             - ความปลอดภัย             - แหล่งความรู้          2)  การวางแผน             การวางแผนการทำโครงงาน จะรวมถึงการเขียนเค้าโครงของโครงงาน ซึ่งต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบ ไม่สับสน แล้วนำเสนอต่อผู้สอนหรือครูที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการขั้นต่อไป การเขียนเค้าโครงของโครงงาน โดยทั่วไป เขียนเพื่อแสดงแนวคิด แผนงาน และขั้นตอนการทำโครงงาน ซึ่งควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้            1.ชื่อโครงงาน ควรเป็นข้อความที่กะทัดรัด ชัดเจน สื่อความหมายได้ตรง             2. ชื่อผู้ทำโครงงาน             3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน             4. หลักการและเหตุผลของโครงงาน เป็นการอธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานเรื่องนี้ มีความสำคัญอย่างไร มีหลักการหรือทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้อง เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ไว้บ้างแล้ว ถ้ามีได้ผลอย่างไร เรื่องที่ทำได้ขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผล             5. จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ควรมีความเฉพาะเจาะจง และสามารถวัดได้ เป็นการบอกขอบเขตของงานที่จะทำได้ชัดเจนขึ้น             6. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี) สมมติฐานเป็นคำตอบหรือคำอธิบายที่คาดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจจะถูกหรือไม่ก็ได้ การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุมีผลมีทฤษฎีหรือหลักการรองรับ และที่สำคัญ คือ เป็นข้อความที่มองเห็นแนวทางในการดำเนินการทดสอบได้ นอกจากนี้ควรมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามด้วย             7. วิธีดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงาน จะต้องอธิบายว่า จะออกแบบการทดลองอะไรอย่างไร จะเก็บข้อมูลอะไรบ้างรวมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ มีอะไรบ้าง             8. แผนปฏิบัติงาน อธิบายเกี่ยวกับกำหนดเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน             9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ             10. เอกสารอ้างอิง3) การดำเนินงาน <br />เมื่อที่ปรึกษาโครงงานให้ความเห็นชอบเค้าโครงของโครงงานแล้ว ต่อไปก็เป็นขั้นลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ระบุไว้ ผู้เรียนต้องพยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ คำนึงถึงความประหยัดและปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนการบันทึกข้อมูลต่างๆ ว่าได้ทำอะไรไปบ้าง ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร พยายามบันทึกให้เป็นระเบียบและครบถ้วน           4) การเขียนรายงาน             การเขียนรายงานเกี่ยวกับโครงงาน เป็นวิธีสื่อความหมายวิธีหนึ่งที่จะให้ผู้อื่นได้เข้าใจถึงแนวคิด วิธีการดำเนินงาน ผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงงานนั้น การเขียนโครงงานควรใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ชัดเจนและครอบคลุมประเด็นสำคัญๆ ทั้งหมดของโครงงาน        <br />  5)  การนำเสนอผลงาน             การนำเสนอผลงาน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงานและเข้าใจถึงผลงานนั้น การนำเสนอผลงานอาจทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมต่อประเภทของโครงงาน เนื้อหา เวลา ระดับของผู้เรียน เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง การเขียนรายงาน สถานการณ์จำลอง การสาธิต การจัดนิทรรศการ ซึ่งอาจมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือการรายงานปากเปล่า การบรรยาย สิ่งสำคัญคือ พยายามทำให้การแสดงผลงานนั้นดึงดูดความสนใจของผู้ชม มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และมีความถูกต้องของเนื้อหา<br />6) วิธีเลือกตัวอย่าง                 การสำรวจความคิดเห็นต้องมีการกำหนดวิธีเลือกตัวอย่าง   ในการสำรวจความคิดเห็นหรือการวิจัย นักวิจัยยอมรับถึงความสำคัญและความจำเป็นของการกำหนดวิธีเลือกตัวอย่างหรือตัวแทนกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งจะนำมาเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อความน่าเชื่อถือของผลการสำรวจแต่การสำรวจความคิดเห็นหรือการวิจัยจำเป็นต้องสุ่มตัวอย่างทุกครั้งหรือไม่ คำตอบก็คือไม่จำเป็นเสมอไป เพราะบางครั้งผู้สำรวจ หรือผู้วิจัยอาจจะศึกษาทุกคนหรือทุกหน่วยก็ได้ ถ้ามีจำนวนประชากรไม่มาก เรียกการสำรวจทุกคน หรือทุกหน่วยว่า การสำมะโน (Census)ตัวอย่างที่จะเลือกมาเก็บรวบรวมข้อมูลควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ - สามารถเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดได้ดี        2.1  ตัวอย่างที่ดีต้องมีตัวอย่างครบทุกลักษณะของประชากร  โดยเฉพาะลักษณะที่มีผลทำให้ความคิดเห็นแตกต่างกัน        วิธีการกำหนดจำนวนหรือขนาดของตัวอย่าง ตามที่ระบุในข้อ 2.1 ต้องมีจำนวนมากพอและสอดคล้องกับจำนวนประชากร ตามหลักสถิติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ มีดังนี้                   1) จำนวนตัวอย่างที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ใช้ในการสำรวจความคิดเห็น โดยใช้ระดับการเสนอผลเป็นหลักในการกำหนดจำนวนหรือขนาดของตัวอย่าง<br />ระดับการเสนอผล จำนวนตัวอย่าง ระดับจังหวัดอย่างเดียว 1,100 - 4,800 ระดับประเทศอย่างเดียว 2,000ระดับประเทศและภาค 5,600 - 10,000 ทั้งระดับจังหวัด ภาคและประเทศ 31,000 - 62,000,000 <br />2) หาจำนวนตัวอย่างจากการคำนวณ โดยใช้สูตร <br />2.2 วิธีเลือกตัวอย่างเพื่อใช้ในการสำรวจความคิดเห็น มีหลายวิธีดังนี้       วิธีการสุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ                                                                                             1.การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ( Nonprobability sampling ) เป็นการเลือกตัวอย่างโดยไม่คำนึงว่าตัวอย่างแต่ละหน่วยมีโอกาสถูกเลือกมากน้อยเท่าไรทำให้ไม่ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือก การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ไม่สามารถนำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้ แต่มีความสะดวกและประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่า  ซึ่งสามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้1.1 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้จำนวนตามต้องการโดยไม่มีหลักเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถให้ข้อมูลได้1.2 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ( Quota  sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยคำนึงถึงสัดส่วนองค์ประกอบของประชากร เช่นเมื่อต้องการกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ก็แบ่งเป็นเพศชาย 50 คน หญิง 50 คน แล้วก็เลือกแบบบังเอิญ คือเจอใครก็เลือกจนครบตามจำนวนที่ต้องการ1.3 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive  sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากการตัดสินใจของผู้วิจัยเอง ลักษณะของกลุ่มที่เลือกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงต้องอาศัยความรอบรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆของผู้ทำวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Judgement sampling                                                          2. การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ( Probability sampling )เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยสามารถกำหนดโอกาสที่หน่วยตัวอย่างแต่ละหน่วยถูกเลือกทำให้ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือกการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้สามารถนำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้  สามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้2.1 การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  (Simple random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยถือว่าทุกๆหน่วยหรือทุกๆสมาชิกในประชากรมีโอกาสจะถูกเลือกเท่าๆกัน การสุ่มวิธีนี้จะต้องมีรายชื่อประชากรทั้งหมดและมีการให้เลขกำกับวิธีการอาจใช้วิธีการจับสลากโดยทำรายชื่อประชากรทั้งหมดหรือใช้ตารางเลขสุ่มโดยมีเลขกำกับหน่วยรายชื่อทั้งหมดของประชากร2.2 การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ( Systematic sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยมีรายชื่อของทุกหน่วยประชากรมาเรียงเป็นระบบตามบัญชีเรียกชื่อการสุ่มจะแบ่งประชากรออกเป็นช่วงๆที่เท่ากันอาจใช้ช่วงจากสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและประชากรแล้วสุ่มประชากรหน่วยแรกส่วนหน่วยต่อๆไปนับจากช่วงสัดส่วนที่คำนวณไว้        2.3 การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแยกประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อยๆหรือแบ่งเป็นชั้นภูมิก่อนโดยหน่วยประชากรในแต่ละชั้นภูมิจะมีลักษณะเหมือนกัน (homogenious)แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากร          สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้ ตามเขตที่อยู่อาศัยของผู้ตอบหรือแบ่งตามลักษณะของผู้ตอบ แบ่งเป็น                     4 แบบดังนี้2.1) แบบชั้นภูมิอย่างไม่เป็นสัดส่วน (Non – Proportional Stratified Random Sampling)2.2) แบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน ( Proportional Stratified Random Sampling)2.3) การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้น (Multi – Stage Sampling) การเลือกตัวอย่างแบบนี้เหมาะสมที่จะใช้กับการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้หลายขั้น โดยแบ่งประชากรออกเป๋นกลุ่มใหญ่ ๆ แล้วแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงกลุ่มย่อยที่เล็กที่สุด2.4) การเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควตา (Quota Sampling) เป็นการเลือกตัวอย่างที่เหมาะสมที่จะใช้ กับการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มที่ไม่มีกรอบของการสุ่มตัวอย่าง หรือมีกรอบของการสุ่มตัวอย่างที่ไม่สมบูรณ์                      โดยการกำหนดจำนวนตัวอย่างที่มีคุณสมบัติของตัวอย่างตามลักษณะบางประการ ที่คาดว่าจะมีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจไว้ก่อนที่จะทำการเลือกตัวอย่าง        นอกจากนี้การสุ่มตัวอย่างยังสามารถเลือกสุ่มตัวอย่างผสมระหว่างแบบง่ายแบบชั้นภูมิและแบบกลุ่มด้วยก็ได้ 2.4 การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling ) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกตามพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องทำบัญชีรายชื่อของประชากรและสุ่มตัวอย่างประชากรจากพื้นที่ดังกล่าวตามจำนวนที่ต้องการแล้วศึกษาทุกหน่วยประชากรในกลุ่มพื้นที่นั้นๆหรือจะทำการสุ่มต่อเป็นลำดับขั้นมากกว่า 1 ระดับ โดยอาจแบ่งพื้นที่จากภาค เป็นจังหวัด จาก จังหวัดเป็นอำเภอ และเรื่อยไปจนถึงหมู่บ้าน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง        ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีความสำคัญอย่างมาในการวิจัยเมื่อกลุ่มตัวอย่างมีความเหมาะสมข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างมีมากพอก็จะทำให้ผลงานวิจัยนั้นมีคุณค่า  ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่าไรจึงจะเหมาะสมกับการวิจัยขึ้นอยู่กับการวิจัยว่าจะยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อนมากน้อยเพียงใด จึงจะยอมรับได้ การหาขนาดตัวอย่างสามารถคำนวณได้จากสูตร ในกรณีต่างๆ ได้ดังนี้การประมาณค่าเฉลี่ยเลขคณิตของประชากร ยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อน e หน่วย ที่ระดับความเชื่อมั่น (1- )%1.1  ในกรณีที่ประชากรมีจำนวนไม่แน่นอน (Infinite population)จาก                                           Z      = X -                                                          x                                       x             =   /   nทำให้ได้                                           n      =        Z2  2                                                      (X - )2ดังนั้น                                               n            Z2  2                                                       e2             e    คือความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้นหรือความแตกต่างระหว่าง X - ตัวอย่าง  สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประกาศว่าโดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายต่อเดือนของครอบครัวขนาดกลางมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1,200 บาท ถ้าต้องการประมาณค่าใช้จ่ายของครอบครัวขนาดกลาง โดยยอมให้แตกต่างจากค่าใช้จ่ายที่แท้จริง 50 บาทที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % จะต้องเลือกตัวอย่างครอบครัวขนาดกลางมากี่ครอบครัว        =     1,200              e   =    50        Z  =   1.96                                           n      =       Z2  2                                                             e2                        ขนาดตัวอย่าง(n)      =     (1.96)2  (1200) 2                                                                       502                                                                        =     2212.76                                           จะต้องเลือกตัวอย่างครอบครัวมา 2213 ครอบครัว                  1.2   ในกรณีที่ประชากรมีจำนวนแน่นอน (Finite population) Yamane  ( 1973)ได้คิดสูตรที่ใช้ในการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง คือ                                   n      =           N                                                1+Ne2            e    คือความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้นในรูปของสัดส่วนตัวอย่าง   ถ้าประชากรที่ศึกษามี 1,800 คน และต้องการให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสุ่มตัวอย่างร้อยละ 5 ขนาดของกลุ่มตัวอย่างควรเป็นเท่าไรที่ใช้ในการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง คือ    n      =           N                                                                     1+Ne2                                                                =      1,800             =      327                                                                                   1+1,800(.05) 2                                                             จะต้องเลือกตัวอย่าง    327       คน2. การประมาณค่าสัดส่วนของประชากร() ยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อน e % ที่ระดับความเชื่อมั่น (1- )%2.1 ในกรณีที่ทราบค่า               จาก                                       Z       =    P -                                                                          p                                                    p        =     ( 1- )                                                                                   n                                               ดังนั้น              n          =     Z2  ( 1- )                                                           e2ตัวอย่าง  ถ้าต้องการประมาณค่าสัดส่วนของคนกทม.ที่มีบ้านเป็นของตนเองในปีนี้ให้ผิดพลาดไม่เกิน 3 % ด้วยระดับความเชื่อมั่น 90 % ควรสุ่มตัวอย่างคนในกทม.มากี่คน ถ้าทราบว่าเปอร์เซ็นต์ของคนที่มีบ้านเป็นของตนเองเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เท่ากับ 60%                            =   .60                 1-   =     1-0.6  = 0.4                             e   =   0.03                 Z    =    1.645  (ที่ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 90 %)                                                           n   =   Z2  ( 1- )                                                                              e2                                                               =   (1.645)2 .60 (0.4)       =   721.6                                                                         (0.03) 2                                       ดังนั้นควรสุ่มตัวอย่างคนในกทม.        =   721     คนในกรณีที่ไม่ทราบค่า   Yamane ได้หาค่า  ( 1- ) ดังนี้                          ( 1- )จะมีค่ามากที่สุดเมื่อ  = ½ คือ ( 1- ) = 1/4ดังนั้น                                 n          =     Z2                                                                       4 e2ตัวอย่าง   ในการสำรวจความคิดเห็นของนิสิตคณะครุศาสตร์ที่มีต่อวิชาชีพครู ถ้าต้องการให้เกิดความผิดพลาด 2% ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% ควรสอบถามนิสิตคณะครุศาสตร์กี่คน                                e    =  0.02        Z       =     1.645                                           n          =     Z2                                                             4 e2                                             =   (1.645) 2                               =     1691.265                                                              4 (0.02) 2                 จะต้องสอบถามจากนิสิต                        1691                          คนในปัจจุบัน นักวิชาการได้พยายามช่วยผู้วิจัยโดยทำตารางสำเร็จรูปในการประมาณจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยสามารถประมาณจำนวนกลุ่มตัวอย่างได้จากตารางทันที โดยไม่ต้องใช้สูตรในการคำนวณ              ดังตารางการสุ่มตัวอย่างในตารางที่ ก.1 และก.2 (ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ,2535)                                                                           <br />3. การสร้างแบบสำรวจความคิดเห็น 3.1 ลักษณะของแบบสำรวจความคิดเห็นที่ดี แบบสำรวจความคิดเห็นที่ดีควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 คือ ส่วนที่จัดไว้เก็บรวบรวมลักษณะของผู้ตอบที่คาดว่า จะมีผลทำให้คำตอบที่แสดงความคิดเห็นเกิดความแตกต่างกันจากผู้ตอบที่มีลักษณะอื่น เช่น เพศ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส เป็นต้น                 ส่วนที่ 2 คือ ส่วนที่จัดไว้เก็บรวบรวมความคิดเห็นของผู้ตอบในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการสำรวจ             ส่วนที่ 3 คือ ส่วนที่จัดไว้รับข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของผู้ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่สำรวจความคิดเห็นนั้น              • ข้อคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นในเรื่องที่ต้องการสำรวจนั้นต้องไม่เป็นคำถามนำ               • จำนวนข้อคำถามต้องไม่มากเกินไป              • ข้อคำถามในแบบสำรวจแต่ละข้อต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสำรวจ               • ผู้ตอบคำถามควรมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจเป็นอย่างดี มิฉะนั้น ผลการ  สำรวจจะไม่สามารถนำไปใช้ สรุปผลรวมร่วมกับความคิดเห็นของผู้ตอบรายอื่น ๆ ได้  3.2 การประมวลผลและวิเคราะห์ความคิดเห็น (หัวข้อนี้จะนำไปเรียนในหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ค่าเฉลี่ยเลขคณิต)การประมวลผลและวิเคราะห์ผลการสำรวจความคิดเห็นโดยทั่ว ๆ ไปจะประกอบไปด้วย           1) ร้อยละของผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง                •  สำหรับกรณีที่ถามเกี่ยวกับความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะต้อง จำแนกตามระดับความคิดเห็น ได้แก่ เห็นด้วย  ค่อนข้างเห็นด้วย เห็นด้วยปานกลาง ค่อนข้างไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือเห็นด้วย ไม่มีความเห็น ไม่เห็นด้วย                 •  สำหรับกรณีที่ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจ จะต้องจำแนกระดับตามระดับความพึงพอใจ ได้แก่ พอใจมาก พอใจค่อนข้าง  มาก พอใจปานกลาง พอใจค่อนข้างน้อย พอใจน้อย                •  สำหรับกรณีที่ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสนใจหรือความต้องการ จะต้องจำแนก ตามระดับความสนใจ หรือความต้องการ ได้แก่ สนใจมาก สนใจค่อนข้างมาก สนใจปานกลาง สนใจค่อนข้างน้อย สนใจน้อย2) สำหรับระดับความคิดเห็นเฉลี่ย สามารถแทนค่าระดับความคิดเห็นในแต่ละด้านของผู้ตอบแต่ละคน ดังนี้<br />เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเป็น5เห็นด้วย มีค่าเป็น 4เฉย ๆ มีค่าเป็น 3ไม่เห็นด้วย มีค่าเป็น 2ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเป็น 1<br />ถ้าเป็นข้อความเชิงนิเสธจะตีค่ากลับกันกับข้อมูลเชิงนิมาน คือ <br />                <br />เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเป็น 1เห็นด้วย มีค่าเป็น 2เฉย ๆ มีค่าเป็น 3ไม่เห็นด้วย มีค่าเป็น 4ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเป็น 5<br />3.3 สำหรับค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นที่คำนวณได้ อาจแปลความหมายได้ดังนี้<br />ค่าเฉลี่ยความคิดเห็น ความหมาย 1.0 - 1.80 ไม่เห็นด้วย 1.81 - 2.60 ค่อนข้างไม่ไม่เห็นด้วย 2.61 - 3.40 เห็นด้วยปานกลาง 3.41 - 4.20 ค่อนข้างเห็นด้วย 4.21 - 5.00 เห็นด้วย <br />สิ่งที่ควรทราบ             1. สำหรับค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นในทุก ๆ ด้าน ของผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นแต่ละคน ถ้านำมาหาระดับความสัมพันธ์กับลักษณะต่าง ๆ ของผู้ตอบ เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส เป็นต้น แล้วจะทำให้เราทราบว่าลักษณะใดของผู้ตอบที่มีผลทำให้ระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน และลักษณะใดที่ส่งผลกระทบต่อระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจมากน้อยกว่ากัน               2. ผู้สำรวจความคิดเห็นมักจะนำผลสำรวจไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้              2.1 นำไปปรับปรุงแก้ไขวิธีการปฏิบัติงานหรือวิธีดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และตรง     ตาม  ความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย              2.2 ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ หรือกำหนดยุทธศาสตร์ ทิศทางขององค์กร โครงการต่าง ๆ เป็นต้น              2.3 ใช้ประกอบการตัดสินใจและวางแผนที่จะดำเนินการต่อไปหรือไม่<br />แบบสำรวจความคิดเห็น<br /> แบบสำรวจความคิดเห็น หรือแบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจความคิดเห็น แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วนเป็นอย่างน้อย ดังนี้ 1. ส่วนแรก คือ ลักษณะของผู้ตอบ 2. ส่วนที่สอง คือ ความคิดเห็นของผู้ตอบในด้านต่างๆ 3. ส่วนที่สาม คือ ข้อเสนอแนะต่างๆ การสร้างแบบสอบถามให้เหมาะสม พิจารณาจาก เนื้อหาของแบบสอบถาม ก่อนที่จะลงมือเขียนแบบสอบถาม ควรทราบ จุดประสงค์ของการสำรวจความคิดเห็น โดยต้องกำหนดสิ่งที่ต้องการสำรวจพร้อมทั้งเหตุผล และกำหนดรายละเอียดเป็นหัวข้อ ซึ่งควรจะเรียงลำดับความสำคัญ โดยไม่กำหนดหัวข้อหรือเนื้อหามากเกินไป เพื่อไม่ทำให้แบบสอบถามยาวเกินไป และได้คำถามที่ตรงประเด็นที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น จุดประสงค์ของการสำรวจความคิดเห็น ต้องการปรับปรุงคุณภาพของอาหารและบริการของโรงอาหาร หัวข้อที่ต้องการสำรวจ 1.1 คุณภาพของอาหาร ได้แก่ รสชาติ ความสะอาด 1.2 ความหลากหลายของอาหาร ได้แก่ ประเภทหรือชนิดของอาหารที่มีผู้นิยมรับประทาน หรือต้องการให้มีการขายเพิ่มเติม 1.3 การบริการ เช่น ต้องการให้มีบริการน้ำดื่ม หรือมีบริการขายอาหารว่างช่วงเวลาเลิกเรียน 2. ข้อแนะนำในการเขียนแบบสอบถาม 2.1 ใช้ข้อความที่กระชับ ชัดเจน เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามเข้าใจคำถามหลีกเลี่ยงการใช้ข้อความที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก เช่น มาก / น้อย โดยไม่จำเป็นและใช้คำถามที่ผู้ตอบสามารถตอบได้อย่างชัดเจนไม่ต้องอธิบาย เช่น จงระบุรายชื่ออาหารที่ท่านชอบมากที่สุดมา 1 รายการ2.2 หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่อาจได้คำตอบที่แตกต่างกันมากทำให้ยากในการสรุปข้อมูล เช่น ท่านมารับประทานอาหารในโรงอาหารเมื่อใด ซึ่งคำตอบอาจจะ (  ) 7 โมงเช้า  (  ) เที่ยงเฉพาะวันจันทร์ – วันพฤหัสบดี (  ) พักเช้า2.3 ในกรณีของคำถามปลายเปิด การตีกรอบคำถามอาจช่วยทำให้การสรุปข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น เช่น การถามอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม อาจกำหนดอายุเป็นช่วงๆไว้ เช่น(  )  11 – 13 ปี          (  ) 17 – 25 ปี      (  ) 36 – 50 ปี (  )  14 – 16 ปี          (  ) 26 – 35 ปี       (  ) 51 – 60 ปี 2.4 สร้างคำถามที่มีคำตอบตายตัว เช่น ท่านรับประทานอาหารมังสวิรัติหรือไม่ (  )  ใช่                        (  ) ไม่ใช่                   (  ) บางครั้งท่านรับประทานอาหารในโรงอาหารของโรงเรียนหรือไม่ (  )  ทุกวัน (  )  บางวัน  (  ) นานๆ ครั้ง  (  )  ไม่เคยใช้บริการ ท่านคิดว่าอาหารในโรงอาหารของโรงเรียนมีคุณภาพอย่างไร (โดยรวม) (  )  ดีมาก  (  )  ดี   (  ) พอใช้  (  )  ควรปรับปรุงโดยเฉลี่ยแล้วท่านใช้เงินในการจ่ายค่าอาหารแต่ละครั้ง เมื่อใช้บริการจากโรงอาหาร (  )  10 – 20 บาท    (  ) 21 – 50 บาท (  ) มากกว่า 50 บาท เครื่องดื่มที่ท่านเลือกจากร้านค้าในโรงอาหารเป็นประจำได้แก่ (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ) (  )  น้ำเปล่า (  ) น้ำอัดลม (  ) ชา กาแฟ (  )  น้ำผลไม้  (  ) เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ (นม น้ำเต้าหู้)    <br />2667003175<br />ตัวอย่าง แบบสำรวจความคิดเห็น<br />8) การวิเคราะห์ภาพรวมของการสำรวจความคิดเห็น<br />     เวลาที่มีผลสำรวจความคิดเห็นหือโพล ออกมาสู่สาธารณชน ก็มักจะมีคำถามที่ถูกถามบ่อยๆ ตามมา อย่างน้อย 5 คำถามดังนี้ <br /> 1) ผลสำรวจมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร <br /> 2) ขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไหร่ <br /> 3) มีวิธีการสุ่มตัวอย่างกันอย่างไร <br /> 4) ทำไมต้องสำรวจความคิดเห็น<br /> 5) จะทราบได้อย่างไรว่าโพลนั้นๆ มีความเป็นกลางหรือไม่เป็นกลาง<br />   ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าการทำโพลในประเทศไทยมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เกือบจะไม่แตกต่างไปจากประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศสำคัญๆ ในยุโรป<br />9) การรายงานผลการสำรวจความคิดเห็น (การจัดทำรูปเล่ม)<br />เอกสารที่สรุปเป็นรูปเล่มซึ่งจะต้องประกอบด้วยเอกสารต่างๆ ดังต่อไปนี้ <br />ส่วนที่ 1  <br />๑) ชื่อโครงงาน             ๒) ชื่อผู้ทำโครงงาน ชั้น โรงเรียน และวันเดือนปีที่จัดทำ             ๓) ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา             ๔) คำนำ             ๕) สารบัญ             ๖) สารบัญตาราง หรือภาพประกอบ (ถ้ามี)             ๗) บทคัดย่อสั้นๆ ที่บอกเค้าโครงอย่างย่อๆ ซึ่งประกอบด้วย เรื่อง วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา  ระยะเวลา และสรุปผล             ๘) กิตติกรรมประกาศ เพื่อแสดงความขอบคุณบุคคล หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง<br />ส่วนที่ 2 เนื้อหา<br />บทที่ 1 ความสำคัญของการประเมิน วัตถุประสงค์ของการประเมิน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการประเมิน<br />บทที่ 2  เอกสารอ้างอิง แนวความคิดเกี่ยวกับการทำโครงการ หรือ แนวคิดการประเมินโครงการ (ถ้ามี)<br />บทที่ 3  วิธีดำเนินการ วิธีดำเนินการ  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล <br />การวิเคราะห์ข้อมูล  เกณฑ์ที่ใช่ในการวิเคราะห์ข้อมูล <br />บทที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบตารางหรือความเรียง หรือผลการดำเนินการ<br />บทที่ 5  สรุปผลการดำเนินการ  ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ<br />บรรณานุกรม (ถ้ามี)<br />ส่วนที่ 3  ภาคผนวก<br />การเขียนรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ<br />1.  ความสำคัญของการประเมิน   เขียนถึงรายละเอียดของโครงการที่จะประเมินอย่างสรุปว่า ทำไมจึงต้องทำโครงการนี้ มีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่ออะไร มีเป้าหมายอย่างไร เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีโครงการนั้นๆ   วิธีดำเนินโครงการโดยย่อๆ  บอกถึงผลดีของการดำเนินโครงการ หรือผลเสีย ถ้าไม่มีการดำเนินโครงการ การเขียนในส่วนต่างๆ  ดังกล่าวควรกระชับ ตรงประเด็น ข้อมูลแสดงในรูปข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ และมีความเป็นไปได้<br />2. วัตถุประสงค์ของการประเมิน   ผู้เขียนต้องระบุวัตถุประสงค์ของการประเมิน เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าการประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร มุ่งเป้าไปที่ไหน<br />3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ   เป็นข้อความที่แสดงความคาดหวังว่าเมื่อประเมินโครงการเสร็จแล้ว  ผลการประเมินจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน เช่น นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   หรือทำให้ได้แนวทางในการประเมินโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน<br />4.  เอกสารอ้างอิง แนวความคิดเกี่ยวกับการทำโครงการ หรือแนวคิดการประเมินโครงการ (ถ้ามี)<br />5.  วิธีดำเนินการ ประกอบด้วย การเตรียมการก่อนเริ่มโครงการ การดำเนินงานแต่ละขั้นตอน <br />6.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่นิยมใช้คือ แบบสอบถามความคิดเห็น จากการสังเกต  และการสัมภาษณ์<br />ตัวอย่าง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น <br />แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (เกณฑ์การให้คะแนน 5 คือมากที่สุด   4  คือมาก 3  คือปานกลาง 2 คือน้อย 1 คือน้อยที่สุด) <br />เป็นแบบ 3  ระดับ (ให้คะแนน 3  คือมากที่สุด  2  คือปานกลาง  และ 1 คือน้อย)<br />7.  การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ จัดกลุ่มข้อมูล  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเขียนเป็นความเรียง<br />ตัวอย่าง<br />ข้อมูลจำนวนนักเรียนจำแนกตามเพศ ระดับชั้น ใช้ค่าร้อยละ<br />ข้อมูลแสดงความคิดเห็น ความพึงพอใจ ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการเรียงลำดับ<br />คำถามที่เป็นปลายเปิดจากการสังเกต การสัมภาษณ์ ให้นำข้อความที่มีความเรียงคล้ายกันมาสรุปตามลำดับของความถี่<br />8.  เกณฑ์การวิเคราะห์ข้อมูล <br />ตัวอย่าง เกณฑ์การวิเคราะห์ข้อมูลจากมาตราส่วนประมาณค่า 5  ระดับ กำหนดเกณฑ์ดังนี้<br />ค่าเฉลี่ยแปลความหมาย4.51 - 5.00ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด3.51 - 4.50ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก2.51 - 3.50ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง1.51 - 2.50ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย1.00 - 1.50ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด<br />9.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอข้อมูลในรูปตาราง กราฟ เขียนคำอธิบายใต้ตารางหรือกราฟ<br />ตัวอย่าง   ตารางที่  1  ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมจำแนกตามระดับชั้น<br />ระดับชั้นจำนวน (คน)คิดเป็นร้อยละปวช7575ปวส2525รวม100.00100.00<br />จากตารางที่  1 จำนวนผู้เข้ารับการอบรมสามารถจำแนกตามระดับชั้น ได้ดังนี้                           ระดับ  ปวช.  คิดเป็นร้อยละ 75   และระดับ  ปวส.  คิดเป็นร้อยละ  25<br />10.  สรุปผลการประเมินโครงการ  เขียนสรุปผลการประเมินมีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการประเมิน วิธีการดำเนินการโครงการ(โดยย่อๆ) และสรุปผลการประเมิน<br />11.  บรรณานุกรม (ถ้ามี)  เขียนให้ถูกต้องตามหลักการเขียนบรรณานุกรม<br />(การพิมพ์สรุปโครงการเอกสารทั้งเล่มให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16  และพิมพ์หัวข้อต่างๆ ต่อเนื่องตลอดทั้งเล่ม )<br />
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้านโครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
Chok Ke
 
แนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยมแนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยม
Golfzie Loliconer
 
ความหมายของสุนทรียศาสตร์-สุนทรียภาพ
ความหมายของสุนทรียศาสตร์-สุนทรียภาพความหมายของสุนทรียศาสตร์-สุนทรียภาพ
ความหมายของสุนทรียศาสตร์-สุนทรียภาพ
sirikase
 
ใบความรู้ เรื่องสถิติ
ใบความรู้ เรื่องสถิติใบความรู้ เรื่องสถิติ
ใบความรู้ เรื่องสถิติ
พัน พัน
 
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
A-NKR Ning
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1
panisra
 
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลยใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
thnaporn999
 

Was ist angesagt? (20)

ใบงานที่ 1 เรื่อง เลขยกกำลัง
ใบงานที่ 1 เรื่อง  เลขยกกำลังใบงานที่ 1 เรื่อง  เลขยกกำลัง
ใบงานที่ 1 เรื่อง เลขยกกำลัง
 
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้านโครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
 
แนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยมแนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยม
 
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
 
ใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือ
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2
 
ความหมายของสุนทรียศาสตร์-สุนทรียภาพ
ความหมายของสุนทรียศาสตร์-สุนทรียภาพความหมายของสุนทรียศาสตร์-สุนทรียภาพ
ความหมายของสุนทรียศาสตร์-สุนทรียภาพ
 
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
 
2ตัวอย่างนำเสนอโครงการ
2ตัวอย่างนำเสนอโครงการ2ตัวอย่างนำเสนอโครงการ
2ตัวอย่างนำเสนอโครงการ
 
ใบความรู้ เรื่องสถิติ
ใบความรู้ เรื่องสถิติใบความรู้ เรื่องสถิติ
ใบความรู้ เรื่องสถิติ
 
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัยการตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย
 
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1
 
สรุปคำศัพท์ทางการบริหาร
สรุปคำศัพท์ทางการบริหารสรุปคำศัพท์ทางการบริหาร
สรุปคำศัพท์ทางการบริหาร
 
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลยใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
 
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
 
ลักษณะนโยบายสาธารณะที่ดีควรเป็นอย่างไร
ลักษณะนโยบายสาธารณะที่ดีควรเป็นอย่างไรลักษณะนโยบายสาธารณะที่ดีควรเป็นอย่างไร
ลักษณะนโยบายสาธารณะที่ดีควรเป็นอย่างไร
 
บทที่ 1 ที่มาและความสำคัญ
บทที่ 1 ที่มาและความสำคัญบทที่ 1 ที่มาและความสำคัญ
บทที่ 1 ที่มาและความสำคัญ
 

Ähnlich wie การสำรวจความคิดเห็น

การวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจ
khuwawa2513
 
Cแนะแนว
CแนะแนวCแนะแนว
Cแนะแนว
yutict
 
44444444444444
4444444444444444444444444444
44444444444444
bow4903
 
การวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผลการวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผล
Sarawut Tikummul
 
การวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผลการวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผล
Sarawut Tikummul
 
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdfมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
Tassanee Lerksuthirat
 
ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2
powe1234
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
Sambushi Kritsada
 
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
Bert Nangngam
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
Thank Chiro
 
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรองสถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
ดา ดาลี่
 
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรองสถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
ดา ดาลี่
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
Nat Thida
 

Ähnlich wie การสำรวจความคิดเห็น (20)

การวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจ
 
Cแนะแนว
CแนะแนวCแนะแนว
Cแนะแนว
 
9789740330691
97897403306919789740330691
9789740330691
 
ตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำslideตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำslide
 
44444444444444
4444444444444444444444444444
44444444444444
 
Research-tools 2014
Research-tools 2014Research-tools 2014
Research-tools 2014
 
การวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผลการวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผล
 
การวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผลการวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผล
 
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdfมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
 
โครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทยโครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทย
 
ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
 
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัย02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัย
 
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรองสถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
 
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรองสถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
 
จะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดีจะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดี
 

การสำรวจความคิดเห็น

  • 1. การสำรวจความคิดเห็น<br />บทความทั่วไป<br />ความเป็นมา<br />การสำรวจความคิดเห็นหรือโพล  (poll)  เป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการติดต่อโดยตรงกับผู้ให้ข้อมูลหรือผู้ตอบ  จากการศึกษาประวัติความเป็นมาพบว่า มนุษย์ชาติได้ใช้การสำรวจความคิดเห็นมาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยโรมและอียิปต์  โดยพบหลักฐานมีการทำสำมะโนประชากร  ซึ่งเป็นการทำสำมะโนประชากรทั้งหมด  เพื่อจะนำข้อมูล/ข่าวสารที่ได้ไปใช้ในการเก็บภาษี  เกณฑ์ทหาร  และใช้ในวัตถุประสงค์ทางด้านการบริหารอื่นๆ  แต่การสำรวจขนาดใหญ่และอย่างเป็นระบบระเบียบ  ได้เริ่มต้นในศตวรรษที่ 18   โดยนักปฏิรูปทางสังคมชาวอังกฤษ ชื่อ John Howard ได้ทำการศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของผู้ถูกคุมขัง ซึ่งมีผลต่อสุขภาพอนามัยของนักโทษ ในขณะที่  Frederic Le Play นักเศรษฐศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะนำผลของการสำรวจไปใช้ในการวางแผน ส่วนผู้ที่ถือได้ว่า  เป็นผู้ทำการสำรวจอย่างกว้างขวางและถือว่าเป็นที่มา ของการวิจัยในปัจจุบัน ได้แก่  นักสถิติชาวอังกฤษ  ชื่อ Charles Booth ใน  ค.ศ. 1886 โดยได้ทำการศึกษา เรื่อง “ความยากจน” และได้ทำรายงานถึง 17 เล่ม  ความก้าวหน้าของการวิจัยแบบสำรวจในศตวรรษที่ 20  นี้เป็นผลมาจากการเน้นถึงคุณค่าของความรู้และการใช้เหตุผล และผลพลอยได้จากการค้นพบวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling)   จากการวิจัยทางด้านการเกษตร   โดยศาสตราจารย์  Paul F. Lazarsfeld   แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ได้เป็นผู้เปลี่ยนลักษณะของการวิจัยจากการพรรณนา (description) ไปเป็นการวิจัยแบบหาเหตุและผล (causal explanation) มีการทดสอบสมมุติฐาน ซึ่งเป็นแบบฉบับของการวิจัยในปัจจุบัน            ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้มีสาระการเรียนรู้ เรื่อง  การสำรวจ ความคิดเห็นอย่างง่าย ไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์   ลักษณะสำคัญของการสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่าง    คือ  การใช้แบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์ ซึ่งอาจกระทำได้หลายวิธี เช่น ให้ผู้ตอบกรอกข้อมูลเอง หรือตอบการสัมภาษณ์ เป็นต้น ดังนั้น การสำรวจการสำรวจจึงเหมาะสำหรับรวบรวมข้อมูลจากหน่วยวิเคราะห์ที่เป็นบุคคล <br />คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับเหตุการณ์ปี 2012 ………………………19050225425<br />ความสำคัญของการสำรวจความคิดเห็น<br />การสำรวจสามารถใช้ได้ทั้งในการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อค้นหาความรู้ใหม่ๆ และเพื่อการอธิบาย การสำรวจ จึงเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดี  และใช้กันอย่างกว้างขวาง  ตั้งแต่ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของบุคคล   เช่น  อายุ การศึกษา  เพศ  อาชีพ  เป็นต้น  เกี่ยวกับพฤติกรรม  เช่น  การลงคะแนนเลือกตั้ง  ด้านทัศนคติ  เช่น ทัศนคติต่อการทำงาน ทัศนคติต่อครอบครัว เป็นต้น การสำรวจจึงเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางในทางสังคม การสำรวจความคิดเห็น มีขั้นตอนและวิธีการที่สำคัญดังนี้                1. การกำหนดขอบเขตของการสำรวจ                2. วิธีเลือกตัวอย่าง                3. การสร้างแบบสำรวจความคิดเห็น                4. การประมวลผลและวิเคราะห์ความคิดเห็น           รายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของการสำรวจความคิดเห็น มีดังต่อไปนี้ 1. การกำหนดขอบเขตของการสำรวจความคิดเห็น                  ในการสำรวจความคิดเห็นต้องมีการกำหนดขอบเขตของการสำรวจอย่างชัดเจนก่อน ซึ่งการกำหนดขอบเขตของการสำรวจความคิดเห็นสามารถกำหนดได้หลายแบบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้                 1.1 กำหนดด้วยพื้นที่ เช่น พื้นที่ภาคกลาง พื้นที่กรุงเทพมหานคร พื้นที่จังหวัดยโสธร พื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ พื้นที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นต้น                  1.2 กำหนดด้วยลักษณะส่วนตัวของผู้ตอบ เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพ ระดับชั้นที่เรียน ภูมิลำเนา เป็นต้น                  1.3 กำหนดด้วยการมีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องที่จะทำการสำรวจความคิดเห็น เช่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการตัดถนนผ่านเขตเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการสร้างเตาเผาขยะของเทศบาลเมืองยโสธร เป็นต้น <br />3) การนำผลจากการสำรวจความคิดเห็นไปใช้ประโยชน์<br />1. นำผลจากการสำรวจความคิดเห็นไปใช้ในการคาดการณ์ได้<br />2. มีคามเข้าใจในเนื้อหาและสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ<br />3. รู้จักการสำรวจความคิดเห็นอย่างง่าย<br />4. ใช้ในการตัดสินใจในการกำหนดรูปแบการจัดกิจกรรมหรือวางแผนงานต่าง ๆ ได้<br />5. นำไปใช้เป็นแนวทางในการติดตามประเมินผลและปรับปรุงโครงการฯต่าง ๆ ต่อไป<br />วิธีการสำรวจความคิดเห็น<br />1) การคิดและการเลือกหัวเรื่อง <br /> ผู้เรียนจะต้องคิด และเลือกหัวเรื่องของโครงงานด้วยตนเองว่าอยากจะศึกษาอะไร ทำไมจึงอยากศึกษา หัวเรื่องของโครงงานมักจะได้มาจากปัญหา คำถามหรือความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของผู้เรียนเอง หัวเรื่องของโครงงานควรเฉพาะเจาะจงและชัดเจน เมื่อใครได้อ่านชื่อเรื่องแล้วควรเข้าใจและรู้เรื่องว่าโครงงานนี้ทำจากอะไร การกำหนดหัวเรื่องของโครงงานนั้นมีแหล่งช่วยกระตุ้นให้เกิดวามคิดและความสนใจหลายแหล่งด้วยกัน เช่น จากการอ่านหนังสือ เอกสาร บทความ การเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ การฟังบรรยายทางวิชาการ การเข้าชมนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานทางวิทยาศาสตร์ การสนทนากับบุคคลต่างๆ หรือจาการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว เป็นต้น นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้             - ความเหมาะสมของระดับความรู้ ความสามารถของผู้เรียน             - วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้             - งบประมาณ             - ระยะเวลา             - ความปลอดภัย             - แหล่งความรู้          2) การวางแผน             การวางแผนการทำโครงงาน จะรวมถึงการเขียนเค้าโครงของโครงงาน ซึ่งต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบ ไม่สับสน แล้วนำเสนอต่อผู้สอนหรือครูที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการขั้นต่อไป การเขียนเค้าโครงของโครงงาน โดยทั่วไป เขียนเพื่อแสดงแนวคิด แผนงาน และขั้นตอนการทำโครงงาน ซึ่งควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้            1.ชื่อโครงงาน ควรเป็นข้อความที่กะทัดรัด ชัดเจน สื่อความหมายได้ตรง             2. ชื่อผู้ทำโครงงาน             3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน             4. หลักการและเหตุผลของโครงงาน เป็นการอธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานเรื่องนี้ มีความสำคัญอย่างไร มีหลักการหรือทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้อง เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ไว้บ้างแล้ว ถ้ามีได้ผลอย่างไร เรื่องที่ทำได้ขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผล             5. จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ควรมีความเฉพาะเจาะจง และสามารถวัดได้ เป็นการบอกขอบเขตของงานที่จะทำได้ชัดเจนขึ้น             6. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี) สมมติฐานเป็นคำตอบหรือคำอธิบายที่คาดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจจะถูกหรือไม่ก็ได้ การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุมีผลมีทฤษฎีหรือหลักการรองรับ และที่สำคัญ คือ เป็นข้อความที่มองเห็นแนวทางในการดำเนินการทดสอบได้ นอกจากนี้ควรมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามด้วย             7. วิธีดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงาน จะต้องอธิบายว่า จะออกแบบการทดลองอะไรอย่างไร จะเก็บข้อมูลอะไรบ้างรวมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ มีอะไรบ้าง             8. แผนปฏิบัติงาน อธิบายเกี่ยวกับกำหนดเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน 9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ             10. เอกสารอ้างอิง3) การดำเนินงาน <br />เมื่อที่ปรึกษาโครงงานให้ความเห็นชอบเค้าโครงของโครงงานแล้ว ต่อไปก็เป็นขั้นลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ระบุไว้ ผู้เรียนต้องพยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ คำนึงถึงความประหยัดและปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนการบันทึกข้อมูลต่างๆ ว่าได้ทำอะไรไปบ้าง ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร พยายามบันทึกให้เป็นระเบียบและครบถ้วน       4) การเขียนรายงาน             การเขียนรายงานเกี่ยวกับโครงงาน เป็นวิธีสื่อความหมายวิธีหนึ่งที่จะให้ผู้อื่นได้เข้าใจถึงแนวคิด วิธีการดำเนินงาน ผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงงานนั้น การเขียนโครงงานควรใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ชัดเจนและครอบคลุมประเด็นสำคัญๆ ทั้งหมดของโครงงาน        <br />  5) การนำเสนอผลงาน             การนำเสนอผลงาน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงานและเข้าใจถึงผลงานนั้น การนำเสนอผลงานอาจทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมต่อประเภทของโครงงาน เนื้อหา เวลา ระดับของผู้เรียน เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง การเขียนรายงาน สถานการณ์จำลอง การสาธิต การจัดนิทรรศการ ซึ่งอาจมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือการรายงานปากเปล่า การบรรยาย สิ่งสำคัญคือ พยายามทำให้การแสดงผลงานนั้นดึงดูดความสนใจของผู้ชม มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และมีความถูกต้องของเนื้อหา<br />6) วิธีเลือกตัวอย่าง                 การสำรวจความคิดเห็นต้องมีการกำหนดวิธีเลือกตัวอย่าง   ในการสำรวจความคิดเห็นหรือการวิจัย นักวิจัยยอมรับถึงความสำคัญและความจำเป็นของการกำหนดวิธีเลือกตัวอย่างหรือตัวแทนกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งจะนำมาเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อความน่าเชื่อถือของผลการสำรวจแต่การสำรวจความคิดเห็นหรือการวิจัยจำเป็นต้องสุ่มตัวอย่างทุกครั้งหรือไม่ คำตอบก็คือไม่จำเป็นเสมอไป เพราะบางครั้งผู้สำรวจ หรือผู้วิจัยอาจจะศึกษาทุกคนหรือทุกหน่วยก็ได้ ถ้ามีจำนวนประชากรไม่มาก เรียกการสำรวจทุกคน หรือทุกหน่วยว่า การสำมะโน (Census)ตัวอย่างที่จะเลือกมาเก็บรวบรวมข้อมูลควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ - สามารถเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดได้ดี        2.1  ตัวอย่างที่ดีต้องมีตัวอย่างครบทุกลักษณะของประชากร  โดยเฉพาะลักษณะที่มีผลทำให้ความคิดเห็นแตกต่างกัน        วิธีการกำหนดจำนวนหรือขนาดของตัวอย่าง ตามที่ระบุในข้อ 2.1 ต้องมีจำนวนมากพอและสอดคล้องกับจำนวนประชากร ตามหลักสถิติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ มีดังนี้                   1) จำนวนตัวอย่างที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ใช้ในการสำรวจความคิดเห็น โดยใช้ระดับการเสนอผลเป็นหลักในการกำหนดจำนวนหรือขนาดของตัวอย่าง<br />ระดับการเสนอผล จำนวนตัวอย่าง ระดับจังหวัดอย่างเดียว 1,100 - 4,800 ระดับประเทศอย่างเดียว 2,000ระดับประเทศและภาค 5,600 - 10,000 ทั้งระดับจังหวัด ภาคและประเทศ 31,000 - 62,000,000 <br />2) หาจำนวนตัวอย่างจากการคำนวณ โดยใช้สูตร <br />2.2 วิธีเลือกตัวอย่างเพื่อใช้ในการสำรวจความคิดเห็น มีหลายวิธีดังนี้ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ( Nonprobability sampling ) เป็นการเลือกตัวอย่างโดยไม่คำนึงว่าตัวอย่างแต่ละหน่วยมีโอกาสถูกเลือกมากน้อยเท่าไรทำให้ไม่ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือก การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ไม่สามารถนำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้ แต่มีความสะดวกและประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่า ซึ่งสามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้1.1 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้จำนวนตามต้องการโดยไม่มีหลักเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถให้ข้อมูลได้1.2 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ( Quota sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยคำนึงถึงสัดส่วนองค์ประกอบของประชากร เช่นเมื่อต้องการกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ก็แบ่งเป็นเพศชาย 50 คน หญิง 50 คน แล้วก็เลือกแบบบังเอิญ คือเจอใครก็เลือกจนครบตามจำนวนที่ต้องการ1.3 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากการตัดสินใจของผู้วิจัยเอง ลักษณะของกลุ่มที่เลือกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงต้องอาศัยความรอบรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆของผู้ทำวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Judgement sampling 2. การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ( Probability sampling )เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยสามารถกำหนดโอกาสที่หน่วยตัวอย่างแต่ละหน่วยถูกเลือกทำให้ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือกการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้สามารถนำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้ สามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้2.1 การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยถือว่าทุกๆหน่วยหรือทุกๆสมาชิกในประชากรมีโอกาสจะถูกเลือกเท่าๆกัน การสุ่มวิธีนี้จะต้องมีรายชื่อประชากรทั้งหมดและมีการให้เลขกำกับวิธีการอาจใช้วิธีการจับสลากโดยทำรายชื่อประชากรทั้งหมดหรือใช้ตารางเลขสุ่มโดยมีเลขกำกับหน่วยรายชื่อทั้งหมดของประชากร2.2 การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ( Systematic sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยมีรายชื่อของทุกหน่วยประชากรมาเรียงเป็นระบบตามบัญชีเรียกชื่อการสุ่มจะแบ่งประชากรออกเป็นช่วงๆที่เท่ากันอาจใช้ช่วงจากสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและประชากรแล้วสุ่มประชากรหน่วยแรกส่วนหน่วยต่อๆไปนับจากช่วงสัดส่วนที่คำนวณไว้ 2.3 การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแยกประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อยๆหรือแบ่งเป็นชั้นภูมิก่อนโดยหน่วยประชากรในแต่ละชั้นภูมิจะมีลักษณะเหมือนกัน (homogenious)แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากร สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้ ตามเขตที่อยู่อาศัยของผู้ตอบหรือแบ่งตามลักษณะของผู้ตอบ แบ่งเป็น 4 แบบดังนี้2.1) แบบชั้นภูมิอย่างไม่เป็นสัดส่วน (Non – Proportional Stratified Random Sampling)2.2) แบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน ( Proportional Stratified Random Sampling)2.3) การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้น (Multi – Stage Sampling) การเลือกตัวอย่างแบบนี้เหมาะสมที่จะใช้กับการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้หลายขั้น โดยแบ่งประชากรออกเป๋นกลุ่มใหญ่ ๆ แล้วแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงกลุ่มย่อยที่เล็กที่สุด2.4) การเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควตา (Quota Sampling) เป็นการเลือกตัวอย่างที่เหมาะสมที่จะใช้ กับการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มที่ไม่มีกรอบของการสุ่มตัวอย่าง หรือมีกรอบของการสุ่มตัวอย่างที่ไม่สมบูรณ์                    โดยการกำหนดจำนวนตัวอย่างที่มีคุณสมบัติของตัวอย่างตามลักษณะบางประการ ที่คาดว่าจะมีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจไว้ก่อนที่จะทำการเลือกตัวอย่าง นอกจากนี้การสุ่มตัวอย่างยังสามารถเลือกสุ่มตัวอย่างผสมระหว่างแบบง่ายแบบชั้นภูมิและแบบกลุ่มด้วยก็ได้ 2.4 การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling ) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกตามพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องทำบัญชีรายชื่อของประชากรและสุ่มตัวอย่างประชากรจากพื้นที่ดังกล่าวตามจำนวนที่ต้องการแล้วศึกษาทุกหน่วยประชากรในกลุ่มพื้นที่นั้นๆหรือจะทำการสุ่มต่อเป็นลำดับขั้นมากกว่า 1 ระดับ โดยอาจแบ่งพื้นที่จากภาค เป็นจังหวัด จาก จังหวัดเป็นอำเภอ และเรื่อยไปจนถึงหมู่บ้าน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีความสำคัญอย่างมาในการวิจัยเมื่อกลุ่มตัวอย่างมีความเหมาะสมข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างมีมากพอก็จะทำให้ผลงานวิจัยนั้นมีคุณค่า ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่าไรจึงจะเหมาะสมกับการวิจัยขึ้นอยู่กับการวิจัยว่าจะยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อนมากน้อยเพียงใด จึงจะยอมรับได้ การหาขนาดตัวอย่างสามารถคำนวณได้จากสูตร ในกรณีต่างๆ ได้ดังนี้การประมาณค่าเฉลี่ยเลขคณิตของประชากร ยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อน e หน่วย ที่ระดับความเชื่อมั่น (1- )%1.1 ในกรณีที่ประชากรมีจำนวนไม่แน่นอน (Infinite population)จาก Z = X - x x = / nทำให้ได้ n = Z2 2 (X - )2ดังนั้น n Z2 2 e2 e คือความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้นหรือความแตกต่างระหว่าง X - ตัวอย่าง สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประกาศว่าโดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายต่อเดือนของครอบครัวขนาดกลางมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1,200 บาท ถ้าต้องการประมาณค่าใช้จ่ายของครอบครัวขนาดกลาง โดยยอมให้แตกต่างจากค่าใช้จ่ายที่แท้จริง 50 บาทที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % จะต้องเลือกตัวอย่างครอบครัวขนาดกลางมากี่ครอบครัว = 1,200 e = 50 Z = 1.96 n = Z2 2 e2 ขนาดตัวอย่าง(n) = (1.96)2 (1200) 2 502 = 2212.76 จะต้องเลือกตัวอย่างครอบครัวมา 2213 ครอบครัว 1.2 ในกรณีที่ประชากรมีจำนวนแน่นอน (Finite population) Yamane ( 1973)ได้คิดสูตรที่ใช้ในการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง คือ n = N 1+Ne2 e คือความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้นในรูปของสัดส่วนตัวอย่าง ถ้าประชากรที่ศึกษามี 1,800 คน และต้องการให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสุ่มตัวอย่างร้อยละ 5 ขนาดของกลุ่มตัวอย่างควรเป็นเท่าไรที่ใช้ในการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง คือ n = N 1+Ne2 = 1,800 = 327 1+1,800(.05) 2 จะต้องเลือกตัวอย่าง 327 คน2. การประมาณค่าสัดส่วนของประชากร() ยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อน e % ที่ระดับความเชื่อมั่น (1- )%2.1 ในกรณีที่ทราบค่า จาก Z = P - p p = ( 1- ) n ดังนั้น n = Z2 ( 1- ) e2ตัวอย่าง ถ้าต้องการประมาณค่าสัดส่วนของคนกทม.ที่มีบ้านเป็นของตนเองในปีนี้ให้ผิดพลาดไม่เกิน 3 % ด้วยระดับความเชื่อมั่น 90 % ควรสุ่มตัวอย่างคนในกทม.มากี่คน ถ้าทราบว่าเปอร์เซ็นต์ของคนที่มีบ้านเป็นของตนเองเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เท่ากับ 60% = .60 1- = 1-0.6 = 0.4 e = 0.03 Z = 1.645 (ที่ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 90 %) n = Z2 ( 1- ) e2 = (1.645)2 .60 (0.4) = 721.6 (0.03) 2 ดังนั้นควรสุ่มตัวอย่างคนในกทม. = 721 คนในกรณีที่ไม่ทราบค่า Yamane ได้หาค่า ( 1- ) ดังนี้ ( 1- )จะมีค่ามากที่สุดเมื่อ = ½ คือ ( 1- ) = 1/4ดังนั้น n = Z2 4 e2ตัวอย่าง ในการสำรวจความคิดเห็นของนิสิตคณะครุศาสตร์ที่มีต่อวิชาชีพครู ถ้าต้องการให้เกิดความผิดพลาด 2% ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% ควรสอบถามนิสิตคณะครุศาสตร์กี่คน e = 0.02 Z = 1.645 n = Z2 4 e2 = (1.645) 2 = 1691.265 4 (0.02) 2 จะต้องสอบถามจากนิสิต 1691 คนในปัจจุบัน นักวิชาการได้พยายามช่วยผู้วิจัยโดยทำตารางสำเร็จรูปในการประมาณจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยสามารถประมาณจำนวนกลุ่มตัวอย่างได้จากตารางทันที โดยไม่ต้องใช้สูตรในการคำนวณ ดังตารางการสุ่มตัวอย่างในตารางที่ ก.1 และก.2 (ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ,2535)                                                                           <br />3. การสร้างแบบสำรวจความคิดเห็น 3.1 ลักษณะของแบบสำรวจความคิดเห็นที่ดี แบบสำรวจความคิดเห็นที่ดีควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 คือ ส่วนที่จัดไว้เก็บรวบรวมลักษณะของผู้ตอบที่คาดว่า จะมีผลทำให้คำตอบที่แสดงความคิดเห็นเกิดความแตกต่างกันจากผู้ตอบที่มีลักษณะอื่น เช่น เพศ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส เป็นต้น                 ส่วนที่ 2 คือ ส่วนที่จัดไว้เก็บรวบรวมความคิดเห็นของผู้ตอบในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการสำรวจ             ส่วนที่ 3 คือ ส่วนที่จัดไว้รับข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของผู้ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่สำรวจความคิดเห็นนั้น              • ข้อคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นในเรื่องที่ต้องการสำรวจนั้นต้องไม่เป็นคำถามนำ               • จำนวนข้อคำถามต้องไม่มากเกินไป              • ข้อคำถามในแบบสำรวจแต่ละข้อต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสำรวจ               • ผู้ตอบคำถามควรมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจเป็นอย่างดี มิฉะนั้น ผลการ  สำรวจจะไม่สามารถนำไปใช้ สรุปผลรวมร่วมกับความคิดเห็นของผู้ตอบรายอื่น ๆ ได้  3.2 การประมวลผลและวิเคราะห์ความคิดเห็น (หัวข้อนี้จะนำไปเรียนในหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ค่าเฉลี่ยเลขคณิต)การประมวลผลและวิเคราะห์ผลการสำรวจความคิดเห็นโดยทั่ว ๆ ไปจะประกอบไปด้วย           1) ร้อยละของผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง                •  สำหรับกรณีที่ถามเกี่ยวกับความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะต้อง จำแนกตามระดับความคิดเห็น ได้แก่ เห็นด้วย  ค่อนข้างเห็นด้วย เห็นด้วยปานกลาง ค่อนข้างไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือเห็นด้วย ไม่มีความเห็น ไม่เห็นด้วย                 •  สำหรับกรณีที่ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจ จะต้องจำแนกระดับตามระดับความพึงพอใจ ได้แก่ พอใจมาก พอใจค่อนข้าง  มาก พอใจปานกลาง พอใจค่อนข้างน้อย พอใจน้อย                •  สำหรับกรณีที่ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสนใจหรือความต้องการ จะต้องจำแนก ตามระดับความสนใจ หรือความต้องการ ได้แก่ สนใจมาก สนใจค่อนข้างมาก สนใจปานกลาง สนใจค่อนข้างน้อย สนใจน้อย2) สำหรับระดับความคิดเห็นเฉลี่ย สามารถแทนค่าระดับความคิดเห็นในแต่ละด้านของผู้ตอบแต่ละคน ดังนี้<br />เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเป็น5เห็นด้วย มีค่าเป็น 4เฉย ๆ มีค่าเป็น 3ไม่เห็นด้วย มีค่าเป็น 2ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเป็น 1<br />ถ้าเป็นข้อความเชิงนิเสธจะตีค่ากลับกันกับข้อมูลเชิงนิมาน คือ <br />                <br />เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเป็น 1เห็นด้วย มีค่าเป็น 2เฉย ๆ มีค่าเป็น 3ไม่เห็นด้วย มีค่าเป็น 4ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเป็น 5<br />3.3 สำหรับค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นที่คำนวณได้ อาจแปลความหมายได้ดังนี้<br />ค่าเฉลี่ยความคิดเห็น ความหมาย 1.0 - 1.80 ไม่เห็นด้วย 1.81 - 2.60 ค่อนข้างไม่ไม่เห็นด้วย 2.61 - 3.40 เห็นด้วยปานกลาง 3.41 - 4.20 ค่อนข้างเห็นด้วย 4.21 - 5.00 เห็นด้วย <br />สิ่งที่ควรทราบ             1. สำหรับค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นในทุก ๆ ด้าน ของผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นแต่ละคน ถ้านำมาหาระดับความสัมพันธ์กับลักษณะต่าง ๆ ของผู้ตอบ เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส เป็นต้น แล้วจะทำให้เราทราบว่าลักษณะใดของผู้ตอบที่มีผลทำให้ระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน และลักษณะใดที่ส่งผลกระทบต่อระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจมากน้อยกว่ากัน               2. ผู้สำรวจความคิดเห็นมักจะนำผลสำรวจไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้              2.1 นำไปปรับปรุงแก้ไขวิธีการปฏิบัติงานหรือวิธีดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และตรง ตาม  ความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย              2.2 ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ หรือกำหนดยุทธศาสตร์ ทิศทางขององค์กร โครงการต่าง ๆ เป็นต้น              2.3 ใช้ประกอบการตัดสินใจและวางแผนที่จะดำเนินการต่อไปหรือไม่<br />แบบสำรวจความคิดเห็น<br /> แบบสำรวจความคิดเห็น หรือแบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจความคิดเห็น แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วนเป็นอย่างน้อย ดังนี้ 1. ส่วนแรก คือ ลักษณะของผู้ตอบ 2. ส่วนที่สอง คือ ความคิดเห็นของผู้ตอบในด้านต่างๆ 3. ส่วนที่สาม คือ ข้อเสนอแนะต่างๆ การสร้างแบบสอบถามให้เหมาะสม พิจารณาจาก เนื้อหาของแบบสอบถาม ก่อนที่จะลงมือเขียนแบบสอบถาม ควรทราบ จุดประสงค์ของการสำรวจความคิดเห็น โดยต้องกำหนดสิ่งที่ต้องการสำรวจพร้อมทั้งเหตุผล และกำหนดรายละเอียดเป็นหัวข้อ ซึ่งควรจะเรียงลำดับความสำคัญ โดยไม่กำหนดหัวข้อหรือเนื้อหามากเกินไป เพื่อไม่ทำให้แบบสอบถามยาวเกินไป และได้คำถามที่ตรงประเด็นที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น จุดประสงค์ของการสำรวจความคิดเห็น ต้องการปรับปรุงคุณภาพของอาหารและบริการของโรงอาหาร หัวข้อที่ต้องการสำรวจ 1.1 คุณภาพของอาหาร ได้แก่ รสชาติ ความสะอาด 1.2 ความหลากหลายของอาหาร ได้แก่ ประเภทหรือชนิดของอาหารที่มีผู้นิยมรับประทาน หรือต้องการให้มีการขายเพิ่มเติม 1.3 การบริการ เช่น ต้องการให้มีบริการน้ำดื่ม หรือมีบริการขายอาหารว่างช่วงเวลาเลิกเรียน 2. ข้อแนะนำในการเขียนแบบสอบถาม 2.1 ใช้ข้อความที่กระชับ ชัดเจน เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามเข้าใจคำถามหลีกเลี่ยงการใช้ข้อความที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก เช่น มาก / น้อย โดยไม่จำเป็นและใช้คำถามที่ผู้ตอบสามารถตอบได้อย่างชัดเจนไม่ต้องอธิบาย เช่น จงระบุรายชื่ออาหารที่ท่านชอบมากที่สุดมา 1 รายการ2.2 หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่อาจได้คำตอบที่แตกต่างกันมากทำให้ยากในการสรุปข้อมูล เช่น ท่านมารับประทานอาหารในโรงอาหารเมื่อใด ซึ่งคำตอบอาจจะ (  ) 7 โมงเช้า  (  ) เที่ยงเฉพาะวันจันทร์ – วันพฤหัสบดี (  ) พักเช้า2.3 ในกรณีของคำถามปลายเปิด การตีกรอบคำถามอาจช่วยทำให้การสรุปข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น เช่น การถามอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม อาจกำหนดอายุเป็นช่วงๆไว้ เช่น(  )  11 – 13 ปี          (  ) 17 – 25 ปี      (  ) 36 – 50 ปี (  )  14 – 16 ปี          (  ) 26 – 35 ปี       (  ) 51 – 60 ปี 2.4 สร้างคำถามที่มีคำตอบตายตัว เช่น ท่านรับประทานอาหารมังสวิรัติหรือไม่ (  )  ใช่                        (  ) ไม่ใช่                   (  ) บางครั้งท่านรับประทานอาหารในโรงอาหารของโรงเรียนหรือไม่ (  )  ทุกวัน (  )  บางวัน  (  ) นานๆ ครั้ง  (  )  ไม่เคยใช้บริการ ท่านคิดว่าอาหารในโรงอาหารของโรงเรียนมีคุณภาพอย่างไร (โดยรวม) (  )  ดีมาก  (  )  ดี   (  ) พอใช้  (  )  ควรปรับปรุงโดยเฉลี่ยแล้วท่านใช้เงินในการจ่ายค่าอาหารแต่ละครั้ง เมื่อใช้บริการจากโรงอาหาร (  )  10 – 20 บาท    (  ) 21 – 50 บาท (  ) มากกว่า 50 บาท เครื่องดื่มที่ท่านเลือกจากร้านค้าในโรงอาหารเป็นประจำได้แก่ (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ) (  )  น้ำเปล่า (  ) น้ำอัดลม (  ) ชา กาแฟ (  )  น้ำผลไม้  (  ) เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ (นม น้ำเต้าหู้)    <br />2667003175<br />ตัวอย่าง แบบสำรวจความคิดเห็น<br />8) การวิเคราะห์ภาพรวมของการสำรวจความคิดเห็น<br />     เวลาที่มีผลสำรวจความคิดเห็นหือโพล ออกมาสู่สาธารณชน ก็มักจะมีคำถามที่ถูกถามบ่อยๆ ตามมา อย่างน้อย 5 คำถามดังนี้ <br /> 1) ผลสำรวจมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร <br /> 2) ขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไหร่ <br /> 3) มีวิธีการสุ่มตัวอย่างกันอย่างไร <br /> 4) ทำไมต้องสำรวจความคิดเห็น<br /> 5) จะทราบได้อย่างไรว่าโพลนั้นๆ มีความเป็นกลางหรือไม่เป็นกลาง<br />   ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าการทำโพลในประเทศไทยมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เกือบจะไม่แตกต่างไปจากประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศสำคัญๆ ในยุโรป<br />9) การรายงานผลการสำรวจความคิดเห็น (การจัดทำรูปเล่ม)<br />เอกสารที่สรุปเป็นรูปเล่มซึ่งจะต้องประกอบด้วยเอกสารต่างๆ ดังต่อไปนี้ <br />ส่วนที่ 1 <br />๑) ชื่อโครงงาน             ๒) ชื่อผู้ทำโครงงาน ชั้น โรงเรียน และวันเดือนปีที่จัดทำ             ๓) ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา             ๔) คำนำ             ๕) สารบัญ             ๖) สารบัญตาราง หรือภาพประกอบ (ถ้ามี)             ๗) บทคัดย่อสั้นๆ ที่บอกเค้าโครงอย่างย่อๆ ซึ่งประกอบด้วย เรื่อง วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ระยะเวลา และสรุปผล             ๘) กิตติกรรมประกาศ เพื่อแสดงความขอบคุณบุคคล หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง<br />ส่วนที่ 2 เนื้อหา<br />บทที่ 1 ความสำคัญของการประเมิน วัตถุประสงค์ของการประเมิน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการประเมิน<br />บทที่ 2 เอกสารอ้างอิง แนวความคิดเกี่ยวกับการทำโครงการ หรือ แนวคิดการประเมินโครงการ (ถ้ามี)<br />บทที่ 3 วิธีดำเนินการ วิธีดำเนินการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล <br />การวิเคราะห์ข้อมูล เกณฑ์ที่ใช่ในการวิเคราะห์ข้อมูล <br />บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบตารางหรือความเรียง หรือผลการดำเนินการ<br />บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ<br />บรรณานุกรม (ถ้ามี)<br />ส่วนที่ 3 ภาคผนวก<br />การเขียนรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ<br />1. ความสำคัญของการประเมิน เขียนถึงรายละเอียดของโครงการที่จะประเมินอย่างสรุปว่า ทำไมจึงต้องทำโครงการนี้ มีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่ออะไร มีเป้าหมายอย่างไร เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีโครงการนั้นๆ วิธีดำเนินโครงการโดยย่อๆ บอกถึงผลดีของการดำเนินโครงการ หรือผลเสีย ถ้าไม่มีการดำเนินโครงการ การเขียนในส่วนต่างๆ ดังกล่าวควรกระชับ ตรงประเด็น ข้อมูลแสดงในรูปข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ และมีความเป็นไปได้<br />2. วัตถุประสงค์ของการประเมิน ผู้เขียนต้องระบุวัตถุประสงค์ของการประเมิน เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าการประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร มุ่งเป้าไปที่ไหน<br />3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นข้อความที่แสดงความคาดหวังว่าเมื่อประเมินโครงการเสร็จแล้ว ผลการประเมินจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน เช่น นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือทำให้ได้แนวทางในการประเมินโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน<br />4. เอกสารอ้างอิง แนวความคิดเกี่ยวกับการทำโครงการ หรือแนวคิดการประเมินโครงการ (ถ้ามี)<br />5. วิธีดำเนินการ ประกอบด้วย การเตรียมการก่อนเริ่มโครงการ การดำเนินงานแต่ละขั้นตอน <br />6. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่นิยมใช้คือ แบบสอบถามความคิดเห็น จากการสังเกต และการสัมภาษณ์<br />ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น <br />แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (เกณฑ์การให้คะแนน 5 คือมากที่สุด 4 คือมาก 3 คือปานกลาง 2 คือน้อย 1 คือน้อยที่สุด) <br />เป็นแบบ 3 ระดับ (ให้คะแนน 3 คือมากที่สุด 2 คือปานกลาง และ 1 คือน้อย)<br />7. การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ จัดกลุ่มข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเขียนเป็นความเรียง<br />ตัวอย่าง<br />ข้อมูลจำนวนนักเรียนจำแนกตามเพศ ระดับชั้น ใช้ค่าร้อยละ<br />ข้อมูลแสดงความคิดเห็น ความพึงพอใจ ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเรียงลำดับ<br />คำถามที่เป็นปลายเปิดจากการสังเกต การสัมภาษณ์ ให้นำข้อความที่มีความเรียงคล้ายกันมาสรุปตามลำดับของความถี่<br />8. เกณฑ์การวิเคราะห์ข้อมูล <br />ตัวอย่าง เกณฑ์การวิเคราะห์ข้อมูลจากมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ กำหนดเกณฑ์ดังนี้<br />ค่าเฉลี่ยแปลความหมาย4.51 - 5.00ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด3.51 - 4.50ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก2.51 - 3.50ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง1.51 - 2.50ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย1.00 - 1.50ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด<br />9. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอข้อมูลในรูปตาราง กราฟ เขียนคำอธิบายใต้ตารางหรือกราฟ<br />ตัวอย่าง ตารางที่ 1 ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมจำแนกตามระดับชั้น<br />ระดับชั้นจำนวน (คน)คิดเป็นร้อยละปวช7575ปวส2525รวม100.00100.00<br />จากตารางที่ 1 จำนวนผู้เข้ารับการอบรมสามารถจำแนกตามระดับชั้น ได้ดังนี้ ระดับ ปวช. คิดเป็นร้อยละ 75 และระดับ ปวส. คิดเป็นร้อยละ 25<br />10. สรุปผลการประเมินโครงการ เขียนสรุปผลการประเมินมีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการประเมิน วิธีการดำเนินการโครงการ(โดยย่อๆ) และสรุปผลการประเมิน<br />11. บรรณานุกรม (ถ้ามี) เขียนให้ถูกต้องตามหลักการเขียนบรรณานุกรม<br />(การพิมพ์สรุปโครงการเอกสารทั้งเล่มให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 และพิมพ์หัวข้อต่างๆ ต่อเนื่องตลอดทั้งเล่ม )<br />