SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
Download to read offline
แนวข้อสอบ
(ถาม-ตอบ)
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554
(ชุดที่ 1 จานวน 115 ข้อ)
โดย ประพันธ์ เวารัมย์
http://pun.fix.gs
หรือ
http://valrom2012.fix.gs
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 1
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554
(ถาม – ตอบ)
โดยโดยโดยโดย ประพันธ เวารัมยประพันธ เวารัมยประพันธ เวารัมยประพันธ เวารัมย
****************
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่จัดทําใหม่นี้ มีหลักสําคัญอย่างไร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18
ของประเทศไทย โดยมีสาระสําคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย
รวม 6 ประการ คือ
(1) การธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ
(2) การทํานุบํารุงรักษา ศาสนา ให้สถิตสถาพร
(3) การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญของชาติ
(4) การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการ
ปกครองประเทศ
(5) การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมใน
การปกครองและตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม
(6) การกําหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารให้มีดุลยภาพ
และประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระ
อื่น สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริต เที่ยงธรรม
2. เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและ
จัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเมื่อใด
รัฐธรรมนูญแห่งการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขได้ดําเนินวัฒนามากว่า 74 ปี โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีประกาศใช้
ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของ
บ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการธิ
การยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ สําหรับเป็นแนว
ทางการปกครองประเทศ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุก
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 2
ขั้นตอน และนําความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคํานึงพิเศษในการยกร่างและพิจารณาแปร
ญัตติโดยต่อเนื่อง และเมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้
ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อให้ความเห็นชอบแก่รัฐธรรมนูญทั้ง
ฉบับ โดยการออกเสียงลงประชามติปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้าง
มากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ
**ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบ***
3. อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจทาง
ใดบ้าง
ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา 3)
4. การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและ
หน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามอะไร
หลักนิติธรรม (มาตรา 3 วรรคสอง)
5. ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามอะไร
ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(มาตรา 7)
6. พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็น
ประธานคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี
(มาตรา 12)
7. การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามอะไร
พระราชอัธยาศัย (มาตรา 13)
8. ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธาน
องคมนตรีพ้นจากตําแหน่ง
ประธานรัฐสภา (มาตรา 13 วรรคสอง)
9. ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น หรือให้องคมนตรีอื่นพ้น
จากตําแหน่ง
ประธานองคมนตรี (มาตรา 13 วรรคสาม)
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 3
10. องคมนตรีต้องไม่เป็นอะไร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการ การเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการ ศาลปกครอง กรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการ ซึ่งมี
ตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือ
เจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ (มาตรา 14)
11. องคมนตรีพ้นจากตําแหน่งเมื่อใด
ตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตําแหน่ง (มาตรา 16)
12. การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตําแหน่ง ให้
เป็นไปตามอะไร
พระราชอัธยาศัย (มาตรา 17)
13. ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระ
ไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์และให้ใคร
เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
ประธานรัฐสภา (มาตรา 18)
14. ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา 18 หรือ
ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์เพราะยังไม่ทรง
บรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น
ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งสมควรดํารงตําแหน่งผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์
ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภา
ประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์
(มาตรา 19)
15. ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้ใครทําหน้าที่รัฐสภา
ในการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งมาตรา 19
วุฒิสภา (มาตรา 19 วรรคสอง)
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 4
16. ในกรณีที่ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 18 หรือมาตรา 19
ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ใครทําหน้าที่ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นการชั่วคราวไป
พลางก่อน
ประธานองคมนตรี (มาตรา 20)
17. ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรง แต่งตั้ง
พระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467
แล้ว ให้ทําอย่างไร
คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อ
รับทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็น
พระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ (มาตรา 23)
18. ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัช
ทายาทไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา 22 ต่อ
คณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อรัฐสภาเพื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ ในการนี้
จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้ (มาตรา 23 วรรคสอง)
19. ในกรณีที่ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งไว้และเป็นผู้สําเร็จราชการ แทน
พระองค์ต่อไปตามวรรคหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ใครทําหน้าที่ ผู้สําเร็จราชการแทน
พระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน
ประธานองคมนตรี (มาตรา 24)
20. การใช้อํานาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคํานึงถึงอะไร
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ (มาตรา 26)
21. สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคําวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญ
ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กร
ตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย
และการตีความกฎหมายทั้งปวง (มาตรา 27)
22. บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 5
เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้
สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีใน
ศาลได้ (มาตรา 28)
23. การจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทํามิได้เว้นแต่อะไร
โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กําหนดไว้และ
เท่าที่จําเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสําคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้ (มาตรา 29)
24. บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
หมายความว่าอย่างไร
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน (มาตรา 30)
25. บุคคลผู้เป็นทหาร ตํารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างของ
องค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปเว้นแต่อะไร
จํากัดไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในส่วน
ที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม (มาตรา 31)
26. บุคคลผู้เป็นทหาร ตํารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างของ
องค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปเว้นแต่อะไร
จํากัดไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในส่วน
ที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม (มาตรา 31)
27. บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษ
ด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทํามิได้
แต่การลงโทษตามคําพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษ
ด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้ (มาตรา 32)
28. การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทํามิได้ เว้นแต่อะไร
มีคําสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 32 วรรคสาม)
29. การค้นตัวบุคคลหรือการกระทําใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทํา
มิได้ เว้นแต่อะไร
มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 32 วรรคสี่)
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 6
30. ในกรณีที่มีการกระทําซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายพนักงาน
อัยการ หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหายมีสิทธิ
ร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทําเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกําหนดวิธีการตาม
สมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้ (มาตรา 32 วรรคท้าย)
31. การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้น
เคหสถานหรือในที่รโหฐาน จะกระทํามิได้ เว้นแต่อะไร
มีคําสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา33 วรรคสาม)
32. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร
เว้นแต่อะไร
อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบ
เรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชนการผังเมือง หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์
(มาตรา 34 วรรคสอง)
33. การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้บุคคลผู้มีสัญชาติ
ไทยเข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทําได้หรือไม่
มิได้ (มาตรา 34 วรรคสาม)
34. สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับ
ความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยัง
สาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง
หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะกระทํามิได้ เว้นแต่อะไร
กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ (มาตรา 35 วรรคสอง)
35. การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้ง การกระทํา
ด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน จะกระทํา
มิได้เว้นแต่อะไร
อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อ
รักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (มาตรา 36 วรรคสอง)
36. การเกณฑ์แรงงานจะกระทํามิได้ เว้นแต่อะไร
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 7
อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการป้องปัดภัยพิบัติ
สาธารณะอันมีมาเป็นการฉุกเฉิน หรือโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งให้
กระทําได้ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ หรือในระหว่างเวลาที่มี
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก (มาตรา 38)
37. บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทําการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทํานั้น
บัญญัติเป็นความผิดและกําหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กําหนด
ไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทําความผิดได้หรือไม่
มิได้ (มาตรา 39)
38. ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอะไร
ผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด (มาตรา 39 วรรคสอง)
39. ก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด
จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้ (มาตรา 39 วรรคสาม)
40. บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
(1) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
(2) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่อง
การได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่าง
เพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษา
หรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์
คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคําวินิจฉัย คําพิพากษา หรือคําสั่ง
(3) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็วและเป็น
ธรรม
(4) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จําเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดีมีสิทธิได้รับ
การปฏิบัติที่เหมาะสมในการดําเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับ
การสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคําเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง
(5) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จําเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับความคุ้มครองและความ
ช่วยเหลือที่จําเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่
จําเป็นให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 8
(6) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
ในการดําเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่
เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ
(7) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจําเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง
รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบ
พยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการ
ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
(8) ในคดีแพ่ง บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐ
(มาตรา 40)
41. สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจํากัดสิทธิ
เช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามอะไร
กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 41)
42. การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทํามิได้ เว้นแต่
โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะกิจการของรัฐเพื่อการอันเป็น
สาธารณูปโภค การอันจําเป็นในการป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การ
ผังเมือง การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตรหรือการ
อุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดิน การอนุรักษ์โบราณสถานและแหล่งทางประวัติศาสตร์ หรือ
เพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควร
แก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ ตามที่
กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 42)
43. การกําหนดค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องกําหนดให้อย่างเป็นธรรมโดย
คํานึงถึงอะไร
ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด การได้มา สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์
ความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน และประโยชน์ที่รัฐและผู้ถูกเวนคืนได้รับจากการใช้สอย
อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน (มาตรา 42 วรรคสอง)
44. กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและกําหนด
ระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ไว้ให้ชัดแจ้ง ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่
กําหนดดังกล่าว ต้องทําอย่างไร
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 9
คืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทการคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทตามวรรค
สาม และการเรียกคืน ค่าทดแทนที่ชดใช้ไป ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
(มาตรา 42 วรรคสามและสี่)
45. การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะ
กระทําได้หรือไม่
มิได้ (มาตรา 45 วรรคสาม)
46. การห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมด หรือ
บางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใดๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทําได้
หรือไม่
มิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง
(มาตรา 45 วรรคสี่)
47. การให้นําข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนําไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์ หรือ
สื่อมวลชนอื่น จะกระทํามิได้ เว้นแต่อะไร
เว้นแต่จะกระทําในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามแต่ทั้งนี้จะต้องกระทําโดย
อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง(มาตรา 45 วรรคห้า)
48. เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติใด
สัญชาติไทย (มาตรา 45 วรรคหก)
49. การให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นเพื่ออุดหนุนกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน
รัฐจะกระทําได้หรือไม่
มิได้ (มาตรา 45 วรรคเจ็ด)
50. พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียง วิทยุ
โทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในเรื่องใด
ในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจํากัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้
อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัด
ต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ และมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพและ
ความเป็นธรรม รวมทั้งมีกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ (มาตรา 46)
51. ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 10
ในกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับใคร
พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชน (มาตรา 46 วรรคสอง)
52. การกระทําใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่
ของรัฐ หรือเจ้าของกิจการ อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการเสนอข่าวหรือแสดงความ
คิดเห็นในประเด็นสาธารณะของบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือว่าเป็นการจงใจ
ใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบและไม่มีผลใช้บังคับ เว้นแต่อะไร
เป็นการกระทําเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายหรือจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ
(มาตรา 46 วรรคสาม)
53. คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นอะไร
ทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ (มาตรา 47)
54. ใครกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทําหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ (มาตรา 47 วรรคสอง)
55. การดําเนินการตามวรรคสองคือ
ต้องคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้าน
การศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรี
อย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดําเนินการสื่อมวลชน
สาธารณะ(มาตรา 47 วรรคสาม)
56. การกํากับการประกอบกิจการตามวรรคสองคือ
ต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ หรือการครอบงํา
ระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใดซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการ
รับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน
(มาตรา 47 ท้าย)
57. ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม ได้หรือไม่
มิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน หรือจะ
ดําเนินการโดยวิธีการอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้
ในทํานองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าว (มาตรา 48)
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 11
58. บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปี
ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้
ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่ง
และการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น (มาตรา 49)
59. การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน
การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ (มาตรา 49 วรรคท้าย)
60. การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ
ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้เท่าที่อะไร
เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (มาตรา 50 วรรคสอง)
61. บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน
และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ อย่างไร
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (มาตรา 51)
62. บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมอย่างไร
โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์ (มาตรา 51 วรรคท้าย)
63. เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย และสติปัญญา ตาม
ศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาสม โดยคํานึงถึง
การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสําคัญ (มาตรา 52)
64. เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ
ให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม ทั้งมีสิทธิได้รับการบําบัด
ฟื้นฟู ในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว (มาตรา 52 วรรคสอง)
65. เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิอะไร
มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ (มาตรา 52 วรรคท้าย)
66. บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิอะไร
มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความ
ช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ (มาตรา 53)
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 12
67. บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก
สวัสดิการ สิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
(มาตรา 54)
68. บุคคลวิกลจริตย่อมได้รับอะไร
ความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ (มาตรา 54 วรรคสอง)
69. บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิอะไร
ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ (มาตรา 55)
70. บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในการครอบครองของ
หน่วยงานใด
หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผย
ข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาขนหรือ
ส่วนได้เสียอันพึงได้ความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั้งนี้ ตามที่
กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 56)
71. บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คําชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องเพื่อนําไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว คือ
ก่อนการอนุญาตหรือการดําเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสําคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือ
ชุมชนท้องถิ่น (มาตรา 57)
72. การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
การวางผังเมือง การกําหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อ
ส่วนได้เสียสําคัญของประชาชนให้รัฐดําเนินการอย่างไร
ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดําเนินการ
(มาตรา 57 วรรคสอง)
73. บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติ
ราชการทางปกครองในกรณีใด
อันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน(มาตรา 58)
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 13
74. บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลอย่างไร
การพิจารณาภายในเวลาอันรวดเร็ว (มาตรา 59)
75. บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจราชการส่วนท้องถิ่น
หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจาก
การกระทําหรือการละเว้นการกระทําของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงาน
นั้น (มาตรา 60)
76. สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง
และมีสิทธิอย่างไร
มีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อ
พิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค (มาตรา 61)
77. ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วย
ตัวแทนผู้บริโภค ทําหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐใน
การตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกําหนดมาตรการต่างๆ
เพื่อคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทําหรือละเลยการกระทําอัน
เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดําเนินการขององค์การ
อิสระดังกล่าวด้วย (มาตรา 61 วรรคสอง)
78. บุคคลย่อมมีสิทธิติดตามและร้องขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของใคร
ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 62)
79. บุคคลซึ่งให้ข้อมูลโดยสุจริตแก่องค์กรตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ
เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐย่อมได้รับอะไร
รับความคุ้มครอง (มาตรา 62 วรรคสอง)
80. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และการจํากัดเสรีภาพจะ
กระทํามิได้ เว้นแต่
โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อ
คุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 14
ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์
ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก(มาตรา 63 วรรคสอง)
81. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันอย่างไร
เป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน
หรือหมู่คณะอื่น (มาตรา 64)
82. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป แต่
ทั้งนี้
ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทํา
บริการสาธารณะ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การจํากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งและวรรค
สอง จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อ
คุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ (มาตรา 64 วรรค
สองและวรรคท้าย)
83. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมือง
ของประชาชนและเพื่อดําเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้นตามวิถีทาง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ใน
รัฐธรรมนูญนี้
การจัดองค์กรภายใน การดําเนินกิจการ และข้อบังคับของพรรคการเมือง ต้องสอดคล้อง
กับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข (มาตรา 65 วรรคแรกและวรรคสอง)
84. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง กรรมการบริหารของพรรค
การเมือง หรือ สมาชิกพรรคการเมืองตามจํานวนที่กําหนดในพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองที่ตน
เป็นสมาชิกอยู่นั้น จะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตาม
รัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิร้องขอให้หน่วยงานใดพิจารณาวินิจฉัย
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 15
ศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้ง
กับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข ให้มติหรือข้อบังคับนั้นเป็นยกเลิกไป (มาตรา 65 วรรคสาม และวรรคท้าย)
85. สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บํารุงรักษาและการได้
ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง
ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดํารงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องใน
สิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน
ย่อมได้รับ
คุ้มครองตามความเหมาะสม (มาตรา 67 วรรคแรก)
86. การดําเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้ง
ทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทํามิได้ เว้นแต่
จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนใน
ชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน
รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและ
สุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือ
ทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดําเนินการดังกล่าว
(มาตรา 67 วรรคสอง)
87. บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการ
ปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามกฎหมายใด มิได้
วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา 68 วรรคแรก)
88. ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทําการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทํา
ดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้ดําเนินการอย่างไร
ให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้
เลิกการกระทําดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดําเนินคดีอาญาต่อผู้กระทําการ
ดังกล่าว (มาตรา 68 วรรคสอง)
89. ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทําการตามวรรคสอง
ศาลรัฐธรรมนูญอาจดําเนินการอย่างไร
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 16
สั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้ (มาตรา 68 วรรคสาม)
90.ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทํา
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลากี่ปี
ห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งดังกล่าว (มาตรา 68 วรรคท้าย)
91.ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทํา
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลากี่ปี
ห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งดังกล่าว (มาตรา 68 วรรคท้าย)
92.การกระทําใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้
เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ บุคคลย่อมมีสิทธิ
ต่อต้านโดยสันติวิธี (มาตรา 69)
93.บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาอย่างไร
พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา 70)
94.บุคคลมีหน้าที่ป้องกันอะไร
ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย (มาตรา 71)
95.หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งถือว่าเป็นอะไร
หน้าที่ (มาตรา 72)
96.บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทําให้ไม่อาจไปใช้สิทธิได้
ย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 72 วรรคสอง)
97.การแจ้งเหตุที่ทําให้ไม่อาจไปเลือกตั้งและการอํานวยความสะดวกในการไปเลือกตั้ง ให้
เป็นไปตามอะไร
ที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 72 วรรคสาม)
98.การรับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร
ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและ
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 17
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
เป็นเรื่องของอะไร
หน้าที่ของบุคคล (มาตรา 73)
99.บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ
หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่อย่างไร
ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย รักษาประโยชน์ส่วนรวม อํานวยความสะดวก และ
ให้บริการแก่ประชาชน เพื่อตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และ
ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง (มาตรา 74 วรรคแรก และวรรคสอง)
99.บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ
หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่อย่างไร
ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย รักษาประโยชน์ส่วนรวม อํานวยความสะดวก และ
ให้บริการแก่ประชาชน เพื่อตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และ
ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง (มาตรา 74 วรรคแรก และวรรคสอง)
100.ในกรณีบุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ละเลยหรือไม่ปฎิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
วรรคสอง นั้น
บุคคลผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิขอให้บุคคล หรือผู้บังคับบัญชาของบุคคลดังกล่าว ชี้แจง
แสดงเหตุผล และขอให้ดําเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้
(มาตรา 74 วรรคสาม)
101.บทบัญญัติในหมวดนี้เป็นเจตจํานงให้รัฐดําเนินการตรากฎหมายและกําหนดนโยบายใน
การบริหารราชการแผ่นดิน ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหาร
ราชการแผ่นดินต้องชี้แจง ต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่าจะดําเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อบริหาร
ราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องจัดทํารายงานแสดงผลการ
ดําเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละกี่ครั้ง
ปีละหนึ่งครั้ง (มาตรา 75 วรรคแรก และวรรคท้าย)
102.คณะรัฐมนตรีต้องจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแสดงมาตรการและ
รายละเอียดของแนวทางในการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการบริหารราชการแผ่นดิน
จะต้องสอดกับอะไร
ต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 76 วรรคแรก)
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 18
103.คณะรัฐมนตรีต้องจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแสดงมาตรการและ
รายละเอียดของแนวทางในการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการบริหารราชการแผ่นดิน
จะต้องสอดกับอะไร
ต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 76 วรรคแรก)
104.ในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีแผนการตรากฎหมายอย่างไร
แผนการตรากฎหมายที่จําเป็นต่อการดําเนินการตามนโยบายและแผนการบริหารราชการ
(มาตรา 76 วรรคสอง)
105.แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ รัฐต้องดําเนินการอย่างไร
พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอํานาจ
รัฐ และต้องจัดให้มีกําลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจําเป็น และ
เพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์
ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุขและเพื่อการพัฒนาประเทศ (มาตรา 77)
106.รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน อย่างไร
(1) บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของ
ประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดําเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและ
คํานึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสําคัญ
(2) จัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขต
อํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศ และสนับสนุน
ให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่
(3) กระจายอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของ
ท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดําเนินการตาม
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและ
สาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
ทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาด
ใหญ่ โดยคํานึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น
(4) พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทํางาน เพื่อให้การบริหาร
ราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 19
(5) จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้การจัดทําและการให้บริการ
สาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคํานึงถึงการมี
ส่วนร่วมของประชาชน
(6) ดําเนินการให้หน่วยงานทางกฎหมายที่มีหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินงานของ
รัฐตามกฎหมายและตรวจสอบการตรากฎหมายของรัฐ ดําเนินการอย่างเป็นอิสระ เพื่อให้
การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามหลักนิติธรรม
(7) จัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง รวมทั้งจัดให้มีสภาพัฒนาการเมืองที่มีความเป็นอิสระเพื่อ
ติดตามสอดส่องให้มีการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
(8) ดําเนินการให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเหมาะสม
(มาตรา 78)
107.รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และความคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาว
ไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านานและศาสนาอื่น และต้องดําเนินการอย่างไร
ทั้งต้องส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา
รวมทั้งสนับสนุนการนําหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนา
คุณภาพชีวิต (มาตรา 79)
108.รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม
ดําเนินการอย่างไร
(1) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย
ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของ
สถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพา
ตนเองได้
(2) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนําไปสู่สุข
ภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มี
มาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการ
พัฒนาสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติ
หน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
(3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้อง
กับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อ
พัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้
รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 20
ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสํานึกของความ
เป็นไทย มีระเบียบวินัยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(4) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอํานาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน
องค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐาน
คุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
(5) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ และเผยแพร่ข้อมูลผล
การศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ
(6) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสํานึก และเผยแพร่
ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญา
ท้องถิ่น
(มาตรา 80)
109.รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรมดําเนินการอย่างไร
(1) ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็วเป็นธรรม
และทั่วถึง ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน และจัด
ระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นในกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โดยให้
ประชาชนและองค์กรวิชาชีพมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม และการช่วยเหลือ
ประชาชนทางกฎหมาย
(2) คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิด ทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
และโดยบุคคลอื่น และต้องอํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
(3) จัดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายที่ดําเนินการเป็นอิสระเพื่อ
ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตาม
รัฐธรรมนูญโดยต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนั้น
ประกอบด้วย
(4) จัดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ดําเนินการเป็น
อิสระ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดําเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ
ยุติธรรม
(5) สนับสนุนการดําเนินการขององค์กรภาคเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่
ประชาชน โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว
(มาตรา 81)
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อ

More Related Content

What's hot

แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (ชุดที่ 2)
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (ชุดที่ 2)แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (ชุดที่ 2)
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (ชุดที่ 2)ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...ประพันธ์ เวารัมย์
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 พ...
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 พ...แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 พ...
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 พ...ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ถาม ตอบ)
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ถาม ตอบ)แนวข้อสอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ถาม ตอบ)
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ถาม ตอบ)ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 154 ข้อ
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  154 ข้อแนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  154 ข้อ
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 154 ข้อประพันธ์ เวารัมย์
 

What's hot (20)

แนวข้อสอบ ตำแหน่งบุคลากร นักทรัพยากรบุคคล
แนวข้อสอบ ตำแหน่งบุคลากร นักทรัพยากรบุคคลแนวข้อสอบ ตำแหน่งบุคลากร นักทรัพยากรบุคคล
แนวข้อสอบ ตำแหน่งบุคลากร นักทรัพยากรบุคคล
 
แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
 
แนวข้อสอบความลับ
แนวข้อสอบความลับแนวข้อสอบความลับ
แนวข้อสอบความลับ
 
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
 
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549 4...
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549  4...แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549  4...
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549 4...
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (ชุดที่ 2)
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (ชุดที่ 2)แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (ชุดที่ 2)
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (ชุดที่ 2)
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบั...
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้อ...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้อ...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้อ...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้อ...
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...
 
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จำนวน 155 ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จำนวน 155 ข้อแนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จำนวน 155 ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จำนวน 155 ข้อ
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 2
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 2แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 2
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 2
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
 
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
 
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 พ...
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 พ...แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 พ...
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 พ...
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ถาม ตอบ)
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ถาม ตอบ)แนวข้อสอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ถาม ตอบ)
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ถาม ตอบ)
 
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 154 ข้อ
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  154 ข้อแนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  154 ข้อ
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 154 ข้อ
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
 

Viewers also liked

แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน เตรียมสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน เตรียมสอบท้องถิ่นแนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน เตรียมสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน เตรียมสอบท้องถิ่นประพันธ์ เวารัมย์
 

Viewers also liked (20)

สรุป พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
สรุป พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540สรุป พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
สรุป พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 2
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 2แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 2
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 2
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 ...
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 ...แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 ...
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 ...
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่...
 
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน เตรียมสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน เตรียมสอบท้องถิ่นแนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน เตรียมสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน เตรียมสอบท้องถิ่น
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่...
 
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณแนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
 
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
 
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 พ.ศ. 25550
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545  แก้ไขถึงฉบับที่ 10  พ.ศ. 25550พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545  แก้ไขถึงฉบับที่ 10  พ.ศ. 25550
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 พ.ศ. 25550
 
แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 2
แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 2แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 2
แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 2
 
แนวข้อสอบอัตนัยจำนวน 4 ข้อ ตำแหน่งนิติกร
แนวข้อสอบอัตนัยจำนวน 4 ข้อ ตำแหน่งนิติกรแนวข้อสอบอัตนัยจำนวน 4 ข้อ ตำแหน่งนิติกร
แนวข้อสอบอัตนัยจำนวน 4 ข้อ ตำแหน่งนิติกร
 
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549 4...
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549  4...แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549  4...
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549 4...
 
รวมแนวข้อสอบ
รวมแนวข้อสอบรวมแนวข้อสอบ
รวมแนวข้อสอบ
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1) 2
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1) 2แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1) 2
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1) 2
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1)
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1)แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1)
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1)
 
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน 2
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน 2แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน 2
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน 2
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้อ...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้อ...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้อ...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้อ...
 
แนวข้อสอบอนุกรม
แนวข้อสอบอนุกรมแนวข้อสอบอนุกรม
แนวข้อสอบอนุกรม
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
 
พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549
พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549
พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549
 

More from ประพันธ์ เวารัมย์ แบ่งปันความรู้ส่ความก้าวหน้า

More from ประพันธ์ เวารัมย์ แบ่งปันความรู้ส่ความก้าวหน้า (19)

แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน ก...
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถ...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถ...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถ...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถ...
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุ 2535...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุ 2535...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุ 2535...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุ 2535...
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 254...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 254...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 254...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 254...
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 ...
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 ...แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 ...
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แก้ไขถึงฉบับที่ 10 ...
 
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารแนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
 
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
แนวข้อสอบ ด้านการเงินหรือการคลังของท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน-นักวิชาก...
 
แนวข้อสอบ ข้าราชการรัฐสภา
แนวข้อสอบ ข้าราชการรัฐสภาแนวข้อสอบ ข้าราชการรัฐสภา
แนวข้อสอบ ข้าราชการรัฐสภา
 
แนวข้อสอบ เรื่อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
แนวข้อสอบ เรื่อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551แนวข้อสอบ เรื่อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
แนวข้อสอบ เรื่อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
 
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
 
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
 
เตรียมสอบท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายแผน ระดับ 3)
เตรียมสอบท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายแผน ระดับ 3)เตรียมสอบท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายแผน ระดับ 3)
เตรียมสอบท้องถิ่น (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายแผน ระดับ 3)
 
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 3
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 3เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 3
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 3
 
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 2
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 2เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 2
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 2
 
อธิบายภาษีป้าย
อธิบายภาษีป้ายอธิบายภาษีป้าย
อธิบายภาษีป้าย
 
คู่มือแบบสอบถาม จปฐ.2555 2559
คู่มือแบบสอบถาม จปฐ.2555 2559คู่มือแบบสอบถาม จปฐ.2555 2559
คู่มือแบบสอบถาม จปฐ.2555 2559
 

แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ถามตอบ 115 ข้อ

  • 1. แนวข้อสอบ (ถาม-ตอบ) แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 (ชุดที่ 1 จานวน 115 ข้อ) โดย ประพันธ์ เวารัมย์ http://pun.fix.gs หรือ http://valrom2012.fix.gs
  • 2. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 1 แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 (ถาม – ตอบ) โดยโดยโดยโดย ประพันธ เวารัมยประพันธ เวารัมยประพันธ เวารัมยประพันธ เวารัมย **************** 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่จัดทําใหม่นี้ มีหลักสําคัญอย่างไร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ของประเทศไทย โดยมีสาระสําคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย รวม 6 ประการ คือ (1) การธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ (2) การทํานุบํารุงรักษา ศาสนา ให้สถิตสถาพร (3) การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญของชาติ (4) การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการ ปกครองประเทศ (5) การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมใน การปกครองและตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม (6) การกําหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารให้มีดุลยภาพ และประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระ อื่น สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริต เที่ยงธรรม 2. เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและ จัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเมื่อใด รัฐธรรมนูญแห่งการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขได้ดําเนินวัฒนามากว่า 74 ปี โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีประกาศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของ บ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการธิ การยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ สําหรับเป็นแนว ทางการปกครองประเทศ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุก
  • 3. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 2 ขั้นตอน และนําความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคํานึงพิเศษในการยกร่างและพิจารณาแปร ญัตติโดยต่อเนื่อง และเมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อให้ความเห็นชอบแก่รัฐธรรมนูญทั้ง ฉบับ โดยการออกเสียงลงประชามติปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้าง มากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ **ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบ*** 3. อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจทาง ใดบ้าง ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา 3) 4. การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและ หน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามอะไร หลักนิติธรรม (มาตรา 3 วรรคสอง) 5. ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามอะไร ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (มาตรา 7) 6. พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็น ประธานคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี (มาตรา 12) 7. การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามอะไร พระราชอัธยาศัย (มาตรา 13) 8. ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธาน องคมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ประธานรัฐสภา (มาตรา 13 วรรคสอง) 9. ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น หรือให้องคมนตรีอื่นพ้น จากตําแหน่ง ประธานองคมนตรี (มาตรา 13 วรรคสาม)
  • 4. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 3 10. องคมนตรีต้องไม่เป็นอะไร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการ การเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการ ศาลปกครอง กรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการ ซึ่งมี ตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือ เจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ (มาตรา 14) 11. องคมนตรีพ้นจากตําแหน่งเมื่อใด ตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตําแหน่ง (มาตรา 16) 12. การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตําแหน่ง ให้ เป็นไปตามอะไร พระราชอัธยาศัย (มาตรา 17) 13. ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระ ไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์และให้ใคร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ประธานรัฐสภา (มาตรา 18) 14. ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา 18 หรือ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์เพราะยังไม่ทรง บรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งสมควรดํารงตําแหน่งผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภา ประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ (มาตรา 19) 15. ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้ใครทําหน้าที่รัฐสภา ในการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งมาตรา 19 วุฒิสภา (มาตรา 19 วรรคสอง)
  • 5. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 4 16. ในกรณีที่ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 18 หรือมาตรา 19 ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ใครทําหน้าที่ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นการชั่วคราวไป พลางก่อน ประธานองคมนตรี (มาตรา 20) 17. ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรง แต่งตั้ง พระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 แล้ว ให้ทําอย่างไร คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อ รับทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็น พระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ (มาตรา 23) 18. ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัช ทายาทไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา 22 ต่อ คณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อรัฐสภาเพื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ ในการนี้ จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้ (มาตรา 23 วรรคสอง) 19. ในกรณีที่ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งไว้และเป็นผู้สําเร็จราชการ แทน พระองค์ต่อไปตามวรรคหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ใครทําหน้าที่ ผู้สําเร็จราชการแทน พระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน ประธานองคมนตรี (มาตรา 24) 20. การใช้อํานาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคํานึงถึงอะไร ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ (มาตรา 26) 21. สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคําวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง (มาตรา 27) 22. บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้
  • 6. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 5 เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อ ศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีใน ศาลได้ (มาตรา 28) 23. การจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทํามิได้เว้นแต่อะไร โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กําหนดไว้และ เท่าที่จําเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสําคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้ (มาตรา 29) 24. บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน หมายความว่าอย่างไร ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน (มาตรา 30) 25. บุคคลผู้เป็นทหาร ตํารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างของ องค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปเว้นแต่อะไร จํากัดไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในส่วน ที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม (มาตรา 31) 26. บุคคลผู้เป็นทหาร ตํารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างของ องค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปเว้นแต่อะไร จํากัดไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในส่วน ที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม (มาตรา 31) 27. บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษ ด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทํามิได้ แต่การลงโทษตามคําพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษ ด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้ (มาตรา 32) 28. การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทํามิได้ เว้นแต่อะไร มีคําสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 32 วรรคสาม) 29. การค้นตัวบุคคลหรือการกระทําใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทํา มิได้ เว้นแต่อะไร มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 32 วรรคสี่)
  • 7. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 6 30. ในกรณีที่มีการกระทําซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายพนักงาน อัยการ หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหายมีสิทธิ ร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทําเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกําหนดวิธีการตาม สมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้ (มาตรา 32 วรรคท้าย) 31. การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้น เคหสถานหรือในที่รโหฐาน จะกระทํามิได้ เว้นแต่อะไร มีคําสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา33 วรรคสาม) 32. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร เว้นแต่อะไร อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบ เรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชนการผังเมือง หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์ (มาตรา 34 วรรคสอง) 33. การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้บุคคลผู้มีสัญชาติ ไทยเข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทําได้หรือไม่ มิได้ (มาตรา 34 วรรคสาม) 34. สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับ ความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยัง สาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะกระทํามิได้ เว้นแต่อะไร กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ (มาตรา 35 วรรคสอง) 35. การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้ง การกระทํา ด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน จะกระทํา มิได้เว้นแต่อะไร อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อ รักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (มาตรา 36 วรรคสอง) 36. การเกณฑ์แรงงานจะกระทํามิได้ เว้นแต่อะไร
  • 8. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 7 อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะอันมีมาเป็นการฉุกเฉิน หรือโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งให้ กระทําได้ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ หรือในระหว่างเวลาที่มี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก (มาตรา 38) 37. บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทําการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทํานั้น บัญญัติเป็นความผิดและกําหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กําหนด ไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทําความผิดได้หรือไม่ มิได้ (มาตรา 39) 38. ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอะไร ผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด (มาตรา 39 วรรคสอง) 39. ก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้ (มาตรา 39 วรรคสาม) 40. บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม (1) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง (2) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่อง การได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่าง เพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษา หรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์ คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคําวินิจฉัย คําพิพากษา หรือคําสั่ง (3) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็วและเป็น ธรรม (4) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จําเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดีมีสิทธิได้รับ การปฏิบัติที่เหมาะสมในการดําเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับ การสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคําเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง (5) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จําเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับความคุ้มครองและความ ช่วยเหลือที่จําเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่ จําเป็นให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
  • 9. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 8 (6) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง ในการดําเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่ เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ (7) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจําเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบ พยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการ ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว (8) ในคดีแพ่ง บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐ (มาตรา 40) 41. สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจํากัดสิทธิ เช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามอะไร กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 41) 42. การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทํามิได้ เว้นแต่ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะกิจการของรัฐเพื่อการอันเป็น สาธารณูปโภค การอันจําเป็นในการป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การ ผังเมือง การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตรหรือการ อุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดิน การอนุรักษ์โบราณสถานและแหล่งทางประวัติศาสตร์ หรือ เพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควร แก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 42) 43. การกําหนดค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องกําหนดให้อย่างเป็นธรรมโดย คํานึงถึงอะไร ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด การได้มา สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ ความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน และประโยชน์ที่รัฐและผู้ถูกเวนคืนได้รับจากการใช้สอย อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน (มาตรา 42 วรรคสอง) 44. กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและกําหนด ระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ไว้ให้ชัดแจ้ง ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่ กําหนดดังกล่าว ต้องทําอย่างไร
  • 10. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 9 คืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทการคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทตามวรรค สาม และการเรียกคืน ค่าทดแทนที่ชดใช้ไป ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 42 วรรคสามและสี่) 45. การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะ กระทําได้หรือไม่ มิได้ (มาตรา 45 วรรคสาม) 46. การห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมด หรือ บางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใดๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทําได้ หรือไม่ มิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง (มาตรา 45 วรรคสี่) 47. การให้นําข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนําไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์ หรือ สื่อมวลชนอื่น จะกระทํามิได้ เว้นแต่อะไร เว้นแต่จะกระทําในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามแต่ทั้งนี้จะต้องกระทําโดย อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง(มาตรา 45 วรรคห้า) 48. เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติใด สัญชาติไทย (มาตรา 45 วรรคหก) 49. การให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นเพื่ออุดหนุนกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทําได้หรือไม่ มิได้ (มาตรา 45 วรรคเจ็ด) 50. พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในเรื่องใด ในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจํากัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัด ต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ และมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพและ ความเป็นธรรม รวมทั้งมีกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ (มาตรา 46) 51. ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
  • 11. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 10 ในกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับใคร พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชน (มาตรา 46 วรรคสอง) 52. การกระทําใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ ของรัฐ หรือเจ้าของกิจการ อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการเสนอข่าวหรือแสดงความ คิดเห็นในประเด็นสาธารณะของบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือว่าเป็นการจงใจ ใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบและไม่มีผลใช้บังคับ เว้นแต่อะไร เป็นการกระทําเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายหรือจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ (มาตรา 46 วรรคสาม) 53. คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นอะไร ทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ (มาตรา 47) 54. ใครกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทําหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ (มาตรา 47 วรรคสอง) 55. การดําเนินการตามวรรคสองคือ ต้องคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้าน การศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรี อย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดําเนินการสื่อมวลชน สาธารณะ(มาตรา 47 วรรคสาม) 56. การกํากับการประกอบกิจการตามวรรคสองคือ ต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ หรือการครอบงํา ระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใดซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการ รับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน (มาตรา 47 ท้าย) 57. ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม ได้หรือไม่ มิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน หรือจะ ดําเนินการโดยวิธีการอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้ ในทํานองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าว (มาตรา 48)
  • 12. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 11 58. บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปี ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่ง และการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น (มาตรา 49) 59. การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ (มาตรา 49 วรรคท้าย) 60. การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้เท่าที่อะไร เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (มาตรา 50 วรรคสอง) 61. บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ อย่างไร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (มาตรา 51) 62. บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมอย่างไร โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์ (มาตรา 51 วรรคท้าย) 63. เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย และสติปัญญา ตาม ศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาสม โดยคํานึงถึง การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสําคัญ (มาตรา 52) 64. เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม ทั้งมีสิทธิได้รับการบําบัด ฟื้นฟู ในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว (มาตรา 52 วรรคสอง) 65. เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิอะไร มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ (มาตรา 52 วรรคท้าย) 66. บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิอะไร มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความ ช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ (มาตรา 53)
  • 13. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 12 67. บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก สวัสดิการ สิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ (มาตรา 54) 68. บุคคลวิกลจริตย่อมได้รับอะไร ความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ (มาตรา 54 วรรคสอง) 69. บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิอะไร ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ (มาตรา 55) 70. บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในการครอบครองของ หน่วยงานใด หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผย ข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาขนหรือ ส่วนได้เสียอันพึงได้ความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 56) 71. บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คําชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อนําไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว คือ ก่อนการอนุญาตหรือการดําเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสําคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือ ชุมชนท้องถิ่น (มาตรา 57) 72. การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกําหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อ ส่วนได้เสียสําคัญของประชาชนให้รัฐดําเนินการอย่างไร ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดําเนินการ (มาตรา 57 วรรคสอง) 73. บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติ ราชการทางปกครองในกรณีใด อันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน(มาตรา 58)
  • 14. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 13 74. บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลอย่างไร การพิจารณาภายในเวลาอันรวดเร็ว (มาตรา 59) 75. บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจาก การกระทําหรือการละเว้นการกระทําของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงาน นั้น (มาตรา 60) 76. สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิอย่างไร มีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อ พิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค (มาตรา 61) 77. ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนผู้บริโภค ทําหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐใน การตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกําหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทําหรือละเลยการกระทําอัน เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดําเนินการขององค์การ อิสระดังกล่าวด้วย (มาตรา 61 วรรคสอง) 78. บุคคลย่อมมีสิทธิติดตามและร้องขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของใคร ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 62) 79. บุคคลซึ่งให้ข้อมูลโดยสุจริตแก่องค์กรตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐย่อมได้รับอะไร รับความคุ้มครอง (มาตรา 62 วรรคสอง) 80. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และการจํากัดเสรีภาพจะ กระทํามิได้ เว้นแต่ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อ คุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย
  • 15. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 14 ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก(มาตรา 63 วรรคสอง) 81. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันอย่างไร เป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น (มาตรา 64) 82. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป แต่ ทั้งนี้ ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทํา บริการสาธารณะ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การจํากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งและวรรค สอง จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อ คุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ (มาตรา 64 วรรค สองและวรรคท้าย) 83. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมือง ของประชาชนและเพื่อดําเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้นตามวิถีทาง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญนี้ การจัดองค์กรภายใน การดําเนินกิจการ และข้อบังคับของพรรคการเมือง ต้องสอดคล้อง กับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข (มาตรา 65 วรรคแรกและวรรคสอง) 84. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง กรรมการบริหารของพรรค การเมือง หรือ สมาชิกพรรคการเมืองตามจํานวนที่กําหนดในพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองที่ตน เป็นสมาชิกอยู่นั้น จะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตาม รัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิร้องขอให้หน่วยงานใดพิจารณาวินิจฉัย
  • 16. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 15 ศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้ง กับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข ให้มติหรือข้อบังคับนั้นเป็นยกเลิกไป (มาตรา 65 วรรคสาม และวรรคท้าย) 85. สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บํารุงรักษาและการได้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดํารงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องใน สิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับ คุ้มครองตามความเหมาะสม (มาตรา 67 วรรคแรก) 86. การดําเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้ง ทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทํามิได้ เว้นแต่ จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนใน ชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือ ทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดําเนินการดังกล่าว (มาตรา 67 วรรคสอง) 87. บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการ ปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามกฎหมายใด มิได้ วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา 68 วรรคแรก) 88. ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทําการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทํา ดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้ดําเนินการอย่างไร ให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ เลิกการกระทําดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดําเนินคดีอาญาต่อผู้กระทําการ ดังกล่าว (มาตรา 68 วรรคสอง) 89. ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทําการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจดําเนินการอย่างไร
  • 17. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 16 สั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้ (มาตรา 68 วรรคสาม) 90.ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทํา ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลากี่ปี ห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งดังกล่าว (มาตรา 68 วรรคท้าย) 91.ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทํา ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลากี่ปี ห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งดังกล่าว (มาตรา 68 วรรคท้าย) 92.การกระทําใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้ เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ บุคคลย่อมมีสิทธิ ต่อต้านโดยสันติวิธี (มาตรา 69) 93.บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาอย่างไร พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา 70) 94.บุคคลมีหน้าที่ป้องกันอะไร ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย (มาตรา 71) 95.หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งถือว่าเป็นอะไร หน้าที่ (มาตรา 72) 96.บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทําให้ไม่อาจไปใช้สิทธิได้ ย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 72 วรรคสอง) 97.การแจ้งเหตุที่ทําให้ไม่อาจไปเลือกตั้งและการอํานวยความสะดวกในการไปเลือกตั้ง ให้ เป็นไปตามอะไร ที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 72 วรรคสาม) 98.การรับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและ
  • 18. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 17 ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นเรื่องของอะไร หน้าที่ของบุคคล (มาตรา 73) 99.บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่อย่างไร ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย รักษาประโยชน์ส่วนรวม อํานวยความสะดวก และ ให้บริการแก่ประชาชน เพื่อตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และ ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง (มาตรา 74 วรรคแรก และวรรคสอง) 99.บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่อย่างไร ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย รักษาประโยชน์ส่วนรวม อํานวยความสะดวก และ ให้บริการแก่ประชาชน เพื่อตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และ ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง (มาตรา 74 วรรคแรก และวรรคสอง) 100.ในกรณีบุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ละเลยหรือไม่ปฎิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง นั้น บุคคลผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิขอให้บุคคล หรือผู้บังคับบัญชาของบุคคลดังกล่าว ชี้แจง แสดงเหตุผล และขอให้ดําเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ (มาตรา 74 วรรคสาม) 101.บทบัญญัติในหมวดนี้เป็นเจตจํานงให้รัฐดําเนินการตรากฎหมายและกําหนดนโยบายใน การบริหารราชการแผ่นดิน ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหาร ราชการแผ่นดินต้องชี้แจง ต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่าจะดําเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อบริหาร ราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องจัดทํารายงานแสดงผลการ ดําเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละกี่ครั้ง ปีละหนึ่งครั้ง (มาตรา 75 วรรคแรก และวรรคท้าย) 102.คณะรัฐมนตรีต้องจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแสดงมาตรการและ รายละเอียดของแนวทางในการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการบริหารราชการแผ่นดิน จะต้องสอดกับอะไร ต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 76 วรรคแรก)
  • 19. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 18 103.คณะรัฐมนตรีต้องจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแสดงมาตรการและ รายละเอียดของแนวทางในการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการบริหารราชการแผ่นดิน จะต้องสอดกับอะไร ต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 76 วรรคแรก) 104.ในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีแผนการตรากฎหมายอย่างไร แผนการตรากฎหมายที่จําเป็นต่อการดําเนินการตามนโยบายและแผนการบริหารราชการ (มาตรา 76 วรรคสอง) 105.แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ รัฐต้องดําเนินการอย่างไร พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอํานาจ รัฐ และต้องจัดให้มีกําลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจําเป็น และ เพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขและเพื่อการพัฒนาประเทศ (มาตรา 77) 106.รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน อย่างไร (1) บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของ ประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดําเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและ คํานึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสําคัญ (2) จัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขต อํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศ และสนับสนุน ให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ (3) กระจายอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของ ท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดําเนินการตาม แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและ สาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาด ใหญ่ โดยคํานึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น (4) พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทํางาน เพื่อให้การบริหาร ราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ
  • 20. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 19 (5) จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้การจัดทําและการให้บริการ สาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคํานึงถึงการมี ส่วนร่วมของประชาชน (6) ดําเนินการให้หน่วยงานทางกฎหมายที่มีหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินงานของ รัฐตามกฎหมายและตรวจสอบการตรากฎหมายของรัฐ ดําเนินการอย่างเป็นอิสระ เพื่อให้ การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามหลักนิติธรรม (7) จัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง รวมทั้งจัดให้มีสภาพัฒนาการเมืองที่มีความเป็นอิสระเพื่อ ติดตามสอดส่องให้มีการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่างเคร่งครัด (8) ดําเนินการให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเหมาะสม (มาตรา 78) 107.รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และความคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาว ไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านานและศาสนาอื่น และต้องดําเนินการอย่างไร ทั้งต้องส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนําหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนา คุณภาพชีวิต (มาตรา 79) 108.รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม ดําเนินการอย่างไร (1) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของ สถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพา ตนเองได้ (2) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนําไปสู่สุข ภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มี มาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการ พัฒนาสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติ หน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย (3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อ พัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้
  • 21. รวบรวมเผยแพรโดย ประพันธ เวารัมย http://pun.fix.gs และ http://valrom2012.fix.gs หนา 20 ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสํานึกของความ เป็นไทย มีระเบียบวินัยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (4) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอํานาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐาน คุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (5) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ และเผยแพร่ข้อมูลผล การศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ (6) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสํานึก และเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญา ท้องถิ่น (มาตรา 80) 109.รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรมดําเนินการอย่างไร (1) ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็วเป็นธรรม และทั่วถึง ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน และจัด ระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นในกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ ประชาชนและองค์กรวิชาชีพมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม และการช่วยเหลือ ประชาชนทางกฎหมาย (2) คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิด ทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และโดยบุคคลอื่น และต้องอํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน (3) จัดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายที่ดําเนินการเป็นอิสระเพื่อ ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญโดยต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนั้น ประกอบด้วย (4) จัดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ดําเนินการเป็น อิสระ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดําเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ยุติธรรม (5) สนับสนุนการดําเนินการขององค์กรภาคเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ ประชาชน โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว (มาตรา 81)