SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 23
ร
จัดทำโดย นายอดิศร  ข้องชัยภูมิ ชั้นม.๕/๓ เลขที่๑๑ นายจตุรงค์  เชิดพาณิชย์ ชั้นม.๕/๓  เลขที่๓ นายวินัย  สังฆมณี   ชั้นม.๕/๓
๑.สมัยอาณาจักรซูเมเรีย(๓๒๐๐-๒๓๐๐ปีก่อนคริสต์ศักราช) ก่อนที่ชาวซูเมเรียจะตั้งหลักปักฐานในบริเวณแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสได้อาศัยอยู่ตามบริเวณเนินเขาและจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกตลอดจนประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา จนเกิดเป็น”การปฏิวัติเกษตรกรรม”ในเวลาไม่นานพวกซูเมเรียก็อพยพลงไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำและพัฒนาการเกษตรแบบชลประทานซึ่งให้ผลผลิตมากขึ้นเกิดการสร้างสังคมที่ซับซ้อนและสถาบันทางสังคมแบบใหม่ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีใหม่กับสถาบันใหม่ๆ ยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์เชิงลูกโซ่และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอื่นๆจนเกิดเป็นอารยธรรม
รูปภาพแผนที่แสดงที่ตั้งของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
สภาพภูมิประเทศของเมโสโปเตเมีย โดยสภาพทั่วไปก็ไม่ค่อยเอื้ออำนวยต่อการตั้งถิ่นฐานมากนักเพราะมีปริมาณน้ำฝนน้อย อากาศร้อนจัด ขาดหินที่เป็นวัสดุก่อสร้างสำคัญ และบ่อยครั้งอาจได้รับภัยจากน้ำท่วมที่เกิดจากภาวะฝนตกหนักในตอนเหนือและการละลายของหิมะในบริเวณเทือกเขาซากรอสและเทือกเขาเซารัสซึ่งเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำทุกปีในขณะเดียวกันธรรมชาติ ณ บริเวณดังกล่าวแต่โบราณก็มีสิ่งทดแทน ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของผลอินทผลัมที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารต่างๆมากมาย หนองบึงก็มีต้นกกที่เป็นแหล่งที่อยู่ของปลา อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำฝนก็ยังไม่เพียงพอสำหรับทำเกษตรกรรม
การประดิษฐ์ตัวอักษร ชาวซูเมเรียประดิษฐ์อักษรขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า อักษรคูนิฟอร์ม(cuneifrom)หรืออักษรรูปลิ่ม ซึ่งมาจากคำว่า”cuneus”แปลว่า ลิ่ม และ”fromus”แปลว่า รูป
การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่มในระยะแรกมีลักษณะอักษรภาพ โดยใช้ไม้แหลม(stylus)ทำจากต้นอ้อ กดเป็นรูปภาพง่ายๆลงบนดินเหนียวและนำไปตากแห้งหรืออบด้วยความร้อน ต่อมามีการเพิ่มสัญลักษณ์เรขาคณิตตัวเขียนของซูเมเรียเป็นท่นิยมกันอย่างแพร่หลายในหมู่ชนชาติอื่นๆในตะวันออกใกล้ด้วย ได้แก่ บาบิโลน อัสซีเรีย ฮิตไตด์ และเปอร์เซีย นอกจากประโยชน์ในการทำบัญชีแล้ว อักษรลิ่มยังถูกนำไปใช้ในการบันทึกบทบัญญัติทางศาสนาและงานวรรณกรรมที่แสดงให้เห็นถึงอำนาจของพระเจ้าที่อาจดลบันดาลให้เกิดภัยภิบัติทางธรรมชาติแก่มนุษย์ได้
รูปภาพอักษรคูนิฟอร์ม
ตำนาน”ซิกกูแรต” ในสังคมของพวกซูเมเรีย ภัยจากธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษย์ควบคุมไม่ได้ รวมทั้งการไร้ปราการธรรมชาติที่จะขวางกั้นศัตรูได้สร้างความรู้สึกสิ้นหวังให้แก่พวกเขาและยอมตกอยู่ในอำนาจลี้ลับของพระเจ้า พวกซูเมเรียมองมนุษย์ว่าเกิดมาเพื่อรับใช้พระเจ้าเท่านั้น และไม่ว่ามนุษย์จะกระทำการใดๆก็ไม่อาจทำให้พวกเขาเป็นมากกว่าลม คือ ไม่มีตัวตน ดังนั้นพวกซูเมเรียจึงทุ่มเทให้กับการสร้างสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับภูเขาซึ่งเป็นสิ่งที่ขนาดสูงใหญ่ที่สุดตามธรรมชาติเรียกว่า “ซิกกูแรต”(ziggurat)เพื่อเป็นเทวสถานในการบูชาพระเจ้าหรือเทพประจำเมืองเพื่อไม่ให้พระองค์ทรงขุ่นเคืองและลงทัณฑ์มนุษย์ด้วยภัยต่างๆ รวมทั้งเป็นที่สอนหนังสือให้แก่นักบวชรุ่นเยาว์ เพื่อให้มีความรู้ต่างๆและให้อ่านออกเขียนได้
ซิกกูแรตแห่งเมืองอูร์
วรรณกรรมที่สำคัญ วรรณกรรมที่สำคัญ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัยของกิลกาเมซ ประมุขและวีรบุรุษแห่งอุรุก(Uruk)มีชีวิตอยู่ในราว๒๗๐๐ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งต่อมาตกทอดไปยังพวกบาบิโลนและเป็นที่นิยมแพร่หลายในชื่อ มหากาพย์กิลกาเมช มรดกทางวัฒธรรมสำคัญอีกประการหนึ่งของพวกซูเมเรีย คือการประดิษฐ์จานหมุนเพื่อใช้ในการปั้นภาชนะดินเผาในราว๓๕๐๐ปีก่อนคริสต์ศักราช ถือว่าเป็นมรดกชิ้นแรกของโลก นอกจากนี้พวกเขายังสร้างวงล้อที่ประกอบติดกับเพลาใช้กับเกวียนและรถศึก ซึ่งเปิดโอกาสให้นักรบบนรถศึกสามารถใช้อาวุธได้อย่างมีประสิทธิภาพ พวกซูเมเรียยังมีความสามารถเชิงคณิตศาสตร์ รู้จักนำระบบฐานเลข ๖๐ ในการแบ่งเวลาและมุม การคำนวณพื้นที่วงกลม การหาระยะทาง การคำนวณ การคิดมาตราชั่ง เป็นต้น นอกจากนี้พวกเขายังสนใจศึกษาและจดบันทึกการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ โดยเชื่อว่าการโคจรดังกล่าวเกิดจากการกระทำของพระเจ้าและมีอิทธิพลต่อมนุษย์
ในต้นศตวรรษที่๒๔ก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรซูเมเรียำด้ถูกพระเจ้าซาร์กอนที่๑(sargon l, 2370-2315 ปีก่อนคริสต์ศักราช)เผ่าซีไมต์(semite)แห่งราชอาณาจักรอัคคาเดียน(akkadian)ทางตอนเหนือเข้ารุกรานและยึดครองได้ อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมของซูเมเรียมิได้ถูกทำลายแต่ได้รับการสืบทอด ราชวงศ์อัคคัดก็มีอำนาจอยู่เพียงสั้นๆพวกซูเมเรียจากเมืองอูร์(ur)สามารถฟื้นฟูอำนาจได้แต่ต่อมาได้ถูกชนเผ่าอีลาไมต์(Elamite)จากดินแดนที่เป็นที่ตั้งของประเทศอิหร่านในปัจจุบันบุกเข้าทำลายเมืองหลังจากนั้นพวกซูเมเรียได้สูญสิ้นอำนาจทางการเมืองอย่างถาวรแต่วัฒนธรรมก็ยังคงได้รับการสืบทอดตอๆกันมา
สมัยอาณาจักรบาบิโลนเก่า(๒๐๐๐-๖๐๐๐ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากพวกซูเมเรียสิ้นอำนาจลงดินแดนเมโสโปเตเมียเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านความรุ่งเรืองตอนใต้ย้ายไปยังอัคคัดซึ่งอยู่ตอนเหนือโดยมีชนเผ่าอะมอไรต์(Amorite)เป็นผู้นำ พวกอะมอไรต์ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอัคคัดเมื่อราว๒๐๐๐ปีก่อนคริสต์ศักราช และอีกสองศตวรรษครึ่งต่อมาก็สามารถพิชิตดินแดนทั้งหมดของพวกซูเมเรียพวกอะมอไรต์มีศูนย์อำนาจการปกครองอยู่ที่กรุงบาบิโลน จึงถูกเรียกว่า”พวกบาบิโลน”และใช้ภาษาในตระกูลเซมิติก
แผนที่แสดงอาณาจักรบาบิโลนเก่า
ผลงานที่สำคัญของบาบิโลน ได้แก่ การประมวลกฎหมายฮัมมูราบี โดยพระเจ้าฮัมมูราบี(๑๗๙๒-๑๗๔๕ปีก่อนคริสต์ศักราช)หลักการของกฎหมายมีรากฐานมาจากของพวกซูเมเรีย แต่ได้จัดเป็นระบบ เป็นการสร้างความยุติธรรมให้แก่สังคมกฏหมายฮัมมูราบีจารึกในศิลาสีดำทรงกระบอกสูง๒.๔๐ เมตรบนยอดหัวเสาร์สลักรูปเทพเจ้ามาร์ดุก(marduk)กำลังประทานกฎหมายให้แก่พระเจ้าฮัมมูราบีประมวลกฎหมายมีจำนวน ๓๐ แถว รวมกัน ๓๐๐ มาตรา
เศรษฐกิจของบาบิโลน อาณษจักรบาบิโลนเก่ายังมีลักษณะเป็น”รัฐสวัสดิการ”ที่รัฐดูแลพลเมืองอย่างใกล้ชิด เช่น ชดใช้ทรัพย์สินมห้แก่เจ้าทรัพย์หากจับคนร้ายไม่ได้ ควบคุมเศรษฐกิจมิให้พ่อค้าเอาเปรียบประชาชน กำหนดราคาสินค้าและค่าพยาบาล รวมทั้งค่าก่อสร้าง ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ๒๐ส่วนลูกหนี้ที่ไม่มีเงินจ่ายคืนมีโทษเป็นทาสไม่เกินสามปี ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าแนวคิดที่จะทำให้ความยุติธรรมแก่ผู้คนในสังคมในกฏหมายฮัมมูราบีได้เป็นรากฐานของเจตนารมณ์ของกฏหมายในประเทศตางๆในปัจจุบัน และมาตราโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับครอบครัวก็เป็นที่มาของกฏหมายอิสลามที่ใช้กันอย่างกว้างขวางด้วย
สมัยจักรวรดิอัสซีเรีย(๑๓๐๐-๖๑๒ปีก่อนคริสต์ศักราช) ก่อนคริสต์ศักราช พวกอัสซีเรียเข้ายึดครองดินแดนทั้งหมดของเมโสโปเตเมียรวมทั้งอียิปต์ตอนเหนือ ทำให้อัสซีเรียกลายเป็นเจ้าแห่งดินแดนวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์(fertile crescent)ที่ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียจนถึงริมฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอียิปต์ มีศูนย์กลางปกครอง ณ เมืองนิเนเวห์ พวกเขามีความเชื่อว่ากษัตริย์ของตนป็นสมมติเทพหรือผู้แทนของพระเจ้า จึงนิยมสร้างวังแทนวัดเพื่อเป็นที่ประทับศูนย์กลางของการปกครอง ภายในวังตกแต่งด้วยภาพประติมากรรมนูนต่ำที่สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูกษัตริย์ในฐานะนักรบและนักล่า ศิลปวัฒนธรรมของอัสซีเรียเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดเมื่อในสมัยพระเจ้าออัสซูร์บานิปาล(๖๖๘-๖๒๙ปีก่อนคริสต์ศักราช)พระองค์สะสมผลงานเขียนอักษรลิ่มซึ่งเป็นมรดกจากซูเมอร์และบาบิโลนเก่าเป็นจำนวนถึง๒๒๐๐๐แผ่นไว้ในราชวัง รวมทั้งเรื่องมหากาพย์กิลกาเมชด้วย
สมัยอาณาจักรคาลเดียหรือบาบิโลนใหม่(๖๑๒-๕๓๙ปีก่อนคริสต์สักราช) ใน๖๒๑ปีก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์ใหม่แห่งบาบิโลนหรือพวกคาลเดียน(Chaldean)ร่วมมือกับศัตรูทางตะวันออกโจมตีและทำลายเมืองนิเนเวห์และยึดครอง โดยตั้งอาณาจักรบาบิโลนใหม่ซึ่งมีอายุยาวนานถึง๕๓๙ปีก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์องค์สำคัญได้แก่ พระจานบูคัดเนซซาร์ สามารถพิชิตกรุงเยรูซาเล็มและกวาดต้อนเชลยชาวยิวมายังบาบิโลนใหม่ มีการก่อสร้างและขยายเมืองบาบิโลนจนใหญ่โตและมีกำแพงขนาดใหญ่ล้อมรอบส่วนพระราชวังก็สร้างหลายชั้น แต่ละชั้นจะมีระเบียงซึ่งปลูกต้นเฟิร์นและต้นไม้นานาพันธุ์เป็นเสมือนสวนบนหลังคาและเขียวขจีตลอดทั้งปีจนได้ชื่อว่า “สวนลอยแห่งบาบิโลน” ทำให้ชาวกรีกยกย่องสวนลอยแห่งบาบิโลนว่าเป็น๑ใน๗สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคหิน
ในปี๕๓๙ปีก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรบาบิโลนใหม่ถูกกองทัพของพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียบุกเข้ายึดครองอาณาจักรบาบิโลนใหม่ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซียที่เรื่องอำนาจ นับเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ของดินแดนเมโสโปเตเมียในยุคโบราณ
แผนที่โลกของชาวบาบิโลน
สมัยราชอาณาจักรขนาดเล็ก(๑๒๐๐-๗๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช) นอกจากชนชาติต่างๆที่มีบทบาทต่อการสร้างอารยธรรมในตะวันออกกลางที่เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกดังที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีชนชาติอื่นๆในตะวันออกใกล้อีกหลายชนชาติ ได้แก่ พวกฟินีเชีย และฮิบรู
พวกฟินีเชีย พวกฟินีเชียเป็นชื่อที่ชาวกรีกใช้เรียกพวกแคนาไนต์ ที่อาศัยอยู่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในซีเรีย(ปัจจุบันคือ เลบานอน)ชาวฟินีเชียมีความสามารถทางด้านการค้า สร้างเรือเดินสมุทรและจัดตั้งอาณานิคมหรือเมืองลูกก่อนชาวกรีกตั้งแต่ศตวรรษที่๑๑ก่อนคริสต์ศักราช พวกเขาเดินเรือไปถึงเกาะอังกฤษเพื่อซื้อดีบุก แร่เงินและทองแดงที่สเปน สร้างอาณาจักรคาร์เทจทางตอนเหนือของแอฟริกาและอาณาจักรในเกาะซิซิลีในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นอกจากนี้ พวกเขายังมีความสามารถในการทำเครื่องเรือน เครื่องแก้ว เครื่องโลหะและเครื่องประดับ และรู้จักย้อมผ้าโดยใช้สีจากเปลือกหอย อย่างไรก็ดี พวกฟินีเชียไม่ใช่นักสร้างสรรค์ ไม่มีผลงานทางวรรณกรรมหรืองานศิลปะที่สำคัญ มรดกที่สำคัญ
พวกฮิบรูหรือยิว พวกฮิบรูหรือยิวเป็นชนเผ่าเซเมติก เรื่องราวของพวกเขาปรากฏในพันธสัญญาเก่า ครั้งหนึ่งเคยประสบความสำเร็จในการสร้างราชอาณาจักรและขยายเป็นจักรวรรดิอิสราเอล แต่ไม่สามารถผดุงรักษาไว้ได้ในสมัยอาณาจักรบาบิโลนใหม่ พวกยิวถูกกวาดต้อนไปเป็นทาส ต่อมาตกเป็นตกอยู่ใต้การปกครองของเปอร์เซีย กรีกและโรมัน ในค.ศ.๗๐พวกฮิบรูได้ก่อกบฏต่อจักรวรรดิโรมันและถูกทัพโรมันปราบปรามจนกลายเป็นชนเผ่าเร่ร่อน และต้องอยู่อย่างกระจัดกระจายในดินแดนต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป พวกเขาจึงแสวงหาดินแดนแห่งคำสัญญา มรดกสำคัญที่ชาวฮิบรูทิ้งไว้ คือ การนับถือพระเจ้าองค์เดียว ได้แก่พระยะเวห์หรือพระยะโฮวา หรือพระเป็นเจ้าในคริสต์ศาสนา

Weitere ähnliche Inhalte

Mehr von SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL

ศาสตราจารย์ปรีดี พนมยงค์
ศาสตราจารย์ปรีดี  พนมยงค์ศาสตราจารย์ปรีดี  พนมยงค์
ศาสตราจารย์ปรีดี พนมยงค์
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาร
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาร
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาร
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 

Mehr von SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL (20)

เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
 
Isประเทศบังกลาเทศ
IsประเทศบังกลาเทศIsประเทศบังกลาเทศ
Isประเทศบังกลาเทศ
 
อาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจานอาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจาน
 
คองโก
คองโกคองโก
คองโก
 
Is1
Is1Is1
Is1
 
ตุรกี
ตุรกีตุรกี
ตุรกี
 
มัลดีฟ
มัลดีฟมัลดีฟ
มัลดีฟ
 
อาร์เมเนีย
อาร์เมเนียอาร์เมเนีย
อาร์เมเนีย
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
 
สอบกลางภาค
สอบกลางภาคสอบกลางภาค
สอบกลางภาค
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
 
จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์
 
ณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชาณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชา
 
กลางภาค
กลางภาคกลางภาค
กลางภาค
 
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุดงานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
 
ส่งPptขึ้นเนต
ส่งPptขึ้นเนตส่งPptขึ้นเนต
ส่งPptขึ้นเนต
 
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจรจอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร
 
ศาสตราจารย์ปรีดี พนมยงค์
ศาสตราจารย์ปรีดี  พนมยงค์ศาสตราจารย์ปรีดี  พนมยงค์
ศาสตราจารย์ปรีดี พนมยงค์
 
หมอ บรัดเลย์
หมอ บรัดเลย์หมอ บรัดเลย์
หมอ บรัดเลย์
 
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาร
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาร
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาร
 

รายงาน