SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 113
Downloaden Sie, um offline zu lesen
๑

สรุปประเด็นการอภิปรายในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันที่ ๒๓ – ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔
และครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓
วันอังคารที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔
ลําดับที่
เรื่องด่วน
๑.

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย

- การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา มาตรา ๑๗๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๐๙.๑๗ - ๑๑.๓๑ น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
คําแถลงนโยบายของรัฐบาลมีจุดมุ่งหมาย ๓ ประการ ประกอบด้วย
รวม ๒ ชั่วโมง
นายกรัฐมนตรี
๑) นําประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็ง
๑๔ นาที
ของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น
๒) นําประเทศไทยสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์
๓) นําประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘
อย่างสมบูรณ์
โดยกําหนดนโยบายเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน
ที่จะเริ่มดําเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ ๔ ปี ดังนี้
๑.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดําเนินการในปีแรก คือ
๑) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ เยียวยาและฟื้นฟูทุกฝ่าย
เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ได้รับ
ผลกระทบจากเหตุรุนแรงตั้งแต่ช่วงปลายการใช้รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐
สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง
เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดําเนินการอย่างเป็นอิสระ

หมายเหตุ
๒

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย

หมายเหตุ

๒) กําหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น
“วาระแห่งชาติ”
๓) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ในภาครัฐอย่างจริงจัง
๔) ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ําอย่างบูรณาการและเร่งรัด
ขยายเขตพื้นที่ชลประทาน
๕) เร่งนําสันติสุขและความปลอดภัยกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแ
ภาคใต้ โดยน้อมนํากระแสพระราชดํารัส “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”
เป็นหลักปฏิบัติ
๖) เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศ
เพื่อนบ้านและนานาประเทศ
๗) แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ
เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ํามันเชื้อเพลิง โดยชะลอการเก็บ
เงินเข้ากองทุนน้ํามันเชื้อเพลิงชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ํามันเชื้อเพลิง
ลดลงทันที ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน จัดให้มบัตรเครดิตพลังงาน
ี
สําหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ดูแล
ราคาสินค้าและการมีรายได้ ป้องกันและแก้ไขการผูกขาด
ทั้งทางตรงและทางอ้อม

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๓

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
๘) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกําลังซื้อ
ภายในประเทศ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย และผู้มี
รายได้น้อยที่มีหนี้ต่ํากว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และ
ปรับโครงสร้างหนี้สําหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ทําให้
แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท ผู้จบปริญญาตรี
มีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท จ่ายเบี้ยสูงอายุ
แบบขั้นบันได อายุ ๖๐ -๖๙ ปี ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐ - ๗๙ ปี ๗๐๐
บาท อายุ ๘๐-๘๙ ปี ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป ได้รับ
๑,๐๐๐ บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก
๙) ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ ๒๓ ในปี ๒๕๕๕
และเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี ๒๕๕๖
๑๐) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเพิ่มเงินทุน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท จัดตั้งกองทุน
พัฒนาบทบาทสตรี วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท จัดตั้ง
กองทุนตั้งตัวได้วงเงิน ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา
ที่ร่วมโครงการ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนเอส เอ็ม แอล
๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามขนาดหมู่บ้าน
๑๑) ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่ง
เงินทุน เริ่มจากการรับจํานําข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ
เกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาท จัดทําทะเบียน
ครัวเรือนเกษตรกรและการออกบัตรเครดิตสําหรับเกษตรกร

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๔

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
๑๒) เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ
โดยประกาศให้ปี ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์”
และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลอง
ในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕
๑๓) สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์
ชุมชน
๑๔) พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพระบบ
๓๐ บาทรักษาทุกโรค ให้ทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ
สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม
๑๕) จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เริ่มใน
โรงเรียนนําร่องแก่นักเรียน ป. ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕
๑๖) เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชน
มีส่วนร่วม โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่เป็นอิสระยกร่าง
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียง
ประชามติ

หมายเหตุ

สําหรับนโยบายที่จะดําเนินการภายในช่วงระยะ ๔ ปี
จะดําเนินนโยบายหลักจากข้อ ๒-๘ ดังนี้
๒. นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ ที่สําคัญคือ เทิดทูนและพิทักษ์
รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดํารงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพ
แห่งองค์พระมหากษัตริย์ น้อมนําพระราชดําริทั้งปวงไว้เหนือเกล้า
เหนือกระหม่อม พร้อมทั้งอัญเชิญไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๕

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
๓. นโยบายเศรษฐกิจ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ปรับโครงสร้าง
ภาษีอากรทั้งระบบ มีนโยบายสร้างรายได้จากการส่งเสริม
การท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น ๒ เท่าตัวในเวลา ๕ ปี ผลักดันไทยเป็น
ศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหาร มีนโยบายปรับโครงสร้าง
เศรษฐกิจส่วนนโยบายโครงสร้างพื้นฐาน จะพัฒนาระบบขนส่ง
ประปา ไฟฟ้าให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพียงพอขยาย
การให้บริการน้ําสะอาดให้ครอบคลุมทุกพืนที่ พัฒนาระบบรถไฟ
้
ทางคู่เชื่อมชานเมืองถึงหัวเมืองหลัก พัฒนารถไฟความเร็วสูง
กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ -หัวหิน
และเส้นทางเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน ศึกษาและพัฒนาขยายทางรถไฟ
สายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังชลบุรี
และพัฒนา เร่งรัดโครงสร้างรถไฟฟ้า ๑๐ สายทางในกรุงเทพฯ และ
ปริมณฑล ให้เริ่มก่อสร้างได้ครบใน ๔ ปี ค่าบริการ ๒๐ บาท
ตลอดสาย

หมายเหตุ

๔. นโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิต กระจายโอกาสทางการ
ศึกษาให้เข้าถึงทุกกลุ่ม จัดโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพัน
กับรายได้ในอนาคต ส่งเสริมให้แรงงานเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
ตําแหน่งว่างงานโดยสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพประกันสังคม
พัฒนาคุณภาพชีวิตตั้งแต่ชวงตั้งครรภ์ จนถึงวัยชรา และผู้พิการ
่
สร้างหลักประกันความมั่นคงในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยการ
ขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ
http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๖

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
๕. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และ
ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ ทรัพยากรทางทะเล สร้างความ
เป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ําในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

หมายเหตุ

๖. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม
เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอ
ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมความร่วมมือกับ
ประเทศมุสลิม และองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ
๗. นโยบายการต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ส่งเสริม
ผลประโยชน์ของชาติในองค์กรระหว่างประเทศ
๘. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พัฒนาระบบราชการ
สร้างเสริมมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล รวมถึง
ปฏิรูประบบกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้ทันสมัย
สอดคล้องหลักการประชาธิปไตย เร่งรัดจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูป
กระบวนการยุติรรมที่ดําเนินการโดยอิสระ และปรับปรุงระบบ
การช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรมโดยง่าย ส่งเสริม
ให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารจากทางราชการ สื่อสารมวลชน
และสื่อสาธารณะ
http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๗

ลําดับที่
เวลา
ผู้อภิปราย
๒. ๑๑.๓๓ – ๑๓.๓๒ น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
รวม ๑ ชั่วโมง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
๓๘ นาที
พรรคประชาธิปัตย์

ประเด็นการอภิปราย
อภิปรายเสนอรัฐบาลในการเร่งสร้างศรัทธา ๓ ประเด็น คือ
- เร่งสร้างความศรัทธาให้แก่กระบวนการประชาธิปไตย
- เร่งสร้างศรัทธาให้แก่กระบวนการทางการเมือง
- เร่งสร้างศรัทธาให้แก่รัฐสภา พรรคการเมืองและนักการเมือง

หมายเหตุ
รองนายกรัฐมนตรี
ชี้แจง ๑ ช่วง
เวลา ๒๑ นาที

โดยควรดําเนินการ ๔ ข้อ เพื่อสร้างศรัทธาและแก้ไขปัญหา
อย่างยั่งยืน
ข้อ ๑ รัฐบาลต้องดําเนินการและรับผิดชอบต่อนโยบายที่ให้ไว้
กับประชาชนในช่วงหาเสียง
ข้อ ๒ ปัญหาบ้านเมืองเป็นปัญหาโครงสร้าง ซึ่งนโยบายหลาย
เรื่องที่ต้องมีการสานต่อเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเดินหน้า
ข้อ ๓ มุ่งหน้าดําเนินงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ
ขจัดเรื่องผลประโยชน์ ทับซ้อน
ข้อ ๔ การรักษา และปกป้องสถาบัน ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญต่อ
ประชาชน
จากนั้น อภิปรายนโยบายรัฐบาล ดังนี้
๑. นโยบายเร่งด่วนที่จะดําเนินการในปีแรก กรณี
ดําเนินการให้แรงงานมีรายได้ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาทต่อวัน และ
ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้ไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐
บาทต่อเดือน

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๘

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
มีการตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑.๑ เนื้อหานโยบายข้อนี้แตกต่างจากเนื้อหานโยบายที่พรรค
เพื่อไทยหาเสียง คือ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ํา ๓๐๐ บาทต่อวัน และ
การเพิ่มเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน แต่จาก
การแถลงนโยบายของรัฐบาล ข้อ ๑.๘.๒ คือ การให้แรงงานมีรายได้
ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาทต่อวัน และผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี
มีรายได้ไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นเนื้อหา
ที่แตกต่างสร้างความสับสนทั้ง ๒ ประเด็น
๑.๒ นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ํา ๓๐๐ บาทต่อวัน
เพื่อเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้นและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน
ถือเป็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ําที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อในรอบ ๑๐ ปี
ที่ผ่านมา นับเป็นการปรับแบบก้าวกระโดด แต่การปรับค่าแรง
แบบก้าวกระโดดแรงงานจะไม่ได้ประโยชน์ถ้าธุรกิจอยู่ไม่ได้
๑.๓ แนวทางดําเนินการเพื่อให้แรงงานมีรายได้ไม่ต่ํากว่า
๓๐๐ บาทต่อวัน ตามประสิทธิภาพของบุคลากรหรือมาตรฐานฝีมือ
แรงงาน รัฐบาลมีความชัดเจนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ํา ๓๐๐ บาท
ต่อวันให้ทั่วประเทศ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม
๒๕๕๕ ได้หรือไม่ อย่างไร
๑.๔ นโยบายการปรับค่าแรงขั้นต่ําต้องคํานึงถึงผลกระทบ
๒ ด้าน คือ ๑) ปัญหาแรงงานต่างด้าว ทีจะลักลอบเข้าไทยมากขึ้น
่
เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านมีการจ้างงานที่ต่ํากว่าประเทศไทยมาก
๒) การสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการในการพัฒนาขีดความสามารถ

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๙

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
ทางการแข่งขัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการส่งออกที่เป็นตัวสําคัญ
ในการเพิ่มการจ้างงาน ทั้งนี้ หากอัตราค่าแรงสูงมาก จะส่งผล
กระทบต่อขีดความสามารถในการส่งออก ซึ่งการส่งออกเป็นตัว
สําคัญที่ทําให้เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการจ้างงานต่อเนื่อง
ดังนั้น หากเพิ่มแต่ค่าจ้างแต่ไม่ลดต้นทุนในการผลิตให้กับ
ภาคอุตสาหกรรมจะมีปัญหาผลกระทบตามมา
๑.๕ นโยบายการเพิ่มเงินเดือนผู้จบปริญญาตรีเป็น
๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน รัฐบาล ยังไม่มีการประกาศกลไกที่จะใช้
ควบคุมบริษัทเอกชนในการปรับฐานเงินเดือนได้ชัดเจน หากจะเริ่ม
มีการบังคับใช้วันที่ ๑ ตุลาคมนี้เป็นต้นไป จะมีแนวทางดําเนินการ
อย่างไร เพื่อมิให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบ
๑.๖ มีการปรับถ้อยคําจากการหาเสียง คือ จากเงินเดือน
เป็นรายได้สําหรับผู้จบปริญญาตรี ทั้งนี้ รัฐบาลต้องมีคําตอบให้กับ
กลุ่มคนทํางานอื่นๆ ที่จบปริญญาตรี ปริญญาเอก และปริญญาโท
รวมทั้งผู้ที่เรียนจบสายอาชีพทั้ง ปวช. และ ปวส. ที่มีฐานเงินเดือน
น้อยกว่าหรือใกล้เคียง ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน เพราะอาจจะนําไปสู่
ผลกระทบรุนแรง คือ เกิดปัญหาการเลือกจ้างงานระหว่างผู้จบ
ปริญญาตรีกับผู้ที่เรียนจบสายอาชีพ ดังนั้น รัฐบาล ต้องมีการปรับ
ฐานเงินเดือนให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อลดปัญหาค่าครองชีพและฟื้น
ระบบเศรษฐกิจประเทศโดยรวม

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๑๐

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
๑.๗ การดําเนินการเพื่อเพิ่มรายได้ให้แรงงานรัฐบาลยังไม่มี
ความชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากเรื่องการปรับลดภาษีที่มีชัดเจน ให้
นักธุรกิจ และนายทุน โดยจะปรับลดให้เหลือ ๒๓ เปอร์เซ็นต์
ในปี ๒๕๕๕ และให้เหลือ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๒๕๕๖

หมายเหตุ

๒. นโยบายการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้วยการชะลอ
การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ํามันเชื้อเพลิงสําหรับน้ํามันเชื้อเพลิงบาง
ประเภทชั่วคราว เพื่อลดราคาน้ํามันเชื้อเพลิงทันทีและปรับ
โครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ ซึ่งเป็นเรื่องสําคัญที่อยู่ในความ
สนใจของประชาชน
๒.๑ ช่วงหาเสียงพรรคเพื่อไทยบอกว่าจะกระชากค่าครอง
ชีพลงมา ด้วยการยกเลิกกองทุนน้ํามัน แต่นโยบายหลังการเลือกตั้ง
ดูจะเปลี่ยนไปโดยนโยบายฉบับนี้ใช้คําว่าชะลอการเก็บกองทุน
น้ํามันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ รัฐบาลจะกระชากค่าครองชีพหรือไม่ และ
สามารถดําเนินการได้เมื่อไหร่
๒.๒ ที่ผ่านมากองทุนน้ํามันเชื้อเพลิงมีหน้าที่ดูแลเสถียรภาพ
ราคาน้ํามันไม่ให้แกว่งตัวตามราคาน้ํามันในตลาดโลก แต่มียุคเดียว
คือยุคของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทําให้กองทุนน้ํามันเป็นหนี้
แสนล้าน แต่สมัยรัฐบาลที่แล้วใช้หลักการไม่ให้กองทุนน้ํามันติดลบ
และสถานะวันนี้กองทุนน้ํามันฯอยู่ใกล้ศูนย์พอดี ทั้งนี้ การดูแล
น้ํามันจะใช้หลักดูแลดีเซลก่อนเพราะจําเป็นต่อระบบโลจิสติกส์
http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๑๑

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
๒.๓ การชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ํามันฯ อาจกระทบ
ต่อการดูแลเสถียรภาพราคาพลังงาน ช่วงภาวะที่ราคาน้ํามันใน
ตลาดโลกแกว่งตัวรุนแรง และการอุดหนุนราคาพลังงานบางชนิด
ของรัฐบาล คือ ก๊าซแอลพีจีและแก๊สโซฮอล์ แนวทางนี้อาจทําให้
กองทุนน้ํามันฯ ติดลบ จนรัฐบาลต้องกู้เงินจากต่างประเทศและใช้
ภาษีสรรพสามิตน้ํามันเข้ามาดูแลราคาพลังงาน ประกอบกับแนว
ทางการอุดหนุนการนําเข้าก๊าซแอลพีจี และการตรึงราคาแอลพีจี
เป็นการช่วยภาคครัวเรือน ไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นจนกระทบค่าครองชีพ
เพราะหากรัฐบาลที่ผ่านมา (นายกอภิสิทธิ์ฯ) ไม่ใช้เงินกองทุนน้ํามัน
อุดหนุนราคาแก๊สหุงต้มก็จะทําให้ราคาแก๊สหุงต้มวันนี้สูงขึ้นเท่าตัว
๒.๔ นโยบายการชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ํามันฯ บาง
ประเภทและการปรับโครงสร้างราคาพลังงานจึงมีความขัดแย้งกัน
หากรัฐบาลต้องการป้องกันกองทุนน้ํามันฯ ติดลบ ต้องยกเลิกการ
อุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี ในทางตรงกันข้ามหากรัฐบาลต้องการ
อุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีตอไป รัฐบาล จะมีหนี้ประมาณ ๓,๐๐๐ –
่
๔,๐๐๐ ล้านบาทต่อเดือน เมื่ออุดหนุน ๖ เดือน – ๑ ปี จะมีหนี้
ประมาณ ๔๐,๐๐๐ – ๕๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี ดังนั้น จึงไม่ควร
ชะลอการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ํามันฯ ไม่เช่นนั้นต้องเก็บเงินเพิ่ม
ที่ผู้ค้าน้ํามันและภาษี ถึงจะส่งผลถึงประชาชนผู้บริโภคโดยตรง
รวมทั้งส่งผลกระทบโดยตรงกับการพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้ง
เอทานอลและ ไบโอดีเซล ตลอดจนโครงสร้างราคาพลังงานในระยะ
ยาวและกระทบไปถึงเกษตรกรที่ผลิตพลังงานเหล่านี้

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๑๒

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
๒.๕ กรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประกาศว่าจะมี
การกลับมาเก็บภาษีสรรพสามิตน้ํามันเร็วขึ้นกว่ากําหนดเดิม โดยให้
เหตุผลว่าราคาน้ํามันโลกเริ่มปรับตัวลดลง มองว่า เป็นแนวทาง
ที่ไม่ถูกต้อง เพราะจะทําให้ราคาน้ํามันเบนซินปรับตัวลดลงจริง
แต่ราคาน้ํามันดีเซลจะปรับตัวสูงขึ้นแทน จึงเป็นการสร้างความ
สับสนให้กับประชาชน ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งสร้างความชัดเจน
ด้านพลังงานอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด

หมายเหตุ

๓. นโยบายยาเสพติด
มีการกําหนดจะดําเนินการให้หมดไปภายใน ๑ ปี มองว่า
เป็นเรื่องยาก แต่รัฐบาลที่ผ่านมามีแนวคิดและแนวทางการปฏิบัติ
ปราบปรามเรื่องยาเสพติดที่ยังไม่ได้ดําเนินการ ด้วยแนวทาง
การบูรณาการรวมกําลังทั้งทหาร พลเรือนมาช่วยตํารวจ ซึ่งได้
ทดลองในพื้นที่ปริมณฑล ตามแนวคิดที่เรียกว่า ๓๑๕ รัฐบาลนี้จะ
ดําเนินการต่อหรือไม่
๓. นโยบายการศึกษา
สร้างความสับสนและไม่ชัดเจนจากนโยบายการแจกแท็บเล็ต
เพื่อการศึกษา เนื่องจากตอนพรรคเพื่อไทยหาเสียงบอกว่าเด็ก
ได้ทุกคน แต่เมื่อแปลงเป็นนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ใช้คําว่า
ทดลองดําเนินการในโรงเรียนนําร่องสําหรับระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ ๑ ทั้งนี้ แนวทางการดําเนินการจริงเป็นอย่างไร
http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๑๓

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
๔. นโยบายพัฒนาระบบประกันสุขภาพ ๓๐ บาท รักษา
ทุกโรค จะสร้างความกังวลและเป็นภาระแก่ประชาชนมากกว่าเดิม
เพราะปัจจุบันมีรักษาฟรี

หมายเหตุ

๕. นโยบายการจํานําสินค้าเกษตรที่ผ่านมามีชาวบ้านเข้า
โครงการเพียง ๑ ใน ๔ เพราะรัฐบาลไม่มีทรัพยากรมากพอที่จะมา
จัดการจํานําผลผลิตการเกษตรในราคาสูงกว่าตลาดทุกเม็ด ทั้งนี้
รัฐบาลมีหลักประกันอะไรที่ระบบจํานําสินค้าเกษตรจะทําให้
ประชาชนได้ประโยชน์อย่างทั่วถึง ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของ
ราคาข้าว ทั้งนี้ ต้องคํานึงถึงเกษตรกร ๓ ใน ๔ ที่ได้ประโยชน์จาก
การประกันราคาสินค้าที่ไม่สามารถเข้าโครงการได้ เช่นบุคคลคน
๒ กลุ่ม คือ ๑) เกษตรกรที่ปลูกข้ากินเอง ถ้าปลูกจริงมาลงทะเบียน
สามารถรับส่วนต่างราคาสินค้าได้ ๒) เกษตรกรที่ผลผลิตเสียหาย
ไม่มีของมาจํานํา
ทั้งนี้ อาจส่งผลกระทบการแข่งขั้นในตลาดโลกและคุณภาพ
ของข้าวที่เร่งผลิตเกินไป
๖. นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายที่ควรสานต่อ
- กรณีโครงการรถไฟความเร็วสูง ควรสร้างเส้นทาง
หนองคาย-กรุงเทพฯ และเส้นทางกรุงเทพฯ-ชายแดนไทย-มาเลเซีย
เพราะสามารถเชื่อมต่อเส้นทางประเทศจีนได้
http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๑๔

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
- รัฐบาลใหม่ควรสานต่อนโยบายเดิมที่เริ่มต้นไว้แล้ว เช่น
แนวทางในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และหวังว่าสิ่งที่รัฐบาลเขียนไว้ในนโยบายการจะมีการปฏิบัติที่เป็น
รูปธรรม รวมทั้ง โครงการโฉนดชุมชน

หมายเหตุ

๕. นโยบายการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามข้อ ๑.๑๖
ซึ่งรัฐบาลกําหนดให้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทําภายใน ๑ ปี ทั้งที่ไม่มี
ผลการศึกษาให้ต้องแก้ไขเป็นเรื่องเร่งด่วนแต่อาจเป็นตัวเร่งให้เกิด
ความขัดแย้ง รวมทั้ง อาจมองได้ว่าการที่เร่งรัดแก้ไขแก้ไข
รัฐธรรมนูญน่าจะมีอยู่จุดประสงค์เดียว คือ หวังผลการนิรโทษกรรม
- จะพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ซึ่งการละเมิดสถาบันเป็น
ความผิดทางอาญา ความผิดทางความมั่น รัฐบาลควรมีแนวทาง
ดําเนินการที่ชัดเจน แนวทางดังกล่าวต้องไม่นําสถาบันหลัก หรือ
สถาบันความยุติธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของการขัดแย้งทางการเมือง
๖. นโยบายเศรษฐกิจมีโครงการต่างๆที่รัฐบาลจะต้องทํา
จํานวนมาก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เพราะ
จะต้องใช้งบประมาณตามนโยบายเป็นหลักล้านล้านบาท ดังนั้น
รัฐบาลต้องคํานึงถึงวินัยทางการเงินการคลัง หากความอิสระทาง
วินัยการเงินถูกทําลายจะนําไปสู่ภาวะเงินเฟ้อและกระทบถึง
ประชาชน
http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๑๕

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
- ควรวางเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ประเมินสถานการณ์
ทางเศรษฐกิจให้ตรงกันแล้วทํานโยบายทางการเงินการคลัง
ให้สอดคล้องกัน
- ระยะยาวมีการเขียนนโยบายเรื่องการตั้งกองทุนความ
มั่งคั่ง ซึ่งจะต้องมีการนําเงินทุนสํารองของประเทศออกมาใช้ รัฐบาล
จะมีวิธีดําเนินการอย่างไร งบประมาณเท่าไร มีการแก้ไขกฎหมาย
ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ และหลักประกันการบริหารกองทุน
ให้มีการบริหารจัดการตามวัตถุประสงค์ที่ควรจะเป็นในการเพิ่ม
ประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ของประเทศมิใช่เป็นแหล่งเงิน
ใหม่เพื่อเป็นงบค่าใช้จ่ายปกติของรัฐบาล

หมายเหตุ

๗. นโยบายกฎหมายและการยุติธรรม ที่จะปฏิรูประบบ
กฎหมายและกระบวนการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้มีกระบวนการ
อํานวยความยุติธรรมเป็นมาตรฐานเดียว แต่หากปล่อยให้มีการใช้
อํานาจบางกลุ่มกดดัน รัฐบาลคงไม่สามารถดําเนินการให้ประสบ
ความสําเร็จได้ หรือรัฐบาลจะมีมาตรการที่สร้างความมั่นใจว่าไม่เกิด
กรณีกระบวนการยุติธรรมเป็นไปตามเสียงข้างมาก ทั้งนี้ กรณีการ
เสียชีวิตจากการฆ่าตัดตอนเรื่องยาเสพติด เหตุการณ์ภาคใต้จะมีการ
อํานวยความเป็นธรรมหรือเรียกให้ผู้กระทํารับผิดชอบอย่างไร

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๑๖

ลําดับที่

๓.

เวลา

ผู้อภิปราย

๑๓.๐๗ – ๑๓.๓๓ น. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บํารุง
รวม ๒๒ นาที
รองนายกรัฐมนตรี
(ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรี)

ประเด็นการอภิปราย
หมายเหตุ
๘. นโยบายการปรองดองสมานฉันท์ รัฐบาลมีแนวคิด
เกี่ยวกับที่จะแก้ไขการแบ่งแยกหรือสร้างความเข้าใจกับกลุ่ม
การเมืองที่ถูกแบ่งแยกแต่ละหมู่บ้านด้วยสีหรือสัญลักษณ์อย่างไร
เพราะจะเป็นสิ่งที่กดดันให้มีการเลือกข้างสร้างความแตกแยก
ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่ควรมีการส่งเสริม
๙. นโยบายการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับข้อมูล
ข่าวสารกรณีสื่อมวลชนที่มีการวิพากษ์ถึงการแทรกแซงสื่อ รัฐบาล
ควรมีการสนับสนุนให้แต่ละสถาบันสามารถทําหน้าที่ได้อย่าง
ตรงไปตรงมา รัฐบาลมีการดูแลและเปิดพื้นที่ให้มีการแสดง
ความเห็นที่แตกต่างได้อย่างอิสระ เพื่อมิให้เกิดการปิดกันจนนําไปสู่
การแสงออกในพื้นที่สาธารณะทั่วไป
ชี้แจงข้อสังเกตการอภิปรายนโยบายรัฐบาลกรณีการรณรงค์หาเสียง ประท้วง ๑ ช่วง
ถ้าบอกสัญญาก็จะเป็นการกระทําผิด พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ รวม ๔ นาที
ว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๕๓ ได้ แต่การบอกว่าเป็นนโยบายรัฐบาลไม่ผิด ดังนั้น
พรรคเพื่อไทยไม่เคยให้สัญญามีแต่บอกว่านโยบายพรรคเพื่อไทย
ทักษิณคิด เพื่อไทยทํา นางสาวยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ
๑. กรณีการแก้ไขแก้ไขรัฐธรรมนูญให้คนหนึ่งคนใด ถือเป็น
เรื่องเข้าใจผิด เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสูดในการปกครอง
ประเทศ จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขโทษอาญาไม่ได้ ทั้งนี้ พรรค
เพื่อไทยจะไม่แก้ไขบทเฉพาะกาล มาตรา ๓๐๙ และไม่มีรัฐธรรมนูญ
ฉบับใดที่จะแก้ไขให้เกิดการนิรโทษกรรมได้
http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๑๗

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
๒. แนวคิดของพรรคเพื่อไทย คือ การแก้ไขมาตรา ๒๙๑ ให้มี
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ให้มาจากการเลือกตั้ง ๗๗ จังหวัด
และอีก ๒๒ คนมาจากผู้มีความรู้ความสามารถ
๓. รัฐบาลจะขอทํางานก่อน ๖ เดือน จากนั้น จะหารืออีกครั้ง
ว่าจะยืนยันการแก้รัฐธรรมนูญตามนโยบายที่หาเสียงไว้กับประชาชน
หรือไม่

หมายเหตุ

๔.

๑๓.๓๔ – ๑๓.๓๗ น. นายสุชาติ ธาดาธํารงเวช
รวม ๓ นาที
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคเพื่อไทย

ชี้แจงกรณีการไปเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงนั้น เป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกัน
ของกลุ่มชาวบ้านซึ่งใช้สัญลักษณ์สีแดง ส่วนการจัดสรรเงินพัฒนา
หมู่บ้านจะจัดสรรให้ทุกหมู่บ้านไม่ใช้เฉพาะหมู่บ้านเสื้อแดง

๕.

๑๓.๔๐ – ๑๔.๑๔ น. นายสนอง เทพอักษรณรงค์
รวม ๒๖ นาที
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคภูมิใจไทย
แทนหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย

ประท้วง ๓ ช่วง
อภิปรายนโยบายของรัฐบาล ดังนี้
รวม ๕ นาที
๑. การบริหารประเทศนายกรัฐมนตรีมีอํานาจเต็มการบริหาร ซึ่ง
นายกรัฐมนตรีควรบริหารประเทศด้วยตัวเอง ไม่ควรให้
ความสําคัญกับบุคคลรอบข้างที่หวังผลประโยชน์จากท่าน
๒. ควรระวังเรื่องที่จะเกิดจากคนแวดล้อม ทั้งนี้ หากคนแวดล้อม
นายกรัฐมนตรีดําเนินการใดที่ไม่ถูกต้อง แม้นายกรัฐมนตรี
จะปฏิเสธแต่ตามกฎหมายและกติกาสังคม หากคนแวดล้อม
กระทําไปโดยนายกรัฐมนตรีไม่ได้ทักท้วงจะถือว่าเป็นการละเว้น
และมีความผิด

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๑๘

ลําดับที่

๖.

เวลา

ผู้อภิปราย

๑๔.๑๖ – ๑๔.๒๘ น. นายชาดา ไทยเศรษฐ์
รวม ๑๒ นาที
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคชาติไทยพัฒนา
แทนหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา

ประเด็นการอภิปราย
๓. นโยบายของรัฐบาลเรื่องการพิทักษ์เทิดทูนและรักษาไว้ต่อ
สถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อรับใส่เกล้าฯ แล้วต้องนํามาปฏิบัติ
ทั้งนี้ ในช่วง ๒ -๓ ปีที่ผ่านมามีการกระทําผิดกฎหมายล่วงละเมิด
ต่อสถาบันหลายครั้ง รวมทั้งมีการเคลื่อนไหวของคนบางกลุ่ม
ให้ยกเลิกมาตรา ๑๑๒ ของประมวลกฎหมายอาญา มีการ
กระทําผิดหลายกรรมหลายวาระทั้งในและต่างประเทศ หมิ่นต่อ
พระบรมเดชานุภาพ และสถาบัน นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้เว็บไซต์
กระทําการขัดแย้งกับนโยบายรัฐบาลในการละเมิดต่อสถาบัน
รัฐบาลควรต้องบรรจุไว้ในนโยบายที่เร่งด่วนที่จะดําเนินการ
๔. รัฐบาลวางแผนดําเนินการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก
เหตุการณ์ต่างๆ หลายครั้ง ทั้งการล้อมสภา การชุมนุมประท้วง
ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ หรือไม่ และมีหลักเกณฑ์การชดเชย
การเยียวยาอย่างไร
๕. ทุกคนอยากเห็นให้บ้านเมืองเกิดความปกติสุข มีความปรองดอง
ดังนั้น สิ่งที่นายกรัฐมนตรี ควรดําเนินการ คือ การนํา พ.ต.ท.
ทักษิณ ชินวัตร ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย กลับมาประเทศไทย ซึ่ง
เชื่อว่าจะเป็นเรื่องที่ทําบ้านเมืองจะสงบ บ้านเมืองเดินไปข้างหน้า
๑. นโยบายยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
๑.๑ นโยบายค่าแรงวันละ ๓๐๐ บาทเป็นนโยบายที่ดี แต่
นโยบายดังกล่าวอาจทําให้เกิดปัญหาการจ้างแรงงานต่างด้าว
มากขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคง

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๑๙

ลําดับที่

๗.

เวลา

ผู้อภิปราย

๑๔.๒๘ – ๑๔.๔๔ น. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
รวม ๑๖ นาที
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หัวหน้าพรรครักประเทศไทย

ประเด็นการอภิปราย
๑.๒ นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุกรณี ผู้มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี ได้รับ
๖๐๐ บาท มีความเห็นว่าน้อยเกินไป รัฐบาลควรจัดให้ผู้สูงอายุได้รับ
จํานวน ๑,๐๐๐ บาทเท่ากันทั้งหมด ประกอบกับนโยบายดังกล่าว
อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กําหนดว่าต้องเท่าเทียมและ
ทั่วถึง
๒. สนับสนุนนโยบายพัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศ
เนื่องจากปัจจุบันสถาบันการเงินได้ประโยชน์จากการเก็บ
ค่าธรรมเนียมดําเนินธุรกรรมจากประชาชน แต่สถาบันการเงิน
ไม่ต้องมีการหักเสียภาษีดังกล่าว
๓. ควรดําเนินการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
แม้ปัจจุบันจะมีการจัดเขตพื้นที่การศึกษาแล้ว แต่การดําเนินการ
ยังไม่มีเป็นรูปธรรมดังนั้น เสนอให้มีการตั้งสภาการศึกษาจังหวัด
๔. การยกระดับราคาสินค้าด้วยนโยบายรับจํานําข้าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง ควรต้อง
แสดงบัญชีการรับจํานําสินค้า ๑๐ ปีที่ผ่านมาก่อน แล้วจึงค่อย
ดําเนินการรับจํานําในปีที่ต่อไป เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่าง
โปร่งใส ทั้งนี้ จะมีหลักประกันได้อย่างไรว่าจะไม่เกิดปัญหาการนํา
ข้าวของต่างประเทศมาสู่โครงการรับจํานําของไทย
มีข้อสังเกตต่อนโยบายของรัฐบาล ดังนี้
๑. นโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ซึ่งปัญหาการขาด
ความปรองดองเกิดความแตกแยกของสังคมเกิดจากกลุ่มจาก
การเมือง

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๒๐

ลําดับที่

๘

เวลา

ผู้อภิปราย

๑๔.๔๕ – ๑๔.๕๒ น. นายสุโข วุฒิโชติ
รวม ๗ นาที
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัด
สมุทรปราการ
คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว

ประเด็นการอภิปราย
๒. นโยบายการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยเพิ่มเงินเดือนผู้จบ
ปริญญาตรี ๑๕,๐๐๐ บาท และค่าแรงขั้นต่ํา ๓๐๐ บาท รัฐบาล
ไม่ได้จัดให้เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะจะเริ่มดําเนินการตามนโยบายใน
ปีต่อไป แต่ปัจจุบันเกิดปัญหาราคาสินค้าขึ้นแล้ว ดังนั้น รัฐบาลจึง
ต้องการให้มีความชัดเจนว่าจะเริ่มดําเนินการเมื่อใด โดยควรต้องเริ่ม
ดําเนินการโดยเร็ว
๓. รัฐบาลต้องให้ความสําคัญและเร่งดําเนินการในการแก้ปัญหา
เรื่องอบายมุขควบคู่กับปัญหายาเสพติด และมีนโยบายที่ชัดเจน
เกี่ยวกับการควบคุมและจัดระเบียบสถานบันเทิง เนื่องจากมีการ
ขายยาเสพติดอย่างเสรีในสถานบันเทิง
๔. ปัญหาการเปิดบ่อนการพนันขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพ โดย
มีเยาวชนเข้าไปเล่นการพนัน และมีการเปิดอย่างเสรี ขอให้รัฐบาล
เข้ามาดูแลปัญหาอย่างเร่งด่วน
มีข้อสังเกตต่อนโยบายของรัฐบาล ดังนี้
๑. แหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร เนื่องจาก
มีการจัดสรรงบประมาณที่ไม่ทั่วถึง
๒. ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวประมาณ ๖๐,๐๐๐-๗๐,๐๐๐ คน
ดินทางไปเที่ยวภูกระดึง ประกอบกับมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง
การทํากระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง โดยผลการศึกษาปรากฏว่าการ
สร้างกระเช้าไม่มีผลกระทบใด และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
ก็เห็นด้วยจึงฝากรัฐบาลให้ช่วยดําเนินการในเรื่องนี้

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๒๑

ลําดับที่

เวลา
ผู้อภิปราย
๑๔.๕๓ – ๑๕.๐๗ น. นายสรรเสริญ สมะลาภา
รวม ๑๔ นาที
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคประชาธิปัตย์

ประเด็นการอภิปราย
๑. นโยบายการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
๑.๑ นโยบายแก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพงนั้น จะเห็นว่านโยบาย
ที่ส่งผลกระทบให้สินค้าราคาแพง คือ นโยบายขึ้นค่าแรง ๓๐๐ บาท
และการขึ้นเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี ๑๕,๐๐๐ บาท ประกอบกับ
รัฐบาลไม่มีนโยบายดูแลเรื่องสินค้าราคาแพงอย่างชัดเจนมีเพียงข้อ
๑.๗.๓ และ ๑.๗.๔ ซึ่งไม่มีความชัดเจน และไม่มีนโยบายดูแลราคา
สินค้าเป็นรายตัว
๑.๒ มีการวิจัยว่าการขึ้นค่าแรงจะมีผลกระทบต่อราคาสินค้า
หลายรายการ ซึ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ราคาอาหาร ทั้งนี้
ผลการวิจัยรายงานว่าปีหน้าสินค้าจะมีราคาเพิ่มขึ้น ๑๒-๑๕
เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลจึงมีมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจเพื่อไม่ให้
ต้นทุนราคาสินค้าแพงโดยลดภาษีให้ทุกบริษัท แต่มาตรการดังกล่าว
เป็นการใช้เงินภาษีจํานวนมหาศาล ดังนั้น รัฐบาลควรมีมาตรการ
ครอบคลุมและชัดเจนกว่านี้ ไม่ผลักภาระให้ธนาคารแห่งประเทศ
ไทยดูแล ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ควรพิจารณาชดเชยให้
ผู้ประกอบการให้ตรงกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น ส่วนกระทรวงพาณิชย์
ต้องควบคุมดูแลราคาสินค้าชนิดที่ได้ชดเชยไว้ไม่ให้ขึ้นราคา หากไม่
มีนโยบายของ
๒ กระทรวงนี้ ประชาชนจะต้องประสบกับปัญหาสินค้าราคาแพง
อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๒๒

ลําดับที่
เวลา
ผู้อภิปราย
๙
๑๕.๐๘ – ๑๕.๒๓ น. นายวัฒนา เมืองสุข
รวม ๑๕ นาที
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคเพื่อไทย

ประเด็นการอภิปราย
อภิปรายนโยบายของรัฐบาล สรุปดังนี้
๑. นโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ และการให้
คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการ
ปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เป็นผู้รับผิดชอบแสดงถึงความ
เป็นกลางและยอมรับวิธีการปรองดองโดยไม่มีเงื่อนไข และ
วิธีการประนีประนอมควรดําเนินการตามระเบียบสํานัก
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการ
ปรองดองแห่งชาติ
๒. ที่ผ่านมามีการชุมนุมเรียกร้องของหลายกลุ่มจนเกิดความ
เสียหายกับหลายฝ่าย ซึ่งต้องเกี่ยวข้องถึงกระบวนการยุติธรรม
แต่กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มุ่งลงโทษในสิ่งที่กระทําผิดและ
ตัดผู้กระทําผิดออกจากสังคม จึงเห็นว่าไม่สามารถนํามาใช้แก้ไข
ปัญหาคดีความผิดที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมืองได้ เพราะ
อาจทําให้เกิดความขัยแย้งมากขึ้น
๓. มาตรการทางกฎหมายที่จะนํามาใช้กับการปรองดอง ควรนํา
กระบวนการ ๓ ประการ มาพิจารณาใช้ คือ กระบวนการ
ยุติธรรมเปลี่ยนผ่าน กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และ
ความยุติธรรมทางสังคม ซึ่งทั้ง ๓ กระบวนการมีวิธีคิดและ
ดําเนินการที่แตกต่างกับกฎหมายอาญา
๔. ทุกฝ่ายควรสนับสนุนการค้นหาความจริงเพื่อนําไปสู่การแก้ไข
ปัญหา และเร่งเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๒๓

ลําดับที่
เวลา
ผู้อภิปราย
ประเด็นการอภิปราย
๑๐ ๑๕.๒๔ – ๑๕.๒๗ น. นายพิเชต สุนทรพิพิธ
ตั้งข้อสังเกตนโยบายด้านการท่องเที่ยว ดังนี้
รวม ๓ นาที
สมาชิกวุฒิสภาสรรหาภาควิชาการ ๑. พระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยว พ.ศ. ๒๕๕๑ กําหนดให้มี
คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว
แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ถูกละเลยไม่ให้ความสนใจ เพิ่งมีการจัดทําแผนพัฒนาฉบับที่ ๑
ฉบับปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวมีปัญหา
อย่างต่อเนื่อง
๒. กองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยไม่สามารถเข้ามามีบทบาท
ในการเข้ามาดูแลเรื่องการท่องเที่ยวของประเทศ เนื่องจากไม่มี
รายได้เข้ากองทุน ทั้งนี้ รัฐบาลน่าจะมีการใช้ภาษีจากการ
ท่องเที่ยวมาช่วยดําเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยว
๓. รัฐบาลควรมีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว
ให้แก่ให้แต่ละจังหวัดตามสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวของ
แต่ละจังหวัด
๔. งบประมาณด้านการท่องเที่ยวประมาณร้อยละ ๘๐ เป็นการ
นําไปใช้ในเรื่องของการหาตลาดเพื่อเพิ่มจํานวนนักท่องเที่ยว
แต่เมื่อจํานวนนักท่องเที่ยวมีเพิ่มขึ้น อาจจะเกิดส่งผลกระทบ
ให้แหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม โดยที่รัฐบาลไม่มีงบประมาณ
ในการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่เพียงพอ ดังนั้น ควรพิจารณา
จัดสรรงบประมาณเพื่อฟื้นฟูดูแลแหล่งท่องเที่ยวด้วย

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๒๔

ลําดับที่

๑๑

เวลา

ผู้อภิปราย

๑๕.๒๘ – ๑๕.๓๘ น. นายธนิตพล ไชยนันทน์
รวม ๑๐ นาที
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคประชาธิปัตย์

ประเด็นการอภิปราย
๕. นโยบายด้านการท่องเที่ยวควรเน้นเรื่องความปลอดภัยของ
นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสิ่งที่สําคัญต้องกวดขันดูแลอย่างเข้มงวด
เพราะหากนักท่องเที่ยวไม่มีความปลอดภัย นักท่องเที่ยวที่มี
คุณภาพก็จะไม่เดินทางมาท่องเที่ยว
๑. นโยบายยกระดับคุณภาพชีวิต
๑.๑ นโยบายการยกระดับรายได้ทั้งการขึ้นค่าแรง และการเพิ่ม
เงินเดือน ควรเป็นการแก้ปัญหาค่าครองชีพทั้งระบบ โดย
หมายความรวมถึงผู้จบปริญญาโทและปริญญาเอกด้วย
๑.๒ ผลกระทบต่อเนื่องจากการขึ้นค่าแรงจะทําให้เกิดปัญหา คือ
ภาคเอกชนเริ่มไล่คนงานออกเพื่อลดต้นทุนการผลิต ก่อให้เกิด
ปัญหาการว่างงานเกิดขึ้น และหากแรงงานไม่เพียงพอภาคเอกชน
ก็จะจ้างแรงงานต่างด้าวมาทํางานและเกิดปัญหาแรงงานต่างด้าว
แย่งงานคนไทย ทั้งนี้ รัฐบาลจะแก้ปัญหาการว่างงานและปัญหา
แรงงานต่างด้าวอย่างไร
๑.๓ เกษตรกรบริเวณจังหวัดชายแดนเคยจ้างแรงงานต่างด้าวใน
ราคาถูกก็จะได้รับผลกระทบจากการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ํา เพราะต้อง
จ่ายค่าแรงเพิ่ม ทําให้ต้องแบกรับภาระค่าจ้างแรงงานต่างด้าวที่
สูงขึ้น
๑.๔ นโยบายตามที่ ส.ส.ของพรรคฝ่ายรัฐบาล กล่าวว่าจะเริ่ม
จ่ายค่าแรง ๓๐๐ บาท/วันในกรุงเทพก่อน จะทําให้แรงงานที่ขึ้น
ทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายก็เข้ามาทํางานในกรุงเทพ แต่โรงงาน
ในต่างจังหวัดจะขาดแคลนแรงงาน

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๒๕

ลําดับที่
เวลา
ผู้อภิปราย
๑๒ ๑๕.๓๘ – ๑๕.๕๓ น. นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล
รวม ๑๕ นาที
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคชาติไทยพัฒนา

ประเด็นการอภิปราย
อภิปรายนโยบายของรัฐบาล ดังนี้
๑. นโยบายจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ย
จังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท เป็นนโยบายที่มีประโยชน์เพราะเป็นการ
ส่งเสริมและต่อยอดบทบาทสตรีต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ การให้จัดสรรงบประมาณควรดําเนินการผ่านกองทุน
อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดผ่านหน่วยงานของภาครัฐหรือภาครัฐ
กํากับดูแล เพื่อประโยชน์ในการติดตาม ประเมินผล และเป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน
๒. ประเด็นนโยบายที่ใช้คําว่า “วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท”
หมายถึง จังหวัดใดมีจํานวนกลุ่มสตรีที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับ
หน่วยงานของรัฐบาลจํานวนมากอาจจะได้รับงบประมาณมากกว่า
๑๐๐ ล้านบาท ส่วนจังหวัดที่มีจานวนกลุ่มสตรีที่ขึ้นทะเบียน
ํ
น้อยกว่าอาจได้รับการจัดสรรงบประมาณลดหลั่นลงไปไม่ถึง ๑๐๐
ล้านบาท ใช่หรือไม่
๓. มีกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองบางกลุ่ม อ้างว่าเป็นกลุ่ม “ชมรม
เสียงสตรี” ได้สร้างความสับสนกับกลุ่มองค์กรสตรีที่ขึ้นทะเบียนไว้
อย่างถูกต้องกับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งให้สตรีสมัครเป็นสมาชิก โดย
ใบสมัครสมาชิกของชมรม ได้ให้ระบุประสบการณ์การเคลื่อนไหว
ทางการเมืองด้วย ซึ่งทําให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยใน
เจตนารมณ์ที่แท้จริงของกลุ่มนี้ รัฐบาลควรดําเนินการตรวจสอบ
เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวได้นําแนวนโยบายที่มีประโยชน์ของรัฐบาล
ไปแอบแฝงเชื่อมโยงประโยชน์ที่กลุ่มสตรีที่จะได้รับจัดสรร

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๒๖

ลําดับที่

๑๓

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
งบประมาณ ต้องเป็นสมาชิกชมรม กรณีข้างต้นอาจจะก่อให้เกิด
ความแตกแยกขึ้นในสังคมได้
๔. รัฐบาลต้องช่วยปราบปรามและหยุดพฤติกรรมการสร้างความ
แตกแยกที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งเร่งสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นใน
ประเทศ
๑๕.๕๔ – ๑๖.๐๔ น. ศาสตราจารย์เกียรติคุณตรึงใจ
มีข้อสังเกตต่อนโยบายของรัฐบาล ดังนี้
รวม ๑๐ นาที
บูรณสมภพ
๑. นโยบายของรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นนโยบายเชิงรับ เป็นการ
สมาชิกวุฒิสภาสรรหาภาควิชาการ แก้ไขปัญหาระยะสั้น ในเรื่องเฉพาะหน้า ไม่มีเป้าหมายสําหรับ
คณะกรรมาธิการการศาสนาฯ
อนาคต
๒. นโยบายข้อ ๑.๑ เห็นว่าทําให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณ
ในการตั้ง คอป. เพื่อการค้นหาความจริง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น
ภาพที่ปรากฏผ่านสื่อก็สามารถกําหนดความจริงได้โดยไม่ต้องตั้ง
คณะกรรมการให้เสียเวลาและงบประมาณ
๓. นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐข้อ ๒ ในคําแถลงนโยบายของ
คณะรัฐมนตรีไม่มีข้อความว่า “มิให้ผู้ใดล่วงละเมิดได้” ต่างจากคํา
แถลงนโยบายของรัฐบาลในปี ๒๕๔๘ จึงสอบถามว่าเหตุใดจึงไม่มี
ข้อความดังกล่าว
๔. นโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติ
มิชอบ ตามข้อ ๑.๓ รัฐบาลมีนโยบายเสริมสร้างมาตรฐานคุณธรรม
จริยธรรมแก่บุคลากรภาครัฐ แต่ในเรื่องความซื่อสัตย์รัฐบาลกลับให้
ปลูกฝังจิตสํานึกและค่านิยมของสังคม รัฐบาลได้คํานึงถึงการยึดมั่น
ในความซื่อสัตย์ของภาครัฐหรือไม่

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๒๗

ลําดับที่

๑๔

เวลา

ผู้อภิปราย

๑๖.๐๔ – ๑๖.๑๔ น. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
รวม ๑๐ นาที
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคประชาธิปัตย์

ประเด็นการอภิปราย
๕. เห็นด้วยกับนโยบายการลดภาษีบ้านหลังแรก แต่ไม่เห็นด้วย
กับนโยบายลดภาษีรถยนต์คันแรกเพราะผู้ที่มีรถยนต์อยู่แล้วอาจใช้
ชื่อบุคคลอื่นซื้อรถยนต์อีก เป็นการเพิ่มจํานวนรถยนต์ ส่งผลให้
การจราจรติดขัด และเพิ่มมลภาวะ
๖. การเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านเป็นแนวคิดที่ดี แต่การเพิ่ม
กองทุนให้กับชุมชนเมืองนั้นไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะทําให้
ประชาชนในชนบทย้ายมาอยู่ในเมืองมากขึ้น
๗. นโยบายคมนาคม
๗.๑ โครงการรถไฟฟ้าอาจต้องประสบกับปัญหาขาดทุน ทั้งนี้
เพื่อมิให้เกิดปัญหาควรแบ่งเขตราคาค่าโดยสาร โดยเขตกรุงเทพ
เก็บค่าโดยสารราคาหนึ่ง ส่วนนอกเขตที่ห่างออกไปเก็บอีกราคาหนึ่ง
๗.๒ การสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพช่วยให้เกิดความสะดวกในการ
เดินทางและแก้ไขปัญหาการเดินทางของคนทํางานในเมือง แต่อาจ
เป็นสิ่งดึงดูดให้ชาวชนบทเข้ามาพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมากขึ้น
สร้างความแออัดในสังคม ดังนั้น รัฐบาลควรนํางบประมาณไป
พัฒนาเมืองสําคัญให้เจริญทัดเทียมหรือใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ
๑. นโยบายของรัฐบาลมีจุดมุ่งหมายหลัก ๓ ประการ คือ
๑.๑ นําประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความ
เข้มแข็งของเศรษฐกิจ
๑.๒ นําประเทศไทยสู่สังคมปรองดองสมานฉันท์ และอยู่บน
พื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและม
หลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อประชาชนคนไทยทุกคน

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๒๘

ลําดับที่

เวลา

ผู้อภิปราย

ประเด็นการอภิปราย
๑.๓ นําประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
ในปี ๒๕๕๘ อย่างสมบูรณ์
๒. นโยบายที่พรรคเพื่อไทยได้ประกาศไว้ในช่วงหาเสียงและเป็น
ที่คาดหวังของประชาชน คือ
- การดําเนินการให้แรงงานมีรายได้ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท
และผู้ที่จบปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท
อยากทราบว่าจะสามารถดําเนินการได้โดยทันที หรือไม่ อย่างไร
๓. ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล มีดังนี้
๓.๑ กรณีเพิ่มค่าแรงขั้นต่ํา ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาทต่อวัน
- มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบให้ประชาชนตกงานกว่า
ร้อยละ ๓๐ หรือประมาณสามแสนคน เนื่องจากผู้ประกอบการ
ไม่สามารถแบกรับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ อยากเห็นการปรับ
ค่าแรงขั้นต่ําดําเนินการผ่านกลไกไตรภาคี
- ค่าครองชีพอาจเพิ่มสูงขึ้นตามค่าแรงขั้นต่ําที่เพิ่มขึ้น
- นโยบายที่ไม่ครอบคลุมประชาชนทั่วประเทศ จะส่งผล
ให้แรงงานนอกระบบไม่ได้รับประโยชน์การเพิ่มค่าแรงดังกล่าว
แต่กลับต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น มีสวัสดิการ
อย่างไรบ้างในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนดังกล่าว
๓.๒ กรณีการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ที่จบปริญญาตรีเดือนละ
ไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อาจส่งผลกระทบดังนี้
- ผู้เรียนสายอาชีพไม่ได้รับประโยชน์จากการเพิ่มรายได้
ในกรณีดังกล่าว

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
๒๙

ลําดับที่

๑๕

เวลา

ผู้อภิปราย

๑๖.๑๕ – ๑๖.๒๒ น. นายแพทย์เหวง โตจิราการ
รวม ๗ นาที
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคเพื่อไทย

ประเด็นการอภิปราย
- เด็กและเยาวชนหันกลับไปศึกษาในสายสามัญเช่นเดิม
เนื่องจากมีแรงจูงใจด้านเงินเดือนซึ่งส่งผลให้ขาดแรงงานที่มีความ
ชํานาญและมีฝีมือ
- จากฐานข้อมูลภาคราชการ ผู้ที่เงินเดือนยังไม่ถึง
๑๕,๐๐๐ บาท มีจํานวนแปดแสนคน รัฐวิสาหกิจมีจํานวนหกหมื่นคน
ตามปกติแล้วการเพิ่มเงินเดือนต้องใช้ระยะเวลา ๕ –๑๐ ปี กว่าจะได้
ปรับฐานเงินเดือนถึง ๑๕,๐๐๐ บาท ดังนั้น อยากทราบว่ามีมาตรการ
รองรับการขึ้นเงินเดือนกรณีดังกล่าวอย่างไร เพื่อไม่ให้กระทบ
ต่อการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล
๓.๓ กรณีการนําประเทศไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี
๒๕๕๘ หากไม่มีรายละเอียดการเตรียมความพร้อมที่เป็นรูปธรรม
จะทําให้ผู้ประกอบการ SME ของประเทศไม่สามารถแข่งขันกับ
ผู้ประกอบการจากกลุ่มประเทศใกล้เคียงได้
๑. พรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศเนื่องจาก
นโยบายเสนอคืนความสุขและการคืนประชาธิปไตยให้ประชาชน
ไทย ตลอดจน มีนโยบายการฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการ
แก้รัฐธรรมนูญ
๒. เหตุผลในการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ ไม่มีรัฐธรรมนูญ
ฉบับใดในโลกที่ได้ให้รับการรับรองการทํารัฐประหาร เนื่องจาก
ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย

หมายเหตุ

http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา

Weitere ähnliche Inhalte

Andere mochten auch

[สรุป] พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล 2537แก้ไข 2552
[สรุป] พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล 2537แก้ไข 2552[สรุป] พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล 2537แก้ไข 2552
[สรุป] พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล 2537แก้ไข 2552วัชรินทร์ ใจจะดี
 

Andere mochten auch (20)

แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
 
วินัยข้าราชการ คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด
วินัยข้าราชการ คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุดวินัยข้าราชการ คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด
วินัยข้าราชการ คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด
 
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
 
การเขียนหนังสือราชการ
การเขียนหนังสือราชการการเขียนหนังสือราชการ
การเขียนหนังสือราชการ
 
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
 
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษรวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ
 
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภาจุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา
 
วินัยข้าราชการ คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด
วินัยข้าราชการ คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุดวินัยข้าราชการ คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด
วินัยข้าราชการ คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด
 
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
 
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษรวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ชุดช่วยจำ
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ชุดช่วยจำแนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ชุดช่วยจำ
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ชุดช่วยจำ
 
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
 
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
 
วินัยข้าราชการ คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด
วินัยข้าราชการ คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุดวินัยข้าราชการ คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด
วินัยข้าราชการ คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้อ...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้อ...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้อ...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้อ...
 
[สรุป] พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล 2537แก้ไข 2552
[สรุป] พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล 2537แก้ไข 2552[สรุป] พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล 2537แก้ไข 2552
[สรุป] พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล 2537แก้ไข 2552
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1) 2
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1) 2แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1) 2
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1) 2
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเต...
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเต...แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเต...
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเต...
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1)
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1)แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1)
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1)
 

Ähnlich wie จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา

ผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2552
ผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2552ผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2552
ผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2552ดิเรก ดวงเพ็ชร์
 
2552 2.1-plan administration-land
2552 2.1-plan administration-land2552 2.1-plan administration-land
2552 2.1-plan administration-landps-most
 
The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...
The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...
The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...60904
 
The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...
The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...
The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...60904
 
เอกสารเตร ยมสอบ พ ฒนากร 57
เอกสารเตร ยมสอบ พ ฒนากร 57เอกสารเตร ยมสอบ พ ฒนากร 57
เอกสารเตร ยมสอบ พ ฒนากร 57Temmie Wongwas
 
นโยบาย พรรครักษ์สันติ
นโยบาย พรรครักษ์สันตินโยบาย พรรครักษ์สันติ
นโยบาย พรรครักษ์สันติsuthat22
 
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้ทั่วไปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้ทั่วไปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาบ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้ทั่วไปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้ทั่วไปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
คำนำ สารบัญ รายงานประเมินตนเองสถานศึกษาพอเพียง ปี ๕๗ จักราวุธ คำทวี
คำนำ สารบัญ รายงานประเมินตนเองสถานศึกษาพอเพียง ปี ๕๗ จักราวุธ คำทวีคำนำ สารบัญ รายงานประเมินตนเองสถานศึกษาพอเพียง ปี ๕๗ จักราวุธ คำทวี
คำนำ สารบัญ รายงานประเมินตนเองสถานศึกษาพอเพียง ปี ๕๗ จักราวุธ คำทวีนายจักราวุธ คำทวี
 

Ähnlich wie จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา (9)

ผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2552
ผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2552ผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2552
ผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2552
 
2552 2.1-plan administration-land
2552 2.1-plan administration-land2552 2.1-plan administration-land
2552 2.1-plan administration-land
 
The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...
The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...
The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...
 
The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...
The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...
The+practicle+approach+of+development+for+production+and+marketing+of+Thai+ri...
 
เอกสารเตร ยมสอบ พ ฒนากร 57
เอกสารเตร ยมสอบ พ ฒนากร 57เอกสารเตร ยมสอบ พ ฒนากร 57
เอกสารเตร ยมสอบ พ ฒนากร 57
 
นโยบาย พรรครักษ์สันติ
นโยบาย พรรครักษ์สันตินโยบาย พรรครักษ์สันติ
นโยบาย พรรครักษ์สันติ
 
นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์
นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์
นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์
 
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้ทั่วไปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้ทั่วไปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาบ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้ทั่วไปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้ทั่วไปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
 
คำนำ สารบัญ รายงานประเมินตนเองสถานศึกษาพอเพียง ปี ๕๗ จักราวุธ คำทวี
คำนำ สารบัญ รายงานประเมินตนเองสถานศึกษาพอเพียง ปี ๕๗ จักราวุธ คำทวีคำนำ สารบัญ รายงานประเมินตนเองสถานศึกษาพอเพียง ปี ๕๗ จักราวุธ คำทวี
คำนำ สารบัญ รายงานประเมินตนเองสถานศึกษาพอเพียง ปี ๕๗ จักราวุธ คำทวี
 

Mehr von ประพันธ์ เวารัมย์ แบ่งปันความรู้ส่ความก้าวหน้า

Mehr von ประพันธ์ เวารัมย์ แบ่งปันความรู้ส่ความก้าวหน้า (20)

แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถ...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถ...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถ...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถ...
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุ 2535...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุ 2535...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุ 2535...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุ 2535...
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 254...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 254...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 254...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 254...
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 2
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 2แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 2
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 2
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 ...
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 ...แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 ...
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 ...
 
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
 
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารแนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
 
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549 4...
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549  4...แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549  4...
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549 4...
 
แนวข้อสอบ ตำแหน่งบุคลากร นักทรัพยากรบุคคล
แนวข้อสอบ ตำแหน่งบุคลากร นักทรัพยากรบุคคลแนวข้อสอบ ตำแหน่งบุคลากร นักทรัพยากรบุคคล
แนวข้อสอบ ตำแหน่งบุคลากร นักทรัพยากรบุคคล
 
แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 2
แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 2แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 2
แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 2
 
แนวข้อสอบ ข้าราชการรัฐสภา
แนวข้อสอบ ข้าราชการรัฐสภาแนวข้อสอบ ข้าราชการรัฐสภา
แนวข้อสอบ ข้าราชการรัฐสภา
 
แนวข้อสอบ เรื่อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
แนวข้อสอบ เรื่อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551แนวข้อสอบ เรื่อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
แนวข้อสอบ เรื่อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
 
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
 
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
 
เตรียมสอบท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายแผน ระดับ 3)
เตรียมสอบท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายแผน ระดับ 3)เตรียมสอบท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายแผน ระดับ 3)
เตรียมสอบท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายแผน ระดับ 3)
 
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 3
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 3เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 3
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 3
 

จุดมุ่งหมายนโยบายรัฐบาลตารางประเด็นการอภิปรายประชุมร่วมกันของรัฐสภา

  • 1. ๑ สรุปประเด็นการอภิปรายในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันที่ ๒๓ – ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ และครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ วันอังคารที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ลําดับที่ เรื่องด่วน ๑. เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย - การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา มาตรา ๑๗๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๐๙.๑๗ - ๑๑.๓๑ น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คําแถลงนโยบายของรัฐบาลมีจุดมุ่งหมาย ๓ ประการ ประกอบด้วย รวม ๒ ชั่วโมง นายกรัฐมนตรี ๑) นําประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็ง ๑๔ นาที ของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ๒) นําประเทศไทยสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์ ๓) นําประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ อย่างสมบูรณ์ โดยกําหนดนโยบายเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ที่จะเริ่มดําเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ ๔ ปี ดังนี้ ๑.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดําเนินการในปีแรก คือ ๑) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ เยียวยาและฟื้นฟูทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ได้รับ ผลกระทบจากเหตุรุนแรงตั้งแต่ช่วงปลายการใช้รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดําเนินการอย่างเป็นอิสระ หมายเหตุ
  • 2. ๒ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย หมายเหตุ ๒) กําหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” ๓) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในภาครัฐอย่างจริงจัง ๔) ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ําอย่างบูรณาการและเร่งรัด ขยายเขตพื้นที่ชลประทาน ๕) เร่งนําสันติสุขและความปลอดภัยกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแ ภาคใต้ โดยน้อมนํากระแสพระราชดํารัส “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติ ๖) เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศ เพื่อนบ้านและนานาประเทศ ๗) แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ํามันเชื้อเพลิง โดยชะลอการเก็บ เงินเข้ากองทุนน้ํามันเชื้อเพลิงชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ํามันเชื้อเพลิง ลดลงทันที ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน จัดให้มบัตรเครดิตพลังงาน ี สําหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ดูแล ราคาสินค้าและการมีรายได้ ป้องกันและแก้ไขการผูกขาด ทั้งทางตรงและทางอ้อม http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 3. ๓ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย ๘) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกําลังซื้อ ภายในประเทศ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย และผู้มี รายได้น้อยที่มีหนี้ต่ํากว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และ ปรับโครงสร้างหนี้สําหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ทําให้ แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท ผู้จบปริญญาตรี มีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท จ่ายเบี้ยสูงอายุ แบบขั้นบันได อายุ ๖๐ -๖๙ ปี ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐ - ๗๙ ปี ๗๐๐ บาท อายุ ๘๐-๘๙ ปี ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป ได้รับ ๑,๐๐๐ บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก ๙) ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ ๒๓ ในปี ๒๕๕๕ และเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี ๒๕๕๖ ๑๐) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเพิ่มเงินทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท จัดตั้งกองทุน พัฒนาบทบาทสตรี วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท จัดตั้ง กองทุนตั้งตัวได้วงเงิน ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนเอส เอ็ม แอล ๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามขนาดหมู่บ้าน ๑๑) ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่ง เงินทุน เริ่มจากการรับจํานําข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ เกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาท จัดทําทะเบียน ครัวเรือนเกษตรกรและการออกบัตรเครดิตสําหรับเกษตรกร หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 4. ๔ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย ๑๒) เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลอง ในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ ๑๓) สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ ชุมชน ๑๔) พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพระบบ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค ให้ทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม ๑๕) จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เริ่มใน โรงเรียนนําร่องแก่นักเรียน ป. ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ๑๖) เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชน มีส่วนร่วม โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่เป็นอิสระยกร่าง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียง ประชามติ หมายเหตุ สําหรับนโยบายที่จะดําเนินการภายในช่วงระยะ ๔ ปี จะดําเนินนโยบายหลักจากข้อ ๒-๘ ดังนี้ ๒. นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ ที่สําคัญคือ เทิดทูนและพิทักษ์ รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดํารงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพ แห่งองค์พระมหากษัตริย์ น้อมนําพระราชดําริทั้งปวงไว้เหนือเกล้า เหนือกระหม่อม พร้อมทั้งอัญเชิญไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 5. ๕ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย ๓. นโยบายเศรษฐกิจ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ปรับโครงสร้าง ภาษีอากรทั้งระบบ มีนโยบายสร้างรายได้จากการส่งเสริม การท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น ๒ เท่าตัวในเวลา ๕ ปี ผลักดันไทยเป็น ศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหาร มีนโยบายปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจส่วนนโยบายโครงสร้างพื้นฐาน จะพัฒนาระบบขนส่ง ประปา ไฟฟ้าให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพียงพอขยาย การให้บริการน้ําสะอาดให้ครอบคลุมทุกพืนที่ พัฒนาระบบรถไฟ ้ ทางคู่เชื่อมชานเมืองถึงหัวเมืองหลัก พัฒนารถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ -หัวหิน และเส้นทางเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน ศึกษาและพัฒนาขยายทางรถไฟ สายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังชลบุรี และพัฒนา เร่งรัดโครงสร้างรถไฟฟ้า ๑๐ สายทางในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ให้เริ่มก่อสร้างได้ครบใน ๔ ปี ค่าบริการ ๒๐ บาท ตลอดสาย หมายเหตุ ๔. นโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิต กระจายโอกาสทางการ ศึกษาให้เข้าถึงทุกกลุ่ม จัดโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพัน กับรายได้ในอนาคต ส่งเสริมให้แรงงานเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตําแหน่งว่างงานโดยสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพประกันสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตตั้งแต่ชวงตั้งครรภ์ จนถึงวัยชรา และผู้พิการ ่ สร้างหลักประกันความมั่นคงในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยการ ขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 6. ๖ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย ๕. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และ ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ ทรัพยากรทางทะเล สร้างความ เป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ําในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หมายเหตุ ๖. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอ ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมความร่วมมือกับ ประเทศมุสลิม และองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ ๗. นโยบายการต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ส่งเสริม ผลประโยชน์ของชาติในองค์กรระหว่างประเทศ ๘. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พัฒนาระบบราชการ สร้างเสริมมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล รวมถึง ปฏิรูประบบกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้ทันสมัย สอดคล้องหลักการประชาธิปไตย เร่งรัดจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูป กระบวนการยุติรรมที่ดําเนินการโดยอิสระ และปรับปรุงระบบ การช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรมโดยง่าย ส่งเสริม ให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารจากทางราชการ สื่อสารมวลชน และสื่อสาธารณะ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 7. ๗ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ๒. ๑๑.๓๓ – ๑๓.๓๒ น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รวม ๑ ชั่วโมง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๓๘ นาที พรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นการอภิปราย อภิปรายเสนอรัฐบาลในการเร่งสร้างศรัทธา ๓ ประเด็น คือ - เร่งสร้างความศรัทธาให้แก่กระบวนการประชาธิปไตย - เร่งสร้างศรัทธาให้แก่กระบวนการทางการเมือง - เร่งสร้างศรัทธาให้แก่รัฐสภา พรรคการเมืองและนักการเมือง หมายเหตุ รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจง ๑ ช่วง เวลา ๒๑ นาที โดยควรดําเนินการ ๔ ข้อ เพื่อสร้างศรัทธาและแก้ไขปัญหา อย่างยั่งยืน ข้อ ๑ รัฐบาลต้องดําเนินการและรับผิดชอบต่อนโยบายที่ให้ไว้ กับประชาชนในช่วงหาเสียง ข้อ ๒ ปัญหาบ้านเมืองเป็นปัญหาโครงสร้าง ซึ่งนโยบายหลาย เรื่องที่ต้องมีการสานต่อเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเดินหน้า ข้อ ๓ มุ่งหน้าดําเนินงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ขจัดเรื่องผลประโยชน์ ทับซ้อน ข้อ ๔ การรักษา และปกป้องสถาบัน ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญต่อ ประชาชน จากนั้น อภิปรายนโยบายรัฐบาล ดังนี้ ๑. นโยบายเร่งด่วนที่จะดําเนินการในปีแรก กรณี ดําเนินการให้แรงงานมีรายได้ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาทต่อวัน และ ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้ไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 8. ๘ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย มีการตั้งข้อสังเกต ดังนี้ ๑.๑ เนื้อหานโยบายข้อนี้แตกต่างจากเนื้อหานโยบายที่พรรค เพื่อไทยหาเสียง คือ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ํา ๓๐๐ บาทต่อวัน และ การเพิ่มเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน แต่จาก การแถลงนโยบายของรัฐบาล ข้อ ๑.๘.๒ คือ การให้แรงงานมีรายได้ ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาทต่อวัน และผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นเนื้อหา ที่แตกต่างสร้างความสับสนทั้ง ๒ ประเด็น ๑.๒ นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ํา ๓๐๐ บาทต่อวัน เพื่อเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้นและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ถือเป็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ําที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อในรอบ ๑๐ ปี ที่ผ่านมา นับเป็นการปรับแบบก้าวกระโดด แต่การปรับค่าแรง แบบก้าวกระโดดแรงงานจะไม่ได้ประโยชน์ถ้าธุรกิจอยู่ไม่ได้ ๑.๓ แนวทางดําเนินการเพื่อให้แรงงานมีรายได้ไม่ต่ํากว่า ๓๐๐ บาทต่อวัน ตามประสิทธิภาพของบุคลากรหรือมาตรฐานฝีมือ แรงงาน รัฐบาลมีความชัดเจนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ํา ๓๐๐ บาท ต่อวันให้ทั่วประเทศ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ ได้หรือไม่ อย่างไร ๑.๔ นโยบายการปรับค่าแรงขั้นต่ําต้องคํานึงถึงผลกระทบ ๒ ด้าน คือ ๑) ปัญหาแรงงานต่างด้าว ทีจะลักลอบเข้าไทยมากขึ้น ่ เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านมีการจ้างงานที่ต่ํากว่าประเทศไทยมาก ๒) การสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการในการพัฒนาขีดความสามารถ หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 9. ๙ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย ทางการแข่งขัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการส่งออกที่เป็นตัวสําคัญ ในการเพิ่มการจ้างงาน ทั้งนี้ หากอัตราค่าแรงสูงมาก จะส่งผล กระทบต่อขีดความสามารถในการส่งออก ซึ่งการส่งออกเป็นตัว สําคัญที่ทําให้เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการจ้างงานต่อเนื่อง ดังนั้น หากเพิ่มแต่ค่าจ้างแต่ไม่ลดต้นทุนในการผลิตให้กับ ภาคอุตสาหกรรมจะมีปัญหาผลกระทบตามมา ๑.๕ นโยบายการเพิ่มเงินเดือนผู้จบปริญญาตรีเป็น ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน รัฐบาล ยังไม่มีการประกาศกลไกที่จะใช้ ควบคุมบริษัทเอกชนในการปรับฐานเงินเดือนได้ชัดเจน หากจะเริ่ม มีการบังคับใช้วันที่ ๑ ตุลาคมนี้เป็นต้นไป จะมีแนวทางดําเนินการ อย่างไร เพื่อมิให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบ ๑.๖ มีการปรับถ้อยคําจากการหาเสียง คือ จากเงินเดือน เป็นรายได้สําหรับผู้จบปริญญาตรี ทั้งนี้ รัฐบาลต้องมีคําตอบให้กับ กลุ่มคนทํางานอื่นๆ ที่จบปริญญาตรี ปริญญาเอก และปริญญาโท รวมทั้งผู้ที่เรียนจบสายอาชีพทั้ง ปวช. และ ปวส. ที่มีฐานเงินเดือน น้อยกว่าหรือใกล้เคียง ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน เพราะอาจจะนําไปสู่ ผลกระทบรุนแรง คือ เกิดปัญหาการเลือกจ้างงานระหว่างผู้จบ ปริญญาตรีกับผู้ที่เรียนจบสายอาชีพ ดังนั้น รัฐบาล ต้องมีการปรับ ฐานเงินเดือนให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อลดปัญหาค่าครองชีพและฟื้น ระบบเศรษฐกิจประเทศโดยรวม หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 10. ๑๐ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย ๑.๗ การดําเนินการเพื่อเพิ่มรายได้ให้แรงงานรัฐบาลยังไม่มี ความชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากเรื่องการปรับลดภาษีที่มีชัดเจน ให้ นักธุรกิจ และนายทุน โดยจะปรับลดให้เหลือ ๒๓ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๒๕๕๕ และให้เหลือ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๒๕๕๖ หมายเหตุ ๒. นโยบายการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้วยการชะลอ การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ํามันเชื้อเพลิงสําหรับน้ํามันเชื้อเพลิงบาง ประเภทชั่วคราว เพื่อลดราคาน้ํามันเชื้อเพลิงทันทีและปรับ โครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ ซึ่งเป็นเรื่องสําคัญที่อยู่ในความ สนใจของประชาชน ๒.๑ ช่วงหาเสียงพรรคเพื่อไทยบอกว่าจะกระชากค่าครอง ชีพลงมา ด้วยการยกเลิกกองทุนน้ํามัน แต่นโยบายหลังการเลือกตั้ง ดูจะเปลี่ยนไปโดยนโยบายฉบับนี้ใช้คําว่าชะลอการเก็บกองทุน น้ํามันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ รัฐบาลจะกระชากค่าครองชีพหรือไม่ และ สามารถดําเนินการได้เมื่อไหร่ ๒.๒ ที่ผ่านมากองทุนน้ํามันเชื้อเพลิงมีหน้าที่ดูแลเสถียรภาพ ราคาน้ํามันไม่ให้แกว่งตัวตามราคาน้ํามันในตลาดโลก แต่มียุคเดียว คือยุคของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทําให้กองทุนน้ํามันเป็นหนี้ แสนล้าน แต่สมัยรัฐบาลที่แล้วใช้หลักการไม่ให้กองทุนน้ํามันติดลบ และสถานะวันนี้กองทุนน้ํามันฯอยู่ใกล้ศูนย์พอดี ทั้งนี้ การดูแล น้ํามันจะใช้หลักดูแลดีเซลก่อนเพราะจําเป็นต่อระบบโลจิสติกส์ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 11. ๑๑ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย ๒.๓ การชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ํามันฯ อาจกระทบ ต่อการดูแลเสถียรภาพราคาพลังงาน ช่วงภาวะที่ราคาน้ํามันใน ตลาดโลกแกว่งตัวรุนแรง และการอุดหนุนราคาพลังงานบางชนิด ของรัฐบาล คือ ก๊าซแอลพีจีและแก๊สโซฮอล์ แนวทางนี้อาจทําให้ กองทุนน้ํามันฯ ติดลบ จนรัฐบาลต้องกู้เงินจากต่างประเทศและใช้ ภาษีสรรพสามิตน้ํามันเข้ามาดูแลราคาพลังงาน ประกอบกับแนว ทางการอุดหนุนการนําเข้าก๊าซแอลพีจี และการตรึงราคาแอลพีจี เป็นการช่วยภาคครัวเรือน ไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นจนกระทบค่าครองชีพ เพราะหากรัฐบาลที่ผ่านมา (นายกอภิสิทธิ์ฯ) ไม่ใช้เงินกองทุนน้ํามัน อุดหนุนราคาแก๊สหุงต้มก็จะทําให้ราคาแก๊สหุงต้มวันนี้สูงขึ้นเท่าตัว ๒.๔ นโยบายการชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ํามันฯ บาง ประเภทและการปรับโครงสร้างราคาพลังงานจึงมีความขัดแย้งกัน หากรัฐบาลต้องการป้องกันกองทุนน้ํามันฯ ติดลบ ต้องยกเลิกการ อุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี ในทางตรงกันข้ามหากรัฐบาลต้องการ อุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีตอไป รัฐบาล จะมีหนี้ประมาณ ๓,๐๐๐ – ่ ๔,๐๐๐ ล้านบาทต่อเดือน เมื่ออุดหนุน ๖ เดือน – ๑ ปี จะมีหนี้ ประมาณ ๔๐,๐๐๐ – ๕๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี ดังนั้น จึงไม่ควร ชะลอการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ํามันฯ ไม่เช่นนั้นต้องเก็บเงินเพิ่ม ที่ผู้ค้าน้ํามันและภาษี ถึงจะส่งผลถึงประชาชนผู้บริโภคโดยตรง รวมทั้งส่งผลกระทบโดยตรงกับการพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้ง เอทานอลและ ไบโอดีเซล ตลอดจนโครงสร้างราคาพลังงานในระยะ ยาวและกระทบไปถึงเกษตรกรที่ผลิตพลังงานเหล่านี้ หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 12. ๑๒ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย ๒.๕ กรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประกาศว่าจะมี การกลับมาเก็บภาษีสรรพสามิตน้ํามันเร็วขึ้นกว่ากําหนดเดิม โดยให้ เหตุผลว่าราคาน้ํามันโลกเริ่มปรับตัวลดลง มองว่า เป็นแนวทาง ที่ไม่ถูกต้อง เพราะจะทําให้ราคาน้ํามันเบนซินปรับตัวลดลงจริง แต่ราคาน้ํามันดีเซลจะปรับตัวสูงขึ้นแทน จึงเป็นการสร้างความ สับสนให้กับประชาชน ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งสร้างความชัดเจน ด้านพลังงานอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด หมายเหตุ ๓. นโยบายยาเสพติด มีการกําหนดจะดําเนินการให้หมดไปภายใน ๑ ปี มองว่า เป็นเรื่องยาก แต่รัฐบาลที่ผ่านมามีแนวคิดและแนวทางการปฏิบัติ ปราบปรามเรื่องยาเสพติดที่ยังไม่ได้ดําเนินการ ด้วยแนวทาง การบูรณาการรวมกําลังทั้งทหาร พลเรือนมาช่วยตํารวจ ซึ่งได้ ทดลองในพื้นที่ปริมณฑล ตามแนวคิดที่เรียกว่า ๓๑๕ รัฐบาลนี้จะ ดําเนินการต่อหรือไม่ ๓. นโยบายการศึกษา สร้างความสับสนและไม่ชัดเจนจากนโยบายการแจกแท็บเล็ต เพื่อการศึกษา เนื่องจากตอนพรรคเพื่อไทยหาเสียงบอกว่าเด็ก ได้ทุกคน แต่เมื่อแปลงเป็นนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ใช้คําว่า ทดลองดําเนินการในโรงเรียนนําร่องสําหรับระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๑ ทั้งนี้ แนวทางการดําเนินการจริงเป็นอย่างไร http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 13. ๑๓ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย ๔. นโยบายพัฒนาระบบประกันสุขภาพ ๓๐ บาท รักษา ทุกโรค จะสร้างความกังวลและเป็นภาระแก่ประชาชนมากกว่าเดิม เพราะปัจจุบันมีรักษาฟรี หมายเหตุ ๕. นโยบายการจํานําสินค้าเกษตรที่ผ่านมามีชาวบ้านเข้า โครงการเพียง ๑ ใน ๔ เพราะรัฐบาลไม่มีทรัพยากรมากพอที่จะมา จัดการจํานําผลผลิตการเกษตรในราคาสูงกว่าตลาดทุกเม็ด ทั้งนี้ รัฐบาลมีหลักประกันอะไรที่ระบบจํานําสินค้าเกษตรจะทําให้ ประชาชนได้ประโยชน์อย่างทั่วถึง ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของ ราคาข้าว ทั้งนี้ ต้องคํานึงถึงเกษตรกร ๓ ใน ๔ ที่ได้ประโยชน์จาก การประกันราคาสินค้าที่ไม่สามารถเข้าโครงการได้ เช่นบุคคลคน ๒ กลุ่ม คือ ๑) เกษตรกรที่ปลูกข้ากินเอง ถ้าปลูกจริงมาลงทะเบียน สามารถรับส่วนต่างราคาสินค้าได้ ๒) เกษตรกรที่ผลผลิตเสียหาย ไม่มีของมาจํานํา ทั้งนี้ อาจส่งผลกระทบการแข่งขั้นในตลาดโลกและคุณภาพ ของข้าวที่เร่งผลิตเกินไป ๖. นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายที่ควรสานต่อ - กรณีโครงการรถไฟความเร็วสูง ควรสร้างเส้นทาง หนองคาย-กรุงเทพฯ และเส้นทางกรุงเทพฯ-ชายแดนไทย-มาเลเซีย เพราะสามารถเชื่อมต่อเส้นทางประเทศจีนได้ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 14. ๑๔ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย - รัฐบาลใหม่ควรสานต่อนโยบายเดิมที่เริ่มต้นไว้แล้ว เช่น แนวทางในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และหวังว่าสิ่งที่รัฐบาลเขียนไว้ในนโยบายการจะมีการปฏิบัติที่เป็น รูปธรรม รวมทั้ง โครงการโฉนดชุมชน หมายเหตุ ๕. นโยบายการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามข้อ ๑.๑๖ ซึ่งรัฐบาลกําหนดให้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทําภายใน ๑ ปี ทั้งที่ไม่มี ผลการศึกษาให้ต้องแก้ไขเป็นเรื่องเร่งด่วนแต่อาจเป็นตัวเร่งให้เกิด ความขัดแย้ง รวมทั้ง อาจมองได้ว่าการที่เร่งรัดแก้ไขแก้ไข รัฐธรรมนูญน่าจะมีอยู่จุดประสงค์เดียว คือ หวังผลการนิรโทษกรรม - จะพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ซึ่งการละเมิดสถาบันเป็น ความผิดทางอาญา ความผิดทางความมั่น รัฐบาลควรมีแนวทาง ดําเนินการที่ชัดเจน แนวทางดังกล่าวต้องไม่นําสถาบันหลัก หรือ สถาบันความยุติธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของการขัดแย้งทางการเมือง ๖. นโยบายเศรษฐกิจมีโครงการต่างๆที่รัฐบาลจะต้องทํา จํานวนมาก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เพราะ จะต้องใช้งบประมาณตามนโยบายเป็นหลักล้านล้านบาท ดังนั้น รัฐบาลต้องคํานึงถึงวินัยทางการเงินการคลัง หากความอิสระทาง วินัยการเงินถูกทําลายจะนําไปสู่ภาวะเงินเฟ้อและกระทบถึง ประชาชน http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 15. ๑๕ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย - ควรวางเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ประเมินสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจให้ตรงกันแล้วทํานโยบายทางการเงินการคลัง ให้สอดคล้องกัน - ระยะยาวมีการเขียนนโยบายเรื่องการตั้งกองทุนความ มั่งคั่ง ซึ่งจะต้องมีการนําเงินทุนสํารองของประเทศออกมาใช้ รัฐบาล จะมีวิธีดําเนินการอย่างไร งบประมาณเท่าไร มีการแก้ไขกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ และหลักประกันการบริหารกองทุน ให้มีการบริหารจัดการตามวัตถุประสงค์ที่ควรจะเป็นในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ของประเทศมิใช่เป็นแหล่งเงิน ใหม่เพื่อเป็นงบค่าใช้จ่ายปกติของรัฐบาล หมายเหตุ ๗. นโยบายกฎหมายและการยุติธรรม ที่จะปฏิรูประบบ กฎหมายและกระบวนการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้มีกระบวนการ อํานวยความยุติธรรมเป็นมาตรฐานเดียว แต่หากปล่อยให้มีการใช้ อํานาจบางกลุ่มกดดัน รัฐบาลคงไม่สามารถดําเนินการให้ประสบ ความสําเร็จได้ หรือรัฐบาลจะมีมาตรการที่สร้างความมั่นใจว่าไม่เกิด กรณีกระบวนการยุติธรรมเป็นไปตามเสียงข้างมาก ทั้งนี้ กรณีการ เสียชีวิตจากการฆ่าตัดตอนเรื่องยาเสพติด เหตุการณ์ภาคใต้จะมีการ อํานวยความเป็นธรรมหรือเรียกให้ผู้กระทํารับผิดชอบอย่างไร http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 16. ๑๖ ลําดับที่ ๓. เวลา ผู้อภิปราย ๑๓.๐๗ – ๑๓.๓๓ น. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บํารุง รวม ๒๒ นาที รองนายกรัฐมนตรี (ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรี) ประเด็นการอภิปราย หมายเหตุ ๘. นโยบายการปรองดองสมานฉันท์ รัฐบาลมีแนวคิด เกี่ยวกับที่จะแก้ไขการแบ่งแยกหรือสร้างความเข้าใจกับกลุ่ม การเมืองที่ถูกแบ่งแยกแต่ละหมู่บ้านด้วยสีหรือสัญลักษณ์อย่างไร เพราะจะเป็นสิ่งที่กดดันให้มีการเลือกข้างสร้างความแตกแยก ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่ควรมีการส่งเสริม ๙. นโยบายการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับข้อมูล ข่าวสารกรณีสื่อมวลชนที่มีการวิพากษ์ถึงการแทรกแซงสื่อ รัฐบาล ควรมีการสนับสนุนให้แต่ละสถาบันสามารถทําหน้าที่ได้อย่าง ตรงไปตรงมา รัฐบาลมีการดูแลและเปิดพื้นที่ให้มีการแสดง ความเห็นที่แตกต่างได้อย่างอิสระ เพื่อมิให้เกิดการปิดกันจนนําไปสู่ การแสงออกในพื้นที่สาธารณะทั่วไป ชี้แจงข้อสังเกตการอภิปรายนโยบายรัฐบาลกรณีการรณรงค์หาเสียง ประท้วง ๑ ช่วง ถ้าบอกสัญญาก็จะเป็นการกระทําผิด พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ รวม ๔ นาที ว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๕๓ ได้ แต่การบอกว่าเป็นนโยบายรัฐบาลไม่ผิด ดังนั้น พรรคเพื่อไทยไม่เคยให้สัญญามีแต่บอกว่านโยบายพรรคเพื่อไทย ทักษิณคิด เพื่อไทยทํา นางสาวยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ ๑. กรณีการแก้ไขแก้ไขรัฐธรรมนูญให้คนหนึ่งคนใด ถือเป็น เรื่องเข้าใจผิด เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสูดในการปกครอง ประเทศ จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขโทษอาญาไม่ได้ ทั้งนี้ พรรค เพื่อไทยจะไม่แก้ไขบทเฉพาะกาล มาตรา ๓๐๙ และไม่มีรัฐธรรมนูญ ฉบับใดที่จะแก้ไขให้เกิดการนิรโทษกรรมได้ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 17. ๑๗ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย ๒. แนวคิดของพรรคเพื่อไทย คือ การแก้ไขมาตรา ๒๙๑ ให้มี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ให้มาจากการเลือกตั้ง ๗๗ จังหวัด และอีก ๒๒ คนมาจากผู้มีความรู้ความสามารถ ๓. รัฐบาลจะขอทํางานก่อน ๖ เดือน จากนั้น จะหารืออีกครั้ง ว่าจะยืนยันการแก้รัฐธรรมนูญตามนโยบายที่หาเสียงไว้กับประชาชน หรือไม่ หมายเหตุ ๔. ๑๓.๓๔ – ๑๓.๓๗ น. นายสุชาติ ธาดาธํารงเวช รวม ๓ นาที สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ชี้แจงกรณีการไปเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงนั้น เป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกัน ของกลุ่มชาวบ้านซึ่งใช้สัญลักษณ์สีแดง ส่วนการจัดสรรเงินพัฒนา หมู่บ้านจะจัดสรรให้ทุกหมู่บ้านไม่ใช้เฉพาะหมู่บ้านเสื้อแดง ๕. ๑๓.๔๐ – ๑๔.๑๔ น. นายสนอง เทพอักษรณรงค์ รวม ๒๖ นาที สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย แทนหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ประท้วง ๓ ช่วง อภิปรายนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ รวม ๕ นาที ๑. การบริหารประเทศนายกรัฐมนตรีมีอํานาจเต็มการบริหาร ซึ่ง นายกรัฐมนตรีควรบริหารประเทศด้วยตัวเอง ไม่ควรให้ ความสําคัญกับบุคคลรอบข้างที่หวังผลประโยชน์จากท่าน ๒. ควรระวังเรื่องที่จะเกิดจากคนแวดล้อม ทั้งนี้ หากคนแวดล้อม นายกรัฐมนตรีดําเนินการใดที่ไม่ถูกต้อง แม้นายกรัฐมนตรี จะปฏิเสธแต่ตามกฎหมายและกติกาสังคม หากคนแวดล้อม กระทําไปโดยนายกรัฐมนตรีไม่ได้ทักท้วงจะถือว่าเป็นการละเว้น และมีความผิด http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 18. ๑๘ ลําดับที่ ๖. เวลา ผู้อภิปราย ๑๔.๑๖ – ๑๔.๒๘ น. นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รวม ๑๒ นาที สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคชาติไทยพัฒนา แทนหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ประเด็นการอภิปราย ๓. นโยบายของรัฐบาลเรื่องการพิทักษ์เทิดทูนและรักษาไว้ต่อ สถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อรับใส่เกล้าฯ แล้วต้องนํามาปฏิบัติ ทั้งนี้ ในช่วง ๒ -๓ ปีที่ผ่านมามีการกระทําผิดกฎหมายล่วงละเมิด ต่อสถาบันหลายครั้ง รวมทั้งมีการเคลื่อนไหวของคนบางกลุ่ม ให้ยกเลิกมาตรา ๑๑๒ ของประมวลกฎหมายอาญา มีการ กระทําผิดหลายกรรมหลายวาระทั้งในและต่างประเทศ หมิ่นต่อ พระบรมเดชานุภาพ และสถาบัน นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้เว็บไซต์ กระทําการขัดแย้งกับนโยบายรัฐบาลในการละเมิดต่อสถาบัน รัฐบาลควรต้องบรรจุไว้ในนโยบายที่เร่งด่วนที่จะดําเนินการ ๔. รัฐบาลวางแผนดําเนินการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ต่างๆ หลายครั้ง ทั้งการล้อมสภา การชุมนุมประท้วง ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ หรือไม่ และมีหลักเกณฑ์การชดเชย การเยียวยาอย่างไร ๕. ทุกคนอยากเห็นให้บ้านเมืองเกิดความปกติสุข มีความปรองดอง ดังนั้น สิ่งที่นายกรัฐมนตรี ควรดําเนินการ คือ การนํา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย กลับมาประเทศไทย ซึ่ง เชื่อว่าจะเป็นเรื่องที่ทําบ้านเมืองจะสงบ บ้านเมืองเดินไปข้างหน้า ๑. นโยบายยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ๑.๑ นโยบายค่าแรงวันละ ๓๐๐ บาทเป็นนโยบายที่ดี แต่ นโยบายดังกล่าวอาจทําให้เกิดปัญหาการจ้างแรงงานต่างด้าว มากขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคง หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 19. ๑๙ ลําดับที่ ๗. เวลา ผู้อภิปราย ๑๔.๒๘ – ๑๔.๔๔ น. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ รวม ๑๖ นาที สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หัวหน้าพรรครักประเทศไทย ประเด็นการอภิปราย ๑.๒ นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุกรณี ผู้มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี ได้รับ ๖๐๐ บาท มีความเห็นว่าน้อยเกินไป รัฐบาลควรจัดให้ผู้สูงอายุได้รับ จํานวน ๑,๐๐๐ บาทเท่ากันทั้งหมด ประกอบกับนโยบายดังกล่าว อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กําหนดว่าต้องเท่าเทียมและ ทั่วถึง ๒. สนับสนุนนโยบายพัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศ เนื่องจากปัจจุบันสถาบันการเงินได้ประโยชน์จากการเก็บ ค่าธรรมเนียมดําเนินธุรกรรมจากประชาชน แต่สถาบันการเงิน ไม่ต้องมีการหักเสียภาษีดังกล่าว ๓. ควรดําเนินการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม แม้ปัจจุบันจะมีการจัดเขตพื้นที่การศึกษาแล้ว แต่การดําเนินการ ยังไม่มีเป็นรูปธรรมดังนั้น เสนอให้มีการตั้งสภาการศึกษาจังหวัด ๔. การยกระดับราคาสินค้าด้วยนโยบายรับจํานําข้าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง ควรต้อง แสดงบัญชีการรับจํานําสินค้า ๑๐ ปีที่ผ่านมาก่อน แล้วจึงค่อย ดําเนินการรับจํานําในปีที่ต่อไป เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่าง โปร่งใส ทั้งนี้ จะมีหลักประกันได้อย่างไรว่าจะไม่เกิดปัญหาการนํา ข้าวของต่างประเทศมาสู่โครงการรับจํานําของไทย มีข้อสังเกตต่อนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ ๑. นโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ซึ่งปัญหาการขาด ความปรองดองเกิดความแตกแยกของสังคมเกิดจากกลุ่มจาก การเมือง หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 20. ๒๐ ลําดับที่ ๘ เวลา ผู้อภิปราย ๑๔.๔๕ – ๑๔.๕๒ น. นายสุโข วุฒิโชติ รวม ๗ นาที สมาชิกวุฒิสภาจังหวัด สมุทรปราการ คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว ประเด็นการอภิปราย ๒. นโยบายการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยเพิ่มเงินเดือนผู้จบ ปริญญาตรี ๑๕,๐๐๐ บาท และค่าแรงขั้นต่ํา ๓๐๐ บาท รัฐบาล ไม่ได้จัดให้เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะจะเริ่มดําเนินการตามนโยบายใน ปีต่อไป แต่ปัจจุบันเกิดปัญหาราคาสินค้าขึ้นแล้ว ดังนั้น รัฐบาลจึง ต้องการให้มีความชัดเจนว่าจะเริ่มดําเนินการเมื่อใด โดยควรต้องเริ่ม ดําเนินการโดยเร็ว ๓. รัฐบาลต้องให้ความสําคัญและเร่งดําเนินการในการแก้ปัญหา เรื่องอบายมุขควบคู่กับปัญหายาเสพติด และมีนโยบายที่ชัดเจน เกี่ยวกับการควบคุมและจัดระเบียบสถานบันเทิง เนื่องจากมีการ ขายยาเสพติดอย่างเสรีในสถานบันเทิง ๔. ปัญหาการเปิดบ่อนการพนันขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพ โดย มีเยาวชนเข้าไปเล่นการพนัน และมีการเปิดอย่างเสรี ขอให้รัฐบาล เข้ามาดูแลปัญหาอย่างเร่งด่วน มีข้อสังเกตต่อนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ ๑. แหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร เนื่องจาก มีการจัดสรรงบประมาณที่ไม่ทั่วถึง ๒. ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวประมาณ ๖๐,๐๐๐-๗๐,๐๐๐ คน ดินทางไปเที่ยวภูกระดึง ประกอบกับมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง การทํากระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง โดยผลการศึกษาปรากฏว่าการ สร้างกระเช้าไม่มีผลกระทบใด และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ก็เห็นด้วยจึงฝากรัฐบาลให้ช่วยดําเนินการในเรื่องนี้ หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 21. ๒๑ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ๑๔.๕๓ – ๑๕.๐๗ น. นายสรรเสริญ สมะลาภา รวม ๑๔ นาที สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นการอภิปราย ๑. นโยบายการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ๑.๑ นโยบายแก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพงนั้น จะเห็นว่านโยบาย ที่ส่งผลกระทบให้สินค้าราคาแพง คือ นโยบายขึ้นค่าแรง ๓๐๐ บาท และการขึ้นเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี ๑๕,๐๐๐ บาท ประกอบกับ รัฐบาลไม่มีนโยบายดูแลเรื่องสินค้าราคาแพงอย่างชัดเจนมีเพียงข้อ ๑.๗.๓ และ ๑.๗.๔ ซึ่งไม่มีความชัดเจน และไม่มีนโยบายดูแลราคา สินค้าเป็นรายตัว ๑.๒ มีการวิจัยว่าการขึ้นค่าแรงจะมีผลกระทบต่อราคาสินค้า หลายรายการ ซึ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ราคาอาหาร ทั้งนี้ ผลการวิจัยรายงานว่าปีหน้าสินค้าจะมีราคาเพิ่มขึ้น ๑๒-๑๕ เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลจึงมีมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจเพื่อไม่ให้ ต้นทุนราคาสินค้าแพงโดยลดภาษีให้ทุกบริษัท แต่มาตรการดังกล่าว เป็นการใช้เงินภาษีจํานวนมหาศาล ดังนั้น รัฐบาลควรมีมาตรการ ครอบคลุมและชัดเจนกว่านี้ ไม่ผลักภาระให้ธนาคารแห่งประเทศ ไทยดูแล ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ควรพิจารณาชดเชยให้ ผู้ประกอบการให้ตรงกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น ส่วนกระทรวงพาณิชย์ ต้องควบคุมดูแลราคาสินค้าชนิดที่ได้ชดเชยไว้ไม่ให้ขึ้นราคา หากไม่ มีนโยบายของ ๒ กระทรวงนี้ ประชาชนจะต้องประสบกับปัญหาสินค้าราคาแพง อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 22. ๒๒ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ๙ ๑๕.๐๘ – ๑๕.๒๓ น. นายวัฒนา เมืองสุข รวม ๑๕ นาที สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ประเด็นการอภิปราย อภิปรายนโยบายของรัฐบาล สรุปดังนี้ ๑. นโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ และการให้ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการ ปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เป็นผู้รับผิดชอบแสดงถึงความ เป็นกลางและยอมรับวิธีการปรองดองโดยไม่มีเงื่อนไข และ วิธีการประนีประนอมควรดําเนินการตามระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการ ปรองดองแห่งชาติ ๒. ที่ผ่านมามีการชุมนุมเรียกร้องของหลายกลุ่มจนเกิดความ เสียหายกับหลายฝ่าย ซึ่งต้องเกี่ยวข้องถึงกระบวนการยุติธรรม แต่กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มุ่งลงโทษในสิ่งที่กระทําผิดและ ตัดผู้กระทําผิดออกจากสังคม จึงเห็นว่าไม่สามารถนํามาใช้แก้ไข ปัญหาคดีความผิดที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมืองได้ เพราะ อาจทําให้เกิดความขัยแย้งมากขึ้น ๓. มาตรการทางกฎหมายที่จะนํามาใช้กับการปรองดอง ควรนํา กระบวนการ ๓ ประการ มาพิจารณาใช้ คือ กระบวนการ ยุติธรรมเปลี่ยนผ่าน กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และ ความยุติธรรมทางสังคม ซึ่งทั้ง ๓ กระบวนการมีวิธีคิดและ ดําเนินการที่แตกต่างกับกฎหมายอาญา ๔. ทุกฝ่ายควรสนับสนุนการค้นหาความจริงเพื่อนําไปสู่การแก้ไข ปัญหา และเร่งเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 23. ๒๓ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย ๑๐ ๑๕.๒๔ – ๑๕.๒๗ น. นายพิเชต สุนทรพิพิธ ตั้งข้อสังเกตนโยบายด้านการท่องเที่ยว ดังนี้ รวม ๓ นาที สมาชิกวุฒิสภาสรรหาภาควิชาการ ๑. พระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยว พ.ศ. ๒๕๕๑ กําหนดให้มี คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถูกละเลยไม่ให้ความสนใจ เพิ่งมีการจัดทําแผนพัฒนาฉบับที่ ๑ ฉบับปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวมีปัญหา อย่างต่อเนื่อง ๒. กองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยไม่สามารถเข้ามามีบทบาท ในการเข้ามาดูแลเรื่องการท่องเที่ยวของประเทศ เนื่องจากไม่มี รายได้เข้ากองทุน ทั้งนี้ รัฐบาลน่าจะมีการใช้ภาษีจากการ ท่องเที่ยวมาช่วยดําเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยว ๓. รัฐบาลควรมีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว ให้แก่ให้แต่ละจังหวัดตามสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวของ แต่ละจังหวัด ๔. งบประมาณด้านการท่องเที่ยวประมาณร้อยละ ๘๐ เป็นการ นําไปใช้ในเรื่องของการหาตลาดเพื่อเพิ่มจํานวนนักท่องเที่ยว แต่เมื่อจํานวนนักท่องเที่ยวมีเพิ่มขึ้น อาจจะเกิดส่งผลกระทบ ให้แหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม โดยที่รัฐบาลไม่มีงบประมาณ ในการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่เพียงพอ ดังนั้น ควรพิจารณา จัดสรรงบประมาณเพื่อฟื้นฟูดูแลแหล่งท่องเที่ยวด้วย หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 24. ๒๔ ลําดับที่ ๑๑ เวลา ผู้อภิปราย ๑๕.๒๘ – ๑๕.๓๘ น. นายธนิตพล ไชยนันทน์ รวม ๑๐ นาที สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นการอภิปราย ๕. นโยบายด้านการท่องเที่ยวควรเน้นเรื่องความปลอดภัยของ นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสิ่งที่สําคัญต้องกวดขันดูแลอย่างเข้มงวด เพราะหากนักท่องเที่ยวไม่มีความปลอดภัย นักท่องเที่ยวที่มี คุณภาพก็จะไม่เดินทางมาท่องเที่ยว ๑. นโยบายยกระดับคุณภาพชีวิต ๑.๑ นโยบายการยกระดับรายได้ทั้งการขึ้นค่าแรง และการเพิ่ม เงินเดือน ควรเป็นการแก้ปัญหาค่าครองชีพทั้งระบบ โดย หมายความรวมถึงผู้จบปริญญาโทและปริญญาเอกด้วย ๑.๒ ผลกระทบต่อเนื่องจากการขึ้นค่าแรงจะทําให้เกิดปัญหา คือ ภาคเอกชนเริ่มไล่คนงานออกเพื่อลดต้นทุนการผลิต ก่อให้เกิด ปัญหาการว่างงานเกิดขึ้น และหากแรงงานไม่เพียงพอภาคเอกชน ก็จะจ้างแรงงานต่างด้าวมาทํางานและเกิดปัญหาแรงงานต่างด้าว แย่งงานคนไทย ทั้งนี้ รัฐบาลจะแก้ปัญหาการว่างงานและปัญหา แรงงานต่างด้าวอย่างไร ๑.๓ เกษตรกรบริเวณจังหวัดชายแดนเคยจ้างแรงงานต่างด้าวใน ราคาถูกก็จะได้รับผลกระทบจากการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ํา เพราะต้อง จ่ายค่าแรงเพิ่ม ทําให้ต้องแบกรับภาระค่าจ้างแรงงานต่างด้าวที่ สูงขึ้น ๑.๔ นโยบายตามที่ ส.ส.ของพรรคฝ่ายรัฐบาล กล่าวว่าจะเริ่ม จ่ายค่าแรง ๓๐๐ บาท/วันในกรุงเทพก่อน จะทําให้แรงงานที่ขึ้น ทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายก็เข้ามาทํางานในกรุงเทพ แต่โรงงาน ในต่างจังหวัดจะขาดแคลนแรงงาน หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 25. ๒๕ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ๑๒ ๑๕.๓๘ – ๑๕.๕๓ น. นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล รวม ๑๕ นาที สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคชาติไทยพัฒนา ประเด็นการอภิปราย อภิปรายนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ ๑. นโยบายจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ย จังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท เป็นนโยบายที่มีประโยชน์เพราะเป็นการ ส่งเสริมและต่อยอดบทบาทสตรีต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ การให้จัดสรรงบประมาณควรดําเนินการผ่านกองทุน อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดผ่านหน่วยงานของภาครัฐหรือภาครัฐ กํากับดูแล เพื่อประโยชน์ในการติดตาม ประเมินผล และเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน ๒. ประเด็นนโยบายที่ใช้คําว่า “วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท” หมายถึง จังหวัดใดมีจํานวนกลุ่มสตรีที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับ หน่วยงานของรัฐบาลจํานวนมากอาจจะได้รับงบประมาณมากกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ส่วนจังหวัดที่มีจานวนกลุ่มสตรีที่ขึ้นทะเบียน ํ น้อยกว่าอาจได้รับการจัดสรรงบประมาณลดหลั่นลงไปไม่ถึง ๑๐๐ ล้านบาท ใช่หรือไม่ ๓. มีกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองบางกลุ่ม อ้างว่าเป็นกลุ่ม “ชมรม เสียงสตรี” ได้สร้างความสับสนกับกลุ่มองค์กรสตรีที่ขึ้นทะเบียนไว้ อย่างถูกต้องกับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งให้สตรีสมัครเป็นสมาชิก โดย ใบสมัครสมาชิกของชมรม ได้ให้ระบุประสบการณ์การเคลื่อนไหว ทางการเมืองด้วย ซึ่งทําให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยใน เจตนารมณ์ที่แท้จริงของกลุ่มนี้ รัฐบาลควรดําเนินการตรวจสอบ เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวได้นําแนวนโยบายที่มีประโยชน์ของรัฐบาล ไปแอบแฝงเชื่อมโยงประโยชน์ที่กลุ่มสตรีที่จะได้รับจัดสรร หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 26. ๒๖ ลําดับที่ ๑๓ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย งบประมาณ ต้องเป็นสมาชิกชมรม กรณีข้างต้นอาจจะก่อให้เกิด ความแตกแยกขึ้นในสังคมได้ ๔. รัฐบาลต้องช่วยปราบปรามและหยุดพฤติกรรมการสร้างความ แตกแยกที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งเร่งสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นใน ประเทศ ๑๕.๕๔ – ๑๖.๐๔ น. ศาสตราจารย์เกียรติคุณตรึงใจ มีข้อสังเกตต่อนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ รวม ๑๐ นาที บูรณสมภพ ๑. นโยบายของรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นนโยบายเชิงรับ เป็นการ สมาชิกวุฒิสภาสรรหาภาควิชาการ แก้ไขปัญหาระยะสั้น ในเรื่องเฉพาะหน้า ไม่มีเป้าหมายสําหรับ คณะกรรมาธิการการศาสนาฯ อนาคต ๒. นโยบายข้อ ๑.๑ เห็นว่าทําให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณ ในการตั้ง คอป. เพื่อการค้นหาความจริง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ภาพที่ปรากฏผ่านสื่อก็สามารถกําหนดความจริงได้โดยไม่ต้องตั้ง คณะกรรมการให้เสียเวลาและงบประมาณ ๓. นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐข้อ ๒ ในคําแถลงนโยบายของ คณะรัฐมนตรีไม่มีข้อความว่า “มิให้ผู้ใดล่วงละเมิดได้” ต่างจากคํา แถลงนโยบายของรัฐบาลในปี ๒๕๔๘ จึงสอบถามว่าเหตุใดจึงไม่มี ข้อความดังกล่าว ๔. นโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติ มิชอบ ตามข้อ ๑.๓ รัฐบาลมีนโยบายเสริมสร้างมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรมแก่บุคลากรภาครัฐ แต่ในเรื่องความซื่อสัตย์รัฐบาลกลับให้ ปลูกฝังจิตสํานึกและค่านิยมของสังคม รัฐบาลได้คํานึงถึงการยึดมั่น ในความซื่อสัตย์ของภาครัฐหรือไม่ หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 27. ๒๗ ลําดับที่ ๑๔ เวลา ผู้อภิปราย ๑๖.๐๔ – ๑๖.๑๔ น. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รวม ๑๐ นาที สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นการอภิปราย ๕. เห็นด้วยกับนโยบายการลดภาษีบ้านหลังแรก แต่ไม่เห็นด้วย กับนโยบายลดภาษีรถยนต์คันแรกเพราะผู้ที่มีรถยนต์อยู่แล้วอาจใช้ ชื่อบุคคลอื่นซื้อรถยนต์อีก เป็นการเพิ่มจํานวนรถยนต์ ส่งผลให้ การจราจรติดขัด และเพิ่มมลภาวะ ๖. การเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านเป็นแนวคิดที่ดี แต่การเพิ่ม กองทุนให้กับชุมชนเมืองนั้นไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะทําให้ ประชาชนในชนบทย้ายมาอยู่ในเมืองมากขึ้น ๗. นโยบายคมนาคม ๗.๑ โครงการรถไฟฟ้าอาจต้องประสบกับปัญหาขาดทุน ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดปัญหาควรแบ่งเขตราคาค่าโดยสาร โดยเขตกรุงเทพ เก็บค่าโดยสารราคาหนึ่ง ส่วนนอกเขตที่ห่างออกไปเก็บอีกราคาหนึ่ง ๗.๒ การสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพช่วยให้เกิดความสะดวกในการ เดินทางและแก้ไขปัญหาการเดินทางของคนทํางานในเมือง แต่อาจ เป็นสิ่งดึงดูดให้ชาวชนบทเข้ามาพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมากขึ้น สร้างความแออัดในสังคม ดังนั้น รัฐบาลควรนํางบประมาณไป พัฒนาเมืองสําคัญให้เจริญทัดเทียมหรือใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ ๑. นโยบายของรัฐบาลมีจุดมุ่งหมายหลัก ๓ ประการ คือ ๑.๑ นําประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความ เข้มแข็งของเศรษฐกิจ ๑.๒ นําประเทศไทยสู่สังคมปรองดองสมานฉันท์ และอยู่บน พื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและม หลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อประชาชนคนไทยทุกคน หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 28. ๒๘ ลําดับที่ เวลา ผู้อภิปราย ประเด็นการอภิปราย ๑.๓ นําประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ อย่างสมบูรณ์ ๒. นโยบายที่พรรคเพื่อไทยได้ประกาศไว้ในช่วงหาเสียงและเป็น ที่คาดหวังของประชาชน คือ - การดําเนินการให้แรงงานมีรายได้ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท และผู้ที่จบปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อยากทราบว่าจะสามารถดําเนินการได้โดยทันที หรือไม่ อย่างไร ๓. ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล มีดังนี้ ๓.๑ กรณีเพิ่มค่าแรงขั้นต่ํา ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาทต่อวัน - มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบให้ประชาชนตกงานกว่า ร้อยละ ๓๐ หรือประมาณสามแสนคน เนื่องจากผู้ประกอบการ ไม่สามารถแบกรับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ อยากเห็นการปรับ ค่าแรงขั้นต่ําดําเนินการผ่านกลไกไตรภาคี - ค่าครองชีพอาจเพิ่มสูงขึ้นตามค่าแรงขั้นต่ําที่เพิ่มขึ้น - นโยบายที่ไม่ครอบคลุมประชาชนทั่วประเทศ จะส่งผล ให้แรงงานนอกระบบไม่ได้รับประโยชน์การเพิ่มค่าแรงดังกล่าว แต่กลับต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น มีสวัสดิการ อย่างไรบ้างในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนดังกล่าว ๓.๒ กรณีการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ที่จบปริญญาตรีเดือนละ ไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อาจส่งผลกระทบดังนี้ - ผู้เรียนสายอาชีพไม่ได้รับประโยชน์จากการเพิ่มรายได้ ในกรณีดังกล่าว หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์
  • 29. ๒๙ ลําดับที่ ๑๕ เวลา ผู้อภิปราย ๑๖.๑๕ – ๑๖.๒๒ น. นายแพทย์เหวง โตจิราการ รวม ๗ นาที สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ประเด็นการอภิปราย - เด็กและเยาวชนหันกลับไปศึกษาในสายสามัญเช่นเดิม เนื่องจากมีแรงจูงใจด้านเงินเดือนซึ่งส่งผลให้ขาดแรงงานที่มีความ ชํานาญและมีฝีมือ - จากฐานข้อมูลภาคราชการ ผู้ที่เงินเดือนยังไม่ถึง ๑๕,๐๐๐ บาท มีจํานวนแปดแสนคน รัฐวิสาหกิจมีจํานวนหกหมื่นคน ตามปกติแล้วการเพิ่มเงินเดือนต้องใช้ระยะเวลา ๕ –๑๐ ปี กว่าจะได้ ปรับฐานเงินเดือนถึง ๑๕,๐๐๐ บาท ดังนั้น อยากทราบว่ามีมาตรการ รองรับการขึ้นเงินเดือนกรณีดังกล่าวอย่างไร เพื่อไม่ให้กระทบ ต่อการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ๓.๓ กรณีการนําประเทศไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ หากไม่มีรายละเอียดการเตรียมความพร้อมที่เป็นรูปธรรม จะทําให้ผู้ประกอบการ SME ของประเทศไม่สามารถแข่งขันกับ ผู้ประกอบการจากกลุ่มประเทศใกล้เคียงได้ ๑. พรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศเนื่องจาก นโยบายเสนอคืนความสุขและการคืนประชาธิปไตยให้ประชาชน ไทย ตลอดจน มีนโยบายการฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการ แก้รัฐธรรมนูญ ๒. เหตุผลในการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ ไม่มีรัฐธรรมนูญ ฉบับใดในโลกที่ได้ให้รับการรับรองการทํารัฐประหาร เนื่องจาก ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย หมายเหตุ http://pun2013.bth.cc/ คัดลอกมาเผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์