SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 13
Downloaden Sie, um offline zu lesen
สรุป วิทยาศาสตร์ ว 23102
หน่วยที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่พลังงาน
 ผลของแรงที่ทําให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง
ความเร่ง หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วในหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยเป็นm/s2
เมื่อมีแรงที่ไม่เป็นศูนย์กระทําต่อวัตถุส่งผลให้วัตถุเคลื่อนที่โดยมีความเร่ง ตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่2 ของนิวตัน
ความหน่วง หมายถึง ค่าของความเร่งที่ได้ค่าที่ติดลบ
1.1 การคํานวณความเร่งของวัตถุ
ความเร่ง =
ตัวอย่างที่ 1รถยนต์คันหนึ่งแล่นด้วยความเร็ว100 m/s เมื่อเวลาผ่านไป10วินาที รถยนต์
เปลี่ยนความเร็วเป็น120m/sรถยนต์คันนี้แล่นด้วยความเร่งเท่าใด
วิธีทํา ความเร่ง =
=
= = 2 m/s2
ดังนั้น รถยนต์แล่นด้วยความเร่งเท่ากับ2 m/s2
ตัวอย่างที่ 2เด็กคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์มาด้วยความเร็ว100 m/sเมื่อเห็นสุนัขนอน
ขวางทางจึงชะลอความเร็วและหยุดโดยใช้เวลา20วินาที เด็กคนนี้
ขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร่งเท่าใด
วิธีทํา ความเร่ง =
=
= = –5m/s2
ดังนั้น เด็กคนนี้ขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร่ง –5 m/s2
ความเร็วปลาย– ความเร็วต้น
เวลา
ความเร็วที่เปลี่ยนแปลง
เวลา
120 – 100
10
20
10
ความเร็วปลาย– ความเร็ว
ต้น
0 – 100
20
–100
20
ชนิดของแรง
 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
แรงกิริยาคืออะไร (แรงที่กระทํา)
แรงปฏิกิริยาคืออะไร (แรงที่โต้ตอบแรงกระทํา)
“เมื่อเราออกแรงกระทําต่อวัตถุ วัตถุจะมีแรงตอบโต้กระทําต่อเราเช่นเดียวกับแรงที่เรากระทําต่อวัตถุเรียกว่า
แรงกิริยา แรงที่วัตถุกระทําต่อเราเรียกว่า แรงปฏิกิริยา
ซึ่งกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อที่3กล่าวถึงแรงทั้ง2ไว้ดังนี้“ทุกแรงกิริยาย่อมมีแรงปฏิกิริยาขนาด
เท่ากันกระทําในทิศตรงกันข้ามเสมอ หรือแรงกระทํา ซึ่งกันและกันของวัตถุสองก้อนย่อมมีขนาดเท่ากัน
แต่มีทิศทางตรงกันข้าม” ในชีวิตประจําวัน วัตถุบางชนิดจะเคลื่อนที่ด้วยแรงปฏิกิริยา เช่น จรวด บั้งไฟ”
'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''
 แรงเสียดทาน
แรงเสียดทานคือแรงต้านทานการเคลื่อนที่ของวัตถุมีทิศตรงกันข้ามกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุเสมอ
แรงเสียดทานมี2ชนิด คือ
1. แรงเสียดทานสถิต เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุในสภาวะที่ออกแรง
กระทําต่อวัตถุแล้ววัตถุไม่เคลื่อนที่
2. แรงเสียดทานจลน์ เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุที่กําลังเคลื่อนที่
ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงเสียดทาน ได้แก่
1. ชนิดของผิวสัมผัสถ้าผิวหยาบหรือขรุขระจะมีแรงเสียดทานมากกว่าผิวลื่น
2. นํ้าหนักของวัตถุที่กดพื้นหรือแรงตอบโต้จากพื้น ถ้านํ้าหนักของวัตถุที่กดพื้นมีมากแรงเสียด
ทานจะมากด้วยและแรงเสียดทานจะมากหรือน้อยไม่ขึ้นกับขนาดพื้นที่ผิวสัมผัส
การลดแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ ทําได้หลายวิธี เช่นเลือกใช้ผิวสัมผัสที่ลื่นหรือขรุขระ
น้อย ใช้ล้อหรือตลับลูกปืนใช้นํ้ามันหล่อลื่น เพราะนํ้ามันหล่อลื่นจะทําให้เกิดแผ่นฟิล์มบาง ๆ แยกผิวสัมผัส
ของวัตถุช่วยลดแรงเสียดทานได้
'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''
 แรงพยุง หรือแรงลอยตัวของของเหลว
แรงพยุง หรือแรงลอยตัวของของเหลวคือแรงลัพธ์ของ ของเหลว ที่กระทําต่อวัตถุมีค่าเท่ากับนํ้าหนัก
ของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับส่วนที่จมของวัตถุการที่วัตถุลอยอยู่ที่ผิวของของเหลวได้ แสดงว่า แรงพยุง
หรือแรงลอยตัวที่เกิดขึ้นมีค่าเท่ากับนํ้าหนักของวัตถุนั้น แต่ถ้าแรงพยุง หรือแรงลอยตัวน้อยกว่านํ้าหนักของ
วัตถุ วัตถุนั้นจะจมลงใต้ของเหลว
สําหรับวัตถุตัน แรงพยุง หรือแรงลอยตัวจะขึ้นกับความหนาแน่นของวัตถุนั้นเทียบกับความ
หนาแน่นของของเหลว วัตถุที่ลอยได้ในของเหลวจะมีความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของของเหลว
วัตถุกลวง หรือมีช่องว่างภายในเนื้อของวัตถุ ถ้าความหนาแน่นเฉลี่ยของวัตถุมีค่าน้อยกว่าความ
หนาแน่นของของเหลว วัตถุนั้นจะลอยในของเหลวได้
'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''
 โมเมนต์ของแรง
โมเมนต์ของแรง คือ ผลของแรงที่ทําให้วัตถุหมุนรอบจุดคงที่
คํานวณได้จากสูตร M = F × l
โมเมนต์ของแรง มี2ชนิด ได้แก่ โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา และโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาเมื่อภาวะสมดุล
จะได้ว่า โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
ส่วนประกอบของคาน
ส่วนประกอบที่สําคัญในการทํางานของคานมี 3ส่วน คือ
1. จุดหมุนหรือจุดฟัลกรัม( Fulcrum) F
2. แรงความต้านทาน( W) หรือนํ้าหนักของวัตถุ
3. แรงความพยายาม( E) หรือแรงที่กระทําต่อคาน
การจําแนกคาน คานจําแนกได้ 3 ประเภทหรือ 3อันดับดังนี้
1. คานอันดับที่ 1
เป็นคานที่มีจุด( F) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม( E) และแรงความต้านทาน( W) เช่น กรรไกรตัดผ้า กรรไกร
ตัดเล็บ คีมตัดลวด เรือแจว ไม้กระดก เป็นต้น
2. คานอันดับ 2 เป็นคานที่มีแรงความต้านทาน( W) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม( E) และจุดหมุน(F) เช่น ที่
เปิดขวดนํ้าอัดลม รถเข็นทราย ที่ตัดกระดาษ เป็นต้น
3. คานอันดับที่ 3 เป็นคานที่มีแรงความพยายาม( E) อยู่ระหว่างแรงความต้านทาน( W) และจุดหมุน(F) เช่น
ตะเกียบ คีมคีบถ่าน แหนบ เป็นต้น
'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''
 การเคลื่อนที่ของวัตถุ
การเคลื่อนที่ หมายถึง การที่วัตถุเปลี่ยนตําแหน่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
การเคลื่อนที่ใน1มิติ หรือการเคลื่อนที่ในแนวตรง เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีเส้นทางการ
เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง เช่น รถแล่นบนถนน การปล่อยวัตถุจากที่สูง
การเคลื่อนที่ใน2มิติ เป็นการเคลื่อนที่ขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ จึงมีปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการ
เคลื่อนที่สองแนวพร้อมกันคือ แนวราบและแนวดิ่ง เราจะศึกษาการเคลื่อนที่ใน2มิติ2แบบ คือ การ
เคลื่อนที่ในแนววิถีโค้ง และการเคลื่อนที่แบบวงกลม
การเคลื่อนที่ในแนววิถีโค้ง เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีเส้นทางการเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นโค้ง
เช่น การเตะฟุตบอล การโยนลูกบาสใส่ห่วง
การเคลื่อนที่แบบวงกลม วัตถุมีเส้นทางการเคลื่อนที่เป็นวงกลม วัตถุจะเคลื่อนที่แบบนี้ได้ต้องมี
แรงกระทําต่อวัตถุในทิศทางพุ่งเข้าสู่ศูนย์กลางการเคลื่อนที่เสมอ เช่น ชิงช้าสวรรค์ รถเลี้ยวโค้ง รถจักรยานยนต์ไต่
ถังดาวเทียมโคจรรอบโลก
'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''
 พลังงาน
 งานและกําลังงาน
งาน (work; W) หมายถึง ผลของแรงที่ทําให้วัตถุเคลื่อนที่ตามแนวแรง คํานวณได้จาก
W = งาน มีหน่วยเป็น นิวตัน.เมตร (N.m) หรือจูล (J)
W= F × S F = แรง มีหน่วยเป็น นิวตัน (N)
S = ระยะทางตามแนวแรง มีหน่วยเป็น เมตร (m)
กําลังงาน (power,P) หมายถึง อัตราการทํางานต่อหนึ่งหน่วยเวลา คํานวณได้จาก
P = กําลังงาน มีหน่วยเป็น จูลต่อวินาที (J/s) หรือวัตต์ (W)
P = W = งาน มีหน่วยเป็นจูล (J)
t = เวลา มีหน่วยเป็น วินาที (s)
'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''
 พลังงานและการเปลี่ยนรูปพลังงาน
พลังงานในธรรมชาติ จําแนกออกเป็น2รูปด้วยกันคือ
1. พลังงานจลน์ เป็นพลังงานในวัตถุที่กําลังเคลื่อนที่
2. พลังงานศักย์ เป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุ ถ้าพลังงานนั้นสะสมอยู่ในวัตถุที่อยู่สูงจากพื้นดิน
พร้อมที่จะเคลื่อนที่เรียกว่าพลังงานศักย์โน้มถ่วงแต่ถ้าเป็นพลังงานที่สะสมในสปริงหรือยางยืด พร้อมที่จะ
ยืดหรือหดเราเรียกว่าพลังงานศักย์ยืดหยุ่น
พลังงานศักย์ยืดหยุ่น หมายถึง พลังงานที่สะสมในสปริง พร้อมที่จะยืดหรือหด
'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''
W
t
50
100
หน่วยที่ 5 ไฟฟ้า
แอมมิเตอร์ คือ เครื่องมือสําเร็จรูปที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร ความต้านทานภายในของ
เครื่องแอมมิเตอร์มีค่าน้อยมาก วิธีใช้ต้องต่ออนุกรมกับวงจร มีหน่วยเป็นแอมแปร์ (A)
โวลต์มิเตอร์ คือ เครื่องมือสําเร็จรูปที่ใช้วัดความต่างศักย์ ไฟฟ้า ระหว่างจุด2จุดในวงจร ความ
ต้านทานภายในโวลต์มิเตอร์มีค่าสูงมาก วิธีใช้ต้องต่อขนานกับวงจร มีหน่วยวัดเป็นโวลต์
ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึงสมบัติของลวดตัวนําที่ย่อมมีการต่อต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า
มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ω)
ลวดตัวนําชนิดเดียวกันขนาดใหญ่เท่ากัน เส้นที่ยาวกว่าจะมีความต้านทานมากกว่าและจะยอมให้
กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อยกว่าลวดเส้นที่สั้น
ลวดตัวนําชนิดเดียวกัน ยาวเท่ากัน เส้นที่มีขนาดเล็กกว่าหรือพื้นที่หน้าตัดน้อยกว่าจะมีความ
ต้านทานมากกว่าและจะยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อยกว่าลวดเส้นที่มีขนาดใหญ่
กฎของโอห์ม
เมื่ออุณหภูมิคงที่ อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าของตัวนําอันหนึ่งย่อม
คงที่เสมอ ซึ่งเขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ว่า
= R
หรือ V = IR
เมื่อ V แทน ความต่างศักย์ไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลต์ (V)
I แทน กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (A)
R แทน ความต้านทานไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โอห์ม ( Ω )
หลอดไฟฟ้ามีความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้ว50โวลต์ ไส้หลอดมีความต้านทาน100โอห์ม
จะมีกระแสไฟฟ้าผ่านกี่แอมแปร์(จงแสดงวิธีทํา)
(วิธีทํา จาก V = IR
I =
I =
I = 0.5 แอมแปร์
ดังนั้น มีกระแสไฟฟ้าผ่านเท่ากับ0.5แอมแปร์)
V
I
v
I R
V
R
“วงจรไฟฟ้าเป็นเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ครบรอบในวงจรไฟฟ้า โดยกระแสไฟฟ้า
ไหลผ่านสายไฟ สะพานไฟ สวิตช์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามลําดับ แล้วจึงไหลกลับทางสายกลาง
วงจรปิดคือ วงจรไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจร
วงจรเปิดคือ วงจรไฟฟ้าที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน”
.........................................................................................................................................
หลอดไฟฟ้า จัดได้ว่าเป็นตัวนําที่มีความต้านทานสูง ซึ่งมักจะเรียกว่า ตัวต้านทาน
การต่อความต้านทานไฟฟ้ามีการต่ออยู่3แบบ คือ แบบอนุกรม แบบขนาน และแบบผสม
เพื่อประโยชน์ในการบังคับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เข้าไปในวงจรแต่ละส่วน
แบบอนุกรม
นําลวดที่มีความต้านทานเส้นละ 10โอห์ม มาต่ออนุกรมกัน2เส้น จะได้ค่าความต้านทานรวมเป็นเท่าใด (จง
แสดงวิธีทํา)
(วิธีทํา จาก Rรวม = R1 +R2 +R3 +….+Rn
Rรวม = 10+10
Rรวม = 20 Ω
ดังนั้น ความต้านทานรวมเท่ากับ 20โอห์ม ตอบ)
...........................................................................................................................................................
แบบขนาน ความต้านทานรวมระหว่าง AกับBคือเท่าใด
(จงแสดงวิธีทํา)
( วิธีทํา จาก = + + +…+
= + + =
Rรวม =
Rรวม = 3
ดังนั้น ความต้านทานรวมระหว่าง AกับBเท่ากับ3โอห์ม ตอบ)
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
การคํานวณกําลังไฟฟ้า (P)
กําลังไฟฟ้า (P) (วัตต์) =
จะได้ P =
หรือ W = P x t
1
Rรวม
1
R1
1
R2
1
R3
1
Rn
1
6
1
10
1
15
10
30
30
10
6 Ω
10
15
BA
W
t
เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเท่าใด
P = กําลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า... (Watt;W วัตต์)
t = เวลาที่ใช้ไฟฟ้า... (s ;วินาที)
W = พลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ไป... (J ;จูล)
โดยปกติหน่วยของพลังงานไฟฟ้า เป็นวัตต์.วินาที ถ้านํามาใช้กับพลังงานที่ใช้ จะไม่เหมาะสม เพราะเป็นหน่วย
เล็ก ในทางปฏิบัติจึงคิดพลังงานไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์.ชั่วโมง หรือ ที่เรียกกันว่า “หน่วย หรือ ยูนิต (Unit)”
1 หน่วย(Unit) = 1 กิโลวัตต์.ชั่วโมง
หาค่าพลังงานที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ไปได้จาก…
W = P (กิโลวัตต์) x t(ชั่วโมง)
หม้อหุงข้าวไฟฟ้าใช้กําลังไฟฟ้า 800วัตต์ ถ้าใช้อยู่นานครึ่งชั่วโมง จะสิ้นเปลืองพลังงาน-ไฟฟ้ากี่หน่วย
(วิธีทํา กําลังไฟฟ้า800วัตต์ = 0.8 กิโลวัตต์
ใช้อยู่นานครึ่งชั่วโมง = 0.5 ชั่วโมง
จาก W = P× t
W = 0.8 × 0.5
W = 0.4 หน่วย
ตอบ ดังนั้น สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 0.4หน่วย )
ถ้าคิดค่าไฟหน่วยละ 2บาท ถ้าใช้ทุกวันใน 1อาทิตย์ จะเสียเงินเท่าใด 0.4 x2 x7 =5.6 บาท
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
หน่วยที่ 6 อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
ตัวต้านทาน เป็นอุปกรณ์ที่มีสมบัติในการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า เมื่อนําตัวต้านทานต่อใน
วงจรไฟฟ้าและเพิ่มค่าความต้านทานมากขึ้น จะทําให้กระแสไฟฟ้าในวงจรเปลี่ยนแปลง
โดยทั่วไปแบ่งตัวต้านทานเป็น 2ประเภท ได้แก่ ตัวต้านทานคงที่ และตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้
ความต้านทานในวงจรเพิ่มขึ้น กระแสไฟฟ้าในวงจรจะน้อยลง
ตัวต้านทานมีหน้าที่ในวงจรไฟฟ้า คือ จํากัดปริมาณไฟฟ้าในวงจรหรือในส่วนของวงจร
ตัวเก็บประจุเป็นอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่สะสมประจุไฟฟ้าหรือคายประจุไฟฟ้าให้กับวงจรหรืออุปกรณ์อื่น ตัว
เก็บประจุโดยทั่วไปแบ่งเป็น2ประเภท ได้แก่ ตัวเก็บประจุชนิดค่าคงที่ และตัวเก็บประจุเปลี่ยนค่าได้
ตัวเก็บประจุคือ อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่สะสมประจุไฟฟ้าหรือคาย ประจุไฟฟ้าให้กับวงจรหรืออุปกรณ์อื่น)
ไดโอด เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมให้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกไหลผ่านได้ทิศทางเดียวและป้องกัน
กระแสไฟฟ้าไหลย้อนกลับ
ไดโอดทําจากสารประเภทสารกึ่งตัวนํา
ไดโอดช่วยควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าในวงจรให้เคลื่อนที่ในทิศทางเดียว
และป้องกันกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ย้อนกลับในวงจร
ไดโอดประกอบด้วยขั้ว2ขั้วคือ(แอโนด) ต่อกับแหล่งกําเนิดไฟฟ้าขั้ว (บวก) และ (แคโทด)
ต่อกับแหล่งกําเนิดไฟฟ้าขั้ว(ลบ)
LEDแตกต่างจากไดโอดทั่ว ๆ ไป LED เป็นไดโอดที่เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านจะให้แสงสว่าง
แต่ไดโอดทั่วไปจะควบคุมทิศการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า)
LED มีขายื่นออกมาสองขา ขาที่สั้นกว่าคือ ขั้วแคโทด(ขั้วลบ) และขาที่ยาวกว่าคือ ขั้วแอโนด
(ขั้วบวก) ไดโอดเปล่งแสงนี้มีลักษณะคล้ายๆหลอดไฟเล็กๆ กินไฟน้อย และนิยมนํามาใช้งานอย่าง
กว้างขวาง เช่น ไฟกะพริบตามเสียงเพลง ไฟหน้าปัดรถยนต์ ไฟเตือนในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไฟที่ใช้ในการ
แสดงตัวเลขของเครื่องคิดเลข เป็นต้น
ทรานซิสเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทําหน้าที่เสมือนเป็นสวิตช์ปิดหรือเปิดวงจรไฟฟ้า
หน่วยที่ 7 ดวงดาวและอวกาศ
กาแล็กซี(galaxy) คือกระจุกดาวหรือระบบดาวที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์จํานวนนับแสนล้านดวง
อยู่รวมกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างดวงดาวกับดวงดาวกาแล็กซีแบ่งเป็น3ประเภท ดังนี้
1. กาแล็กซีรูปไข่เป็นกาแล็กซีที่มีกระจุกดาวฤกษ์ร่วมกันอย่างหนาแน่นบริเวณใจกลาง
2. กาแล็กซีรูปกังหันเป็นกาแล็กซีที่มีกระจุกดาวฤกษ์บริเวณใจกลาง และมีการแผ่เป็นสาย
โดยระบบระบบสุริยะจัดอยู่ในกาแล็กซีรูปกังหัน
3. กาแล็กซีรูปร่างไม่สมํ่าเสมอเป็นกาแล็กซีที่ไม่มีรูปทรงที่แน่นอนมีขนาดเล็ก กระจัดกระจาย
ไป โดยทั่ว มีโครงสร้างไม่เป็นระเบียบ
.........................................................................................................................................................................
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ แบ่งได้เป็น2กลุ่ม โดยมีวิธีการแบ่งได้ 2แบบ คือ
1.แบ่งตามองค์ประกอบของสารในดาวเคราะห์ แบ่งเป็น
1.1ดาวเคราะห์ชั้นใน เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ มีลักษณะเป็นหินแข็ง วงโคจร
อยู่ใกล้กว่าแถบดาวเคราะห์น้อย ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร
1.2ดาวเคราะห์ชั้นนอก เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่มีวงโคจรอยู่ไกลกว่าแถบดาวเคราะห์
น้อย เป็นดาวเคราะห์แก๊สที่มีแกนแข็งขนาดเล็กอยู่ที่แกนกลาง แก๊สที่พบส่วนมากเป็นแก๊สไฮโดรเจน แก๊ส
ฮีเลียม ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
2.แบ่งตามระยะทางเฉลี่ยจากดาวเคราะห์ถึงดวงอาทิตย์ แบ่งเป็น
2.1ดาวเคราะห์วงใน มีรัศมีวงโคจรเฉลี่ยน้อยกว่ารัศมีวงโคจรเฉลี่ยของโลก ได้แก่ ดาวพุธ
และดาวศุกร์
2.2ดาวเคราะห์วงนอก มีรัศมีวงโคจรเฉลี่ยมากกว่ารัศมีวงโคจรเฉลี่ยของโลก ได้แก่ ดาว
อังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
.........................................................................................................................................................................
ดาวตก(meteor) หรือที่คนไทยเรียกว่า ผีพุ่งไต้ เป็นเพียงอุกกาบาต หรือเศษวัสดุเล็ก ๆ ที่หลุดจาก
ดาวหางที่เคลื่อนที่ผ่านโลก และเศษวัสดุเหล่านั้นตกผ่านชั้นบรรยากาศของโลก เกิดการเสียดสีกับชั้น
บรรยากาศ ทําให้เกิดความร้อนและลุกเป็นดวงไฟตกลงมายังโลก เศษวัสดุที่ลุกไหม้ไม่หมด เมื่อตกลงมาบน
พื้นโลกอาจก่อให้เกิดหลุมอุกกาบาตขนาดต่าง ๆ ได้
ดาวหาง(comet) ประกอบด้วยฝุ่นและนํ้าแข็งผสมฝุ่นละออง เมื่อโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ นํ้าแข็ง
จะเกิดการระเหิด กลายเป็นแก๊สผสมฝุ่นละอองเป็นทางยาว จัดเป็นหางของดาวหาง ส่วนตัวหรือหัวของดาว
หาง เรียกว่า นิวเคลียส เมื่ออยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มาก ๆ จะมีแต่นิวเคลียสไม่มีหาง
.........................................................................................................................................................................
การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์มี3ลักษณะ คือ หมุนรอบตัวเอง โคจรรอบโลก และโคจรรอบดวงอาทิตย์
ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม(moon phase) เกิดขึ้นจากดวงจันทร์โคจร เปลี่ยนตําแหน่งไปรอบโลกแล้วทํา
ให้เกิดภาพสะท้อนจากแสงของดวงอาทิตย์ เกิดเป็นเสี้ยวมากน้อยตามตําแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่
.........................................................................................................................................................................
การบอกตําแหน่งดาวบนท้องฟ้า ต้องบอกเป็นมุม2ระบบ ดังนี้
1.มุมทิศ เรียกว่า แอซิมัท (azimuth) เป็นมุมบอกทิศ โดยวัดตามเข็มนาฬิกา จากจุดทิศเหลือไป
ตามเส้นขอบฟ้าทางตะวันออกจนกระทั่งกลับมาที่จุดทิศเหนือ
2.มุมเงย เรียกว่า อัลติจูด (altitude) เป็นมุมที่วัดจากเส้นขอบฟ้าขึ้นไปตามเส้นวงกลมดิ่งจนถึง
จุดเหนือศีรษะ เมื่อนักเรียนหันไปในทิศของมุมบอกทิศ เพื่อจะดูดาวที่ต้องการแล้ว จะต้องบอกได้ว่าดาวนั้น
ๆ อยู่สูงขึ้นไปเป็นมุมเท่าใด โดยมุมเงยนี้จะวัดได้จาก0- 90องศาเท่านั้น
.........................................................................................................................................................................
กลุ่มดาวเป็นเพียงเรื่องของจินตนาการ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เชื้อชาติภาษาและ
วัฒนธรรม ดังนั้น เพื่อให้สื่อความหมายตรงกัน องค์การดาราศาสตร์สากลจึงกําหนดมาตรฐานโดยมีชื่อเรียก
ให้เหมือนกัน โดยถือตามยุโรป เช่น กลุ่มดาวหมีใหญ่ กลุ่มดาวแคสสิโอเปีย กลุ่มดาวนายพราน
กลุ่มดาวเหล่านี้สามารถใช้ฤดูกาล และเดือน และ บอกทิศได้ เนื่องจากมีดาวเหนือ
.........................................................................................................................................................................
กล้องดูดาวหรือกล้องโทรทรรศน์ แบ่งเป็น2ประเภท คือ กล้องโทรทรรศน์ประเภทหักเหแสงและ
กล้องโทรทรรศน์ประเภทสะท้อนแสง
กล้องโทรทรรศน์(telescope) คือ เครื่องมือที่ใช้ส่องดูวัตถุในท้องฟ้าซึ่งอยู่ห่างไกล ซึ่งมองดูด้วยตา
เปล่าไม่ชัด ให้ได้ภาพขนาดขยายใหญ่และชัดเจนขึ้น แบ่งเป็น2ประเภท ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ประเภท หัก
เหแสง และกล้องโทรทรรศน์ประเภทสะท้อนแสง
กล้องโทรทรรศน์วิทยุ(radiotelescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ที่สามารถรับคลื่นวิทยุ ซึ่งเป็น
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่มาจากดวงดาวด้วยจานขนาดใหญ่ จากนั้นจะแปรสัญญาณที่ได้รับข้อมูล เพื่อให้
เราทราบข้อมูลเกี่ยวกับบรรยากาศของดวงดาวที่อยู่นอกโลกได้
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ยานอวกาศ(spacecraft) คือสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อส่งออกไปสํารวจสิ่งต่าง ๆ ในอวกาศ แบ่งเป็น
2ประเภท ดังนี้
1. ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ขับคุม ส่วนใหญ่ใช้สําหรับสํารวจดาวบริวาร และดาวเคราะห์ต่าง ๆ
ยานไพโอเนียร์ ยานมารีเนอร์ ยานกาลิเลโอ
2. ยานอวกาศที่มีมนุษย์ขับคุม เพื่อปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในอวกาศ
เช่น โครงการเจมินิ โครงการอะพอลโล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดาวเทียม(satellite) คือวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นมาแล้วส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก เพื่อวัตถุประสงค์อัน
ใดอันหนึ่งหรือมากกว่าดาวเทียมมีหลายประเภทแบ่งตามประโยชน์ที่ใช้งาน ดังนี้
1. ดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของโลก และสภาพ
อากาศของโลก
2. ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อสําหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ การถ่ายทอดโทรทัศน์ วิทยุ
การประชุมทางไกล
3. ดาวเทียมเฉพาะทางสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น การพยากรณ์อากาศ
สํารวจทรัพยากรธรรมชาติ จารกรรม
แผนภาพ ตัวอย่างประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ
2.สํารวจความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ
ความหนาแน่นของอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ
และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศต่าง ๆ
บนผิวโลก ทําให้สามารถเตรียมพร้อมที่จะ
รับกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อไปได้
3.สํารวจทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งแหล่งนํ้า ป่าไม้ ภูเขา
และเขตแดนของภูมิประเทศโดยถ่ายภาพพื้นผิวโลก
จากดาวเทียม ทําให้ทราบว่าปัจจุบันโลกมีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
4.ปฏิบัติการทดลองและวิจัยทางวิทยาศาสตร์
บางอย่างที่ไม่สามารถทําการทดลองหรือ
วิจัยได้บนโลก
5.ทําให้โลกมีความเจริญก้าวหน้าและ
พัฒนาทางด้านเทคโนโลยี มีการสื่อสาร
และโทรคมนาคมที่ง่าย สะดวก และ
รวดเร็วมากขึ้น โดยเทคโนโลยีทางด้าน
ดาวเทียมสื่อสาร
ตัวอย่าง
ประโยชน์ของ
เทคโนโลยี
1.สํารวจสภาวะแวดล้อมของโลก
ดวงดาว วัตถุในท้องฟ้า และ
อวกาศ

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

พันธุศาสตร์ประชากร
พันธุศาสตร์ประชากรพันธุศาสตร์ประชากร
พันธุศาสตร์ประชากรWan Ngamwongwan
 
สนามของแรง
สนามของแรงสนามของแรง
สนามของแรงTaweesak Poochai
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องทศนิยมและเศษส่วน
หน่วยการเรียนรู้ที่  1   เรื่องทศนิยมและเศษส่วนหน่วยการเรียนรู้ที่  1   เรื่องทศนิยมและเศษส่วน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องทศนิยมและเศษส่วนInmylove Nupad
 
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อะลิ้ตเติ้ล นก
 
(คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.2 ล.1 lnw tongphysics
(คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.2 ล.1  lnw tongphysics(คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.2 ล.1  lnw tongphysics
(คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.2 ล.1 lnw tongphysicsKruPa Jggdd
 
ระบบประสาทส่วนกลางและรอบนอก
ระบบประสาทส่วนกลางและรอบนอกระบบประสาทส่วนกลางและรอบนอก
ระบบประสาทส่วนกลางและรอบนอกThanyamon Chat.
 
Sequence and series 01
Sequence and series 01Sequence and series 01
Sequence and series 01manrak
 

Was ist angesagt? (10)

สมการตรีโกณ
สมการตรีโกณสมการตรีโกณ
สมการตรีโกณ
 
พันธุศาสตร์ประชากร
พันธุศาสตร์ประชากรพันธุศาสตร์ประชากร
พันธุศาสตร์ประชากร
 
สนามของแรง
สนามของแรงสนามของแรง
สนามของแรง
 
Entrance Rate
Entrance RateEntrance Rate
Entrance Rate
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องทศนิยมและเศษส่วน
หน่วยการเรียนรู้ที่  1   เรื่องทศนิยมและเศษส่วนหน่วยการเรียนรู้ที่  1   เรื่องทศนิยมและเศษส่วน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องทศนิยมและเศษส่วน
 
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 
สูตรต่างๆ ในคำนวณในข้อสอบครูผู้ช่วย
สูตรต่างๆ ในคำนวณในข้อสอบครูผู้ช่วยสูตรต่างๆ ในคำนวณในข้อสอบครูผู้ช่วย
สูตรต่างๆ ในคำนวณในข้อสอบครูผู้ช่วย
 
(คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.2 ล.1 lnw tongphysics
(คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.2 ล.1  lnw tongphysics(คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.2 ล.1  lnw tongphysics
(คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.2 ล.1 lnw tongphysics
 
ระบบประสาทส่วนกลางและรอบนอก
ระบบประสาทส่วนกลางและรอบนอกระบบประสาทส่วนกลางและรอบนอก
ระบบประสาทส่วนกลางและรอบนอก
 
Sequence and series 01
Sequence and series 01Sequence and series 01
Sequence and series 01
 

Andere mochten auch

สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐานสรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐานPasit Suwanichkul
 
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์Suriyawaranya Asatthasonthi
 
O net เคมี ปี 53
O net เคมี ปี 53O net เคมี ปี 53
O net เคมี ปี 53Ja 'Natruja
 
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องถูกใจ
 
สรุปสูตร ม.3
สรุปสูตร ม.3สรุปสูตร ม.3
สรุปสูตร ม.3krutew Sudarat
 
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศสรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศสิปป์แสง สุขผล
 
การแนะนำบทเรียน ม. 4 เทอม 1 ชีวะพื้นฐานโปรแกรมวิทย์
การแนะนำบทเรียน ม. 4 เทอม 1 ชีวะพื้นฐานโปรแกรมวิทย์การแนะนำบทเรียน ม. 4 เทอม 1 ชีวะพื้นฐานโปรแกรมวิทย์
การแนะนำบทเรียน ม. 4 เทอม 1 ชีวะพื้นฐานโปรแกรมวิทย์Wichai Likitponrak
 
ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)
ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)
ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)viewil
 
วิเคราะห์ข้อสอบ O net วิทยาศาสตร์ ป.6
วิเคราะห์ข้อสอบ O net วิทยาศาสตร์ ป.6วิเคราะห์ข้อสอบ O net วิทยาศาสตร์ ป.6
วิเคราะห์ข้อสอบ O net วิทยาศาสตร์ ป.6porntip sangprasat
 
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศสรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศonrika1907
 
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีืkanya pinyo
 
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีพัน พัน
 
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1Wichai Likitponrak
 
ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1
ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1 ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1
ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1 Fay Wanida
 
วิชาวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษา ปีที่ 6 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลก...
วิชาวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษา ปีที่ 6 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลก...วิชาวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษา ปีที่ 6 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลก...
วิชาวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษา ปีที่ 6 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลก...Kruthai Kidsdee
 
เนื้อหาชีววิทยา (ม.4-6 สายวิทย์และสายศิลป์)
เนื้อหาชีววิทยา (ม.4-6 สายวิทย์และสายศิลป์)เนื้อหาชีววิทยา (ม.4-6 สายวิทย์และสายศิลป์)
เนื้อหาชีววิทยา (ม.4-6 สายวิทย์และสายศิลป์)Nattapong Boonpong
 
แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์
แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์ แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์
แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์ wan Jeerisuda
 

Andere mochten auch (20)

สรุปวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปวิทยาศาสตร์พื้นฐานสรุปวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
 
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐานสรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
 
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์
 
เอกสารประกอบการติวo net57 สพฐ. วิทยาศาสตร์ป.6
เอกสารประกอบการติวo net57 สพฐ. วิทยาศาสตร์ป.6เอกสารประกอบการติวo net57 สพฐ. วิทยาศาสตร์ป.6
เอกสารประกอบการติวo net57 สพฐ. วิทยาศาสตร์ป.6
 
O net เคมี ปี 53
O net เคมี ปี 53O net เคมี ปี 53
O net เคมี ปี 53
 
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
 
สรุปสูตร ม.3
สรุปสูตร ม.3สรุปสูตร ม.3
สรุปสูตร ม.3
 
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศสรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
 
การแนะนำบทเรียน ม. 4 เทอม 1 ชีวะพื้นฐานโปรแกรมวิทย์
การแนะนำบทเรียน ม. 4 เทอม 1 ชีวะพื้นฐานโปรแกรมวิทย์การแนะนำบทเรียน ม. 4 เทอม 1 ชีวะพื้นฐานโปรแกรมวิทย์
การแนะนำบทเรียน ม. 4 เทอม 1 ชีวะพื้นฐานโปรแกรมวิทย์
 
ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)
ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)
ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)
 
วิเคราะห์ข้อสอบ O net วิทยาศาสตร์ ป.6
วิเคราะห์ข้อสอบ O net วิทยาศาสตร์ ป.6วิเคราะห์ข้อสอบ O net วิทยาศาสตร์ ป.6
วิเคราะห์ข้อสอบ O net วิทยาศาสตร์ ป.6
 
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศสรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
 
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
 
ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1
ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1 ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1
ชีวะพื้นฐาน ม.4 เทอม 1
 
วิชาวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษา ปีที่ 6 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลก...
วิชาวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษา ปีที่ 6 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลก...วิชาวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษา ปีที่ 6 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลก...
วิชาวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษา ปีที่ 6 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลก...
 
เนื้อหาชีววิทยา (ม.4-6 สายวิทย์และสายศิลป์)
เนื้อหาชีววิทยา (ม.4-6 สายวิทย์และสายศิลป์)เนื้อหาชีววิทยา (ม.4-6 สายวิทย์และสายศิลป์)
เนื้อหาชีววิทยา (ม.4-6 สายวิทย์และสายศิลป์)
 
Pptติวonetม3
Pptติวonetม3Pptติวonetม3
Pptติวonetม3
 
แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์
แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์ แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์
แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์
 

Ähnlich wie สรุป วิทยาศาสตร์ ว 23102

การเคลื่อนที่ของวัตถุ
การเคลื่อนที่ของวัตถุการเคลื่อนที่ของวัตถุ
การเคลื่อนที่ของวัตถุdnavaroj
 
ความเร็ว
ความเร็วความเร็ว
ความเร็วLai Pong
 
บทที่ 2 การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ
บทที่ 2 การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆบทที่ 2 การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ
บทที่ 2 การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆThepsatri Rajabhat University
 
Acceleration
AccelerationAcceleration
Accelerationtuiye
 
Circular motion
Circular motionCircular motion
Circular motionNank Vang
 
04 การเคลื่อนที่แบบต่างๆ
04 การเคลื่อนที่แบบต่างๆ04 การเคลื่อนที่แบบต่างๆ
04 การเคลื่อนที่แบบต่างๆwiriya kosit
 
1.การเคลื่อนที่ของวัตถุ
1.การเคลื่อนที่ของวัตถุ1.การเคลื่อนที่ของวัตถุ
1.การเคลื่อนที่ของวัตถุmixzz20
 

Ähnlich wie สรุป วิทยาศาสตร์ ว 23102 (8)

การเคลื่อนที่ของวัตถุ
การเคลื่อนที่ของวัตถุการเคลื่อนที่ของวัตถุ
การเคลื่อนที่ของวัตถุ
 
ความเร็ว
ความเร็วความเร็ว
ความเร็ว
 
บทที่ 2 การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ
บทที่ 2 การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆบทที่ 2 การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ
บทที่ 2 การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ
 
Acceleration
AccelerationAcceleration
Acceleration
 
Circular motion
Circular motionCircular motion
Circular motion
 
การเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์
การเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์การเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์
การเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์
 
04 การเคลื่อนที่แบบต่างๆ
04 การเคลื่อนที่แบบต่างๆ04 การเคลื่อนที่แบบต่างๆ
04 การเคลื่อนที่แบบต่างๆ
 
1.การเคลื่อนที่ของวัตถุ
1.การเคลื่อนที่ของวัตถุ1.การเคลื่อนที่ของวัตถุ
1.การเคลื่อนที่ของวัตถุ
 

สรุป วิทยาศาสตร์ ว 23102

  • 1. สรุป วิทยาศาสตร์ ว 23102 หน่วยที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่พลังงาน  ผลของแรงที่ทําให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง ความเร่ง หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วในหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยเป็นm/s2 เมื่อมีแรงที่ไม่เป็นศูนย์กระทําต่อวัตถุส่งผลให้วัตถุเคลื่อนที่โดยมีความเร่ง ตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่2 ของนิวตัน ความหน่วง หมายถึง ค่าของความเร่งที่ได้ค่าที่ติดลบ 1.1 การคํานวณความเร่งของวัตถุ ความเร่ง = ตัวอย่างที่ 1รถยนต์คันหนึ่งแล่นด้วยความเร็ว100 m/s เมื่อเวลาผ่านไป10วินาที รถยนต์ เปลี่ยนความเร็วเป็น120m/sรถยนต์คันนี้แล่นด้วยความเร่งเท่าใด วิธีทํา ความเร่ง = = = = 2 m/s2 ดังนั้น รถยนต์แล่นด้วยความเร่งเท่ากับ2 m/s2 ตัวอย่างที่ 2เด็กคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์มาด้วยความเร็ว100 m/sเมื่อเห็นสุนัขนอน ขวางทางจึงชะลอความเร็วและหยุดโดยใช้เวลา20วินาที เด็กคนนี้ ขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร่งเท่าใด วิธีทํา ความเร่ง = = = = –5m/s2 ดังนั้น เด็กคนนี้ขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร่ง –5 m/s2 ความเร็วปลาย– ความเร็วต้น เวลา ความเร็วที่เปลี่ยนแปลง เวลา 120 – 100 10 20 10 ความเร็วปลาย– ความเร็ว ต้น 0 – 100 20 –100 20
  • 2. ชนิดของแรง  แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา แรงกิริยาคืออะไร (แรงที่กระทํา) แรงปฏิกิริยาคืออะไร (แรงที่โต้ตอบแรงกระทํา) “เมื่อเราออกแรงกระทําต่อวัตถุ วัตถุจะมีแรงตอบโต้กระทําต่อเราเช่นเดียวกับแรงที่เรากระทําต่อวัตถุเรียกว่า แรงกิริยา แรงที่วัตถุกระทําต่อเราเรียกว่า แรงปฏิกิริยา ซึ่งกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อที่3กล่าวถึงแรงทั้ง2ไว้ดังนี้“ทุกแรงกิริยาย่อมมีแรงปฏิกิริยาขนาด เท่ากันกระทําในทิศตรงกันข้ามเสมอ หรือแรงกระทํา ซึ่งกันและกันของวัตถุสองก้อนย่อมมีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงกันข้าม” ในชีวิตประจําวัน วัตถุบางชนิดจะเคลื่อนที่ด้วยแรงปฏิกิริยา เช่น จรวด บั้งไฟ” '''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''  แรงเสียดทาน แรงเสียดทานคือแรงต้านทานการเคลื่อนที่ของวัตถุมีทิศตรงกันข้ามกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุเสมอ แรงเสียดทานมี2ชนิด คือ 1. แรงเสียดทานสถิต เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุในสภาวะที่ออกแรง กระทําต่อวัตถุแล้ววัตถุไม่เคลื่อนที่ 2. แรงเสียดทานจลน์ เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุที่กําลังเคลื่อนที่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงเสียดทาน ได้แก่ 1. ชนิดของผิวสัมผัสถ้าผิวหยาบหรือขรุขระจะมีแรงเสียดทานมากกว่าผิวลื่น 2. นํ้าหนักของวัตถุที่กดพื้นหรือแรงตอบโต้จากพื้น ถ้านํ้าหนักของวัตถุที่กดพื้นมีมากแรงเสียด ทานจะมากด้วยและแรงเสียดทานจะมากหรือน้อยไม่ขึ้นกับขนาดพื้นที่ผิวสัมผัส การลดแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ ทําได้หลายวิธี เช่นเลือกใช้ผิวสัมผัสที่ลื่นหรือขรุขระ น้อย ใช้ล้อหรือตลับลูกปืนใช้นํ้ามันหล่อลื่น เพราะนํ้ามันหล่อลื่นจะทําให้เกิดแผ่นฟิล์มบาง ๆ แยกผิวสัมผัส ของวัตถุช่วยลดแรงเสียดทานได้ '''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''  แรงพยุง หรือแรงลอยตัวของของเหลว แรงพยุง หรือแรงลอยตัวของของเหลวคือแรงลัพธ์ของ ของเหลว ที่กระทําต่อวัตถุมีค่าเท่ากับนํ้าหนัก ของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับส่วนที่จมของวัตถุการที่วัตถุลอยอยู่ที่ผิวของของเหลวได้ แสดงว่า แรงพยุง หรือแรงลอยตัวที่เกิดขึ้นมีค่าเท่ากับนํ้าหนักของวัตถุนั้น แต่ถ้าแรงพยุง หรือแรงลอยตัวน้อยกว่านํ้าหนักของ วัตถุ วัตถุนั้นจะจมลงใต้ของเหลว สําหรับวัตถุตัน แรงพยุง หรือแรงลอยตัวจะขึ้นกับความหนาแน่นของวัตถุนั้นเทียบกับความ หนาแน่นของของเหลว วัตถุที่ลอยได้ในของเหลวจะมีความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของของเหลว
  • 3. วัตถุกลวง หรือมีช่องว่างภายในเนื้อของวัตถุ ถ้าความหนาแน่นเฉลี่ยของวัตถุมีค่าน้อยกว่าความ หนาแน่นของของเหลว วัตถุนั้นจะลอยในของเหลวได้ '''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''  โมเมนต์ของแรง โมเมนต์ของแรง คือ ผลของแรงที่ทําให้วัตถุหมุนรอบจุดคงที่ คํานวณได้จากสูตร M = F × l โมเมนต์ของแรง มี2ชนิด ได้แก่ โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา และโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาเมื่อภาวะสมดุล จะได้ว่า โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา ส่วนประกอบของคาน ส่วนประกอบที่สําคัญในการทํางานของคานมี 3ส่วน คือ 1. จุดหมุนหรือจุดฟัลกรัม( Fulcrum) F 2. แรงความต้านทาน( W) หรือนํ้าหนักของวัตถุ 3. แรงความพยายาม( E) หรือแรงที่กระทําต่อคาน การจําแนกคาน คานจําแนกได้ 3 ประเภทหรือ 3อันดับดังนี้ 1. คานอันดับที่ 1 เป็นคานที่มีจุด( F) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม( E) และแรงความต้านทาน( W) เช่น กรรไกรตัดผ้า กรรไกร ตัดเล็บ คีมตัดลวด เรือแจว ไม้กระดก เป็นต้น
  • 4. 2. คานอันดับ 2 เป็นคานที่มีแรงความต้านทาน( W) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม( E) และจุดหมุน(F) เช่น ที่ เปิดขวดนํ้าอัดลม รถเข็นทราย ที่ตัดกระดาษ เป็นต้น 3. คานอันดับที่ 3 เป็นคานที่มีแรงความพยายาม( E) อยู่ระหว่างแรงความต้านทาน( W) และจุดหมุน(F) เช่น ตะเกียบ คีมคีบถ่าน แหนบ เป็นต้น '''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''  การเคลื่อนที่ของวัตถุ การเคลื่อนที่ หมายถึง การที่วัตถุเปลี่ยนตําแหน่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง การเคลื่อนที่ใน1มิติ หรือการเคลื่อนที่ในแนวตรง เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีเส้นทางการ เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง เช่น รถแล่นบนถนน การปล่อยวัตถุจากที่สูง การเคลื่อนที่ใน2มิติ เป็นการเคลื่อนที่ขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ จึงมีปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการ เคลื่อนที่สองแนวพร้อมกันคือ แนวราบและแนวดิ่ง เราจะศึกษาการเคลื่อนที่ใน2มิติ2แบบ คือ การ เคลื่อนที่ในแนววิถีโค้ง และการเคลื่อนที่แบบวงกลม การเคลื่อนที่ในแนววิถีโค้ง เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีเส้นทางการเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นโค้ง เช่น การเตะฟุตบอล การโยนลูกบาสใส่ห่วง
  • 5. การเคลื่อนที่แบบวงกลม วัตถุมีเส้นทางการเคลื่อนที่เป็นวงกลม วัตถุจะเคลื่อนที่แบบนี้ได้ต้องมี แรงกระทําต่อวัตถุในทิศทางพุ่งเข้าสู่ศูนย์กลางการเคลื่อนที่เสมอ เช่น ชิงช้าสวรรค์ รถเลี้ยวโค้ง รถจักรยานยนต์ไต่ ถังดาวเทียมโคจรรอบโลก '''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''  พลังงาน  งานและกําลังงาน งาน (work; W) หมายถึง ผลของแรงที่ทําให้วัตถุเคลื่อนที่ตามแนวแรง คํานวณได้จาก W = งาน มีหน่วยเป็น นิวตัน.เมตร (N.m) หรือจูล (J) W= F × S F = แรง มีหน่วยเป็น นิวตัน (N) S = ระยะทางตามแนวแรง มีหน่วยเป็น เมตร (m) กําลังงาน (power,P) หมายถึง อัตราการทํางานต่อหนึ่งหน่วยเวลา คํานวณได้จาก P = กําลังงาน มีหน่วยเป็น จูลต่อวินาที (J/s) หรือวัตต์ (W) P = W = งาน มีหน่วยเป็นจูล (J) t = เวลา มีหน่วยเป็น วินาที (s) '''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''  พลังงานและการเปลี่ยนรูปพลังงาน พลังงานในธรรมชาติ จําแนกออกเป็น2รูปด้วยกันคือ 1. พลังงานจลน์ เป็นพลังงานในวัตถุที่กําลังเคลื่อนที่ 2. พลังงานศักย์ เป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุ ถ้าพลังงานนั้นสะสมอยู่ในวัตถุที่อยู่สูงจากพื้นดิน พร้อมที่จะเคลื่อนที่เรียกว่าพลังงานศักย์โน้มถ่วงแต่ถ้าเป็นพลังงานที่สะสมในสปริงหรือยางยืด พร้อมที่จะ ยืดหรือหดเราเรียกว่าพลังงานศักย์ยืดหยุ่น พลังงานศักย์ยืดหยุ่น หมายถึง พลังงานที่สะสมในสปริง พร้อมที่จะยืดหรือหด ''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''' W t
  • 6. 50 100 หน่วยที่ 5 ไฟฟ้า แอมมิเตอร์ คือ เครื่องมือสําเร็จรูปที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร ความต้านทานภายในของ เครื่องแอมมิเตอร์มีค่าน้อยมาก วิธีใช้ต้องต่ออนุกรมกับวงจร มีหน่วยเป็นแอมแปร์ (A) โวลต์มิเตอร์ คือ เครื่องมือสําเร็จรูปที่ใช้วัดความต่างศักย์ ไฟฟ้า ระหว่างจุด2จุดในวงจร ความ ต้านทานภายในโวลต์มิเตอร์มีค่าสูงมาก วิธีใช้ต้องต่อขนานกับวงจร มีหน่วยวัดเป็นโวลต์ ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึงสมบัติของลวดตัวนําที่ย่อมมีการต่อต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ω) ลวดตัวนําชนิดเดียวกันขนาดใหญ่เท่ากัน เส้นที่ยาวกว่าจะมีความต้านทานมากกว่าและจะยอมให้ กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อยกว่าลวดเส้นที่สั้น ลวดตัวนําชนิดเดียวกัน ยาวเท่ากัน เส้นที่มีขนาดเล็กกว่าหรือพื้นที่หน้าตัดน้อยกว่าจะมีความ ต้านทานมากกว่าและจะยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อยกว่าลวดเส้นที่มีขนาดใหญ่ กฎของโอห์ม เมื่ออุณหภูมิคงที่ อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าของตัวนําอันหนึ่งย่อม คงที่เสมอ ซึ่งเขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ว่า = R หรือ V = IR เมื่อ V แทน ความต่างศักย์ไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลต์ (V) I แทน กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (A) R แทน ความต้านทานไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โอห์ม ( Ω ) หลอดไฟฟ้ามีความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้ว50โวลต์ ไส้หลอดมีความต้านทาน100โอห์ม จะมีกระแสไฟฟ้าผ่านกี่แอมแปร์(จงแสดงวิธีทํา) (วิธีทํา จาก V = IR I = I = I = 0.5 แอมแปร์ ดังนั้น มีกระแสไฟฟ้าผ่านเท่ากับ0.5แอมแปร์) V I v I R V R
  • 7. “วงจรไฟฟ้าเป็นเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ครบรอบในวงจรไฟฟ้า โดยกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านสายไฟ สะพานไฟ สวิตช์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามลําดับ แล้วจึงไหลกลับทางสายกลาง วงจรปิดคือ วงจรไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจร วงจรเปิดคือ วงจรไฟฟ้าที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน” ......................................................................................................................................... หลอดไฟฟ้า จัดได้ว่าเป็นตัวนําที่มีความต้านทานสูง ซึ่งมักจะเรียกว่า ตัวต้านทาน การต่อความต้านทานไฟฟ้ามีการต่ออยู่3แบบ คือ แบบอนุกรม แบบขนาน และแบบผสม เพื่อประโยชน์ในการบังคับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เข้าไปในวงจรแต่ละส่วน แบบอนุกรม นําลวดที่มีความต้านทานเส้นละ 10โอห์ม มาต่ออนุกรมกัน2เส้น จะได้ค่าความต้านทานรวมเป็นเท่าใด (จง แสดงวิธีทํา) (วิธีทํา จาก Rรวม = R1 +R2 +R3 +….+Rn Rรวม = 10+10 Rรวม = 20 Ω ดังนั้น ความต้านทานรวมเท่ากับ 20โอห์ม ตอบ) ........................................................................................................................................................... แบบขนาน ความต้านทานรวมระหว่าง AกับBคือเท่าใด (จงแสดงวิธีทํา) ( วิธีทํา จาก = + + +…+ = + + = Rรวม = Rรวม = 3 ดังนั้น ความต้านทานรวมระหว่าง AกับBเท่ากับ3โอห์ม ตอบ) ,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,, การคํานวณกําลังไฟฟ้า (P) กําลังไฟฟ้า (P) (วัตต์) = จะได้ P = หรือ W = P x t 1 Rรวม 1 R1 1 R2 1 R3 1 Rn 1 6 1 10 1 15 10 30 30 10 6 Ω 10 15 BA W t
  • 8. เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเท่าใด P = กําลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า... (Watt;W วัตต์) t = เวลาที่ใช้ไฟฟ้า... (s ;วินาที) W = พลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ไป... (J ;จูล) โดยปกติหน่วยของพลังงานไฟฟ้า เป็นวัตต์.วินาที ถ้านํามาใช้กับพลังงานที่ใช้ จะไม่เหมาะสม เพราะเป็นหน่วย เล็ก ในทางปฏิบัติจึงคิดพลังงานไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์.ชั่วโมง หรือ ที่เรียกกันว่า “หน่วย หรือ ยูนิต (Unit)” 1 หน่วย(Unit) = 1 กิโลวัตต์.ชั่วโมง หาค่าพลังงานที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ไปได้จาก… W = P (กิโลวัตต์) x t(ชั่วโมง) หม้อหุงข้าวไฟฟ้าใช้กําลังไฟฟ้า 800วัตต์ ถ้าใช้อยู่นานครึ่งชั่วโมง จะสิ้นเปลืองพลังงาน-ไฟฟ้ากี่หน่วย (วิธีทํา กําลังไฟฟ้า800วัตต์ = 0.8 กิโลวัตต์ ใช้อยู่นานครึ่งชั่วโมง = 0.5 ชั่วโมง จาก W = P× t W = 0.8 × 0.5 W = 0.4 หน่วย ตอบ ดังนั้น สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 0.4หน่วย ) ถ้าคิดค่าไฟหน่วยละ 2บาท ถ้าใช้ทุกวันใน 1อาทิตย์ จะเสียเงินเท่าใด 0.4 x2 x7 =5.6 บาท ,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
  • 9. หน่วยที่ 6 อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ตัวต้านทาน เป็นอุปกรณ์ที่มีสมบัติในการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า เมื่อนําตัวต้านทานต่อใน วงจรไฟฟ้าและเพิ่มค่าความต้านทานมากขึ้น จะทําให้กระแสไฟฟ้าในวงจรเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปแบ่งตัวต้านทานเป็น 2ประเภท ได้แก่ ตัวต้านทานคงที่ และตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้ ความต้านทานในวงจรเพิ่มขึ้น กระแสไฟฟ้าในวงจรจะน้อยลง ตัวต้านทานมีหน้าที่ในวงจรไฟฟ้า คือ จํากัดปริมาณไฟฟ้าในวงจรหรือในส่วนของวงจร ตัวเก็บประจุเป็นอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่สะสมประจุไฟฟ้าหรือคายประจุไฟฟ้าให้กับวงจรหรืออุปกรณ์อื่น ตัว เก็บประจุโดยทั่วไปแบ่งเป็น2ประเภท ได้แก่ ตัวเก็บประจุชนิดค่าคงที่ และตัวเก็บประจุเปลี่ยนค่าได้ ตัวเก็บประจุคือ อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่สะสมประจุไฟฟ้าหรือคาย ประจุไฟฟ้าให้กับวงจรหรืออุปกรณ์อื่น) ไดโอด เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมให้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกไหลผ่านได้ทิศทางเดียวและป้องกัน กระแสไฟฟ้าไหลย้อนกลับ ไดโอดทําจากสารประเภทสารกึ่งตัวนํา ไดโอดช่วยควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าในวงจรให้เคลื่อนที่ในทิศทางเดียว และป้องกันกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ย้อนกลับในวงจร ไดโอดประกอบด้วยขั้ว2ขั้วคือ(แอโนด) ต่อกับแหล่งกําเนิดไฟฟ้าขั้ว (บวก) และ (แคโทด) ต่อกับแหล่งกําเนิดไฟฟ้าขั้ว(ลบ) LEDแตกต่างจากไดโอดทั่ว ๆ ไป LED เป็นไดโอดที่เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านจะให้แสงสว่าง แต่ไดโอดทั่วไปจะควบคุมทิศการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า) LED มีขายื่นออกมาสองขา ขาที่สั้นกว่าคือ ขั้วแคโทด(ขั้วลบ) และขาที่ยาวกว่าคือ ขั้วแอโนด (ขั้วบวก) ไดโอดเปล่งแสงนี้มีลักษณะคล้ายๆหลอดไฟเล็กๆ กินไฟน้อย และนิยมนํามาใช้งานอย่าง กว้างขวาง เช่น ไฟกะพริบตามเสียงเพลง ไฟหน้าปัดรถยนต์ ไฟเตือนในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไฟที่ใช้ในการ แสดงตัวเลขของเครื่องคิดเลข เป็นต้น ทรานซิสเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทําหน้าที่เสมือนเป็นสวิตช์ปิดหรือเปิดวงจรไฟฟ้า
  • 10. หน่วยที่ 7 ดวงดาวและอวกาศ กาแล็กซี(galaxy) คือกระจุกดาวหรือระบบดาวที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์จํานวนนับแสนล้านดวง อยู่รวมกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างดวงดาวกับดวงดาวกาแล็กซีแบ่งเป็น3ประเภท ดังนี้ 1. กาแล็กซีรูปไข่เป็นกาแล็กซีที่มีกระจุกดาวฤกษ์ร่วมกันอย่างหนาแน่นบริเวณใจกลาง 2. กาแล็กซีรูปกังหันเป็นกาแล็กซีที่มีกระจุกดาวฤกษ์บริเวณใจกลาง และมีการแผ่เป็นสาย โดยระบบระบบสุริยะจัดอยู่ในกาแล็กซีรูปกังหัน 3. กาแล็กซีรูปร่างไม่สมํ่าเสมอเป็นกาแล็กซีที่ไม่มีรูปทรงที่แน่นอนมีขนาดเล็ก กระจัดกระจาย ไป โดยทั่ว มีโครงสร้างไม่เป็นระเบียบ ......................................................................................................................................................................... ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ แบ่งได้เป็น2กลุ่ม โดยมีวิธีการแบ่งได้ 2แบบ คือ 1.แบ่งตามองค์ประกอบของสารในดาวเคราะห์ แบ่งเป็น 1.1ดาวเคราะห์ชั้นใน เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ มีลักษณะเป็นหินแข็ง วงโคจร อยู่ใกล้กว่าแถบดาวเคราะห์น้อย ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร 1.2ดาวเคราะห์ชั้นนอก เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่มีวงโคจรอยู่ไกลกว่าแถบดาวเคราะห์ น้อย เป็นดาวเคราะห์แก๊สที่มีแกนแข็งขนาดเล็กอยู่ที่แกนกลาง แก๊สที่พบส่วนมากเป็นแก๊สไฮโดรเจน แก๊ส ฮีเลียม ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน 2.แบ่งตามระยะทางเฉลี่ยจากดาวเคราะห์ถึงดวงอาทิตย์ แบ่งเป็น 2.1ดาวเคราะห์วงใน มีรัศมีวงโคจรเฉลี่ยน้อยกว่ารัศมีวงโคจรเฉลี่ยของโลก ได้แก่ ดาวพุธ และดาวศุกร์ 2.2ดาวเคราะห์วงนอก มีรัศมีวงโคจรเฉลี่ยมากกว่ารัศมีวงโคจรเฉลี่ยของโลก ได้แก่ ดาว อังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ......................................................................................................................................................................... ดาวตก(meteor) หรือที่คนไทยเรียกว่า ผีพุ่งไต้ เป็นเพียงอุกกาบาต หรือเศษวัสดุเล็ก ๆ ที่หลุดจาก ดาวหางที่เคลื่อนที่ผ่านโลก และเศษวัสดุเหล่านั้นตกผ่านชั้นบรรยากาศของโลก เกิดการเสียดสีกับชั้น บรรยากาศ ทําให้เกิดความร้อนและลุกเป็นดวงไฟตกลงมายังโลก เศษวัสดุที่ลุกไหม้ไม่หมด เมื่อตกลงมาบน พื้นโลกอาจก่อให้เกิดหลุมอุกกาบาตขนาดต่าง ๆ ได้ ดาวหาง(comet) ประกอบด้วยฝุ่นและนํ้าแข็งผสมฝุ่นละออง เมื่อโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ นํ้าแข็ง จะเกิดการระเหิด กลายเป็นแก๊สผสมฝุ่นละอองเป็นทางยาว จัดเป็นหางของดาวหาง ส่วนตัวหรือหัวของดาว หาง เรียกว่า นิวเคลียส เมื่ออยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มาก ๆ จะมีแต่นิวเคลียสไม่มีหาง .........................................................................................................................................................................
  • 11. การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์มี3ลักษณะ คือ หมุนรอบตัวเอง โคจรรอบโลก และโคจรรอบดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม(moon phase) เกิดขึ้นจากดวงจันทร์โคจร เปลี่ยนตําแหน่งไปรอบโลกแล้วทํา ให้เกิดภาพสะท้อนจากแสงของดวงอาทิตย์ เกิดเป็นเสี้ยวมากน้อยตามตําแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ ......................................................................................................................................................................... การบอกตําแหน่งดาวบนท้องฟ้า ต้องบอกเป็นมุม2ระบบ ดังนี้ 1.มุมทิศ เรียกว่า แอซิมัท (azimuth) เป็นมุมบอกทิศ โดยวัดตามเข็มนาฬิกา จากจุดทิศเหลือไป ตามเส้นขอบฟ้าทางตะวันออกจนกระทั่งกลับมาที่จุดทิศเหนือ 2.มุมเงย เรียกว่า อัลติจูด (altitude) เป็นมุมที่วัดจากเส้นขอบฟ้าขึ้นไปตามเส้นวงกลมดิ่งจนถึง จุดเหนือศีรษะ เมื่อนักเรียนหันไปในทิศของมุมบอกทิศ เพื่อจะดูดาวที่ต้องการแล้ว จะต้องบอกได้ว่าดาวนั้น ๆ อยู่สูงขึ้นไปเป็นมุมเท่าใด โดยมุมเงยนี้จะวัดได้จาก0- 90องศาเท่านั้น ......................................................................................................................................................................... กลุ่มดาวเป็นเพียงเรื่องของจินตนาการ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เชื้อชาติภาษาและ วัฒนธรรม ดังนั้น เพื่อให้สื่อความหมายตรงกัน องค์การดาราศาสตร์สากลจึงกําหนดมาตรฐานโดยมีชื่อเรียก ให้เหมือนกัน โดยถือตามยุโรป เช่น กลุ่มดาวหมีใหญ่ กลุ่มดาวแคสสิโอเปีย กลุ่มดาวนายพราน กลุ่มดาวเหล่านี้สามารถใช้ฤดูกาล และเดือน และ บอกทิศได้ เนื่องจากมีดาวเหนือ ......................................................................................................................................................................... กล้องดูดาวหรือกล้องโทรทรรศน์ แบ่งเป็น2ประเภท คือ กล้องโทรทรรศน์ประเภทหักเหแสงและ กล้องโทรทรรศน์ประเภทสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์(telescope) คือ เครื่องมือที่ใช้ส่องดูวัตถุในท้องฟ้าซึ่งอยู่ห่างไกล ซึ่งมองดูด้วยตา เปล่าไม่ชัด ให้ได้ภาพขนาดขยายใหญ่และชัดเจนขึ้น แบ่งเป็น2ประเภท ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ประเภท หัก เหแสง และกล้องโทรทรรศน์ประเภทสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์วิทยุ(radiotelescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ที่สามารถรับคลื่นวิทยุ ซึ่งเป็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่มาจากดวงดาวด้วยจานขนาดใหญ่ จากนั้นจะแปรสัญญาณที่ได้รับข้อมูล เพื่อให้ เราทราบข้อมูลเกี่ยวกับบรรยากาศของดวงดาวที่อยู่นอกโลกได้ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ยานอวกาศ(spacecraft) คือสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อส่งออกไปสํารวจสิ่งต่าง ๆ ในอวกาศ แบ่งเป็น 2ประเภท ดังนี้ 1. ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ขับคุม ส่วนใหญ่ใช้สําหรับสํารวจดาวบริวาร และดาวเคราะห์ต่าง ๆ ยานไพโอเนียร์ ยานมารีเนอร์ ยานกาลิเลโอ 2. ยานอวกาศที่มีมนุษย์ขับคุม เพื่อปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในอวกาศ เช่น โครงการเจมินิ โครงการอะพอลโล ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
  • 12. ดาวเทียม(satellite) คือวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นมาแล้วส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก เพื่อวัตถุประสงค์อัน ใดอันหนึ่งหรือมากกว่าดาวเทียมมีหลายประเภทแบ่งตามประโยชน์ที่ใช้งาน ดังนี้ 1. ดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของโลก และสภาพ อากาศของโลก 2. ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อสําหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ การถ่ายทอดโทรทัศน์ วิทยุ การประชุมทางไกล 3. ดาวเทียมเฉพาะทางสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น การพยากรณ์อากาศ สํารวจทรัพยากรธรรมชาติ จารกรรม
  • 13. แผนภาพ ตัวอย่างประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ 2.สํารวจความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ ความหนาแน่นของอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศต่าง ๆ บนผิวโลก ทําให้สามารถเตรียมพร้อมที่จะ รับกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อไปได้ 3.สํารวจทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งแหล่งนํ้า ป่าไม้ ภูเขา และเขตแดนของภูมิประเทศโดยถ่ายภาพพื้นผิวโลก จากดาวเทียม ทําให้ทราบว่าปัจจุบันโลกมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง 4.ปฏิบัติการทดลองและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บางอย่างที่ไม่สามารถทําการทดลองหรือ วิจัยได้บนโลก 5.ทําให้โลกมีความเจริญก้าวหน้าและ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยี มีการสื่อสาร และโทรคมนาคมที่ง่าย สะดวก และ รวดเร็วมากขึ้น โดยเทคโนโลยีทางด้าน ดาวเทียมสื่อสาร ตัวอย่าง ประโยชน์ของ เทคโนโลยี 1.สํารวจสภาวะแวดล้อมของโลก ดวงดาว วัตถุในท้องฟ้า และ อวกาศ